(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China’s next 5-year plan: The devil is in the details
By Asia Unhedged
30/10/2015
ไบรอัน แจ๊กสัน นักเศรษฐศาสตร์ด้านจีนของ ไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ ชี้ว่า ในแผน 5 ปีฉบับที่ 13 ซึ่งเพิ่งผ่านการรับรองของคณะผู้นำจีนเมื่อช่วงสิ้นเดือนตุลาคม มีการย้ำแนวเรื่องหลักๆ (themes) ซึ่งปรากฏอยู่ในแผน 5 ปีฉบับก่อนๆ เพียงแต่ว่าพวกเขาบอกด้วยว่า แนวเรื่องหลักๆ เหล่านี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นและมีความเฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาบอกด้วยว่าในเชิงเศรษฐกิจมหภาคแล้ว เรื่องสำคัญที่สุดคือการยืนยันในทางพฤตินัยว่า ในช่วง 5 ปีระหว่างปี 2016 -2020 นี้ อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนในขั้นต่ำที่สุดจะต้องทำให้ได้ 6.5%
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างก็มีการทำการบ้าน คิดคำนวณอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อจากนี้ไป โดยอาศัยข้อมูลตัวเลขต่างๆ ที่ทางการจีนทยอยประกาศออกมา ดังนั้นรายละเอียดจำนวนมากซึ่งเปิดเผยเกี่ยวกับแผน 5 ปีฉบับที่ 13 ของจีน (หลังจากผ่านการรับรองของการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 5 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 ที่เสร็จสิ้นลงในวันที่ 29 ตุลาคม) จึงไม่ใช่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจอะไร แต่กระนั้นก็เป็นที่รู้สึกกันในโลกตะวันตกว่า หากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้ว คุณก็ไม่มีทางทราบได้อย่างแน่นอนหรอกว่าพวกเขากำลังจะทำอะไร จนกระทั่งเมื่อพวกเขาทำกันจริงๆ แล้วนั่นแหละ
บนเงื่อนไขของแง่มุมดังกล่าวนี้ ไบรอัน แจ๊กสัน (Brian Jackson) นักเศรษฐศาสตร์ด้านจีนของ ไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ (IHS Global Insight China) ได้ออกมาชี้เอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่งว่า ในแผน 5 ปีฉบับที่ 13 รัฐบาลจีนกำลังย้ำแนวเรื่องหลักๆ (themes) ซึ่งปรากฏอยู่ในแผน 5 ปีฉบับก่อนๆ แต่พวกเขาบอกด้วยว่า แนวเรื่องหลักๆ เหล่านี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นและมีความเฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น คณะผู้นำจีนยังคงคาดหมายว่าเศรษฐกิจแดนมังกรจะเติบโตขึ้นไป จนภายในปี 2020 จะมีขนาดเป็น 2 เท่าตัวของเมื่อปี 2010 ทั้งนี้การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ให้ได้ อัตราเติบโตของจีดีพีตลอดระยะเวลาเหล่านี้จะต้องอยู่ที่ 6.6% โดยเฉลี่ย
ความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โตที่สุดในแผน 5 ปีฉบับล่าสุดนั้น ได้รับการรายงานข่าวอย่างเอิกเกริกกว้างขวางไปแล้ว นั่นคือ การปรับเปลี่ยนนโยบายวางแผนครอบครัว จากที่เคยให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้คนเดียว ต่อจากนี้ก็จะให้มีได้ 2 คน ทว่าแจ๊กสันก็ชี้ว่า การผ่อนปรนกฎเกณฑ์เช่นนี้ ที่สำคัญแล้วคือการยอมรับอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจุดยืนเรื่องนโยบายการเกิดของประเทศ โดยที่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดำเนินมาระยะหนึ่งแล้ว
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ยังพูดเอาไว้อย่างค่อนข้างยืดยาวว่า “ความหมายโดยนัยข้อสำคัญที่สุดในเชิงเศรษฐกิจมหภาค (ของแผน 5 ปีฉบับที่ 13) ก็คือ การยืนยันในทางพฤตินัยว่า อัตราเติบโตขั้นต่ำที่สุดที่ต้องทำให้ได้ในช่วงระหว่างปี 2016 – 2020 นี้ คือ 6.5% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะเป็นตัวกำหนดว่า ทั้งการดำเนินการปฏิรูปและการออกมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำเป็นต้องเข้มข้นดุเดือดกันถึงขนาดไหน”
แจ๊กสันอาจจะกำลังกล่าวย้ำในสิ่งที่เห็นกันได้อย่างชัดเจน นั่นคือการเติบโตของเศรษฐกิจจีนอย่างน้อยที่สุดจะต้องทำให้ได้ในระดับ 6.5% แต่เมื่อบัดนี้ได้มีกำหนดกรอบที่มองไม่เห็นขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ย่อมเท่ากับจีนกำลังเผชิญความท้าทายที่จะต้องทำให้ได้หรือทำให้ดีไปกว่าเป้าหมายนี้ในช่วงระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ไป
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ชี้ด้วยว่า เรื่องแผน 5 ปีฉบับที่ 13 จะยังไม่จบลงเพียงแค่นี้ แต่พวกเป้าหมายต่างๆ ทางเศรษฐกิจอันเฉพาะเจาะจง รวมทั้งเป้าหมายในเชิงปริมาณด้วย จะมีการเผยแพร่ออกมาในเดือนมีนาคม 2016 (เมื่อมีการประชุมเต็มคณะของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของจีน ซึ่งก็คือรัฐสภาแดนมังกร –หมายเหตุผู้แปล) ถึงตอนนั้นเราก็จะมองเห็นภาพที่ถนัดชัดเจนมากขึ้นอีก เกี่ยวกับฝีก้าวและขนาดขอบเขตของนโยบายทางการ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงในด้านงบประมาณรายจ่ายที่จำเป็น
ทั้งนี้ แจ๊กสัน ชี้ด้วยว่า ในระหว่างเวลานี้ คุณยังสามารถที่จะศึกษาติดตามโดยพึ่งพาอาศัยข่าวรั่วไหลอย่างเป็นทางการจำนวนมากมาย ซึ่งจะออกมาจากเอกสารในเรื่องอื่นๆ ของทางการจีน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
China’s next 5-year plan: The devil is in the details
By Asia Unhedged
30/10/2015
ไบรอัน แจ๊กสัน นักเศรษฐศาสตร์ด้านจีนของ ไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ ชี้ว่า ในแผน 5 ปีฉบับที่ 13 ซึ่งเพิ่งผ่านการรับรองของคณะผู้นำจีนเมื่อช่วงสิ้นเดือนตุลาคม มีการย้ำแนวเรื่องหลักๆ (themes) ซึ่งปรากฏอยู่ในแผน 5 ปีฉบับก่อนๆ เพียงแต่ว่าพวกเขาบอกด้วยว่า แนวเรื่องหลักๆ เหล่านี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นและมีความเฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาบอกด้วยว่าในเชิงเศรษฐกิจมหภาคแล้ว เรื่องสำคัญที่สุดคือการยืนยันในทางพฤตินัยว่า ในช่วง 5 ปีระหว่างปี 2016 -2020 นี้ อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนในขั้นต่ำที่สุดจะต้องทำให้ได้ 6.5%
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างก็มีการทำการบ้าน คิดคำนวณอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อจากนี้ไป โดยอาศัยข้อมูลตัวเลขต่างๆ ที่ทางการจีนทยอยประกาศออกมา ดังนั้นรายละเอียดจำนวนมากซึ่งเปิดเผยเกี่ยวกับแผน 5 ปีฉบับที่ 13 ของจีน (หลังจากผ่านการรับรองของการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 5 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 ที่เสร็จสิ้นลงในวันที่ 29 ตุลาคม) จึงไม่ใช่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจอะไร แต่กระนั้นก็เป็นที่รู้สึกกันในโลกตะวันตกว่า หากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้ว คุณก็ไม่มีทางทราบได้อย่างแน่นอนหรอกว่าพวกเขากำลังจะทำอะไร จนกระทั่งเมื่อพวกเขาทำกันจริงๆ แล้วนั่นแหละ
บนเงื่อนไขของแง่มุมดังกล่าวนี้ ไบรอัน แจ๊กสัน (Brian Jackson) นักเศรษฐศาสตร์ด้านจีนของ ไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ (IHS Global Insight China) ได้ออกมาชี้เอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่งว่า ในแผน 5 ปีฉบับที่ 13 รัฐบาลจีนกำลังย้ำแนวเรื่องหลักๆ (themes) ซึ่งปรากฏอยู่ในแผน 5 ปีฉบับก่อนๆ แต่พวกเขาบอกด้วยว่า แนวเรื่องหลักๆ เหล่านี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นและมีความเฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น คณะผู้นำจีนยังคงคาดหมายว่าเศรษฐกิจแดนมังกรจะเติบโตขึ้นไป จนภายในปี 2020 จะมีขนาดเป็น 2 เท่าตัวของเมื่อปี 2010 ทั้งนี้การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ให้ได้ อัตราเติบโตของจีดีพีตลอดระยะเวลาเหล่านี้จะต้องอยู่ที่ 6.6% โดยเฉลี่ย
ความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่โตที่สุดในแผน 5 ปีฉบับล่าสุดนั้น ได้รับการรายงานข่าวอย่างเอิกเกริกกว้างขวางไปแล้ว นั่นคือ การปรับเปลี่ยนนโยบายวางแผนครอบครัว จากที่เคยให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้คนเดียว ต่อจากนี้ก็จะให้มีได้ 2 คน ทว่าแจ๊กสันก็ชี้ว่า การผ่อนปรนกฎเกณฑ์เช่นนี้ ที่สำคัญแล้วคือการยอมรับอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจุดยืนเรื่องนโยบายการเกิดของประเทศ โดยที่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดำเนินมาระยะหนึ่งแล้ว
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ยังพูดเอาไว้อย่างค่อนข้างยืดยาวว่า “ความหมายโดยนัยข้อสำคัญที่สุดในเชิงเศรษฐกิจมหภาค (ของแผน 5 ปีฉบับที่ 13) ก็คือ การยืนยันในทางพฤตินัยว่า อัตราเติบโตขั้นต่ำที่สุดที่ต้องทำให้ได้ในช่วงระหว่างปี 2016 – 2020 นี้ คือ 6.5% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะเป็นตัวกำหนดว่า ทั้งการดำเนินการปฏิรูปและการออกมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำเป็นต้องเข้มข้นดุเดือดกันถึงขนาดไหน”
แจ๊กสันอาจจะกำลังกล่าวย้ำในสิ่งที่เห็นกันได้อย่างชัดเจน นั่นคือการเติบโตของเศรษฐกิจจีนอย่างน้อยที่สุดจะต้องทำให้ได้ในระดับ 6.5% แต่เมื่อบัดนี้ได้มีกำหนดกรอบที่มองไม่เห็นขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ย่อมเท่ากับจีนกำลังเผชิญความท้าทายที่จะต้องทำให้ได้หรือทำให้ดีไปกว่าเป้าหมายนี้ในช่วงระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ไป
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ชี้ด้วยว่า เรื่องแผน 5 ปีฉบับที่ 13 จะยังไม่จบลงเพียงแค่นี้ แต่พวกเป้าหมายต่างๆ ทางเศรษฐกิจอันเฉพาะเจาะจง รวมทั้งเป้าหมายในเชิงปริมาณด้วย จะมีการเผยแพร่ออกมาในเดือนมีนาคม 2016 (เมื่อมีการประชุมเต็มคณะของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของจีน ซึ่งก็คือรัฐสภาแดนมังกร –หมายเหตุผู้แปล) ถึงตอนนั้นเราก็จะมองเห็นภาพที่ถนัดชัดเจนมากขึ้นอีก เกี่ยวกับฝีก้าวและขนาดขอบเขตของนโยบายทางการ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงในด้านงบประมาณรายจ่ายที่จำเป็น
ทั้งนี้ แจ๊กสัน ชี้ด้วยว่า ในระหว่างเวลานี้ คุณยังสามารถที่จะศึกษาติดตามโดยพึ่งพาอาศัยข่าวรั่วไหลอย่างเป็นทางการจำนวนมากมาย ซึ่งจะออกมาจากเอกสารในเรื่องอื่นๆ ของทางการจีน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)