Turkey’s ‘bear trap’ option in Syria
By M K Bhadrakumar
04/10/2015
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหนือน่านฟ้าบริเวณชายแดนตุรกี-ซีเรีย ระหว่างเครื่องบินรบของรัสเซียกับของตุรกี ในช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เป็นภาพจำลองของอันตรายอันน่าหวาดเสียวที่สุดของสงครามความขัดแย้งในซีเรีย ซึ่งยังอาจจะเกิดขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงหลายๆ เดือนจากนี้ไป ขณะที่ตุรกีถือเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถสร้าง “ปลักโคลนตม” ในซีเรีย เพื่อเป็น “กับดักหมี” ล่อให้หมีขาวรัสเซียตกลงไป ทำนองเดียวกับที่ปากีสถานเคยกระทำเมื่อครั้งที่สหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถานในช่วงทศวรรษ 1980
เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลา 2 วันติดต่อกันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่ตุรกีและรัสเซียต่างจัดส่งเครื่องบินรบออกไปปฏิบัติการบริเวณภาคเหนือของซีเรียที่ติดต่อกับแดนเติร์ก อาจจะกลายเป็นภาพจำลองของอันตรายอันน่าหวาดเสียวที่สุดของสงครามความขัดแย้งในซีเรีย โดยที่อันตรายดังกล่าวนี้สามารถที่จะเกิดขึ้นมาอีกครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงเวลาหลายๆ เดือนต่อจากนี้ไป ตุรกีนั้นอยู่ในฐานะที่เป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถที่จะขุดหลุมสร้าง “ปลักโคลนตม” ขึ้นในซีเรียเพื่อดักให้รัสเซียตกลงไป –อันเป็นบทบาททำนองเดียวกับที่ปากีสถานได้เคยกระทำเมื่อยุคทศวรรษ 1980 เพื่อเล่นงานสหภาพโซเวียตซึ่งส่งทหารเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถาน
เหมือนกับกรณีของปากีสถาน (ซึ่งเริ่มต้นบ่มเพาะเลี้ยงดูกลุ่มอิสลามิสต์ต่างๆ ในในอัฟกานิสถานมานานแล้ว อาจจะย้อนหลังไปจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้ทีเดียว นั่นคือหลายปีก่อนการเข้าแทรกแซงของโซเวียตเสียอีก) ตุรกีก็มีการเชื่อมโยงติดต่อกับกลุ่มสุดโต่งต่างๆ ในซีเรีย (รวมทั้งกลุ่ม “รัฐอิสลาม” หรือ ไอเอส) ด้วย มาเป็นเวลาอย่างน้อย 3-4 ปีแล้ว กลุ่มอิสลามิสต์เหล่านี้เป็นพวกซึ่งมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนผ่านกลายไปเป็นองค์การพันธมิตรแห่งนักรบญิฮัด ทำนองเดียวกับ “พันธมิตรทั้ง 7 แห่งเปชาวาร์” (Peshawar Seven) [1] อันมีชื่อเสียงของกลุ่มนักรบญิฮัดชาวอัฟกันในยุคทศวรรษ 1980 –ทั้งนี้ แน่นอนทีเดียวว่าต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขประการสำคัญที่ว่า ประธานาธิบดี เรเซป เออร์โดกัน ของตุรกี จะเลือกเดินไปตามรอยเท้าอันห้าวหาญสุ่มเสี่ยงของจอมเผด็จการแห่งปากีสถาน พลเอก (มูฮัมหมัด) เซีย-อุล-ฮัก (Muhammad Zia-ul-Haq) หรือไม่
เออร์โดกัน จะทำอย่างเดียวกับ เซีย-อุล-ฮัก หรือว่าจะไม่ทำ? นี่เป็นคำถามที่มอสโกจะต้องพยายามทดสอบหยั่งเชิงให้เห็นเค้าลางในช่วงระยะเวลาหลายๆ สัปดาห์และหลายๆ เดือนข้างหน้านี้ ทั้งนี้ขอให้เรามาพินิจพิจารณารายละเอียดต่างๆ ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากันดู
เจ้าหน้าที่ตุรกีที่ไม่มีการระบุชื่อผู้หนึ่งคุยอวดคุยโตเมื่อวันศุกร์ (2 ต.ค.) ที่ผ่านมาว่า ระบบเรดาร์ของประเทศของเขาสามารถระบุตำแหน่งและจากนั้นก็เฝ้าติดตามเป้าหมาย หรือที่เรียกกันว่า “ล็อก ออน” (locked on) เครื่องบินรัสเซียลำหนึ่งที่กำลังปฏิบัติการอยู่ในภาคเหนือของซีเรียได้ การใช้ระบบเรดาร์ล็อกออนเครื่องบินเช่นนี้ของตุรกี ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงความไม่เป็นมิตร และเป็นพฤติการณ์ยั่วยุอย่างไม่จำเป็น ครั้นแล้วในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง เครื่องบิน SU-30 ลำหนึ่งของรัสเซียก็ได้บินล่วงละเมิดน่านฟ้าของตุรกี บังคับให้กรุงอังการาต้องเร่งส่งเครื่องบินไอพ่นขึ้นไปสกัดกั้น อันที่จริงแล้ว ตุรกีถึงขั้นโกรธเกรี้ยวหน้าเขียวเชียวแหละที่ต้องเสียหน้าเช่นนี้ (อย่าลืมว่า การเมืองในตุรกีกำลังต่อสู้กันเข้มข้น เนื่องจากจะจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภากันอยู่แล้วในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้) และได้ทำการประท้วงฝ่ายรัสเซีย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.hurriyetdailynews.com/turkish-pm-military-to-react-if-russia-violates-turkish-border-again.aspx?pageID=238&nID=89440&NewsCatID=510) ซึ่งแน่นอนทีเดียว ฝ่ายรัสเซียอธิบายทันควันว่า ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเรื่องของ “ความผิดพลาดในระบบนำทาง” ของเครื่องบินของตน
ทว่าในวันถัดมา ทีนี้ก็เป็นคราวของเครื่องบิน มิก-29 ไม่ปรากฏสัญชาติบ้าง ที่ทำการ “ล็อก ออน” เครื่องบิน เอฟ-16 จำนวน 2 ลำของตุรกี เป็นเวลากว่า 5 นาที ขณะกำลังบินตรวจการณ์พื้นที่ชายแดนซึ่งอยู่ติดต่อกับซีเรีย มีเหตุผลทีเดียวที่จะคิดว่า นี่คือความพยายามแรกๆ ของทั้งสองฝ่ายที่จะเคลื่อนไหวสำรวจดูกฎกติกามารยาทอันพึงปฏิบัติ ภายหลังจากที่ฝ่ายรัสเซียได้ปรากฏตัวเข้ามาแทรกแซงในซีเรียอย่างกะทันหัน ซึ่งส่งผลเป็นการปรับเปลี่ยนดุลกำลังในประเทศนั้นอย่างมโหฬารยิ่ง
เป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า รัสเซียกำลังส่งสัญญาณอย่างเงียบๆ แต่หนักแน่นมั่นคงว่า เครื่องบินของตนจะออกปฏิบัติการครอบคลุมตลอดทั่วทั้งน่านฟ้าของซีเรีย รวมทั้งในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งประชิดติดกับพรมแดนตุรกีด้วย ดังนั้นจึงเท่ากับรัสเซียกำลังท้าทายซึ่งๆ หน้า ต่อคำประกาศ (ก็คือการประกาศตั้งเขตห้ามบินในทางพฤตินัย -ผู้แปล) ที่ก่อนหน้านี้อังการาเที่ยววางอำนาจบังคับใช้ตามอำเภอใจ ด้วยการไล่ยิงเครื่องบินซีเรียทุกๆ ลำซึ่งอาจหาญออกมาปฏิบัติการในน่านฟ้าของซีเรียที่ประชิดกับพรมแดนตุรกี
คำประกาศดังกล่าวของฝ่ายตุรกี ทำให้จวบจนถึงเวลานี้อังการาสามารถให้หลักประกันว่า พวกกบฏซีเรียจะออกปฏิบัติการในแนวแถบพื้นที่สำคัญทางภาคเหนือของซีเรียได้โดยไม่ต้องกลัวเกรงจะถูกกรุงดามัสกัสโจมตีเล่นงาน แต่มาในตอนนี้รัสเซียกำลังสั่งยกเลิกอภิสิทธิ์ซึ่งอังการาได้รับอยู่ มิหนำซ้ำในเวลาเดียวกันมอสโกยังกำลังเสริมสร้างระบบป้องกันภัยทางอากาศของซีเรียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น กระทั่งมาถึงจุดที่ว่ากองทัพอากาศตุรกีไม่สามารถปฏิบัติการภายในน่านฟ้าของซีเรียได้อีกต่อไปแล้ว กล่าวโดยสรุป เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา บังคับให้อังการาต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงใหม่ที่ว่า หากยังคงละเมิดบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรียต่อไปไม่ยอมเลิกแล้ว คราวนี้พวกเขาเห็นทีจะต้องจ่ายค่าเสียหายหนักหน่วงทีเดียว
ว่าไปแล้ว เท่าที่ผ่านมาอิสราเอลก็กำลังเดินอยู่ในรอยทางเดียวกันกับตุรกี –นั่นคือ แอบให้ความสนับสนุนอย่างลับๆ แก่พวกเครือข่ายของอัลกออิดะห์ที่กำลังปฏิบัติการอยู่ในซีเรีย, เปิดการโจมตีทางอากาศอย่างเมามันเข้าใส่เป้าหมายต่างๆ แม้กระทั่งที่อยู่ลึกเข้าไปในซีเรีย, และกัดกร่อนบั่นทอนรัฐซีเรียตลอดจนอำนาจอธิปไตยของรัฐนี้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น อิสราเอลจึงเป็นอีกรายหนึ่งซึ่งกำลังรู้สึกฉุนเฉียว จากการที่รัสเซียจะนำเอา “เส้นสีแดงแสดงอาณาเขตห้ามล่วงละเมิด” ขึ้นมาใช้ในซีเรีย ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะบีบคั้นบังคับให้ประเทศอย่างอิสราเอลต้องยุติการแทรกแซงกิจการของซีเรีย อย่างไรก็ตาม อิสราเอลดูจะยอมรับแต่โดยดีว่าตนเองไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกระทำตามกฎกติกาที่รัสเซียขีดวางขึ้นมาใหม่นี้
ประธานาธิบดี เออร์โดกัน ของตุรกี เพิ่งเดินทางไปพบปะหารือกับพวกผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ที่กรุงบรัสเซลส์, เบลเยียม (ซึ่งก็เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ด้วย) และที่เมืองสตราสบูร์ก, ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4-5 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยดูจะเป็นความพยายามฟื้นคืนสายสัมพันธ์อันขาดรุ่งริ่งที่ตุรกีมีอยู่กับยุโรปขึ้นมาใหม่ รวมทั้งเป็นการหาทางหยั่งเสียงให้ฝรั่งเศสแสดงบทบาทอันแข็งขันในการปลุกกระแสแนวความคิดที่จะสร้าง “เขตปลอดภัย” และ “เขตห้ามบิน” ขึ้นภายในซีเรีย ตุรกีนั้นดูไม่ต้องการประจันหน้ากับรัสเซียด้วยตนเอง และจะดำเนินความเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อตอบโต้คัดค้านการสร้างสมกำลังของมอสโกในซีเรีย ก็ต่อเมื่อเป็นการขยับตัวซึ่งอยู่ภายในกรอบโครงความเคลื่อนไหวของฝ่ายตะวันตกโดยรวม ในการตอบโต้คัดค้านเชิงยุทธศาสตร์ต่อการที่มอสโกกำลังเพิ่มทวีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ ในตะวันออกกลาง
เมื่อเป็นเช่นนี้ สถานการณ์จะเคลื่อนไปในทิศทางไหน จึงยังคงต้องขึ้นอยู่กับจุดยืนของสหรัฐฯเป็นอย่างมาก หากมองจากสัญญาณสิ่งบ่งชี้ที่ปรากฏออกมาในปัจจุบัน ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ดูมุ่งเน้นหนักทุ่มเททรัพยากรและพลังงานของฝ่ายอเมริกันไปยังประเด็นปัญหาใหญ่ๆ ที่ปรากฏอยู่ตอนนี้ ภายในมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) [2] ซึ่งได้แก่ การต่อสู้เอาชนะพวกไอเอส และการแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถาน ทางฝ่ายยุโรปเองก็เช่นกัน ไม่สามารถปลุกเร้าจิตใจให้เกิดความฮึกเหิมพร้อมที่จมถลำลงไป “เล่มเกมใหญ่” ในซีเรียอย่างเต็มตัว โดยเฉพาะในขณะที่กระแสผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลทะลักมาถึงธรณีประตูของพวกเขา ก็เป็นสัญญาณเตือนให้เห็นอยู่ทนโท่ว่า สงครามความขัดแย้งในซีเรียที่ยืดเยื้อยาวนานออกไปจะก่อให้เกิดผลลบอันหนักหนาสาหัสขนาดไหน ไม่เพียงเท่านั้น สามารถที่จะกล่าวได้ว่า ในการที่มอสโกเพิ่มบทบาทเปิดการรณรงค์ทำศึกบั่นทอนความแข็งแกร่งและทำลายกวาดล้างพวกไอเอสตลอดจนกลุ่มหัวรุนแรงอื่นๆ ซึ่งกำลังปฏิบัติการอยู่ในซีเรียเช่นนี้ ยุโรปก็ยังคงมีหนทางในการประสานผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงอันสำคัญยิ่งยวดกับฝ่ายรัสเซียได้
เมื่อพิจารณากันโดยภาพรวมแล้ว การเข้าแทรกแซงของรัสเซียในซีเรีย ไม่น่าที่จะเกิดการพัฒนาคลี่คลายไปสู่สถานการณ์ตกลงสู่ “ปลักโคลมตม” ประเภทที่เคยเกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน ในระหว่างช่วงสงครามเย็นนั้น สหรัฐฯประสบความสำเร็จอย่างฉลาดหลักแหลม ในการดึงเอาความคิดอิสลามแนวทางหัวรุนแรง เข้ามาต่อกรกับลัทธิคอมมิวนิสต์ ทว่าในทุกวันนี้รัสเซียกลับกำลังมีสายสัมพันธ์ชนิดหลากหลายและกระจายตัวกับฝ่ายมุสลิมต่างๆ ในตะวันออกกลาง งานการทูตของรัสเซียนั้นมีความเข้มแข็งกระตือรือร้นเป็นพิเศษทั้งในซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ในย่านอ่าวเปอร์เซีย เฉกเช่นเดียวกับในอียิปต์และในจอร์แดน ทั้งนี้ อียิปต์และจอร์แดนต่างมีท่าทีขยับเข้าใกล้รัสเซียมากขึ้นอย่างเด่นชัดในเรื่องแนวทางแก้ไขปัญหาซีเรีย
ในทางกลับกัน การที่มอสโกมีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดอยู่กับคณะผู้นำชาวเคิร์ดในซีเรีย (โดยที่คณะผู้นำชาวเคิร์ดเหล่านี้ เป็นผู้ที่สนับสนุนขบวนการพีเคเค (PKK –ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษคือ Kurdistan Workers' Party) อันเป็นขบวนการแบ่งแยกแดนของชาวเคิร์ดซึ่งปฏิบัติการอยู่ภายในตุรกี) จะทำหน้าที่เป็นปัจจัยป้องปรามประการหนึ่ง ไม่ให้อังการาคิดดำเนินการจัดตั้ง “กับดักหมี” ขึ้นมาเล่นงานให้ “หมีขาว” ตกลงปลักโคลนตมในซีเรีย สมควรที่จะชี้เอาไว้ด้วยว่า ทั้งตุรกีและรัสเซียต่างฝ่ายต่างยังคงสามารถที่จะเล่มเกม เติมเชื้อเพลิงโหมไฟให้ขบวนการก่อความไม่สงบ อยู่ในสภาพคุโชนลุกลาม (ขอเชิญอ่านบทสัมภาษณ์อันหลักแหลมใน http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2015/10/turkey-syria-russia-pyd-leader-muslim-moscow-prevent-ankara.html ซึ่งเพื่อนเก่าแก่อย่าง อัมเบริน ซามาน (Amberin Zaman) สัมภาษณ์ ซาลิห์ มุสลิม (Salih Muslim) หัวหน้ากลุ่มเคิร์ดในซีเรีย ผลงานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถึงความสลับซับซ้อนของปัญหาชาวเคิร์ดในตุรกี)
พูดกันง่ายๆ ถ้าหากเกิดมีการตั้ง “เคอร์ดิสถาน” (Kurdistan เขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด) ขึ้นมาในซีเรีย (เคียงข้างเขตเคอร์ดิสถานแห่งที่สถาปนากันขึ้นมาแล้วในบริเวณภาคเหนือของอิรัก) ย่อมหนีไม่พ้นที่มันจะทำให้เส้นเขตแดนซึ่งตุรกีพยายามจัดตั้งขึ้นมาในทางตอนใต้ของประเทศตน ต้องมีอันลบเลือนจางคลายทั้งในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์และความมิอาจล่วงละเมิด แล้วทำให้มันมีลักษณะคล้ายคลึงมิใช่น้อยๆ กับ “เส้นดูแรนด์” (Durand Line) ที่ขีดแบ่งแยกดินแดนของปากีสถานกับอัฟกานิสถาน กล่าวคือ บริเวณตรงนี้จะกลับกลายเสื่อมโทรมไปเป็นดินแดนป่าเถื่อนไร้ขื่อแปไม่มีใครควบคุมได้ และเป็นเสมือนกริชอันแหลมคมที่จับจ้องใส่ตำแหน่งหัวใจของตุรกีไปตลอดกาล
สิ่งที่เออร์โดกันจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกๆ ย่อมได้แก่การทำให้เกิดความมั่นใจว่า ตุรกีจะยังคงมีที่นั่งในโต๊ะเจรจาระดับสูง ถ้าหากกระบวนการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพขึ้นในซีเรียสามารถเกิดขึ้นมาได้ เออร์โดกันจะต้องพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อสกัดขัดขวางไม่ให้เกิดเขตปกครองของชาวเคิร์ดอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาในดินแดนประเทศเพื่อนบ้านของตน โดยที่ในเวลานี้สถานการณ์ดังกล่าวกำลังปรากฏตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วแล้ว ปัญหาสำคัญที่สุดของอังการาอยู่ตรงที่ว่าจะต้องชักชวนโน้มน้าวให้มอสโกและวอชิงตัน เห็นดีเห็นงามกับการยับยั้งควบคุมความมุ่งมาดปรารถนาของชาวเคิร์ดในซีเรีย ที่จะก่อตั้งพื้นที่ปกครองตนเองขึ้นในภาคเหนือของซีเรีย โดยแลกเปลี่ยนกับการที่พวกเขาสู้อุตส่าห์เข้าร่วมยอมเป็นทหารเดินเท้าของสหรัฐฯและรัสเซียในสงครามต่อสู้ปราบปรามกลุ่มไอเอส
ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงที่สุดแล้ว เออร์โดกัน จะเริ่มต้นเปิดการเจรจาหารือกับวังเครมลิน อันที่จริงแล้วควรจะต้องพูดว่าการสนทนาระหว่างทั้งสองฝ่ายนี้ไม่เคยยุติเลิกราไปอย่างจริงจังเลย ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์กับผู้นำรัสเซียในระดับส่วนตัวยังคงเป็นสิ่งที่เขาสามารถพึ่งพาอาศัยได้ ทางด้าน วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำวังเครมลินเอง ก็ได้ทนแบกรับความเจ็บปวดอย่างมากมายทีเดียว ในการกระตุ้นส่งเสริมให้ เออร์โดกัน เดินหน้านโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) [3] ของเขา รัสเซียนั้นไม่เหมือนกับพวกมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก ไม่เคยเลยที่มอสโกออกมาเที่ยวเทศนาชี้แนะเกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศของตุรกี ดังนั้น ถ้าหาก เออร์โดกัน ใช้ความพยายามจนกระทั่งมีชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้ และประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนการปกครองของตุรกี จากระบอบรัฐสภากุมอำนาจและประธานาธิบดีเป็นเพียงประมุขทางพิธีการ ไปเป็นระบอบประธานาธิบดีเป็นประมุขผู้มีอำนาจทางฝ่ายบริหารแล้ว ปูตินก็มีแต่จะแสดงความยินดีกับเขา อีกทั้งกระทั่งมีความเป็นไปได้ว่าปูตินจะเกิดความพออกพอใจ ที่มีเพื่อนมิตรผู้หนึ่งในอังการา ซึ่งน่าจะกลายเป็นประธานาธิบดีผู้มีอำนาจบริหาร ที่สามารถครองเก้าอี้ไปจนตลอดชีวิต โดยที่ปูตินสามารถเจรจาทำความตกลงกับเพื่อนมิตรผู้นี้ เพื่อให้เกิดความประโยชน์ร่วมกันอย่างมหาศาลแก่ทั้งสองฝ่าย
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
หมายเหตุผู้แปล
[1] “พันธมิตรทั้ง 7 แห่งเปชาวาร์” (Peshawar Seven) หรือบางทีก็เรียกกันว่า พันธมิตรนักรบมูจาฮีดีน 7 ฝ่าย (Seven Party Mujahideen Alliance ) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พันธมิตรสามัคคีอิสลามแห่งนักรบมูจาฮีดีนอัฟกานิสถาน (Islamic Unity of Afghanistan Mujahideen) เป็นองค์การของชาวอัฟกานิสถานซึ่งก่อตั้งขึ้นในทศวรรษ 1980 โดยกลุ่มนักรบมูจาฮีดีนชาวอัฟกัน 7 กลุ่มซึ่งกำลังสู้รบต่อต้านระบอบปกครองอัฟกันที่โซเวียตแต่งตั้งขึ้นมา ในช่วงสงครามโซเวียตรุกรานยึดครองอัฟกานิสถาน (Soviet-Afghan War) พันธมิตรนี้ทำหน้าที่ในแนวรบด้านการทูต เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของมติมหาชนโลก โดยเฉพาะการเรียกร้องให้ได้เป็นตัวแทนอยู่ในสหประชาชาติ และองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference)
พันธมิตรทั้ง 7 กลุ่มนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ กลุ่มที่เป็นอิสลามิสต์ในทางการเมือง คือ ฝ่ายคอลิส หรือ กลุ่มของคอลิส (Khalis faction (Khalis)), เฮซบี อิสลามี หรือกลุ่มของเฮกมัตยาร์ (Hezbi Islami (Hekmatyar)), จามีอัต-อี-อิสลามี หรือกลุ่มของรับบานี (Jamiat-i-Islami (Rabbani)), และ สหภาพอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน หรือ กลุ่มของ ซัยยัฟ (Islamic Union for the Liberation of Afghanistan (Sayyaf)) และกลุ่มที่เป็นพวกเคร่งจารีต คือ แนวร่วมอิสลามแห่งชาติเพื่ออัฟกานิสถาน หรือ กลุ่มของ กัยลานี (National Islamic Front for Afghanistan (Gailani)), แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอัฟกานิสถาน หรือกลุ่มของ โมจัดเดดี (Afghanistan National Liberation Front (Mojaddedi)), และ ขบวนการอิสลามปฏิวัติ หรือกลุ่มของ โมฮัมมาดี (Revolutionary Islamic Movement (Mohammadi))
ทั้ง 7 กลุ่มนี้ต่างเป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ และแทบทุกกลุ่มมีชาวปาชตุน (Pashtun) เป็นเสียงส่วนใหญ่ ยกเว้น จามีอัต-อี-อิสลามี หรือกลุ่มของรับบานี ซึ่งแทบทั้งกลุ่มเป็นชาวทาจิก (Tajik) นอกจากนั้นแล้วยังมีพันธมิตรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าแต่ประกอบด้วยนักรบมูจาฮีดีนที่มีบทบาทสำคัญ ใช้ชื่อว่า “พันธมิตรทั้ง 8 แห่งเตหะราน” (Tehran Eight) พันธมิตรนี้เป็นการจับมือกันของกลุ่มชาวอัฟกันที่เป็นมุสลิมนิกายชิอะห์ และมีอิหร่านเป็นผู้สนับสนุน
ถึงแม้พันธมิตรสามัคคีอิสลามแห่งนักรบมูจาฮีดีนอัฟกานิสถาน เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อประมาณกลางทศวรรษ 1980 แต่ที่จริงแล้วมีความเป็นกลุ่มทางการเมืองในทางพฤตินัยมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 1979 เมื่อรัฐบาลปากีสถานตัดสินใจทำการจำกัดความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ และซาอุดีอาระเบีย ให้หลั่งไหลไปยังกลุ่มทั้ง 7 นี้เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นการตัดซัปพลายทางการเงินที่จะไปสู่กลุ่มต่อต้านที่มีแนวทางชาตินิยมและที่มีแนวทางฝ่ายซ้าย
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[2] มหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) เป็นวลีทางการเมืองซึ่งคิดขึ้นโดยคณะบริหารสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพื่อให้หมายความครอบคลุมถึงโลกมุสลิมซึ่งอยู่ชายขอบ ตะวันออกกลางด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิหร่าน, ตุรกี, อัฟกานิสถาน, และปากีสถาน นอกจากนั้นในบางครั้งยังรวมเอาประเทศต่างๆ ใน คอเคซัสใต้ (South Caucasus) และ เอเชียกลาง เข้าไว้ด้วย คำว่า “มหาภูมิภาคตะวันออกกลาง” บางทีก็แทนที่ด้วยคำว่า “ตะวันออกกลางใหม่” (The New Middle East) หรือ “โครงการมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง” (The Great Middle East Project)
“มหาภูมิภาคตะวันออกกลาง” ในความหมายที่ขยายออกไปนี้ ปรากฏครั้งแรกๆ ในเอกสารเตรียมการประชุมสำหรับการประชุมซัมมิตกลุ่ม จี8 ปี 2004 ของคณะบริหารสหรัฐฯ โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ในวิธีการที่โลกตะวันตกใช้กับตะวันออกกลาง
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[3] นโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) ของ เออร์โดกัน
อัสลี อัยดินตัสบัส (Asli Aydintasbas) นักหนังสือพิมพ์ชาวตุรกี อธิบายไว้ในช่วงต้นบทความเรื่อง “Ankara Looks East” ของเธอ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารไคโร รีวิว (The Cairo Review) ของมหาวิทยาลัยอเมริกันในไคโร (The American University in Cairo) (ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.aucegypt.edu/GAPP/CairoReview/Pages/articleDetails.aspx?aid=155) ดังนี้:
“ถึงแม้ไม่ได้กลายเป็นพาดหัวข่าวโด่งดังเหมือนดังกรณีของ อาหรับสปริง แต่การที่ตุรกีหวนกลับไปสู่ตะวันออกกลาง (ตลอดจนการที่อังการาค่อยๆ ปรับความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับโลกตะวันตกเสียใหม่) อาจจะกลายเป็นหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดของเวทีระหว่างประเทศในช่วงทศวรรษต้นๆ ของสหัสวรรษใหม่นี้ก็เป็นได้
“เพียงไม่นานมานี้เอง พวกนักการทูตชาวตุรกีถือว่าการสาละวนติดต่อเจรจากับกรุงบรัสเซลส์ และกรุงวอชิงตัน คือเรื่องที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ของพวกเขา และการผลักดันเรื่องที่ตุรกีขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ให้คืบหน้าไปคือจุดโฟกัสของนโยบายการต่างประเทศของอังการา แต่มาในเวลานี้ เมื่อเกิดวิกฤตยูโรโซน และเหตุการณ์อาหรับสปริง ตุรกีก็กำลังหันมามุ่งมั่นอยู่กับเรื่องอนาคตของซีเรีย, เสถียรภาพของอิรัก, และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ยิ่งกว่าอะไรๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐฯหรืออียู
"เรื่องนี้มีสาเหตุใหญ่มาจากการที่พรรครัฐบาลตุรกี (Justice and Development Party ใช้อักษรย่อว่า AKP) ซึ่งเป็นพรรคแนวทางอิสลามิสต์สายกลาง ซึ่งขึ้นครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2002 ค้นพบว่าลู่ทางโอกาสที่จะเป็นผู้นำของภูมิภาคนั้น ดูสดใสและกลายเป็นจริงได้มากกว่าการยกระดับความสัมพันธ์กับยุโรป ซึ่งเต็มไปด้วยการเขม็งเกลียวและการถูกเรียกร้องไม่รู้จักหยุดรู้จักหย่อนจากบรัสเซลส์ ในความเห็นของพวกผู้นำพรรค AKP การที่ประเทศหวนกลับไปสู่อ้อมอกของตะวันออกกลาง สามารถเพิ่มพูนฐานะของตุรกีทั้งในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ..."
By M K Bhadrakumar
04/10/2015
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหนือน่านฟ้าบริเวณชายแดนตุรกี-ซีเรีย ระหว่างเครื่องบินรบของรัสเซียกับของตุรกี ในช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เป็นภาพจำลองของอันตรายอันน่าหวาดเสียวที่สุดของสงครามความขัดแย้งในซีเรีย ซึ่งยังอาจจะเกิดขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงหลายๆ เดือนจากนี้ไป ขณะที่ตุรกีถือเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถสร้าง “ปลักโคลนตม” ในซีเรีย เพื่อเป็น “กับดักหมี” ล่อให้หมีขาวรัสเซียตกลงไป ทำนองเดียวกับที่ปากีสถานเคยกระทำเมื่อครั้งที่สหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถานในช่วงทศวรรษ 1980
เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลา 2 วันติดต่อกันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่ตุรกีและรัสเซียต่างจัดส่งเครื่องบินรบออกไปปฏิบัติการบริเวณภาคเหนือของซีเรียที่ติดต่อกับแดนเติร์ก อาจจะกลายเป็นภาพจำลองของอันตรายอันน่าหวาดเสียวที่สุดของสงครามความขัดแย้งในซีเรีย โดยที่อันตรายดังกล่าวนี้สามารถที่จะเกิดขึ้นมาอีกครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงเวลาหลายๆ เดือนต่อจากนี้ไป ตุรกีนั้นอยู่ในฐานะที่เป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถที่จะขุดหลุมสร้าง “ปลักโคลนตม” ขึ้นในซีเรียเพื่อดักให้รัสเซียตกลงไป –อันเป็นบทบาททำนองเดียวกับที่ปากีสถานได้เคยกระทำเมื่อยุคทศวรรษ 1980 เพื่อเล่นงานสหภาพโซเวียตซึ่งส่งทหารเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถาน
เหมือนกับกรณีของปากีสถาน (ซึ่งเริ่มต้นบ่มเพาะเลี้ยงดูกลุ่มอิสลามิสต์ต่างๆ ในในอัฟกานิสถานมานานแล้ว อาจจะย้อนหลังไปจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้ทีเดียว นั่นคือหลายปีก่อนการเข้าแทรกแซงของโซเวียตเสียอีก) ตุรกีก็มีการเชื่อมโยงติดต่อกับกลุ่มสุดโต่งต่างๆ ในซีเรีย (รวมทั้งกลุ่ม “รัฐอิสลาม” หรือ ไอเอส) ด้วย มาเป็นเวลาอย่างน้อย 3-4 ปีแล้ว กลุ่มอิสลามิสต์เหล่านี้เป็นพวกซึ่งมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนผ่านกลายไปเป็นองค์การพันธมิตรแห่งนักรบญิฮัด ทำนองเดียวกับ “พันธมิตรทั้ง 7 แห่งเปชาวาร์” (Peshawar Seven) [1] อันมีชื่อเสียงของกลุ่มนักรบญิฮัดชาวอัฟกันในยุคทศวรรษ 1980 –ทั้งนี้ แน่นอนทีเดียวว่าต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขประการสำคัญที่ว่า ประธานาธิบดี เรเซป เออร์โดกัน ของตุรกี จะเลือกเดินไปตามรอยเท้าอันห้าวหาญสุ่มเสี่ยงของจอมเผด็จการแห่งปากีสถาน พลเอก (มูฮัมหมัด) เซีย-อุล-ฮัก (Muhammad Zia-ul-Haq) หรือไม่
เออร์โดกัน จะทำอย่างเดียวกับ เซีย-อุล-ฮัก หรือว่าจะไม่ทำ? นี่เป็นคำถามที่มอสโกจะต้องพยายามทดสอบหยั่งเชิงให้เห็นเค้าลางในช่วงระยะเวลาหลายๆ สัปดาห์และหลายๆ เดือนข้างหน้านี้ ทั้งนี้ขอให้เรามาพินิจพิจารณารายละเอียดต่างๆ ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากันดู
เจ้าหน้าที่ตุรกีที่ไม่มีการระบุชื่อผู้หนึ่งคุยอวดคุยโตเมื่อวันศุกร์ (2 ต.ค.) ที่ผ่านมาว่า ระบบเรดาร์ของประเทศของเขาสามารถระบุตำแหน่งและจากนั้นก็เฝ้าติดตามเป้าหมาย หรือที่เรียกกันว่า “ล็อก ออน” (locked on) เครื่องบินรัสเซียลำหนึ่งที่กำลังปฏิบัติการอยู่ในภาคเหนือของซีเรียได้ การใช้ระบบเรดาร์ล็อกออนเครื่องบินเช่นนี้ของตุรกี ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงความไม่เป็นมิตร และเป็นพฤติการณ์ยั่วยุอย่างไม่จำเป็น ครั้นแล้วในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง เครื่องบิน SU-30 ลำหนึ่งของรัสเซียก็ได้บินล่วงละเมิดน่านฟ้าของตุรกี บังคับให้กรุงอังการาต้องเร่งส่งเครื่องบินไอพ่นขึ้นไปสกัดกั้น อันที่จริงแล้ว ตุรกีถึงขั้นโกรธเกรี้ยวหน้าเขียวเชียวแหละที่ต้องเสียหน้าเช่นนี้ (อย่าลืมว่า การเมืองในตุรกีกำลังต่อสู้กันเข้มข้น เนื่องจากจะจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภากันอยู่แล้วในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้) และได้ทำการประท้วงฝ่ายรัสเซีย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.hurriyetdailynews.com/turkish-pm-military-to-react-if-russia-violates-turkish-border-again.aspx?pageID=238&nID=89440&NewsCatID=510) ซึ่งแน่นอนทีเดียว ฝ่ายรัสเซียอธิบายทันควันว่า ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเรื่องของ “ความผิดพลาดในระบบนำทาง” ของเครื่องบินของตน
ทว่าในวันถัดมา ทีนี้ก็เป็นคราวของเครื่องบิน มิก-29 ไม่ปรากฏสัญชาติบ้าง ที่ทำการ “ล็อก ออน” เครื่องบิน เอฟ-16 จำนวน 2 ลำของตุรกี เป็นเวลากว่า 5 นาที ขณะกำลังบินตรวจการณ์พื้นที่ชายแดนซึ่งอยู่ติดต่อกับซีเรีย มีเหตุผลทีเดียวที่จะคิดว่า นี่คือความพยายามแรกๆ ของทั้งสองฝ่ายที่จะเคลื่อนไหวสำรวจดูกฎกติกามารยาทอันพึงปฏิบัติ ภายหลังจากที่ฝ่ายรัสเซียได้ปรากฏตัวเข้ามาแทรกแซงในซีเรียอย่างกะทันหัน ซึ่งส่งผลเป็นการปรับเปลี่ยนดุลกำลังในประเทศนั้นอย่างมโหฬารยิ่ง
เป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า รัสเซียกำลังส่งสัญญาณอย่างเงียบๆ แต่หนักแน่นมั่นคงว่า เครื่องบินของตนจะออกปฏิบัติการครอบคลุมตลอดทั่วทั้งน่านฟ้าของซีเรีย รวมทั้งในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งประชิดติดกับพรมแดนตุรกีด้วย ดังนั้นจึงเท่ากับรัสเซียกำลังท้าทายซึ่งๆ หน้า ต่อคำประกาศ (ก็คือการประกาศตั้งเขตห้ามบินในทางพฤตินัย -ผู้แปล) ที่ก่อนหน้านี้อังการาเที่ยววางอำนาจบังคับใช้ตามอำเภอใจ ด้วยการไล่ยิงเครื่องบินซีเรียทุกๆ ลำซึ่งอาจหาญออกมาปฏิบัติการในน่านฟ้าของซีเรียที่ประชิดกับพรมแดนตุรกี
คำประกาศดังกล่าวของฝ่ายตุรกี ทำให้จวบจนถึงเวลานี้อังการาสามารถให้หลักประกันว่า พวกกบฏซีเรียจะออกปฏิบัติการในแนวแถบพื้นที่สำคัญทางภาคเหนือของซีเรียได้โดยไม่ต้องกลัวเกรงจะถูกกรุงดามัสกัสโจมตีเล่นงาน แต่มาในตอนนี้รัสเซียกำลังสั่งยกเลิกอภิสิทธิ์ซึ่งอังการาได้รับอยู่ มิหนำซ้ำในเวลาเดียวกันมอสโกยังกำลังเสริมสร้างระบบป้องกันภัยทางอากาศของซีเรียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น กระทั่งมาถึงจุดที่ว่ากองทัพอากาศตุรกีไม่สามารถปฏิบัติการภายในน่านฟ้าของซีเรียได้อีกต่อไปแล้ว กล่าวโดยสรุป เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา บังคับให้อังการาต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงใหม่ที่ว่า หากยังคงละเมิดบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรียต่อไปไม่ยอมเลิกแล้ว คราวนี้พวกเขาเห็นทีจะต้องจ่ายค่าเสียหายหนักหน่วงทีเดียว
ว่าไปแล้ว เท่าที่ผ่านมาอิสราเอลก็กำลังเดินอยู่ในรอยทางเดียวกันกับตุรกี –นั่นคือ แอบให้ความสนับสนุนอย่างลับๆ แก่พวกเครือข่ายของอัลกออิดะห์ที่กำลังปฏิบัติการอยู่ในซีเรีย, เปิดการโจมตีทางอากาศอย่างเมามันเข้าใส่เป้าหมายต่างๆ แม้กระทั่งที่อยู่ลึกเข้าไปในซีเรีย, และกัดกร่อนบั่นทอนรัฐซีเรียตลอดจนอำนาจอธิปไตยของรัฐนี้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น อิสราเอลจึงเป็นอีกรายหนึ่งซึ่งกำลังรู้สึกฉุนเฉียว จากการที่รัสเซียจะนำเอา “เส้นสีแดงแสดงอาณาเขตห้ามล่วงละเมิด” ขึ้นมาใช้ในซีเรีย ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะบีบคั้นบังคับให้ประเทศอย่างอิสราเอลต้องยุติการแทรกแซงกิจการของซีเรีย อย่างไรก็ตาม อิสราเอลดูจะยอมรับแต่โดยดีว่าตนเองไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกระทำตามกฎกติกาที่รัสเซียขีดวางขึ้นมาใหม่นี้
ประธานาธิบดี เออร์โดกัน ของตุรกี เพิ่งเดินทางไปพบปะหารือกับพวกผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ที่กรุงบรัสเซลส์, เบลเยียม (ซึ่งก็เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ด้วย) และที่เมืองสตราสบูร์ก, ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4-5 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยดูจะเป็นความพยายามฟื้นคืนสายสัมพันธ์อันขาดรุ่งริ่งที่ตุรกีมีอยู่กับยุโรปขึ้นมาใหม่ รวมทั้งเป็นการหาทางหยั่งเสียงให้ฝรั่งเศสแสดงบทบาทอันแข็งขันในการปลุกกระแสแนวความคิดที่จะสร้าง “เขตปลอดภัย” และ “เขตห้ามบิน” ขึ้นภายในซีเรีย ตุรกีนั้นดูไม่ต้องการประจันหน้ากับรัสเซียด้วยตนเอง และจะดำเนินความเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อตอบโต้คัดค้านการสร้างสมกำลังของมอสโกในซีเรีย ก็ต่อเมื่อเป็นการขยับตัวซึ่งอยู่ภายในกรอบโครงความเคลื่อนไหวของฝ่ายตะวันตกโดยรวม ในการตอบโต้คัดค้านเชิงยุทธศาสตร์ต่อการที่มอสโกกำลังเพิ่มทวีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ ในตะวันออกกลาง
เมื่อเป็นเช่นนี้ สถานการณ์จะเคลื่อนไปในทิศทางไหน จึงยังคงต้องขึ้นอยู่กับจุดยืนของสหรัฐฯเป็นอย่างมาก หากมองจากสัญญาณสิ่งบ่งชี้ที่ปรากฏออกมาในปัจจุบัน ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ดูมุ่งเน้นหนักทุ่มเททรัพยากรและพลังงานของฝ่ายอเมริกันไปยังประเด็นปัญหาใหญ่ๆ ที่ปรากฏอยู่ตอนนี้ ภายในมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) [2] ซึ่งได้แก่ การต่อสู้เอาชนะพวกไอเอส และการแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถาน ทางฝ่ายยุโรปเองก็เช่นกัน ไม่สามารถปลุกเร้าจิตใจให้เกิดความฮึกเหิมพร้อมที่จมถลำลงไป “เล่มเกมใหญ่” ในซีเรียอย่างเต็มตัว โดยเฉพาะในขณะที่กระแสผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลทะลักมาถึงธรณีประตูของพวกเขา ก็เป็นสัญญาณเตือนให้เห็นอยู่ทนโท่ว่า สงครามความขัดแย้งในซีเรียที่ยืดเยื้อยาวนานออกไปจะก่อให้เกิดผลลบอันหนักหนาสาหัสขนาดไหน ไม่เพียงเท่านั้น สามารถที่จะกล่าวได้ว่า ในการที่มอสโกเพิ่มบทบาทเปิดการรณรงค์ทำศึกบั่นทอนความแข็งแกร่งและทำลายกวาดล้างพวกไอเอสตลอดจนกลุ่มหัวรุนแรงอื่นๆ ซึ่งกำลังปฏิบัติการอยู่ในซีเรียเช่นนี้ ยุโรปก็ยังคงมีหนทางในการประสานผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงอันสำคัญยิ่งยวดกับฝ่ายรัสเซียได้
เมื่อพิจารณากันโดยภาพรวมแล้ว การเข้าแทรกแซงของรัสเซียในซีเรีย ไม่น่าที่จะเกิดการพัฒนาคลี่คลายไปสู่สถานการณ์ตกลงสู่ “ปลักโคลมตม” ประเภทที่เคยเกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน ในระหว่างช่วงสงครามเย็นนั้น สหรัฐฯประสบความสำเร็จอย่างฉลาดหลักแหลม ในการดึงเอาความคิดอิสลามแนวทางหัวรุนแรง เข้ามาต่อกรกับลัทธิคอมมิวนิสต์ ทว่าในทุกวันนี้รัสเซียกลับกำลังมีสายสัมพันธ์ชนิดหลากหลายและกระจายตัวกับฝ่ายมุสลิมต่างๆ ในตะวันออกกลาง งานการทูตของรัสเซียนั้นมีความเข้มแข็งกระตือรือร้นเป็นพิเศษทั้งในซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ในย่านอ่าวเปอร์เซีย เฉกเช่นเดียวกับในอียิปต์และในจอร์แดน ทั้งนี้ อียิปต์และจอร์แดนต่างมีท่าทีขยับเข้าใกล้รัสเซียมากขึ้นอย่างเด่นชัดในเรื่องแนวทางแก้ไขปัญหาซีเรีย
ในทางกลับกัน การที่มอสโกมีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดอยู่กับคณะผู้นำชาวเคิร์ดในซีเรีย (โดยที่คณะผู้นำชาวเคิร์ดเหล่านี้ เป็นผู้ที่สนับสนุนขบวนการพีเคเค (PKK –ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษคือ Kurdistan Workers' Party) อันเป็นขบวนการแบ่งแยกแดนของชาวเคิร์ดซึ่งปฏิบัติการอยู่ภายในตุรกี) จะทำหน้าที่เป็นปัจจัยป้องปรามประการหนึ่ง ไม่ให้อังการาคิดดำเนินการจัดตั้ง “กับดักหมี” ขึ้นมาเล่นงานให้ “หมีขาว” ตกลงปลักโคลนตมในซีเรีย สมควรที่จะชี้เอาไว้ด้วยว่า ทั้งตุรกีและรัสเซียต่างฝ่ายต่างยังคงสามารถที่จะเล่มเกม เติมเชื้อเพลิงโหมไฟให้ขบวนการก่อความไม่สงบ อยู่ในสภาพคุโชนลุกลาม (ขอเชิญอ่านบทสัมภาษณ์อันหลักแหลมใน http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2015/10/turkey-syria-russia-pyd-leader-muslim-moscow-prevent-ankara.html ซึ่งเพื่อนเก่าแก่อย่าง อัมเบริน ซามาน (Amberin Zaman) สัมภาษณ์ ซาลิห์ มุสลิม (Salih Muslim) หัวหน้ากลุ่มเคิร์ดในซีเรีย ผลงานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถึงความสลับซับซ้อนของปัญหาชาวเคิร์ดในตุรกี)
พูดกันง่ายๆ ถ้าหากเกิดมีการตั้ง “เคอร์ดิสถาน” (Kurdistan เขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด) ขึ้นมาในซีเรีย (เคียงข้างเขตเคอร์ดิสถานแห่งที่สถาปนากันขึ้นมาแล้วในบริเวณภาคเหนือของอิรัก) ย่อมหนีไม่พ้นที่มันจะทำให้เส้นเขตแดนซึ่งตุรกีพยายามจัดตั้งขึ้นมาในทางตอนใต้ของประเทศตน ต้องมีอันลบเลือนจางคลายทั้งในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์และความมิอาจล่วงละเมิด แล้วทำให้มันมีลักษณะคล้ายคลึงมิใช่น้อยๆ กับ “เส้นดูแรนด์” (Durand Line) ที่ขีดแบ่งแยกดินแดนของปากีสถานกับอัฟกานิสถาน กล่าวคือ บริเวณตรงนี้จะกลับกลายเสื่อมโทรมไปเป็นดินแดนป่าเถื่อนไร้ขื่อแปไม่มีใครควบคุมได้ และเป็นเสมือนกริชอันแหลมคมที่จับจ้องใส่ตำแหน่งหัวใจของตุรกีไปตลอดกาล
สิ่งที่เออร์โดกันจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกๆ ย่อมได้แก่การทำให้เกิดความมั่นใจว่า ตุรกีจะยังคงมีที่นั่งในโต๊ะเจรจาระดับสูง ถ้าหากกระบวนการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพขึ้นในซีเรียสามารถเกิดขึ้นมาได้ เออร์โดกันจะต้องพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อสกัดขัดขวางไม่ให้เกิดเขตปกครองของชาวเคิร์ดอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาในดินแดนประเทศเพื่อนบ้านของตน โดยที่ในเวลานี้สถานการณ์ดังกล่าวกำลังปรากฏตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วแล้ว ปัญหาสำคัญที่สุดของอังการาอยู่ตรงที่ว่าจะต้องชักชวนโน้มน้าวให้มอสโกและวอชิงตัน เห็นดีเห็นงามกับการยับยั้งควบคุมความมุ่งมาดปรารถนาของชาวเคิร์ดในซีเรีย ที่จะก่อตั้งพื้นที่ปกครองตนเองขึ้นในภาคเหนือของซีเรีย โดยแลกเปลี่ยนกับการที่พวกเขาสู้อุตส่าห์เข้าร่วมยอมเป็นทหารเดินเท้าของสหรัฐฯและรัสเซียในสงครามต่อสู้ปราบปรามกลุ่มไอเอส
ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงที่สุดแล้ว เออร์โดกัน จะเริ่มต้นเปิดการเจรจาหารือกับวังเครมลิน อันที่จริงแล้วควรจะต้องพูดว่าการสนทนาระหว่างทั้งสองฝ่ายนี้ไม่เคยยุติเลิกราไปอย่างจริงจังเลย ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์กับผู้นำรัสเซียในระดับส่วนตัวยังคงเป็นสิ่งที่เขาสามารถพึ่งพาอาศัยได้ ทางด้าน วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำวังเครมลินเอง ก็ได้ทนแบกรับความเจ็บปวดอย่างมากมายทีเดียว ในการกระตุ้นส่งเสริมให้ เออร์โดกัน เดินหน้านโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) [3] ของเขา รัสเซียนั้นไม่เหมือนกับพวกมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก ไม่เคยเลยที่มอสโกออกมาเที่ยวเทศนาชี้แนะเกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศของตุรกี ดังนั้น ถ้าหาก เออร์โดกัน ใช้ความพยายามจนกระทั่งมีชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้ และประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนการปกครองของตุรกี จากระบอบรัฐสภากุมอำนาจและประธานาธิบดีเป็นเพียงประมุขทางพิธีการ ไปเป็นระบอบประธานาธิบดีเป็นประมุขผู้มีอำนาจทางฝ่ายบริหารแล้ว ปูตินก็มีแต่จะแสดงความยินดีกับเขา อีกทั้งกระทั่งมีความเป็นไปได้ว่าปูตินจะเกิดความพออกพอใจ ที่มีเพื่อนมิตรผู้หนึ่งในอังการา ซึ่งน่าจะกลายเป็นประธานาธิบดีผู้มีอำนาจบริหาร ที่สามารถครองเก้าอี้ไปจนตลอดชีวิต โดยที่ปูตินสามารถเจรจาทำความตกลงกับเพื่อนมิตรผู้นี้ เพื่อให้เกิดความประโยชน์ร่วมกันอย่างมหาศาลแก่ทั้งสองฝ่าย
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
หมายเหตุผู้แปล
[1] “พันธมิตรทั้ง 7 แห่งเปชาวาร์” (Peshawar Seven) หรือบางทีก็เรียกกันว่า พันธมิตรนักรบมูจาฮีดีน 7 ฝ่าย (Seven Party Mujahideen Alliance ) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พันธมิตรสามัคคีอิสลามแห่งนักรบมูจาฮีดีนอัฟกานิสถาน (Islamic Unity of Afghanistan Mujahideen) เป็นองค์การของชาวอัฟกานิสถานซึ่งก่อตั้งขึ้นในทศวรรษ 1980 โดยกลุ่มนักรบมูจาฮีดีนชาวอัฟกัน 7 กลุ่มซึ่งกำลังสู้รบต่อต้านระบอบปกครองอัฟกันที่โซเวียตแต่งตั้งขึ้นมา ในช่วงสงครามโซเวียตรุกรานยึดครองอัฟกานิสถาน (Soviet-Afghan War) พันธมิตรนี้ทำหน้าที่ในแนวรบด้านการทูต เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของมติมหาชนโลก โดยเฉพาะการเรียกร้องให้ได้เป็นตัวแทนอยู่ในสหประชาชาติ และองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference)
พันธมิตรทั้ง 7 กลุ่มนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ กลุ่มที่เป็นอิสลามิสต์ในทางการเมือง คือ ฝ่ายคอลิส หรือ กลุ่มของคอลิส (Khalis faction (Khalis)), เฮซบี อิสลามี หรือกลุ่มของเฮกมัตยาร์ (Hezbi Islami (Hekmatyar)), จามีอัต-อี-อิสลามี หรือกลุ่มของรับบานี (Jamiat-i-Islami (Rabbani)), และ สหภาพอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน หรือ กลุ่มของ ซัยยัฟ (Islamic Union for the Liberation of Afghanistan (Sayyaf)) และกลุ่มที่เป็นพวกเคร่งจารีต คือ แนวร่วมอิสลามแห่งชาติเพื่ออัฟกานิสถาน หรือ กลุ่มของ กัยลานี (National Islamic Front for Afghanistan (Gailani)), แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอัฟกานิสถาน หรือกลุ่มของ โมจัดเดดี (Afghanistan National Liberation Front (Mojaddedi)), และ ขบวนการอิสลามปฏิวัติ หรือกลุ่มของ โมฮัมมาดี (Revolutionary Islamic Movement (Mohammadi))
ทั้ง 7 กลุ่มนี้ต่างเป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ และแทบทุกกลุ่มมีชาวปาชตุน (Pashtun) เป็นเสียงส่วนใหญ่ ยกเว้น จามีอัต-อี-อิสลามี หรือกลุ่มของรับบานี ซึ่งแทบทั้งกลุ่มเป็นชาวทาจิก (Tajik) นอกจากนั้นแล้วยังมีพันธมิตรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าแต่ประกอบด้วยนักรบมูจาฮีดีนที่มีบทบาทสำคัญ ใช้ชื่อว่า “พันธมิตรทั้ง 8 แห่งเตหะราน” (Tehran Eight) พันธมิตรนี้เป็นการจับมือกันของกลุ่มชาวอัฟกันที่เป็นมุสลิมนิกายชิอะห์ และมีอิหร่านเป็นผู้สนับสนุน
ถึงแม้พันธมิตรสามัคคีอิสลามแห่งนักรบมูจาฮีดีนอัฟกานิสถาน เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อประมาณกลางทศวรรษ 1980 แต่ที่จริงแล้วมีความเป็นกลุ่มทางการเมืองในทางพฤตินัยมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 1979 เมื่อรัฐบาลปากีสถานตัดสินใจทำการจำกัดความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ และซาอุดีอาระเบีย ให้หลั่งไหลไปยังกลุ่มทั้ง 7 นี้เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นการตัดซัปพลายทางการเงินที่จะไปสู่กลุ่มต่อต้านที่มีแนวทางชาตินิยมและที่มีแนวทางฝ่ายซ้าย
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[2] มหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) เป็นวลีทางการเมืองซึ่งคิดขึ้นโดยคณะบริหารสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพื่อให้หมายความครอบคลุมถึงโลกมุสลิมซึ่งอยู่ชายขอบ ตะวันออกกลางด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิหร่าน, ตุรกี, อัฟกานิสถาน, และปากีสถาน นอกจากนั้นในบางครั้งยังรวมเอาประเทศต่างๆ ใน คอเคซัสใต้ (South Caucasus) และ เอเชียกลาง เข้าไว้ด้วย คำว่า “มหาภูมิภาคตะวันออกกลาง” บางทีก็แทนที่ด้วยคำว่า “ตะวันออกกลางใหม่” (The New Middle East) หรือ “โครงการมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง” (The Great Middle East Project)
“มหาภูมิภาคตะวันออกกลาง” ในความหมายที่ขยายออกไปนี้ ปรากฏครั้งแรกๆ ในเอกสารเตรียมการประชุมสำหรับการประชุมซัมมิตกลุ่ม จี8 ปี 2004 ของคณะบริหารสหรัฐฯ โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ในวิธีการที่โลกตะวันตกใช้กับตะวันออกกลาง
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[3] นโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) ของ เออร์โดกัน
อัสลี อัยดินตัสบัส (Asli Aydintasbas) นักหนังสือพิมพ์ชาวตุรกี อธิบายไว้ในช่วงต้นบทความเรื่อง “Ankara Looks East” ของเธอ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารไคโร รีวิว (The Cairo Review) ของมหาวิทยาลัยอเมริกันในไคโร (The American University in Cairo) (ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.aucegypt.edu/GAPP/CairoReview/Pages/articleDetails.aspx?aid=155) ดังนี้:
“ถึงแม้ไม่ได้กลายเป็นพาดหัวข่าวโด่งดังเหมือนดังกรณีของ อาหรับสปริง แต่การที่ตุรกีหวนกลับไปสู่ตะวันออกกลาง (ตลอดจนการที่อังการาค่อยๆ ปรับความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับโลกตะวันตกเสียใหม่) อาจจะกลายเป็นหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดของเวทีระหว่างประเทศในช่วงทศวรรษต้นๆ ของสหัสวรรษใหม่นี้ก็เป็นได้
“เพียงไม่นานมานี้เอง พวกนักการทูตชาวตุรกีถือว่าการสาละวนติดต่อเจรจากับกรุงบรัสเซลส์ และกรุงวอชิงตัน คือเรื่องที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ของพวกเขา และการผลักดันเรื่องที่ตุรกีขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ให้คืบหน้าไปคือจุดโฟกัสของนโยบายการต่างประเทศของอังการา แต่มาในเวลานี้ เมื่อเกิดวิกฤตยูโรโซน และเหตุการณ์อาหรับสปริง ตุรกีก็กำลังหันมามุ่งมั่นอยู่กับเรื่องอนาคตของซีเรีย, เสถียรภาพของอิรัก, และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ยิ่งกว่าอะไรๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐฯหรืออียู
"เรื่องนี้มีสาเหตุใหญ่มาจากการที่พรรครัฐบาลตุรกี (Justice and Development Party ใช้อักษรย่อว่า AKP) ซึ่งเป็นพรรคแนวทางอิสลามิสต์สายกลาง ซึ่งขึ้นครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2002 ค้นพบว่าลู่ทางโอกาสที่จะเป็นผู้นำของภูมิภาคนั้น ดูสดใสและกลายเป็นจริงได้มากกว่าการยกระดับความสัมพันธ์กับยุโรป ซึ่งเต็มไปด้วยการเขม็งเกลียวและการถูกเรียกร้องไม่รู้จักหยุดรู้จักหย่อนจากบรัสเซลส์ ในความเห็นของพวกผู้นำพรรค AKP การที่ประเทศหวนกลับไปสู่อ้อมอกของตะวันออกกลาง สามารถเพิ่มพูนฐานะของตุรกีทั้งในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ..."