(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
US jobs report provides no clarity on Fed’s direction
By Asia Unhedged
04/09/2015
ข้อมูลตัวเลขที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (4 ก.ย.) ที่ผ่านมา ระบุว่า อัตราการว่างงานของสหรัฐฯกำลังลดต่ำลง ทว่าในเวลาเดียวกันนั้น จำนวนการจ้างงานก็ลดน้อยลงเช่นกัน ดังนั้นจึงยังไม่ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาเวลานี้กำลังไปทางไหนกันแน่ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นกลับเชื่อแล้วว่าข้อมูลตัวเลขที่ออกมาคราวนี้ ยังไม่เพียงพอที่จะยับยั้งไม่ให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขยับปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงกลางเดือนนี้
ถ้าคุณกำลังมองหาความชัดเจนถึงสิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (US Federal Reserve Bank เรียกกันย่อๆ ว่า Fed “เฟด”) น่าจะกระทำเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ย ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไปช่วงกลางเดือนกันยายนนี้แล้ว คุณก็คงต้องผิดหวังอย่างแรง
รายงานตัวเลขข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯซึ่งเผยแพร่ออกมาในตอนเช้าวันศุกร์ (4 ก.ย.) ตามเวลาชายฝั่งตะวันออกของอเมริกานั้น อยู่ในลักษณะกลางๆ ไม่ได้แสดงสัญญาณสิ่งบ่งชี้อันชัดเจนใดๆ ว่าเศรษฐกิจของประเทศนี้กำลังบ่ายหน้าไปทิศทางไหนกันแน่ ทั้งนี้ตัวเลขอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมนั้น ออกมาในลักษณะที่ลดลดมากกว่าที่คาดหมายกัน กล่าวคือกำลังลงไปอยู่ที่ระดับ 5.1% ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 ปีทีเดียว และลดต่ำลงมาจาก 5.3% ของเมื่อเดือนกรกฎาคม
การที่อัตราการว่างงานหดตัวลงเช่นนี้ ย่อมจะสนับสนุนส่งเสริมให้เฟดโน้มเอียงไปทางทัศนะความคิดเห็นที่ว่า ภาวะเงินเฟ้อกำลังใกล้ถึงจุดเดือดแล้ว จึงเป็นเหตุผลสมควรสำหรับการลงมือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทว่าในอีกด้านหนึ่ง รายงานคราวนี้ในส่วนที่เป็นข้อมูลตัวเลขจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯระบุว่า จำนวนการจ้างคนงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payrolls) ในเดือนสิงหาคมเมื่อมีการปรับตัวเลขตามปัจจัยทางฤดูกาล อยู่ที่ 173,000 คน ต่ำลงมากจากตัวเลขเฉลี่ยประจำเดือนในช่วงระหว่างเดือนมกราคมจนถึงกรกฎาคม ซึ่งอยู่ที่ 218,000 คน นี่ย่อมเป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่ทัศนะความคิดเห็นที่ว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในอาการชะลอตัวแล้ว และการขึ้นดอกเบี้ยมีแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานสหรัฐฯนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องการออกมาขอปรับแก้ตัวเลขประจำเดือนสิงหาคมให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ในรายงานฉบับใหม่นี้เอง ก็มีการระบุแก้ไขรายงานการจ้างงานของเมื่อเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม โดยเพิ่มตัวเลขผู้ที่มีงานทำขึ้นไปอีก 44,000 คน
ขณะที่พวกนักเศรษฐกิจเรียกรายงานคราวนี้ว่าเป็นเหมือนเหรียญที่ยังอยู่ระหว่างหมุนคว้างภายหลังถูกปั่น ยังไม่ได้แบออกมาให้เห็นว่าจะออก “หัว” หรือ ออก “ก้อย” ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่า เฟด อาจจะไปขยับไปทางไหนก็ได้นั้น เห็นได้ชัดเจนว่าพวกนักลงทุนในตลาดหุ้นของสหรัฐฯกลับเชื่อเสียแล้วว่า ข้อมูลตัวเลขคราวนี้จะไม่หยุดยั้งเฟดจากการขยับขึ้นดอกเบี้ย และพวกเขาก็ไม่ชอบสถานการณ์เช่นนี้ ในตอนปิดการซื้อขายวันศุกร์ (4 ก.ย.) ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 จึงลดลงไป 1.53% อยู่ที่ 1,921.22 ส่วนดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ก็หล่นลง 1.66% อยู่ที่ 16,102.38
เอเชียอันเฮดจน์ ก็ยังคาดไม่ถูกว่าเฟดจะขยับเดินไปทางไหนกันแน่ ทว่าเรามีท่าทีคัดค้านการขึ้นดอกเบี้ยมาตั้งแต่ต้นแล้ว เนื่องจากเราคิดว่าภาวะเงินฝืดต่างหากที่เป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอันสำคัญในขณะนี้ ไม่ใช่ภาวะเงินเฟ้อ หรือหากพูดให้ครบถ้วนเลยก็ต้องบอกว่า ภาวะเงินฝืด และการที่เฟดมีความเข้าใจผิดพลาดในขั้นรากฐานเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ถ้าหากดอกเบี้ยของสหรัฐฯถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นจริงๆ เอเชียอันเฮดจน์ขอทำนายว่าจะเกิดการปรับฐานอย่างชวนเศร้าใจในตลาดสหรัฐฯ เลวร้ายยิ่งกว่าที่เราได้เห็นกันอยู่ในตอนนี้ นอกจากนั้นมันยังจะส่งผลลบต่อเนื่องไปถึงตลาดหุ้นจีนด้วย
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
US jobs report provides no clarity on Fed’s direction
By Asia Unhedged
04/09/2015
ข้อมูลตัวเลขที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (4 ก.ย.) ที่ผ่านมา ระบุว่า อัตราการว่างงานของสหรัฐฯกำลังลดต่ำลง ทว่าในเวลาเดียวกันนั้น จำนวนการจ้างงานก็ลดน้อยลงเช่นกัน ดังนั้นจึงยังไม่ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาเวลานี้กำลังไปทางไหนกันแน่ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นกลับเชื่อแล้วว่าข้อมูลตัวเลขที่ออกมาคราวนี้ ยังไม่เพียงพอที่จะยับยั้งไม่ให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขยับปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงกลางเดือนนี้
ถ้าคุณกำลังมองหาความชัดเจนถึงสิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (US Federal Reserve Bank เรียกกันย่อๆ ว่า Fed “เฟด”) น่าจะกระทำเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ย ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไปช่วงกลางเดือนกันยายนนี้แล้ว คุณก็คงต้องผิดหวังอย่างแรง
รายงานตัวเลขข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯซึ่งเผยแพร่ออกมาในตอนเช้าวันศุกร์ (4 ก.ย.) ตามเวลาชายฝั่งตะวันออกของอเมริกานั้น อยู่ในลักษณะกลางๆ ไม่ได้แสดงสัญญาณสิ่งบ่งชี้อันชัดเจนใดๆ ว่าเศรษฐกิจของประเทศนี้กำลังบ่ายหน้าไปทิศทางไหนกันแน่ ทั้งนี้ตัวเลขอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมนั้น ออกมาในลักษณะที่ลดลดมากกว่าที่คาดหมายกัน กล่าวคือกำลังลงไปอยู่ที่ระดับ 5.1% ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 ปีทีเดียว และลดต่ำลงมาจาก 5.3% ของเมื่อเดือนกรกฎาคม
การที่อัตราการว่างงานหดตัวลงเช่นนี้ ย่อมจะสนับสนุนส่งเสริมให้เฟดโน้มเอียงไปทางทัศนะความคิดเห็นที่ว่า ภาวะเงินเฟ้อกำลังใกล้ถึงจุดเดือดแล้ว จึงเป็นเหตุผลสมควรสำหรับการลงมือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทว่าในอีกด้านหนึ่ง รายงานคราวนี้ในส่วนที่เป็นข้อมูลตัวเลขจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯระบุว่า จำนวนการจ้างคนงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payrolls) ในเดือนสิงหาคมเมื่อมีการปรับตัวเลขตามปัจจัยทางฤดูกาล อยู่ที่ 173,000 คน ต่ำลงมากจากตัวเลขเฉลี่ยประจำเดือนในช่วงระหว่างเดือนมกราคมจนถึงกรกฎาคม ซึ่งอยู่ที่ 218,000 คน นี่ย่อมเป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่ทัศนะความคิดเห็นที่ว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในอาการชะลอตัวแล้ว และการขึ้นดอกเบี้ยมีแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานสหรัฐฯนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องการออกมาขอปรับแก้ตัวเลขประจำเดือนสิงหาคมให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ในรายงานฉบับใหม่นี้เอง ก็มีการระบุแก้ไขรายงานการจ้างงานของเมื่อเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม โดยเพิ่มตัวเลขผู้ที่มีงานทำขึ้นไปอีก 44,000 คน
ขณะที่พวกนักเศรษฐกิจเรียกรายงานคราวนี้ว่าเป็นเหมือนเหรียญที่ยังอยู่ระหว่างหมุนคว้างภายหลังถูกปั่น ยังไม่ได้แบออกมาให้เห็นว่าจะออก “หัว” หรือ ออก “ก้อย” ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่า เฟด อาจจะไปขยับไปทางไหนก็ได้นั้น เห็นได้ชัดเจนว่าพวกนักลงทุนในตลาดหุ้นของสหรัฐฯกลับเชื่อเสียแล้วว่า ข้อมูลตัวเลขคราวนี้จะไม่หยุดยั้งเฟดจากการขยับขึ้นดอกเบี้ย และพวกเขาก็ไม่ชอบสถานการณ์เช่นนี้ ในตอนปิดการซื้อขายวันศุกร์ (4 ก.ย.) ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 จึงลดลงไป 1.53% อยู่ที่ 1,921.22 ส่วนดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ก็หล่นลง 1.66% อยู่ที่ 16,102.38
เอเชียอันเฮดจน์ ก็ยังคาดไม่ถูกว่าเฟดจะขยับเดินไปทางไหนกันแน่ ทว่าเรามีท่าทีคัดค้านการขึ้นดอกเบี้ยมาตั้งแต่ต้นแล้ว เนื่องจากเราคิดว่าภาวะเงินฝืดต่างหากที่เป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอันสำคัญในขณะนี้ ไม่ใช่ภาวะเงินเฟ้อ หรือหากพูดให้ครบถ้วนเลยก็ต้องบอกว่า ภาวะเงินฝืด และการที่เฟดมีความเข้าใจผิดพลาดในขั้นรากฐานเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ถ้าหากดอกเบี้ยของสหรัฐฯถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นจริงๆ เอเชียอันเฮดจน์ขอทำนายว่าจะเกิดการปรับฐานอย่างชวนเศร้าใจในตลาดสหรัฐฯ เลวร้ายยิ่งกว่าที่เราได้เห็นกันอยู่ในตอนนี้ นอกจากนั้นมันยังจะส่งผลลบต่อเนื่องไปถึงตลาดหุ้นจีนด้วย
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)