(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China turns down parole bid from jailed Nobel peace laureate
From Radio Free Asia
13/08/2015
หลิว เสี่ยวโป ชาวจีนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่ถูกจองจำอยู่ในคุกของแดนมังกรมาตั้งแต่ปี 2009 ด้วยข้อหายุยงส่งเสริมให้ทำลายล้างอำนาจรัฐ ได้ยื่นคำร้องขอรับการลดหย่อนโทษ ทว่าถูกทางการปฏิเสธ กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ พยายามประโคมกรณีของเขา ในวาระที่สหรัฐฯกับจีนเปิดการสนทนาหารือประจำปีว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ณ กรุงวอชิงตัน ในวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) และวันศุกร์ (14 ส.ค.)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นผู้ปกครองแดนมังกรในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่รับพิจารณาคำขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษ ซึ่งยื่นโดย หลิว เสี่ยวโป (Liu Xiaobo) ชาวจีนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่กำลังถูกจองจำอยู่ในขณะนี้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ตั้งฐานอยู่ในฮ่องกงกลุ่มหนึ่งรายงานเรื่องนี้ ในเวลาใกล้เคียงกับที่ทางเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯและของจีนเดินหน้าเข้าสู่การสนทนาหารือประจำปีว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ณ กรุงวอชิงตันในวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.)
“พี่น้อง 3 คนของ ... หลิว เสี่ยวโป ได้รับอนุญาตจากทางการให้เข้าเยี่ยมเขาได้ ณ เรือนจำจินโจว (Jinzhou Prison) ในมณฑลเหลียวหนิง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เมื่อวันอังคารที่แล้ว หลังจากที่ยื่นเรื่องและเฝ้ารอคอยมาอย่างยาวนานถึง 13 เดือน” ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในจีน (Information Center for Democracy and Human Rights in China) กลุ่มสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งฐานที่ฮ่องกง ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของตน
“หลิว เสี่ยวโป เล่าให้พี่น้องของเขาฟังว่า คำขอของเขาที่ยื่นไปเพื่อขอให้ได้ลดโทษจำคุกนั้น ได้ถูกทางการปฏิเสธ และเขาจะไม่สามารถยื่นคำขอครั้งใหม่ได้อีกจนกว่าเวลาจะผ่านพ้นไปครบ 3 ปี” คำแถลงของกลุ่มดังกล่าวแจกแจงรายละเอียด
“น้องชายของเขา หลิว เสี่ยวกวง (Liu Xiaoguang) เล่าว่า หลิว เสี่ยวโป ... ยังได้วิพากษ์วิจารณ์พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเรือนจำ ซึ่งปฏิเสธไม่ยอมให้เขาได้สิทธิในการติดต่อกับเพื่อนๆ และครอบครัวของเขา อันเป็นพฤติการณ์ที่ขัดรัฐธรรมนูญ” กลุ่มดังกล่าวระบุ
คำแถลงบอกว่า หลิว เสี่ยวโป ซึ่งปัจจุบันอายุ 59 ปี ยังคงให้ความสนอกสนใจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีน รวมทั้งเรื่องที่เมื่อเดือนที่แล้ว คณะบริหารของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เปิดฉากดำเนินการปฏิบัติการของตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งพุ่งเป้าหมายเล่นงานพวกทนายความด้านสิทธิมนุษยชน, ผู้ช่วยทนายความ และนักเคลื่อนไหวด้านกฎหมายที่ต่อสู้เรียกร้องทางด้านสิทธิมนุษยชน
หลิว ถูกจำคุกมาตั้งแต่ปี 2009 โดยต้องรับโทษจองจำรวม 11 ปีในความผิดฐาน “ยุยงส่งเสริมให้ทำลายล้างอำนาจรัฐ” เขาไม่น่าที่จะมีคุณสมบัติเข้าข่ายได้รับการลดหย่อนโทษจากทางการแดนมังกร เนื่องจากไม่เคยยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทางอาญาใดๆ ทั้งสิ้น
แต่การที่หลิว เสี่ยวโป ยังคงต้องโทษจำคุกต่อไปเช่นนี้ ก็ได้ถูกพวกกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ หยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่องเอกซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลงานอันย่ำแย่ในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนของปักกิ่ง ก่อนหน้าการสนทนาหารือประจำปีว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจีน-สหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นในกรุงวอชิงตันตั้งแต่วันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) ไปจนถึงวันศุกร์ (14 ส.ค.)
หลิว เสี่ยวโป ซึ่งเป็นนักวิจารณ์วรรณกรรม และเคยเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2010 ขณะเขาถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยที่คณะกรรมการพิจารณารางวัลซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐสภานอร์เวย์ แถลงเหตุผลของการตัดสินมอบรางวัลให้แก่หลิว ว่า เป็นการให้รางวัล “สำหรับการต่อสู้อย่างยาวนานและอย่างสันติวิธีของเขา เพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในประเทศจีน” การตัดสินคราวนั้นสร้างความโกรธเกรี้ยวให้แก่ปักกิ่ง ซึ่งระบุว่า หลิว เสี่ยวโป กระทำความผิดละเมิดกฎหมายของจีน
นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนผู้นี้ถูกทางการแดนมังกรควบคุมตัวมาตั้งแต่ปี 2008 หลังจากเข้าไปร่วมร่างเอกสารที่มีชื่อว่า “กฎบัตร 08” (Charter 08) ซึ่งเป็นคำประกาศเรียกร้องให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศจีนอย่างครอบคลุมกว้างขวาง และลงนามโดยผู้สนับสนุนจำนวนหลายพันราย
ภรรยาก็ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ภายในบ้าน
นับตั้งแต่ที่คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของนอร์เวย์ ประกาศให้ หลิว เสี่ยวโป เป็นผู้ได้รับรางวัลนี้ ภรรยาของเขา หลิว เสีย (Liu Xia) ก็ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ภายในอพาร์ตเมนต์ของทั้งคู่ในกรุงปักกิ่ง
เย่ ตู้ (Ye Du) นักเขียนซึ่งตั้งฐานอยู่ที่เมืองเซินเจิ้น และเป็นเพื่อนสนิทคนหนึ่งของ หลิว เสีย เล่าว่าสภาพของเธอในขณะนี้ไม่ได้ถึงกับเลวร้ายอะไรจนเกินไป ทั้งนี้ภายหลังจากเกิดความเป็นห่วงกังวลตลอดจนมีข่าวลือแพร่สะพัดกว้างขวางเกี่ยวกับสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของเธอในช่วงปีหลังๆ มานี้
“เธอไม่ถึงกับย่ำแย่เลวร้ายอะไรหรอก” เย่ กล่าว “เธอบอกผมว่าเธอยังสามารถไปเยี่ยมเขาได้เดือนละครั้ง และสุขภาพของเขาก็ไม่ได้ย่ำแย่เลวร้ายอะไรเกินไป เนื่องจากสภาพภายในคุกแห่งนั้นถือว่าค่อนข้างดี” เขาบอก
ทางด้าน หู เจีย (Hu Jia) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งฐานอยู่ในปักกิ่ง ได้ออกมากล่าวหาทางการผู้รับผิดชอบของจีนว่า จงใจผลักใสให้ หลิว เสีย ต้องตกอยู่ในสภาพโดดเดี่ยว ห่างไกลญาติพี่น้อง นับตั้งแต่ที่สามีของเธอได้รับการประกาศว่าเป็นผู้ชนะรางวัล ทั้งนี้ปักกิ่งขุ่นเคืองเรื่องนี้มาก ถึงขนาดแสดงความเย็นชาทางการทูตกับนอร์เวย์เรื่อยมานับแต่นั้น
“พวกเขายืนกรานว่า หลิว เสีย จะไม่สามารถเดินทางไปเยี่ยมหลิว เสี่ยวโป ได้ ในตอนที่มีญาติคนอื่นๆ ไป” หู กล่าว “จริงๆ แล้วพวกเขากำลังพยายามที่จะทำให้ หลิว เสีย อยู่ในสภาพโดดเดี่ยวนั่นเอง”
“เพียงแต่ว่าผมยังไม่ทราบชัดเจนว่า พวกเขาทั้งหมดได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยม หลิว เสี่ยวโป พร้อมๆ กันในคราวเดียว หรือมีการจัดให้พวกเขาแยกกันเข้าไปเยี่ยมเป็น 2 ชุดในคราวนี้” เขากล่าว
ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้เอง กลุ่มทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวชาวจีน ได้ออกมาเรียกร้องสหรัฐฯให้ทำการกดดันปักกิ่งในระหว่างการสนทนาหารือระดับทวิภาคีว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประจำปีนี้ เนื่องจากทางการจีนเปิดการปราบปรามกวาดล้างบุคคลวิชาชีพด้านกฎหมายของประเทศในปีนี้ รวมทั้งออกกฎหมายหลายๆ ฉบับที่มีเนื้อหาเป็นการกดขี่ปราบปรามประชาชน
พวกเขาระบุว่าการสนทนาหารือทวิภาคีเช่นนี้คราวก่อนๆ แทบไม่ได้ช่วยเหลือผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างสันติวิธี ตลอดจนผู้ที่ยืนยันเรียกร้องสิทธิทางกฎหมายของตนในการใช้ระบบยุติธรรมของประเทศ ให้ได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้นจากทางการ
ข่าวนี้รายงานโดย คา ปา (Ka pa) และ เว่ย หลิง (Wei Ling) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษากวางตุ้ง (RFA’s Cantonese Service) และภาคภาษาจีนกลาง (RFA’s Mandarin Service)แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย ลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
China turns down parole bid from jailed Nobel peace laureate
From Radio Free Asia
13/08/2015
หลิว เสี่ยวโป ชาวจีนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่ถูกจองจำอยู่ในคุกของแดนมังกรมาตั้งแต่ปี 2009 ด้วยข้อหายุยงส่งเสริมให้ทำลายล้างอำนาจรัฐ ได้ยื่นคำร้องขอรับการลดหย่อนโทษ ทว่าถูกทางการปฏิเสธ กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ พยายามประโคมกรณีของเขา ในวาระที่สหรัฐฯกับจีนเปิดการสนทนาหารือประจำปีว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ณ กรุงวอชิงตัน ในวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) และวันศุกร์ (14 ส.ค.)
พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นผู้ปกครองแดนมังกรในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่รับพิจารณาคำขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษ ซึ่งยื่นโดย หลิว เสี่ยวโป (Liu Xiaobo) ชาวจีนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่กำลังถูกจองจำอยู่ในขณะนี้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ตั้งฐานอยู่ในฮ่องกงกลุ่มหนึ่งรายงานเรื่องนี้ ในเวลาใกล้เคียงกับที่ทางเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯและของจีนเดินหน้าเข้าสู่การสนทนาหารือประจำปีว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ณ กรุงวอชิงตันในวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.)
“พี่น้อง 3 คนของ ... หลิว เสี่ยวโป ได้รับอนุญาตจากทางการให้เข้าเยี่ยมเขาได้ ณ เรือนจำจินโจว (Jinzhou Prison) ในมณฑลเหลียวหนิง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เมื่อวันอังคารที่แล้ว หลังจากที่ยื่นเรื่องและเฝ้ารอคอยมาอย่างยาวนานถึง 13 เดือน” ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในจีน (Information Center for Democracy and Human Rights in China) กลุ่มสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งฐานที่ฮ่องกง ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของตน
“หลิว เสี่ยวโป เล่าให้พี่น้องของเขาฟังว่า คำขอของเขาที่ยื่นไปเพื่อขอให้ได้ลดโทษจำคุกนั้น ได้ถูกทางการปฏิเสธ และเขาจะไม่สามารถยื่นคำขอครั้งใหม่ได้อีกจนกว่าเวลาจะผ่านพ้นไปครบ 3 ปี” คำแถลงของกลุ่มดังกล่าวแจกแจงรายละเอียด
“น้องชายของเขา หลิว เสี่ยวกวง (Liu Xiaoguang) เล่าว่า หลิว เสี่ยวโป ... ยังได้วิพากษ์วิจารณ์พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเรือนจำ ซึ่งปฏิเสธไม่ยอมให้เขาได้สิทธิในการติดต่อกับเพื่อนๆ และครอบครัวของเขา อันเป็นพฤติการณ์ที่ขัดรัฐธรรมนูญ” กลุ่มดังกล่าวระบุ
คำแถลงบอกว่า หลิว เสี่ยวโป ซึ่งปัจจุบันอายุ 59 ปี ยังคงให้ความสนอกสนใจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีน รวมทั้งเรื่องที่เมื่อเดือนที่แล้ว คณะบริหารของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เปิดฉากดำเนินการปฏิบัติการของตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งพุ่งเป้าหมายเล่นงานพวกทนายความด้านสิทธิมนุษยชน, ผู้ช่วยทนายความ และนักเคลื่อนไหวด้านกฎหมายที่ต่อสู้เรียกร้องทางด้านสิทธิมนุษยชน
หลิว ถูกจำคุกมาตั้งแต่ปี 2009 โดยต้องรับโทษจองจำรวม 11 ปีในความผิดฐาน “ยุยงส่งเสริมให้ทำลายล้างอำนาจรัฐ” เขาไม่น่าที่จะมีคุณสมบัติเข้าข่ายได้รับการลดหย่อนโทษจากทางการแดนมังกร เนื่องจากไม่เคยยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทางอาญาใดๆ ทั้งสิ้น
แต่การที่หลิว เสี่ยวโป ยังคงต้องโทษจำคุกต่อไปเช่นนี้ ก็ได้ถูกพวกกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ หยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่องเอกซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลงานอันย่ำแย่ในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนของปักกิ่ง ก่อนหน้าการสนทนาหารือประจำปีว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจีน-สหรัฐฯ ซึ่งจัดขึ้นในกรุงวอชิงตันตั้งแต่วันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) ไปจนถึงวันศุกร์ (14 ส.ค.)
หลิว เสี่ยวโป ซึ่งเป็นนักวิจารณ์วรรณกรรม และเคยเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2010 ขณะเขาถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยที่คณะกรรมการพิจารณารางวัลซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐสภานอร์เวย์ แถลงเหตุผลของการตัดสินมอบรางวัลให้แก่หลิว ว่า เป็นการให้รางวัล “สำหรับการต่อสู้อย่างยาวนานและอย่างสันติวิธีของเขา เพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในประเทศจีน” การตัดสินคราวนั้นสร้างความโกรธเกรี้ยวให้แก่ปักกิ่ง ซึ่งระบุว่า หลิว เสี่ยวโป กระทำความผิดละเมิดกฎหมายของจีน
นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนผู้นี้ถูกทางการแดนมังกรควบคุมตัวมาตั้งแต่ปี 2008 หลังจากเข้าไปร่วมร่างเอกสารที่มีชื่อว่า “กฎบัตร 08” (Charter 08) ซึ่งเป็นคำประกาศเรียกร้องให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศจีนอย่างครอบคลุมกว้างขวาง และลงนามโดยผู้สนับสนุนจำนวนหลายพันราย
ภรรยาก็ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ภายในบ้าน
นับตั้งแต่ที่คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของนอร์เวย์ ประกาศให้ หลิว เสี่ยวโป เป็นผู้ได้รับรางวัลนี้ ภรรยาของเขา หลิว เสีย (Liu Xia) ก็ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ภายในอพาร์ตเมนต์ของทั้งคู่ในกรุงปักกิ่ง
เย่ ตู้ (Ye Du) นักเขียนซึ่งตั้งฐานอยู่ที่เมืองเซินเจิ้น และเป็นเพื่อนสนิทคนหนึ่งของ หลิว เสีย เล่าว่าสภาพของเธอในขณะนี้ไม่ได้ถึงกับเลวร้ายอะไรจนเกินไป ทั้งนี้ภายหลังจากเกิดความเป็นห่วงกังวลตลอดจนมีข่าวลือแพร่สะพัดกว้างขวางเกี่ยวกับสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของเธอในช่วงปีหลังๆ มานี้
“เธอไม่ถึงกับย่ำแย่เลวร้ายอะไรหรอก” เย่ กล่าว “เธอบอกผมว่าเธอยังสามารถไปเยี่ยมเขาได้เดือนละครั้ง และสุขภาพของเขาก็ไม่ได้ย่ำแย่เลวร้ายอะไรเกินไป เนื่องจากสภาพภายในคุกแห่งนั้นถือว่าค่อนข้างดี” เขาบอก
ทางด้าน หู เจีย (Hu Jia) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งฐานอยู่ในปักกิ่ง ได้ออกมากล่าวหาทางการผู้รับผิดชอบของจีนว่า จงใจผลักใสให้ หลิว เสีย ต้องตกอยู่ในสภาพโดดเดี่ยว ห่างไกลญาติพี่น้อง นับตั้งแต่ที่สามีของเธอได้รับการประกาศว่าเป็นผู้ชนะรางวัล ทั้งนี้ปักกิ่งขุ่นเคืองเรื่องนี้มาก ถึงขนาดแสดงความเย็นชาทางการทูตกับนอร์เวย์เรื่อยมานับแต่นั้น
“พวกเขายืนกรานว่า หลิว เสีย จะไม่สามารถเดินทางไปเยี่ยมหลิว เสี่ยวโป ได้ ในตอนที่มีญาติคนอื่นๆ ไป” หู กล่าว “จริงๆ แล้วพวกเขากำลังพยายามที่จะทำให้ หลิว เสีย อยู่ในสภาพโดดเดี่ยวนั่นเอง”
“เพียงแต่ว่าผมยังไม่ทราบชัดเจนว่า พวกเขาทั้งหมดได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยม หลิว เสี่ยวโป พร้อมๆ กันในคราวเดียว หรือมีการจัดให้พวกเขาแยกกันเข้าไปเยี่ยมเป็น 2 ชุดในคราวนี้” เขากล่าว
ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้เอง กลุ่มทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวชาวจีน ได้ออกมาเรียกร้องสหรัฐฯให้ทำการกดดันปักกิ่งในระหว่างการสนทนาหารือระดับทวิภาคีว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประจำปีนี้ เนื่องจากทางการจีนเปิดการปราบปรามกวาดล้างบุคคลวิชาชีพด้านกฎหมายของประเทศในปีนี้ รวมทั้งออกกฎหมายหลายๆ ฉบับที่มีเนื้อหาเป็นการกดขี่ปราบปรามประชาชน
พวกเขาระบุว่าการสนทนาหารือทวิภาคีเช่นนี้คราวก่อนๆ แทบไม่ได้ช่วยเหลือผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างสันติวิธี ตลอดจนผู้ที่ยืนยันเรียกร้องสิทธิทางกฎหมายของตนในการใช้ระบบยุติธรรมของประเทศ ให้ได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้นจากทางการ
ข่าวนี้รายงานโดย คา ปา (Ka pa) และ เว่ย หลิง (Wei Ling) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษากวางตุ้ง (RFA’s Cantonese Service) และภาคภาษาจีนกลาง (RFA’s Mandarin Service)แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย ลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต