(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Forex riddle: China’s foreign reserves fall for 4 straight quarters
By Asia Unhedged
31/07/2015
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน ณ ไตรมาส 2 ของปีนี้ อยู่ในระดับ 3.69 ล้านล้านดอลลาร์ ถึงแม้ยังคงมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ทว่าก็เป็นไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องกันแล้วที่ตัวเลขนี้หดลดลงมา
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนกำลังลดน้อยลงเป็นเวลา 4 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว ถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา ทว่าพวกนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ในตลาดบอกว่า ยังคงไม่ทราบอย่างชัดๆ ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
ในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ของปี 2015 นี้นั้น จีนถึงแม้ยังคงเป็นประเทศที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก แต่ปริมาณได้ลดลง 36,200 ล้านดอลลาร์ เหลือ 3.69 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.99 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งแดนมังกรถือครองอยู่ในช่วงระยะเดียวกันนี้ของเมื่อ 1 ปีก่อน ทั้งนี้ตามตัวเลขข้อมูลของทางการจีนเอง
สภาวการณ์เช่นนี้ ต่อเนื่องจากไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ปีนี้ ที่ปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศซึ่งรักษาไว้โดยธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ที่เป็นแบงก์ชาติของแดนมังกร ได้ลดต่ำลงมา 113,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ในไตรมาส 4 (ต.ค.-ธ.ค.) ของปี 2014 ทุนสำรองนี้ได้หดตัวลงมาแล้ว 47,700 ล้านดอลลาร์ หลังจากลดต่ำ 105,200 ล้านดอลลาร์เมื่อไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.) ของปีที่แล้ว
นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินจำนวนมากพากันอธิบายว่า พวกนักลงทุนต่างประเทศกำลังดึงเงินออกไปจากแดนมังกร เนื่องจากพวกเขาไม่มีความเชื่อมั่นในทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตามรายงานของ “ไฉซิน ออนไลน์” (Caixin Online) เว็บไซต์ข่าวอิสระชื่อดังของจีน (ดูรายละเอียดรายงานข่าวนี้ได้ที่ http://m.english.caixin.com/m/2015-07-31/100835135.html?m_referer=aHR0cDovL3d3dy5jYWl4aW4uY29tL21haWwvZW1haWxjbGljay5qc3A/) ขณะที่ปัจจัยเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐฯกำลังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ก็ส่งผลต่อปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของแดนมังกรเช่นเดียวกัน
เอาล่ะ น่าเชื่อว่าเม็ดเงินลงทุนของต่างประเทศกำลังถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากประเทศจีน แต่การที่จะหาตัวเลขประมาณการซึ่งน่าเชื่อถือว่ามีเงินทุนไหลออกไปเท่าใดแน่ กลับเป็นงานที่ยากลำบาก โดยรายงานของไฉซินอธิบายว่า เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่ได้เผยแพร่รายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับการถือครองเงินตราต่างประเทศและการลงทุนต่างๆ ของตน ขณะที่ตัวเลขซึ่งมีปรากฏออกมาก็กลับไม่ค่อยน่าเชื่อถือ
โกลด์แมนแซคส์ (Goldman Sachs) รายงานเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมว่า ในรอบไตรมาส 2 ปีนี้มีเงินทุนไหลออกจากจีนประมาณ 200,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ตามรายงานของไฉซิน ทว่าในอีก 2 วันต่อมา ระหว่างการแถลงข่าวซึ่งจัดโดย “องค์การบริหารอัตราแลกเปลี่ยน” (State Administration of Foreign Exchange) โฆษกหญิงผู้หนึ่งได้ระบุว่า ในครึ่งแรกของปีนี้ ไม่มีเงินทุนไหลออกไปจากจีนด้วยปริมาณที่มีความสำคัญใดๆ เลย
จู ไห่ปิน (Zhu Haibin) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ติดตามเรื่องจีน ของ เจพีมอร์แกนเชส (JPMorgan Chase) ให้ความเห็นว่า เงินทุนที่ไหลออกไปจากจีนนั้น สามารถที่จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1. เป็นเงินทุนข้ามพรมแดนที่ไหลเข้าไปเป็นเงินฝากและหนี้สินสกุลเงินตราต่างประเทศของบริษัทต่างๆ , 2. เป็นเม็ดเงินลงทุนโดยตรงของต่างประเทศสุทธิ, 3. เป็นการชำระเงินข้ามพรมแดนในรูปสกุลเงินหยวน, และประเภทสุดท้ายคือ “เงินร้อน” (hot money) เขาบอกกับไฉซินว่า ในทั้ง 4 ประเภทนี้ ยกเว้นที่เป็นเงินร้อนแล้ว การเปลี่ยนแปลงใน 3 ประเภทแรก จริงๆ แล้วต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ให้ผลบวกด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ถ้าบริษัทต่างๆ ไม่ได้คาดหมายว่าเงินหยวนจะยังคงแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ แล้ว พวกเขาก็ย่อมจะต้องถือครองเงินฝากที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเอาไว้ ขณะที่ลดหนี้สินที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศลงไป จูมองว่า แบงก์ชาติของจีนน่าจะพอใจที่ได้เห็นภาคเอกชนถือครองและทำการลงทุนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศกันมากขึ้น
ไฉซินยังอ้างความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ อีก 2 คนซึ่งเห็นพ้องกันว่า การที่พวกบริษัทและบุคคลธรรมดาถือครองสกุลเงินตราต่างประเทศกันมากขึ้นนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ลดต่ำลง
นอกจากนั้นยังต้องไม่ลืมว่า จีนยังกำลังสาละวนอยู่กับการก่อตั้งธนาคารใหม่ๆ และสถาบันใหม่ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ความสนับสนุนด้านเงินทุนแก่โครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ยักษ์หลายๆ โครงการ กล่าวคือ กองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) นั้นคาดหมายกันว่าจะได้รับจัดสรรเงินทุนจากทางการจีน 40,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ (New Development Bank) ของกลุ่มบริกส์ (BRICS) ก็กำลังได้รับเงินทุนเป็นหลักหลายสิบล้านดอลลาร์เช่นกัน
อย่างไรก็ดี จู บอกกับไฉซินว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเม็ดเงินลงทุนเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของทางการจีนในครึ่งปีแรกนี้หรือไม่ และหากส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะอยู่ในขนาดมากน้อยแค่ไหน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Forex riddle: China’s foreign reserves fall for 4 straight quarters
By Asia Unhedged
31/07/2015
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน ณ ไตรมาส 2 ของปีนี้ อยู่ในระดับ 3.69 ล้านล้านดอลลาร์ ถึงแม้ยังคงมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ทว่าก็เป็นไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องกันแล้วที่ตัวเลขนี้หดลดลงมา
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนกำลังลดน้อยลงเป็นเวลา 4 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว ถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา ทว่าพวกนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ในตลาดบอกว่า ยังคงไม่ทราบอย่างชัดๆ ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
ในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ของปี 2015 นี้นั้น จีนถึงแม้ยังคงเป็นประเทศที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก แต่ปริมาณได้ลดลง 36,200 ล้านดอลลาร์ เหลือ 3.69 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.99 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งแดนมังกรถือครองอยู่ในช่วงระยะเดียวกันนี้ของเมื่อ 1 ปีก่อน ทั้งนี้ตามตัวเลขข้อมูลของทางการจีนเอง
สภาวการณ์เช่นนี้ ต่อเนื่องจากไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ปีนี้ ที่ปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศซึ่งรักษาไว้โดยธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ที่เป็นแบงก์ชาติของแดนมังกร ได้ลดต่ำลงมา 113,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ในไตรมาส 4 (ต.ค.-ธ.ค.) ของปี 2014 ทุนสำรองนี้ได้หดตัวลงมาแล้ว 47,700 ล้านดอลลาร์ หลังจากลดต่ำ 105,200 ล้านดอลลาร์เมื่อไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.) ของปีที่แล้ว
นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินจำนวนมากพากันอธิบายว่า พวกนักลงทุนต่างประเทศกำลังดึงเงินออกไปจากแดนมังกร เนื่องจากพวกเขาไม่มีความเชื่อมั่นในทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตามรายงานของ “ไฉซิน ออนไลน์” (Caixin Online) เว็บไซต์ข่าวอิสระชื่อดังของจีน (ดูรายละเอียดรายงานข่าวนี้ได้ที่ http://m.english.caixin.com/m/2015-07-31/100835135.html?m_referer=aHR0cDovL3d3dy5jYWl4aW4uY29tL21haWwvZW1haWxjbGljay5qc3A/) ขณะที่ปัจจัยเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐฯกำลังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ก็ส่งผลต่อปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของแดนมังกรเช่นเดียวกัน
เอาล่ะ น่าเชื่อว่าเม็ดเงินลงทุนของต่างประเทศกำลังถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากประเทศจีน แต่การที่จะหาตัวเลขประมาณการซึ่งน่าเชื่อถือว่ามีเงินทุนไหลออกไปเท่าใดแน่ กลับเป็นงานที่ยากลำบาก โดยรายงานของไฉซินอธิบายว่า เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่ได้เผยแพร่รายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับการถือครองเงินตราต่างประเทศและการลงทุนต่างๆ ของตน ขณะที่ตัวเลขซึ่งมีปรากฏออกมาก็กลับไม่ค่อยน่าเชื่อถือ
โกลด์แมนแซคส์ (Goldman Sachs) รายงานเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมว่า ในรอบไตรมาส 2 ปีนี้มีเงินทุนไหลออกจากจีนประมาณ 200,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ตามรายงานของไฉซิน ทว่าในอีก 2 วันต่อมา ระหว่างการแถลงข่าวซึ่งจัดโดย “องค์การบริหารอัตราแลกเปลี่ยน” (State Administration of Foreign Exchange) โฆษกหญิงผู้หนึ่งได้ระบุว่า ในครึ่งแรกของปีนี้ ไม่มีเงินทุนไหลออกไปจากจีนด้วยปริมาณที่มีความสำคัญใดๆ เลย
จู ไห่ปิน (Zhu Haibin) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ติดตามเรื่องจีน ของ เจพีมอร์แกนเชส (JPMorgan Chase) ให้ความเห็นว่า เงินทุนที่ไหลออกไปจากจีนนั้น สามารถที่จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1. เป็นเงินทุนข้ามพรมแดนที่ไหลเข้าไปเป็นเงินฝากและหนี้สินสกุลเงินตราต่างประเทศของบริษัทต่างๆ , 2. เป็นเม็ดเงินลงทุนโดยตรงของต่างประเทศสุทธิ, 3. เป็นการชำระเงินข้ามพรมแดนในรูปสกุลเงินหยวน, และประเภทสุดท้ายคือ “เงินร้อน” (hot money) เขาบอกกับไฉซินว่า ในทั้ง 4 ประเภทนี้ ยกเว้นที่เป็นเงินร้อนแล้ว การเปลี่ยนแปลงใน 3 ประเภทแรก จริงๆ แล้วต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ให้ผลบวกด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ถ้าบริษัทต่างๆ ไม่ได้คาดหมายว่าเงินหยวนจะยังคงแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ แล้ว พวกเขาก็ย่อมจะต้องถือครองเงินฝากที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเอาไว้ ขณะที่ลดหนี้สินที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศลงไป จูมองว่า แบงก์ชาติของจีนน่าจะพอใจที่ได้เห็นภาคเอกชนถือครองและทำการลงทุนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศกันมากขึ้น
ไฉซินยังอ้างความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ อีก 2 คนซึ่งเห็นพ้องกันว่า การที่พวกบริษัทและบุคคลธรรมดาถือครองสกุลเงินตราต่างประเทศกันมากขึ้นนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ลดต่ำลง
นอกจากนั้นยังต้องไม่ลืมว่า จีนยังกำลังสาละวนอยู่กับการก่อตั้งธนาคารใหม่ๆ และสถาบันใหม่ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ความสนับสนุนด้านเงินทุนแก่โครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ยักษ์หลายๆ โครงการ กล่าวคือ กองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) นั้นคาดหมายกันว่าจะได้รับจัดสรรเงินทุนจากทางการจีน 40,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ (New Development Bank) ของกลุ่มบริกส์ (BRICS) ก็กำลังได้รับเงินทุนเป็นหลักหลายสิบล้านดอลลาร์เช่นกัน
อย่างไรก็ดี จู บอกกับไฉซินว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเม็ดเงินลงทุนเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของทางการจีนในครึ่งปีแรกนี้หรือไม่ และหากส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะอยู่ในขนาดมากน้อยแค่ไหน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)