(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Few western eyes on BRICS summit
By Asia Unhedged
08/07/2015
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบปะหารือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ (BRICS) และการประชุมซัมมิตขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization ใช้อักษรย่อว่า SCO) ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 กรกฎาคม กลุ่มความร่วมมือเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มบริกส์ ต้องถือว่าเป็นอะไรที่ไม่สามารถมองข้ามได้ทีเดียว เมื่อปีที่แล้วผลผลิตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศบริกส์ รวมกันมีมูลค่าเท่ากับ 17 ล้านล้านดอลลาร์ เกือบเท่ากับจีดีพีของสหรัฐฯ
ขณะที่นักวิชาการและผู้รู้ในตลาดการเงินแทบทั้งหมด ต่างวุ่นวายสาละวนอยู่กับวิกฤตกรีซ และการไหลรูดของหุ้นจีนอยู่ในเวลานี้ เหตุการณ์ซึ่งมีศักยภาพที่จะกลายเป็นเหตุการณ์ใหญ่กว่านั้นเสียอีก สืบเนื่องจากนัยทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และการเงินอันลึกซึ้งที่มีต่อสหรัฐฯ ก็ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันพุธ (8 ก.ค.) ที่ผ่านมา
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบปะหารือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 7 และการประชุมซัมมิตขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization ใช้อักษรย่อว่า SCO) ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 กรกฎาคม ณ เมืองอูฟา (Ufa) ประเทศรัสเซีย การประชุมพบปะระดับผู้นำเหล่านี้จะโฟกัสไปที่เรื่องการค้าและโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค, ความร่วมมือระดับทวิภาคีภายในกรอบโครงพหุภาคี, ตลอดจนการประสานงานและความร่วมมือกันในกิจการระดับภูมิภาคและกิจการระดับระหว่างประเทศ ทั้งนี้ตามคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีน
SCO และ BRICS เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกทางเลือกนอกกระแสหลัก ที่จีนกำลังเพียรพยายามสร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของรัสเซีย กลุ่มความร่วมมือนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มบริกส์ (ซึ่งชื่อของกลุ่มมาจากอักษรตัวหน้าของชื่อประเทศในภาษาอังกฤษของทั้ง 5 ชาติสมาชิก อันได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้) ต้องถือว่าเป็นอะไรที่ไม่สามารถมองข้ามได้ทีเดียว โดยที่เมื่อปีที่แล้วผลผลิตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศเหล่านี้รวมกันมีมูลค่าเท่ากับ 17 ล้านล้านดอลลาร์ เกือบเท่ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) เพียงเมื่อปี 2007 นี้เอง จีดีพีของสหรัฐฯยังอยู่ในระดับเป็น 2 เท่าตัวของผลผลิตของ 5 ประเทศบริกส์อยู่เลย
“ถึงแม้มีความน่าผิดหวังบางสิ่งบางอย่างในระบบเศรษฐกิจของบางชาติสมาชิกกลุ่มบริกส์ นำโดยจีนและอินเดีย ทว่าน้ำหนักโดยรวมของพวกเขาในจีดีพีโลกก็ยังคงเพิ่มขึ้น และนั่นย่อมหมายถึงความสำคัญของพวกเขาก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน” จิม โอนีลล์ (Jim O’Neill) อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป (Goldman Sachs Group) ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อของกลุ่มนี้ขึ้นมาย้อนหลังไปเมื่อปี 2001 บอกกับบลูมเบิร์ก
แรงผลักดันสำคัญที่สุดของซัมมิตคราวนี้ ได้แก่การประชุมหารือกันในเรื่อง “ธนาคารพัฒนาใหม่” (New Development Bank) ของกลุ่มบริกส์ โดยที่จะมีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารชุดแรกของแบงก์แห่งนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบการด้วยประธาน 1 คน และรองประธานอีก 4 คน คณะผู้บริหารนี้จะมีออฟฟิศอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และคาดหมายกันว่าแบงก์แห่งนี้จะเริ่มดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2015 หรือช่วงเริ่มต้นปี 2016
ธนาคารแห่งนี้จะมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 100,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งครึ่งหนึ่งจะมาจากเหล่าสมาชิกของกลุ่มบริกส์ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ (China Daily) ของทางการจีน เค.วี. คามัธ (K.V. Kamath) นายธนาคารชื่อดังชาวอินเดีย จะเข้าเป็นประธานคนแรกของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ของบริกส์ ส่วนเจ้าหน้าที่อื่นๆ อีก 2 คนจะมาจากรัสเซียและบราซิล
ตั้งแต่ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตคราวนี้แล้ว ประเทศสมาชิกกลุ่มบริกส์ก็มีการสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เป็นต้นว่า ใน “ธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ซึ่งจีนเป็นตัวตั้งตัวตีนั้น ถัดจากแดนมังกรที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดแล้ว อินเดียและรัสเซียคือผู้ออกเงินทุนรายใหญ่ที่สุดรองลงมาเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 ทั้งนี้สหรัฐฯและญี่ปุ่นมิได้อยู่ในกลุ่ม 57 ชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งแบงก์แห่งนี้
“สิ่งที่เป็น ‘กาวใจ’ เพิ่มขึ้นมาอีกสำหรับเหล่าผู้นำของกลุ่มบริกส์ ก็คือโครงการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ ที่ได้มีการหารือพูดคุยกันตั้งแต่ครั้งการประชุมซัมมิตปีที่แล้ว” บลูมเบิร์กรายงาน “เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์ ‘หนึ่งแถบ, หนึ่งเส้นทาง’(One Belt, One Road) ของจีน”
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Few western eyes on BRICS summit
By Asia Unhedged
08/07/2015
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบปะหารือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ (BRICS) และการประชุมซัมมิตขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization ใช้อักษรย่อว่า SCO) ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 กรกฎาคม กลุ่มความร่วมมือเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มบริกส์ ต้องถือว่าเป็นอะไรที่ไม่สามารถมองข้ามได้ทีเดียว เมื่อปีที่แล้วผลผลิตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศบริกส์ รวมกันมีมูลค่าเท่ากับ 17 ล้านล้านดอลลาร์ เกือบเท่ากับจีดีพีของสหรัฐฯ
ขณะที่นักวิชาการและผู้รู้ในตลาดการเงินแทบทั้งหมด ต่างวุ่นวายสาละวนอยู่กับวิกฤตกรีซ และการไหลรูดของหุ้นจีนอยู่ในเวลานี้ เหตุการณ์ซึ่งมีศักยภาพที่จะกลายเป็นเหตุการณ์ใหญ่กว่านั้นเสียอีก สืบเนื่องจากนัยทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และการเงินอันลึกซึ้งที่มีต่อสหรัฐฯ ก็ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันพุธ (8 ก.ค.) ที่ผ่านมา
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบปะหารือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในการประชุมซัมมิตของกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 7 และการประชุมซัมมิตขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization ใช้อักษรย่อว่า SCO) ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 กรกฎาคม ณ เมืองอูฟา (Ufa) ประเทศรัสเซีย การประชุมพบปะระดับผู้นำเหล่านี้จะโฟกัสไปที่เรื่องการค้าและโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค, ความร่วมมือระดับทวิภาคีภายในกรอบโครงพหุภาคี, ตลอดจนการประสานงานและความร่วมมือกันในกิจการระดับภูมิภาคและกิจการระดับระหว่างประเทศ ทั้งนี้ตามคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีน
SCO และ BRICS เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกทางเลือกนอกกระแสหลัก ที่จีนกำลังเพียรพยายามสร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของรัสเซีย กลุ่มความร่วมมือนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มบริกส์ (ซึ่งชื่อของกลุ่มมาจากอักษรตัวหน้าของชื่อประเทศในภาษาอังกฤษของทั้ง 5 ชาติสมาชิก อันได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้) ต้องถือว่าเป็นอะไรที่ไม่สามารถมองข้ามได้ทีเดียว โดยที่เมื่อปีที่แล้วผลผลิตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศเหล่านี้รวมกันมีมูลค่าเท่ากับ 17 ล้านล้านดอลลาร์ เกือบเท่ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) เพียงเมื่อปี 2007 นี้เอง จีดีพีของสหรัฐฯยังอยู่ในระดับเป็น 2 เท่าตัวของผลผลิตของ 5 ประเทศบริกส์อยู่เลย
“ถึงแม้มีความน่าผิดหวังบางสิ่งบางอย่างในระบบเศรษฐกิจของบางชาติสมาชิกกลุ่มบริกส์ นำโดยจีนและอินเดีย ทว่าน้ำหนักโดยรวมของพวกเขาในจีดีพีโลกก็ยังคงเพิ่มขึ้น และนั่นย่อมหมายถึงความสำคัญของพวกเขาก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน” จิม โอนีลล์ (Jim O’Neill) อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป (Goldman Sachs Group) ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อของกลุ่มนี้ขึ้นมาย้อนหลังไปเมื่อปี 2001 บอกกับบลูมเบิร์ก
แรงผลักดันสำคัญที่สุดของซัมมิตคราวนี้ ได้แก่การประชุมหารือกันในเรื่อง “ธนาคารพัฒนาใหม่” (New Development Bank) ของกลุ่มบริกส์ โดยที่จะมีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารชุดแรกของแบงก์แห่งนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบการด้วยประธาน 1 คน และรองประธานอีก 4 คน คณะผู้บริหารนี้จะมีออฟฟิศอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และคาดหมายกันว่าแบงก์แห่งนี้จะเริ่มดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2015 หรือช่วงเริ่มต้นปี 2016
ธนาคารแห่งนี้จะมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 100,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งครึ่งหนึ่งจะมาจากเหล่าสมาชิกของกลุ่มบริกส์ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ (China Daily) ของทางการจีน เค.วี. คามัธ (K.V. Kamath) นายธนาคารชื่อดังชาวอินเดีย จะเข้าเป็นประธานคนแรกของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ของบริกส์ ส่วนเจ้าหน้าที่อื่นๆ อีก 2 คนจะมาจากรัสเซียและบราซิล
ตั้งแต่ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตคราวนี้แล้ว ประเทศสมาชิกกลุ่มบริกส์ก็มีการสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เป็นต้นว่า ใน “ธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ซึ่งจีนเป็นตัวตั้งตัวตีนั้น ถัดจากแดนมังกรที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดแล้ว อินเดียและรัสเซียคือผู้ออกเงินทุนรายใหญ่ที่สุดรองลงมาเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 ทั้งนี้สหรัฐฯและญี่ปุ่นมิได้อยู่ในกลุ่ม 57 ชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งแบงก์แห่งนี้
“สิ่งที่เป็น ‘กาวใจ’ เพิ่มขึ้นมาอีกสำหรับเหล่าผู้นำของกลุ่มบริกส์ ก็คือโครงการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ ที่ได้มีการหารือพูดคุยกันตั้งแต่ครั้งการประชุมซัมมิตปีที่แล้ว” บลูมเบิร์กรายงาน “เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์ ‘หนึ่งแถบ, หนึ่งเส้นทาง’(One Belt, One Road) ของจีน”
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)