xs
xsm
sm
md
lg

FBI จับ “สายลับรัสเซีย” อ้างตัวเป็นนักการทูต-นายธนาคาร สืบข้อมูลวอลสตรีท หาช่องทางล่มเศรษฐกิจอเมริกา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อีฟเกนี บูร์ยาคอฟ (Evgeny Buryakov) ผู้ที่อ้างตัวเป็นนายธนาคารจากสถาบันการเงินที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของ ถูก  FBI จับกุม และจะต้องขึ้นศาาลในข้อหาจารกรรมผลประโยชน์สหรัฐฯให้กับหน่วยงานข่าวกรองรัสเซีย  SVR ในช่วงปี 2010 -2014
เอเจนซีส์ - ดูเหมือนสงครามเย็นจะกลับมาคืนอีกครั้ง เมื่อล่าสุด FBI สหรัฐฯสามารถจับสายลับรัสเซีย 3 คนที่อ้างว่าเป็นนักการทูตและนายธนาคารได้ในขณะที่พยายามรับสมัครกลุ่มผู้หญิงที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก โดยใช้การติดต่อด้วยรหัสลับ และพบโดยตรงโดยไม่ผ่านช่องทางการติดต่อผ่านอีเมลหรือโทรศัพท์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดักฟัง เพื่อสืบความลับทางการเงินเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพื่อหาทางทำลาย

เดลีเทเลกราฟต์ รายงานเมื่อวานนี้(26)ว่า สายลับรัสเซีย 3 คนที่อ้างตัวเป็นนักการทูตและนายธนาคารถูกจับกุมโดย FBI สหรัฐฯในข้อหาจารกรรมความลับอเมริกา ซึ่งคนทั้งสามทำงานร่วมกับคนอื่นเพื่อหาความลับทางเศรษฐกิจและการเงิน รวมไปถึงการคว่ำบาตรเศรษฐกิจต่อรัสเซียในสถานการณ์ความตรึงเครียดของ 2 ชาติที่มีความสัมพันธ์เลวร้ายอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เกิดวิกฤตยูเครน

โดย FBI ได้เริ่มต้นการสอบสวนสืบเนื่องมาจากคดีการจับกุมในปี 2010 ของ “คนใน” แอนนา แชมป์แมน ( Anna Chapman  ) และสาบลับอีก 9 คน ที่อยู่ในเซลที่แอบฝังตัว ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายที่กลุ่มสายลับรัสเซียทั้ง 3 ต้องการมาให้ร่วมงานด้วยเป็นกลุ่มผู้หญิงอายุน้อยนิรนามกลุ่มหนึ่ง “ที่มีความสัมพันธ์กับมาหวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งที่อยู่ในนิวยอร์ก” รวมไปถึงมีตำแหน่งในบริษัทชั้นนำในอเมริกา

อีฟเกนี บูร์ยาคอฟ (Evgeny Buryakov) ผู้ที่อ้างตัวเป็นนายธนาคารจากสถาบันการเงินที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของ ถูก FBI จับกุม และจะต้องขึ้นศาาลในข้อหาจารกรรมผลประโยชน์สหรัฐฯให้กับหน่วยงานข่าวกรองรัสเซีย  SVR ในช่วงปี 2010 -2014 และผู้ต้องหาอีก 2 รายที่ถูกระบุในคำฟ้องคือ อีกอร์ สโปริเชฟ ( Igor Sporyshev) และวิกเตอร์ โปดอบนีย์ (Victor Podobnyy) ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่การทูตรัสเซียประจำนิวยอร์ก และประจำองค์การสหประชาชาติ แต่ทว่าทั้ง สโปริเชฟและโปดอบนีย์นั้นได้เดินทางออกจากสหรัฐฯไปก่อนหน้านี้ และได้รับการคุ้มครองทางการทูต

ในคำร้องร่วม 26 หน้า ชี้ว่า บูร์ยาคอฟมีความสนใจที่จะเรียนรุ้การซื้อขายของวอลสตรีทแบบไฮสปีด และโปรแกรมเทรดหุ้นอัตโนมัติ (automated trading algorithms ) รวมไปถึงการไร้เสถีรภาพของตลาด ซึ่งความสนใจเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์อเมริกันรู้สึกแปลกใจ และคิดว่าชายผุ้นี้อาจต้องการเรียนรู้เพื่อที่ต้องการจะล่มระบบตลาดหลักทรัพย์อเมริกาโดยการทำให้การซื้อขายการหุ้นและหลักทรัพย์ที่อ่อนไหวง่ายปั่นป่วนผ่านทางโปรแกรมเทรดหุ้นอัตโนมัติ ซึ่งพรีท บารารา ( Preet Bharara) อัยการสหรัฐฯที่จะนำสืบในคดีนี้ชี้ว่า คดีนี้เผยให้เห็นความตรึงเครียดที่ชัดเจนระหว่างสหรัฐฯและรัสเซีย

นอกจากนี้สื่ออังกฤษรายงานเพิ่มเติมว่า สายลับทั้งสามคนสืบหาข้อมูลผลประโยชน์สหรัฐฯให้กับหน่วยงานข่าวกรองรัสเซีย  SVR และมีความพยายามที่จะจ้างวานผู้ที่มีถิ่นพำนักในสหรัฐฯเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล “ที่มีบางส่วนสามารถระบุชื่อและบางส่วนไม่” อ้างอิงจากคำฟ้อง

และพบว่าทั้งบูร์ยาคอฟ สโปริเชฟ และโปดอบนีย์ถูกสั่งการให้มุ่งค้นหาข้อมุลโดยเฉพาะในส่วนที่สหรัฐฯต้องการจะคว่ำบาตรรัสเซีย และความสามารถของสหรัฐฯในการที่จะพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น FBI แถลง

ในการติดต่อระหว่างสายลับพบว่ามีการใช้รหัสข้อความ รวมไปถึงการพบปะแบบตัวต่อตัวเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในแบบทั้งจากคำพูดและการเขียนด้วยลายมือ โดยพบว่าสายลับหมีขาวเลี่ยงที่จะใช้การติดต่อผ่านทางเทคโนโลยีเพื่อเลี่ยงการถูกสอดแนม เช่น อีเมล หรือโทรศัพท์ ซึ่งรหัสลับรวมไปถึง คำสามัญ เช่น ตั๋ว หนังสือ รายขื่อ และร่ม”

“เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2012 ไปจนถึงกลางเดือนกันนายน 2014 FBI สามารถสอดแนมบูร์ยาคอฟและสโปริเชฟ ทั้งอิเลกทรอนิก และแบบซึ่งหน้า ในการพบปะของคนทั้งคุ่กว่า 48 ครั้ง ซึ่งรวมไปถึงการนัดหมายส่วนหนึ่งที่พบว่า บูร์ยาคอฟได้ส่งกระเป๋า นิตยสาร หรือแผ่นกระดาษ มอบให้กับนักการทูตรัสเซียรายนี้ในที่สาธารณะ ซึ่งความเสี่ยงในการถูกสอดแนมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับต้องพบในที่ส่วนบุคคล” รายงานจากคำฟ้อง 26 หน้า

นอกจากนี้ FBI ได้ลอบวางเครื่องดักฟังไว้ในตึกแห่งหนึ่งที่ถูกใช้โดย SVR ในแมนแฮตตัน และสามารถบันทึกคำสนทนาระหว่างสายลับไว้ได้ โดยสหรัฐฯสามารถจับตามองความเคลื่อนไหว ตลอดจนหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ รวมไปถึงใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 1 คน

และนอกจากนี้ยังพบว่า มีการใช้สำนักข่าวที่มีรัฐบาลรัสเซีนเป็นเจ้าของ อิตาร์ทาส ในการหาข่าวลับ โดยการป้อนคำถามทให้กับสำนักข่าวในการสืบหาความลับวอลสตรีท

ในขณะเดียวกัน สื่ออังกฤษรายงานว่า สถานทูตรัสเซียประจำนิวยอร์กไม่ออกความเห็นในการจับกุมครั้งนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น