xs
xsm
sm
md
lg

In Pics:“ยานแคปซูลโอไรออน” กลับคืนสู่โลกสำเร็จ คืบไปอีกก้าวสู่ภารกิจ “มนุษย์เหยียบดาวอังคาร” ของโอบามา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - เมื่อเช้าวานนี้(5)ยานแคปซูลโอไรออน (Orion)กลับคืนสู่ผืนผิวโลกสำเร็จด้วยการตกลงไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับเม็กซิโกหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจโคจร 4.30 ชม.ที่ส่งให้ยานอวกาศที่เดินทางห่างจากโลกร่วม 3,604 ไมล์ บินโคจรรอบโลกได้สำเร็จถึง 2 ครั้ง ซึ่งนาซา สหรัฐฯ ตั้งความหวังว่ายานแคปซูลโอไรออนจะสามารถนำนักบินอวกาศจากโลกไปยังแอสเตอรอยด์(asteroid)ที่ใกล้โลกมากที่สุดในอีก 10 ปีข้างหน้า และจะมุ่งหน้าต่อไปยังดาวอังคารในยุค 2030 ภารกิจมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา

RT รายงานเมื่อวานนี้(5)ว่า 1 วันหลังจากความพยายามในการปล่อยยานอวกาศได้ถูกเลื่อนอออกไปเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย และเกิดจากปัญหาวาล์ว ยานโอไรออนสามารถร่อนลงกลับโลกได้ตามกำหนด ห่างจากซานดิเอโกทางใต้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ไปราว 200 ไมล์ ในเวลา 8.29 น.เมื่อวานนี้(5)

ซึ่งภารกิจในวันศุกร์(5)นั้นสร้างประวัติศาสตร์ครั้งแรกของยานอวกาศสัญชาติอเมริกันที่สร้างเพื่อมนุษย์สามารถโคจรได้ต่ำกว่าวงโคจรของโลกปกตินับตั้งแต่ปี 1972ในยุคยานอพอลโลที่เหยียบดวงจันทร์

โอไรอนเดินทางจากโลกร่วม 3,604 ไมล์ ใช้เวลา 3 ชม.ในปฎิบัติการ และเข้าสู่ 2 วงโคจรของโลก และหากเมื่อใดก็ตามที่ยานแคปซูลโอไรออนขนาดความสูง 11 ฟุตมีความพร้อมที่จะสามารถนำนักบินอวกาศขึ้นไปได้ คาดว่ายานแคปซูลลำนี้จะสามารถบรรทุกได้ถึง 6 คน ถือเป็นจำนวน 2 เท่าที่ภารกิจยานอพอลโลเคยจารึกไว้

ทั้งนี้นาซา สหรัฐฯ ตั้งความหวังว่ายานแคปซูลโอไรออนจะสามารถนำนักบินอวกาศจากโลกไปยังแอสเตอรอยด์(asteroid)ที่ใกล้โลกมากที่สุดในอีก 10 ปีข้างหน้า และจะมุ่งหน้าต่อไปยังดาวอังคารในยุค 2030 และก่อนหน้านี้ที่สื่อรัสเซียรายงานความคืบหน้า ระบบเซนเซอร์ 1,200 ตัวบนยานจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ประจำนาซาเข้าใจทุกมิติของเที่ยวบินสำรวจนี้เพื่อการพัฒนาสำหรับภารกิจครั้งต่อไป

“ผมขอเรียกภารกิจการบินครั้งนี้ว่าเป็นยุคบุกเบิกไปสู่ดาวอังคาร” ชาร์ลส โบเดน (Charles Bolden) ผู้บริหารองค์การนาซา สหรัฐฯ ประกาศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง “นาซา” ก่อนหน้านี้ และวิลเลียม ฮิล ( William Hill) จากสำนักงานพัฒนาระบบสำรวจของนาซาให้สัมภาษณ์กับเอพีเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้ว่า “เราถือเป็นผู้บุกเบิกในภารกิจสู่ดาวอังคารก่อนใคร และเราจะอยู่ในแนวทางนี้จนกว่าจะสำเร็จ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาหลาย 10 ปีแต่นี่เป็นความตั้งใจของนาซา”

ในเช้าวันศุกร์(5)จรวดเดลตา 4 ( Delta IV)นำยานแคปซูลโอไรอนขึ้นสู่อวกาศจากแหลมเคปคานาวาล รัฐฟลอริดา ซึ่งเป็นฐานปล่อยยานอวกาศของนาซา และยานแคปซูลโอไรอนกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศโลก 4.30น. หลังจากนั้น ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่า โอไรอนสามารถเดินทางด้วยความเร็ว 20,000 ไมล์/ชม.

แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ภารกิจขึ้นสู่อวกาศครั้งต่อไปของโอไรอนจะลากยาวนานไปถึงปี 2017 หรือ 2018 เพราะนาซายังอยู่ในการพัฒนาระบบการปล่อยจรวดแบบใหม่ที่เรียกว่า Space Launch System (SLS) ซึ่งสื่อรัสเซียรายงานว่า เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ยานโอไรอนจะถูกติดตั้งอยู่ด้านบนของจรวดขนาดยักษ์

และหากการทดสอบทั้งคู่ประสบความสำเร็จ นาซาจะนำมนุษย์อวกาศเดินทางไปกับยานแคปซูลโอไรอนในปี 2021เพื่อการสำรวจอวกาศที่ไกลโพ้น แต่ในเบื้องต้นนาซาต้องกาให้มนุษย์อวกาศสามารถสำรวจแอสเตอรอยด์ที่ใกล้โลกที่สุด รวมถึงไปเหยียบดาวอังคารภายในช่วงยุค 2030
ภาพการกลับคืนสู่โลกของยานแคปซูลโอไรออนตกห่างจากซานดิเอโกไปทางใต้ราว 200 ไมล์ ลอยกลางมหาสมุทรแปซิฟิก

ภารกิจการกู้ยานโอไรออนได้รับความร่วมมือจากหน่วยกองทัพเรือสหรัฐฯ
จุดแดงแสดงจุดร่อนลงของยานโอไรออนกลางมหาสมุทรแปซิฟิก
ภาพยานโอไรออนในอวกาศ

ภายในยานโอไรออน เจ้าหน้าที่นาซาบรรจุสัมภาระในกล่องอาหารกลางวันรวมไปถึง คุกกี้
ภาพโลกจากยานโอเรียน


เปรียบเทียบยานอพอลโลและยานโอเรียน








ภาพผู้คนเฝ้าดูเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้

บรรดานักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS


นาซา สหรัฐฯ ตั้งความหวังว่ายานแคปซูลโอไรออนจะสามารถนำนักบินอวกาศจากโลกไปยังแอสเตอรอยด์(asteroid)ที่ใกล้โลกมากที่สุดในอีก 10 ปีข้างหน้า และจะมุ่งหน้าต่อไปยังดาวอังคารในยุค  2030

กำลังโหลดความคิดเห็น