xs
xsm
sm
md
lg

“เบลเยียม” นำทีมทีมวิจัยทั่วยุโรปศึกษา “โปรเจกเซรุมเลือดพิชิตอีโบลา” ในกินี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ – องค์การอนามัยโลก หรือWHO ประกาศในรายงานล่าสุดว่า ยอดผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาจำนวน 10,141 คนแล้วในสัปดาห์นี้ ในขณะที่ยอดเสียชีวิต 4,922 ราย ในขณะที่ทีมเจ้าหน้าที่วิจัยนานาชาติเพื่อศึกษาการใช้เซรุ่มเลือดที่ผลิตมาจากแอนติบอดี้ของผู้รอดชีวิตเพื่อรักษาผู้ป่วยอีโบลาได้เริ่มจัดตั้งขึ้น

บีบีซี สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้(25)ว่า มีเพียง 27 รายที่เกิดติดเชื้อนอกเซียร์ราลีโอน กินี และไลบีเรีย 3 ประเทศที่มีการระบาดของอีโบลาหลักในแอฟริกาตะวันตก

รายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ล่าสุดถึงสถานการณ์การระบาดของโลกพบว่า ไลบีเรียยังคงเป็นประเทศที่มีการระบาดมากที่สุดด้วยตัวเลขผู้เสียชีวิต 2,705 ราย เซียร์ราลีโอน 1,281 ราย และกินี 926 รายตามลำดับ ส่วนไนจีเรียมี 8 ราย ส่วนมาลีและสหรัฐฯมีผู้เสียชีวิต 1 รายเท่านั้น

ในรายงานพบว่า มียอดการติดเชื้อทั้งหมด 10,141 คนในขณะนี้ แต่กระนั้น WHO คาดการณ์ว่าตัวเลขจริงอาจจะสูงกว่านี้เพราะผู้ป่วยเหล่านั้นอยู่ภายในในบ้านพักของพวกเขา และไม่ได้เดินทางไปรักษาตัวที่ศูนย์การแพทย์ที่ทางรัฐบาลในแต่ละประเทศจัดตั้งขึ้น และพบว่าศูนย์การแพทย์จำนวนมากเหล่านี้แออัดไปด้วยผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา

และในขณะเดียวกัน สื่ออังกฤษรายงานเพิ่มเติมว่า ได้มีการจัดตั้งทีมนักวิจัยจากนานาชาติเพื่อวิจัยเซรุ่มเลือดรักษาอีโบลา โดยคาดว่าการศึกษาจะเริ่มขึ้นในกินี โดยทางทีมงานหวังจะใช้แอนติบอดี้ในเลือดของผู้ป่วยที่รอดชีวิตกระตุ้นการทำงานภูมิคุ้มกันโรคของคนไข้ติดเชื้อให้สามารถต่อสู้กับไวรัสได้ แต่ถึงแม้ทฤษฎีดูจะมีความเป็นไปได้ แต่ WHO รวมถึงสถาบันการแพทย์ต่างๆยังขาดข้อมูลทางคลีนิกจำนวนมายืนยันประสิทธิภาพในการใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ

ซึ่งในสหรัฐฯ นีน่า ฟาม พยาบาลจากโรงพยาบาลเทกซัสไบเพรสทีเรียนที่เพิ่งถูกประกาศเป็นผู้ปลอดเชื้อเมื่อเร็ววันนี้ไม่ได้รับยาทดลองอีโบลา หรือเซรุมทดลองเหมือนเช่นคนไข้อเมริกันรายอื่น แต่เธอได้รับเลือดจากเคนต์ แบรตลีย์ คนไข้อีโบลารายแรกของสหรัฐฯในขณะที่เธอทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของสถาบันสุขภาพสหรัฐฯ NIH ในรัฐแมร์รีแลนด์

ทั้งนี้การศึกษาเซรุมเลือดในกินีนี้จะอยู่ภายใต้การนำของสถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน( Institute of Tropical Medicine ) ในแอนต์เวิร์ป (Antwerp) เบลเยียม และได้รับเงินสนับสนุนโครงการนี้จากสหภาพยุโรปด้วยเม็ดเงิน 2.9 ล้านยูโร และ WHO ยังสนับสนุนงานวิจัยครั้งนี้เพื่อหวังจะเป็นทางลัดในการรักษาโรคที่ในขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา

ด้าน Johan van Griensven จากสถาบันเวชศาสตร์เขตร้อนของเบลเยียมได้ยืนยันว่า วิธีการใช้แอนติบอดี้จากเลือดผู้ป่วยรอดชีวิตนั้นมี หลักฐานยืนยันการใช้วิธีนี้ในการรักษาโรคอื่นๆมานานมากและปลอดภัย

“ทางทีมวิจัยต้องการอยากจะทราบว่าวิธีนี้จะใช้ได้ผลกับอีโบลาหรือไม่ และจะปลอดภัยหรือไม่ รวมไปถึงสามารถใช้วิธีนี้เพื่อทำให้การระบาดของโรคร้ายลดลงได้หรือไม่อย่างเป็นรูปธรรม” นักวิจัยจากเบลเยียมกล่าว และเสริมต่อว่า “ผู้ป่วยรอดชีวิตสามารถช่วยบริจาคเลือดเพื่อร่วมหยุดยั้งการระบาดของโรค และยังเป็นการทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตสามารถเป็นที่ยอมรับของสังคมได้มากขึ้น”

การวิจัยครั้งนี้จะเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการแพทย์ทั่วยุโรปและในแอฟริกา ประกอบไปด้วย สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อนของมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (Institute of Tropical Medicine, University of Liverpoo)lวิทยาลัยอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนประจำลอนดอน ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (London School of Hygiene and Tropical Medicine, University of Oxford )Aix-Marseille University สถาบันเลือดแห่งชาติฝรั่งเศศ (French Blood Transfusion Service )สถาบันปาสเตอร์ (Institut Pasteur) และสถาบันวิจัยแห่งชาติด้านการแพทย์และสุขภาพแห่งฝรั่งเศส( French National Institute of Health and Medical Research)

และนอกจากนี้โปรเจกนี้ยังร่วมมือกับสถาบันเลือดแห่งชาติกินี (National Blood Transfusion Centre) รวมไปถึง Institut National de Recherche Biomedicale (DRC) ในคองโก และองค์การกาชาดเบลเยียม

ทั้งนี้เวลคัม ทรัสต์ (Wellcome Trust) องค์กรการแพทย์ไม่หวังผลกำไรที่มีฐานอยู่ในอังกฤษได้ร่วมมือในโครงการเซรุมเลือดรักษาอีโบลาเช่นกัน


กำลังโหลดความคิดเห็น