(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Myanmar group in new chapter talks with Chinese officials
By Radio Free Asia
10/09/2014
“กลุ่มนักศึกษาเจเนอเรชั่น 88” ของพม่า ซึ่งกำลังพยายามผลักดันให้ประเทศดำเนินการปฏิรูปทั้งทางการเมืองและทางสังคม เปิดเผยว่าได้พูดจาหารือกับคณะเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มาเยือนแดนหม่อง โดยที่ทางกลุ่มเรียกร้องให้ปักกิ่งดำเนินโครงการลงทุนของตนในพม่าด้วยความโปร่งใสยิ่งขึ้น ทั้งนี้พวกเขามองเห็นว่าการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนหันมาติดต่อสนทนากับองค์กรในภาคประชาชนเช่นนี้ ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้น “บทใหม่” ในความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย
“กลุ่มนักศึกษาเจเนอเรชั่น 88” (Myanmar’s 88 Generation Students Group) ของพม่า ซึ่งกำลังพยายามผลักดันให้ประเทศดำเนินการปฏิรูปทั้งทางการเมืองและทางสังคม ได้พบปะหารือกับคณะเจ้าหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่กำลังเดินทางเยือนพม่า โดยที่ทางกลุ่มเรียกร้องให้ปักกิ่งดำเนินโครงการลงทุนของตนด้วยความโปร่งใสยิ่งขึ้น หลังจากที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอื่นๆ
กลุ่มเจเนอเรชั่น 88 ระบุว่า ต้องการให้เหล่านักลงทุนจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยรัฐ พิจารณาใส่ใจผลประโยชน์ของประชาชนท้องถิ่นด้วย ในเวลาที่พวกเขาเข้ามาดำเนินโครงการลงทุนขนาดมหึมา (และบ่อยครั้งมักก่อให้เกิดการโต้แย้งถกเถียงกันอย่างดุเดือด) ในพม่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปกตินักในการที่พวกเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนพบปะพูดจากับพวกองค์กรภาคประชาชนของพม่า และการหารือซึ่งเกิดขึ้นในวันอังคาร (9 ก.ย.) ก็ดูจะเป็นการส่งสัญญาณว่า ปักกิ่งยอมรับบทบาทของกลุ่มเหล่านี้ในขณะที่พม่ากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ภายหลังถูกปกครองโดยคณะทหารมาเป็นเวลา 5 ทศวรรษ
“มันเหมือนกับเป็นการเริ่มต้นบทใหม่สำหรับ [พรรคคอมมิวนิสต์จีน จากการที่พรรคพบปะหารือ] กับองค์กรภาคประชาชนรายสำคัญๆ ในประเทศพม่าซึ่งกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน” โก โก จี (Ko Ko Gyi) ผู้นำของกลุ่มเจเนอเรชั่น 88 กล่าวกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาพม่า (RFA’s Myanmar Service)
กลุ่มเจเนอเรชั่น 88 นั้น ประกอบด้วยพวกอดีตผู้นำนักศึกษาที่เคยนำการลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 1988 โดยที่ในคราวนั้นมีผู้ประท้วงถูกทางการสังหารไปหลายพันคน สำหรับในการพบปะกับคณะผู้แทนจีนคราวนี้ ทางกลุ่มเรียกร้องให้พวกบริษัทจีนที่จะทำโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในพม่า ให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใสในเวลาที่จะลงนามข้อตกลงต่างๆ, ในการเข้าร่วมการประมูลเสนอราคา, ตลอดจนในการดำเนินกิจการที่อยู่ในลักษณะแบบหุ้นส่วนแบ่งปันผลกำไรกับพวกบริษัทท้องถิ่น โก โก จี บอก
เขากล่าวต่อไปว่า การพบปะกันคราวนี้ช่วยทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันและกันเพิ่มขึ้นมากมาย
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เนื่องจากพวกเราต่างก็เป็นเพื่อนบ้านกัน และก็ต้องคุ้มครองประชาชนของทั้งสองประเทศ” เขาระบุ
ทางด้าน เร่า ฮุ่ยฮวา (Rao Huihua) เจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นผู้นำของคณะผู้แทนจีนที่พบปะพูดจากับกลุ่มนักศึกษาเจเนอชั่น 88 ในคราวนี้ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา ทางพรรคมีการติดต่อเฉพาะกับทางรัฐบาลพม่าเท่านั้น
แต่มาในเวลานี้ พรรคต้องการที่จะมีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับพรรคการเมืองและกลุ่มองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ของพม่า ด้วยการส่งเสริมเพิ่มพูนการติดต่อในระดับประชาชนกับประชาชนให้มากขึ้น เธอบอก
ทั้งนี้ เร่า ได้เคยนำคณะผู้แทนเยือนพม่าก่อนหน้านี้เมื่อเกือบ 1 ปีที่แล้ว โดยในคราวนั้น คณะของเธอได้พบปะหารือกับพวกผู้นำของพรรคการเมืองต่างๆ ตลอดจนพวกผู้แทนจากสื่อมวลชนท้องถิ่นและกลุ่มคลังสมองในท้องถิ่น
*เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนท้องถิ่น*
กลุ่มองค์กรภาคประชาชนทั้งหลาย ซึ่งก็รวมถึงกลุ่มเจเนอเรชั่น 88 ต่างรู้สึกว่าพวกเขามีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในเรื่องโครงการการลงทุนและการพัฒนาต่างๆ ที่จีนหนุนหลังอยู่ ตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ขึ้นครองอำนาจในปี 2011 เป็นต้นมา ภายหลังที่ประเทศตกอยู่ใต้การปกครองของคณะทหารมาหลายสิบปี
หลังจากครองอำนาจมาได้หลายเดือน เต็ง เส่ง ได้สั่งระงับแผนการก่อสร้างเขื่อนมิตโสน (Myitsone Dam) บนแม่น้ำอิรวดีตอนที่ไหลผ่านรัฐคะฉิ่น อันเป็นโครงการซึ่งฝ่ายจีนหนุนหลังและมีมูลค่าสูงถึง 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายหลังจากเกิดกระแสคัดค้านของประชาชนจำนวนมาก โดยเหตุผลสำคัญอยู่ที่ความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเขื่อนยักษ์แห่งนี้
เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว หลี่ กวงหวา (Li Guanghua) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทในพม่า ที่เป็นกิจการในเครือของบริษัทจีนซึ่งดำเนินโครงการเขื่อนมิตโสน ได้ให้คำรับรองแก่สาธารณชนว่า บริษัทจะดำเนินโครงการนี้ด้วยความโปร่งใส ถ้าหากรัฐบาลพม่าตัดสินใจให้เดินหน้าต่อไปได้ใหม่
ทว่าเมื่อ 3 เดือนก่อน บริษัทกลับระงับการจ่ายข้าวช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวอย่างน้อย 2 ครอบครัว ซึ่งอยู่ในชาวบ้านกลุ่มหลายร้อยครอบครัวที่ได้รับความช่วยเหลือเพราะต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัยสืบเนื่องจากโครงการนี้ ทั้งนี้หลังจาก 2 ครอบครัวดังกล่าวนี้ได้ไปแสดงความสนับสนุนการประท้วงคัดค้านการเปิดไฟเขียวให้ก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ขึ้นมาอีก
ในทำนองเดียวกัน โครงการเหมืองทองแดง “เลทปาดอง” (Letpadaung) ในเขตสะกาย (Sagaing) ทางภาคเหนือของพม่า ก็ก่อให้เกิดความโกรธกริ้วในหมู่ชาวบ้าน หลังจากทางการผู้มีอำนาจได้สลายการประท้วงต่อต้านเหมืองแห่งนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 โดยที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ปราบปรามได้ใช้สารเคมีซึ่งทำให้ผิวหนังไหม้และเกิดอาการสำลักหายใจไม่ออก
โครงการดังกล่าวยังอยู่ในอาการลูกผีลูกคน เนื่องจากมีบางครอบครัวปฏิเสธไม่ยอมโยกย้ายออกจากพื้นที่ ทำให้ยังคงเดินหน้าโครงการไม่ได้
ข่าวนี้รายงานโดย เนย์เรน คยอว์ (Nayrein Kyaw) แห่งวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาพม่า (RFA’s Myanmar Service) แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย ขิ่น หม่อง เนียน (Khin Maung Nyane) กับ เขต มาร์ (Khet Mar) และเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย โรสแอนน์ เกอริน (Roseanne Gerin)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Myanmar group in new chapter talks with Chinese officials
By Radio Free Asia
10/09/2014
“กลุ่มนักศึกษาเจเนอเรชั่น 88” ของพม่า ซึ่งกำลังพยายามผลักดันให้ประเทศดำเนินการปฏิรูปทั้งทางการเมืองและทางสังคม เปิดเผยว่าได้พูดจาหารือกับคณะเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มาเยือนแดนหม่อง โดยที่ทางกลุ่มเรียกร้องให้ปักกิ่งดำเนินโครงการลงทุนของตนในพม่าด้วยความโปร่งใสยิ่งขึ้น ทั้งนี้พวกเขามองเห็นว่าการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนหันมาติดต่อสนทนากับองค์กรในภาคประชาชนเช่นนี้ ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้น “บทใหม่” ในความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย
“กลุ่มนักศึกษาเจเนอเรชั่น 88” (Myanmar’s 88 Generation Students Group) ของพม่า ซึ่งกำลังพยายามผลักดันให้ประเทศดำเนินการปฏิรูปทั้งทางการเมืองและทางสังคม ได้พบปะหารือกับคณะเจ้าหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่กำลังเดินทางเยือนพม่า โดยที่ทางกลุ่มเรียกร้องให้ปักกิ่งดำเนินโครงการลงทุนของตนด้วยความโปร่งใสยิ่งขึ้น หลังจากที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอื่นๆ
กลุ่มเจเนอเรชั่น 88 ระบุว่า ต้องการให้เหล่านักลงทุนจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยรัฐ พิจารณาใส่ใจผลประโยชน์ของประชาชนท้องถิ่นด้วย ในเวลาที่พวกเขาเข้ามาดำเนินโครงการลงทุนขนาดมหึมา (และบ่อยครั้งมักก่อให้เกิดการโต้แย้งถกเถียงกันอย่างดุเดือด) ในพม่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปกตินักในการที่พวกเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนพบปะพูดจากับพวกองค์กรภาคประชาชนของพม่า และการหารือซึ่งเกิดขึ้นในวันอังคาร (9 ก.ย.) ก็ดูจะเป็นการส่งสัญญาณว่า ปักกิ่งยอมรับบทบาทของกลุ่มเหล่านี้ในขณะที่พม่ากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ภายหลังถูกปกครองโดยคณะทหารมาเป็นเวลา 5 ทศวรรษ
“มันเหมือนกับเป็นการเริ่มต้นบทใหม่สำหรับ [พรรคคอมมิวนิสต์จีน จากการที่พรรคพบปะหารือ] กับองค์กรภาคประชาชนรายสำคัญๆ ในประเทศพม่าซึ่งกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน” โก โก จี (Ko Ko Gyi) ผู้นำของกลุ่มเจเนอเรชั่น 88 กล่าวกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาพม่า (RFA’s Myanmar Service)
กลุ่มเจเนอเรชั่น 88 นั้น ประกอบด้วยพวกอดีตผู้นำนักศึกษาที่เคยนำการลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 1988 โดยที่ในคราวนั้นมีผู้ประท้วงถูกทางการสังหารไปหลายพันคน สำหรับในการพบปะกับคณะผู้แทนจีนคราวนี้ ทางกลุ่มเรียกร้องให้พวกบริษัทจีนที่จะทำโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในพม่า ให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใสในเวลาที่จะลงนามข้อตกลงต่างๆ, ในการเข้าร่วมการประมูลเสนอราคา, ตลอดจนในการดำเนินกิจการที่อยู่ในลักษณะแบบหุ้นส่วนแบ่งปันผลกำไรกับพวกบริษัทท้องถิ่น โก โก จี บอก
เขากล่าวต่อไปว่า การพบปะกันคราวนี้ช่วยทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันและกันเพิ่มขึ้นมากมาย
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เนื่องจากพวกเราต่างก็เป็นเพื่อนบ้านกัน และก็ต้องคุ้มครองประชาชนของทั้งสองประเทศ” เขาระบุ
ทางด้าน เร่า ฮุ่ยฮวา (Rao Huihua) เจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นผู้นำของคณะผู้แทนจีนที่พบปะพูดจากับกลุ่มนักศึกษาเจเนอชั่น 88 ในคราวนี้ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา ทางพรรคมีการติดต่อเฉพาะกับทางรัฐบาลพม่าเท่านั้น
แต่มาในเวลานี้ พรรคต้องการที่จะมีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับพรรคการเมืองและกลุ่มองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ของพม่า ด้วยการส่งเสริมเพิ่มพูนการติดต่อในระดับประชาชนกับประชาชนให้มากขึ้น เธอบอก
ทั้งนี้ เร่า ได้เคยนำคณะผู้แทนเยือนพม่าก่อนหน้านี้เมื่อเกือบ 1 ปีที่แล้ว โดยในคราวนั้น คณะของเธอได้พบปะหารือกับพวกผู้นำของพรรคการเมืองต่างๆ ตลอดจนพวกผู้แทนจากสื่อมวลชนท้องถิ่นและกลุ่มคลังสมองในท้องถิ่น
*เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนท้องถิ่น*
กลุ่มองค์กรภาคประชาชนทั้งหลาย ซึ่งก็รวมถึงกลุ่มเจเนอเรชั่น 88 ต่างรู้สึกว่าพวกเขามีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในเรื่องโครงการการลงทุนและการพัฒนาต่างๆ ที่จีนหนุนหลังอยู่ ตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ขึ้นครองอำนาจในปี 2011 เป็นต้นมา ภายหลังที่ประเทศตกอยู่ใต้การปกครองของคณะทหารมาหลายสิบปี
หลังจากครองอำนาจมาได้หลายเดือน เต็ง เส่ง ได้สั่งระงับแผนการก่อสร้างเขื่อนมิตโสน (Myitsone Dam) บนแม่น้ำอิรวดีตอนที่ไหลผ่านรัฐคะฉิ่น อันเป็นโครงการซึ่งฝ่ายจีนหนุนหลังและมีมูลค่าสูงถึง 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายหลังจากเกิดกระแสคัดค้านของประชาชนจำนวนมาก โดยเหตุผลสำคัญอยู่ที่ความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเขื่อนยักษ์แห่งนี้
เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว หลี่ กวงหวา (Li Guanghua) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทในพม่า ที่เป็นกิจการในเครือของบริษัทจีนซึ่งดำเนินโครงการเขื่อนมิตโสน ได้ให้คำรับรองแก่สาธารณชนว่า บริษัทจะดำเนินโครงการนี้ด้วยความโปร่งใส ถ้าหากรัฐบาลพม่าตัดสินใจให้เดินหน้าต่อไปได้ใหม่
ทว่าเมื่อ 3 เดือนก่อน บริษัทกลับระงับการจ่ายข้าวช่วยเหลือให้แก่ครอบครัวอย่างน้อย 2 ครอบครัว ซึ่งอยู่ในชาวบ้านกลุ่มหลายร้อยครอบครัวที่ได้รับความช่วยเหลือเพราะต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัยสืบเนื่องจากโครงการนี้ ทั้งนี้หลังจาก 2 ครอบครัวดังกล่าวนี้ได้ไปแสดงความสนับสนุนการประท้วงคัดค้านการเปิดไฟเขียวให้ก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ขึ้นมาอีก
ในทำนองเดียวกัน โครงการเหมืองทองแดง “เลทปาดอง” (Letpadaung) ในเขตสะกาย (Sagaing) ทางภาคเหนือของพม่า ก็ก่อให้เกิดความโกรธกริ้วในหมู่ชาวบ้าน หลังจากทางการผู้มีอำนาจได้สลายการประท้วงต่อต้านเหมืองแห่งนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 โดยที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ปราบปรามได้ใช้สารเคมีซึ่งทำให้ผิวหนังไหม้และเกิดอาการสำลักหายใจไม่ออก
โครงการดังกล่าวยังอยู่ในอาการลูกผีลูกคน เนื่องจากมีบางครอบครัวปฏิเสธไม่ยอมโยกย้ายออกจากพื้นที่ ทำให้ยังคงเดินหน้าโครงการไม่ได้
ข่าวนี้รายงานโดย เนย์เรน คยอว์ (Nayrein Kyaw) แห่งวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาพม่า (RFA’s Myanmar Service) แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย ขิ่น หม่อง เนียน (Khin Maung Nyane) กับ เขต มาร์ (Khet Mar) และเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย โรสแอนน์ เกอริน (Roseanne Gerin)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต