(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
BRICS size up big opportunities
By Mario Osava
15/07/2014
เวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่ม “บริกส์” อันประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ จัดการประชุมหารือกันเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ในเวลาใกล้เคียงกับที่พวกผู้นำของทั้ง 5 ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่เหล่านี้ ประกาศการก่อตั้งสถาบันทางการเงินแห่งใหม่ๆ ของพวกเขาอย่างเป็นทางการ เหล่านี้คือการตอกย้ำให้เห็นลู่ทางโอกาสอันสดใสซึ่งกำลังเปิดกว้าง ขณะที่พวกบริษัททั้งหลายของ 5 ชาติเหล่านี้หาทางสานสายสัมพันธ์ระหว่างกันให้ลึกซึ้งเหนียวแน่นยิ่งขึ้นอีก
ฟอร์ตาเลซา, บราซิล - ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ทั้ง 5 อันได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ ซึ่งมารวมตัวกันโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มบริกส์ (BRICS) กำลังเริ่มต้นก่อตั้งสถาบันต่างๆ ของกลุ่มนี้ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ถึงแม้ยังดูจะต้องใช้ความพยายามอีกมาก ในการลดความผิดแผกแตกต่างกันในทางเป็นจริงของพวกเขา ทั้งนี้ส่วนประกอบประการหนึ่งซึ่งน่าจะมีบทบาทในการประสานประเทศเหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างบริษัทธุรกิจของ 5 ประเทศเหล่านี้นั่นเอง
เวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่มบริกส์ (BRICS Business Forum) ได้จัดการประชุมหารือขึ้นในวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม โดยถือเป็น 1 ในการประชุมพบปะหลายๆ ด้านซึ่งจัดขึ้นก่อนหน้าการประชุมซัมมิตประจำปีครั้งที่ 6 ของผู้นำแห่งรัฐทั้ง 5 ที่กำหนดเบิกโรงเริ่มต้นขึ้นในวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม ณ เมืองฟอร์ตาเลซา (Fortaleza) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแดนแซมบ้า และปิดการเจรจาหารือในวันพุธที่ 16 กรกฎาคม ณ กรุงบราซิเลีย เมืองหลวงของบราซิล
การประชุมถกเถียงกันในเวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่มบริกส์คราวนี้ มีสมาชิกในแวดวงเข้าร่วมมากกว่า 700 คนทีเดียว ขณะเดียวกันก็มีการประกาศการจับมือทำข้อตกลง ทั้งในภาคการเกษตร, โครงสร้างพื้นฐาน, โลจิสติกส์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, สุขภาพ, และพลังงาน คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่มบริกส์ เริ่มต้นดำเนินงานตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน
มาร์คอส แจงค์ (Marcos Jank) ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการบรรษัท (corporate affairs) ของ บีอาร์เอฟ (BRF) ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติสัญชาติบราซิลที่เป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ชั้นนำ กล่าวแสดงความเห็นว่า ในระหว่างประเทศกลุ่มบริกส์ด้วยกันนั้น มีสิ่งที่เป็นส่วนหนุนเสริมกันและกันอยู่มากมาย ซึ่งสามารถนำเอามาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์อันใหญ่โตแก่ทุกๆ ชาติ
“จีนมีตลาดขนาดมหึมา ส่วนบราซิลก็มีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ประโยชน์อยู่มากมายกว้างขวาง” อีกทั้งมีผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งสามารถเลี้ยงดูประชากรจำนวนมากๆ ได้ เขากล่าวยกตัวอย่าง
นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการมองดูสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการค้าที่ไม่สมดุล โดยที่สินค้าส่งออกของบราซิลในทางเป็นจริงแล้วแทบจะมีแต่พวกสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถั่วเหลือง และสินแร่เหล็ก ขณะที่สินค้าที่แดนแซมบ้านำเข้าจากจีนส่วนใหญ่คือพวกสินค้าผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม แจงค์โต้แย้งว่า จากความร่วมมือกันระหว่างประเทศในกลุ่มบริกส์ แม้แต่ในภาคการเกษตรและธุรกิจปศุสัตว์ ก็สามารถที่จะมีการบูรณาการทางด้านสายการผลิตและเพิ่มมูลค่าในสินค้าส่งออกให้สูงขึ้นได้ เขาแจกแจงว่า แทนที่แดนมังกรจะนำเข้าถั่วเหลืองของแดนแซมบ้า เพื่อนำเอาไปเลี้ยงสัตว์สำหรับผลิตเป็นเนื้อสัตว์ออกมา จีนสามารถที่จะนำเข้าเนื้อสัตว์จากบราซิลได้โดยตรงเลย
แจงค์ร้องเรียนว่า ปัญหาอยู่ที่ว่าอุปสรรคใหญ่ซึ่งคอยขัดขวางการค้าขายและการบูรณาการทางการผลิตระหว่างพวกประเทศกลุ่มบริกส์ไม่ให้เจริญเติบโตขยายตัวนั้น มีทุกชนิดทุกประเภททีเดียว ทั้งที่เป็นกำแพงกีดกันในรูปภาษีศุลกากรและทั้งที่มิได้อยู่ในรูปภาษี, ทั้งกำแพงกีดกันในทางเทคนิค, ทั้งที่อยู่ในรูปของมาตรการอุดหนุน และมาตรการแบบกีดกันการค้าอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบกระเทือนการค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร
อินเดียนั้นจัดเก็บภาษีศุลกากรจากเนื้อไก่บราซิลแบบสุดโหดชนิดมุ่งไม่ให้ค้าขายกันเลย โดยที่มีหลายรายการสูงถึง 100% ขณะที่แอฟริกาใต้ “อยู่ในสภาพปิดตาย” ส่วนรัสเซียเป็นตลาดที่ “ขึ้นลงวูบวาบ” และเดี๋ยวก็เปิดให้นำเข้าเนื้อสัตว์บราซิล แต่อีกแป๊บเดียวก็ประกาสปิดเสียแล้ว เขาร้องทุกข์ต่อ
แต่แม้จะมีอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ การค้าระหว่างประเทศบริกส์ทั้ง 5 ก็ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 เท่าตัวในช่วงระหว่างปี 2002 ถึงปี 2012 จนกระทั่งอยู่ในระดับ 276,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตามข้อมูลตัวเลขขององค์การการค้าโลก ขณะเดียวกัน สัดส่วนของกลุ่มบริกส์ในการค้าโลกก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว จาก 8% เป็น 16% ในช่วงระหว่างปี 2001 ถึงปี 2011
นอกจากนั้น สถาบันทางการเงินใหม่ๆ 2 แห่งซึ่งมีการประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในการประชุมซัมมิตคราวนี้ ก็เป็นสิ่งซึ่งขัดแย้งกับทัศนะของหลายๆ ฝ่ายที่ว่า กลุ่มบริกส์แทบไม่มีโอกาสที่จะบูรณาการรวมตัวกันได้อย่างแท้จริง เนื่องจากมีความแตกต่างกันมากทั้งในทางการเมืองและในทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งยังมีระดับของการพัฒนาซึ่งผิดแผกกันเหลือเกิน และแม้กระทั่งยุทธศาสตร์ในเชิงพาณิชย์ก็ยังไปกันคนละทาง
สถาบันทางการเงินทั้ง 2 ดังกล่าวนี้ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (New Development Bank ใช้อักษรย่อว่า NDB) และข้อตกลงจัดเตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉิน (Contingency Reserve Arrangement ใช้อักษรย่อว่า CRA) ที่เป็นเงินทุนกองกลางเอาไว้ใช้สำหรับต่อสู้กับวิกฤตการณ์ทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ากลุ่มบริกส์เพิ่งมีความก้าวหน้าปรากฏให้เห็นกันในระยะเวลาไม่กี่ปีหลังๆ มานี้เอง นับตั้งแต่ที่นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งในวาณิชธนกิจแห่งหนึ่งของสหรัฐฯได้เขียนบทวิเคราะห์ว่าด้วยประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ และเสนอแนะคำว่า บริก (BRIC) ขึ้นมา (BRIC มาจากตัวอักษรตัวแรกของ 4 ชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ อันได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, และจีน ในเวลาต่อมามีการดึงแอฟริกาใต้เข้าร่วมด้วย ชื่อของกลุ่มนี้จึงเพิ่มอักษรย่อของแอฟริกาใต้ และกลายเป็น BRICS –ผู้แปล) แต่จากการที่กลุ่มบริกส์ก้าวหน้าพัฒนาต่อไปได้เช่นนี้ ก็ทำให้มันแตกต่างเป็นตรงกันข้ามกับการจับกลุ่มเป็นพันธมิตรรูปแบบอื่นๆ ซึ่งต่างประสบภาวะชะงักงัน เป็นต้นว่า เวทีสนทนา อิบซา (IBSA Dialogue Forum) ที่พยายามนำเอาอินเดีย, บราซิล, และแอฟริกาใต้ เข้ามารวมตัวกัน แต่แล้วเวทีนี้ก็หยุดการประชุมซัมมิตกันไปในปี 2011
“สิ่งที่ทำให้พวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มบริกส์มารวมตัวกันได้ ก็เพราะว่าการรวมกลุ่มทำให้พวกเขามีอำนาจ” นารินเดอร์ วัธวา (Narinder Wadhwa) กรรมการบริหารของ เอสเคไอ แคปิตอล เซอร์วิเซส (SKI Capital Services) ในอินเดีย กล่าวให้ความเห็น
ทั้งนี้เมื่อรวมตัวกัน กลุ่มบริกส์จะมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นเท่ากับ 46% ของประชากรโลก และมีดินแดนที่เป็นผืนแผ่นดินคิดเป็น 26% ของผืนแผ่นดินในโลก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของพวกประเทศกลุ่มบริกส์ ซึ่งคำนวณโดยใช้หลักความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity หรือ PPP) จะสูงกว่าของสหรัฐฯหรือของสหภาพยุโรปมาก “ด้วยเหตุนี้จึงเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่พวกเขาควรจะต้องเรียกร้องให้พวกเขาได้เข้ามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น ในองค์กรตัดสินใจแห่งต่างๆ” วัธวา แจกแจงให้สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS)ฟัง
ข้อนี้เองดูจะเป็นเชื้อเพลิงทำให้กลุ่มนี้มีอัตราความก้าวหน้าในระดับสูง นับตั้งแต่ที่พวกเขาจัดการประชุมซัมมิตครั้งแรกขึ้นมาเมื่อปี 2009
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ส่งผลให้กลุ่มบริกส์เกิดอัตราเร่งในการบูรณาการ ได้แก่ศักยภาพในการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการลงทุน เนื่องจากประเทศเหล่านี้ต่างเป็นชาติใหญ่ที่มีจำนวนประชากรรวมกันสูงถึงเกือบๆ 3,000 ล้านคน แถมส่วนที่เป็นผู้บริโภคชนชั้นกลางก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะไม่กี่สิบปีหลังๆ มานี้อีกด้วย
จากเหตุผลข้อนี้เอง วัธวา บอกว่า ทำให้เขา “มองการณ์ในแง่ดี” เกี่ยวกับอนาคตของสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากเรียกขานว่าเป็น “กลุ่ม” (bloc) ไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่ในทางเป็นจริงบริกส์ยังไม่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาใดๆ ที่จะทำให้ใช้คำๆ นี้ได้อย่างถูกต้องชอบธรรม รวมทั้งรัฐบาลของชาติเหล่านี้เองก็ยังมีความลังเลไม่ค่อยอยากจะให้ถูกพิจารณาว่าพวกเขาเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
แต่การที่จะทำให้ศักยภาพดังกล่าวนี้กลายเป็นของจริงขึ้นมาได้นั้น จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติให้มากๆ นี่คือคำเตือนของ เซอร์กี คาตืย์ริน (Sergy Katyrin) ประธานของสภาธุรกิจกลุ่มบริกส์ (BRICS Business Council) ในรัสเซีย และ รูเบนส์ เดอ ลา โรซา (Rubens de La Rosa) แห่งสภาธุรกิจกลุ่มบริกส์ของบราซิล และก็เป็นกรรมการบริหารของ มาร์โคโปโล (Marco Polo) บริษัทข้ามชาติสัญชาติบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถบัส
ทางด้าน แพตริก มอตเซเป (Patrice Motsepe) ประธานสภาธุรกิจแอฟริกา (African Business Council) บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า สำหรับแอฟริกานั้นถือเป็นพรมแดนใหม่สำหรับการค้าและการลงทุนของโลก โดยที่ในหมู่ประชากรซึ่งมีรายได้ระดับกลางๆ กำลังมีการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
มอตเซเป นักธุรกิจทรงอิทธิพลทางด้านเหมืองแร่ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นอภิมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ชาวแอฟริกาใต้ที่เป็นคนผิวดำคนแรก เขาคือผู้ที่เป็นประธานของคณะทำงานจัดทำรายงานว่าด้วยศักยภาพทางธุรกิจของทั้ง 5 ประเทศ โดยที่มีการเน้นหนักศักยภาพอันสูงเด่นของแอฟริกามากเป็นพิเศษ
ตามข้อมูลของธนาคารพัฒนาแอฟริกา (African Development Bank) การค้าระหว่างทวีปนี้กับพวกประเทศกลุ่มบริกส์ ไต่ขึ้นสู่ระดับ 340,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียวในปี 2012 และได้รับการคาดหมายว่ายังจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนอยู่ที่ 500,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 โดยที่ 60% ของการค้านี้จะเป็นการทำการค้ากับจีน
สภาธุรกิจกลุ่มบริกส์ของแต่ละประเทศนั้น ประกอบด้วยผู้คนในแวดวงธุรกิจจำนวน 25 คน บุคคลเหล่านี้จะไปจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมารวม 5 กลุ่ม เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งวิสาหกิจทำธุรกิจร่วมกันใน 5 ภาค ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน, บริการทางการเงิน, การผลิตทางอุตสาหกรรม, พลังงาน, และการพัฒนาความสามารถ
เหล่าผู้นำทางธุรกิจเหล่านี้ยอมรับว่า ยังต้องทำอะไรอีกมากเพื่อเพิ่มพูนการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกลุ่มบริกส์ ซึ่งในทางปฏิบัติที่ผ่านมาในอดีต อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าไม่รู้จักกันเอาเลย
เดอ ลา โรซา กล่าวว่า ในบรรดาข้อเสนอต่างๆ ที่เวทีทางด้านธุรกิจยื่นต่อที่ประชุมซัมมิตฟอร์ตาเลซาของเหล่าประมุขแห่งรัฐนั้น เรื่องหนึ่งคือขอให้ส่งเสริมสนับสนุนการทำการค้าด้วยสกุลเงินตราแห่งชาติของประเทศในกลุ่มบริกส์ เพราะเมื่อทำเช่นนี้จะ “ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม” และเป็นประโยชน์แก่การค้าและการลงทุน
ทางด้าน ร็อบสัน อันดราเด (Robson Andrade) ประธานของสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติของบราซิล (Brazilian National Confederation of Industry ใช้อักษรย่อว่า CNI) ซึ่งเป็นองค์การผู้จัดเวทีด้านธุรกิจขึ้นในบราซิลคราวนี้ เปิดเผยว่า สิ่งที่เขาเสนอแนะต่อที่ประชุมซัมมิตของเหล่าผู้นำประเทศทั้ง 5 มีดังเช่น การอำนวยความสะดวกในการออกวีซาสำหรับการเดินทางเพื่อธุรกิจ, การทำให้มาตรฐานต่างๆ ในทางเทคนิคเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, การเพิ่มการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทที่อยู่ในประเทศต่างๆ กัน, และการเอาชนะอุปสรรคด้านต่างๆ เป็นต้นว่า ความล่าช้าในระบบราชการ
สิ่งที่พวกนักอุตสาหกรรมชาวบราซิลมีความเป็นห่วงมากที่สุด ได้แก่เรื่องที่บราซิลขาดดุลการค้ากับชาติคู่ค้า โดยที่ขาดดุลเป็นจำนวนสูงถึง 101,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2013 เท่ากับ 21% ของปริมาณการค้าของบราซิลทีเดียว
กว่า 70% ของสินค้าส่งออกที่บราซิลส่งไปยังจีน, อินเดีย, รัสเซีย, และแอฟริกาใต้ คือ ถั่วเหลือง, สินแร่เหล็ก, และน้ำมัน ในทางตรงกันข้าม 95% ของสินค้าที่บราซิลนำเข้าจากประเทศเหล่านี้คือพวกสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งนี้ตามข้อมูลของ CNI
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนเรื่องนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ซึ่งมองจากแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา
BRICS size up big opportunities
By Mario Osava
15/07/2014
เวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่ม “บริกส์” อันประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ จัดการประชุมหารือกันเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ในเวลาใกล้เคียงกับที่พวกผู้นำของทั้ง 5 ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่เหล่านี้ ประกาศการก่อตั้งสถาบันทางการเงินแห่งใหม่ๆ ของพวกเขาอย่างเป็นทางการ เหล่านี้คือการตอกย้ำให้เห็นลู่ทางโอกาสอันสดใสซึ่งกำลังเปิดกว้าง ขณะที่พวกบริษัททั้งหลายของ 5 ชาติเหล่านี้หาทางสานสายสัมพันธ์ระหว่างกันให้ลึกซึ้งเหนียวแน่นยิ่งขึ้นอีก
ฟอร์ตาเลซา, บราซิล - ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ทั้ง 5 อันได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, และแอฟริกาใต้ ซึ่งมารวมตัวกันโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มบริกส์ (BRICS) กำลังเริ่มต้นก่อตั้งสถาบันต่างๆ ของกลุ่มนี้ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ถึงแม้ยังดูจะต้องใช้ความพยายามอีกมาก ในการลดความผิดแผกแตกต่างกันในทางเป็นจริงของพวกเขา ทั้งนี้ส่วนประกอบประการหนึ่งซึ่งน่าจะมีบทบาทในการประสานประเทศเหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างบริษัทธุรกิจของ 5 ประเทศเหล่านี้นั่นเอง
เวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่มบริกส์ (BRICS Business Forum) ได้จัดการประชุมหารือขึ้นในวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม โดยถือเป็น 1 ในการประชุมพบปะหลายๆ ด้านซึ่งจัดขึ้นก่อนหน้าการประชุมซัมมิตประจำปีครั้งที่ 6 ของผู้นำแห่งรัฐทั้ง 5 ที่กำหนดเบิกโรงเริ่มต้นขึ้นในวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม ณ เมืองฟอร์ตาเลซา (Fortaleza) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแดนแซมบ้า และปิดการเจรจาหารือในวันพุธที่ 16 กรกฎาคม ณ กรุงบราซิเลีย เมืองหลวงของบราซิล
การประชุมถกเถียงกันในเวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่มบริกส์คราวนี้ มีสมาชิกในแวดวงเข้าร่วมมากกว่า 700 คนทีเดียว ขณะเดียวกันก็มีการประกาศการจับมือทำข้อตกลง ทั้งในภาคการเกษตร, โครงสร้างพื้นฐาน, โลจิสติกส์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, สุขภาพ, และพลังงาน คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เวทีทางธุรกิจของประเทศกลุ่มบริกส์ เริ่มต้นดำเนินงานตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน
มาร์คอส แจงค์ (Marcos Jank) ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการบรรษัท (corporate affairs) ของ บีอาร์เอฟ (BRF) ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติสัญชาติบราซิลที่เป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ชั้นนำ กล่าวแสดงความเห็นว่า ในระหว่างประเทศกลุ่มบริกส์ด้วยกันนั้น มีสิ่งที่เป็นส่วนหนุนเสริมกันและกันอยู่มากมาย ซึ่งสามารถนำเอามาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์อันใหญ่โตแก่ทุกๆ ชาติ
“จีนมีตลาดขนาดมหึมา ส่วนบราซิลก็มีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ประโยชน์อยู่มากมายกว้างขวาง” อีกทั้งมีผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งสามารถเลี้ยงดูประชากรจำนวนมากๆ ได้ เขากล่าวยกตัวอย่าง
นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการมองดูสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการค้าที่ไม่สมดุล โดยที่สินค้าส่งออกของบราซิลในทางเป็นจริงแล้วแทบจะมีแต่พวกสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถั่วเหลือง และสินแร่เหล็ก ขณะที่สินค้าที่แดนแซมบ้านำเข้าจากจีนส่วนใหญ่คือพวกสินค้าผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม แจงค์โต้แย้งว่า จากความร่วมมือกันระหว่างประเทศในกลุ่มบริกส์ แม้แต่ในภาคการเกษตรและธุรกิจปศุสัตว์ ก็สามารถที่จะมีการบูรณาการทางด้านสายการผลิตและเพิ่มมูลค่าในสินค้าส่งออกให้สูงขึ้นได้ เขาแจกแจงว่า แทนที่แดนมังกรจะนำเข้าถั่วเหลืองของแดนแซมบ้า เพื่อนำเอาไปเลี้ยงสัตว์สำหรับผลิตเป็นเนื้อสัตว์ออกมา จีนสามารถที่จะนำเข้าเนื้อสัตว์จากบราซิลได้โดยตรงเลย
แจงค์ร้องเรียนว่า ปัญหาอยู่ที่ว่าอุปสรรคใหญ่ซึ่งคอยขัดขวางการค้าขายและการบูรณาการทางการผลิตระหว่างพวกประเทศกลุ่มบริกส์ไม่ให้เจริญเติบโตขยายตัวนั้น มีทุกชนิดทุกประเภททีเดียว ทั้งที่เป็นกำแพงกีดกันในรูปภาษีศุลกากรและทั้งที่มิได้อยู่ในรูปภาษี, ทั้งกำแพงกีดกันในทางเทคนิค, ทั้งที่อยู่ในรูปของมาตรการอุดหนุน และมาตรการแบบกีดกันการค้าอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบกระเทือนการค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร
อินเดียนั้นจัดเก็บภาษีศุลกากรจากเนื้อไก่บราซิลแบบสุดโหดชนิดมุ่งไม่ให้ค้าขายกันเลย โดยที่มีหลายรายการสูงถึง 100% ขณะที่แอฟริกาใต้ “อยู่ในสภาพปิดตาย” ส่วนรัสเซียเป็นตลาดที่ “ขึ้นลงวูบวาบ” และเดี๋ยวก็เปิดให้นำเข้าเนื้อสัตว์บราซิล แต่อีกแป๊บเดียวก็ประกาสปิดเสียแล้ว เขาร้องทุกข์ต่อ
แต่แม้จะมีอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ การค้าระหว่างประเทศบริกส์ทั้ง 5 ก็ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 เท่าตัวในช่วงระหว่างปี 2002 ถึงปี 2012 จนกระทั่งอยู่ในระดับ 276,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตามข้อมูลตัวเลขขององค์การการค้าโลก ขณะเดียวกัน สัดส่วนของกลุ่มบริกส์ในการค้าโลกก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว จาก 8% เป็น 16% ในช่วงระหว่างปี 2001 ถึงปี 2011
นอกจากนั้น สถาบันทางการเงินใหม่ๆ 2 แห่งซึ่งมีการประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในการประชุมซัมมิตคราวนี้ ก็เป็นสิ่งซึ่งขัดแย้งกับทัศนะของหลายๆ ฝ่ายที่ว่า กลุ่มบริกส์แทบไม่มีโอกาสที่จะบูรณาการรวมตัวกันได้อย่างแท้จริง เนื่องจากมีความแตกต่างกันมากทั้งในทางการเมืองและในทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งยังมีระดับของการพัฒนาซึ่งผิดแผกกันเหลือเกิน และแม้กระทั่งยุทธศาสตร์ในเชิงพาณิชย์ก็ยังไปกันคนละทาง
สถาบันทางการเงินทั้ง 2 ดังกล่าวนี้ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (New Development Bank ใช้อักษรย่อว่า NDB) และข้อตกลงจัดเตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉิน (Contingency Reserve Arrangement ใช้อักษรย่อว่า CRA) ที่เป็นเงินทุนกองกลางเอาไว้ใช้สำหรับต่อสู้กับวิกฤตการณ์ทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ากลุ่มบริกส์เพิ่งมีความก้าวหน้าปรากฏให้เห็นกันในระยะเวลาไม่กี่ปีหลังๆ มานี้เอง นับตั้งแต่ที่นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งในวาณิชธนกิจแห่งหนึ่งของสหรัฐฯได้เขียนบทวิเคราะห์ว่าด้วยประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ และเสนอแนะคำว่า บริก (BRIC) ขึ้นมา (BRIC มาจากตัวอักษรตัวแรกของ 4 ชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ อันได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, และจีน ในเวลาต่อมามีการดึงแอฟริกาใต้เข้าร่วมด้วย ชื่อของกลุ่มนี้จึงเพิ่มอักษรย่อของแอฟริกาใต้ และกลายเป็น BRICS –ผู้แปล) แต่จากการที่กลุ่มบริกส์ก้าวหน้าพัฒนาต่อไปได้เช่นนี้ ก็ทำให้มันแตกต่างเป็นตรงกันข้ามกับการจับกลุ่มเป็นพันธมิตรรูปแบบอื่นๆ ซึ่งต่างประสบภาวะชะงักงัน เป็นต้นว่า เวทีสนทนา อิบซา (IBSA Dialogue Forum) ที่พยายามนำเอาอินเดีย, บราซิล, และแอฟริกาใต้ เข้ามารวมตัวกัน แต่แล้วเวทีนี้ก็หยุดการประชุมซัมมิตกันไปในปี 2011
“สิ่งที่ทำให้พวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มบริกส์มารวมตัวกันได้ ก็เพราะว่าการรวมกลุ่มทำให้พวกเขามีอำนาจ” นารินเดอร์ วัธวา (Narinder Wadhwa) กรรมการบริหารของ เอสเคไอ แคปิตอล เซอร์วิเซส (SKI Capital Services) ในอินเดีย กล่าวให้ความเห็น
ทั้งนี้เมื่อรวมตัวกัน กลุ่มบริกส์จะมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นเท่ากับ 46% ของประชากรโลก และมีดินแดนที่เป็นผืนแผ่นดินคิดเป็น 26% ของผืนแผ่นดินในโลก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของพวกประเทศกลุ่มบริกส์ ซึ่งคำนวณโดยใช้หลักความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity หรือ PPP) จะสูงกว่าของสหรัฐฯหรือของสหภาพยุโรปมาก “ด้วยเหตุนี้จึงเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่พวกเขาควรจะต้องเรียกร้องให้พวกเขาได้เข้ามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น ในองค์กรตัดสินใจแห่งต่างๆ” วัธวา แจกแจงให้สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS)ฟัง
ข้อนี้เองดูจะเป็นเชื้อเพลิงทำให้กลุ่มนี้มีอัตราความก้าวหน้าในระดับสูง นับตั้งแต่ที่พวกเขาจัดการประชุมซัมมิตครั้งแรกขึ้นมาเมื่อปี 2009
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ส่งผลให้กลุ่มบริกส์เกิดอัตราเร่งในการบูรณาการ ได้แก่ศักยภาพในการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการลงทุน เนื่องจากประเทศเหล่านี้ต่างเป็นชาติใหญ่ที่มีจำนวนประชากรรวมกันสูงถึงเกือบๆ 3,000 ล้านคน แถมส่วนที่เป็นผู้บริโภคชนชั้นกลางก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะไม่กี่สิบปีหลังๆ มานี้อีกด้วย
จากเหตุผลข้อนี้เอง วัธวา บอกว่า ทำให้เขา “มองการณ์ในแง่ดี” เกี่ยวกับอนาคตของสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากเรียกขานว่าเป็น “กลุ่ม” (bloc) ไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่ในทางเป็นจริงบริกส์ยังไม่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาใดๆ ที่จะทำให้ใช้คำๆ นี้ได้อย่างถูกต้องชอบธรรม รวมทั้งรัฐบาลของชาติเหล่านี้เองก็ยังมีความลังเลไม่ค่อยอยากจะให้ถูกพิจารณาว่าพวกเขาเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
แต่การที่จะทำให้ศักยภาพดังกล่าวนี้กลายเป็นของจริงขึ้นมาได้นั้น จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติให้มากๆ นี่คือคำเตือนของ เซอร์กี คาตืย์ริน (Sergy Katyrin) ประธานของสภาธุรกิจกลุ่มบริกส์ (BRICS Business Council) ในรัสเซีย และ รูเบนส์ เดอ ลา โรซา (Rubens de La Rosa) แห่งสภาธุรกิจกลุ่มบริกส์ของบราซิล และก็เป็นกรรมการบริหารของ มาร์โคโปโล (Marco Polo) บริษัทข้ามชาติสัญชาติบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถบัส
ทางด้าน แพตริก มอตเซเป (Patrice Motsepe) ประธานสภาธุรกิจแอฟริกา (African Business Council) บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า สำหรับแอฟริกานั้นถือเป็นพรมแดนใหม่สำหรับการค้าและการลงทุนของโลก โดยที่ในหมู่ประชากรซึ่งมีรายได้ระดับกลางๆ กำลังมีการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
มอตเซเป นักธุรกิจทรงอิทธิพลทางด้านเหมืองแร่ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นอภิมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ชาวแอฟริกาใต้ที่เป็นคนผิวดำคนแรก เขาคือผู้ที่เป็นประธานของคณะทำงานจัดทำรายงานว่าด้วยศักยภาพทางธุรกิจของทั้ง 5 ประเทศ โดยที่มีการเน้นหนักศักยภาพอันสูงเด่นของแอฟริกามากเป็นพิเศษ
ตามข้อมูลของธนาคารพัฒนาแอฟริกา (African Development Bank) การค้าระหว่างทวีปนี้กับพวกประเทศกลุ่มบริกส์ ไต่ขึ้นสู่ระดับ 340,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียวในปี 2012 และได้รับการคาดหมายว่ายังจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนอยู่ที่ 500,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 โดยที่ 60% ของการค้านี้จะเป็นการทำการค้ากับจีน
สภาธุรกิจกลุ่มบริกส์ของแต่ละประเทศนั้น ประกอบด้วยผู้คนในแวดวงธุรกิจจำนวน 25 คน บุคคลเหล่านี้จะไปจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมารวม 5 กลุ่ม เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งวิสาหกิจทำธุรกิจร่วมกันใน 5 ภาค ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน, บริการทางการเงิน, การผลิตทางอุตสาหกรรม, พลังงาน, และการพัฒนาความสามารถ
เหล่าผู้นำทางธุรกิจเหล่านี้ยอมรับว่า ยังต้องทำอะไรอีกมากเพื่อเพิ่มพูนการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกลุ่มบริกส์ ซึ่งในทางปฏิบัติที่ผ่านมาในอดีต อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าไม่รู้จักกันเอาเลย
เดอ ลา โรซา กล่าวว่า ในบรรดาข้อเสนอต่างๆ ที่เวทีทางด้านธุรกิจยื่นต่อที่ประชุมซัมมิตฟอร์ตาเลซาของเหล่าประมุขแห่งรัฐนั้น เรื่องหนึ่งคือขอให้ส่งเสริมสนับสนุนการทำการค้าด้วยสกุลเงินตราแห่งชาติของประเทศในกลุ่มบริกส์ เพราะเมื่อทำเช่นนี้จะ “ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม” และเป็นประโยชน์แก่การค้าและการลงทุน
ทางด้าน ร็อบสัน อันดราเด (Robson Andrade) ประธานของสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติของบราซิล (Brazilian National Confederation of Industry ใช้อักษรย่อว่า CNI) ซึ่งเป็นองค์การผู้จัดเวทีด้านธุรกิจขึ้นในบราซิลคราวนี้ เปิดเผยว่า สิ่งที่เขาเสนอแนะต่อที่ประชุมซัมมิตของเหล่าผู้นำประเทศทั้ง 5 มีดังเช่น การอำนวยความสะดวกในการออกวีซาสำหรับการเดินทางเพื่อธุรกิจ, การทำให้มาตรฐานต่างๆ ในทางเทคนิคเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, การเพิ่มการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทที่อยู่ในประเทศต่างๆ กัน, และการเอาชนะอุปสรรคด้านต่างๆ เป็นต้นว่า ความล่าช้าในระบบราชการ
สิ่งที่พวกนักอุตสาหกรรมชาวบราซิลมีความเป็นห่วงมากที่สุด ได้แก่เรื่องที่บราซิลขาดดุลการค้ากับชาติคู่ค้า โดยที่ขาดดุลเป็นจำนวนสูงถึง 101,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2013 เท่ากับ 21% ของปริมาณการค้าของบราซิลทีเดียว
กว่า 70% ของสินค้าส่งออกที่บราซิลส่งไปยังจีน, อินเดีย, รัสเซีย, และแอฟริกาใต้ คือ ถั่วเหลือง, สินแร่เหล็ก, และน้ำมัน ในทางตรงกันข้าม 95% ของสินค้าที่บราซิลนำเข้าจากประเทศเหล่านี้คือพวกสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งนี้ตามข้อมูลของ CNI
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนเรื่องนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ซึ่งมองจากแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา