xs
xsm
sm
md
lg

สือนอกตีข่าว “เดอะการ์เดียน” เป็นธรรมกับ“ซีพีฟูดส์”หรือไม่ที่แฉ “ปัญหาค้ามนุษย์” - เจ้าสัวซีพีเมินไทยหลังเสียพิกัด GSP เร่งเปิดโรงงานในต่างประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ /ASTVManagerOnline - UndercurrentNews สื่อเจาะลึกวงการประมงโลกรายงานเมื่อวานนี้(14) ว่า บริษัทผลิตกุ้งจากเวียดนามซีนามิโค (Seanamico) สามารถต่ออายุใบการันตีจาก “Friend of The Sea” (FOS) หรือใบรับรองเพื่อยืนยันว่า ผลผลิตกุ้งแบล็กไทเกอร์ ของบริษัทล้วนแต่ผลิตมาจากการประมงแบบยั่งยืน ในขณะที่เบอร์หนึ่งผู้ส่งออกกุ้งของโลก เช่น ซีพีฟูดส์ จากไทย ไม่นานมานี้ตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งของสื่อทั่วทุกมุมโลกจากปัญหา “ค้ามนุษย์” ที่พบในซัพพลายเชนส์ของบริษัท โดยหนังสือพิพม์เดอะการ์เดียนได้ทำเสนอข่าวเชิงสอบสวนทุกแง่ทุกมุม จนเป็นสาเหตุให้ไทยถูกสหรัฐฯขึ้นแบล็กลิสต์ในปีนี้ และเป็นคำถามว่า บริษัทซีพีฟูดส์นั้นได้รับความเป็นธรรมจากสื่อต่างประเทศ เช่น เดอะการ์เดียนในการเสนอข่าวหรือไม่ ล่าสุดซีพีกรุ๊ปที่ได้ผลกำไรจากฐานผลิตในเวียดนามและอินเดีย เล็งเพิ่มเปิดโรงงานและขยายฟาร์มเพิ่มหลังไทยเสียพิกัด GSP พร้อมเล็งสยายอาณาจักรธุรกิจผลิตอาหารเข้าสู่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

บริษัทผลิตกุ้งจากเวียดนามซีนามิโค (Seanamico) ได้ผ่านผลการประเมินต่ออายุใบการันตีจาก “Friend of The Sea” (FOS) ทำให้ทางบริษัทสามารถติดฉลากบนผลิตภัณ์กุ้งแบล็กไทเกอร์จากเวียดนามได้ว่า “ถูกผลิตจากการประมงที่ยั่งยืน” และแน่นอนว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการซื้อของลูกค้าในโลกตะวันตกที่มักให้ความสำคัญด้านปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญ

ฐานการผลิตกุ้งของซีนามิโคอยู่บริเวณจังหวัดติดชายทะเล Ca Mau ในเวียดนาม จากมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตกุ้งของซีนามิโค “มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลน้อยมาก” ซึ่งเข้ามาตรฐานของหน่วยงาน Friend of The Sea ที่เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองการทำประมงอย่างยั่งยืน โดยทางบริษัทซีนามิโคกล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า “ความสำเร็จที่สามารถผ่านการตรวจสอบในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ทางบริษัทต้องการสื่อไปยังผู้บริโภคให้รับทราบเกี่ยวกับพันธกิจของเราที่ใส่ใจในทุกด้าน”

ในขณะที่บริษัทซีพีฟูดส์ของตระกูลเจียรวนนท์  ที่ถือเป็นเบอร์หนึ่งในการส่งออกกุ้งสู่ตลาดโลกต้องตกเป็นข่าวฉาวหน้าหนึ่งทั่วโลกล่าสุด จากปัญหาพัวพันการค้ามนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนส์ของบริษัทในการผลิตกุ้งส่งออกไปยังยุโรป และอเมริกา ในการเปิดเผยของสื่ออังกฤษ เดอะการ์เดียน ที่ใช้เวลานานถึง 6 เดือนในประเทศไทยทำข่าวเชิงวิเคราะห์ต่อเนื่องชิ้นนี้ และยังติดตามไปจนถึงปลายทางผู้บริโภคที่เป็นซูปเปอร์มาร์เกตยักษ์ใหญ่ของโลก เช่น วอลมาร์ต เทสโก้ ว่ามีปฎิกริยาต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งการรายข่าวสำคัญชิ้นนี้ส่งผลให้ไทยถูกลิดระดับลงเหลือขั้นที่ 3 ซึ่งร้ายแรงเทียบเคียงเกาหลีเหนือ และอิหร่านในปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นUndercurrentNews จึงตั้งคำถามว่า สื่อต่างชาติให้ความเป็นธรรมกับบริษัทซีพีฟูดส์มากพอหรือไม่ในการนำเสนอข่าวนี้

ที่ถึงแม้ยอดการส่งออกกุ้งของไทยยังตกลงอย่างต่อเนื่องหลังจากข่าวการค้ามนุษย์ได้เผยแพร่ และทำให้บริษัทลูกค้าข้ามชาติของซีพีฟูดส์ เช่น คาร์ฟู จากยุโรป และ โฮลฟูดส์ จากสหรัฐฯ ถึงกับยกเลิกออร์เดอร์การสั่งซื้อ แต่กระนั้นUndercurrentNews พบว่า การระงับออร์เดอร์จากบริษัทต่างชาติมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเกษตรกรรมของไทย เป็นเพราะซีพีฟูดส์มีลูกค้าจำนวนมากกว่า 100 บริษัททั้งในสหรัฐฯและยุโรปที่มีมูลค่าส่งออกรวมถึง 4,000 ล้านบาท

โดยจากทั้งหมด มีเพียงบริษัทค้าปลีกที่ยกเลิกออร์เดอร์มูลค่าเพียง 600ล้านบาทต่อปี ถือว่าเป็นจำนวนไม่สูงเมื่อเทียบกับรายได้รวมของซีพีฟูดส์ราว 400 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และยอดการขายในตลาดยุโรปยังเห็นว่าได้รับผลกระทบต่ำ

หลังจากที่สื่อทั่วโลกได้รายงานข่าวในสิ่งที่เดอะการ์เดียนพบ เรื่องที่ดูซับซ้อนดูเหมือนกลับง่ายเข้าเมื่อตัวเลขของบริษัทซัพพลายเออร์ในซัพพลายเชนส์นั้นสั้นลง คาฟูร์สั่งกุ้งจากซีพีฟูดส์ ที่ผลิตกุ้งในฟาร์มเพาะเลี้ยงโดยใช้ปลาป่นที่สั่งซื้อมาจากผู้ผลิตอีกทอด ซึ่งโรงงานผลิตปลาป่นเหล่านี้ซื้อปลาเล็กปลาน้อยมาจากบริษัทเรือประมงที่ใช้แรงงานทาสต่างด้าวได้มาจากเครือข่ายการค้ามนุษย์อีกต่อ

และมีสื่อบางสำนักถึงกับรายงานว่า “ซีพีฟูดส์ซื้อปลาจากเรือประมงแรงงานทาส หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยเป็นผู้ดำเนินการผลิตโดยใช้แรงงานทาสต่างด้าวเพื่อลดต้นทุนเอง”

ถึงแม้จะมีความต่างน้อยมากในระหว่างการเป็นผู้รับมาอีกทอดหรือเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ในโลกที่ซัพพลายเชนส์ล้วนต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดเพื่อมาตรฐานการผลิตอาหารปลอดภัย ควรหรือไม่ที่นัมเบอร์วันในโลกการส่งออกอาหารเช่น ซีพีฟูดส์ต้องตกที่นั่งลำบากจากการไม่รอบคอบตรวจสอบเครือข่ายบริษัทซัพพลายเออร์ของตนเองอย่างเข้มงวดและถี่ถ้วน

ในยุโรป บริษัทค้าปลีกต่างคาดหวัง และแน่นอนที่สุดผู้บริโภคชาวยุโรปต่างต้องการทราบที่มาของสินค้าก่อนที่จะนำกลับไปปรุงที่บ้าน

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ไม่ยินดีแน่นอนกับการนำเสนอข่าวพาดพิงจากเดอะการ์เดียน และเมื่อทางบริษัทได้ส่งจดหมายชี้แจงที่ลงนามโดยธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ความหมายเบื้องหลังสารจากเจ้าสัวซีพีคือ #1การประนามการค้ามนุษย์ #2หยุดสั่งออร์เดอร์ทั้งหมดจากซัพพลายเออร์ที่มีปัญหาการค้ามนุษย์เกี่ยวข้อง และ #3 ทำการตรวจสอบเครือซัพพลายเชนส์ของบริษัทตั้งแต่ต้นทั้งระบบ แต่สื่อหนังสือพิมพ์กลับเลือกที่จะไม่ทำ

บางทีสื่อต่างชาติอาจไม่ต้องการเผยรายชื่อแหล่งข่าวบริษัทที่ทำความผิดเรื่องการค้ามนุษย์เพื่อปกป้องแหล่งข่าว หรือบางทีอาจแค่ต้องการรักษาพื้นที่หน้ากระดาษที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่สิ่งที่ซีพีต้องการในข้อมูลสำคัญนั้นถือเป็นจุดมุ่งหมายของแถลงการณ์ที่ส่งถึงเดอะการ์เดียน ที่ทางสื่ออังกฤษไม่ได้เผยแพร่เมื่อเดอะการ์เดียนตีพิมพ์แถลงการณ์ประนามค้ามนุษย์ของซีพี

ทั้งนี้ไม่ต้องสงสัยว่า ปัญหาแรงงานถือเป็นปัญหาหลักในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงเหล่าประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากการที่ไทยขาดปัจจัยในการผลิตกุ้ง เช่น อินเดีย

การตัดขาดจากบริษัทซัพพลายเชนส์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานทาสนั้นจะไม่ช่วยการแก้ปัญหา และบริษัทผลิตอาหาร เช่น ซีฟูดส์ต่างรู้ดีในเรื่องนี้

และเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ล่าสุดมีข่าวว่าบริษัทซีพีฟูดส์เห็นถึงผลกำไรที่เกิดขึ้นในฐานการผลิตต่างชาติ

UndercurrentNews รายงานว่า กองทุนหลักทรัพย์ธ.บัวหลวงซีคิวริตี จัดอันดับซีพีฟูดส์ในไตรมาสที่สองของปี 2014 ที่พบว่า ฐานการผลิตต่างประเทศยังคงปรับเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ส่งออกกุ้งไทยยังคงลดลงต่อเนื่อง

ทาง กองทุนหลักทรัพย์ธ.บัวหลวงซีคิวริตีประเมินว่า ยอดผลกำไรสุทธิในไตรมาสที่สองของปี 2014ราว 3 พันล้านบาท ปรับขึ้นสูงถึง 83 % ต่อปี และ 46% เมื่อคิดเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส คาดการว่าผลกำไรส่วนใหญ่เพิ่มมาจากมาร์จินการบริโภคเนื้อสัตว์โรงเรือนของตลาดในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ดีกว่าการส่งออกกุ้งไทย และความแข็งแกร่งของฐานการผลิตในต่างประเทศ (ยกเว้นฟิลิปปินส์และมาเลเซีย) ที่อยู่ในตุรกี รัสเซีย อินเดีย และเวียดนาม ล้วนแสดงถึงความก้าวหน้าในการประกอบการทั้งสิ้น

ในฐานการผลิตที่เวียดนามนั้นสามารถฟื้นจากปัญหากระแสข่าวกุ้งปนเปื้อนแรงงานทาส ในขณะที่อินเดีย พบว่ากำไรสุทธินั้นโต 178% ปีต่อปี และ 39 % ไตรมาสต่อไตรมาส

ในขณะที่โรงงานของซีพีฟูดส์ในมาเลเซียเผยให้เห็นยอดขาดทุนหลังจุดคุ้มทุนในไตรมาสล่าสุด ต่ำลงเนื่องจากผลกระทบจากความอ่อนแอของอุตสาหกรรมกุ้ง

ในเดือนมีนาคม 2013 ซีพีได้สร้างโรงงานการผลิตกุ้งในเวียดนามเพื่อการส่งออก และขยายการผลิตอาหารสำเร็จรูปในการเตรียมพร้อมเพื่อสนองความต้องการในประเทศ แลคาดการณ์ถึงความต้องการบริโภคที่ปรับสูงจากการเป็นตลาดเดียวของAEC

และUndercurrentNews ยังรายงานต่อว่า โรงงานของซีพีฟูดส์ที่Hueในเวียดนามยังคงสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่องจากการที่สามารถ “ส่งออกกุ้งสุกและกุ้งแปรรูปไปสู่สหภาพยุโรปภายใต้สิทธิพิเศษGSP ที่กุ้งของซีพีฟูดส์จากโรงงานในเวียดนามมีอัตราภาษี 7% ในขณะที่กุ้งของซีพีฟูดส์จากโรงงานในไทยถูกอัตราภาษีถึง 20% ในปี 2014 และไทยที่เป็นฐานของบริษัทซีพีฟูดส์ยังต้องเสียสิทธิ์ GSP 4% ในการส่งออกวัตถุดิบ จะเริ่มต้นในปี 2015 ที่ต้องจ่าย 7% แทน และไทยได้เริ่มต้นเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป”

การสูญเสียสิทธิ์ GSPของผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูปจากไทยเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ซีพีฟูดส์ตัดสินใจเปิดโรงงานผลิตกุ้งอีกแห่งในเวียดนาม “แต่เราตั้งเป้าที่จะขยายธุรกิจในเวียดนามเพื่อทุกประเทศ” ซีพีฟูดส์ โฮลดิง ให้สัมภาษณ์ UndercurrentNews

และล่าสุด ซีพีกรุ๊ปประกาศแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตกุ้งโดยใช้เทคโนโลยีกรีนเฮาส์ ที่ทันสมัยที่สุดที่ทางซีพีกรุ๊ปได้นำมาใช้ในโรงงานฐานผลิตทั่วโลก

และในเดือนกรกฎาคมนี้ ทางซีพีฟูดส์ได้ประกาศแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตกุ้งและปลาขึ้นในรัฐอานธรประเทศ อินเดีย โดยทางบริษัทมีแผนทุ่มเม็ดเงินร่วม 167 ล้านดอลลาร์

ซีพีฟูดส์ต้องการต้องการเพิ่มยอดขายในสามไตรมาสจากฐานการผลิตต่างประเทศภายใน 5ปี โดยตั้งเป้าไปที่กลุ่มประเทศ BRICS หรือกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ซึ่งกำลังมีการจัดประชุมซัมมิตผู้นำสุดยอดที่บราซิลในขณะนี้ โดยซีพีฟูดส์ต้องการทดแทนจากยอดขายในประเทศที่ปรับตัวลง

และรอยเตอร์รายงานว่า ซีพีต้องการขยายโรงงานการผลิตอาหารและฟาร์มในแถบประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ จีน อินเดีย และรัสเซีย
กำลังโหลดความคิดเห็น