(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Russian-Ukrainian ‘gas war’ different
By Claire Bigg
18/06/2014
รัสเซียได้ระงับการส่งก๊าซไปให้แก่ยูเครน ซึ่งถือเป็นการยกระดับความรุนแรงขึ้นมาครั้งใหญ่ ในการพิพาทกันระหว่าง “กาซปรอม” รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ทางด้านก๊าซของรัสเซีย กับทางการยูเครน โดยที่กาซปรอมกำลังเรียกร้องให้กรุงเคียฟต้องชำระหนี้สินค่าก๊าซก้อนมหึมาซึ่งติดค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ หลากหลายแล้ว สิ่งที่ผู้คนจำนวนมากขนานนามว่า “สงครามก๊าซ” ครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศทั้งสองในคราวนี้ มีความแตกต่างอยู่มากจากการพิพาท 2 คราวก่อนซึ่งเกิดขึ้นในปี 2006 และปี 2009
รัสเซียได้ระงับการส่งก๊าซไปให้แก่ยูเครน ซึ่งถือเป็นการยกระดับความรุนแรงขึ้นมาครั้งใหญ่ ในการพิพาทกันระหว่าง “กาซปรอม” (Gazprom) รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ทางด้านก๊าซของรัสเซีย กับทางการยูเครน โดยที่กาซปรอมกำลังเรียกร้องให้กรุงเคียฟต้องชำระหนี้สินค่าก๊าซก้อนมหึมาซึ่งติดค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ หลากหลายแล้ว สิ่งที่ผู้คนจำนวนมากขนานนามว่า “สงครามก๊าซ” (gas war) ครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศทั้งสองในคราวนี้ มีความแตกต่างอยู่มากจากการพิพาท 2 คราวก่อนซึ่งเกิดขึ้นในปี 2006 และปี 2009
ความแตกต่างดังกล่าวนี้มีอะไรบ้าง?
การทะเลาะกันเรื่องก๊าซคราวนี้เป็นเรื่องการเมืองยิ่งกว่าครั้งก่อนๆ มาก
ความขัดแย้งเรื่องก๊าซคราวนี้ปะทุขึ้นมาท่ามกลางภูมิหลังของการสู้รบกันอย่างถึงเลือดถึงชีวิตในยูเครนตะวันออก ระหว่างทหารของรัฐบาล กับพวกกบฏแบ่งแยกดินแดนซึ่งเป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าได้รับความสนับสนุนจากมอสโก
ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงเคียฟนั้นกำลังอยู่ในระดับตกต่ำที่สุด โดยที่ภายในทั้งสองฝ่ายต่างก็มีเสียงเสนอแนะให้สะบั้นการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันไปเสียเลย
“สำหรับยูเครนแล้ว นี่เป็นเรื่องการดำรงคงอยู่ของยูเครน การรักษาความเป็นชาติยูเครน การรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน” จอห์น มิตเชลล์ (John Mitchell) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานของ “ชาธัม เฮาส์” (Chatham House) หน่วยงานคลังสมองของอังกฤษ วิเคราะห์แจกแจง “เรื่องเหล่านี้ไม่ค่อยได้เป็นปัญหาเท่าใดนักในวิกฤตครั้งก่อนๆ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องก๊าซแท้ๆ มากกว่า”
ในครั้งนี้ ประเด็นปัญหาด้านพลังงาน และข้อพิจารณาในทางการเมือง ถูกนำมาผูกโยงพัวพันกันอย่างใกล้ชิด
การพิพาทคราวนี้ปะทุขึ้นเมื่อมอสโกขึ้นราคาค่าก๊าซมากกว่า 80% หลังจากการลุกฮือขึ้นของประชาชน (กลุ่มนิยมตะวันตกและมีฝ่ายตะวันตกให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างใกล้ชิด –ผู้แปล) ในกรุงเคียฟ ได้โค่นล้ม วิกตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ประธานาธิบดีผู้ได้รับการหนุนหลังจากมอสโก (อย่างไรก็ตาม ยานูโควิชได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนทั่วทั้งประเทศยูเครน และการโค่นล้มครั้งนี้มีลักษณะเข้าข่ายการทำรัฐประหารยึดอำนาจ –ผู้แปล) นับแต่นั้น ยานูโควิชก็ได้หลบหนีไปอยู่ในรัสเซีย
นายกรัฐมนตรี อาร์ซีนีย์ ยัตเซนยุค (Arseniy Yatsenyuk) ของยูเครนกล่าวหาว่า ความเคลื่อนไหวขึ้นราคาก๊าซของรัสเซีย “ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับก๊าซหรอก” หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของ “แผนการใหญ่ในการทำลายล้างยูเครน”
ทางด้านสหภาพยุโรป ซึ่งเข้าข้างกลุ่มผู้มีอำนาจในกรุงเคียฟ รวมทั้งประกาศใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่อรัสเซีย จากการที่มอสโกผนวกดินแดนแหลมไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแดนหมีขาว ตลอดจนจากการที่มอสโกดำเนินการแทรกแซงในภาคตะวันออกของยูเครนนั้น กำลังทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ในการเจรจาเรื่องก๊าซระหว่างรัสเซียกับยูเครนในเวลานี้
“คำถามที่ว่าแล้วสหภาพยุโรปจะยืนหยัดทำการป้องกันยูเครนในเรื่องก๊าซได้มากน้อยยาวนานแค่ไหน คำตอบบางส่วนจะอยู่ตรงที่ว่าสหภาพยุโรปนั้นเตรียมพร้อมแค่ไหนที่จะทำการปกป้องยูเครนในประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่ใหญ่โตครอบคลุมกว่าเรื่องก๊าซอีก” มิตเชลล์ ชี้
มองจากจุดยืนของสหภาพยุโรปแล้ว อย่างน้อยที่สุดในคราวนี้รัสเซียก็ดูจะยับยั้งชั่งใจมากกว่าครั้งก่อนๆ
รัสเซียกำลังเดินหมากอย่างระมัดระวังตัวยิ่งกว่าที่เคยกระทำในการทะเลาะขัดแย้งเรื่องพลังงานครั้งก่อนๆ กับชาติเพื่อนบ้านของตนรายนี้ ถึงแม้ยังคงแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวเหนียวแน่นในประเด็นปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับก๊าซ แต่มอสโกก็หลีกเลี่ยงไม่แสดงความคิดเห็นชนิดเหมารวมและร้อนระอุดุเดือด อย่างที่ได้เคยกระทำในวิกฤตคราวก่อนๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคราวการพิพาทครั้งแรกเมื่อปี 2006 นั้น ถูกมองว่าเป็นความหายนะทางด้านการประชาสัมพันธ์สำหรับกาซปรอมทีเดียว โดยในตอนนั้นรัฐวิสาหกิจยักษ์ของหมีขาวแห่งนี้ ถูกกล่าวหาถูกประณามอย่างกว้างขวาง ว่ากำลังใช้ก๊าซมาเป็นอาวุธทางการเมือง
ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตก๊าซครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นในปี 2009 ในทางเป็นจริงแล้ว กาซปรอม ได้ว่าจ้างพวกที่ปรึกษาด้านพีอาร์จากโลกตะวันตก มาบริหารการตอบโต้รับมือทางด้านการประชาสัมพันธ์ของตนเลยทีเดียว
พวกผู้เชี่ยวชาญต่างชี้ว่า รัสเซียมีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะทำให้ชาวยุโรปเกิดความมั่นอกมั่นใจว่า รัสเซียเป็นซัปพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้ และต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลกระทบกระเทือนอย่างใหญ่โตกับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าที่ใกล้ชิดของตน
ตัวอย่างเช่น หลังจากเกิดเหตุระเบิดที่สายท่อส่งก๊าซของยูเครนขึ้นมาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน กาซปรอมได้รีบแถลงย้ำว่า การระเบิดคราวนี้จะไม่สร้างปัญหาให้แก่ตนในการส่งก๊าซไปให้พวกลูกค้ายุโรป
ตามความเห็นของมิตเชลล์แล้ว เขากล่าวว่า “รัสเซียกำลังเดินหน้าไปอย่างระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยพยายามที่จะรวมศูนย์ปัญหาเอาไว้ที่ยูเครน ไม่ใช่เอาไว้ที่ยุโรป”
มอสโกยังพยายามที่จะวาดภาพให้เห็นว่าการพิพาทกันคราวนี้เป็นเรื่องเชิงพาณิชย์จริงๆ
เป็นต้นว่า เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน อเล็กเซย์ มิลเลอร์ (Aleksei Miller) ซีอีโอของ กาซปรอม ได้กล่าวหานายกรัฐมนตรียัตเซนยุค ของยูเครนว่า กำลังทำตัวเป็นหัวหอกของยูเครนในความพยายามโหมกระพือเรียกการทะเลาะเบาะแว้งคราวนี้ว่าเป็น “สงครามก๊าซ”
ยุทธศาสตร์ของรัสเซียดูจะได้ผล
กึนเธอร์ เอิททิงเกอร์ (Guenther Oettinger) กรรมาธิการอียูซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางให้แก่การเจรจาเรื่องก๊าซระหว่างรัสเซียกับยูเครน ได้แถลงเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนว่า รัสเซียนั้น “ไม่ได้กำลังใช้ก๊าซมาเป็นอาวุธทางการเมืองเพื่อเล่นงานสหภาพยุโรป”
มิตเชลล์อธิบายว่า “ประสบการณ์ (การพิพาทเรื่องก๊าซ) ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นที่พึงพอใจของรัสเซีย พอๆ กับที่ไม่ได้เป็นที่พึงพอใจของสหภาพยุโรป” ด้วยเหตุนี้ “จึงมีการกำหนดจัดทำระเบียบวิธีสำหรับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสหภาพยุโรปกับกาซปรอม ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามว่าจะเกิดปัญหาที่อาจขัดขวางการซัปพลายก๊าซชนิดนี้ขึ้นมา ดังนั้นเวลานี้ทั้งสองฝ่ายจึงมีการติดต่อสื่อสารกันดีขึ้นกว่าในอดีตมาก”
ยุโรปตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะขาดแคลนก๊าซ ลดน้อยลงกว่าในอดีต
สหภาพยุโรปนั้นได้รับก๊าซที่ต้องการใช้ประมาณ 15% จากสายท่อส่งที่พาดผ่านดินแดนของยูเครน และก็ต้องประสบภาวะขาดแคลนพลังงานในระหว่างที่เกิดการพิพาทกันทั้ง 2 ครั้งก่อน
แต่สำหรับในคราวนี้ ถ้าหากเกิดอุปสรรคขัดขวางการส่งก๊าซจากรัสเซียผ่านยูเครนขึ้นมาจริงๆ อียูก็มีเกราะป้องกันตัวดีขึ้นกว่าเดิมมาก
มีรายงานว่าพวกคลังเก็บก๊าซต่างๆ ในสหภาพยุโรปเวลานี้ มีก๊าซเก็บไว้ในระดับ 65% ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นสถิติทีเดียว
ช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงที่อากาศอุ่น ซึ่งหมายความว่ามีความต้องการใช้ก๊าซในระดับต่ำ ดังนั้น ถ้าเกิดมีการตัดการจ่ายก๊าซขึ้นมา ก็จะสร้างปัญหาน้อยกว่าในปี 2006 และปี 2009 ซึ่งการพิพาทเกิดขึ้นในระยะเวลาที่เป็นฤดูหนาว
“ไม่ว่าจะมองกันในแง่ไหน สหภาพยุโรปก็มีเกราะป้องกันเพิ่มมากขึ้นทั้งนั้น นั่นคือมีก๊าซเก็บอยู่ในคลังมากกว่าในอดีต ตอนนี้ก็เป็นหน้าร้อน ด้วยเหตุนี้ภายในสหภาพยุโรปจึงสามารถยืดหยุ่นปรับตัวได้ยิ่งกว่าเมื่อก่อน” มิตเชลล์บอก
นอกจากนั้น สัญญาซื้อขายก๊าซยังมีการปรับปรุงแก้ไขกันไปแล้วตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตในปี 2009 ปัจจุบันกาซปรอมต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลจัดส่งก๊าซตลอดทางไปจนถึงพรมแดนยูเครน-อียู แทนที่จะทำการขายก๊าซของตนให้แก่ยุโรปที่ตรงพรมแดนรัสเซีย-ยูเครนเหมือนในอดีต
สภาพเช่นนี้สามารถลดความเสี่ยงที่ยูเครนจะแอบเปิดก๊าซรัสเซียส่วนที่มุ่งซัปพลายให้แก่พวกลูกค้าในยุโรป ออกมาใช้เอง เหมือนอย่างที่ยูเครนเคยกระทำเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
ดังที่ มิตเชลล์ ได้ชี้เอาไว้ให้เห็น ถ้าหากในคราวนี้ยูเครนยังจะลักลอบนำซัปพลายของยุโรปออกมาใช้เอง มันก็จะ “เป็นการไม่ฉลาดอย่างยิ่ง” เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่ายุโรปได้ให้ความสนับสนุนทางการเมืองแก่กรุงเคียฟมากมายขนาดไหนในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ไม่เพียงเท่านั้น โครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ที่มีเพิ่มขึ้น ยังหมายความว่าสายท่อส่งก๊าซที่พาดผ่านยูเครน กำลังมีบทบาทลดน้อยลงเมื่อเทียบกับวิกฤตพลังงานคราวก่อนๆ
ถ้าหากยูเครนเริ่มเปิดก๊าซรัสเซียที่ส่งผ่านไปให้ยุโรปออกมาใช้เสียเอง กาซปรอมก็ได้ให้คำมั่นสัญญาเรียบร้อยแล้วว่าจะเพิ่มก๊าซส่วนที่ส่งผ่านสายท่อส่ง “นอร์ท สตรีม” (North Stream) ซึ่งวางผ่านใต้ทะเลบอลติกไปถึงเยอรมนี
รัสเซียวางสายท่อส่งนอร์ทสตรีมเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2011 สำหรับอีกโครงการหนึ่ง นั่นคือสายท่อส่ง “เซาท์ สตรีท” (South Stream) ความยาว 2,400 กิโลเมตร ซึ่งจะข้ามทะเลดำไปจนถึงบัลแกเรีย และชาติสมาชิกอียูอื่นๆ ถัดจากนั้น เวลานี้ประสบภาวะชะงักงัน นับแต่ที่บัลแกเรียประกาศชะลอการเข้าร่วมโครงการนี้เมื่อตอนต้นเดือนมิถุนายนนี้
ยูเครนก็มีการเตรียมพร้อมดีขึ้นกว่าเดิม
บริษัทพลังงาน “นาฟโตกาซ” (Naftogaz) ของยูเครนแถลงว่า บริษัทมีก๊าซเก็บในคลังเพียงพอสำหรับใช้ไปจนกระทั่งเดือนธันวาคมนี้
การที่ยูเครนมีสายสัมพันธ์เพิ่มพูนขึ้นมากกับสหภาพยุโรป ยังอาจช่วยให้ยูเครนประสบความลำบากลดน้อยลง ในกรณีที่ถูกรัสเซียตัดส่งก๊าซอย่างยาวนานยืดเยื้อ
ที่จริงแล้ว RWE AG บริษัทกิจการสาธารณูปโภคใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี กำลังขนส่งก๊าซไปให้ยูเครน โดยนำมาจากโปแลนด์ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
สโลวาเกีย และฮังการี ก็มีศักยภาพที่จะส่งก๊าซให้ยูเครนได้ ด้วยการใช้สิ่งที่เรียกว่า “การไหลกลับ” (reverse flows) ซึ่งจะเป็นการลำเลียงก๊าซต่อไปอีกทางด้านตะวันออก จนกระทั่งถึงยูเครน
“ขณะนี้มีความเป็นไปได้สำหรับยูเครน ที่จะซื้อก๊าซจากฮังการีและจากโปแลนด์ เริ่มตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงเป็นต้นไป” ซาบิเน เบอร์เกอร์ (Sabine Berger) โฆษกหญิงของกรรมาธิการอียู เอิททิงเกอร์ แถลงในวันที่ 17 มิถุนายน “นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้เช่นกันสำหรับยูเครน หรือสำหรับนาฟโตกาซ ที่จะได้รับก๊าซจากสโลวาเกีย”
เบอร์เกอร์บอกว่า ทางเลือกเหล่านี้ล้วนแต่ “ถูกต้องตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์”
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง
Russian-Ukrainian ‘gas war’ different
By Claire Bigg
18/06/2014
รัสเซียได้ระงับการส่งก๊าซไปให้แก่ยูเครน ซึ่งถือเป็นการยกระดับความรุนแรงขึ้นมาครั้งใหญ่ ในการพิพาทกันระหว่าง “กาซปรอม” รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ทางด้านก๊าซของรัสเซีย กับทางการยูเครน โดยที่กาซปรอมกำลังเรียกร้องให้กรุงเคียฟต้องชำระหนี้สินค่าก๊าซก้อนมหึมาซึ่งติดค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ หลากหลายแล้ว สิ่งที่ผู้คนจำนวนมากขนานนามว่า “สงครามก๊าซ” ครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศทั้งสองในคราวนี้ มีความแตกต่างอยู่มากจากการพิพาท 2 คราวก่อนซึ่งเกิดขึ้นในปี 2006 และปี 2009
รัสเซียได้ระงับการส่งก๊าซไปให้แก่ยูเครน ซึ่งถือเป็นการยกระดับความรุนแรงขึ้นมาครั้งใหญ่ ในการพิพาทกันระหว่าง “กาซปรอม” (Gazprom) รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ทางด้านก๊าซของรัสเซีย กับทางการยูเครน โดยที่กาซปรอมกำลังเรียกร้องให้กรุงเคียฟต้องชำระหนี้สินค่าก๊าซก้อนมหึมาซึ่งติดค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ หลากหลายแล้ว สิ่งที่ผู้คนจำนวนมากขนานนามว่า “สงครามก๊าซ” (gas war) ครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศทั้งสองในคราวนี้ มีความแตกต่างอยู่มากจากการพิพาท 2 คราวก่อนซึ่งเกิดขึ้นในปี 2006 และปี 2009
ความแตกต่างดังกล่าวนี้มีอะไรบ้าง?
การทะเลาะกันเรื่องก๊าซคราวนี้เป็นเรื่องการเมืองยิ่งกว่าครั้งก่อนๆ มาก
ความขัดแย้งเรื่องก๊าซคราวนี้ปะทุขึ้นมาท่ามกลางภูมิหลังของการสู้รบกันอย่างถึงเลือดถึงชีวิตในยูเครนตะวันออก ระหว่างทหารของรัฐบาล กับพวกกบฏแบ่งแยกดินแดนซึ่งเป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าได้รับความสนับสนุนจากมอสโก
ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงเคียฟนั้นกำลังอยู่ในระดับตกต่ำที่สุด โดยที่ภายในทั้งสองฝ่ายต่างก็มีเสียงเสนอแนะให้สะบั้นการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันไปเสียเลย
“สำหรับยูเครนแล้ว นี่เป็นเรื่องการดำรงคงอยู่ของยูเครน การรักษาความเป็นชาติยูเครน การรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน” จอห์น มิตเชลล์ (John Mitchell) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานของ “ชาธัม เฮาส์” (Chatham House) หน่วยงานคลังสมองของอังกฤษ วิเคราะห์แจกแจง “เรื่องเหล่านี้ไม่ค่อยได้เป็นปัญหาเท่าใดนักในวิกฤตครั้งก่อนๆ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องก๊าซแท้ๆ มากกว่า”
ในครั้งนี้ ประเด็นปัญหาด้านพลังงาน และข้อพิจารณาในทางการเมือง ถูกนำมาผูกโยงพัวพันกันอย่างใกล้ชิด
การพิพาทคราวนี้ปะทุขึ้นเมื่อมอสโกขึ้นราคาค่าก๊าซมากกว่า 80% หลังจากการลุกฮือขึ้นของประชาชน (กลุ่มนิยมตะวันตกและมีฝ่ายตะวันตกให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างใกล้ชิด –ผู้แปล) ในกรุงเคียฟ ได้โค่นล้ม วิกตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ประธานาธิบดีผู้ได้รับการหนุนหลังจากมอสโก (อย่างไรก็ตาม ยานูโควิชได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนทั่วทั้งประเทศยูเครน และการโค่นล้มครั้งนี้มีลักษณะเข้าข่ายการทำรัฐประหารยึดอำนาจ –ผู้แปล) นับแต่นั้น ยานูโควิชก็ได้หลบหนีไปอยู่ในรัสเซีย
นายกรัฐมนตรี อาร์ซีนีย์ ยัตเซนยุค (Arseniy Yatsenyuk) ของยูเครนกล่าวหาว่า ความเคลื่อนไหวขึ้นราคาก๊าซของรัสเซีย “ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับก๊าซหรอก” หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของ “แผนการใหญ่ในการทำลายล้างยูเครน”
ทางด้านสหภาพยุโรป ซึ่งเข้าข้างกลุ่มผู้มีอำนาจในกรุงเคียฟ รวมทั้งประกาศใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่อรัสเซีย จากการที่มอสโกผนวกดินแดนแหลมไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแดนหมีขาว ตลอดจนจากการที่มอสโกดำเนินการแทรกแซงในภาคตะวันออกของยูเครนนั้น กำลังทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ในการเจรจาเรื่องก๊าซระหว่างรัสเซียกับยูเครนในเวลานี้
“คำถามที่ว่าแล้วสหภาพยุโรปจะยืนหยัดทำการป้องกันยูเครนในเรื่องก๊าซได้มากน้อยยาวนานแค่ไหน คำตอบบางส่วนจะอยู่ตรงที่ว่าสหภาพยุโรปนั้นเตรียมพร้อมแค่ไหนที่จะทำการปกป้องยูเครนในประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่ใหญ่โตครอบคลุมกว่าเรื่องก๊าซอีก” มิตเชลล์ ชี้
มองจากจุดยืนของสหภาพยุโรปแล้ว อย่างน้อยที่สุดในคราวนี้รัสเซียก็ดูจะยับยั้งชั่งใจมากกว่าครั้งก่อนๆ
รัสเซียกำลังเดินหมากอย่างระมัดระวังตัวยิ่งกว่าที่เคยกระทำในการทะเลาะขัดแย้งเรื่องพลังงานครั้งก่อนๆ กับชาติเพื่อนบ้านของตนรายนี้ ถึงแม้ยังคงแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวเหนียวแน่นในประเด็นปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับก๊าซ แต่มอสโกก็หลีกเลี่ยงไม่แสดงความคิดเห็นชนิดเหมารวมและร้อนระอุดุเดือด อย่างที่ได้เคยกระทำในวิกฤตคราวก่อนๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคราวการพิพาทครั้งแรกเมื่อปี 2006 นั้น ถูกมองว่าเป็นความหายนะทางด้านการประชาสัมพันธ์สำหรับกาซปรอมทีเดียว โดยในตอนนั้นรัฐวิสาหกิจยักษ์ของหมีขาวแห่งนี้ ถูกกล่าวหาถูกประณามอย่างกว้างขวาง ว่ากำลังใช้ก๊าซมาเป็นอาวุธทางการเมือง
ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตก๊าซครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นในปี 2009 ในทางเป็นจริงแล้ว กาซปรอม ได้ว่าจ้างพวกที่ปรึกษาด้านพีอาร์จากโลกตะวันตก มาบริหารการตอบโต้รับมือทางด้านการประชาสัมพันธ์ของตนเลยทีเดียว
พวกผู้เชี่ยวชาญต่างชี้ว่า รัสเซียมีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะทำให้ชาวยุโรปเกิดความมั่นอกมั่นใจว่า รัสเซียเป็นซัปพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้ และต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลกระทบกระเทือนอย่างใหญ่โตกับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าที่ใกล้ชิดของตน
ตัวอย่างเช่น หลังจากเกิดเหตุระเบิดที่สายท่อส่งก๊าซของยูเครนขึ้นมาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน กาซปรอมได้รีบแถลงย้ำว่า การระเบิดคราวนี้จะไม่สร้างปัญหาให้แก่ตนในการส่งก๊าซไปให้พวกลูกค้ายุโรป
ตามความเห็นของมิตเชลล์แล้ว เขากล่าวว่า “รัสเซียกำลังเดินหน้าไปอย่างระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยพยายามที่จะรวมศูนย์ปัญหาเอาไว้ที่ยูเครน ไม่ใช่เอาไว้ที่ยุโรป”
มอสโกยังพยายามที่จะวาดภาพให้เห็นว่าการพิพาทกันคราวนี้เป็นเรื่องเชิงพาณิชย์จริงๆ
เป็นต้นว่า เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน อเล็กเซย์ มิลเลอร์ (Aleksei Miller) ซีอีโอของ กาซปรอม ได้กล่าวหานายกรัฐมนตรียัตเซนยุค ของยูเครนว่า กำลังทำตัวเป็นหัวหอกของยูเครนในความพยายามโหมกระพือเรียกการทะเลาะเบาะแว้งคราวนี้ว่าเป็น “สงครามก๊าซ”
ยุทธศาสตร์ของรัสเซียดูจะได้ผล
กึนเธอร์ เอิททิงเกอร์ (Guenther Oettinger) กรรมาธิการอียูซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางให้แก่การเจรจาเรื่องก๊าซระหว่างรัสเซียกับยูเครน ได้แถลงเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนว่า รัสเซียนั้น “ไม่ได้กำลังใช้ก๊าซมาเป็นอาวุธทางการเมืองเพื่อเล่นงานสหภาพยุโรป”
มิตเชลล์อธิบายว่า “ประสบการณ์ (การพิพาทเรื่องก๊าซ) ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นที่พึงพอใจของรัสเซีย พอๆ กับที่ไม่ได้เป็นที่พึงพอใจของสหภาพยุโรป” ด้วยเหตุนี้ “จึงมีการกำหนดจัดทำระเบียบวิธีสำหรับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสหภาพยุโรปกับกาซปรอม ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามว่าจะเกิดปัญหาที่อาจขัดขวางการซัปพลายก๊าซชนิดนี้ขึ้นมา ดังนั้นเวลานี้ทั้งสองฝ่ายจึงมีการติดต่อสื่อสารกันดีขึ้นกว่าในอดีตมาก”
ยุโรปตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะขาดแคลนก๊าซ ลดน้อยลงกว่าในอดีต
สหภาพยุโรปนั้นได้รับก๊าซที่ต้องการใช้ประมาณ 15% จากสายท่อส่งที่พาดผ่านดินแดนของยูเครน และก็ต้องประสบภาวะขาดแคลนพลังงานในระหว่างที่เกิดการพิพาทกันทั้ง 2 ครั้งก่อน
แต่สำหรับในคราวนี้ ถ้าหากเกิดอุปสรรคขัดขวางการส่งก๊าซจากรัสเซียผ่านยูเครนขึ้นมาจริงๆ อียูก็มีเกราะป้องกันตัวดีขึ้นกว่าเดิมมาก
มีรายงานว่าพวกคลังเก็บก๊าซต่างๆ ในสหภาพยุโรปเวลานี้ มีก๊าซเก็บไว้ในระดับ 65% ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นสถิติทีเดียว
ช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงที่อากาศอุ่น ซึ่งหมายความว่ามีความต้องการใช้ก๊าซในระดับต่ำ ดังนั้น ถ้าเกิดมีการตัดการจ่ายก๊าซขึ้นมา ก็จะสร้างปัญหาน้อยกว่าในปี 2006 และปี 2009 ซึ่งการพิพาทเกิดขึ้นในระยะเวลาที่เป็นฤดูหนาว
“ไม่ว่าจะมองกันในแง่ไหน สหภาพยุโรปก็มีเกราะป้องกันเพิ่มมากขึ้นทั้งนั้น นั่นคือมีก๊าซเก็บอยู่ในคลังมากกว่าในอดีต ตอนนี้ก็เป็นหน้าร้อน ด้วยเหตุนี้ภายในสหภาพยุโรปจึงสามารถยืดหยุ่นปรับตัวได้ยิ่งกว่าเมื่อก่อน” มิตเชลล์บอก
นอกจากนั้น สัญญาซื้อขายก๊าซยังมีการปรับปรุงแก้ไขกันไปแล้วตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตในปี 2009 ปัจจุบันกาซปรอมต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลจัดส่งก๊าซตลอดทางไปจนถึงพรมแดนยูเครน-อียู แทนที่จะทำการขายก๊าซของตนให้แก่ยุโรปที่ตรงพรมแดนรัสเซีย-ยูเครนเหมือนในอดีต
สภาพเช่นนี้สามารถลดความเสี่ยงที่ยูเครนจะแอบเปิดก๊าซรัสเซียส่วนที่มุ่งซัปพลายให้แก่พวกลูกค้าในยุโรป ออกมาใช้เอง เหมือนอย่างที่ยูเครนเคยกระทำเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
ดังที่ มิตเชลล์ ได้ชี้เอาไว้ให้เห็น ถ้าหากในคราวนี้ยูเครนยังจะลักลอบนำซัปพลายของยุโรปออกมาใช้เอง มันก็จะ “เป็นการไม่ฉลาดอย่างยิ่ง” เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่ายุโรปได้ให้ความสนับสนุนทางการเมืองแก่กรุงเคียฟมากมายขนาดไหนในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ไม่เพียงเท่านั้น โครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ที่มีเพิ่มขึ้น ยังหมายความว่าสายท่อส่งก๊าซที่พาดผ่านยูเครน กำลังมีบทบาทลดน้อยลงเมื่อเทียบกับวิกฤตพลังงานคราวก่อนๆ
ถ้าหากยูเครนเริ่มเปิดก๊าซรัสเซียที่ส่งผ่านไปให้ยุโรปออกมาใช้เสียเอง กาซปรอมก็ได้ให้คำมั่นสัญญาเรียบร้อยแล้วว่าจะเพิ่มก๊าซส่วนที่ส่งผ่านสายท่อส่ง “นอร์ท สตรีม” (North Stream) ซึ่งวางผ่านใต้ทะเลบอลติกไปถึงเยอรมนี
รัสเซียวางสายท่อส่งนอร์ทสตรีมเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2011 สำหรับอีกโครงการหนึ่ง นั่นคือสายท่อส่ง “เซาท์ สตรีท” (South Stream) ความยาว 2,400 กิโลเมตร ซึ่งจะข้ามทะเลดำไปจนถึงบัลแกเรีย และชาติสมาชิกอียูอื่นๆ ถัดจากนั้น เวลานี้ประสบภาวะชะงักงัน นับแต่ที่บัลแกเรียประกาศชะลอการเข้าร่วมโครงการนี้เมื่อตอนต้นเดือนมิถุนายนนี้
ยูเครนก็มีการเตรียมพร้อมดีขึ้นกว่าเดิม
บริษัทพลังงาน “นาฟโตกาซ” (Naftogaz) ของยูเครนแถลงว่า บริษัทมีก๊าซเก็บในคลังเพียงพอสำหรับใช้ไปจนกระทั่งเดือนธันวาคมนี้
การที่ยูเครนมีสายสัมพันธ์เพิ่มพูนขึ้นมากกับสหภาพยุโรป ยังอาจช่วยให้ยูเครนประสบความลำบากลดน้อยลง ในกรณีที่ถูกรัสเซียตัดส่งก๊าซอย่างยาวนานยืดเยื้อ
ที่จริงแล้ว RWE AG บริษัทกิจการสาธารณูปโภคใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี กำลังขนส่งก๊าซไปให้ยูเครน โดยนำมาจากโปแลนด์ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
สโลวาเกีย และฮังการี ก็มีศักยภาพที่จะส่งก๊าซให้ยูเครนได้ ด้วยการใช้สิ่งที่เรียกว่า “การไหลกลับ” (reverse flows) ซึ่งจะเป็นการลำเลียงก๊าซต่อไปอีกทางด้านตะวันออก จนกระทั่งถึงยูเครน
“ขณะนี้มีความเป็นไปได้สำหรับยูเครน ที่จะซื้อก๊าซจากฮังการีและจากโปแลนด์ เริ่มตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงเป็นต้นไป” ซาบิเน เบอร์เกอร์ (Sabine Berger) โฆษกหญิงของกรรมาธิการอียู เอิททิงเกอร์ แถลงในวันที่ 17 มิถุนายน “นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้เช่นกันสำหรับยูเครน หรือสำหรับนาฟโตกาซ ที่จะได้รับก๊าซจากสโลวาเกีย”
เบอร์เกอร์บอกว่า ทางเลือกเหล่านี้ล้วนแต่ “ถูกต้องตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์”
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง