(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Sex workers help Bangladesh fight HIV
By Naimul Haq
30/04/2014
จากการที่หน่วยงานรัฐบาลและเอ็นจีโอตื่นตัวเข้าต่อสู้กับปัญหาการระบาดของเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์กันตั้งแต่เนิ่นๆ จึงช่วยให้บังกลาเทศมีอัตราความชุกของโรคร้ายนี้ต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติกำลังพัฒนาอื่นๆ นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ทั้งนี้โครงการที่อาศัยผู้ทำงานให้บริการทางเพศมาให้การศึกษาแก่เพื่อนร่วมงานด้วยกัน ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการยับยั้งการแพร่ระบาดในกลุ่มเสี่ยงนี้ ทว่าสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดแบบฉีด ยังคงเป็นกลุ่มที่ยากลำบากกว่ามากในการจัดการรับมือ
ธากา, บังกลาเทศ – โซฮากี (Shohagi) หญิงสาววัย 19 ปี เดินไปตามระเบียงตรงไปยังกลุ่มผู้ฟังซึ่งเป็นผู้ทำงานให้บริการทางเพศราวๆ สิบกว่าคน ด้วยน้ำเสียงที่ดังกังวานและเชื่อมั่น หญิงสาวผู้นี้ซึ่งก็เป็นผู้ทำงานให้บริการทางเพศเช่นเดียวกัน แบ่งปันความรู้ของเธอในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย
“ถุงยางนี่จะช่วยป้องกันพวกเราจากโรคติดต่อที่เกิดจากการร่วมเพศได้เยอะมากเลย ถ้าไม่มีเจ้านี่ เราจะต้องเจ็บป่วยลำบากเดือดร้อนสาหัส” โซฮากี พูดเตือน ณ ศูนย์ให้คำแนะนำแห่งหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย บังกลาเทศ มาโนบาธิการ์ สังบาดิก ฟอรั่ม (Bangladesh Manobadhikar Sangbadik Forum ใช้อักษรย่อว่า BMSF) องค์กรนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ซึ่งทำงานด้านการป้องกันการติดต่อของเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted disease หรือ STD) อื่นๆ
ขณะที่ โซฮากี สาธิตถึงวิธีใส่ถุงยางอนามัยเข้ากับอวัยวะจำลองอยู่นั้น โคฮินูร์ บานู (Kohinoor Banu) ก็พูดขึ้นจากในหมู่ผู้ฟังว่า “พวกเราไม่เคยได้เรียนเรื่องอย่างนี้จากที่ไหนมาก่อนเลย”
อำเภอคุชเตีย (Kushtia) เป็นอำเภอเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงธากาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร ที่นี่ประชากรส่วนใหญ่ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตร แต่ก็มีผู้ที่หันไปหายาเสพติดหรือเป็นโสเภณีขายบริการทางเพศ สืบเนื่องจากความยากจนและตำแหน่งงานมีน้อย หางานทำได้ยาก
“การเป็นโสเภณีและการติดยาเสพติดไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่มันกลายเป็นภัยคุกคามใหญ่มากในสังคมที่ระดับการศึกษาต่ำ” โมฮัมหมัด อลัมกีร์ คาบีร์ (Mohammad Alamgir Kabir) ผู้ประสานงานของ บีเอ็มเอสเอฟ ในอำเภอคุชเตีย บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter-Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS)
พวกเขาให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพวกกลุ่มเสี่ยงทั้งหลาย อย่างเช่น ผู้ทำงานให้บริการทางเพศ “บทเรียนที่กระตุ้นความตื่นตัว สามารถทำงานได้ผลมากเหมือนกับปาฏิหาริย์ทีเดียว” คาบีร์ กล่าว “ความตื่นตัวนี่จริงๆ แล้วไม่ต้องใช้เงินทองซื้อหามาเลย ในตอนแรกๆ เราปฏิบัติตัวเหมือนกับเป็นผู้คอยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวขึ้นมา ด้วยการจัดฝึกอบรมและให้การศึกษาแก่ผู้ทำงานให้บริการทางเพศ มาถึงตอนนี้พวกผู้ทำงานทางเพศก็ให้การศึกษาแก่เพื่อนๆ ร่วมงานของพวกเขา เพื่อความปลอดภัยของพวกเขาเอง”
สำหรับประเทศที่มีประชากรหนาแน่นถึง 150 ล้านคน บังกลาเทศถือว่ามีการระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ต่ำมากๆ โดยที่จำนวนผู้ซึ่งทราบแล้วว่าติดเชื้อเอชไอวีนั้นมีเพียงประมาณ 3,000 คน ขณะที่นับถึงเดือนธันวาคม 2013 ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์มีทั้งสิ้นราวๆ 1,300 ราย ทั้งๆ ที่บังกลาเทศมีผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยรวมๆ ในอัตราสูง, อัตราการรู้หนังสือต่ำ, แล้วก็มีพรมแดนที่มีช่องโหว่รูรั่วเยอะแยะ ติดต่ออยู่กับประเทศอย่างอินเดียและพม่า
ความสำเร็จในด้านนี้ของบังกลาเทศนั้น มาจากการที่ฝ่ายการเมืองมีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง, ได้รับความสนับสนุนสงเคราะห์อย่างทันการณ์, และมีความร่วมมือกันอย่างทรงประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐกับพวกองค์กรเอ็นจีโอ
ตามข้อมูลของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) บังกลาเทศเป็นหนึ่งในชาติกำลังพัฒนาไม่ค่อยกี่ประเทศ ซึ่งได้เข้าสู้รบปรบมือกับ เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยที่ประเทศยากจนในภูมิภาคเอเชียใต้แห่งนี้ ได้กำหนดให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990
น.พ.ฮุสเซน ซาร์วาร์ (Dr Hussain Sarwar) ผู้อำนวยการโครงการโรคเอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ (National AIDS/STD Programme ใช้อักษรย่อว่า NASP) ของบังกลาเทศ บอกกับสำนักข่าวไอเอสพีว่า “เรามุ่งเน้นไปที่การจัดความช่วยเหลือให้แก่กลุ่มที่มีลำดับความสำคัญสูงๆ เพื่อเป็นการป้องกันผู้ที่มีความอ่อนแออาจติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ และก็มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการประพฤติปฏิบัติต่างๆ ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัย”
“มีประเทศจำนวนมาก ทั้งๆ ที่กำลังแบกรับภาระหนักอึ้งจากการติดเชื้อเอชไอวี แต่ก็ยังไม่ยอมตระหนักไม่ยอมรับรู้ว่ามันกำลังระบาดแล้ว สำหรับพวกเราในบังกลาเทศ พวกเรามีการเตรียมตัวรับมือกันตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดผลกระทบจาก เอชไอวี/เอดส์ ให้เหลือน้อยที่สุด”
ราเบยา คาตุน (Rabeya Khatun) วัย 21 ปี และ โคฮินูร์ เบกุม (Kohinoor Begum) วัย 27 ปี ต่างเป็นผู้ที่เข้ามาใช้ศูนย์ให้คำแนะนำในคุชเทียอยู่เป็นประจำ “ศูนย์ที่ทำให้คนมาใช้รู้สึกสบายอกสบายใจอย่างนี้ ช่วยเราได้มากจริงๆ” เป็นคำรำพึงของ โคฮินูร์ ซึ่งมีบุตร 2 คนที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ ส่วน คาตุน ก็เสริมว่า “เราได้รับแจกถุงยางฟรี ได้รับคำแนะนำ และการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศ ศูนย์นี้ช่วยให้การศึกษาที่ถูกต้องแก่พวกเรา และให้การศึกษาในเวลาที่เหมาะเจาะถูกต้องจริงๆ”
ผู้ทำงานให้บริการทางเพศส่วนใหญ่ในบังกลาเทศ สามารถเข้าถึงศูนย์ให้คำแนะนำเช่นนี้ได้ ศูนย์ประเภทนี้เปิดขึ้นด้วยความช่วยเหลือขององค์กรเอ็นจีโอต่างๆ และถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต่อสู้เอชไอวีแห่งชาติของบังกลาเทศ
“เป็นเพราะโครงการริเริ่มที่ผ่านการขบคิดมาอย่างดีพวกนี้แหละ จึงทำให้สามารถรักษาตัวเลขให้อยู่ในระดับต่ำ ผลการทดสอบเลือดของผู้บริจาคโลหิตซึ่งมาจากพวกกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แสดงให้เห็นว่าอัตราการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับไม่ถึง 1%” น.พ.นัซมุล ฮุนเซน (Dr Nazmul Hussain) แห่ง เอ็นเอเอชพี กล่าว อย่างไรก็ตาม ในหมู่ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด (intravenous drug users หรือ IDU) ของบังกลาเทศ อัตราการติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มผู้ทำงานทางเพศอย่างมาก
“เมื่อปี 2002 เราพบว่าตัวเลขนี้ในกลุ่ม IDUs ได้ทะลุข้ามเส้น 4% ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่น่ากังวลแล้ว กลุ่ม IDUs นี่ ไม่เหมือนกับกลุ่มอื่นๆ เป็นพวกที่ชักจูงโน้มน้าวลำบากมาก”
ราบิอุล อิสลาม (Rabiul Islam) เป็น 1 ในกลุ่มผู้เสพเฮโรอีนด้วยการฉีดนี้ “ผมพยายามเลิกมาหลายครั้ง แต่แล้วก็กลับมาติดใหม่อีกทุกที” หนุ่มวัย 20 กลางๆ ผู้นี้บอก ราบิอุลและเพื่อนของเขาบางคนทำงานเป็นกุ๊กอยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในคุชเตีย
“ไลต์เฮาส์” (Light House) องค์กรเอ็นจีโอรายหนึ่งในคุชเตีย กำลังทำงานกับพวกเขา กลุ่มนี้ทำงานที่อำเภอนี้มา 4 ปีแล้วเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี และทำให้ชีวิตของผู้ติดยามีระเบียบวินัยขึ้นมาบ้าง
โมฮัมหมัด เอค อับดุล บารี (Mohammad AK Abdul) ผู้ประสานงานโครงการของ ไลต์เฮาส์ บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า “เราทำงานผ่านทางเพื่อนๆ ร่วมงานของพวกเรา ซึ่งจะระบุตัวว่าใครบ้างที่เสพยาด้วยการฉีด พวกเขาจะคอยส่งคนเหล่านี้มาที่ศูนย์ให้คำแนะนำของเรา และเราก็จะเสนอแนะให้ความสนับสนุนทุกๆ อย่างทั้งเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ เอชไอวี/เอดส์”
ขณะที่ โมฮัมหมัด อานิซุสซามาน (Mohammad Anisuzzaman) ผู้จัดการศูนย์ให้คำแนะนำของ ไลต์เฮาส์ เล่าว่า “เรามีทีมงานเฝ้าติดตามที่เข้มแข็งมาก IDU ทุกๆ รายจะถูกติดตามค้นพบและลงทะเบียนเอาไว้ พวก IDUs รายใหม่ๆ ก็จะถูกส่งมาที่นี่ ซึ่งพวกเขาจะได้รับคำปรึกษาแนะนำแบบเพื่อนพูดคุยกับเพื่อน”
การที่บังกลาเทศมีอัตราความชุกของ เอชไอวี/เอดส์ อยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ ควรต้องยกย่องให้เครดิตว่าเป็นผลงานขององค์กรเอ็นจีโอทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติประมาณ 45 องค์กร
“รัฐบาลกับภาคประชาชนของที่นี่ มีการจับมือเป็นหุ้นส่วนกันอย่างเข้มแข็ง” ลีโอ เคนนี (Leo Kenny) ผู้ประสานงานประจำบังกลาเทศของ UNAIDS บอกกับสำนักข่าวไอพีเอส “องค์กรเอ็นจีโอต่างๆ คือผู้ที่ปฏิบัติงานในเรื่องการป้องกัน, การบำบัดรักษา, และกิจกรรมดูแลต่างๆ เกี่ยวกับ เอชไอวี/เอดส์ ตลอดทั่วทั้งบังกลาเทศ ถึงประมาณ 75% ทีเดียว”
ด้วยความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างพวกองค์กรเอ็นจีโอ, สื่อมวลชน, และภาคประชาชน ในบังกลาเทศเวลานี้ จึงมี ศูนย์ให้คำแนะนำ 309 แห่ง, ศูนย์ทดสอบโดยสมัครใจและให้คำปรึกษา 61 แห่ง, และศูนย์บริการโลหิตเพื่อการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลต่างๆ 98 แห่ง ปฏิบัติงานอยู่
สำหรับองค์กรเอ็นจีโอทั้งหลายนั้น การปฏิบัติงานของพวกเขาจะเน้นหนักไปที่พวกกลุ่มเสี่ยงสูงต่างๆ เป็นต้นว่า ชายที่มีเซ็กซ์กับชายด้วยกันซึ่งที่ทราบกันแล้วมีจำนวน 110,581 คน, หญิงผู้ทำงานให้บริการทางเพศ 74,300 คน, และบุคคลข้ามเพศอีก 8,882 คน
รัฐบาลบังกลาเทศเองยอมรับว่า จำเป็นที่จะต้องมีศูนย์ทดสอบการติดเชื้อเอชไอวี และศูนย์ให้คำปรึกษาเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ ดังที่ น.พ.ซาร์วาร์ กล่าวว่า “การให้บริการทดสอบการติดเชื้อเอชไอวีและให้คำปรึกษา ควรที่จะต้องทำได้ถึงขนาดที่ว่า ทุกๆ คนซึ่งต้องการทราบสถานะเชื้อเอชไอวีของพวกเขา ต้องสามารถที่จะเข้าถึงศูนย์เหล่านี้ได้”
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ในแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา
Sex workers help Bangladesh fight HIV
By Naimul Haq
30/04/2014
จากการที่หน่วยงานรัฐบาลและเอ็นจีโอตื่นตัวเข้าต่อสู้กับปัญหาการระบาดของเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์กันตั้งแต่เนิ่นๆ จึงช่วยให้บังกลาเทศมีอัตราความชุกของโรคร้ายนี้ต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติกำลังพัฒนาอื่นๆ นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ทั้งนี้โครงการที่อาศัยผู้ทำงานให้บริการทางเพศมาให้การศึกษาแก่เพื่อนร่วมงานด้วยกัน ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการยับยั้งการแพร่ระบาดในกลุ่มเสี่ยงนี้ ทว่าสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดแบบฉีด ยังคงเป็นกลุ่มที่ยากลำบากกว่ามากในการจัดการรับมือ
ธากา, บังกลาเทศ – โซฮากี (Shohagi) หญิงสาววัย 19 ปี เดินไปตามระเบียงตรงไปยังกลุ่มผู้ฟังซึ่งเป็นผู้ทำงานให้บริการทางเพศราวๆ สิบกว่าคน ด้วยน้ำเสียงที่ดังกังวานและเชื่อมั่น หญิงสาวผู้นี้ซึ่งก็เป็นผู้ทำงานให้บริการทางเพศเช่นเดียวกัน แบ่งปันความรู้ของเธอในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย
“ถุงยางนี่จะช่วยป้องกันพวกเราจากโรคติดต่อที่เกิดจากการร่วมเพศได้เยอะมากเลย ถ้าไม่มีเจ้านี่ เราจะต้องเจ็บป่วยลำบากเดือดร้อนสาหัส” โซฮากี พูดเตือน ณ ศูนย์ให้คำแนะนำแห่งหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย บังกลาเทศ มาโนบาธิการ์ สังบาดิก ฟอรั่ม (Bangladesh Manobadhikar Sangbadik Forum ใช้อักษรย่อว่า BMSF) องค์กรนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ซึ่งทำงานด้านการป้องกันการติดต่อของเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted disease หรือ STD) อื่นๆ
ขณะที่ โซฮากี สาธิตถึงวิธีใส่ถุงยางอนามัยเข้ากับอวัยวะจำลองอยู่นั้น โคฮินูร์ บานู (Kohinoor Banu) ก็พูดขึ้นจากในหมู่ผู้ฟังว่า “พวกเราไม่เคยได้เรียนเรื่องอย่างนี้จากที่ไหนมาก่อนเลย”
อำเภอคุชเตีย (Kushtia) เป็นอำเภอเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงธากาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร ที่นี่ประชากรส่วนใหญ่ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตร แต่ก็มีผู้ที่หันไปหายาเสพติดหรือเป็นโสเภณีขายบริการทางเพศ สืบเนื่องจากความยากจนและตำแหน่งงานมีน้อย หางานทำได้ยาก
“การเป็นโสเภณีและการติดยาเสพติดไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่มันกลายเป็นภัยคุกคามใหญ่มากในสังคมที่ระดับการศึกษาต่ำ” โมฮัมหมัด อลัมกีร์ คาบีร์ (Mohammad Alamgir Kabir) ผู้ประสานงานของ บีเอ็มเอสเอฟ ในอำเภอคุชเตีย บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter-Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS)
พวกเขาให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพวกกลุ่มเสี่ยงทั้งหลาย อย่างเช่น ผู้ทำงานให้บริการทางเพศ “บทเรียนที่กระตุ้นความตื่นตัว สามารถทำงานได้ผลมากเหมือนกับปาฏิหาริย์ทีเดียว” คาบีร์ กล่าว “ความตื่นตัวนี่จริงๆ แล้วไม่ต้องใช้เงินทองซื้อหามาเลย ในตอนแรกๆ เราปฏิบัติตัวเหมือนกับเป็นผู้คอยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวขึ้นมา ด้วยการจัดฝึกอบรมและให้การศึกษาแก่ผู้ทำงานให้บริการทางเพศ มาถึงตอนนี้พวกผู้ทำงานทางเพศก็ให้การศึกษาแก่เพื่อนๆ ร่วมงานของพวกเขา เพื่อความปลอดภัยของพวกเขาเอง”
สำหรับประเทศที่มีประชากรหนาแน่นถึง 150 ล้านคน บังกลาเทศถือว่ามีการระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ต่ำมากๆ โดยที่จำนวนผู้ซึ่งทราบแล้วว่าติดเชื้อเอชไอวีนั้นมีเพียงประมาณ 3,000 คน ขณะที่นับถึงเดือนธันวาคม 2013 ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์มีทั้งสิ้นราวๆ 1,300 ราย ทั้งๆ ที่บังกลาเทศมีผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยรวมๆ ในอัตราสูง, อัตราการรู้หนังสือต่ำ, แล้วก็มีพรมแดนที่มีช่องโหว่รูรั่วเยอะแยะ ติดต่ออยู่กับประเทศอย่างอินเดียและพม่า
ความสำเร็จในด้านนี้ของบังกลาเทศนั้น มาจากการที่ฝ่ายการเมืองมีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง, ได้รับความสนับสนุนสงเคราะห์อย่างทันการณ์, และมีความร่วมมือกันอย่างทรงประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐกับพวกองค์กรเอ็นจีโอ
ตามข้อมูลของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) บังกลาเทศเป็นหนึ่งในชาติกำลังพัฒนาไม่ค่อยกี่ประเทศ ซึ่งได้เข้าสู้รบปรบมือกับ เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยที่ประเทศยากจนในภูมิภาคเอเชียใต้แห่งนี้ ได้กำหนดให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990
น.พ.ฮุสเซน ซาร์วาร์ (Dr Hussain Sarwar) ผู้อำนวยการโครงการโรคเอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ (National AIDS/STD Programme ใช้อักษรย่อว่า NASP) ของบังกลาเทศ บอกกับสำนักข่าวไอเอสพีว่า “เรามุ่งเน้นไปที่การจัดความช่วยเหลือให้แก่กลุ่มที่มีลำดับความสำคัญสูงๆ เพื่อเป็นการป้องกันผู้ที่มีความอ่อนแออาจติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ และก็มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการประพฤติปฏิบัติต่างๆ ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัย”
“มีประเทศจำนวนมาก ทั้งๆ ที่กำลังแบกรับภาระหนักอึ้งจากการติดเชื้อเอชไอวี แต่ก็ยังไม่ยอมตระหนักไม่ยอมรับรู้ว่ามันกำลังระบาดแล้ว สำหรับพวกเราในบังกลาเทศ พวกเรามีการเตรียมตัวรับมือกันตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดผลกระทบจาก เอชไอวี/เอดส์ ให้เหลือน้อยที่สุด”
ราเบยา คาตุน (Rabeya Khatun) วัย 21 ปี และ โคฮินูร์ เบกุม (Kohinoor Begum) วัย 27 ปี ต่างเป็นผู้ที่เข้ามาใช้ศูนย์ให้คำแนะนำในคุชเทียอยู่เป็นประจำ “ศูนย์ที่ทำให้คนมาใช้รู้สึกสบายอกสบายใจอย่างนี้ ช่วยเราได้มากจริงๆ” เป็นคำรำพึงของ โคฮินูร์ ซึ่งมีบุตร 2 คนที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ ส่วน คาตุน ก็เสริมว่า “เราได้รับแจกถุงยางฟรี ได้รับคำแนะนำ และการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศ ศูนย์นี้ช่วยให้การศึกษาที่ถูกต้องแก่พวกเรา และให้การศึกษาในเวลาที่เหมาะเจาะถูกต้องจริงๆ”
ผู้ทำงานให้บริการทางเพศส่วนใหญ่ในบังกลาเทศ สามารถเข้าถึงศูนย์ให้คำแนะนำเช่นนี้ได้ ศูนย์ประเภทนี้เปิดขึ้นด้วยความช่วยเหลือขององค์กรเอ็นจีโอต่างๆ และถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต่อสู้เอชไอวีแห่งชาติของบังกลาเทศ
“เป็นเพราะโครงการริเริ่มที่ผ่านการขบคิดมาอย่างดีพวกนี้แหละ จึงทำให้สามารถรักษาตัวเลขให้อยู่ในระดับต่ำ ผลการทดสอบเลือดของผู้บริจาคโลหิตซึ่งมาจากพวกกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แสดงให้เห็นว่าอัตราการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับไม่ถึง 1%” น.พ.นัซมุล ฮุนเซน (Dr Nazmul Hussain) แห่ง เอ็นเอเอชพี กล่าว อย่างไรก็ตาม ในหมู่ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด (intravenous drug users หรือ IDU) ของบังกลาเทศ อัตราการติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มผู้ทำงานทางเพศอย่างมาก
“เมื่อปี 2002 เราพบว่าตัวเลขนี้ในกลุ่ม IDUs ได้ทะลุข้ามเส้น 4% ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่น่ากังวลแล้ว กลุ่ม IDUs นี่ ไม่เหมือนกับกลุ่มอื่นๆ เป็นพวกที่ชักจูงโน้มน้าวลำบากมาก”
ราบิอุล อิสลาม (Rabiul Islam) เป็น 1 ในกลุ่มผู้เสพเฮโรอีนด้วยการฉีดนี้ “ผมพยายามเลิกมาหลายครั้ง แต่แล้วก็กลับมาติดใหม่อีกทุกที” หนุ่มวัย 20 กลางๆ ผู้นี้บอก ราบิอุลและเพื่อนของเขาบางคนทำงานเป็นกุ๊กอยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในคุชเตีย
“ไลต์เฮาส์” (Light House) องค์กรเอ็นจีโอรายหนึ่งในคุชเตีย กำลังทำงานกับพวกเขา กลุ่มนี้ทำงานที่อำเภอนี้มา 4 ปีแล้วเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี และทำให้ชีวิตของผู้ติดยามีระเบียบวินัยขึ้นมาบ้าง
โมฮัมหมัด เอค อับดุล บารี (Mohammad AK Abdul) ผู้ประสานงานโครงการของ ไลต์เฮาส์ บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า “เราทำงานผ่านทางเพื่อนๆ ร่วมงานของพวกเรา ซึ่งจะระบุตัวว่าใครบ้างที่เสพยาด้วยการฉีด พวกเขาจะคอยส่งคนเหล่านี้มาที่ศูนย์ให้คำแนะนำของเรา และเราก็จะเสนอแนะให้ความสนับสนุนทุกๆ อย่างทั้งเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ เอชไอวี/เอดส์”
ขณะที่ โมฮัมหมัด อานิซุสซามาน (Mohammad Anisuzzaman) ผู้จัดการศูนย์ให้คำแนะนำของ ไลต์เฮาส์ เล่าว่า “เรามีทีมงานเฝ้าติดตามที่เข้มแข็งมาก IDU ทุกๆ รายจะถูกติดตามค้นพบและลงทะเบียนเอาไว้ พวก IDUs รายใหม่ๆ ก็จะถูกส่งมาที่นี่ ซึ่งพวกเขาจะได้รับคำปรึกษาแนะนำแบบเพื่อนพูดคุยกับเพื่อน”
การที่บังกลาเทศมีอัตราความชุกของ เอชไอวี/เอดส์ อยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ ควรต้องยกย่องให้เครดิตว่าเป็นผลงานขององค์กรเอ็นจีโอทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติประมาณ 45 องค์กร
“รัฐบาลกับภาคประชาชนของที่นี่ มีการจับมือเป็นหุ้นส่วนกันอย่างเข้มแข็ง” ลีโอ เคนนี (Leo Kenny) ผู้ประสานงานประจำบังกลาเทศของ UNAIDS บอกกับสำนักข่าวไอพีเอส “องค์กรเอ็นจีโอต่างๆ คือผู้ที่ปฏิบัติงานในเรื่องการป้องกัน, การบำบัดรักษา, และกิจกรรมดูแลต่างๆ เกี่ยวกับ เอชไอวี/เอดส์ ตลอดทั่วทั้งบังกลาเทศ ถึงประมาณ 75% ทีเดียว”
ด้วยความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างพวกองค์กรเอ็นจีโอ, สื่อมวลชน, และภาคประชาชน ในบังกลาเทศเวลานี้ จึงมี ศูนย์ให้คำแนะนำ 309 แห่ง, ศูนย์ทดสอบโดยสมัครใจและให้คำปรึกษา 61 แห่ง, และศูนย์บริการโลหิตเพื่อการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลต่างๆ 98 แห่ง ปฏิบัติงานอยู่
สำหรับองค์กรเอ็นจีโอทั้งหลายนั้น การปฏิบัติงานของพวกเขาจะเน้นหนักไปที่พวกกลุ่มเสี่ยงสูงต่างๆ เป็นต้นว่า ชายที่มีเซ็กซ์กับชายด้วยกันซึ่งที่ทราบกันแล้วมีจำนวน 110,581 คน, หญิงผู้ทำงานให้บริการทางเพศ 74,300 คน, และบุคคลข้ามเพศอีก 8,882 คน
รัฐบาลบังกลาเทศเองยอมรับว่า จำเป็นที่จะต้องมีศูนย์ทดสอบการติดเชื้อเอชไอวี และศูนย์ให้คำปรึกษาเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ ดังที่ น.พ.ซาร์วาร์ กล่าวว่า “การให้บริการทดสอบการติดเชื้อเอชไอวีและให้คำปรึกษา ควรที่จะต้องทำได้ถึงขนาดที่ว่า ทุกๆ คนซึ่งต้องการทราบสถานะเชื้อเอชไอวีของพวกเขา ต้องสามารถที่จะเข้าถึงศูนย์เหล่านี้ได้”
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ในแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา