ยูเครนสำคัญอย่างไรในเป้าหมายทั่วโลกของสหรัฐฯ
(ฝันหวานเป็นเจ้าโลกของสหรัฐฯตายสนิทใน 'ไครเมีย' ตอน2)
โดย เดอะ เซกเกอร์
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Death throes of world supremacy
By THE SAKER
18/03/2014
นอกเหนือจากการเดินพาเหรดในชุดเครื่องแบบของพวกขวาจัดที่ต้องการเป็นนาซี, การรับเงินรับทองจากสหรัฐฯ, และการกรีดร้องตะโกนคำขวัญว่า “ยูเครนจงเจริญ!” ยังมีอะไรที่ต้องทำกันอีกมากมายนักในการสร้างชาติที่ล้มละลายไปแล้วให้พลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ ทว่าสหรัฐฯนั่นเองที่ช่วยให้ยูเครนก้าวเข้าสู่สถานการณ์อันบ้าบอคอแตกเช่นนี้ เพราะนโยบายการต่างประเทศของวอชิงตันนั้นไม่ได้ดำเนินโดยเหล่านักการทูต ทว่ารับผิดชอบโดยเหล่านักการเมือง ผู้ซึ่งหวั่นหวาดสัญญาณต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯมิได้เป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวของโลกอย่างแท้จริงอีกแล้ว และความหวาดกลัวเช่นนี้เองที่ทำให้พวกเขามองเห็นไปว่า การทำให้ยูเครนตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ คือเป้าหมายที่ทรงความสำคัญในลำดับต้นๆ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 5 ตอน นี่คือตอน2 *
(ต่อจากตอน1)
** “นักการเมือง” ไม่ใช่ “นักการทูต” คือผู้กุมนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯ**
เรื่องหลักที่ควรต้องทำความเข้าใจให้ดีเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯก็คือ มันเป็นสิ่งที่ดำเนินการโดยคนที่ไม่มีประสบการณ์หรือกระทั่งไม่มีความเข้าใจเรื่องการทูตตลอดจนวัตถุประสงค์ของการทูตเอาเลย ไม่ใช่เพียงแค่มิสซิสนูแลนด์ (วิกตอเรีย นูแลนด์ Victoria Nuland ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯฝ่ายกิจการยุโรปและยูเรเชีย) และคำสบถ “f**k the EU!” อันมีชื่อเสียงของเธอเท่านั้น แต่ยังรวมถึง (รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น) เคร์รี กับการโกหกและการซิกแซกเป็นประจำของเขาด้วย ขณะที่มิสซิสไรซ์ (ซูซาน ไรซ์ Susan Rice ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของโอบามา ก่อนหน้านั้นเธอเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติ) ก็เลื่องชื่อลือชาในเรื่องความยะโสโอหังของเธอ และการชมชอบทะเลาะวิวาทกับรัสเซียและประเทศอื่นๆ อีกจำนวนมากของเธอ สุดท้าย กระทั่งตัว (ประธานาธิบดีบารัค) โอบามา เองก็เช่นกัน เขามีส่วนผสมผสานของความมั่นอกมั่นใจในความสามารถของตนเองอย่างสุดขั้ว และความเป็นคนมือถือสากปากถือศีลในระดับที่ต้องถือเป็นปรากฏการณ์อย่างแท้จริงทีเดียว ความคิดในเรื่องการเจรจาต่อรองใดๆ ก็ตาม ล้วนแต่กลายเป็นสิ่งแปลกประหลาดเหลือล้นสำหรับเหล่าผู้นำสูงส่งพวกนี้ โดยที่พวกเขาเชื่ออย่างแรงกล้าว่าการทำการเจรจาอย่างแท้จริงใดๆ ก็ตาม โดยพื้นฐานแล้วก็คือสัญญาณของความอ่อนแอ สำหรับพวกเขาแล้ว สิ่งเดียวที่สามารถนำมาเจรจาได้ก็คือ อีกฝ่ายหนึ่งต้องยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขทุกๆ อย่างของสหรัฐฯเท่านั้น และถ้าเรื่องเช่นนี้ไม่ได้บังเกิดขึ้น วิธีพื้นฐานของสหรัฐฯก็คือข่มขู่ที่จะถล่มโจมตีจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะหมอบราบคาบแก้ว เวลาผันผ่านไปนานนักหนาแล้วสำหรับวันคืนในยุคของประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู บุช (บุชผู้พ่อ) และเจมส์ เบเกอร์ (James Baker) รัฐมนตรีต่างประเทศผู้ฉลาดเฉียบแหลมของเขา ซึ่งมีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการทูตและการเจรจาด้วยความสุขุมรอบคอบสามารถบรรลุผลสำเร็จได้มากมายเพียงใด พวกคนรุ่นเคร์รี/ไรซ์ โดยพื้นฐานแล้วเป็นพวกที่เชื่อว่าพวกเขาสามารถบอกกับทุกๆ คนให้เกิดความต้องการอย่างที่พวกขาต้องการได้ และถ้าหากนั่นไม่ได้ผลแล้ว ก็ต้องเล่นไม้แข็ง (ไม่ว่าจะเป็นเพียงการข่มขู่จะใช้กำลัง หรือเป็นการใช้กำลังจริงๆ) แล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้ นี่เองคือเหตุผลที่ทำไมสหรัฐฯไม่เคยยินยอมเห็นพ้องที่จะเจรจากับ กัดดาฟี หรือกับอัสซาด และนี่เองคือเหตุผลที่ทำไมข้อเสนอทั้งหลายทั้งปวงของฝ่ายรัสเซียเพื่อมุ่งหาทางออกโดยผ่านการเจรจาตกลงกันนั้น จึงถูกปฏิเสธบอกปัดอย่างเป็นระบบ
รัสเซียยื่นข้อเสนอขอเจรจาเรื่องยูเครนย้อนหลังไปไกลตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว เมื่อเริ่มมีสัญญาณแรกๆ ปรากฏออกมาให้เห็นว่าวิกฤตการณ์ร้ายแรงกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว (รัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เกย์) ลาฟรอฟ ได้ยื่นข้อเสนอให้เริ่มเปิดการเจรจา 3 ฝ่าย นั่นคือระหว่าง สหภาพยุโรป (อียู), ยูเครน, และรัสเซีย ปรากฏว่า อียู ถ้าหากไม่เป็นเพราะตกอยู่ใต้คำสั่งของสหรัฐฯ ก็คงเป็นเพียงเกิดอาการหลงละเมอว่าตนเองยิ่งใหญ่เสียเต็มประดา จึงได้ปฏิเสธทางเลือกนี้ไปอย่างดูเหมิ่นถิ่นแคลน ภายใต้ข้ออ้างที่ว่ายูเครนเป็นชาติอธิปไตย และดังนั้นรัสเซียจึงไม่ควรมีปากมีเสียงสอดแทรกเข้าไปในอนาคตของยูเครนมากไปกว่าปารากวัยหรือวานูอาตู สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นอีกก็คือ อียูเสแสร้างแกล้งทำเป็นเชื่อว่า รัฐบาลยูเครนจะลงนามในเอกสารอันยาวเหยียด 1,500 หน้า ซึ่งระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ของการร่วมมือกันในทางการค้าและการเมืองระหว่างอียูกับยูเครน อีกทั้งยูเครนจะป่าวประกาศเรื่องนี้อย่างสง่างามโดยไม่มีการยั้งคิดเลยว่ารัสเซียอาจจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง แน่นอนทีเดียวว่า เมื่อในที่สุดมันค่อยๆ เป็นที่กระจ่างแก่ อาซารอฟ และยานูโควิช (หมายถึงนายกรัฐมนตรี มีโคลา อาซารอฟ และประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช ของยูเครนในเวลานั้น) ว่า แท้จริงแล้วรัสเซียจะไม่มีทางเลือกอื่นเลยนอกจากปิดพรมแดนติดต่อกับยูเครนของตนในปัจจุบัน เพื่อพิทักษ์ป้องกันเศรษฐกิจของรัสเซียไม่ให้ถูกท่วมท้นด้วยผลิตภัณฑ์ของอียู ซึ่งจะต้องไหลทะลักเข้าสู่ยูเครนอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เมื่อถึงวินาทีสุดท้าย ยานูโควิชกประกาศกลับลำไม่เซ็นข้อตกลงกับอียู ซึ่งกลายเป็นการหักมุมที่ถูกเล่นงานโจมตีอย่างหนักหน่วง รัสเซียก็ได้ยื่นข้อเสนออีกครั้งให้เปิดการเจรจากัน และก็เป็นอีกครั้งที่ข้อเสนอนี้ถูกบอกปัด ดูเหมือนพวกข้ารัฐการอียูบางส่วนยังคงเชื่อว่า ยานูโควิช จะกลับมายินยอมในที่สุดเมื่อเปิดการประชุมซัมมิตที่วิลนีอุส (เมืองหลวงของลิทัวเนีย) ทว่าเขาไม่ได้ทำเช่นนี้ ซึ่งก็เพียงเนื่องจากว่าเขาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ อย่างน้อยที่สุดก็ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ต้องเข่นฆ่าเศรษฐกิจของยูเครนไปทั้งระบบด้วย ถึงตรงนี้เองเป็นช่วงเวลาที่จู่ๆ ฝ่ายอเมริกันก็เรียกได้ว่ากระโดดผึงออกมา เพราะพวกเขาเข้าใจไปว่า การที่ยูเครนพูดว่า “ไม่” กับอียู ถึงแม้จะเป็นเพียงชั่วคราว ก็มีความหมายเท่ากับพูดว่า “ตกลง” กับรัสเซีย และอาจจะเป็นการตอบตกลงที่ถาวรอีกด้วย ดังนั้นเอง ลุงแซมก็รู้สึกว่าจะต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยตนเองแล้ว
**ยูเครน กับ เป้าหมาย, ยุทธศาสตร์, และยุทธวิธีของนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯในทั่วโลก**
เป้าหมายโดยรวมของนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯในทั่วโลกนั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้อย่างง่ายดายจริงๆ นั่นคือ การรักษาฐานะความเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียวของพื้นพิภพนี้เอาไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่ามีสัญญาณปรากฏออกมามากขึ้นๆ ซึ่งชี้อย่างถนัดชัดจนถึงข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯนั้นไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจของโลกอย่างแท้จริงอีกแล้ว ดูเหมือนว่ามีแต่จะทำให้สหรัฐฯยิ่งเห็นว่าการบรรลุถึงเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ เป็นสิ่งที่มีลำดับความสำคัญสูงขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ภายใต้บริบทดังกล่าวนี้ สหรัฐอเมริกาจึงมียุทธศาสตร์ต่อรัสเซียซึ่งเข้าใจได้ง่ายๆ พอๆ กัน กล่าวคือ ทำทุกๆ อย่างเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียกลายเป็น “สหภาพโซเวียตใหม่” หรือรูปแบบอื่นใดก็ตามทีซึ่งจะกลายเป็นผู้ท้าทายฐานะครอบงำทั่วโลกของสหรัฐฯ เมื่อมาถึงแง่ของการปฏิบัติแล้ว ยุทธศาสตร์เช่นนี้มีความหมายอย่างเดียว ได้แก่ ทำทุกๆ อย่างเพื่อให้ยูเครนแยกห่างออกจากรัสเซีย ในหมู่ชนชั้นนำของสหรัฐฯนั้นมีความคิดที่ค่อนข้างประหลาดๆ เช่นนี้จริงๆ พวกเขาเห็นว่าเมื่อได้ยูเครนไป รัสเซียจะกลายเป็นอภิมหาอำนาจได้ ขณะที่ไม่ได้ไปก็จะยังไม่เป็น ความคิดเห็นเช่นนี้ทั้งคัดง้างกับข้อเท็จจริง (รัสเซียนั้นย่อมเป็นอภิมหาอำนาจรายหนึ่งอยู่แล้ว เหมือนอย่างที่เราเพิ่งได้เห็นกันในซีเรีย) และทั้งไร้เหตุผล –เพราะรัสเซียนั้นทั้งไม่จำเป็นต้องได้ยูเครนและทั้งไม่ต้องการได้ยูเครน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นรัฐล้มเหลวที่เป็นของเทียมๆ ทั้งแท่ง ยูเครนปกครองโดยชนกลุ่มน้อยที่คดโกง โดยที่มองไม่เห็นเลยว่าจะมีลู่ทางอะไรนักหนาที่ยูเครนจะช่วยเพิ่มพูนเสริมส่งความมั่งคั่งซึ่งมีอยู่แล้วในปัจจุบันของรัสเซีย หากจะพูดกันตรงๆ และพูดในเงื่อนไขของการมุ่งหาประโยชน์ทางการเมืองกันแท้ๆ แล้ว ยูเครนคือเรื่องปวดหัวซึ่งไม่มีใครในรัสเซียต้องการจริงๆ หรอก แต่ช่างมันปะไร พวกชนชั้นนำของสหรัฐฯนั้นกำลังทำอะไรต่อมิอะไร ไม่ใช่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงหรือบนความรับรู้ความเข้าใจของฝ่ายรัสเซียเลย หากแต่บนพื้นฐานความรับรู้ความเข้าใจของพวกเขาเองต่างหาก ซึ่งก็ออกมาว่า ต้องไม่ยอมปล่อยให้ยูเครนกลับตกไปอยู่ใต้ “การครอบงำ” ของรัสเซียอีก ไม่เช่นนั้นรัสเซียก็จะกลายเป็นอภิมหาอำนาจอีกครั้ง
ในแง่ของยุทธวิธีแล้ว ยุทธศาสตร์นี้ถูกนำมาปฏิบัติโดยใช้กฎง่ายๆ รวม 2 ข้อ:
ข้อแรก พลังต่อต้านรัสเซียใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าน่าเกลียดน่าชิงชังหรือบ้าบอคอแตกสักแค่ไหนก็ตาม ต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
ข้อสอง นี่เป็นเกมแบบที่ใครชนะกวาดกองกลางไปหมด (zero sum game) ดังนั้น อะไรก็ตามทีที่รัสเซียเสียไปก็คือสหรัฐฯชนะมา ทำนองเดียวกัน อะไรก็ตามที่รัสเซียชนะมาก็คือสหรัฐฯเสียไป
รางวัลอันมีค่าสูงสุดสำหรับสหรัฐฯ ก็คือการเตะกองทัพเรือภาคทะเลดำของรัสเซียให้ออกไปจากแหลมไครเมีย และนำเอาฐานทัพแห่งต่างๆ ของสหรัฐฯ/นาโต้ เข้าไปตั้งอยู่ในยูเครน ไม่ใช่เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความได้เปรียบในทางการทหารอะไรนักหนาหรอก หากแต่จะเป็นการป้องกันไม่ให้ยูเครนขยับเข้าไปใกล้ชิดรัสเซีย หรือว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอีกคำรบหนึ่ง แต่ถ้าทำเช่นนี้ไม่สำเร็จ สิ่งที่ดีรองลงมาก็คือการทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ระบอบปกครองที่ต่อต้านรัสเซียขึ้นครองอำนาจในกรุงเคียฟ กระทั่งถ้าหากระบอบปกครองดังกล่าวขึ้นครองเมืองโดยอาศัยการยึดอำนาจด้วยกำลังอาวุธ – มันก็เป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้ กระทั่งถ้าหากตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งหมดในระบอบปกครองนี้ถูกยกให้แก่พวกนาซีใหม่ -มันก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้เช่นกัน เรื่องพวกนี้ไม่มีความหมายอะไรจริงจังหรอก ตราบเท่าที่ยังสามารถป้องกันไม่ให้รัสเซียเอายูเครนกลับคืนไป
แน่นอนทีเดียวว่า โลกของเรามีความสลับซับซ้อนนักหนากว่าที่พวกนักการเมืองโง่เขลาและหยิ่งยะโสเหล่านี้จะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ในทางเป็นจริงแล้ว ไม่เพียงสหรัฐฯคือฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวสำหรับความปั่นป่วนวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในยูเครนเวลานี้ หากแต่สหรัฐฯยังเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวสำหรับการก่อให้เกิดผลในทางแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายสืบเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาเลือกกระทำลงไปอีกด้วย
เดอะ เซกเกอร์ เป็นชื่อของบล็อกเกอร์ซึ่งไม่ปรากฏนามจริง โดยเขียนประจำอยู่ที่บล็อก The Vineyard of the Saker (http://vineyardsaker.blogspot.com/) นอกจากนั้นยังเขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์อยู่เป็นระยะๆ
(ข้อเขียนชิ้นนี้มี 5 ตอน
ตอน 1 ประชามติ 'ไครเมีย' และ พวกขวาจัด 'ยูเครน' ที่สหรัฐฯหนุนหลัง
ตอน2 ยูเครนสำคัญอย่างไรในเป้าหมายทั่วโลกของสหรัฐฯ
ตอน3 “ความไม่เอาไหน”ของสหรัฐฯปลุก “ชาตินิยม”รัสเซีย
ตอน4 จักรวรรดิอเมริกัน “เสียท่า” ครั้งใหญ่
ตอน5 อนาคตของ “ยูเครน” และ ฝันหวานเป็นเจ้าโลกของ “สหรัฐฯ”)
(ฝันหวานเป็นเจ้าโลกของสหรัฐฯตายสนิทใน 'ไครเมีย' ตอน2)
โดย เดอะ เซกเกอร์
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Death throes of world supremacy
By THE SAKER
18/03/2014
นอกเหนือจากการเดินพาเหรดในชุดเครื่องแบบของพวกขวาจัดที่ต้องการเป็นนาซี, การรับเงินรับทองจากสหรัฐฯ, และการกรีดร้องตะโกนคำขวัญว่า “ยูเครนจงเจริญ!” ยังมีอะไรที่ต้องทำกันอีกมากมายนักในการสร้างชาติที่ล้มละลายไปแล้วให้พลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ ทว่าสหรัฐฯนั่นเองที่ช่วยให้ยูเครนก้าวเข้าสู่สถานการณ์อันบ้าบอคอแตกเช่นนี้ เพราะนโยบายการต่างประเทศของวอชิงตันนั้นไม่ได้ดำเนินโดยเหล่านักการทูต ทว่ารับผิดชอบโดยเหล่านักการเมือง ผู้ซึ่งหวั่นหวาดสัญญาณต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯมิได้เป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวของโลกอย่างแท้จริงอีกแล้ว และความหวาดกลัวเช่นนี้เองที่ทำให้พวกเขามองเห็นไปว่า การทำให้ยูเครนตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ คือเป้าหมายที่ทรงความสำคัญในลำดับต้นๆ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 5 ตอน นี่คือตอน2 *
(ต่อจากตอน1)
** “นักการเมือง” ไม่ใช่ “นักการทูต” คือผู้กุมนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯ**
เรื่องหลักที่ควรต้องทำความเข้าใจให้ดีเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯก็คือ มันเป็นสิ่งที่ดำเนินการโดยคนที่ไม่มีประสบการณ์หรือกระทั่งไม่มีความเข้าใจเรื่องการทูตตลอดจนวัตถุประสงค์ของการทูตเอาเลย ไม่ใช่เพียงแค่มิสซิสนูแลนด์ (วิกตอเรีย นูแลนด์ Victoria Nuland ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯฝ่ายกิจการยุโรปและยูเรเชีย) และคำสบถ “f**k the EU!” อันมีชื่อเสียงของเธอเท่านั้น แต่ยังรวมถึง (รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น) เคร์รี กับการโกหกและการซิกแซกเป็นประจำของเขาด้วย ขณะที่มิสซิสไรซ์ (ซูซาน ไรซ์ Susan Rice ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของโอบามา ก่อนหน้านั้นเธอเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติ) ก็เลื่องชื่อลือชาในเรื่องความยะโสโอหังของเธอ และการชมชอบทะเลาะวิวาทกับรัสเซียและประเทศอื่นๆ อีกจำนวนมากของเธอ สุดท้าย กระทั่งตัว (ประธานาธิบดีบารัค) โอบามา เองก็เช่นกัน เขามีส่วนผสมผสานของความมั่นอกมั่นใจในความสามารถของตนเองอย่างสุดขั้ว และความเป็นคนมือถือสากปากถือศีลในระดับที่ต้องถือเป็นปรากฏการณ์อย่างแท้จริงทีเดียว ความคิดในเรื่องการเจรจาต่อรองใดๆ ก็ตาม ล้วนแต่กลายเป็นสิ่งแปลกประหลาดเหลือล้นสำหรับเหล่าผู้นำสูงส่งพวกนี้ โดยที่พวกเขาเชื่ออย่างแรงกล้าว่าการทำการเจรจาอย่างแท้จริงใดๆ ก็ตาม โดยพื้นฐานแล้วก็คือสัญญาณของความอ่อนแอ สำหรับพวกเขาแล้ว สิ่งเดียวที่สามารถนำมาเจรจาได้ก็คือ อีกฝ่ายหนึ่งต้องยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขทุกๆ อย่างของสหรัฐฯเท่านั้น และถ้าเรื่องเช่นนี้ไม่ได้บังเกิดขึ้น วิธีพื้นฐานของสหรัฐฯก็คือข่มขู่ที่จะถล่มโจมตีจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะหมอบราบคาบแก้ว เวลาผันผ่านไปนานนักหนาแล้วสำหรับวันคืนในยุคของประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู บุช (บุชผู้พ่อ) และเจมส์ เบเกอร์ (James Baker) รัฐมนตรีต่างประเทศผู้ฉลาดเฉียบแหลมของเขา ซึ่งมีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการทูตและการเจรจาด้วยความสุขุมรอบคอบสามารถบรรลุผลสำเร็จได้มากมายเพียงใด พวกคนรุ่นเคร์รี/ไรซ์ โดยพื้นฐานแล้วเป็นพวกที่เชื่อว่าพวกเขาสามารถบอกกับทุกๆ คนให้เกิดความต้องการอย่างที่พวกขาต้องการได้ และถ้าหากนั่นไม่ได้ผลแล้ว ก็ต้องเล่นไม้แข็ง (ไม่ว่าจะเป็นเพียงการข่มขู่จะใช้กำลัง หรือเป็นการใช้กำลังจริงๆ) แล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้ นี่เองคือเหตุผลที่ทำไมสหรัฐฯไม่เคยยินยอมเห็นพ้องที่จะเจรจากับ กัดดาฟี หรือกับอัสซาด และนี่เองคือเหตุผลที่ทำไมข้อเสนอทั้งหลายทั้งปวงของฝ่ายรัสเซียเพื่อมุ่งหาทางออกโดยผ่านการเจรจาตกลงกันนั้น จึงถูกปฏิเสธบอกปัดอย่างเป็นระบบ
รัสเซียยื่นข้อเสนอขอเจรจาเรื่องยูเครนย้อนหลังไปไกลตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว เมื่อเริ่มมีสัญญาณแรกๆ ปรากฏออกมาให้เห็นว่าวิกฤตการณ์ร้ายแรงกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว (รัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เกย์) ลาฟรอฟ ได้ยื่นข้อเสนอให้เริ่มเปิดการเจรจา 3 ฝ่าย นั่นคือระหว่าง สหภาพยุโรป (อียู), ยูเครน, และรัสเซีย ปรากฏว่า อียู ถ้าหากไม่เป็นเพราะตกอยู่ใต้คำสั่งของสหรัฐฯ ก็คงเป็นเพียงเกิดอาการหลงละเมอว่าตนเองยิ่งใหญ่เสียเต็มประดา จึงได้ปฏิเสธทางเลือกนี้ไปอย่างดูเหมิ่นถิ่นแคลน ภายใต้ข้ออ้างที่ว่ายูเครนเป็นชาติอธิปไตย และดังนั้นรัสเซียจึงไม่ควรมีปากมีเสียงสอดแทรกเข้าไปในอนาคตของยูเครนมากไปกว่าปารากวัยหรือวานูอาตู สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นอีกก็คือ อียูเสแสร้างแกล้งทำเป็นเชื่อว่า รัฐบาลยูเครนจะลงนามในเอกสารอันยาวเหยียด 1,500 หน้า ซึ่งระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ของการร่วมมือกันในทางการค้าและการเมืองระหว่างอียูกับยูเครน อีกทั้งยูเครนจะป่าวประกาศเรื่องนี้อย่างสง่างามโดยไม่มีการยั้งคิดเลยว่ารัสเซียอาจจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง แน่นอนทีเดียวว่า เมื่อในที่สุดมันค่อยๆ เป็นที่กระจ่างแก่ อาซารอฟ และยานูโควิช (หมายถึงนายกรัฐมนตรี มีโคลา อาซารอฟ และประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช ของยูเครนในเวลานั้น) ว่า แท้จริงแล้วรัสเซียจะไม่มีทางเลือกอื่นเลยนอกจากปิดพรมแดนติดต่อกับยูเครนของตนในปัจจุบัน เพื่อพิทักษ์ป้องกันเศรษฐกิจของรัสเซียไม่ให้ถูกท่วมท้นด้วยผลิตภัณฑ์ของอียู ซึ่งจะต้องไหลทะลักเข้าสู่ยูเครนอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เมื่อถึงวินาทีสุดท้าย ยานูโควิชกประกาศกลับลำไม่เซ็นข้อตกลงกับอียู ซึ่งกลายเป็นการหักมุมที่ถูกเล่นงานโจมตีอย่างหนักหน่วง รัสเซียก็ได้ยื่นข้อเสนออีกครั้งให้เปิดการเจรจากัน และก็เป็นอีกครั้งที่ข้อเสนอนี้ถูกบอกปัด ดูเหมือนพวกข้ารัฐการอียูบางส่วนยังคงเชื่อว่า ยานูโควิช จะกลับมายินยอมในที่สุดเมื่อเปิดการประชุมซัมมิตที่วิลนีอุส (เมืองหลวงของลิทัวเนีย) ทว่าเขาไม่ได้ทำเช่นนี้ ซึ่งก็เพียงเนื่องจากว่าเขาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ อย่างน้อยที่สุดก็ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ต้องเข่นฆ่าเศรษฐกิจของยูเครนไปทั้งระบบด้วย ถึงตรงนี้เองเป็นช่วงเวลาที่จู่ๆ ฝ่ายอเมริกันก็เรียกได้ว่ากระโดดผึงออกมา เพราะพวกเขาเข้าใจไปว่า การที่ยูเครนพูดว่า “ไม่” กับอียู ถึงแม้จะเป็นเพียงชั่วคราว ก็มีความหมายเท่ากับพูดว่า “ตกลง” กับรัสเซีย และอาจจะเป็นการตอบตกลงที่ถาวรอีกด้วย ดังนั้นเอง ลุงแซมก็รู้สึกว่าจะต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยตนเองแล้ว
**ยูเครน กับ เป้าหมาย, ยุทธศาสตร์, และยุทธวิธีของนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯในทั่วโลก**
เป้าหมายโดยรวมของนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯในทั่วโลกนั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้อย่างง่ายดายจริงๆ นั่นคือ การรักษาฐานะความเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียวของพื้นพิภพนี้เอาไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่ามีสัญญาณปรากฏออกมามากขึ้นๆ ซึ่งชี้อย่างถนัดชัดจนถึงข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯนั้นไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจของโลกอย่างแท้จริงอีกแล้ว ดูเหมือนว่ามีแต่จะทำให้สหรัฐฯยิ่งเห็นว่าการบรรลุถึงเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ เป็นสิ่งที่มีลำดับความสำคัญสูงขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ภายใต้บริบทดังกล่าวนี้ สหรัฐอเมริกาจึงมียุทธศาสตร์ต่อรัสเซียซึ่งเข้าใจได้ง่ายๆ พอๆ กัน กล่าวคือ ทำทุกๆ อย่างเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียกลายเป็น “สหภาพโซเวียตใหม่” หรือรูปแบบอื่นใดก็ตามทีซึ่งจะกลายเป็นผู้ท้าทายฐานะครอบงำทั่วโลกของสหรัฐฯ เมื่อมาถึงแง่ของการปฏิบัติแล้ว ยุทธศาสตร์เช่นนี้มีความหมายอย่างเดียว ได้แก่ ทำทุกๆ อย่างเพื่อให้ยูเครนแยกห่างออกจากรัสเซีย ในหมู่ชนชั้นนำของสหรัฐฯนั้นมีความคิดที่ค่อนข้างประหลาดๆ เช่นนี้จริงๆ พวกเขาเห็นว่าเมื่อได้ยูเครนไป รัสเซียจะกลายเป็นอภิมหาอำนาจได้ ขณะที่ไม่ได้ไปก็จะยังไม่เป็น ความคิดเห็นเช่นนี้ทั้งคัดง้างกับข้อเท็จจริง (รัสเซียนั้นย่อมเป็นอภิมหาอำนาจรายหนึ่งอยู่แล้ว เหมือนอย่างที่เราเพิ่งได้เห็นกันในซีเรีย) และทั้งไร้เหตุผล –เพราะรัสเซียนั้นทั้งไม่จำเป็นต้องได้ยูเครนและทั้งไม่ต้องการได้ยูเครน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นรัฐล้มเหลวที่เป็นของเทียมๆ ทั้งแท่ง ยูเครนปกครองโดยชนกลุ่มน้อยที่คดโกง โดยที่มองไม่เห็นเลยว่าจะมีลู่ทางอะไรนักหนาที่ยูเครนจะช่วยเพิ่มพูนเสริมส่งความมั่งคั่งซึ่งมีอยู่แล้วในปัจจุบันของรัสเซีย หากจะพูดกันตรงๆ และพูดในเงื่อนไขของการมุ่งหาประโยชน์ทางการเมืองกันแท้ๆ แล้ว ยูเครนคือเรื่องปวดหัวซึ่งไม่มีใครในรัสเซียต้องการจริงๆ หรอก แต่ช่างมันปะไร พวกชนชั้นนำของสหรัฐฯนั้นกำลังทำอะไรต่อมิอะไร ไม่ใช่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงหรือบนความรับรู้ความเข้าใจของฝ่ายรัสเซียเลย หากแต่บนพื้นฐานความรับรู้ความเข้าใจของพวกเขาเองต่างหาก ซึ่งก็ออกมาว่า ต้องไม่ยอมปล่อยให้ยูเครนกลับตกไปอยู่ใต้ “การครอบงำ” ของรัสเซียอีก ไม่เช่นนั้นรัสเซียก็จะกลายเป็นอภิมหาอำนาจอีกครั้ง
ในแง่ของยุทธวิธีแล้ว ยุทธศาสตร์นี้ถูกนำมาปฏิบัติโดยใช้กฎง่ายๆ รวม 2 ข้อ:
ข้อแรก พลังต่อต้านรัสเซียใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าน่าเกลียดน่าชิงชังหรือบ้าบอคอแตกสักแค่ไหนก็ตาม ต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
ข้อสอง นี่เป็นเกมแบบที่ใครชนะกวาดกองกลางไปหมด (zero sum game) ดังนั้น อะไรก็ตามทีที่รัสเซียเสียไปก็คือสหรัฐฯชนะมา ทำนองเดียวกัน อะไรก็ตามที่รัสเซียชนะมาก็คือสหรัฐฯเสียไป
รางวัลอันมีค่าสูงสุดสำหรับสหรัฐฯ ก็คือการเตะกองทัพเรือภาคทะเลดำของรัสเซียให้ออกไปจากแหลมไครเมีย และนำเอาฐานทัพแห่งต่างๆ ของสหรัฐฯ/นาโต้ เข้าไปตั้งอยู่ในยูเครน ไม่ใช่เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความได้เปรียบในทางการทหารอะไรนักหนาหรอก หากแต่จะเป็นการป้องกันไม่ให้ยูเครนขยับเข้าไปใกล้ชิดรัสเซีย หรือว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอีกคำรบหนึ่ง แต่ถ้าทำเช่นนี้ไม่สำเร็จ สิ่งที่ดีรองลงมาก็คือการทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ระบอบปกครองที่ต่อต้านรัสเซียขึ้นครองอำนาจในกรุงเคียฟ กระทั่งถ้าหากระบอบปกครองดังกล่าวขึ้นครองเมืองโดยอาศัยการยึดอำนาจด้วยกำลังอาวุธ – มันก็เป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้ กระทั่งถ้าหากตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งหมดในระบอบปกครองนี้ถูกยกให้แก่พวกนาซีใหม่ -มันก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้เช่นกัน เรื่องพวกนี้ไม่มีความหมายอะไรจริงจังหรอก ตราบเท่าที่ยังสามารถป้องกันไม่ให้รัสเซียเอายูเครนกลับคืนไป
แน่นอนทีเดียวว่า โลกของเรามีความสลับซับซ้อนนักหนากว่าที่พวกนักการเมืองโง่เขลาและหยิ่งยะโสเหล่านี้จะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ในทางเป็นจริงแล้ว ไม่เพียงสหรัฐฯคือฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวสำหรับความปั่นป่วนวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในยูเครนเวลานี้ หากแต่สหรัฐฯยังเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวสำหรับการก่อให้เกิดผลในทางแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายสืบเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาเลือกกระทำลงไปอีกด้วย
เดอะ เซกเกอร์ เป็นชื่อของบล็อกเกอร์ซึ่งไม่ปรากฏนามจริง โดยเขียนประจำอยู่ที่บล็อก The Vineyard of the Saker (http://vineyardsaker.blogspot.com/) นอกจากนั้นยังเขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์อยู่เป็นระยะๆ
(ข้อเขียนชิ้นนี้มี 5 ตอน
ตอน 1 ประชามติ 'ไครเมีย' และ พวกขวาจัด 'ยูเครน' ที่สหรัฐฯหนุนหลัง
ตอน2 ยูเครนสำคัญอย่างไรในเป้าหมายทั่วโลกของสหรัฐฯ
ตอน3 “ความไม่เอาไหน”ของสหรัฐฯปลุก “ชาตินิยม”รัสเซีย
ตอน4 จักรวรรดิอเมริกัน “เสียท่า” ครั้งใหญ่
ตอน5 อนาคตของ “ยูเครน” และ ฝันหวานเป็นเจ้าโลกของ “สหรัฐฯ”)