เอเจนซีส์ - จำนวนรายชื่อบุคคลที่น่าจับตาราว 700,000 ราย ได้แอบถูกใส่ในลิสต์รายชื่อบุคคลที่น่าจับตาโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่ง ซูซาน สเตลลิน แห่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้รายงานถึงอีกหนึ่งโครงการสอดแนมลับของรัฐบาลอเมริกา ซึ่งราฮินาห์ อิบราฮิม วัย 48 ปี อดีตนักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะสถาปัตยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมาเลเซีย ที่ต้องปรากฏตัวในศาลรัฐบาลกลางที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันจันทร์ (2) ผ่านทางวิดีโอเทปซึ่งบันทึกจากอังกฤษ เหตุเพราะเธอถูกสั่งห้ามเข้าสหรัฐฯ หลังจากเกือบ 10 ปี นับตั้งแต่ครั้งแรกที่รู้จากการที่เธอถูกจับจาการบินระหว่างเมืองซานฟรานซิสโกที่จะกลับบ้านที่มาเลเซียด้วยชุดมุสลิมแบบประเพณีนิยม
การรายงานในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาของ ซูซาน สเตลลิน แห่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ได้เปิดเผยถึงโครงการสอดแนมลับของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเวลายาวนานกว่า 12 ปี แล้วหลังจากเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 กันยา เกิดขึ้น แต่ทางหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐฯยังคงรวบรวมรายชื่อบุคคลที่ต้องสงสัยไว้ในมือ ซึ่งเป็นบุคคลที่ต้องเข้าออกสหรัฐฯอยู่บ่อยครั้ง และมีกิจกรรมที่น่าสงสัยที่อาจจะเกี่ยวพันกับผู้ก่อการร้าย อ้างจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯ
ในปี 2008 American Civil Liberties Union อ้างว่า อัยการสูงสุดของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯพบว่ามีรายชื่อบุคคลราว 700,000 ราย เก็บอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์จำแนกห์ผู้ก่อการร้าย หรือ TSC ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน FBI สหรัฐฯ มีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือ การดูแลฐานข้อมูลของคนที่ต้องสงสัยว่าอาจมีความเกี่ยวพันกับการก่อการร้าย ซึ่ง 5 ปีให้หลัง ปรากฏว่าจำนวนรายชื่อบุคคลยังคงมีจำนวนไม่ต่างเท่าไรกับในสมัยเริ่มแรก
และอีกครึ่งทศวรรษต่อมา ทั้งพลเมืองอเมริกันและชาวต่างชาติที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลรายชื่อลับนี้ต่างมีโอกาสน้อยมากที่จะรับรู้ว่าพวกเขานั้นถูกทางการอเมริกันจับตาได้อย่างไร หรือเหตุใดพวกเขาจึงถูกต้องสงสัย หรือแม้แต่โอกาสที่จะยื่นคำร้องคัดค้านยังไม่มี
ซึ่งมันดูเหมือนมีข้อผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นกับรายชื่อบุคคลที่น่าจับตานี้ “หากคุณกรอกข้อมูล และทำเอกสารทุกอย่างครบถ้วน คุณสามารถเพิ่มรายชื่อบุคคลต้องสงสัยในฐานข้อมูลได้ทันที” รองศาสตราจารย์ อันยา เบิร์นสไตน์ คณะกฎหมาย แห่งมหาวิทยาลัย SUNY Buffalo เผยกับซาน สเตลลิน แห่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ในรายงานพิเศษของเธอ และเบิร์นสไตน์ ยังเสริมต่อว่า “มากไปกว่านี้ ไม่มีการบ่งชี้ว่าหน่วยงานรัฐเหล่านี้นั้นใช้มุมมองใดตัดสินเพื่อสนับสนุนการตัดสินจที่จะติดตามเป้าหมาย” ซึ่งชี้ได้ว่า “ใครก็ได้สามารถตกเป็นเหยื่อได้ ซึ่งรายชื่อประเภทนั้นสามารถผิดพลาดได้โดยความสับเพร่า และไม่มีโอกาสที่คนที่ตกเป็นเหยื่อจะสามารถป้องกันได้”
เบิร์นสไตน์ กล่าวต่อว่า “เมื่อคุณมีรายชื่อของคนเป็นจำนวนมากที่ดูเหมือนว่าจะสามารถเป็นผู้ก่อการร้ายได้ มันเป็นการง่ายที่จะคิดว่า “การก่อการร้ายนี้เรื่องใหญ่มาก และเราควรอุทิศทุกอย่างที่มีเพื่อหยุดยั้งมัน” โดยเบิร์นสไตน์ ยืนยันว่า ฐานข้อมูลบุคคลต้องสงสัยของสหรัฐฯนั้นมีช่องโหว่อและสามารถทำลายชีวิตคนบริสุทธิได้
เหมือนอย่างกรณีที่เกิดขึ้นกับ ราฮินาห์ อิบราฮิม วัย 48 ปี ชาวมาเลย์เซีย อดีตนักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสถาปัตยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมาเลย์เซีย ที่ต้องปรากฏตัวผ่านทางวีดีโอเทปในศาลรัฐบาลกลางที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันจันทร์ (2) ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการใต่สวนครั้งสุดท้ายในคดีที่เริ่มจากเหตุการณ์ในปี 2005 และกลายเป็นว่าเธอเพิ่งทราบว่า ตัวเองมีรายชื่ออยู่ในข่ายผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย
โดยอับราฮิมต้องการเดินทางโดยเครื่องบินจากซานฟรานซิสโกไปยังมาเลย์เซียโดยมีจุดหยุดพักที่รัฐฮาวายด้วยเครื่องแต่งกายหญิงมุสลิมแบบประเพณีนิยม และเธอโดนทางการสหรัฐฯจับกุมและแจ้งให้อิบราฮิมทราบว่าเธอมีชื่ออยู่ในบุคคลที่ถูกจับตามอง ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 10ปีที่อิบราฮิมต้องเพียรปฎิเสธว่าเธอไม่มีส่วนโยงกับผู้ก่อการร้ายแต่อย่างใด แต่ปัญหาคือ เธอไม่ทราบว่ามีเหตุใดเป็นปัจจัยให้ฐานข้อมูลบุคคลนี้เชื่อว่าเธอมีส่วนเกี่ยวพันกับผู้ก่อการร้าย ไม่ต้องอะไรกับการที่จะทำให้ลบรายชือของอิบราฮิมออกไป
โดยอิบราฮิมเล่าว่า มีเจ้าหน้าที่ FBI 2 คน ได้ปรากฏตัวที่บ้านเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาคณะสถาปัตย์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และแจ้งว่า “มาเลเซีย” อยู่ในแบล็กลิสต์และซักถามอิบราฮิมทราบอะไรเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้าย “เจมาห์ อิสลามิยาห์” บ้าง แต่เธอเล่าว่า เธอรู้จากสื่อเท่านั้น และทางเจ้าหน้าที่ยังซักว่า เธอได้ไปเข้ามัสยิดที่ไหนบ้างในเขตเบน์แอเรีย ซานฟรานซิสโก และในเดือนต่อมาที่เธอได้เดินทางไปสนามบินนานาชาติซานฟรานซิสโกเพื่อเดินทางไปรัฐฮาวาย และต่อกลับบ้านที่มาเลย์เซีย เธอถูกจับที่นั่นและสั่งห้ามเข้าสหรัฐฯนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ด้านอลิซาเบธ พิปกิน ทนายความประจำตัวของอิบราฮิม กล่าวว่า “เราต้องการอยากรู้ว่าอิบราฮิมยังถูกรัฐบาลอเมริกันจับตาอยู่หรือไม่ และชื่อของเธอได้ถูกลบออกจากฐานข้อมูลแล้วหรือยัง” และพิปกินได้เสริมต่อในการให้สัมภาษณ์กับไทม์ว่า “แต่พวกเขาไม่ยอมตอบคำถามเหล่านั้น”
“อิบราฮิมไม่ต้องการให้คนอื่นต้องประสบชะตากรรมเหมือนเธอ ที่ถูกใส่ชื่ออย่างผิดพลาดและทำให้เธอต้องพบกับความยากลำบากหลายปี” ทนายความของอิบราฮิมเผยต่อนสื่อท้องถิ่นของแคลิฟอร์เนียเหนือ “เมอร์คิวรี”
ในการขึ้นศาลเมื่อวานนี้ (2) ผ่านทางวิดีโอเทปซึ่งถูกบันทึกจากอังกฤษและได้ถูกส่งมาที่อเมริกาให้กับทางผู้พิพากษา เหตุเพราะเธอถูกสั่งห้ามบินเข้าสหรัฐฯนับตั้งแต่ครั้งถูกจับซึ่งเป็นเวลาห่างเกือบ 10 ปี นับตั้งแต่อิบราฮิมรับรู้ถึงชื่อของเธอในฐานข้อมูลบุคคลที่น่าจับตามอง และยังไม่พบว่าจะมีการปฎิรูปในกระบวนการใส่รายชื่อแต่อย่างใด ด้านทนายความของ ACLU ฮินา ชามซี เผยกับไทม์ว่า ระบบในการเก็บข้อมูลรายชื่อผู้ต้องสงสัยนั้นดูมีช่องโหว่มากกว่ายามที่เฝ้าพวกก่อการร้ายในคุกกวนตานาโมที่คิวบาเสียอีก
“คนที่ถูกขังที่กวนตานาโมในข้อหาก่อการร้ายยังมีโอกาสแก้ข้อกล่าวหา แต่มันแปลกที่คนที่ไม่เคยถูกตั้งข้อกล่าวหาใดๆ จะไม่สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิของตนเอง” ชามซีเผยกับสเตลลิน
ในขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน TSC อ้างว่ามีความเป็นไปได้ไม่ถึง 1% ที่จะมีรายชื่อของพลเมืองอเมริกันหรือคนที่ถือกรีนการ์ดจะมีชื่อในฐานข้อมูลผู้ต้องสงสัยนี้ แต่สเตลลินชี้ว่า “ไม่มีทางพิสูจน์ได้ในตัวเลขนี้”