(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
New China law fails 'mentally ill' dissidents
By Radio Free Asia
15/11/2013
พวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิระบุว่า ชาวจีนที่ออกมายื่นเรื่องเรียกร้องขอความเป็นธรรม ยังคงถูกบิดเบือนตีตราว่ากำลัง “ป่วยด้วยอาการทางจิต” และถูกนำตัวส่งเข้าโรงพยาบาลและสถาบันรักษาโรคจิตแห่งต่างๆ ถึงแม้ว่ากฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตของแดนมังกรมีผลบังคับใช้มา 6 เดือนแล้ว โดยที่หลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มุ่งที่จะปกป้องคนไข้ไม่ให้ถูกวินิจฉัยโรคอย่างไม่ถูกต้อง และถูกนำตัวไปกักกันบำบัดรักษาทางการแพทย์โดยไม่สมัครใจ
กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตฉบับใหม่ของจีนมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว แต่พวกสถาบันด้านจิตเวชของจีนก็ยังคงนำเอาผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนขอความเป็นธรรม ตลอดจนนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิทั้งหลาย ไปส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษา “อาการป่วยทางจิต” อยู่ไม่ยอมเลิก ทั้งนี้เป็นการแถลงของกลุ่มเรียกร้องสิทธิกลุ่มหนึ่งเมื่อวันพฤหัสบดี (14 พ.ย.) ที่ผ่านมา
ถึงแม้มีจิตแพทย์บางส่วนยืนยันปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ ด้วยการปฏิเสธไม่ยอมรับ “คนไข้” ที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยทางจิตใดๆ เลย แต่กระนั้นพวกที่ถูกเจ้าหน้าที่มีอำนาจทั้งหลายกล่าวหาว่าเป็นพวกก่อกวนสร้างความวุ่นวาย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดที่กฎหมายฉบับนี้มุ่งคุ้มครองไม่ให้ถูกนำตัวไปกักขังบำบัดรักษาอย่างไม่สมัครใจ ก็ยังคงกำลังถูกหยามหมิ่นเช่นนี้ไม่ขาดสาย กลุ่ม “ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนของชาวจีน” (Chinese Human Rights Defenders หรือ CHRD) ซึ่งมีสำนักงานที่ทำการตั้งอยู่ในต่างประเทศ ระบุเช่นนี้ในคำแถลงของกลุ่มที่นำออกเผยแพร่ทางอีเมล
“แพทย์ทางด้านสุขภาพจิตหลายต่อหลายราย อาจยินยอมอ่อนข้อให้แก่แรงกดดันจากพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจระดับท้องถิ่น ด้วยการรับเอาผู้คนดังกล่าวนี้เข้าไปกักกันในโรงพยาบาล” คำแถลงของกลุ่มระบุในอีกตอนหนึ่ง
กฎหมายสุขภาพจิต (Mental Health Law) ฉบับแรกของจีน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2013 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การนำผู้ป่วยเข้ารักษาอาการทางจิตเวชแทบทุกกรณีต้องเป็นไปโดยสมัครใจ อีกทั้งต้องกระทำภายใต้การกำกับตรวจสอบของจิตแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
“อย่างไรก็ตาม ... พวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจระดับท้องถิ่นยังคงกักกันบรรดานักเคลื่อนไหวและผู้ยื่นเรื่องร้องทุกข์เอาไว้ตามสถาบันบำบัดโรคจิตกันอยู่” กลุ่ม CHRD กล่าวในคำแถลง อีกทั้งเปิดโปงด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขของจีนนั้นยังคงตั้งเงื่อนไขกับพวกรัฐบาลของท้องถิ่นต่างๆ ว่า จะต้องนำเอาประชากรเป็นจำนวน 0.2% เข้าสถาบันบำบัดโรคจิต เพื่อรักษา “อาการป่วยทางจิตร้ายแรงต่างๆ”
“ผู้รับผิดชอบท้องที่ต่างๆ ต้อง ‘ค้นหา’ ประชาชน 2 คนจากทุกๆ 1,000 คน ซึ่งมีอาการป่วยทางจิตร้ายแรงต่างๆ” คำแถลงของกลุ่มนี้ระบุ “การกำหนดโควตาเช่นนี้เอง กำลังกลายเป็นแรงจูงใจให้พวกตำรวจจัดส่งใครก็ตามที่พวกเขาพิจารณาเห็นว่า ‘ก่อกวนความสงบเรียบร้อย’ หรือ ‘สร้างความวุ่นวาย’ ไปยังสถาบันจิตเวช”
**แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง**
“เวลานี้มีกฎหมายบังคับใช้แล้ว และก็มีคำชี้แนะของฝ่ายบริหารที่เขียนเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ยังคงเกิดกรณีแบบนี้กันอยู่เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย” นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิชื่อ อา หลี่ (A Li) กล่าวกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (RFA's Mandarin Service) ระหว่างที่เธอให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ในเรื่องการบังคับนำตัวนักเคลื่อนไหวไปกักกันในสถาบันจิตเวช โดยอ้างว่าคนเหล่านี้ “ป่วยด้วยอาการทางจิต”
“เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเฉพาะในบางแห่งบางท้องที่ ซึ่งคณะผู้นำของที่นั่นเห็นว่า การกระทำแบบนี้ไม่ถูกต้อง” เธอกล่าว
“ในจำนวนคำร้องเรียนทั้งหลาย (เกี่ยวกับการนำตัวไปกักกันในสถาบันจิตเวช) มีกรณีเพียงน้อยนิดที่สุดเท่านั้นที่บังเกิดผลให้มีการปล่อยตัว (ผู้ที่ถูกจองจำไว้)”
อา หลี่ เองก็ถูกกักขังอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่ง โดยฝีมือของพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของจีน เมื่อเดือนเมษายน 2007 หลังจากที่เธอพยายามร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุจากการก่อสร้างที่ไม่ถูกต้องในสถานที่ทำงานของเธอ
ในเวลาต่อมา เธอถูกนำไปจองจำอยู่ในโรงพยาบาลประชาชน เจียงซู เจิ้นเจียง หมายเลข 4 (Jiangsu Zhenjiang No 4 People's Hospital) โดยถูกระบุว่ามีอาการ “ป่วยด้วยอาการทางจิตรุนแรง” เธอเล่าว่า ที่นั่นเธอถูกมัด และถูกบังคับป้อนยาทางด้านจิตเวช
อู๋ ชุนเสีย (Wu Chunxia) ซึ่งเป็นชาวมณฑลหูหนาน เล่าให้วิทยุเอเชียเสรีฟังว่า เธอก็ถูกจับตัวไปกักกันที่โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่งโดยพวกตำรวจเมืองโจวโข่ว (Zhoukou) ในเดือนกรกฎาคม 2008 และถูกควบคุมตัวอยู่ 134 วัน ซึ่งหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เธอก็ฟ้องร้องสำนักงานตำรวจในเมืองนั้นที่กักกันเธออย่างผิดกฎหมาย
“ในคดีของฉันนี่ สื่อมวลชนจำนวนมากให้ความสนใจ” เธอเล่าในระหว่างการให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ “ฉันพยายามไม่ปล่อยให้กระแสตก เพราะฉันต้องการได้คำอธิบายว่าทำไมฉันถึงถูกขังอย่างผิดกฎหมาย ถูกส่งตัวไปค่ายใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย และถูกส่งไปโรงพยาบาลโรคจิตอย่างผิดกฎหมาย”
**พวกร้องเรียนไม่ยอมเลิก**
ผู้ที่ถูกคุมขังแบบนี้จำนวนมากทีเดียวเป็นพวกที่ยื่นเรื่องร้องเรียนอย่างอดทนไม่ยอมเลิกรา โดยที่ได้พยายามขอความเป็นธรรมจากทางการมาเป็นปีๆ แม้ปราศจากผลใดๆ
กลุ่ม CHRDได้ยกตัวอย่างกรณีของ ฟาน เหมียวเจิน (Fan Miaozhen) วัย 71 ปี ผู้ซึ่งถูกทรมานด้วยการอุดปากและถูกช็อกด้วยไฟฟ้า ระหว่างที่เธอถูกกักกันอยู่ที่ศูนย์จิตเวชอำเภอชงมิ่ง (Chongming County) ของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ภายหลังที่เธอปฏิเสธไม่ยอมรับประทานยา ทางกลุ่มบอกว่า ฟาน ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทางด้านจิตเวชใดๆ เลย
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซิง จื้อคู (Xing Shiku) วัย 51 ปี ซึ่งเป็นผู้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ที่พำนักอยู่ในมณฑลเหยหลงเจียง ได้ถูกคุมขังอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่งของเมืองฮาร์บินเป็นเวลากว่า 6 เดือนตามคำสั่งของพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น ภายหลังจากที่เธอยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการรายหนึ่ง โดยระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาลดังกล่าว เธอได้ถูกทรมานด้วยวิธีต่างๆ
จาง ไห่เอี้ยน (Zhang Haiyan) ผู้ร้องทุกข์ในมณฑลเหลียวหนิง ก็ถูกกักตัวโดยเขามิได้สมัครใจ ในโรงพยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่งเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ เขาไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ แต่ถูกบังคับป้อนยาในระหว่างที่ถูกขัง กลุ่ม CHRD ระบุ
ส่วนในภาคกลางของจีน หวัง ซูอิง (Wang Shuying) ผู้ทำหนังสือร้องทุกข์ในมณฑลหูเป่ย และ กู่ เซียงหง (Gu Xianghong) ผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนในมณฑลหูหนาน ต่างก็ถูกนำตัวไปคุมขังในโรงพยาบาลโรคจิต ภายหลังที่พยายามติดตามยื่นคำร้องของพวกเขาต่อหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ
กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตของจีนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองคนไข้ทางด้านสุขภาพจิต ไม่ให้ถูกวินิจฉัยโรคอย่างผิดพลาด และไม่ให้ถูกนำตัวไปบำบัดรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชของรัฐโดยที่พวกเขาไม่สมัครใจ กฎหมายฉบับนี้นับเป็นกฎหมายจีนฉบับแรกที่มีการนิยามแนวความคิดและกระบวนวิธีเกี่ยวกับการบังคับกักกันตัวอย่างชัดเจน
ทว่านักกฎหมายทางด้านสิทธิ, นักเคลื่อนไหว, และแม้กระทั่งรายงานข่าวบางชิ้นของสื่อมวลชนจีน ระบุว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่อาจช่วยคุ้มครองอะไรได้นัก ในกรณีของผู้ที่ถูกคุมขังในหน่วยจิตเวช สืบเนื่องจากเหตุผลในทางการเมือง
หลิน ผิง (Lin Ping) เป็นผู้รายงานข่าวนี้ให้แก่ วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (Radio Free Asia's Mandarin Service) และลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie) เป็นผู้แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
New China law fails 'mentally ill' dissidents
By Radio Free Asia
15/11/2013
พวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิระบุว่า ชาวจีนที่ออกมายื่นเรื่องเรียกร้องขอความเป็นธรรม ยังคงถูกบิดเบือนตีตราว่ากำลัง “ป่วยด้วยอาการทางจิต” และถูกนำตัวส่งเข้าโรงพยาบาลและสถาบันรักษาโรคจิตแห่งต่างๆ ถึงแม้ว่ากฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตของแดนมังกรมีผลบังคับใช้มา 6 เดือนแล้ว โดยที่หลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มุ่งที่จะปกป้องคนไข้ไม่ให้ถูกวินิจฉัยโรคอย่างไม่ถูกต้อง และถูกนำตัวไปกักกันบำบัดรักษาทางการแพทย์โดยไม่สมัครใจ
กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตฉบับใหม่ของจีนมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว แต่พวกสถาบันด้านจิตเวชของจีนก็ยังคงนำเอาผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนขอความเป็นธรรม ตลอดจนนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิทั้งหลาย ไปส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษา “อาการป่วยทางจิต” อยู่ไม่ยอมเลิก ทั้งนี้เป็นการแถลงของกลุ่มเรียกร้องสิทธิกลุ่มหนึ่งเมื่อวันพฤหัสบดี (14 พ.ย.) ที่ผ่านมา
ถึงแม้มีจิตแพทย์บางส่วนยืนยันปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ ด้วยการปฏิเสธไม่ยอมรับ “คนไข้” ที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยทางจิตใดๆ เลย แต่กระนั้นพวกที่ถูกเจ้าหน้าที่มีอำนาจทั้งหลายกล่าวหาว่าเป็นพวกก่อกวนสร้างความวุ่นวาย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดที่กฎหมายฉบับนี้มุ่งคุ้มครองไม่ให้ถูกนำตัวไปกักขังบำบัดรักษาอย่างไม่สมัครใจ ก็ยังคงกำลังถูกหยามหมิ่นเช่นนี้ไม่ขาดสาย กลุ่ม “ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนของชาวจีน” (Chinese Human Rights Defenders หรือ CHRD) ซึ่งมีสำนักงานที่ทำการตั้งอยู่ในต่างประเทศ ระบุเช่นนี้ในคำแถลงของกลุ่มที่นำออกเผยแพร่ทางอีเมล
“แพทย์ทางด้านสุขภาพจิตหลายต่อหลายราย อาจยินยอมอ่อนข้อให้แก่แรงกดดันจากพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจระดับท้องถิ่น ด้วยการรับเอาผู้คนดังกล่าวนี้เข้าไปกักกันในโรงพยาบาล” คำแถลงของกลุ่มระบุในอีกตอนหนึ่ง
กฎหมายสุขภาพจิต (Mental Health Law) ฉบับแรกของจีน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2013 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การนำผู้ป่วยเข้ารักษาอาการทางจิตเวชแทบทุกกรณีต้องเป็นไปโดยสมัครใจ อีกทั้งต้องกระทำภายใต้การกำกับตรวจสอบของจิตแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
“อย่างไรก็ตาม ... พวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจระดับท้องถิ่นยังคงกักกันบรรดานักเคลื่อนไหวและผู้ยื่นเรื่องร้องทุกข์เอาไว้ตามสถาบันบำบัดโรคจิตกันอยู่” กลุ่ม CHRD กล่าวในคำแถลง อีกทั้งเปิดโปงด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขของจีนนั้นยังคงตั้งเงื่อนไขกับพวกรัฐบาลของท้องถิ่นต่างๆ ว่า จะต้องนำเอาประชากรเป็นจำนวน 0.2% เข้าสถาบันบำบัดโรคจิต เพื่อรักษา “อาการป่วยทางจิตร้ายแรงต่างๆ”
“ผู้รับผิดชอบท้องที่ต่างๆ ต้อง ‘ค้นหา’ ประชาชน 2 คนจากทุกๆ 1,000 คน ซึ่งมีอาการป่วยทางจิตร้ายแรงต่างๆ” คำแถลงของกลุ่มนี้ระบุ “การกำหนดโควตาเช่นนี้เอง กำลังกลายเป็นแรงจูงใจให้พวกตำรวจจัดส่งใครก็ตามที่พวกเขาพิจารณาเห็นว่า ‘ก่อกวนความสงบเรียบร้อย’ หรือ ‘สร้างความวุ่นวาย’ ไปยังสถาบันจิตเวช”
**แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง**
“เวลานี้มีกฎหมายบังคับใช้แล้ว และก็มีคำชี้แนะของฝ่ายบริหารที่เขียนเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ยังคงเกิดกรณีแบบนี้กันอยู่เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย” นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิชื่อ อา หลี่ (A Li) กล่าวกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (RFA's Mandarin Service) ระหว่างที่เธอให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ในเรื่องการบังคับนำตัวนักเคลื่อนไหวไปกักกันในสถาบันจิตเวช โดยอ้างว่าคนเหล่านี้ “ป่วยด้วยอาการทางจิต”
“เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเฉพาะในบางแห่งบางท้องที่ ซึ่งคณะผู้นำของที่นั่นเห็นว่า การกระทำแบบนี้ไม่ถูกต้อง” เธอกล่าว
“ในจำนวนคำร้องเรียนทั้งหลาย (เกี่ยวกับการนำตัวไปกักกันในสถาบันจิตเวช) มีกรณีเพียงน้อยนิดที่สุดเท่านั้นที่บังเกิดผลให้มีการปล่อยตัว (ผู้ที่ถูกจองจำไว้)”
อา หลี่ เองก็ถูกกักขังอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่ง โดยฝีมือของพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของจีน เมื่อเดือนเมษายน 2007 หลังจากที่เธอพยายามร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุจากการก่อสร้างที่ไม่ถูกต้องในสถานที่ทำงานของเธอ
ในเวลาต่อมา เธอถูกนำไปจองจำอยู่ในโรงพยาบาลประชาชน เจียงซู เจิ้นเจียง หมายเลข 4 (Jiangsu Zhenjiang No 4 People's Hospital) โดยถูกระบุว่ามีอาการ “ป่วยด้วยอาการทางจิตรุนแรง” เธอเล่าว่า ที่นั่นเธอถูกมัด และถูกบังคับป้อนยาทางด้านจิตเวช
อู๋ ชุนเสีย (Wu Chunxia) ซึ่งเป็นชาวมณฑลหูหนาน เล่าให้วิทยุเอเชียเสรีฟังว่า เธอก็ถูกจับตัวไปกักกันที่โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่งโดยพวกตำรวจเมืองโจวโข่ว (Zhoukou) ในเดือนกรกฎาคม 2008 และถูกควบคุมตัวอยู่ 134 วัน ซึ่งหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เธอก็ฟ้องร้องสำนักงานตำรวจในเมืองนั้นที่กักกันเธออย่างผิดกฎหมาย
“ในคดีของฉันนี่ สื่อมวลชนจำนวนมากให้ความสนใจ” เธอเล่าในระหว่างการให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ “ฉันพยายามไม่ปล่อยให้กระแสตก เพราะฉันต้องการได้คำอธิบายว่าทำไมฉันถึงถูกขังอย่างผิดกฎหมาย ถูกส่งตัวไปค่ายใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย และถูกส่งไปโรงพยาบาลโรคจิตอย่างผิดกฎหมาย”
**พวกร้องเรียนไม่ยอมเลิก**
ผู้ที่ถูกคุมขังแบบนี้จำนวนมากทีเดียวเป็นพวกที่ยื่นเรื่องร้องเรียนอย่างอดทนไม่ยอมเลิกรา โดยที่ได้พยายามขอความเป็นธรรมจากทางการมาเป็นปีๆ แม้ปราศจากผลใดๆ
กลุ่ม CHRDได้ยกตัวอย่างกรณีของ ฟาน เหมียวเจิน (Fan Miaozhen) วัย 71 ปี ผู้ซึ่งถูกทรมานด้วยการอุดปากและถูกช็อกด้วยไฟฟ้า ระหว่างที่เธอถูกกักกันอยู่ที่ศูนย์จิตเวชอำเภอชงมิ่ง (Chongming County) ของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ภายหลังที่เธอปฏิเสธไม่ยอมรับประทานยา ทางกลุ่มบอกว่า ฟาน ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทางด้านจิตเวชใดๆ เลย
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซิง จื้อคู (Xing Shiku) วัย 51 ปี ซึ่งเป็นผู้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ที่พำนักอยู่ในมณฑลเหยหลงเจียง ได้ถูกคุมขังอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่งของเมืองฮาร์บินเป็นเวลากว่า 6 เดือนตามคำสั่งของพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น ภายหลังจากที่เธอยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการรายหนึ่ง โดยระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาลดังกล่าว เธอได้ถูกทรมานด้วยวิธีต่างๆ
จาง ไห่เอี้ยน (Zhang Haiyan) ผู้ร้องทุกข์ในมณฑลเหลียวหนิง ก็ถูกกักตัวโดยเขามิได้สมัครใจ ในโรงพยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่งเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ เขาไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ แต่ถูกบังคับป้อนยาในระหว่างที่ถูกขัง กลุ่ม CHRD ระบุ
ส่วนในภาคกลางของจีน หวัง ซูอิง (Wang Shuying) ผู้ทำหนังสือร้องทุกข์ในมณฑลหูเป่ย และ กู่ เซียงหง (Gu Xianghong) ผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนในมณฑลหูหนาน ต่างก็ถูกนำตัวไปคุมขังในโรงพยาบาลโรคจิต ภายหลังที่พยายามติดตามยื่นคำร้องของพวกเขาต่อหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ
กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตของจีนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองคนไข้ทางด้านสุขภาพจิต ไม่ให้ถูกวินิจฉัยโรคอย่างผิดพลาด และไม่ให้ถูกนำตัวไปบำบัดรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชของรัฐโดยที่พวกเขาไม่สมัครใจ กฎหมายฉบับนี้นับเป็นกฎหมายจีนฉบับแรกที่มีการนิยามแนวความคิดและกระบวนวิธีเกี่ยวกับการบังคับกักกันตัวอย่างชัดเจน
ทว่านักกฎหมายทางด้านสิทธิ, นักเคลื่อนไหว, และแม้กระทั่งรายงานข่าวบางชิ้นของสื่อมวลชนจีน ระบุว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่อาจช่วยคุ้มครองอะไรได้นัก ในกรณีของผู้ที่ถูกคุมขังในหน่วยจิตเวช สืบเนื่องจากเหตุผลในทางการเมือง
หลิน ผิง (Lin Ping) เป็นผู้รายงานข่าวนี้ให้แก่ วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (Radio Free Asia's Mandarin Service) และลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie) เป็นผู้แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต