(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Obama no-show isolates allies
By Richard Javad Heydarian
11/10/2013
บรรดาชาติเอเชียที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ต่างบังเกิดความรู้สึกวังเวงอ้างว้างขึ้นมาในทันที หลังจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ประกาศงดเยือนภูมิภาคแถบนี้เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความระแวงสงสัยว่าสหรัฐฯมีความผูกพันกับเอเชียอย่างจริงจังแค่ไหนในขณะที่อเมริกาก็กำลังตัดงบประมาณด้านกลาโหมลงไปด้วย ยิ่งทำให้พันธมิตรของสหรัฐฯจำนวนมากรู้สึกข้องใจว่า สหรัฐฯมีหนทางต่อสู้ไม่ว่าในทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจหรือไม่ ที่จะสามารถเข้าคานอำนาจจีนซึ่งกำลังมีอิทธิพลบารมีในเอเชียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**เกมแข่งขันแบบใครชนะกวาดเดิมพันไปทั้งหมด (Zero-sum game)**
พวกรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ถึงอย่างไรก็มีขนาดเล็กกว่าพวกเพื่อนบ้านรายยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้จึงมีความคุ้นเคยจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติที่จะต้องหาเสาะแสวงหาทางคานอำนาจมหาอำนาจยิ่งใหญ่รายหนึ่ง ด้วยการดึงเอามหาอำนาจยักษ์อีกรายหนึ่งเข้ามาถ่วงดุล ในเวลาเดียวกับที่ก็จะพยายามบ่มเพาะสร้างเสริมความสัมพันธ์อันเป็นพิเศษกับมหาอำนาจเหล่านี้แต่ละรายไปด้วย แม้กระทั่งในปัจจุบัน ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มองสหรัฐฯว่าเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการรักษาเสถียรภาพของภูมิภาค ทว่าในอีกด้านหนึ่ง ชาติเหล่านี้ก็เล็งเห็นจีนว่าเป็นผู้ที่กำลังจะกลายเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจรายสำคัญที่สุดรายหนึ่งของตน
ในช่วงไม่กี่ปีหลังๆ มานี้ เรายังมองเห็นแนวโน้มที่ว่า เส้นแบ่งระหว่างกิจการทางทหารกับกิจการทางการพาณิชย์นั้น กำลังค่อยๆ เลือนรางจางหายไปเรื่อยๆ ในขณะที่ทั้งสหรัฐฯและจีนต่างก็พยายามหาทางสถาปนาฐานะครอบงำเหนือภูมิภาคแถบนี้ทั้งในทางเศรษฐกิจและก็ในทางยุทธศาสตร์ด้วย ทั้งนี้คณะรัฐบาลโอบามาได้หาทางถ่วงดุลอิทธิพลบารมีของจีนซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ ด้วยวิธีเสนอผลประโยชน์อันมหาศาลทางเศรษฐกิจผสมผสานเข้ากับการขอแสดงบทบาททางทหารอย่างใหญ่โตมากขึ้นในภูมิภาค
“หลังจากช่วงเวลา 1 ทศวรรษที่เราสู้รบทำสงคราม 2 สงครามซึ่งทำให้เราต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปอย่างแพงลิ่ว ทั้งในรูปของเลือดเนื้อชีวิตและทั้งในรูปของเงินทองในคลังแผ่นดิน เวลานี้สหรัฐฯก็กำลังหันความสนใจของเรามายังมายังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดินแดนแห่งศักยภาพและโอกาสอันกว้างขวาง” โอบามาประกาศเช่นนี้ระหว่างไปกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาออสเตรเลียเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2011 “ในฐานะที่เอเชียแปซิฟิกคือภูมิภาคที่เจริญเติบโตด้วยอัตรารวดเร็วที่สุดของโลก ภูมิภาคนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการบรรลุสิ่งที่ผมถือว่ามีความสำคัญลำดับสูงที่สุด นั่นก็คือการสร้างตำแหน่งงานและการสร้างโอกาสสำหรับประชาชนชาวอเมริกัน”
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตัวหลัก ซึ่งโอบามาวาดหวังที่จะพึ่งพาอาศัยเป็นเครื่องมือแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลของแดนอินทรีในเอเชียแปซิฟิก ก็คือข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 12 ชาติในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership ใช้อักษรย่อวา TPP) ความมุ่งมาดปรารถนาของชาติผู้เข้าร่วมเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลง TPP ได้แก่การก่อตั้งเขตการค้าเสรีที่มีขนาดครอบคลุม 1 ใน 3 ของการค้าโลก และ 40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของทั่วโลก โดยที่ไม่มีจีนเข้ามาร่วม อย่างไรก็ตาม ในทางเป็นจริงแล้วหลังจากที่ได้เปิดการเจรจาต่อรองกันมาถึง 18 รอบ ปรากฏว่าประเด็นปัญหาทางการเมืองสำคัญๆ กำลังกลายเป็นจุดติดขัดที่ทำให้ไม่สามารถเดินหน้ากันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตั้งข้อจำกัดต่างๆ ต่อการเปิดเสรีในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐบาล, การลดทอนช่องทางที่ผู้บริโภคจะสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ, และการหาทางปกป้องคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญากันอย่างเข้มงวดจริงจังยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่หวังกันว่า การมาเยือนของโอบามาจะเป็นการสร้างโอกาสให้เขาสามารถล็อบบี้พวกรัฐในเอเชียอย่างเช่นญี่ปุ่น, มาเลเซีย, และเวียดนาม ด้วยตัวเขาเอง โดยที่ในปัจจุบัน ชาติเหล่านี้ทั้งหมดต่างกำลังใช้ท่าทีเฝ้ารอดูสถานการณ์ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเดินหน้าเข้าร่วมข้อตกลง TPP อย่างแข็งขันหรือไม่
วอลเดน เบลโล (Walden Bello) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเด็นปัญหาอันเกี่ยวข้องกับการค้าคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของเอเชีย สะท้อนความคิดของบรรดาชาติเอเชียได้เป็นอย่างดี เมื่อเขากล่าวว่า “TPP นั้น ในด้านหนึ่งถูกวางแผนออกมาเพื่อให้เป็นทางเลือกชั้นดีอันดับสองในการส่งเสริมสนับสนุนผลประโยชน์ของภาคบริษัทธุรกิจโดยผ่านการค้าเสรี เมื่อพิจาณาจากข้อเท็จจริงว่า (ทางเลือกชั้นดีอันดับหนึ่งซึ่งก็คือ) การเจรจาในกรอบขององค์การการค้าโลก WTO นั้น กำลังอยู่ในภาวะชะงักงัน ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งนั้น TPP คือวิสาหกิจทางภูมิเศรษฐกิจที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งวางแผนจัดทำขึ้นมาเพื่อมุ่งปิดล้อมจำกัดเขตอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ด้วยการกีดกันไม่ให้จีนได้รับผลประโยชน์ความได้เปรียบต่างๆ ซึ่งสมาชิกทั้งหลายใน TPP จะได้รับกัน” เบลโลวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปว่า ในทางเป็นจริงแล้ว “วัตถุประสงค์ 2 ด้านนี้มีความขัดแย้งกันอยู่ ด้วยเหตุนี้จีนจึงไม่เห็นจะต้องริเริ่มวางแผนสร้างกลุ่มใหม่อีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาคานอำนาจด้วยซ้ำ สิ่งที่จีนจำเป็นต้องทำก็มีแต่นั่งรอคอยอยู่เฉยๆ และเฝ้าดูการแตกสลายในที่สุดของความพยายามริเริ่มจัดตั้ง TPP ขึ้นมานี้”
**ทางเลือกอีกทางหนึ่งในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ**
ที่จริงแล้ว จีนกำลังผลักดันสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ ได้แก่ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership ใช้อักษรย่อว่า RCEP) ในเอเชียตะวันออก แล้วเมื่อโอบามาขาดประชุมไม่ได้ปรากฏตัวในซัมมิตสำคัญของเอเชียถึง 2 งานเช่นนี้ สี จิ้นผิง จึงกลายเป็นดาวดวงเด่น เขาได้เป็นผู้นำต่างประเทศคนแรกที่ไปกล่าวปราศรัยในรัฐสภาอินโดนีเซีย, ได้เป็นผู้กล่าวปราศรัยสำคัญ (keynote speaker) ณ การประชุมซัมมิตของเอเปก, และยังไปเยือนมาเลเซียเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีให้หยั่งรากลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตลอดจนปลดชนวนความตึงเครียดในกรณีพิพาททะเลจีนใต้
ผู้นำจีนนั้นกำลังมุ่งมั่นที่จะแปรเปลี่ยนความองอาจแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศตน ให้กลายเป็นอิทธิพลบารมีทางยุทธศาสตร์ ดังที่ประธานาธิบดีสี เสนอแผนการจัดตั้งธนาคารโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (billion Asian Infrastructure Bank) มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าจะกลายเป็นคู่แข่งของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) ที่สหรัฐฯกับญี่ปุ่นเป็นผู้นำอยู่ ในการดึงดูดช่วงชิงบรรดาเพื่อนบ้านของตนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเวลาเดียวกัน นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีน ซึ่งเข้ารับไม้ผลัดต่อจากประธานาธิบดีสี โดยเป็นผู้นำของแดนมังกรที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของสมาคมอาเซียนที่บรูไน จากนั้นก็ออกตระเวนเยือนไทยและเวียดนามนั้น ก็ไม่ได้แตกต่างออกไปจากสี ในเรื่องความพยายามใช้ประโยชน์จากฐานะที่โดดเด่นเข้มแข็งขึ้นของประเทศตน เพื่อสยบกรณีพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้ รวมทั้งถือโอกาสแสดงการหยามหมิ่นฟิลิปปินส์ที่แสดงตัวเลือกข้างอยู่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ตลอดจนพยายามเน้นย้ำความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ แก่การผูกพันกันทางเศรษฐกิจ ยิ่งกว่าประเด็นปัญหาทางดินแดนที่ยังแก้ไขได้ยาก
ถึงแม้ทั้งสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, และออสเตรเลียจะใช้ความพยายามในการนำเอาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ มาเป็นหัวใจของระเบียบวาระการประชุมสุดยอดของสมาคมอาเซียนที่บรูไนคราวนี้ แต่ในที่สุดแล้วการหารือก็สิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีแผนการหรือโมเมนตัมอันชัดเจนใดๆ ที่มุ่งสู่การจัดทำแนวทางปฏิบัติ (code of conduct) ซึ่งมีผลผูกมัด เพื่อใช้เป็นหนทางแก้ไขกรณีพิพาทในทะลจีนใต้กันอย่างสันติและอิงอยู่กับระเบียบกฎหมาย ในเรื่องนี้ผู้คนจำนวนมากในมะนิลาก็ได้เคยวาดหวังเอาไว้ว่า การปรากฏตัวและการออกแรงผลักดันของโอบามา จะช่วยทำให้ประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องโดดเด่นขึ้นมาในเวทีซัมมิตที่บรูไนได้สำเร็จ
แทนที่จะเป็นเช่นนั้น การแข่งขันช่วงชิงกันระหว่างจีนกับอเมริกาเพื่อการขึ้นครองอำนาจอย่างรอบด้านในภูมิภาคแถบนี้ กลับมีผลลัพธ์ออกมาในเชิง Zero-sum game (เกมแข่งขันแบบใครชนะกวาดเดิมพันไปทั้งหมด) การที่โอบามาหายหน้าไม่ได้มาปรากฏตัวในเอเชียคราวนี้ ถูกจับตามองกันอย่างกว้างขวางว่าคือความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ และทำเอาเหล่าพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของอเมริกาในเอเชีย พากันเกิดความรู้สึกวังเวงอ้างว้างขึ้นมาอย่างฉับพลัน
ริชาร์ด จาวัด เฮย์ดาเรียน เป็นนักวิเคราะห์กิจการต่างประเทศที่มีฐานอยู่ในมะนิลา โดยมีความสนใจเป็นพิเศษเรื่องทะเลจีนใต้และประเด็นปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศ เขาเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาเตนีโอ เด มะนิลา (Ateneo De Manila University) และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Economics of the Arab Spring: How Globalization Failed the Arab World, Zed Books, 2013 ซึ่งมีกำหนดออกวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้สามารถติดต่อกับเขาทางอีเมลได้ที่ jrheydarian@gmail.com
Obama no-show isolates allies
By Richard Javad Heydarian
11/10/2013
บรรดาชาติเอเชียที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ต่างบังเกิดความรู้สึกวังเวงอ้างว้างขึ้นมาในทันที หลังจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ประกาศงดเยือนภูมิภาคแถบนี้เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความระแวงสงสัยว่าสหรัฐฯมีความผูกพันกับเอเชียอย่างจริงจังแค่ไหนในขณะที่อเมริกาก็กำลังตัดงบประมาณด้านกลาโหมลงไปด้วย ยิ่งทำให้พันธมิตรของสหรัฐฯจำนวนมากรู้สึกข้องใจว่า สหรัฐฯมีหนทางต่อสู้ไม่ว่าในทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจหรือไม่ ที่จะสามารถเข้าคานอำนาจจีนซึ่งกำลังมีอิทธิพลบารมีในเอเชียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**เกมแข่งขันแบบใครชนะกวาดเดิมพันไปทั้งหมด (Zero-sum game)**
พวกรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ถึงอย่างไรก็มีขนาดเล็กกว่าพวกเพื่อนบ้านรายยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้จึงมีความคุ้นเคยจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติที่จะต้องหาเสาะแสวงหาทางคานอำนาจมหาอำนาจยิ่งใหญ่รายหนึ่ง ด้วยการดึงเอามหาอำนาจยักษ์อีกรายหนึ่งเข้ามาถ่วงดุล ในเวลาเดียวกับที่ก็จะพยายามบ่มเพาะสร้างเสริมความสัมพันธ์อันเป็นพิเศษกับมหาอำนาจเหล่านี้แต่ละรายไปด้วย แม้กระทั่งในปัจจุบัน ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มองสหรัฐฯว่าเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการรักษาเสถียรภาพของภูมิภาค ทว่าในอีกด้านหนึ่ง ชาติเหล่านี้ก็เล็งเห็นจีนว่าเป็นผู้ที่กำลังจะกลายเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจรายสำคัญที่สุดรายหนึ่งของตน
ในช่วงไม่กี่ปีหลังๆ มานี้ เรายังมองเห็นแนวโน้มที่ว่า เส้นแบ่งระหว่างกิจการทางทหารกับกิจการทางการพาณิชย์นั้น กำลังค่อยๆ เลือนรางจางหายไปเรื่อยๆ ในขณะที่ทั้งสหรัฐฯและจีนต่างก็พยายามหาทางสถาปนาฐานะครอบงำเหนือภูมิภาคแถบนี้ทั้งในทางเศรษฐกิจและก็ในทางยุทธศาสตร์ด้วย ทั้งนี้คณะรัฐบาลโอบามาได้หาทางถ่วงดุลอิทธิพลบารมีของจีนซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ ด้วยวิธีเสนอผลประโยชน์อันมหาศาลทางเศรษฐกิจผสมผสานเข้ากับการขอแสดงบทบาททางทหารอย่างใหญ่โตมากขึ้นในภูมิภาค
“หลังจากช่วงเวลา 1 ทศวรรษที่เราสู้รบทำสงคราม 2 สงครามซึ่งทำให้เราต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปอย่างแพงลิ่ว ทั้งในรูปของเลือดเนื้อชีวิตและทั้งในรูปของเงินทองในคลังแผ่นดิน เวลานี้สหรัฐฯก็กำลังหันความสนใจของเรามายังมายังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดินแดนแห่งศักยภาพและโอกาสอันกว้างขวาง” โอบามาประกาศเช่นนี้ระหว่างไปกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาออสเตรเลียเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2011 “ในฐานะที่เอเชียแปซิฟิกคือภูมิภาคที่เจริญเติบโตด้วยอัตรารวดเร็วที่สุดของโลก ภูมิภาคนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการบรรลุสิ่งที่ผมถือว่ามีความสำคัญลำดับสูงที่สุด นั่นก็คือการสร้างตำแหน่งงานและการสร้างโอกาสสำหรับประชาชนชาวอเมริกัน”
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตัวหลัก ซึ่งโอบามาวาดหวังที่จะพึ่งพาอาศัยเป็นเครื่องมือแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลของแดนอินทรีในเอเชียแปซิฟิก ก็คือข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 12 ชาติในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership ใช้อักษรย่อวา TPP) ความมุ่งมาดปรารถนาของชาติผู้เข้าร่วมเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลง TPP ได้แก่การก่อตั้งเขตการค้าเสรีที่มีขนาดครอบคลุม 1 ใน 3 ของการค้าโลก และ 40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของทั่วโลก โดยที่ไม่มีจีนเข้ามาร่วม อย่างไรก็ตาม ในทางเป็นจริงแล้วหลังจากที่ได้เปิดการเจรจาต่อรองกันมาถึง 18 รอบ ปรากฏว่าประเด็นปัญหาทางการเมืองสำคัญๆ กำลังกลายเป็นจุดติดขัดที่ทำให้ไม่สามารถเดินหน้ากันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตั้งข้อจำกัดต่างๆ ต่อการเปิดเสรีในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐบาล, การลดทอนช่องทางที่ผู้บริโภคจะสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ, และการหาทางปกป้องคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญากันอย่างเข้มงวดจริงจังยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่หวังกันว่า การมาเยือนของโอบามาจะเป็นการสร้างโอกาสให้เขาสามารถล็อบบี้พวกรัฐในเอเชียอย่างเช่นญี่ปุ่น, มาเลเซีย, และเวียดนาม ด้วยตัวเขาเอง โดยที่ในปัจจุบัน ชาติเหล่านี้ทั้งหมดต่างกำลังใช้ท่าทีเฝ้ารอดูสถานการณ์ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเดินหน้าเข้าร่วมข้อตกลง TPP อย่างแข็งขันหรือไม่
วอลเดน เบลโล (Walden Bello) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเด็นปัญหาอันเกี่ยวข้องกับการค้าคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของเอเชีย สะท้อนความคิดของบรรดาชาติเอเชียได้เป็นอย่างดี เมื่อเขากล่าวว่า “TPP นั้น ในด้านหนึ่งถูกวางแผนออกมาเพื่อให้เป็นทางเลือกชั้นดีอันดับสองในการส่งเสริมสนับสนุนผลประโยชน์ของภาคบริษัทธุรกิจโดยผ่านการค้าเสรี เมื่อพิจาณาจากข้อเท็จจริงว่า (ทางเลือกชั้นดีอันดับหนึ่งซึ่งก็คือ) การเจรจาในกรอบขององค์การการค้าโลก WTO นั้น กำลังอยู่ในภาวะชะงักงัน ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งนั้น TPP คือวิสาหกิจทางภูมิเศรษฐกิจที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งวางแผนจัดทำขึ้นมาเพื่อมุ่งปิดล้อมจำกัดเขตอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ด้วยการกีดกันไม่ให้จีนได้รับผลประโยชน์ความได้เปรียบต่างๆ ซึ่งสมาชิกทั้งหลายใน TPP จะได้รับกัน” เบลโลวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปว่า ในทางเป็นจริงแล้ว “วัตถุประสงค์ 2 ด้านนี้มีความขัดแย้งกันอยู่ ด้วยเหตุนี้จีนจึงไม่เห็นจะต้องริเริ่มวางแผนสร้างกลุ่มใหม่อีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาคานอำนาจด้วยซ้ำ สิ่งที่จีนจำเป็นต้องทำก็มีแต่นั่งรอคอยอยู่เฉยๆ และเฝ้าดูการแตกสลายในที่สุดของความพยายามริเริ่มจัดตั้ง TPP ขึ้นมานี้”
**ทางเลือกอีกทางหนึ่งในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ**
ที่จริงแล้ว จีนกำลังผลักดันสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ ได้แก่ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership ใช้อักษรย่อว่า RCEP) ในเอเชียตะวันออก แล้วเมื่อโอบามาขาดประชุมไม่ได้ปรากฏตัวในซัมมิตสำคัญของเอเชียถึง 2 งานเช่นนี้ สี จิ้นผิง จึงกลายเป็นดาวดวงเด่น เขาได้เป็นผู้นำต่างประเทศคนแรกที่ไปกล่าวปราศรัยในรัฐสภาอินโดนีเซีย, ได้เป็นผู้กล่าวปราศรัยสำคัญ (keynote speaker) ณ การประชุมซัมมิตของเอเปก, และยังไปเยือนมาเลเซียเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีให้หยั่งรากลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตลอดจนปลดชนวนความตึงเครียดในกรณีพิพาททะเลจีนใต้
ผู้นำจีนนั้นกำลังมุ่งมั่นที่จะแปรเปลี่ยนความองอาจแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศตน ให้กลายเป็นอิทธิพลบารมีทางยุทธศาสตร์ ดังที่ประธานาธิบดีสี เสนอแผนการจัดตั้งธนาคารโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (billion Asian Infrastructure Bank) มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าจะกลายเป็นคู่แข่งของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) ที่สหรัฐฯกับญี่ปุ่นเป็นผู้นำอยู่ ในการดึงดูดช่วงชิงบรรดาเพื่อนบ้านของตนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเวลาเดียวกัน นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีน ซึ่งเข้ารับไม้ผลัดต่อจากประธานาธิบดีสี โดยเป็นผู้นำของแดนมังกรที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของสมาคมอาเซียนที่บรูไน จากนั้นก็ออกตระเวนเยือนไทยและเวียดนามนั้น ก็ไม่ได้แตกต่างออกไปจากสี ในเรื่องความพยายามใช้ประโยชน์จากฐานะที่โดดเด่นเข้มแข็งขึ้นของประเทศตน เพื่อสยบกรณีพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้ รวมทั้งถือโอกาสแสดงการหยามหมิ่นฟิลิปปินส์ที่แสดงตัวเลือกข้างอยู่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ตลอดจนพยายามเน้นย้ำความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ แก่การผูกพันกันทางเศรษฐกิจ ยิ่งกว่าประเด็นปัญหาทางดินแดนที่ยังแก้ไขได้ยาก
ถึงแม้ทั้งสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, และออสเตรเลียจะใช้ความพยายามในการนำเอาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ มาเป็นหัวใจของระเบียบวาระการประชุมสุดยอดของสมาคมอาเซียนที่บรูไนคราวนี้ แต่ในที่สุดแล้วการหารือก็สิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีแผนการหรือโมเมนตัมอันชัดเจนใดๆ ที่มุ่งสู่การจัดทำแนวทางปฏิบัติ (code of conduct) ซึ่งมีผลผูกมัด เพื่อใช้เป็นหนทางแก้ไขกรณีพิพาทในทะลจีนใต้กันอย่างสันติและอิงอยู่กับระเบียบกฎหมาย ในเรื่องนี้ผู้คนจำนวนมากในมะนิลาก็ได้เคยวาดหวังเอาไว้ว่า การปรากฏตัวและการออกแรงผลักดันของโอบามา จะช่วยทำให้ประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องโดดเด่นขึ้นมาในเวทีซัมมิตที่บรูไนได้สำเร็จ
แทนที่จะเป็นเช่นนั้น การแข่งขันช่วงชิงกันระหว่างจีนกับอเมริกาเพื่อการขึ้นครองอำนาจอย่างรอบด้านในภูมิภาคแถบนี้ กลับมีผลลัพธ์ออกมาในเชิง Zero-sum game (เกมแข่งขันแบบใครชนะกวาดเดิมพันไปทั้งหมด) การที่โอบามาหายหน้าไม่ได้มาปรากฏตัวในเอเชียคราวนี้ ถูกจับตามองกันอย่างกว้างขวางว่าคือความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ และทำเอาเหล่าพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของอเมริกาในเอเชีย พากันเกิดความรู้สึกวังเวงอ้างว้างขึ้นมาอย่างฉับพลัน
ริชาร์ด จาวัด เฮย์ดาเรียน เป็นนักวิเคราะห์กิจการต่างประเทศที่มีฐานอยู่ในมะนิลา โดยมีความสนใจเป็นพิเศษเรื่องทะเลจีนใต้และประเด็นปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศ เขาเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาเตนีโอ เด มะนิลา (Ateneo De Manila University) และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Economics of the Arab Spring: How Globalization Failed the Arab World, Zed Books, 2013 ซึ่งมีกำหนดออกวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้สามารถติดต่อกับเขาทางอีเมลได้ที่ jrheydarian@gmail.com