(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Afghans caught between terror and graft
By Giuliano Battiston
12/09/2013
การที่ชาวอัฟกันต้องเผชิญกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของพวกเจ้าหน้าที่อยู่ทุกวี่ทุกวัน กำลังทำให้พวกเขารู้สึกไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ และก็กำลังก่อให้เกิดความโกรธเกรี้ยวขึ้นในหมู่ประชาชนระดับรากหญ้า จนกลายเป็นปัจจัยที่หล่อเลี้ยงนำไปสู่การก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด วงจรอุบาทว์แห่งการคอร์รัปชั่นและการก่อการร้ายเช่นนี้ยังคงกำลังเคลื่อนตัวไปอย่างไม่รู้จักจบ ทั้งจากกระแสความช่วยเหลืออันมากมายมหาศาลที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศนี้ ตลอดจนจากการที่พวกชาติพันธมิตรฝ่ายตะวันตกได้รวมเอาเหล่าขุนศึกเข้ามาร่วมอยู่ในความพยายามอันล้มเหลวในการฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถานภายหลังจากการรุกราน
เฮรัต, อัฟกานิสถาน – ภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของคณะรัฐบาลประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ (Hamid Karzai) ในอัฟกานิสถานนั้น มาจากสภาวะภายในมากกว่าปัจจัยจากภายนอกเสียอีก และเจ้าสิ่งที่กำลังกัดกร่อนกลืนกินเข้าไปในระบอบปกครองนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็คืออาการป่วยไข้ที่เรียกขานกันว่า “การทุจริตคอร์รัปชั่น”
“การคอร์รัปชั่นกำลังบ่อนทำลายความถูกต้องชอบธรรมของรัฐบาลชุดนี้ซึ่งก็แทบจะไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว” กอเดอร์ ราฮิมี (Qader Rahimi) หัวหน้าสาขาภาคตะวันตกของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอัฟกานิสถาน (Afghanistan Independent Human Rights Commission) บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) “ประชาชนไม่ไว้วางใจรัฐบาลเอาเลย พวกเขาไม่เชื่อว่ารัฐบาลกำลังทำงานเพื่อประโยชน์ของทุกๆ คน”
เขากล่าวต่อไปว่า เท่าที่ผ่านมาประชาคมระหว่างประเทศรวมศูนย์ความสนใจไปที่การสู้รบปราบปรามเครือข่ายอัลกออิดะห์และการก่อการร้าย แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ประชาคมระหว่างประเทศจะต้องหันมาโฟกัสที่เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเขาระบุว่ากำลังกลายเป็น “ศัตรูตัวใหญ่ที่สุดของพวกเรา”
ทั้งนี้ตัวเลขสถิติต่างๆ ที่พอจะค้นหาอ้างอิงได้ ก็แทบจะไม่ส่งผลในการทัดทานตอบโต้การมองโลกในแง่ร้ายเช่นนี้ของเขาเอาเสียเลย ตามผลการสำรวจที่กระทำร่วมกันระหว่างสำนักงานชั้นสูงว่าด้วยการกำกับตรวจสอบและการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งอัฟกานิสถาน (Afghan High Office of Oversight and Anti-corruption ใช้อักษรย่อว่า HOOAC) และสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime ใช้อักษรย่อว่า UNODC) พลเมืองชาวอัฟกันถึงราวครึ่งหนึ่งทีเดียวต้องจ่ายสินบนในปี 2012 เมื่อไปขอรับบริการจากทางการ
รายงานผลการสำรวจคราวนี้ ที่ใช้ชื่อว่า “การทุจริตคอร์รัปชั่นในอัฟกานิสถาน: แบบแผนและแนวโน้มในระยะหลังๆ นี้” (Corruption in Afghanistan: Recent Patterns and Trends) ถูกนำออกมาเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยที่ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทุจริตดังกล่าวว่าสูงถึง 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในสภาวการณ์ที่เหลือเวลาอีกเพียงแค่ปีเศษก่อนที่กองกำลังทหารซึ่งนำโดยองค์การนาโต้ จะถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถานและปิดฉากสิ้นสุดกระบวนการในการเปลี่ยนผ่านอำนาจคืนกลับไปอยู่ในมือของชาวอัฟกันเช่นนี้ ทำให้มีการทบทวนใคร่ครวญอย่างจริงจังภายในประเทศนี้ว่า ประชาคมระหว่างประเทศและรัฐบาลอัฟกันประสบความสำเร็จอะไรบ้างนับตั้งแต่ปี 2001 เมื่อสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเริ่มต้นขึ้น ชาวอัฟกันจำนวนมากยังคงกำลังพยายามหาคำตอบว่าทำไมพวกเขาจึงยังควรที่จะอยู่ในสงครามซึ่งยืดเยื้อมาเป็นปีที่ 12 แล้ว และกำลังก่อให้เกิดความสูญเสียมากขึ้นทุกทีๆ
ตามรายงานทุกรอบครึ่งปีฉบับล่าสุดว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนในท่ามกลางการสู้รบขัดแย้งด้วยอาวุธ (Protection of Civilians in Armed Conflict) ซึ่งจัดทำและนำออกเผยแพร่โดยคณะทำงานเพื่อการช่วยเหลือในอัฟกานิสถานของสหประชาชาติ (United Nations Assistance Mission in Afghanistan ใช้อักษรย่อว่า UNAMA) ปรากฏว่าประเทศนี้ได้พบเห็นจำนวนพลเรือนบาดเจ็บล้มตายเพิ่มสูงขึ้นถึง 23% ในรอบเวลา 6 เดือนแรกของปี 2013 เมื่อเทียบกับระยะ 6 เดือนก่อนหน้านั้น
และหนึ่งในปัจจัยหลายๆ ประการที่ชาวอัฟกันมองว่า กำลังเป็นตัวการหล่อเลี้ยงการสู้รบขัดแย้งกันคราวนี้ ตลอดจนกำลังเป็นตัวการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้คนตัดสินใจเข้าร่วมการต่อต้านรัฐบาลได้ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ก็คือการไม่มีความเชื่อมั่นและไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจรัฐบาล
“ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลนั้นมีช่องว่างในการติดต่อสื่อสารที่ใหญ่โตมโหฬารมาก” อับดุล คอลิก สตานิคไซ (Abdul Khaliq Stanikzai) ผู้จัดการระดับภูมิภาคขององค์การการพัฒนาซานายี (Sanayee Development Organization) ที่เป็นองค์การนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ระบุ “ประชาชนนั้นไม่มีกลไกและเครื่องมือในการทำให้เสียงของพวกเขาเป็นที่รับฟังและส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล” เขาแจกแจงให้สำนักข่าวไอพีเอสฟัง
ตามความเห็นของเขาแล้ว สภาวการณ์เช่นนี้ได้ก่อให้เกิดความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันในระดับสูงลิบลิ่ว
การขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาลมีแต่จะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากช่องว่างระหว่างความคาดหวังกับผลสำเร็จที่เป็นจริงกำลังถ่างกว้าง ไม่ว่าจะในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ, การรับประกันสิทธิเสรีภาพต่างๆ , การมีสถาบันที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหนือสิ่งอื่นใดเลย ย่อมได้แก่ในด้านความยุติธรรมทางสังคมและความเท่าเทียมกันทางสังคม
“ในตอนแรกๆ หลังจากมีการถอดถอนระบอบปกครองตอลิบานออกไปแล้ว ประชาชนต่างมีความหวังกันว่าจะเกิดรัฐบาลที่โปร่งใสและเท่าเทียมขึ้นมา ทว่ามาถึงเวลานี้ ไม่มีใครคาดหมายอะไรจากรัฐบาลชุดนี้กันแล้ว” อาซิฟ คาริมี (Asif Karimi) ผู้ประสานงานโครงการประจำคาบูลขององค์การ “ลิเอซอน ออฟฟิศ” (Liaison Office) องค์การของชาวอัฟกันซึ่งเน้นหนักที่เรื่องการสร้างสันติภาพแบบชุมชนนิยม (communitarian peace-building) กล่าวให้ความเห็น เขาบอกกับสำนักข่าวไอพีเอสต่อไปว่า เวลานี้ประชาชนส่วนใหญ่ต่างวางตัวเป็นกลาง ไม่ต้องการรัฐบาลและก็ไม่ต้องการตอลิบาน
ขณะที่ มิรวาอิส อาโยบิ (Mirwais Ayobi) อาจารย์ด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเฮรัต (University of Herat) ถึงขนาดคิดว่าประชาชนกำลังรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจฝ่ายตอลิบานมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยซ้ำ “ถ้าคุณขอให้พวกตอลิบานแก้ไขข้อพิพาท” เขากล่าวกับสำนักข่าวไอพีเอส “พวกเขาจะเน้นไปเรื่องที่การรอมชอมกันแทนที่จะเอาแต่เรียกร้องขอเงินทอง”
อาจารย์ผู้นี้มองว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบการเมืองและระบบบริหาร กำลังกลายเป็นปัญหาท้าทายที่ใหญ่โตยิ่ง เนื่องจากมันกำลังกัดกร่อนบันทอนความไว้วางใจของพลเมือง
อัฟกานิสถานนั้นถูกจัดให้อยู่ในระดับย่ำแย่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในดัชนีความรับรู้เกี่ยวกับคอร์รัปชั่น (Corruption Perceptions Index) ประจำปี 2012 ขององค์การเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ (Transparency International) โดยยังดีกว่า โซมาเลีย และ เกาหลีเหนือ เท่านั้น
เมื่อว่ากันในเรื่องขนาดของสินบนที่ประชาชนชาวอัฟกันต้องจ่าย รายงานการสำรวจของ HOOAC-UNODC ระบุว่า ผิดแผกแตกต่างกันไปในแต่ละภาคส่วน
“สินบนมีแนวโน้มที่จะเป็นก้อนใหญ่ยิ่งขึ้นในแวดวงการยุติธรรม” รายงานฉบับนี้ชี้ “โดยที่เงินสินบนเฉลี่ยที่ต้องจ่ายให้แก่พวกอัยการและพวกผู้พิพากษานั้นอยู่ในระดับสูงกว่า 300 ดอลลาร์” ขณะที่จำนวนสินบนที่ต้องให้แก่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบระดับท้องถิ่นและพวกเจ้าหน้าที่ด้านศุลกากรจะต่ำลงมาเล็กน้อย โดยอยู่ที่ มากกว่า 200 ดอลลาร์ สำหรับสิบนที่ต้องจ่ายให้เจ้าหน้าที่ภาคส่วนอื่นๆ อยู่ในระดับตั้งแต่ 100 ดอลลาร์ไปจนถึง 150 ดอลลาร์ รายงานฉบับนี้ระบุ
มีหลายๆ คนที่มองปัญหานี้ว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง คนหนึ่งคือ เราะห์มาน ซาลาฮี (Rahman Salahi) อดีตประธานของ “ชูรอนักวิชาชีพแห่งเฮรัต” (Herat Professionals Shura ชูรอแปลว่าสภา) ซึ่งเป็นองค์การอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในจังหวัดทางภาคตะวันตกของอัฟกานิสถานแห่งนี้ โดยที่มีทั้งสมาคมของทนายความ, นักเศรษฐศาสตร์, ครูอาจารย์, วิศวกร, และบุคคลในวิชาชีพอื่นๆ มารวมตัวกัน ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะผลักดันทำให้ภาคประชาชนมีบทบาทแข็งขันยิ่งขึ้นในการฟื้นฟูบูรณะประเทศ
“จวบจนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เรายังมีสิ่งที่เป็นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมโดยพื้นฐาน ซึ่งอิงอยู่กับตัวแบบที่เหลือทิ้งเอาไว้ในยุคการเข้ามายึดครองของสหภาพโซเวียต” ซาลาฮี บอกกับไอพีเอส “แต่เมื่อประชาคมระหว่างประเทศเข้ามา เราก็ได้ยอมรับระบบการค้าเสรีโดยที่ขาดไร้พวกโครงสร้างเชิงสถาบันที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับการกำกับตรวจสอบและสำหรับการวางแนวทางนโยบาย”
สำหรับ อันโตนิโอ กีสตอซซี (Antonio Giustozzi) ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (visiting professor) แห่งภาควิชาการสงครามศึกษา (Department of War Studies) ที่สถาบันคิงส์คอลเลจ กรุงลอนดอน (King's College, London) อีกทั้งเป็นผู้ชำนาญการในเรื่องอัฟกานิสถาน เขาให้ความเห็นว่า “การที่มีความช่วยเหลือปริมาณมากมายไหลทะลักเข้ามายังประเทศนี้ ขณะที่พวกกลไกสำหรับการแจกจ่ายแบ่งสรรและมอบหมายความช่วยเหลือเหล่านี้ไปยังภาคส่วนต่างๆ อยู่ในสภาพที่เกินกำลังความสามารถของสังคมโดยรวมที่จะดูดซับเอาไว้ได้ ตลอดจนเกินกำลังความสามารถของสถาบันต่างๆ ของประเทศนี้ที่จะบริหารจัดการความช่วยเหลือเหล่านี้”
สภาพความไม่เหมาะสมกันระหว่างความช่วยเหลือที่ไหลทะลักเข้ามาอย่างมากมายกว้างขวาง กับศักยภาพความสามารถในการดูดซึมที่ยังคงคับแคบอยู่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น กีสตอซซีกล่าว และแสดงทัศนะต่อไปว่า เขาคิดว่าในเวลานี้ การคอร์รัปชั่นกำลัง “ท่วมท้นเต็มไปหมดภายในระบบการเมือง” ของอัฟกานิสถาน
นอกเหนือจากเหตุผลเชิงโครงสร้างเหล่านี้แล้ว ประชาคมระหว่างประเทศก็ถูกมองว่าเป็นตัวการบ่มเพาะวัฒนธรรมแห่งการยกเว้นไม่ลงโทษผู้กระทำผิดขึ้นมาในอัฟกานิสถาน ด้วยการยินยอมมอบอำนาจให้แก่พวกซึ่งเรียกขานกันว่า “ขุนศึก” (warlord)
“พวกองค์กรระหว่างประเทศนั้นมอบอำนาจทางการเมืองและเงินทองให้แก่พวกขุนศึก, ให้แก่พวกที่ก่ออาชญากรรม, ให้แก่พวกที่เคยฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นพันเป็นหมื่นคนมาแล้ว, ให้แก่พวกที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่ในระบบทุจริตคอร์รัปชั่น” ไซเอด อิคราม อัฟซาลี (Sayed Ikram Afzali) ผู้อำนวยการขององค์การภาคประชาชนที่ใช้ชื่อว่า องค์การการสนับสนุนและการสื่อสารเพื่อการเฝ้าติดตามความซื่อตรงแห่งอัฟกานิสถาน (Advocacy and Communication for Integrity Watch Afghanistan) ระบุ
“ประชาชนเคยมีความหวังว่าสิ่งต่างๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และพวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมและความเท่าเทียม หลังจากพวกตอลิบานพ่ายแพ้ไปแล้ว” เขาบอกกับไอพีเอส ทว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาเลย
กระนั้น เขาก็ยังแสดงความรู้สึกว่ายังคงมีความหวังเหลืออยู่ “พวกขุนศึกนั้นไม่ได้มีรากเหง้าที่หยั่งลึกในหมู่ประชาชนแต่อย่างใด พวกเขาปฏิเสธไม่ให้ความยุติธรรมทางสังคมแก่ประชาชน พวกเขาจี้จับรัฐไปเป็นตัวประกัน ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะปลดปล่อยรัฐให้เป็นอิสระจากพวกขุนศึกเหล่านี้”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Afghans caught between terror and graft
By Giuliano Battiston
12/09/2013
การที่ชาวอัฟกันต้องเผชิญกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของพวกเจ้าหน้าที่อยู่ทุกวี่ทุกวัน กำลังทำให้พวกเขารู้สึกไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ และก็กำลังก่อให้เกิดความโกรธเกรี้ยวขึ้นในหมู่ประชาชนระดับรากหญ้า จนกลายเป็นปัจจัยที่หล่อเลี้ยงนำไปสู่การก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด วงจรอุบาทว์แห่งการคอร์รัปชั่นและการก่อการร้ายเช่นนี้ยังคงกำลังเคลื่อนตัวไปอย่างไม่รู้จักจบ ทั้งจากกระแสความช่วยเหลืออันมากมายมหาศาลที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศนี้ ตลอดจนจากการที่พวกชาติพันธมิตรฝ่ายตะวันตกได้รวมเอาเหล่าขุนศึกเข้ามาร่วมอยู่ในความพยายามอันล้มเหลวในการฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถานภายหลังจากการรุกราน
เฮรัต, อัฟกานิสถาน – ภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของคณะรัฐบาลประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ (Hamid Karzai) ในอัฟกานิสถานนั้น มาจากสภาวะภายในมากกว่าปัจจัยจากภายนอกเสียอีก และเจ้าสิ่งที่กำลังกัดกร่อนกลืนกินเข้าไปในระบอบปกครองนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็คืออาการป่วยไข้ที่เรียกขานกันว่า “การทุจริตคอร์รัปชั่น”
“การคอร์รัปชั่นกำลังบ่อนทำลายความถูกต้องชอบธรรมของรัฐบาลชุดนี้ซึ่งก็แทบจะไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว” กอเดอร์ ราฮิมี (Qader Rahimi) หัวหน้าสาขาภาคตะวันตกของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอัฟกานิสถาน (Afghanistan Independent Human Rights Commission) บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) “ประชาชนไม่ไว้วางใจรัฐบาลเอาเลย พวกเขาไม่เชื่อว่ารัฐบาลกำลังทำงานเพื่อประโยชน์ของทุกๆ คน”
เขากล่าวต่อไปว่า เท่าที่ผ่านมาประชาคมระหว่างประเทศรวมศูนย์ความสนใจไปที่การสู้รบปราบปรามเครือข่ายอัลกออิดะห์และการก่อการร้าย แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ประชาคมระหว่างประเทศจะต้องหันมาโฟกัสที่เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเขาระบุว่ากำลังกลายเป็น “ศัตรูตัวใหญ่ที่สุดของพวกเรา”
ทั้งนี้ตัวเลขสถิติต่างๆ ที่พอจะค้นหาอ้างอิงได้ ก็แทบจะไม่ส่งผลในการทัดทานตอบโต้การมองโลกในแง่ร้ายเช่นนี้ของเขาเอาเสียเลย ตามผลการสำรวจที่กระทำร่วมกันระหว่างสำนักงานชั้นสูงว่าด้วยการกำกับตรวจสอบและการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งอัฟกานิสถาน (Afghan High Office of Oversight and Anti-corruption ใช้อักษรย่อว่า HOOAC) และสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime ใช้อักษรย่อว่า UNODC) พลเมืองชาวอัฟกันถึงราวครึ่งหนึ่งทีเดียวต้องจ่ายสินบนในปี 2012 เมื่อไปขอรับบริการจากทางการ
รายงานผลการสำรวจคราวนี้ ที่ใช้ชื่อว่า “การทุจริตคอร์รัปชั่นในอัฟกานิสถาน: แบบแผนและแนวโน้มในระยะหลังๆ นี้” (Corruption in Afghanistan: Recent Patterns and Trends) ถูกนำออกมาเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยที่ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทุจริตดังกล่าวว่าสูงถึง 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในสภาวการณ์ที่เหลือเวลาอีกเพียงแค่ปีเศษก่อนที่กองกำลังทหารซึ่งนำโดยองค์การนาโต้ จะถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถานและปิดฉากสิ้นสุดกระบวนการในการเปลี่ยนผ่านอำนาจคืนกลับไปอยู่ในมือของชาวอัฟกันเช่นนี้ ทำให้มีการทบทวนใคร่ครวญอย่างจริงจังภายในประเทศนี้ว่า ประชาคมระหว่างประเทศและรัฐบาลอัฟกันประสบความสำเร็จอะไรบ้างนับตั้งแต่ปี 2001 เมื่อสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเริ่มต้นขึ้น ชาวอัฟกันจำนวนมากยังคงกำลังพยายามหาคำตอบว่าทำไมพวกเขาจึงยังควรที่จะอยู่ในสงครามซึ่งยืดเยื้อมาเป็นปีที่ 12 แล้ว และกำลังก่อให้เกิดความสูญเสียมากขึ้นทุกทีๆ
ตามรายงานทุกรอบครึ่งปีฉบับล่าสุดว่าด้วยการคุ้มครองพลเรือนในท่ามกลางการสู้รบขัดแย้งด้วยอาวุธ (Protection of Civilians in Armed Conflict) ซึ่งจัดทำและนำออกเผยแพร่โดยคณะทำงานเพื่อการช่วยเหลือในอัฟกานิสถานของสหประชาชาติ (United Nations Assistance Mission in Afghanistan ใช้อักษรย่อว่า UNAMA) ปรากฏว่าประเทศนี้ได้พบเห็นจำนวนพลเรือนบาดเจ็บล้มตายเพิ่มสูงขึ้นถึง 23% ในรอบเวลา 6 เดือนแรกของปี 2013 เมื่อเทียบกับระยะ 6 เดือนก่อนหน้านั้น
และหนึ่งในปัจจัยหลายๆ ประการที่ชาวอัฟกันมองว่า กำลังเป็นตัวการหล่อเลี้ยงการสู้รบขัดแย้งกันคราวนี้ ตลอดจนกำลังเป็นตัวการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้คนตัดสินใจเข้าร่วมการต่อต้านรัฐบาลได้ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ก็คือการไม่มีความเชื่อมั่นและไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจรัฐบาล
“ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลนั้นมีช่องว่างในการติดต่อสื่อสารที่ใหญ่โตมโหฬารมาก” อับดุล คอลิก สตานิคไซ (Abdul Khaliq Stanikzai) ผู้จัดการระดับภูมิภาคขององค์การการพัฒนาซานายี (Sanayee Development Organization) ที่เป็นองค์การนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ระบุ “ประชาชนนั้นไม่มีกลไกและเครื่องมือในการทำให้เสียงของพวกเขาเป็นที่รับฟังและส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล” เขาแจกแจงให้สำนักข่าวไอพีเอสฟัง
ตามความเห็นของเขาแล้ว สภาวการณ์เช่นนี้ได้ก่อให้เกิดความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันในระดับสูงลิบลิ่ว
การขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาลมีแต่จะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากช่องว่างระหว่างความคาดหวังกับผลสำเร็จที่เป็นจริงกำลังถ่างกว้าง ไม่ว่าจะในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ, การรับประกันสิทธิเสรีภาพต่างๆ , การมีสถาบันที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหนือสิ่งอื่นใดเลย ย่อมได้แก่ในด้านความยุติธรรมทางสังคมและความเท่าเทียมกันทางสังคม
“ในตอนแรกๆ หลังจากมีการถอดถอนระบอบปกครองตอลิบานออกไปแล้ว ประชาชนต่างมีความหวังกันว่าจะเกิดรัฐบาลที่โปร่งใสและเท่าเทียมขึ้นมา ทว่ามาถึงเวลานี้ ไม่มีใครคาดหมายอะไรจากรัฐบาลชุดนี้กันแล้ว” อาซิฟ คาริมี (Asif Karimi) ผู้ประสานงานโครงการประจำคาบูลขององค์การ “ลิเอซอน ออฟฟิศ” (Liaison Office) องค์การของชาวอัฟกันซึ่งเน้นหนักที่เรื่องการสร้างสันติภาพแบบชุมชนนิยม (communitarian peace-building) กล่าวให้ความเห็น เขาบอกกับสำนักข่าวไอพีเอสต่อไปว่า เวลานี้ประชาชนส่วนใหญ่ต่างวางตัวเป็นกลาง ไม่ต้องการรัฐบาลและก็ไม่ต้องการตอลิบาน
ขณะที่ มิรวาอิส อาโยบิ (Mirwais Ayobi) อาจารย์ด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเฮรัต (University of Herat) ถึงขนาดคิดว่าประชาชนกำลังรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจฝ่ายตอลิบานมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยซ้ำ “ถ้าคุณขอให้พวกตอลิบานแก้ไขข้อพิพาท” เขากล่าวกับสำนักข่าวไอพีเอส “พวกเขาจะเน้นไปเรื่องที่การรอมชอมกันแทนที่จะเอาแต่เรียกร้องขอเงินทอง”
อาจารย์ผู้นี้มองว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบการเมืองและระบบบริหาร กำลังกลายเป็นปัญหาท้าทายที่ใหญ่โตยิ่ง เนื่องจากมันกำลังกัดกร่อนบันทอนความไว้วางใจของพลเมือง
อัฟกานิสถานนั้นถูกจัดให้อยู่ในระดับย่ำแย่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในดัชนีความรับรู้เกี่ยวกับคอร์รัปชั่น (Corruption Perceptions Index) ประจำปี 2012 ขององค์การเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ (Transparency International) โดยยังดีกว่า โซมาเลีย และ เกาหลีเหนือ เท่านั้น
เมื่อว่ากันในเรื่องขนาดของสินบนที่ประชาชนชาวอัฟกันต้องจ่าย รายงานการสำรวจของ HOOAC-UNODC ระบุว่า ผิดแผกแตกต่างกันไปในแต่ละภาคส่วน
“สินบนมีแนวโน้มที่จะเป็นก้อนใหญ่ยิ่งขึ้นในแวดวงการยุติธรรม” รายงานฉบับนี้ชี้ “โดยที่เงินสินบนเฉลี่ยที่ต้องจ่ายให้แก่พวกอัยการและพวกผู้พิพากษานั้นอยู่ในระดับสูงกว่า 300 ดอลลาร์” ขณะที่จำนวนสินบนที่ต้องให้แก่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบระดับท้องถิ่นและพวกเจ้าหน้าที่ด้านศุลกากรจะต่ำลงมาเล็กน้อย โดยอยู่ที่ มากกว่า 200 ดอลลาร์ สำหรับสิบนที่ต้องจ่ายให้เจ้าหน้าที่ภาคส่วนอื่นๆ อยู่ในระดับตั้งแต่ 100 ดอลลาร์ไปจนถึง 150 ดอลลาร์ รายงานฉบับนี้ระบุ
มีหลายๆ คนที่มองปัญหานี้ว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง คนหนึ่งคือ เราะห์มาน ซาลาฮี (Rahman Salahi) อดีตประธานของ “ชูรอนักวิชาชีพแห่งเฮรัต” (Herat Professionals Shura ชูรอแปลว่าสภา) ซึ่งเป็นองค์การอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในจังหวัดทางภาคตะวันตกของอัฟกานิสถานแห่งนี้ โดยที่มีทั้งสมาคมของทนายความ, นักเศรษฐศาสตร์, ครูอาจารย์, วิศวกร, และบุคคลในวิชาชีพอื่นๆ มารวมตัวกัน ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะผลักดันทำให้ภาคประชาชนมีบทบาทแข็งขันยิ่งขึ้นในการฟื้นฟูบูรณะประเทศ
“จวบจนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เรายังมีสิ่งที่เป็นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมโดยพื้นฐาน ซึ่งอิงอยู่กับตัวแบบที่เหลือทิ้งเอาไว้ในยุคการเข้ามายึดครองของสหภาพโซเวียต” ซาลาฮี บอกกับไอพีเอส “แต่เมื่อประชาคมระหว่างประเทศเข้ามา เราก็ได้ยอมรับระบบการค้าเสรีโดยที่ขาดไร้พวกโครงสร้างเชิงสถาบันที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับการกำกับตรวจสอบและสำหรับการวางแนวทางนโยบาย”
สำหรับ อันโตนิโอ กีสตอซซี (Antonio Giustozzi) ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (visiting professor) แห่งภาควิชาการสงครามศึกษา (Department of War Studies) ที่สถาบันคิงส์คอลเลจ กรุงลอนดอน (King's College, London) อีกทั้งเป็นผู้ชำนาญการในเรื่องอัฟกานิสถาน เขาให้ความเห็นว่า “การที่มีความช่วยเหลือปริมาณมากมายไหลทะลักเข้ามายังประเทศนี้ ขณะที่พวกกลไกสำหรับการแจกจ่ายแบ่งสรรและมอบหมายความช่วยเหลือเหล่านี้ไปยังภาคส่วนต่างๆ อยู่ในสภาพที่เกินกำลังความสามารถของสังคมโดยรวมที่จะดูดซับเอาไว้ได้ ตลอดจนเกินกำลังความสามารถของสถาบันต่างๆ ของประเทศนี้ที่จะบริหารจัดการความช่วยเหลือเหล่านี้”
สภาพความไม่เหมาะสมกันระหว่างความช่วยเหลือที่ไหลทะลักเข้ามาอย่างมากมายกว้างขวาง กับศักยภาพความสามารถในการดูดซึมที่ยังคงคับแคบอยู่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น กีสตอซซีกล่าว และแสดงทัศนะต่อไปว่า เขาคิดว่าในเวลานี้ การคอร์รัปชั่นกำลัง “ท่วมท้นเต็มไปหมดภายในระบบการเมือง” ของอัฟกานิสถาน
นอกเหนือจากเหตุผลเชิงโครงสร้างเหล่านี้แล้ว ประชาคมระหว่างประเทศก็ถูกมองว่าเป็นตัวการบ่มเพาะวัฒนธรรมแห่งการยกเว้นไม่ลงโทษผู้กระทำผิดขึ้นมาในอัฟกานิสถาน ด้วยการยินยอมมอบอำนาจให้แก่พวกซึ่งเรียกขานกันว่า “ขุนศึก” (warlord)
“พวกองค์กรระหว่างประเทศนั้นมอบอำนาจทางการเมืองและเงินทองให้แก่พวกขุนศึก, ให้แก่พวกที่ก่ออาชญากรรม, ให้แก่พวกที่เคยฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นพันเป็นหมื่นคนมาแล้ว, ให้แก่พวกที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่ในระบบทุจริตคอร์รัปชั่น” ไซเอด อิคราม อัฟซาลี (Sayed Ikram Afzali) ผู้อำนวยการขององค์การภาคประชาชนที่ใช้ชื่อว่า องค์การการสนับสนุนและการสื่อสารเพื่อการเฝ้าติดตามความซื่อตรงแห่งอัฟกานิสถาน (Advocacy and Communication for Integrity Watch Afghanistan) ระบุ
“ประชาชนเคยมีความหวังว่าสิ่งต่างๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และพวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมและความเท่าเทียม หลังจากพวกตอลิบานพ่ายแพ้ไปแล้ว” เขาบอกกับไอพีเอส ทว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาเลย
กระนั้น เขาก็ยังแสดงความรู้สึกว่ายังคงมีความหวังเหลืออยู่ “พวกขุนศึกนั้นไม่ได้มีรากเหง้าที่หยั่งลึกในหมู่ประชาชนแต่อย่างใด พวกเขาปฏิเสธไม่ให้ความยุติธรรมทางสังคมแก่ประชาชน พวกเขาจี้จับรัฐไปเป็นตัวประกัน ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะปลดปล่อยรัฐให้เป็นอิสระจากพวกขุนศึกเหล่านี้”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)