เอพี - หัวหน้าคณะกรรมาธิการต่างประเทศของ รัฐสภารัสเซีย อเล็กซี พูชคอฟ ทวีตข้อความเย้ยสหรัฐฯในทันทีหลังเกิดเหตุกราดยิงในฐานทัพเรือสหรัฐฯในวอชิงตัน เมื่อวันจันทร์ (17) ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 13 คน โดยเขาหยามอเมริกาว่านี่เป็นการยืนยันถึง “ American exceptionalism” ในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ที่มีต่อการใช้กำลังทหารโจมตีซีเรีย เมื่อวันอังคาร (10)
อเล็กซี พูชคอฟ หัวหน้าคณะกรรมาธิการต่างประเทศของ รัฐสภารัสเซีย ได้ทวีตในวันจันทร์ (16) หลังเหตุการณ์กราดยิงในฐานทัพเรือสหรัฐฯในวอชิงตัน ที่มีผู้เสียชีวิต 13 คน โดยเขาได้กล่าวว่า “ไม่มีใครรู้สึกแปลกใจอีกต่อไปแล้วต่อเหตุการณ์กราดยิงในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นคำยืนยันอย่างหนักแน่นต่อความเชื่อ American exceptionalism”
ซึ่ง American exceptionalism มีต้นกำเนิดมาจาก America Communist Party ที่มาจากคำวิพากษ์ของโจเซฟ สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต ในปี 1929 นั้นเป็นความคิดในหมู่คนอเมริกันที่ว่า สหรัฐฯเป็นประเทศที่แตกต่างจากประเทศอื่นในโลกนี้ด้วยเหตุที่ว่า เป็นประเทศทเกิดใหม่ที่มีที่มาจากการต่อสู้เพื่อไม่มีระบบศักดินาที่ดิน มีความเชื่อที่หนักแน่นในพระเจ้าที่มีชาวพิวริตันเป็นผู้วางรากฐานประเทศ และมีประชาชนหลากหลายเชื้อชาติอพยพเข้ามาอยู่จากหลายแห่งทั่วโลก เป็นศูนย์กลางของการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างอยู่รวมกัน ด้วยความรักในเสรีภาพ ความเท่าเทียม และตลาดเสรีนิยม และการเมืองอเมริกันในรูปแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ทำให้ประเทศอเมริกาที่ทำให้คนอเมริกันรู้สึกว่าสหรัฐฯเป็นตัวอย่างของประเทศในโลกนี้ จึงเป็นสาเหตุว่าอเมริกาสามารถทำหรือไม่ต้องทำในสิ่งที่ประเทศอื่นๆ ทำ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนอเมริกันรู้สึกว่า มีหลายอย่างที่พวกเขาหรือสหรัฐฯได้รับข้อยกเว้นหรือมีสิทธิ์ที่จะทำอะไรในหลายอย่าง เหตุเพราะพวกเขาอยู่ในประเทศที่จำลองมาจากประชาคมโลก
โดยพูชคอฟได้เสียดสี “American exceptionalism” จากสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ที่มีต่อการใช้กำลังทหารโจมตีซีเรียเมื่อวันอังคาร (10) ที่ว่า “ความเชื่อโดยพื้นฐานและหลักการของสหรัฐฯ ตลอดจนความมั่นคงของประเทศเป็นตัวประกันในสงครามซีเรีย โดยแท้จริงแล้ว อเมริกานั้นไม่ใช่ตำรวจโลก แต่ทว่ามีสิ่งที่เลวร้ายมากเกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่ง และมันเกินกว่าที่เราจะใช้ทรัพยากรประเทศแก้ไขสิ่งผิดทุกอย่างให้ถูกได้ แต่ด้วยความพยายามที่อยู่ในขอบเขตจำกัดและความท้าทาย เราสามารถช่วยไม่ให้เด็กซีเรียต้องเสียชีวิตจากแก๊ซซารีนได้ และด้วยเหุตนั้นจะเป็นหลักประกันให้ลูกหลานอเมริกันมีความปลอดภัยในระยะยาว ผมคิดว่าเราต้องลงมือปฎิบัติ และนั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมประเทศสหรัฐฯถึงมีความแตกต่าง และทำให้พวกเราชาวอเมริกันมีความพิเศษ (exceptional) อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดในการปฎิบัติทหารเพื่อการแก้ไข เราควรจะยังคงจำต่อต้นเหตุสำคัญของปัญหานี้”
นอกจากนี้ พูชคอฟ นั้นยังเป็นผู้ดำเนินรายการทอล์คโชว์ข่าวการเมือง ที่เขาจัดเป็นนักการเมืองที่มีความคิดต่อต้านสหรัฐฯมากที่สุดในรัฐสภารัสเซีย
และก่อนหน้านี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียได้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ New York Timesเปิดใจตั้งคำถามถึง นิยาม “American Exceptionalism” ไปยังชาวอเมริกันในสหรัฐฯเพื่อเตือนใจเรื่องการอนุญาตให้รัฐบาลสหรัฐฯใช้กำลังทหารถล่มซีเรีย ในชื่อ “ข้อเตือนใจจากรัสเซีย ไปยังชาวอเมริกันและเหล่าผู้นำการเมืองสหรัฐฯ” โดยเขาได้วิพากษ์สหรัฐฯว่า เป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ที่เห็นว่าอเมริกาเป็นประเทศที่พิเศษ (exceptional) โดยเขาได้อ้างถึงคำพูดของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ในคืนดึกวันอังคาร (10) ที่กล่าวถึงการใช้กำลังทหารโจมตีซีเรียว่า “ความเชื่อโดยพื้นฐานและหลักการของสหรัฐฯทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของโอบามาต้องการให้รัฐบาลซีเรียรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองกระทำ และ “นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้สหรัฐฯแตกต่าง” โดยในข้อความที่ปูตินต้องการสื่อไปยังชาวอเมริกันนั้นต้องการโจมตีความคิด “American Exceptionalism” ที่รวมไปถึงที่เขากล่าวว่า “มันเป็นอันตรายอย่างมากที่กระตุ้นให้ประชาชนของตัวเองมองว่าพวกเขาเป็นบุคคลที่ “พิเศษ” ไม่ว่าจุดมุ่งหมายจะเพื่ออะไรก็ตาม พวกเรานั้นมีความต่าง แต่เมื่อเราขอให้พระเจ้าให้พร เราต้องไม่ลืมว่าพระเจ้าสร้างพวกเราเท่าเทียมกัน”
ในขณะที่ผู้นำเสียข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐฯ แนนซี เพโลซี โต้ปูตินเรื่อง “ความเท่าเทียม” จากบทความ “ข้อเตือนใจจากรัสเซีย ไปยังชาวอเมริกันและเหล่าผู้นำการเมืองสหรัฐฯ” ของเขาว่า “มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่พบว่า ในตอนท้ายๆของบทความที่ปูตินเอ่ยถึงว่า พวกเราที่สวดอ้อนวอนถึงพระองค์ผู้ซึ่งกำลังตัดสินพวกเราอยู่ ดิฉันไม่รู้ว่าปูตินเขียนข้อความอะไรไว้ แต่ที่แน่ๆ คือเขากล่าวว่า “พวกเราล้วนเป็นบุตรของพระองค์ “ดิฉันคิดว่านั่นมันวิเศษมาก และดิฉันหวังว่ามันคงจะรวมไปถึงทั้งกลุ่มเกย์และเลสเบียนในรัสเซีย”