(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Manila, Tokyo brothers in arms
By Julius Cesar I Trajano
15/08/2013
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กับประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ของฟิลิปปินส์ ได้ทำความตกลงกันเมื่อเดือนกรกฎาคมที่เพิ่งผ่านมา ที่จะส่งเสริมเพิ่มพูน “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ระหว่างประเทศทั้งสองให้เข้มแข็งและรอบด้าน ขณะที่โตเกียวกับมะนิลาย่อมมีเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างมากมายที่จะดึงดูดให้เคลื่อนเข้ามาผูกพันกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่การที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความปรารถนาร่วมกันในเรื่องการต่อต้านคานอำนาจจีนต่างหาก คือปัจจัยสำคัญที่ขยายขนาดขอบเขตของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กับประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ของฟิลิปปินส์ เห็นพ้องต้องกันที่จะส่งเสริมเพิ่มพูน “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ของประเทศทั้งสองให้บังเกิดความเข้มแข็งและรอบด้าน ในระหว่างการพบปะหารือของผู้นำทั้งสองในกรุงมะนิลาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะที่โตเกียวกับมะนิลาย่อมมีเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างมากมายที่จะดึงดูดให้เคลื่อนเข้ามาผูกพันกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่การที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความปรารถนาร่วมกันในเรื่องการต่อต้านคานอำนาจจีนต่างหาก คือปัจจัยสำคัญที่ขยายขนาดขอบเขตของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้
อาเบะนั้นได้ประกาศแผนการริเริ่มสำคัญๆ หลายๆ ด้านภายหลังการพบปะเจรจากันครั้งนี้ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะค้ำจุนหนุนส่งความเป็นพันธมิตรกันระหว่างโตเกียวกับมะนิลา เป็นต้นว่า แผนการในการร่วมมือกันระดับสูงทางด้านการเดินเรือทะเล, การเพิ่มพูนความร่วมมือทวิภาคีในทางเศรษฐกิจ, การขยายวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติของฟิลิปปินส์, และการเข้าช่วยเหลือกระบวนการสร้างสันติภาพบนเกาะมินดาเนาทางภาคใต้ของแดนตากาล็อก
กระนั้นก็ตาม ในขณะที่การพิพาทช่วงชิงดินแดนกับจีน เป็นหนึ่งในความท้าทายทางความมั่นคงระดับภูมิภาคซึ่งผู้นำทั้งสองได้หยิบยกขึ้นมาพูดจาหารือกันในคราวนี้ แต่สิ่งที่มองกันว่าเป็นภัยคุกคามจากปักกิ่งนี้ ก็ไม่ได้เป็นเสาหลักเพียงเสาเดียวในสายสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่กำลังผลิดอกออกช่ออย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ความเป็นหุ้นส่วนกันทางยุทธศาสตร์ระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์ได้รับการสถาปนาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเป็นครั้งแรกในรูปของคำแถลงร่วมระหว่างผู้นำของประเทศทั้งสองเมื่อปี 2011 โดยในเบื้องต้นนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ, ผู้คน, และการลงทุนระหว่างกัน อันเป็นการนำเอาข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ (Japan-Philippines Economic Partnership Agreement) ซึ่งได้ลงนามกันไว้ตั้งแต่ปี 2006 มาปฏิบัติให้เป็นจริงนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เริ่มต้นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สองของอาเบะเมื่อช่วงเกือบๆ สิ้นปี 2012 ที่ผ่านมา (เขาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกในช่วงปี 2006-2007) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์ก็ได้กลายเป็นด้านที่ทรงความสำคัญชนิดครอบงำความสัมพันธ์ทวิภาคีอันกำลังเบ่งบานอย่างรวดเร็วนี้ทีเดียว อาเบะใช้โอกาสในการหารือกับอากีโนคราวนี้เพื่อย้ำยืนยันอีกครั้งว่า ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองกำลังรักษาชายฝั่งของฟิลิปปินส์ (Philippine Coast Guard) ด้วยการจัดหาเรือตรวจการณ์ส่งให้เป็นจำนวน 10 ลำโดยที่แดนอาทิตย์อุทัยจะเป็นผู้ปล่อยเงินกู้ให้แดนตากาล็อกเพื่อการนี้ เป็นไปได้เป็นอย่างสูงว่า ความช่วยเหลือดังกล่าวนี้จะมีส่วนสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ที่กำลังช่วงชิงอยู่กับแดนมังกร
ขณะที่สำหรับทางฟิลิปปินส์แล้ว ยุทธศาสตร์สำคัญที่วางเอาไว้ก็คือการเพิ่มพูนความร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรทั้งหลายเพื่อช่วยชดเชยสมรรถนะทางทหารที่ยังอยู่ในระดับจำกัดของตนเอง ในเวลาที่ความไม่มั่นคงทางทะเลกำลังเพิ่มทวีขึ้น และความร่วมมือทางทะเลกับญี่ปุ่นให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ก็คือส่วนที่สำคัญยิ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ นอกจากนั้น การขยายความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์กับญี่ปุ่นให้แข็งแรงและรอบด้านยิ่งขึ้น ยังเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจของมะนิลาที่จะทำให้ข้อพิพาทต่างๆ ในเขตทะเลจีนใต้กลายเป็นประเด็นระดับนานาชาติ และตอบโต้การยืนกรานของปักกิ่งที่จะให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการเจรจากันแบบทวิภาคีเท่านั้น แทนที่จะอาศัยกลไกพหุภาคีมาคลี่คลายความบาดหมาง
เมื่อไม่นานมานี้เอง อากีโนออกมาประกาศว่าสหรัฐฯกับญี่ปุ่นจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงฐานทัพเรืออ่าวซูบิก (Subic Naval Base) ซึ่งเป็นค่ายทหารเรือเก่าขนาดใหญ่โตมหึมาของสหรัฐฯที่ตั้งประจันอยู่ตรงทะเลจีนใต้ ท่าท่าเช่นนี้ย่อมจะทำให้ฟิลิปปินส์ได้โอกาสแสดงบทบาทอันสำคัญอยู่ในยุทธศาสตร์การป้องกันที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งเน้นที่การจัดส่งกำลังทหารนาวิกโยธิน และอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) ประเภทตรวจการณ์ ออกไปพิทักษ์คุ้มครองหมู่เกาะเล็กหมู่เกาะน้อยต่างๆ ของตนที่อยู่ห่างไกลออกไป บวกกับยุทธศาสตร์ด้านนโยบายการต่างประเทศวงกว้างที่ให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์อย่างแข็งขันกับบรรดา 10 ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน
ว่าไปแล้ว ความริเริ่มระดับทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์เหล่านี้ มีเจตนาที่จะสร้างภาพลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองให้ปรากฏออกมาสู่ภายนอกว่า มีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักมีชีวิตชีวา และวาดหวังว่าจะมีผลในทางป้องปรามจีนไม่ให้มุ่งหน้าดำเนินความเคลื่อนไหวแบบแข็งกร้าวในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ เหมือนกับที่แดนมังกรประพฤติปฏิบัติอยู่ในระยะหลังๆ นี้ ซึ่งก็รวมไปถึงการเผชิญหน้าอย่างตึงเครียดกับฟิลิปปินส์ในปีที่แล้วในบริเวณสันดอนสการ์โบโร โชล (Scarborough Shoal) ซึ่งทั้งแดนมังกรและแดนตากาล็อกต่างอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกัน อย่างไรก็ดี ฟิลิปปินส์จะเป็นฝ่ายที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน ถ้าหากเห็นไปว่าญี่ปุ่นเพียงรายเดียวโดดๆ ก็เพียงพอแล้วที่จะถ่วงดุลทัดทานการที่จีนกำลังเร่งสร้างสมแสนยานุภาพทางทหารอยู่ในเวลานี้ ซึ่งก็รวมถึงการขยายกำลังทางนาวีอย่างต่อเนื่องด้วย
การมีเรือตรวจการณ์ใหม่ๆ 1 กอง และการยินยอมให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปใช้ฐานทัพต่างๆ ของฟิลิปปินส์ได้ จะยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนดุลอำนาจทางนาวีในทะเลจีนใต้ได้ ขณะที่การอนุญาตให้สหรัฐฯเข้าไปใช้อ่าวซูบิกได้นั้นย่อมเป็นสิ่งที่สามารถสร้างผลกระทบอันใหญ่โตได้มากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัยเลย อย่างไรก็ดี แผนการริเริ่มต่างๆ เหล่านี้ก็มีผลดีในด้านการเพิ่มพูนยกระดับสมรรถนะในการเฝ้าระวังอาณาบริเวณทางทะเลของฟิลิปปินส์ ในเวลาเดียวกันก็ช่วยญี่ปุ่นในเรื่องการเฝ้าติดตามกิจกรรมทางการเดินเรือทะเลของจีน ตลอดจนการสั่งสมแสนยานุภาพทางนาวีของแดนมังกร
แน่นอนทีเดียวว่า การรื้อฟื้นชุบชีวิตความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ให้กลับคึกคักขึ้นมาใหม่ ยังมีแรงผลักดันจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจอีกด้วย ทั้งนี้ อาเบะ กับ อากีโน ต่างให้คำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคี ในช่วงเวลาซึ่งพูดได้ว่าประเทศชาติของพวกเขาทั้งสองกำลังอยู่ในยุคเรอนาซองส์ (renaissance) ทางเศรษฐกิจ ทั้งคู่ต่างได้รับความเชื่อมั่นยอมรับจากพวกนักลงทุนนานาชาติ เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจต่างๆ ในลักษณะมุ่งผสมผสานการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลัง กับการปฏิรูปต่างๆ ในเชิงโครงสร้างเข้าด้วยกัน
การที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ใหม่นั้น คำตอบส่วนหนึ่งย่อมอยู่ที่การสร้างและการพัฒนาการเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจที่เร้าใจของเหล่าชาติสมาชิกอาเซียนให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง สำหรับฟิลิปปินส์นั้นกำลังกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตขยายตัวรวดเร็วที่สุดในภูมิภาค ดังนั้นจึงอยู่ในฐานะอันดีที่จะชนะใจวงการธุรกิจของญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการมีแรงจูงใจด้านการลงทุนที่สามารถแข่งขันกับชาติอื่นๆ ได้ ตลอดจนการที่มีตลาดซึ่งมีความเป็นมิตรกับต่างประเทศ
คุณสมบัติเหล่านี้เปรียบเทียบกันแล้วย่อมเป็นที่น่าพอใจมากกว่าสภาวการณ์ของธุรกิจญี่ปุ่นในจีน ซึ่งในการดำเนินงานต้องถูกรบกวนขัดขวางอยู่บ่อยๆ รวมทั้งจากกระแสการประท้วงแบบชาตินิยมมุ่งต่อต้านญี่ปุ่นด้วย องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization หรือ เจโทร) ระบุว่า ในปัจจุบันฟิลิปปินส์อยู่ในฐานะเป็นศูนย์สร้างกำไรที่มีผลงานดีที่สุด สำหรับพวกบริษัทญี่ปุ่นที่กำลังดำเนินงานอยู่ในภูมิภาคแถบนี้
ในเวลาเดียวกันนั้น อากีโนบอกด้วยว่า ญี่ปุ่นสามารถที่จะเป็นผู้ผลักดันรายสำคัญ เพื่อให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีอัตราการเติบโตอันน่าพอใจต่อไปในอนาคต ทั้งนี้คณะรัฐบาลของเขาเวลานี้กำลังหันมาพึ่งพาอาศัยเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment หรือ FDI) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อขับดันการขยายภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ และบรรลุเป้าหมายนโยบายสาธารณะของเขาที่มุ่งจะทำให้เกิดการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบที่ประชาชนทั้งหลายมีส่วนร่วมให้มากขึ้นอีก
ในปี 2012 ญี่ปุ่นคือคู่ค้ารายสำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของฟิลิปปินส์ ด้วยมูลค่าการค้าทวิภาคีที่อยู่ในระดับ 16,000 ล้านดอลลาร์ ยิ่งกว่านั้นในปีที่แล้ว แดนอาทิตย์อุทัยยังมีฐานะเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องแหล่งที่มาของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการซึ่งไหลเข้าสู่ฟิลิปปินส์ อีกทั้งอยู่ในตำแหน่งอันดับสอง ของการเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
เวลานี้ฟิลิปปินส์ยังคงกำลังพยายามเกี้ยวพาเหล่านักลงทุนชาวญี่ปุ่นอย่างกระตือรือร้น รวมทั้งในระหว่างที่อาเบะมาเยือนมะนิลาเมื่อเดือนที่แล้วด้วย เพื่อให้เข้ามีส่วนได้ส่วนเสียในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันใหญ่โตมหึมาของอากีโน ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายโตเกียวก็ได้แสดงความกระตือรือร้นในการทุ่มเทความช่วยเหลืออันสำคัญมากเข้าไปในเกาะมินดาเนา เกาะใหญ่ทางภาคใต้ของแดนตากาล็อกที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทว่ายังด้อยพัฒนาอยู่มาก และก็เป็นพื้นที่ซึ่งร้อนระอุด้วยปัญหาชนมุสลิมส่วนน้อยที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ โดยที่เวลานี้รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงสันติภาพกันกับกลุ่มกบฏ “แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร” (Moro Islamic Liberation Front หรือ MILF)
ในเวลาเดียวกับที่ อากีโน แสดงความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนที่จะทำให้ข้อตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายกับ MILF ซึ่งคาดหมายกันว่าจะสามารถบรรลุได้ภายในปีนี้ เป็นมรดกสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งแห่งวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา ทางฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้สร้างคุณูปการอย่างสำคัญให้แก่กระบวนการนี้ ด้วยโครงการการพัฒนาต่างๆ ในมินดาเนา ภายใต้แผนการที่เรียกขานกันว่า โครงการริเริ่มญี่ปุ่น-บังซาโมโรเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนา (Japan-Bangsamoro Initiatives for Reconstruction and Development ใช้อักษรย่อว่า J-BIRD)
ฟิลิปปินส์กับญี่ปุ่นกำลังผูกพันกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเช่นนี้ ถึงแม้ความสัมพันธ์ของสองฝ่ายได้ผ่านช่วงประวัติศาสตร์อันขมขื่นกันมาในอดีต ทั้งนี้สตรีชาวฟิลิปปินส์ผู้รอดชีวิตจากระบบทาสกามารมณ์ของบรรดาทหารในกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “นางบำเรอ” (comfort women) ในระหว่างสงครามครั้งที่สองนั้น ได้เร่งเร้าอากีโนให้หยิบยกข้อเรียกร้องของพวกเธอขึ้นมาหารือกับผู้นำญี่ปุ่น โดยเฉพาะการเรียกร้องให้อาเบะแสดงการขอโทษอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม อากีโนไม่ได้นำเอาประเด็นนี้ขึ้นมาพูดแต่อย่างใดในระหว่างการพบปะเจรจาทวิภาคีกับอาเบะ และยังแสดงท่าทีให้เห็นด้วยซ้ำว่าฟิลิปปินส์นั้นได้ก้าวพ้นออกมาจากความขัดแย้งในทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่กับญี่ปุ่นแล้ว ก่อนหน้านั้นไม่นานนัก รัฐบาลของเขาแถลงว่าจะให้ความสนับสนุนอย่างแข็งขันแก่การที่ญี่ปุ่นจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับสันตินิยมของตนที่ใช้มาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อให้แดนอาทิตย์อุทัยสามารถเดินหน้าเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารได้อย่างเต็มที่ไร้ข้อจำกัดทางกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากฟิลิปปินส์วาดหวังว่า ญี่ปุ่นที่ติดอาวุธแข็งแกร่งจะเป็นตัวช่วยคานอำนาจทัดทานจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนั่นเอง
การบรรจบกันของผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ระดับโลกและผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างลงตัวกันเช่นนี้ เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ประเทศทั้งสองเอาชนะความทรงจำเกี่ยวกับอดีตอันขมขื่น และหันมาสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบใหม่ที่คึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นมา ทั้งนี้ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฟิลิปปินส์กับญี่ปุ่นก็เพิ่มความใกล้ชิดกันมากขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากความผูกพันกันในทางเศรษฐกิจอันสดใสเข้มแข็ง และยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ด้วยแล้ว ทั้งสองประเทศยังอยู่ในฐานะเป็น “มิตรร่วมรบ” ในการต่อต้านคานอำนาจจีน ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและต่อผลประโยชน์ของพวกเขาทั้งสอง
ข้อเขียนนี้ปรากฏอยู่ในส่วน “Speaking Freely ” ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดทางให้เหล่านักเขียนรับเชิญสามารถแสดงความคิดเห็นของพวกตน โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ
จูเลียส ซีซาร์ ไอ ตราจาโน เป็นนักวิเคราะห์อาวุโส อยู่ที่ สถาบัน เอส ราชารัตนัม เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา (S Rajaratnam School of International Studies ใช้อักษรย่อว่า RSIS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์
Manila, Tokyo brothers in arms
By Julius Cesar I Trajano
15/08/2013
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กับประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ของฟิลิปปินส์ ได้ทำความตกลงกันเมื่อเดือนกรกฎาคมที่เพิ่งผ่านมา ที่จะส่งเสริมเพิ่มพูน “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ระหว่างประเทศทั้งสองให้เข้มแข็งและรอบด้าน ขณะที่โตเกียวกับมะนิลาย่อมมีเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างมากมายที่จะดึงดูดให้เคลื่อนเข้ามาผูกพันกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่การที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความปรารถนาร่วมกันในเรื่องการต่อต้านคานอำนาจจีนต่างหาก คือปัจจัยสำคัญที่ขยายขนาดขอบเขตของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กับประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ของฟิลิปปินส์ เห็นพ้องต้องกันที่จะส่งเสริมเพิ่มพูน “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ของประเทศทั้งสองให้บังเกิดความเข้มแข็งและรอบด้าน ในระหว่างการพบปะหารือของผู้นำทั้งสองในกรุงมะนิลาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะที่โตเกียวกับมะนิลาย่อมมีเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างมากมายที่จะดึงดูดให้เคลื่อนเข้ามาผูกพันกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่การที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความปรารถนาร่วมกันในเรื่องการต่อต้านคานอำนาจจีนต่างหาก คือปัจจัยสำคัญที่ขยายขนาดขอบเขตของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้
อาเบะนั้นได้ประกาศแผนการริเริ่มสำคัญๆ หลายๆ ด้านภายหลังการพบปะเจรจากันครั้งนี้ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะค้ำจุนหนุนส่งความเป็นพันธมิตรกันระหว่างโตเกียวกับมะนิลา เป็นต้นว่า แผนการในการร่วมมือกันระดับสูงทางด้านการเดินเรือทะเล, การเพิ่มพูนความร่วมมือทวิภาคีในทางเศรษฐกิจ, การขยายวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติของฟิลิปปินส์, และการเข้าช่วยเหลือกระบวนการสร้างสันติภาพบนเกาะมินดาเนาทางภาคใต้ของแดนตากาล็อก
กระนั้นก็ตาม ในขณะที่การพิพาทช่วงชิงดินแดนกับจีน เป็นหนึ่งในความท้าทายทางความมั่นคงระดับภูมิภาคซึ่งผู้นำทั้งสองได้หยิบยกขึ้นมาพูดจาหารือกันในคราวนี้ แต่สิ่งที่มองกันว่าเป็นภัยคุกคามจากปักกิ่งนี้ ก็ไม่ได้เป็นเสาหลักเพียงเสาเดียวในสายสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่กำลังผลิดอกออกช่ออย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ความเป็นหุ้นส่วนกันทางยุทธศาสตร์ระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์ได้รับการสถาปนาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเป็นครั้งแรกในรูปของคำแถลงร่วมระหว่างผู้นำของประเทศทั้งสองเมื่อปี 2011 โดยในเบื้องต้นนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ, ผู้คน, และการลงทุนระหว่างกัน อันเป็นการนำเอาข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ (Japan-Philippines Economic Partnership Agreement) ซึ่งได้ลงนามกันไว้ตั้งแต่ปี 2006 มาปฏิบัติให้เป็นจริงนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เริ่มต้นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สองของอาเบะเมื่อช่วงเกือบๆ สิ้นปี 2012 ที่ผ่านมา (เขาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกในช่วงปี 2006-2007) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์ก็ได้กลายเป็นด้านที่ทรงความสำคัญชนิดครอบงำความสัมพันธ์ทวิภาคีอันกำลังเบ่งบานอย่างรวดเร็วนี้ทีเดียว อาเบะใช้โอกาสในการหารือกับอากีโนคราวนี้เพื่อย้ำยืนยันอีกครั้งว่า ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองกำลังรักษาชายฝั่งของฟิลิปปินส์ (Philippine Coast Guard) ด้วยการจัดหาเรือตรวจการณ์ส่งให้เป็นจำนวน 10 ลำโดยที่แดนอาทิตย์อุทัยจะเป็นผู้ปล่อยเงินกู้ให้แดนตากาล็อกเพื่อการนี้ เป็นไปได้เป็นอย่างสูงว่า ความช่วยเหลือดังกล่าวนี้จะมีส่วนสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ที่กำลังช่วงชิงอยู่กับแดนมังกร
ขณะที่สำหรับทางฟิลิปปินส์แล้ว ยุทธศาสตร์สำคัญที่วางเอาไว้ก็คือการเพิ่มพูนความร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรทั้งหลายเพื่อช่วยชดเชยสมรรถนะทางทหารที่ยังอยู่ในระดับจำกัดของตนเอง ในเวลาที่ความไม่มั่นคงทางทะเลกำลังเพิ่มทวีขึ้น และความร่วมมือทางทะเลกับญี่ปุ่นให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ก็คือส่วนที่สำคัญยิ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ นอกจากนั้น การขยายความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์กับญี่ปุ่นให้แข็งแรงและรอบด้านยิ่งขึ้น ยังเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจของมะนิลาที่จะทำให้ข้อพิพาทต่างๆ ในเขตทะเลจีนใต้กลายเป็นประเด็นระดับนานาชาติ และตอบโต้การยืนกรานของปักกิ่งที่จะให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการเจรจากันแบบทวิภาคีเท่านั้น แทนที่จะอาศัยกลไกพหุภาคีมาคลี่คลายความบาดหมาง
เมื่อไม่นานมานี้เอง อากีโนออกมาประกาศว่าสหรัฐฯกับญี่ปุ่นจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงฐานทัพเรืออ่าวซูบิก (Subic Naval Base) ซึ่งเป็นค่ายทหารเรือเก่าขนาดใหญ่โตมหึมาของสหรัฐฯที่ตั้งประจันอยู่ตรงทะเลจีนใต้ ท่าท่าเช่นนี้ย่อมจะทำให้ฟิลิปปินส์ได้โอกาสแสดงบทบาทอันสำคัญอยู่ในยุทธศาสตร์การป้องกันที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งเน้นที่การจัดส่งกำลังทหารนาวิกโยธิน และอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) ประเภทตรวจการณ์ ออกไปพิทักษ์คุ้มครองหมู่เกาะเล็กหมู่เกาะน้อยต่างๆ ของตนที่อยู่ห่างไกลออกไป บวกกับยุทธศาสตร์ด้านนโยบายการต่างประเทศวงกว้างที่ให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์อย่างแข็งขันกับบรรดา 10 ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน
ว่าไปแล้ว ความริเริ่มระดับทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์เหล่านี้ มีเจตนาที่จะสร้างภาพลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองให้ปรากฏออกมาสู่ภายนอกว่า มีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักมีชีวิตชีวา และวาดหวังว่าจะมีผลในทางป้องปรามจีนไม่ให้มุ่งหน้าดำเนินความเคลื่อนไหวแบบแข็งกร้าวในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ เหมือนกับที่แดนมังกรประพฤติปฏิบัติอยู่ในระยะหลังๆ นี้ ซึ่งก็รวมไปถึงการเผชิญหน้าอย่างตึงเครียดกับฟิลิปปินส์ในปีที่แล้วในบริเวณสันดอนสการ์โบโร โชล (Scarborough Shoal) ซึ่งทั้งแดนมังกรและแดนตากาล็อกต่างอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกัน อย่างไรก็ดี ฟิลิปปินส์จะเป็นฝ่ายที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน ถ้าหากเห็นไปว่าญี่ปุ่นเพียงรายเดียวโดดๆ ก็เพียงพอแล้วที่จะถ่วงดุลทัดทานการที่จีนกำลังเร่งสร้างสมแสนยานุภาพทางทหารอยู่ในเวลานี้ ซึ่งก็รวมถึงการขยายกำลังทางนาวีอย่างต่อเนื่องด้วย
การมีเรือตรวจการณ์ใหม่ๆ 1 กอง และการยินยอมให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปใช้ฐานทัพต่างๆ ของฟิลิปปินส์ได้ จะยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนดุลอำนาจทางนาวีในทะเลจีนใต้ได้ ขณะที่การอนุญาตให้สหรัฐฯเข้าไปใช้อ่าวซูบิกได้นั้นย่อมเป็นสิ่งที่สามารถสร้างผลกระทบอันใหญ่โตได้มากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัยเลย อย่างไรก็ดี แผนการริเริ่มต่างๆ เหล่านี้ก็มีผลดีในด้านการเพิ่มพูนยกระดับสมรรถนะในการเฝ้าระวังอาณาบริเวณทางทะเลของฟิลิปปินส์ ในเวลาเดียวกันก็ช่วยญี่ปุ่นในเรื่องการเฝ้าติดตามกิจกรรมทางการเดินเรือทะเลของจีน ตลอดจนการสั่งสมแสนยานุภาพทางนาวีของแดนมังกร
แน่นอนทีเดียวว่า การรื้อฟื้นชุบชีวิตความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ให้กลับคึกคักขึ้นมาใหม่ ยังมีแรงผลักดันจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจอีกด้วย ทั้งนี้ อาเบะ กับ อากีโน ต่างให้คำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคี ในช่วงเวลาซึ่งพูดได้ว่าประเทศชาติของพวกเขาทั้งสองกำลังอยู่ในยุคเรอนาซองส์ (renaissance) ทางเศรษฐกิจ ทั้งคู่ต่างได้รับความเชื่อมั่นยอมรับจากพวกนักลงทุนนานาชาติ เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจต่างๆ ในลักษณะมุ่งผสมผสานการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลัง กับการปฏิรูปต่างๆ ในเชิงโครงสร้างเข้าด้วยกัน
การที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ใหม่นั้น คำตอบส่วนหนึ่งย่อมอยู่ที่การสร้างและการพัฒนาการเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจที่เร้าใจของเหล่าชาติสมาชิกอาเซียนให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง สำหรับฟิลิปปินส์นั้นกำลังกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตขยายตัวรวดเร็วที่สุดในภูมิภาค ดังนั้นจึงอยู่ในฐานะอันดีที่จะชนะใจวงการธุรกิจของญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการมีแรงจูงใจด้านการลงทุนที่สามารถแข่งขันกับชาติอื่นๆ ได้ ตลอดจนการที่มีตลาดซึ่งมีความเป็นมิตรกับต่างประเทศ
คุณสมบัติเหล่านี้เปรียบเทียบกันแล้วย่อมเป็นที่น่าพอใจมากกว่าสภาวการณ์ของธุรกิจญี่ปุ่นในจีน ซึ่งในการดำเนินงานต้องถูกรบกวนขัดขวางอยู่บ่อยๆ รวมทั้งจากกระแสการประท้วงแบบชาตินิยมมุ่งต่อต้านญี่ปุ่นด้วย องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization หรือ เจโทร) ระบุว่า ในปัจจุบันฟิลิปปินส์อยู่ในฐานะเป็นศูนย์สร้างกำไรที่มีผลงานดีที่สุด สำหรับพวกบริษัทญี่ปุ่นที่กำลังดำเนินงานอยู่ในภูมิภาคแถบนี้
ในเวลาเดียวกันนั้น อากีโนบอกด้วยว่า ญี่ปุ่นสามารถที่จะเป็นผู้ผลักดันรายสำคัญ เพื่อให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีอัตราการเติบโตอันน่าพอใจต่อไปในอนาคต ทั้งนี้คณะรัฐบาลของเขาเวลานี้กำลังหันมาพึ่งพาอาศัยเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment หรือ FDI) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อขับดันการขยายภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ และบรรลุเป้าหมายนโยบายสาธารณะของเขาที่มุ่งจะทำให้เกิดการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบที่ประชาชนทั้งหลายมีส่วนร่วมให้มากขึ้นอีก
ในปี 2012 ญี่ปุ่นคือคู่ค้ารายสำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของฟิลิปปินส์ ด้วยมูลค่าการค้าทวิภาคีที่อยู่ในระดับ 16,000 ล้านดอลลาร์ ยิ่งกว่านั้นในปีที่แล้ว แดนอาทิตย์อุทัยยังมีฐานะเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องแหล่งที่มาของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการซึ่งไหลเข้าสู่ฟิลิปปินส์ อีกทั้งอยู่ในตำแหน่งอันดับสอง ของการเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
เวลานี้ฟิลิปปินส์ยังคงกำลังพยายามเกี้ยวพาเหล่านักลงทุนชาวญี่ปุ่นอย่างกระตือรือร้น รวมทั้งในระหว่างที่อาเบะมาเยือนมะนิลาเมื่อเดือนที่แล้วด้วย เพื่อให้เข้ามีส่วนได้ส่วนเสียในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันใหญ่โตมหึมาของอากีโน ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายโตเกียวก็ได้แสดงความกระตือรือร้นในการทุ่มเทความช่วยเหลืออันสำคัญมากเข้าไปในเกาะมินดาเนา เกาะใหญ่ทางภาคใต้ของแดนตากาล็อกที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทว่ายังด้อยพัฒนาอยู่มาก และก็เป็นพื้นที่ซึ่งร้อนระอุด้วยปัญหาชนมุสลิมส่วนน้อยที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ โดยที่เวลานี้รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงสันติภาพกันกับกลุ่มกบฏ “แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร” (Moro Islamic Liberation Front หรือ MILF)
ในเวลาเดียวกับที่ อากีโน แสดงความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนที่จะทำให้ข้อตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายกับ MILF ซึ่งคาดหมายกันว่าจะสามารถบรรลุได้ภายในปีนี้ เป็นมรดกสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งแห่งวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา ทางฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้สร้างคุณูปการอย่างสำคัญให้แก่กระบวนการนี้ ด้วยโครงการการพัฒนาต่างๆ ในมินดาเนา ภายใต้แผนการที่เรียกขานกันว่า โครงการริเริ่มญี่ปุ่น-บังซาโมโรเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนา (Japan-Bangsamoro Initiatives for Reconstruction and Development ใช้อักษรย่อว่า J-BIRD)
ฟิลิปปินส์กับญี่ปุ่นกำลังผูกพันกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเช่นนี้ ถึงแม้ความสัมพันธ์ของสองฝ่ายได้ผ่านช่วงประวัติศาสตร์อันขมขื่นกันมาในอดีต ทั้งนี้สตรีชาวฟิลิปปินส์ผู้รอดชีวิตจากระบบทาสกามารมณ์ของบรรดาทหารในกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “นางบำเรอ” (comfort women) ในระหว่างสงครามครั้งที่สองนั้น ได้เร่งเร้าอากีโนให้หยิบยกข้อเรียกร้องของพวกเธอขึ้นมาหารือกับผู้นำญี่ปุ่น โดยเฉพาะการเรียกร้องให้อาเบะแสดงการขอโทษอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม อากีโนไม่ได้นำเอาประเด็นนี้ขึ้นมาพูดแต่อย่างใดในระหว่างการพบปะเจรจาทวิภาคีกับอาเบะ และยังแสดงท่าทีให้เห็นด้วยซ้ำว่าฟิลิปปินส์นั้นได้ก้าวพ้นออกมาจากความขัดแย้งในทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่กับญี่ปุ่นแล้ว ก่อนหน้านั้นไม่นานนัก รัฐบาลของเขาแถลงว่าจะให้ความสนับสนุนอย่างแข็งขันแก่การที่ญี่ปุ่นจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับสันตินิยมของตนที่ใช้มาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อให้แดนอาทิตย์อุทัยสามารถเดินหน้าเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารได้อย่างเต็มที่ไร้ข้อจำกัดทางกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากฟิลิปปินส์วาดหวังว่า ญี่ปุ่นที่ติดอาวุธแข็งแกร่งจะเป็นตัวช่วยคานอำนาจทัดทานจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนั่นเอง
การบรรจบกันของผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ระดับโลกและผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างลงตัวกันเช่นนี้ เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ประเทศทั้งสองเอาชนะความทรงจำเกี่ยวกับอดีตอันขมขื่น และหันมาสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบใหม่ที่คึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นมา ทั้งนี้ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฟิลิปปินส์กับญี่ปุ่นก็เพิ่มความใกล้ชิดกันมากขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากความผูกพันกันในทางเศรษฐกิจอันสดใสเข้มแข็ง และยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ด้วยแล้ว ทั้งสองประเทศยังอยู่ในฐานะเป็น “มิตรร่วมรบ” ในการต่อต้านคานอำนาจจีน ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและต่อผลประโยชน์ของพวกเขาทั้งสอง
ข้อเขียนนี้ปรากฏอยู่ในส่วน “Speaking Freely ” ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดทางให้เหล่านักเขียนรับเชิญสามารถแสดงความคิดเห็นของพวกตน โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ
จูเลียส ซีซาร์ ไอ ตราจาโน เป็นนักวิเคราะห์อาวุโส อยู่ที่ สถาบัน เอส ราชารัตนัม เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา (S Rajaratnam School of International Studies ใช้อักษรย่อว่า RSIS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์