(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Egyptian crackdown death toll climbs
By Jim Lobe and Thalif Deen
15/08/2013
ยอดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการที่ฝ่ายทหารของอียิปต์เข้ากวาดล้างพวกผู้สนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในวันพุธ(14ส.ค.) ได้เพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับมากกว่า 500 คนเมื่อวันพฤหัสบดี (15) ที่ผ่านมา และทางการสหรัฐฯก็ได้แสดงปฏิกิริยาด้วยการประณามตำหนิอย่างรุนแรง ทว่ายังคงไม่มีการคุกคามข่มขู่ที่จะระงับความช่วยเหลือแก่ระบอบปกครองใหม่แห่งแดนไอยคุปต์ ถึงแม้ภายในแวดวงชนชั้นปกครองในกรุงวอชิงตันนั้น เริ่มมีการส่งเสียงออกมาแล้วว่า บทบาทที่คณะรัฐบาลโอบามาแสดงอยู่ในปัจจุบัน ย่อมมีความหมายเท่ากับการเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับการก่อเหตุนองเลือดคราวนี้ด้วย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถึงแม้มีสัญญาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมาว่า ฝ่ายทหารของอียิปต์กำลังแผ่ขยายการควบคุมเหนือรัฐบาลชั่วคราวมากขึ้นเรื่อยๆ (โดยสัญญาณล่าสุดบังเกิดขึ้นในวันอังคารที่ 13 ส.ค. เมื่อรัฐบาลแต่งตั้งนายทหารระดับนายพลให้ขึ้นเป็นผู้ว่าการจังหวัดถึง 19 จังหวัดจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ) แต่สหรัฐฯก็ยังคงปฏิเสธไม่ยอมประทับตราการโค่นล้มขับไล่มอร์ซีว่าเป็น “การรัฐประหาร” โดยหากคณะรัฐบาลโอบามาตีตราดังกล่าวให้แก่สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์แล้ว ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของสหรัฐฯ คณะรัฐบาลโอบามาก็จะถูกบังคับให้ต้องตัดความช่วยเหลือทั้งหมดที่สหรัฐฯให้แก่อียิปต์ ซึ่งมีจำนวนในแต่ละปีสูงกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์
ยังจะต้องคอยติดตามชมกันต่อไปว่า เมื่อมาถึงขนาดนี้แล้ว วอชิงตันจะตัดสินใจทำอย่างไรต่อไปแน่ๆ ตามการบอกกล่าวของเจ้าหน้าที่อเมริกันหลายๆ รายนั้น การตัดความช่วยเหลือมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการลดทอน ถ้าหากไม่ถึงกับกลายเป็นการลบสูญ ประดาอิทธิพลบารมีที่วอชิงตันยังคงมีอยู่กับฝ่ายทหารของอียิปต์
ทว่าบารมีดังที่กล่าวถึงนี้เองก็ดูเหมือนว่าสหรัฐฯกำลังประคับประคองเอาไว้ได้ยากเย็นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ภายหลังจากที่เกิดความรุนแรงเฉกเช่นในวันพุธขึ้นมา อันที่จริง หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์อันมีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลในเมืองหลวงของสหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทบรรณาธิการในวันนั้น ระบุว่า การที่โอบามาตกลงใจที่จะไม่ตัดความช่วยเหลือต่ออียิปต์ ได้ทำให้คณะรัฐบาลของเขา “กลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการกวาดล้างครั้งใหม่คราวนี้ซึ่งเต็มไปด้วยการนองเลือดอันน่าสยดสยอง...”
มาร์ค ลินช์ (Marc Lynch) นักวิเคราะห์เรื่องตะวันออกกลางผู้มีอิทธิพลสูง และเท่าที่ผ่านมาโดยทั่วไปแล้วเป็นผู้ให้ความสนับสนุน “การเดินนโยบายการทูตแบบเงียบๆ” ที่คณะรัฐบาลโอบามากระทำกับพวกนายพลในอียิปต์ ได้เขียนเอาไว้ในบล็อก foreignpolicy.com ของเขาเมื่อวันพุธว่า “การจู่โจมอย่างนองเลือดต่อค่ายพักของผู้ประท้วง หลังจากที่ฝ่ายอเมริกันคัดค้านครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ให้เคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้ ย่อมทำให้ประธานาธิบดีโอบามาแทบไม่เหลือทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการก้าวถอยออกมาจากระบอบปกครองอียิปต์ระบอบนี้”
“วอชิงตันควรที่จะ (และบางทีอาจตัดสินใจที่จะ) เรียกร้องให้คณะรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งได้กลับขึ้นมาครองอำนาจใหม่, ยุติภาวะฉุกเฉินโดยเร็ว, และให้มีการใช้กำลังให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ถ้าหากไม่มีการตอบสนองข้อเรียกร้องเหล่านี้แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯก็มีความจำเป็นที่จะต้องระงับความช่วยเหลือและระงับความสัมพันธ์กับอียิปต์ไว้ก่อน จนกว่าไคโรจะเริ่มพิจารณาข้อเรียกร้องเช่นนี้อย่างจริงจัง” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้
ทางด้าน ดร.โทบี ซี โจนส์ (Toby C Jones) รองศาสตราจารย์แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส์ (Rutgers University) ได้เรียกขานจุดยืนของสหรัฐฯต่อเรื่องอียิปต์ว่า มีลักษณะ “มือถือสากปากถือศีล” โดยแท้
“หนทางพื้นฐานของสหรัฐฯในความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับอียิปต์นั้น ก็คือการมีความสัมพันธ์ผ่านกรอบโครงแห่งผลประโยชน์ด้านความมั่นคงและผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นเรื่องความสัมพันธ์กับฝ่ายทหาร ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชนหรือประชาธิปไตยอะไรเลย” เขากล่าวกับสำนักข่าวไอพีเอส
อาจารย์โจนส์บอกว่า ผู้ที่กำลังอยู่ในอำนาจในกรุงไคโรขณะนี้ ก็คือผู้ที่คณะรัฐบาลโอบามาต้องการให้เป็นผู้ครองอำนาจนั่นเอง
“แน่นอนทีเดียวว่า พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันย่อมปรารถนามากกว่าที่จะพวกผู้ครองอำนาจในไคโรเวลานี้ประพฤติปฏิบัติตนให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และหลีกเลี่ยงความรุนแรงชนิดที่กำลังบังเกิดขึ้นในตอนนี้ ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมามันยังไม่เพียงพอหรอกที่จะทำให้สหรัฐฯออกมาประณามด้วยความแข็งกร้าว หรือกระทั่งขบคิดพิจารณาถึงหนทางเลือกทางการเมืองหนทางอื่นๆ” โจนส์แจกแจง ทั้งนี้อาจารย์โจนส์เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาเอกทางด้านประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)
สำหรับ คริส โทเอนซิง (hris Toensing) บรรณาธิการของจุลสารข่าว มิดเดิลอีสต์รีพอร์ต (Middle East Report) ที่ตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน เขาแสดงความเห็นกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า “ความวิบัติกำลังเข้าปกคลุมครอบงำอียิปต์” และกล่าวแจกแจงต่อไปว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในอียิปต์ตอนนี้ “มันก็คือเล่ห์กลเพทุบายที่น่าสะอิดสะเอียนที่สุดซึ่งระบุเอาไว้ในหนังสือคู่มือสำหรับพวกผู้เผด็จการครองอำนาจทั้งหลาย นั่นคือออกมาเรียกร้องตะโกนว่า ‘ความหายนะฉิบหายเอ๋ย จงติดตามเรามา’ จากนั้นก็หายลับไปจากทัศนะความคิดเห็นของสาธารณชน และคอยเฝ้าให้ความหายนะฉิบหายบังเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้กลับมาเข้าฉากในฐานะที่เป็นอัศวินขี่อยู่บนม้าขาว” โทเอนซิง กล่าวต่อไปว่า “สำหรับเรื่องที่สหรัฐฯกำลังแสดงให้เห็นว่ามีจุดยืนที่น่าละอายนั้น มันก็เพียงแค่เป็นข้อพิสูจน์ว่าผู้ที่สหรัฐฯเห็นว่าเป็นพันธมิตรที่แท้จริงของตนในอียิปต์ก็คือกองทัพ เรื่องมันเป็นอย่างนี้มานมนานแล้วนับตั้งแต่ช่วงแคมป์เดวิด (สนธิสัญญาสันติภาพแคมป์เดวิดปี 1979) ถ้าหากไม่ใช่ตั้งแต่ก่อนหน้านั้นเสียอีกด้วยซ้ำ”
เขาบอกว่าการที่วอชิงตัน, ยุโรป, และสหประชาชาติ ต่างออกมาเรียกร้องด้วยน้ำเสียงสุภาพอ่อนโยนเหลือเกินให้ฝ่ายทหารของอียิปต์บันยะบันยังยับยั้งชั่งใจนั้น ไม่ได้ทำให้หวนนึกถึงอะไรอื่นเลยนอกเหนือจากถ้อยคำทำนองเดียวกันซึ่งพวกเขาประกาศออกมาเมื่อตอนที่อิสราเอลเพิ่มการโจมตีต่อดินแดนฉนวนกาซา (Gaza) หรือ ดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West Bank ดินแดนทั้งสองแห่งนี้คือพื้นที่ของปาเลสไตน์ซึ่งในปัจจุบันยังรอดเหลือจากการถูกอิสราเอลประกาศผนวกยึดเป็นกรรมสิทธิ์ ทว่าก็ถูกอิสราเอลเชือดเฉือนเอาไปตั้งเป็นนิคมชาวยิวมากขึ้นเรื่อยๆ )
ทั้งนี้ภายหลังจากมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพแคมป์เดวิด (Camp David peace treaty) ในปี 1979 ระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์โดยที่มีสหรัฐฯเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยแล้ว วอชิงตันก็ได้ส่งความช่วยเหลือทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหารให้แก่ประเทศทั้งสองเป็นมูลค่าปีละนับพันล้านดอลลาร์
ทางด้าน บัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ก็ได้ออกมากล่าวโจมตีเล่นงานการสังหารโหดของกองกำลังความมั่นคงอียิปต์เมื่อวันพุธเช่นกัน โดย บัน ระบุในคำแถลงของเขาว่า ขอประณาม “ด้วยถ้อยคำรุนแรงที่สุด” ต่อความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายทหารของอียิปต์ใช้กำลังเข้าสลายผู้ประท้วงที่ชุมนุมกันอยู่ในกรุงไคโร
กระนั้นก็ตามที คำแถลงฉบับนี้ซึ่งออกมาในวันพุธของบัน ก็ยังคงไม่ยอมที่จะเรียกขานการที่กองทัพอียิปต์เข้าขับไล่รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ให้ลงจากอำนาจเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าเป็น “การรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหาร”
นักการทูตชาติอาหรับผู้หนึ่งให้ความเห็นกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า บัน ดูเหมือนว่ากำลังยืนอยู่ภายในกรอบที่ทางการสหรัฐฯขีดเอาไว้ ซึ่งระบุว่าการที่กองทัพโค่นล้มประธานาธิบดีผู้ซึ่งขึ้นครองอำนาจจากการเลือกตั้งอย่างเสรีเป็นคนแรกของอียิปต์นั้น ในความเป็นจริงคือความพยายามที่จะ “ฟื้นฟูประชาธิปไตย” ต่างหาก
เมื่อถูกผู้สื่อข่าวสอบถามว่า ทางเลขาธิการใหญ่มีข้อเสนออะไรหรือไม่สำหรับการเข้าไปแทรกแซงในอียิปต์ของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น รองโฆษกของสหประชาชาติ เอดูอาร์โด เดล บวย (Eduardo del Buey) ตอบว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของบรรดาสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงที่จะต้องตัดสินใจ “เลขาธิการใหญ่จะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้” เขากล่าว
ในคำแถลงของ บัน เขาระบุว่าเพียงไม่กี่วันก่อน เขาได้ออกมาเรียกร้องอีกคำรบหนึ่ง ขอให้ทุกๆ ฝ่ายในอียิปต์ทบทวนพิจารณาอีกครั้งถึงการกระทำต่างๆ ของพวกเขา โดยคำนึงถึงความเป็นจริงทางการเมืองใหม่ๆ ตลอดจนความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิตให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นบอกว่า เขาเสียใจมากที่พวกเจ้าหน้าที่กุมอำนาจของอียิปต์กลับหันไปเลือกวิธีใช้กำลังเพื่อตอบโต้กับการชุมนุมเดินขบวนที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เขายังขอร่วมแสดงความเศร้าเสียใจกับบรรดาครอบครัวของผู้ที่ถูกสังหาร พร้อมกับขอแสดงความปรารถนาให้ผู้ที่บาดเจ็บได้ฟื้นตัวหายดีโดยเร็ว
บัน กล่าวด้วยว่า เขาตระหนักเป็นอันดีว่าประชาชนชาวอียิปต์ส่วนใหญ่ที่สุด ซึ่งกำลังเหนื่อยล้าอิดโรยจากการที่ถูกการชุมนุมเดินขบวนและการต่อต้านปราบปรามการชุมนุมเดินขบวน มาขัดขวางมิให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติได้นั้น ต้องการให้ประเทศชาติของพวกเขาเดินหน้าไปอย่างสันติ ในกระบวนการซึ่งนำโดยชาวอียิปต์เพื่อมุ่งสู่ความมั่งคั่งรุ่งเรืองและประชาธิปไตย
ภายหลังจากที่เกิดความรุนแรงครั้งล่าสุดนี้แล้ว เขาก็ขอเรียกร้องให้ชาวอียิปต์ทุกๆ คนรวมศูนย์ความพยายามของพวกเขาในการส่งเสริมสนับสนุนการปรองดองชนิดที่ทุกๆ ฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ขณะที่ยอมรับว่านาฬิกาทางการเมืองไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะสามารถหมุนให้ถอยหลังกลับมา แต่เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นก็ยังคงแสดงความเชื่ออย่างหนักแน่นว่า ความรุนแรงและการปลุกปั่นยั่วยุไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตามที มิได้เป็นคำตอบสำหรับความท้าทายต่างๆ ที่อียิปต์กำลังเผชิญอยู่ เขากล่าวต่อไปว่า จากการที่อียิปต์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันเก่าแก่ยาวนาน และก็มีทัศนะความคิดเห็นตลอดจนบทเรียนประสบการณ์อันหลากหลายนานา จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่ชาวอียิปต์จะมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการก้าวเดินไปข้างหน้า
แต่ บัน กล่าวย้ำว่า ในทัศนะของเขาแล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือการที่จะต้องยอมรับให้มีการแสดงทัศนะความคิดเห็นซึ่งแตกต่างกันได้อย่างสันติ และเรื่องที่ทำให้เขารู้สึกเสียใจมากก็คือ สิ่งที่กล่าวถึงนี้มิได้บังเกิดขึ้นมาในแดนไอยคุปต์
(หมายเหตุผู้แปล- นอกจากเลขาธิการใหญ่บัน คีมุน แล้ว ในเวลาต่อมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกมาแสดงท่าทีในลักษณะที่ไม่สู้ต่างจาก บัน นัก โดยตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเอเอฟพีและสำนักข่าวอื่นๆ คณะมนตรีความมั่นคง ได้จัดการประชุมฉุกเฉินขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 16 ส.ค. หลังจากนั้น มาเรีย กริสตินา เปร์เซบัล Maria Cristina Perceval เอกอัครราชทูตอาร์เจนตินาประจำยูเอ็น ในฐานะที่เป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงประจำเดือนนี้ ออกมาแถลงว่า คณะมนตรีแสดงความเสียใจสำหรับการสูญเสียชีวิตที่เกิดขึ้นในไคโร และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง พร้อมกับเร่งเร้าให้ทุกๆ ฝ่ายในวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในอียิปต์ พยายาม “ยับยั้งชั่งใจในระดับสูงสุด” และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าไปสู่ “การปรองดองแห่งชาติ”)
จิม โล้บ เป็นผู้จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถติดตามอ่านได้ที่ atLobelog.com ขณะที่ ธาลิฟ ดีน เป็นผู้ที่รายงานข่าวจากสหประชาชาติให้แก่สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส
(รายงานชิ้นนี้ เอเชียไทมส์ออนไลน์ปรับปรุงขึ้นจากรายงาน 2 ชิ้นของทางสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Egyptian crackdown death toll climbs
By Jim Lobe and Thalif Deen
15/08/2013
ยอดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการที่ฝ่ายทหารของอียิปต์เข้ากวาดล้างพวกผู้สนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในวันพุธ(14ส.ค.) ได้เพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับมากกว่า 500 คนเมื่อวันพฤหัสบดี (15) ที่ผ่านมา และทางการสหรัฐฯก็ได้แสดงปฏิกิริยาด้วยการประณามตำหนิอย่างรุนแรง ทว่ายังคงไม่มีการคุกคามข่มขู่ที่จะระงับความช่วยเหลือแก่ระบอบปกครองใหม่แห่งแดนไอยคุปต์ ถึงแม้ภายในแวดวงชนชั้นปกครองในกรุงวอชิงตันนั้น เริ่มมีการส่งเสียงออกมาแล้วว่า บทบาทที่คณะรัฐบาลโอบามาแสดงอยู่ในปัจจุบัน ย่อมมีความหมายเท่ากับการเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับการก่อเหตุนองเลือดคราวนี้ด้วย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถึงแม้มีสัญญาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมาว่า ฝ่ายทหารของอียิปต์กำลังแผ่ขยายการควบคุมเหนือรัฐบาลชั่วคราวมากขึ้นเรื่อยๆ (โดยสัญญาณล่าสุดบังเกิดขึ้นในวันอังคารที่ 13 ส.ค. เมื่อรัฐบาลแต่งตั้งนายทหารระดับนายพลให้ขึ้นเป็นผู้ว่าการจังหวัดถึง 19 จังหวัดจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ) แต่สหรัฐฯก็ยังคงปฏิเสธไม่ยอมประทับตราการโค่นล้มขับไล่มอร์ซีว่าเป็น “การรัฐประหาร” โดยหากคณะรัฐบาลโอบามาตีตราดังกล่าวให้แก่สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์แล้ว ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของสหรัฐฯ คณะรัฐบาลโอบามาก็จะถูกบังคับให้ต้องตัดความช่วยเหลือทั้งหมดที่สหรัฐฯให้แก่อียิปต์ ซึ่งมีจำนวนในแต่ละปีสูงกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์
ยังจะต้องคอยติดตามชมกันต่อไปว่า เมื่อมาถึงขนาดนี้แล้ว วอชิงตันจะตัดสินใจทำอย่างไรต่อไปแน่ๆ ตามการบอกกล่าวของเจ้าหน้าที่อเมริกันหลายๆ รายนั้น การตัดความช่วยเหลือมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการลดทอน ถ้าหากไม่ถึงกับกลายเป็นการลบสูญ ประดาอิทธิพลบารมีที่วอชิงตันยังคงมีอยู่กับฝ่ายทหารของอียิปต์
ทว่าบารมีดังที่กล่าวถึงนี้เองก็ดูเหมือนว่าสหรัฐฯกำลังประคับประคองเอาไว้ได้ยากเย็นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ภายหลังจากที่เกิดความรุนแรงเฉกเช่นในวันพุธขึ้นมา อันที่จริง หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์อันมีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลในเมืองหลวงของสหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทบรรณาธิการในวันนั้น ระบุว่า การที่โอบามาตกลงใจที่จะไม่ตัดความช่วยเหลือต่ออียิปต์ ได้ทำให้คณะรัฐบาลของเขา “กลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการกวาดล้างครั้งใหม่คราวนี้ซึ่งเต็มไปด้วยการนองเลือดอันน่าสยดสยอง...”
มาร์ค ลินช์ (Marc Lynch) นักวิเคราะห์เรื่องตะวันออกกลางผู้มีอิทธิพลสูง และเท่าที่ผ่านมาโดยทั่วไปแล้วเป็นผู้ให้ความสนับสนุน “การเดินนโยบายการทูตแบบเงียบๆ” ที่คณะรัฐบาลโอบามากระทำกับพวกนายพลในอียิปต์ ได้เขียนเอาไว้ในบล็อก foreignpolicy.com ของเขาเมื่อวันพุธว่า “การจู่โจมอย่างนองเลือดต่อค่ายพักของผู้ประท้วง หลังจากที่ฝ่ายอเมริกันคัดค้านครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ให้เคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้ ย่อมทำให้ประธานาธิบดีโอบามาแทบไม่เหลือทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการก้าวถอยออกมาจากระบอบปกครองอียิปต์ระบอบนี้”
“วอชิงตันควรที่จะ (และบางทีอาจตัดสินใจที่จะ) เรียกร้องให้คณะรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งได้กลับขึ้นมาครองอำนาจใหม่, ยุติภาวะฉุกเฉินโดยเร็ว, และให้มีการใช้กำลังให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ถ้าหากไม่มีการตอบสนองข้อเรียกร้องเหล่านี้แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯก็มีความจำเป็นที่จะต้องระงับความช่วยเหลือและระงับความสัมพันธ์กับอียิปต์ไว้ก่อน จนกว่าไคโรจะเริ่มพิจารณาข้อเรียกร้องเช่นนี้อย่างจริงจัง” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้
ทางด้าน ดร.โทบี ซี โจนส์ (Toby C Jones) รองศาสตราจารย์แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส์ (Rutgers University) ได้เรียกขานจุดยืนของสหรัฐฯต่อเรื่องอียิปต์ว่า มีลักษณะ “มือถือสากปากถือศีล” โดยแท้
“หนทางพื้นฐานของสหรัฐฯในความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับอียิปต์นั้น ก็คือการมีความสัมพันธ์ผ่านกรอบโครงแห่งผลประโยชน์ด้านความมั่นคงและผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นเรื่องความสัมพันธ์กับฝ่ายทหาร ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชนหรือประชาธิปไตยอะไรเลย” เขากล่าวกับสำนักข่าวไอพีเอส
อาจารย์โจนส์บอกว่า ผู้ที่กำลังอยู่ในอำนาจในกรุงไคโรขณะนี้ ก็คือผู้ที่คณะรัฐบาลโอบามาต้องการให้เป็นผู้ครองอำนาจนั่นเอง
“แน่นอนทีเดียวว่า พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันย่อมปรารถนามากกว่าที่จะพวกผู้ครองอำนาจในไคโรเวลานี้ประพฤติปฏิบัติตนให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และหลีกเลี่ยงความรุนแรงชนิดที่กำลังบังเกิดขึ้นในตอนนี้ ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมามันยังไม่เพียงพอหรอกที่จะทำให้สหรัฐฯออกมาประณามด้วยความแข็งกร้าว หรือกระทั่งขบคิดพิจารณาถึงหนทางเลือกทางการเมืองหนทางอื่นๆ” โจนส์แจกแจง ทั้งนี้อาจารย์โจนส์เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาเอกทางด้านประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)
สำหรับ คริส โทเอนซิง (hris Toensing) บรรณาธิการของจุลสารข่าว มิดเดิลอีสต์รีพอร์ต (Middle East Report) ที่ตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน เขาแสดงความเห็นกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า “ความวิบัติกำลังเข้าปกคลุมครอบงำอียิปต์” และกล่าวแจกแจงต่อไปว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในอียิปต์ตอนนี้ “มันก็คือเล่ห์กลเพทุบายที่น่าสะอิดสะเอียนที่สุดซึ่งระบุเอาไว้ในหนังสือคู่มือสำหรับพวกผู้เผด็จการครองอำนาจทั้งหลาย นั่นคือออกมาเรียกร้องตะโกนว่า ‘ความหายนะฉิบหายเอ๋ย จงติดตามเรามา’ จากนั้นก็หายลับไปจากทัศนะความคิดเห็นของสาธารณชน และคอยเฝ้าให้ความหายนะฉิบหายบังเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้กลับมาเข้าฉากในฐานะที่เป็นอัศวินขี่อยู่บนม้าขาว” โทเอนซิง กล่าวต่อไปว่า “สำหรับเรื่องที่สหรัฐฯกำลังแสดงให้เห็นว่ามีจุดยืนที่น่าละอายนั้น มันก็เพียงแค่เป็นข้อพิสูจน์ว่าผู้ที่สหรัฐฯเห็นว่าเป็นพันธมิตรที่แท้จริงของตนในอียิปต์ก็คือกองทัพ เรื่องมันเป็นอย่างนี้มานมนานแล้วนับตั้งแต่ช่วงแคมป์เดวิด (สนธิสัญญาสันติภาพแคมป์เดวิดปี 1979) ถ้าหากไม่ใช่ตั้งแต่ก่อนหน้านั้นเสียอีกด้วยซ้ำ”
เขาบอกว่าการที่วอชิงตัน, ยุโรป, และสหประชาชาติ ต่างออกมาเรียกร้องด้วยน้ำเสียงสุภาพอ่อนโยนเหลือเกินให้ฝ่ายทหารของอียิปต์บันยะบันยังยับยั้งชั่งใจนั้น ไม่ได้ทำให้หวนนึกถึงอะไรอื่นเลยนอกเหนือจากถ้อยคำทำนองเดียวกันซึ่งพวกเขาประกาศออกมาเมื่อตอนที่อิสราเอลเพิ่มการโจมตีต่อดินแดนฉนวนกาซา (Gaza) หรือ ดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West Bank ดินแดนทั้งสองแห่งนี้คือพื้นที่ของปาเลสไตน์ซึ่งในปัจจุบันยังรอดเหลือจากการถูกอิสราเอลประกาศผนวกยึดเป็นกรรมสิทธิ์ ทว่าก็ถูกอิสราเอลเชือดเฉือนเอาไปตั้งเป็นนิคมชาวยิวมากขึ้นเรื่อยๆ )
ทั้งนี้ภายหลังจากมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพแคมป์เดวิด (Camp David peace treaty) ในปี 1979 ระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์โดยที่มีสหรัฐฯเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยแล้ว วอชิงตันก็ได้ส่งความช่วยเหลือทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหารให้แก่ประเทศทั้งสองเป็นมูลค่าปีละนับพันล้านดอลลาร์
ทางด้าน บัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ก็ได้ออกมากล่าวโจมตีเล่นงานการสังหารโหดของกองกำลังความมั่นคงอียิปต์เมื่อวันพุธเช่นกัน โดย บัน ระบุในคำแถลงของเขาว่า ขอประณาม “ด้วยถ้อยคำรุนแรงที่สุด” ต่อความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายทหารของอียิปต์ใช้กำลังเข้าสลายผู้ประท้วงที่ชุมนุมกันอยู่ในกรุงไคโร
กระนั้นก็ตามที คำแถลงฉบับนี้ซึ่งออกมาในวันพุธของบัน ก็ยังคงไม่ยอมที่จะเรียกขานการที่กองทัพอียิปต์เข้าขับไล่รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ให้ลงจากอำนาจเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าเป็น “การรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหาร”
นักการทูตชาติอาหรับผู้หนึ่งให้ความเห็นกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า บัน ดูเหมือนว่ากำลังยืนอยู่ภายในกรอบที่ทางการสหรัฐฯขีดเอาไว้ ซึ่งระบุว่าการที่กองทัพโค่นล้มประธานาธิบดีผู้ซึ่งขึ้นครองอำนาจจากการเลือกตั้งอย่างเสรีเป็นคนแรกของอียิปต์นั้น ในความเป็นจริงคือความพยายามที่จะ “ฟื้นฟูประชาธิปไตย” ต่างหาก
เมื่อถูกผู้สื่อข่าวสอบถามว่า ทางเลขาธิการใหญ่มีข้อเสนออะไรหรือไม่สำหรับการเข้าไปแทรกแซงในอียิปต์ของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น รองโฆษกของสหประชาชาติ เอดูอาร์โด เดล บวย (Eduardo del Buey) ตอบว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของบรรดาสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงที่จะต้องตัดสินใจ “เลขาธิการใหญ่จะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้” เขากล่าว
ในคำแถลงของ บัน เขาระบุว่าเพียงไม่กี่วันก่อน เขาได้ออกมาเรียกร้องอีกคำรบหนึ่ง ขอให้ทุกๆ ฝ่ายในอียิปต์ทบทวนพิจารณาอีกครั้งถึงการกระทำต่างๆ ของพวกเขา โดยคำนึงถึงความเป็นจริงทางการเมืองใหม่ๆ ตลอดจนความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิตให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นบอกว่า เขาเสียใจมากที่พวกเจ้าหน้าที่กุมอำนาจของอียิปต์กลับหันไปเลือกวิธีใช้กำลังเพื่อตอบโต้กับการชุมนุมเดินขบวนที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เขายังขอร่วมแสดงความเศร้าเสียใจกับบรรดาครอบครัวของผู้ที่ถูกสังหาร พร้อมกับขอแสดงความปรารถนาให้ผู้ที่บาดเจ็บได้ฟื้นตัวหายดีโดยเร็ว
บัน กล่าวด้วยว่า เขาตระหนักเป็นอันดีว่าประชาชนชาวอียิปต์ส่วนใหญ่ที่สุด ซึ่งกำลังเหนื่อยล้าอิดโรยจากการที่ถูกการชุมนุมเดินขบวนและการต่อต้านปราบปรามการชุมนุมเดินขบวน มาขัดขวางมิให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติได้นั้น ต้องการให้ประเทศชาติของพวกเขาเดินหน้าไปอย่างสันติ ในกระบวนการซึ่งนำโดยชาวอียิปต์เพื่อมุ่งสู่ความมั่งคั่งรุ่งเรืองและประชาธิปไตย
ภายหลังจากที่เกิดความรุนแรงครั้งล่าสุดนี้แล้ว เขาก็ขอเรียกร้องให้ชาวอียิปต์ทุกๆ คนรวมศูนย์ความพยายามของพวกเขาในการส่งเสริมสนับสนุนการปรองดองชนิดที่ทุกๆ ฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ขณะที่ยอมรับว่านาฬิกาทางการเมืองไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะสามารถหมุนให้ถอยหลังกลับมา แต่เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นก็ยังคงแสดงความเชื่ออย่างหนักแน่นว่า ความรุนแรงและการปลุกปั่นยั่วยุไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตามที มิได้เป็นคำตอบสำหรับความท้าทายต่างๆ ที่อียิปต์กำลังเผชิญอยู่ เขากล่าวต่อไปว่า จากการที่อียิปต์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันเก่าแก่ยาวนาน และก็มีทัศนะความคิดเห็นตลอดจนบทเรียนประสบการณ์อันหลากหลายนานา จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่ชาวอียิปต์จะมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการก้าวเดินไปข้างหน้า
แต่ บัน กล่าวย้ำว่า ในทัศนะของเขาแล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือการที่จะต้องยอมรับให้มีการแสดงทัศนะความคิดเห็นซึ่งแตกต่างกันได้อย่างสันติ และเรื่องที่ทำให้เขารู้สึกเสียใจมากก็คือ สิ่งที่กล่าวถึงนี้มิได้บังเกิดขึ้นมาในแดนไอยคุปต์
(หมายเหตุผู้แปล- นอกจากเลขาธิการใหญ่บัน คีมุน แล้ว ในเวลาต่อมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกมาแสดงท่าทีในลักษณะที่ไม่สู้ต่างจาก บัน นัก โดยตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเอเอฟพีและสำนักข่าวอื่นๆ คณะมนตรีความมั่นคง ได้จัดการประชุมฉุกเฉินขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 16 ส.ค. หลังจากนั้น มาเรีย กริสตินา เปร์เซบัล Maria Cristina Perceval เอกอัครราชทูตอาร์เจนตินาประจำยูเอ็น ในฐานะที่เป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงประจำเดือนนี้ ออกมาแถลงว่า คณะมนตรีแสดงความเสียใจสำหรับการสูญเสียชีวิตที่เกิดขึ้นในไคโร และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง พร้อมกับเร่งเร้าให้ทุกๆ ฝ่ายในวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในอียิปต์ พยายาม “ยับยั้งชั่งใจในระดับสูงสุด” และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าไปสู่ “การปรองดองแห่งชาติ”)
จิม โล้บ เป็นผู้จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถติดตามอ่านได้ที่ atLobelog.com ขณะที่ ธาลิฟ ดีน เป็นผู้ที่รายงานข่าวจากสหประชาชาติให้แก่สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส
(รายงานชิ้นนี้ เอเชียไทมส์ออนไลน์ปรับปรุงขึ้นจากรายงาน 2 ชิ้นของทางสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)