เอเอฟพี - สหรัฐฯและสหภาพยุโรปเร่งเร้า วานนี้ (7) ให้ฝ่ายทางการเมืองที่กำลังดิ้นรนต่อสู้และฝ่ายทหารที่กุมอำนาจการปกครองเร่งหาทางนำอียิปต์กลับสู่ระบอบประชาธิปไตย
การยึดอำนาจประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด มอร์ซี ที่มาจากการเลือกตั้งของอียิปต์เมื่อเดือนที่แล้วโดยกองทัพ มีจุดประสงค์เพื่อที่จะขัดขวางมหาอำนาจตะวันตกที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองของพวกเขาในช่วงกระแสของการปฏิวัติอาหรับสปริง
โดยมีความพยายามทางการทูตหลายต่อหลายครั้งที่เข้ามาเป็นตัวกลางให้เกิดการตกลงกันด้วยการเจรจาในอียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลกอาหรับ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความคืบหน้าใดๆ และตอนนี้ก็มีความเสี่ยงที่ทางกองทัพกำลังปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงมากกว่าเดิม ด้วยการออกคำสั่งให้ฝ่ายต่อต้านสลายตัวออกไปจากท้องถนน
ทางวอชิงตันและบรัสเซลส์ได้ส่งตัวแทนมายังกรุงไคโร ประกอบด้วย วิลเลียม เบิร์นส์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และ เบร์นาดิโน เลออน ตัวแทนทูตพิเศษจากสหภาพยุโรป (EU) เพื่อที่จะพูดคุยกับรัฐบาลรักษาการอียิปต์ที่แต่งตั้งโดยกองทัพ และ กลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม
แต่ทว่าข้อเสนอของพวกเขากลับถูกปฏิเสธ และวานนี้ (7) จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ และ แคเธอรีน แอชตัน ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป ได้ออกคำแถลงร่วม
"ขณะที่การเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นได้ถูกหลีกเลี่ยงมาจนถึงเดี๋ยวนี้ เรายังคงหวั่นวิตกว่าทางรัฐบาลและบรรดาผู้นำฝ่ายต่อต้านยังคงไม่พบหนทางที่จะสลายภาวะชะงักงันที่อันตรายนี้ และ ยังไม่มีการร่วมทำข้อตกลงเรื่องมาตรการหรือวิธีการที่สร้างความมั่นใจและเห็นเป็นรูปธรรมได้สำเร็จ"
เคร์รี และ แอชตัน เน้นย้ำว่า ทั้งสหรัฐฯและยุโรปจะให้การสนับสนุนทุกความพยายามที่จะนำอียิปต์สู่การคลายปมปัญหาวิกฤติทางการเมืองด้วยการเจรจา แต่กำชับว่าหนทางดังกล่าวนั้นต้องรวมไปถึงการกลับสู่ระบบการเลือกตั้ง
"เราเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงตามระบอบประชาธิปไตยทีสัมฤทธิ์ผลนั้นสามารถช่วยให้อียิปต์พ้นจากสภาพชะงักงันและก้าวไปสู่อนาคตที่สดใสได้"
รัฐบาลรักษาการของอียิปต์ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกองทัพเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากที่ทหารโค่นอำนาจมอร์ซี ได้เรียกร้องให้กลุ่มอิสลามิสต์ของมอร์ซีสลายการชุมนุมประท้วงออกจากพื้นที่ถนนส่วนใหญ่และที่นั่งประท้วงด้วย
ท่าทีดังกล่าวของรัฐบาลยิ่งเพิ่มความหวาดกลัวว่า สถานการณ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วจะมีแนวโน้มตกต่ำจนเข้าสู่ความรุนแรง
ถ้าหากรัฐบาลสหรัฐฯ ยอมรับอย่างเป็นทางการว่า การที่มอร์ซีถูกโค่มล้มเป็นผลมาจากการพยายามยึดอำนาจปกครองของกองทัพแล้วนั้น มันจะทำให้ส่งผลเกี่ยวพันกับกฎหมายของสหรัฐ ที่จะชะงักเงินจำนวน 1.6 พันล้านดอลลาร์ (ราว 5 หมื่นล้านบาท) ในการช่วยเหลือประจำปีแก่อียิปต์
จนถึงขณะนี้ อดีตประธานาธิบดีมอร์ซีซึ่งถูกจับกุมยังคงถูกคุมตัวอยู่ในสถานที่ลับโดยกองทัพอียิปต์ ขณะที่กลุ่มผู้ให้การสันบสนุนเขาได้ใช้วิธีการนั่งประท้วงในกรุงไคโร ทางกองทัพให้คำมั่นว่าประท้วงจะต้องถูกยับยั้ง