xs
xsm
sm
md
lg

รัฐธรรมนูญพม่า “ ดับ” ความหวัง “ซูจี” ที่จะเป็น “ประธานาธิบดี ปี 2015”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


รอยเตอร์ - เหล่าผู้สนับสนุนของอองซาน ซูจี เชื่อว่าซูจีที่เป็นผู้กำชัยชนะในการเลือกตั้งอย่าถล่มทะลายนั้นถูกกำหนดให้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของพม่า แต่ทว่าความจริงดูเหมือนจะตรงกันข้ามสำหรับซูจีที่มีอายุครบ 68 ปี เมื่อวานนี้(19) เพราะเธอต้องรอให้มีการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ห้ามคนที่สมรสกับชาวต่างด้าวขึ้นดำรงตำแหน่งสูงสุดของประเทศ

ในปีที่ผ่านมา อองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD และเป็นเจ้าของราวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ชนะการเลือกตั้ง พร้อมกับกวาดที่นั่งและนำซูจีเข้าสู่รัฐสภาของพม่า

จากการเคยเป็นนักโทษทางการเมืองจนถึงเป็นนักการเมืองอาชีพนั้น การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในตำแหน่งประธานาธิบดีของพม่าดูเหมือนจะยากลำบากมากขึ้น แต่ความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวที่จะเป็นผู้นำของประเทศกลับแจ่มชัดมากกว่าที่เคย เพราะการขึ้นเป็นประธานาธิบดีเหมือนการมอบเกียร์ติยศกับชีวิตที่น่าทึ่งของอองซาน ซูจี

“ดิฉันต้องการเป็นประธานาธิบดีและดิฉันไม่ต้องการปิดบังสิ่งนี้” เธอได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวที่งานอิโคโนมิกฟอรัมซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเนปิดอเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา

แต่การที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2015 นั้น ซูจีวัย 68 ปี ต้องชนะอย่างน้อยประธานสภาผู้แทนราษฎรพม่า ฉ่วย มาน ที่ประกาศจะก้าวชิงเก้าอี้ผู้นำสูงสุดในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และพรรคสหสามัคคีและการพัฒนาของหรือ USDP ของเต็งเส่ง ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันของพม่า

มากไปกว่านี้ เธอยังต้องหว่านล้อมสมาชิกรัฐสภาพม่าที่อำนาจเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพให้แก้รัฐธรรมนูญ

แต่ถึงแม้ว่าซูจีจะประสบความสำเร็จในการหว่านล้อม และสามารถแก้รัฐธรรมนูญได้ทันเวลา เธอยังต้องเผชิญหน้ากับการออกเสียงคัดค้านการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยเหตุผลด้านความรุนแรงระหว่างศาสนาพุทธที่ซูจีนับถือ และศาสนาอิสลามที่นับถือส่วนมากในรัฐยะไข่

เพราะผู้สนับสนุนมุสลิมของซูจีที่ยากจะพบเห็นตามที่สาธารณะ ต่างๆต้องตกเป็นอยู่ในสถานะการคลื่นของความรุนแรงในการโจมตีสงครามทางศาสนาระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิม

บางคนต่างกังขาว่าความรุนแรงทางด้านศาสนานั้น เป็นแผนการอันแยบยลของพรรครัฐบาลฝ่ายตรงกันข้ามของซูจีหรือไม่ มีจุดประสงค์เพื่อที่จะให้จำนวนผู้นิยมเธอมีจำนวนลดลง

มีชาวพม่าจำนวนอย่างน้อย 237 รายที่เต้องสังเวยชีวิตจากเหตุการโจมตีสงครามศาสนาระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในรอบหลาย 10 ปี ที่ผ่านมา และส่งผลให้ชาวพม่าอย่างน้อย 150,000 รายไร้ที่อยู่ โดยผู้ที่ประสบเคราะห์เป็นส่วนใหญ่คือชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ไร้สัญชาติ อาศัยยู่ในรัฐยะไข่ทางตะวันตกของพม่าที่มีชายแดนติดกับบังคลาเทศ

ซึ่งในปี 1982 รัฐบาลทหารพม่าออกกฎหมายให้มุสลิมโรฮิงญานั้นไม่จัดเป็นพลเมืองของพม่าและไม่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือทำธุรกรรมกับรัฐได้ ในขณะชาวพุทธต่างมองว่ามุสลิมโรฮิงญานั้นเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในพม่าอย่างผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนที่มีสำนักงานที่ตั้งอยู่ในกรุงนิวยอร์ก สหรัฐฯได้ออกประนามซูจี ที่ไม่ออกมาพูดปกป้องชาวมุสลิมโรฮิงญาเพราะกลัวกระทบกระเทือนฐานเสียงผู้สนับสนุนชาวพุทธของเธอเนื่องจากใกล้การเลือกตั้ง

แต่อย่างไรก็ตาม ซูจีกล่าวป้องในเรื่องนี้ที่งานอิโคโนมิกฟอรัมว่า เธอไม่ต้องการทำสถานการณ์ให้เลวลงไปมากกว่านี้ “โดยการต้องเลือกข้าง” แต่เธอก็ได้ประนามนโยบายของรัฐ ที่กำหนดให้สตรีมุสลิมโรฮิงญามีบุตรได้เพียงแค่ 2 คน และเธอยังหวังว่าจะมีการแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับสัญชาติของชาวมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นพม่าได้ออกโรงเตือนซูจีว่า ถ้าเธอยังคงมีความพยายามที่จะแก้กฎหมายสัญชาติ มันจะกระทบอย่างรุนแรงต่อฐานเสียงชาวพุทธของเธอสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า

ดังนั้นในการที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำนั้น ซูจีต้องโค่นปรปักษ์ทางการเมืองที่มีอำนาจในปัจจุบันคือ ประธานสภาผู้แทนราษฎรพม่า ฉ่วย มาน และ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของพม่า เต็งเส่ง ผู้ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ประกาศแน่ชัดว่าจะลงชิงรักษาเก้าอี้ต่ออีกสมัยหรือไม่

และก้างชิ้นใหญ่ที่เป็นอุปสรรคของซูจีวัย 68 ปี ผู้นี้ คือรัฐธรรมนูญพม่าที่ดูเหมือนถูกเขียนขึ้นในขณะที่ซูจีถูกคุมขัง เพื่อกันไม่ให้ซูจีได้ก้าวขึ้นมากุมบังเหียนประเทศได้ สาระสำคัญของรัฐธรรมนุญบัญญัติ “ห้ามมิให้ผู้ใดก็ตามที่สมรสกับชาวต่างชาติหรือมีบุตรที่ถือสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติพม่าสามรถขึ้นดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการบริหารประเทศได้” จากที่รู้กันว่า อองซาน ซูจีนั้นได้สมรสกับนักวิชาการชาวอังกฤษ ไมเคิล แอริส พร้อมกับมีบุตรสัญชาติอังกฤษด้วยกัน 2 คน

“มันถูกเขียนขึ้นเพื่อกีดกันเธอโดยเฉพาะ” แอนดรู แมคลอยด์ ศาสตราจารย์คณะกฎหมายของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ และเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการปฎิรูปรัฐธรรมนูญของพม่า กล่าวถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของพม่าที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยอดีตคณะรัฐบาลทหารพม่า

และการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญของพม่านั้น ต้องใช้เสียงราว 75% ของสภา และจากรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ 1 ใน 4 ของเก้าอี้ในรัฐสภาต้องมาจากกองทัพพม่า

เกือบจะทั้งหมดของสมาชิกรัฐสภาพม่ามาจากตัวแทนของพรรค USDP ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตรัฐบาลทหารพม่าและอดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายมั่นคงพม่าที่เกษียณอายุราชการแล้วจำนวนมาก

และถ้าหากสามารถแก้รัฐธรรมนูญเป็นผลสำเร็จ ซูจีต้องรอให้การรัฐธรรมนูญที่ผ่านการแก้ไขนี้ผ่านอย่างน้อยเสียงกึ่งนึงจากการทำประชาพิจารณ์ ในขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนคิดว่ากระบวนการทั้งหมดนี้ไม่อาจทันการเลือกตั้งใหญ่ในครั้งต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น