xs
xsm
sm
md
lg

ปฏิบัติการลับ “ปริซึม” ของ NSA เกี่ยวอะไรกับ “เฟซบุ๊ก” ของคุณ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - “ปริซึม” เป็นโปรแกรมที่ดูดข้อมูลที่อะไรที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวจากกูเกิล สไกป์ และบริการอื่นๆ ทางอินเทอร์เน็ต จุดประสงค์เพื่อติดตามพฤติกรรมที่น่าสนใจที่อาจเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายที่มีต้นตอจากนอกสหรัฐฯ ปริซึมเป็นปฏิบัติการลับสุดยอดของรัฐบาลสหรัฐฯ มาตลอด จนกระทั่งอาทิตย์ที่ผ่านมาที่ถูกหนังสือพิมพ์ดิการ์เดียนและวอชิงตันโพสต์แฉ

จุดกำเนิดของ “ปริซึม”

ปฏิบัติการลับ “ปริซึม” เริ่มตั้งแต่ในสมัยของรัฐบาลประธานธิบดีจอร์จ บุช จูเนียร์ ที่ต้องการจารกรรมข้อมูลจากเอกชนโดยปราศจากหมายศาลในปี 2007 หลังจากที่ตกเป็นข่าวอื้อฉาวขึ้นมา ทั้งสมาชิกสภาคองเกรสและศาลพิเศษที่ตั้งขึ้นสำหรับการแสวงหาข้อมูลต่างแดนได้กดดันให้ประธานาธิบดีโอบามาต้องหาทางใหม่ในการรับรองอำนาจของ NSA ให้ถูกกฎหมายในการรวบรวมข้อมูลเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย โดยหนังสือพิมพ์โพสต์รายงานในวันพฤหัสบดี (6) ที่ผ่านมาว่า “ทางสภาคองเกรสได้บังคับการใช้กฎหมาย การคุ้มครองอเมริกาแอกท์ และ FISA แอกท์ฉบับแก้ไขใหม่ปี 2008 ซึ่งจะคุ้มครองบริษัทที่ให้ความร่วมมือโดยสมัครใจกับทางการในการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ”

ในวันอาทิตย์ (9) ที่ผ่านมา ดิการ์เดียนได้เผยแพร่สไลด์ขนาด 41 แผ่นของหน่วยงานNSA ที่อธิบายถึงโครงการ “ปริซึม” และปฏิบัติการภายใต้โครงการนี้

จากข้อมูลที่ได้รับการถูกเปิดเผย ชี้ให้เห็นว่าปฏิบัติการนี้จะรวบรวมข้อมูลในทุกรูปแบบภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย FISA แอกท์ ฉบับแก้ไขใหม่ปี 2008 ซึ่งถูกต่ออายุจากสภาคองเกรสในปลายปี 2012 ดิการ์เดียนกล่าวว่า “เป็นที่แน่ชัดว่าข้อมูลจะถูกรวบรวมโดยตรงจากเซิร์ฟเวอร์โดยตรงหรือผ่านจากสายไฟเบอร์ออปติก หรือสิ่งที่ข้อมูลสามารถไหลผ่านได้” และเป็นที่แน่ชัดว่า “NSA สามารถใช้บางโปรแกรมที่ต่างจากปริซึมในการรวบรวมข้อมูล...จาก Cable Intercepts จึงสรุปได้ว่าไม่ใช่เพียงแต่ “ปริซึม” ที่ NSA ใช้ล้วงความลับ”

จากทฤษฎีแล้ว โปรแกรม “ปริซึม” นี้ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อป้องกันชาวอเมริกันจากการก่อการร้าย จากการแสดงข้อคิดเห็นของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ในวันศุกร์ (7) ที่ผ่านมา ว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งในและนอกรัฐบาลคาดว่าผู้ก่อการร้ายที่มีศักยภาพที่กำลังหาทางอื่นในการสื่อสารแบบลับๆ กับคนในสหรัฐฯ รู้แล้วว่าการสื่อสารทั้งทางโทรศัพท์และทางอินเทอร์เน็ตอาจตกเป็นเป้าหมายการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม มีคำถามตามมาว่า เหตุใดทวิตเตอร์ถึงไม่ถูกรวมอยู่ในปฏิบัติการ “ปริซึม” นี้

สกอตต์ มาร์ติน จาก USAToday ได้ให้คำตอบว่า “คนที่ใช้ทวีตข้อความเป็นเจ้าของทวิตเตอร์อันนั้น ดังนั้นทวิตเตอร์จึงมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการให้ความร่วมมือจากภาครัฐในการส่งข้อมูลหากเป็นคำขอที่ไม่สมเหตุผล และเรา (USAToday) จะอยู่เคียงข้างเขา” และจากอีกเหตุผลคือ “ขนาดข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล ถูกเผยแพร่ทางสาธารณะในรูปแบของทวีต” มาร์ตินกล่าวตบท้ายว่า “ต่างจากกูเกิลหรือยาฮูที่เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการในรูปแบบของอีเมลและข้อมูลส่วนตัว”
กำลังโหลดความคิดเห็น