(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China eyes post-Chavez oil axis
By Brendan P O'Reilly
12/03/2013
ความหวาดผวาที่ว่าจีนมีแผนการที่จะ “เก็บกัก” น้ำมันดิบสำรองเอาไว้ให้ได้มากๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมือเอาไว้ก่อนที่ช่วงราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึงขีดสูงสุดจะย่างก้าวเข้ามานั้น เป็นเรื่องที่พูดกันเกินเลยความเป็นจริงไปมากก็จริงอยู่ แต่แทบไม่มีข้อกังขาน่าสงสัยเลยว่าการที่จีนมีความต้องการได้น้ำมันปริมาณมหาศาลเพื่อการก้าวผงาดขึ้นไปสู่ฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกนั้น อย่างไรเสียก็จะต้องก่อให้เกิดการปะทะกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งนี้การที่ปักกิ่งแสดงความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งต่อเวเนซุเอลานับตั้งแต่การถึงแก่อสัญกรรมของ อูโก ชาเบซ ดูจะเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นว่า การต่อสู้อาจจะเริ่มต้นขึ้นในบริเวณหลังบ้านของสหรัฐฯก็เป็นไปได้
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**น้ำมันเวเนซุเอลา**
ประเทศจีนในเวลานี้แสดงความสนอกสนใจต่อเวเนซุเอลาอย่างมากมายเป็นพิเศษ เมื่อตอนที่ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าสื่อมวลชนของภาครัฐในจีนได้พยายามอย่างทุ่มเท เพื่อทำข่าวอย่างกว้างขวางลึกซึ้งเกี่ยวกับความโศกเศร้าอาลัยของมวลชนผู้นิยมชมชื่นในนโยบายสังคมนิยมของชาเบซ จนกระทั่งชวนให้ระลึกย้อนไปถึงฉากเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติอันร้อนแรงของแดนมังกรเอง ทั้งนี้จีนมีเดิมพันก้อนโตมากทีเดียวในเวเนซุเอลา โดยเฉพาะในเมื่อประเทศนี้สามารถแซงหน้าซาอุดีอาระเบียไปเมื่อเร็วๆ นี้ และกลายเป็นชาติที่มีน้ำมันสำรองขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปักกิ่งได้ปล่อยเงินกู้ให้แก่เวเนซุเอลาเป็นจำนวนมหาศาลถึงประมาณ 42,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินกู้เหล่านี้กำลังได้รับการชำระคืนในรูปของน้ำมันเวเนซุเอลาซึ่งคิดคำนวณราคากันในระดับต่ำกว่าอัตราตลาด ปัจจุบันจีนกลายเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของเวเนซุเอลาไปแล้ว (โดยตามหลังสหรัฐฯเท่านั้น) อีกทั้งยังตั้งหน้าตั้งตาจะนำเข้าน้ำมันของเวเนซุเอลาเพิ่มมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเวเนซุเอลาเกิดมีการเปลี่ยนผ่านถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองใดๆ ก็ตามที ซึ่งส่งผลลัพธ์ในทางทำให้พวกผู้สนับสนุนชาเบซต้องสูญเสียอำนาจแล้ว มันก็น่าจะเป็นภัยคุกคามต่อการลงทุนอันมากมายมหาศาลของจีนในประเทศอเมริกาใต้รายนี้เช่นกัน
นิโกลัส มารูโด (Nicholas Marudo) ประธานาธิบดีรักษาการของเวเนซุเอลา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศในยุคของชาเบซ ได้แสดงท่าทีปลอบขวัญจีน โดยออกมาเรียกร้องให้เวเนซุเอลาต้องร่วมมือกับจีนต่อไป เขาประกาศว่า “สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเราสามารถมอบแด่ท่านผู้บัญชาการชาเบซของพวกเรา ก็คือการเพิ่มพูนความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ที่มีอยู่กับประเทศจีนอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นไปอีก”
ในเวลาเดียวกัน จาง เผิง (Zhang Peng) ประธานของคณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติของจีน (China's National Development and Reform Commission) ได้เอ่ยปากกล่าวแสดงความไว้อาลัยต่ออดีตประธานาธิบดีเวเนซุเอลาผู้ล่วงลับ โดยใช้ถ้อยคำอ้างอิงเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าผิดปกติทีเดียวสำหรับสมาชิกคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งโดยทางการแล้วต้องประกาศตนว่าเป็นพวกอเทวนิยม-ไม่เชื่อพระเจ้า ทั้งนี้เขาบอกว่า “พวกเราจะต้องใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวเนซุเอลาให้ขยายตัวและหยั่งรากลงลึกต่อไปอีก นี่เป็นหนทางเดียวที่จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่วิญญาณของท่านประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ ได้”[2]
อย่างไรก็ตาม ทางอีกปลายด้านหนึ่งของแวดวงการเมืองเวเนซุเอลา เอนริเก กาปริเลส (Henrique Capriles) ผู้นำฝ่ายค้านและเป็นผู้สมัครของฝ่ายค้านที่จะเข้าชิงชัยกับ มารูโด ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่เพื่อรับตำแหน่งสืบแทนชาเบซ ก็ได้ให้สัญญาอย่างหนักแน่นว่า ถ้าหากเขาเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้งแล้ว เขาจะทำการทบทวนและขุดคุ้ยท้าทายประดาข้อตกลงพิเศษๆ ทั้งหลายซึ่งชาเบซทำเอาไว้กับพวกประเทศอย่างเช่นจีน, รัสเซีย, และคิวบา ทั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องระลึกเอาไว้ด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเวเนซุเอลามิได้เกิดขึ้นด้วยหนทางการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังได้มีความพยายามก่อการรัฐประหารยึดอำนาจหลายต่อหลายครั้งแล้วในระยะเวลาหลายๆ สิบปีที่ผ่านมา
พวกบริษัทน้ำมันที่เป็นรัฐวิสาหกิจของจีนนั้น มีการเติบใหญ่ขยายตัวไปมาก และจากความแข็งแกร่งทางการเงินที่บริษัทเหล่านี้มีกันอยู่ ก็เปิดทางให้พวกเขาสามารถทำการลงทุนทางด้านพลังงานขนาดใหญ่ๆ ในช่วงระยะ 10 ปีทีผ่านมา จนกระทั่งก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างจริงจังขึ้นในหมู่คณะผู้นำของสหรัฐฯ มีกระแสความหวาดหวั่นกันว่า จีนกำลังพยายามหาทางที่จะ “เก็บกัก” แหล่งน้ำมันสำรองเอาไว้ให้ได้มากๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมือเอาไว้ก่อนสำหรับการย่างก้าวเข้ามาของ “พีค ออย” ("Peak Oil" คือสถานการณ์ที่กำลังการผลิตน้ำมันของโลกเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคอยู่ในระดับสูงสุด เมื่อผ่านจุดนี้ไปความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบของโลกจะเริ่มลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น -ผู้แปล) และสภาพที่มูลค่าน้ำมันปิโตรเลียมจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างพุ่งพรวดหลังจากนั้น
ความหวาดหวั่นดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นจากการที่สหรัฐฯพยายามขัดขวางไม่ให้ บรรษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติของจีน (China National Offshore Oil Corporation หรือ CNOOC ซีนุก) ได้ซื้อบริษัทเน็กเซน (Nexen) ของแคนาดา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในแหล่งทรายน้ำมันของแคนาดา ตลอดจนแหล่งน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก จนกระทั่งทำให้ข้อตกลงเทคโอเวอร์คราวนี้ต้องยืดเยื้อออกไปหลายเดือน อย่างไรก็ดี ในที่สุดแล้ว รัฐวิสาหกิจ ซีนุก ของจีน ก็ซื้อ เน็กเซน ได้สำเร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในราคา 15,100 ล้านดอลลาร์ นับเป็นการเทคโอเวอร์กิจการต่างชาติที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัทแดนมังกร ไม่เหมือนกับกรณีที่ ซีนุก พยายามเข้าร่วมวงขอประมูลซื้อบริษัทยูโนแคล (Unocal) ในปี 2005 ซึ่งก็ถูกวอชิงตันขัดขวางอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลว่ามีผลกระทบกระเทือนความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ จนกระทั่ง ซีนุก ต้องถอนตัว แล้วจากนั้น ยูโนแคล จึงถูก เชฟรอน (Chevron) บริษัทน้ำมันอเมริกันยักษ์ใหญ่ฮุบไป ทั้งนี้ในโลกตะวันตกมีความวิตกกังวลกันว่า พวกบริษัทน้ำมันใหญ่ของจีนซึ่งต่างก็มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ อาจจะอาศัยอำนาจควบคุมเหนือแหล่งน้ำมันและก๊าซ มาดำเนินการเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของแดนมังกรเองแต่เพียงฝ่ายเดียว
เมื่อเร็วๆ นี้ หลี่ ฟานหรง (Li Fanrong) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ซีนุก ได้พยายามที่จะอธิบายแจกแจงเพื่อขจัดความกลัวดังกล่าว ในระหว่างการประชุมเรื่องพลังงานครั้งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฮิวสตัน มลรัฐเทกซัส ของสหรัฐฯ หลี่ระบุว่าความคิดซึ่งมีกันอยู่ในโลกตะวันตกที่ว่า จีนมีเจตนารมณ์ที่จะ “คว้าเอาน้ำมันทุกๆ บาร์เรล”ที่ตนเองขุดเจาะขึ้นมาได้เอาไว้แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ยอมแบ่งปันให้ใครเลยนั้น ไม่มีมูลความจริง เขากล่าวว่า “ความคิดเช่นนี้ไม่ได้มีเหตุผลเชิงพาณิชย์ใดๆ เอาเลย จริงๆ แล้วเราขายผลผลิตของเรา ณ ระบบจัดจำหน่ายที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น เพื่อให้ได้มูลค่าเชิงพาณิชย์ที่สูงที่สุด”[3] โดยเนื้อหาสาระแล้ว หลี่เน้นย้ำว่า การเข้าซื้อกิจการของ ซีนุก นั้น มีแรงขับดันจากความปรารถนาที่จะทำกำไร ไม่ใช่จากความใฝ่ฝันโหยหาของจีนที่จะก้าวขึ้นครองอำนาจพลังงานเชิงยุทธศาสตร์
คำอธิบายแจกแจงของ หลี่ น่าที่จะเป็นความจริง อย่างน้อยที่สุดก็ในขณะเวลานี้ โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าน้ำมันที่เวเนซุเอลาส่งมอบเพื่อใช้หนี้ให้แก่จีนนั้น ส่วนใหญ่หาได้เดินทางเข้าสู่ท่าเรือต่างๆ ของประเทศจีนไม่ ตามการศึกษาของ เควิน เจียนจิว์น ตู้ (Kevin Jianjun Tu) แห่งมูลนิธิคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) พบว่า “พวกบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของจีน ขายน้ำมันซึ่งมีแหล่งที่มาจากเวเนซุเอลาของพวกเขา ส่วนมากที่สุดในตลาดเปิด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่สูงลิ่วอันจะเกิดขึ้นจากการลำเลียงขนส่งเป็นระยะทางไกลไปสู่ประเทศจีน”[4] พูดกันให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ จีนได้รับน้ำมันเวเนซุเอลามาในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด แล้วก็จดการขายน้ำมันนี้ในราคาตลาด –โดยที่พอสันนิษฐานได้ว่าขายให้แก่พวกโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯนั่นเอง
อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงขณะเวลานี้ พวกรัฐวิสาหกิจของจีนกำลังจัดการกับความแข็งแกร่งทางด้านพลังงานระดับโลกของพวกตนด้วยการปฏิบัติอันมีความสมเหตุสมผลในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ถ้าหากคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เวลานี้จีนยังต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันนำเข้าซึ่งลำเลียงขนส่งผ่านอาณาบริเวณอันเต็มไปด้วยแสนยานุภาพทางนาวีของอเมริกาแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไรนักที่รัฐวิสาหกิจของแดนมังกรทั้งหลายจะต้องทำตัวเช่นนี้ เพราะถ้าหากเกิดการเผชิญหน้าทางด้านพลังงานขึ้นมาแล้ว จีนนั่นแหละจะต้องเป็นผู้ที่สูญเสียหนักหน่วงที่สุด
เพื่อที่จะพึ่งพาอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิลนำเข้าให้น้อยลง ปักกิ่งได้ทำการลงทุนอย่างมากมายทีเดียวในเรื่องเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และไฟฟ้าพลังน้ำ อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศจีนจะหย่าขาดจากน้ำมันได้ มีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบทบทวนกันครั้งมโหฬารเกี่ยวกับโมเดลการพัฒนาของแดนมังกร ตราบใดที่ปักกิ่งยังคงเดินตามเส้นทางการพัฒนามาตรฐานซึ่งจัดวางเอาไว้โดยชาติอื่นๆ แล้ว ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ ปักกิ่งจะยังคงใช้ความพยายามอันทะเยอทะยานในทางเศรษฐกิจ (แต่มีลักษณะอนุรักษนิยมในเชิงยุทธศาสตร์) เพื่อให้ตนเองมีส่วนแบ่งอันมั่นคงในเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีปริมาณจำกัดของโลก คาดหมายได้เลยว่าจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯไปเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งก็จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมืองไปทั่วทั้งพิภพนี้
หมายเหตุ
[1] ดู "China well on way to becoming largest oil importer", China Daily, March 7, 2013.
[2] ดู "Venezuela, China vow deeper ties after Chavez death", Global Post, March 9, 2013.
[3] ดู "Chinese oil exec attacks 'misconception' about country's global intensions", The Hill, March 5 2013.
[4] ดู "China Oil: An Evolving Strategy", Carnegie Endowment for International Peace, April 24, 2012.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony
China eyes post-Chavez oil axis
By Brendan P O'Reilly
12/03/2013
ความหวาดผวาที่ว่าจีนมีแผนการที่จะ “เก็บกัก” น้ำมันดิบสำรองเอาไว้ให้ได้มากๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมือเอาไว้ก่อนที่ช่วงราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึงขีดสูงสุดจะย่างก้าวเข้ามานั้น เป็นเรื่องที่พูดกันเกินเลยความเป็นจริงไปมากก็จริงอยู่ แต่แทบไม่มีข้อกังขาน่าสงสัยเลยว่าการที่จีนมีความต้องการได้น้ำมันปริมาณมหาศาลเพื่อการก้าวผงาดขึ้นไปสู่ฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกนั้น อย่างไรเสียก็จะต้องก่อให้เกิดการปะทะกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งนี้การที่ปักกิ่งแสดงความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งต่อเวเนซุเอลานับตั้งแต่การถึงแก่อสัญกรรมของ อูโก ชาเบซ ดูจะเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นว่า การต่อสู้อาจจะเริ่มต้นขึ้นในบริเวณหลังบ้านของสหรัฐฯก็เป็นไปได้
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**น้ำมันเวเนซุเอลา**
ประเทศจีนในเวลานี้แสดงความสนอกสนใจต่อเวเนซุเอลาอย่างมากมายเป็นพิเศษ เมื่อตอนที่ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าสื่อมวลชนของภาครัฐในจีนได้พยายามอย่างทุ่มเท เพื่อทำข่าวอย่างกว้างขวางลึกซึ้งเกี่ยวกับความโศกเศร้าอาลัยของมวลชนผู้นิยมชมชื่นในนโยบายสังคมนิยมของชาเบซ จนกระทั่งชวนให้ระลึกย้อนไปถึงฉากเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติอันร้อนแรงของแดนมังกรเอง ทั้งนี้จีนมีเดิมพันก้อนโตมากทีเดียวในเวเนซุเอลา โดยเฉพาะในเมื่อประเทศนี้สามารถแซงหน้าซาอุดีอาระเบียไปเมื่อเร็วๆ นี้ และกลายเป็นชาติที่มีน้ำมันสำรองขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปักกิ่งได้ปล่อยเงินกู้ให้แก่เวเนซุเอลาเป็นจำนวนมหาศาลถึงประมาณ 42,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินกู้เหล่านี้กำลังได้รับการชำระคืนในรูปของน้ำมันเวเนซุเอลาซึ่งคิดคำนวณราคากันในระดับต่ำกว่าอัตราตลาด ปัจจุบันจีนกลายเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของเวเนซุเอลาไปแล้ว (โดยตามหลังสหรัฐฯเท่านั้น) อีกทั้งยังตั้งหน้าตั้งตาจะนำเข้าน้ำมันของเวเนซุเอลาเพิ่มมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเวเนซุเอลาเกิดมีการเปลี่ยนผ่านถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองใดๆ ก็ตามที ซึ่งส่งผลลัพธ์ในทางทำให้พวกผู้สนับสนุนชาเบซต้องสูญเสียอำนาจแล้ว มันก็น่าจะเป็นภัยคุกคามต่อการลงทุนอันมากมายมหาศาลของจีนในประเทศอเมริกาใต้รายนี้เช่นกัน
นิโกลัส มารูโด (Nicholas Marudo) ประธานาธิบดีรักษาการของเวเนซุเอลา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศในยุคของชาเบซ ได้แสดงท่าทีปลอบขวัญจีน โดยออกมาเรียกร้องให้เวเนซุเอลาต้องร่วมมือกับจีนต่อไป เขาประกาศว่า “สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเราสามารถมอบแด่ท่านผู้บัญชาการชาเบซของพวกเรา ก็คือการเพิ่มพูนความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ที่มีอยู่กับประเทศจีนอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นไปอีก”
ในเวลาเดียวกัน จาง เผิง (Zhang Peng) ประธานของคณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติของจีน (China's National Development and Reform Commission) ได้เอ่ยปากกล่าวแสดงความไว้อาลัยต่ออดีตประธานาธิบดีเวเนซุเอลาผู้ล่วงลับ โดยใช้ถ้อยคำอ้างอิงเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าผิดปกติทีเดียวสำหรับสมาชิกคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งโดยทางการแล้วต้องประกาศตนว่าเป็นพวกอเทวนิยม-ไม่เชื่อพระเจ้า ทั้งนี้เขาบอกว่า “พวกเราจะต้องใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวเนซุเอลาให้ขยายตัวและหยั่งรากลงลึกต่อไปอีก นี่เป็นหนทางเดียวที่จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่วิญญาณของท่านประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ ได้”[2]
อย่างไรก็ตาม ทางอีกปลายด้านหนึ่งของแวดวงการเมืองเวเนซุเอลา เอนริเก กาปริเลส (Henrique Capriles) ผู้นำฝ่ายค้านและเป็นผู้สมัครของฝ่ายค้านที่จะเข้าชิงชัยกับ มารูโด ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่เพื่อรับตำแหน่งสืบแทนชาเบซ ก็ได้ให้สัญญาอย่างหนักแน่นว่า ถ้าหากเขาเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้งแล้ว เขาจะทำการทบทวนและขุดคุ้ยท้าทายประดาข้อตกลงพิเศษๆ ทั้งหลายซึ่งชาเบซทำเอาไว้กับพวกประเทศอย่างเช่นจีน, รัสเซีย, และคิวบา ทั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องระลึกเอาไว้ด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเวเนซุเอลามิได้เกิดขึ้นด้วยหนทางการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังได้มีความพยายามก่อการรัฐประหารยึดอำนาจหลายต่อหลายครั้งแล้วในระยะเวลาหลายๆ สิบปีที่ผ่านมา
พวกบริษัทน้ำมันที่เป็นรัฐวิสาหกิจของจีนนั้น มีการเติบใหญ่ขยายตัวไปมาก และจากความแข็งแกร่งทางการเงินที่บริษัทเหล่านี้มีกันอยู่ ก็เปิดทางให้พวกเขาสามารถทำการลงทุนทางด้านพลังงานขนาดใหญ่ๆ ในช่วงระยะ 10 ปีทีผ่านมา จนกระทั่งก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างจริงจังขึ้นในหมู่คณะผู้นำของสหรัฐฯ มีกระแสความหวาดหวั่นกันว่า จีนกำลังพยายามหาทางที่จะ “เก็บกัก” แหล่งน้ำมันสำรองเอาไว้ให้ได้มากๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมือเอาไว้ก่อนสำหรับการย่างก้าวเข้ามาของ “พีค ออย” ("Peak Oil" คือสถานการณ์ที่กำลังการผลิตน้ำมันของโลกเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคอยู่ในระดับสูงสุด เมื่อผ่านจุดนี้ไปความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบของโลกจะเริ่มลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น -ผู้แปล) และสภาพที่มูลค่าน้ำมันปิโตรเลียมจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างพุ่งพรวดหลังจากนั้น
ความหวาดหวั่นดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นจากการที่สหรัฐฯพยายามขัดขวางไม่ให้ บรรษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติของจีน (China National Offshore Oil Corporation หรือ CNOOC ซีนุก) ได้ซื้อบริษัทเน็กเซน (Nexen) ของแคนาดา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในแหล่งทรายน้ำมันของแคนาดา ตลอดจนแหล่งน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก จนกระทั่งทำให้ข้อตกลงเทคโอเวอร์คราวนี้ต้องยืดเยื้อออกไปหลายเดือน อย่างไรก็ดี ในที่สุดแล้ว รัฐวิสาหกิจ ซีนุก ของจีน ก็ซื้อ เน็กเซน ได้สำเร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในราคา 15,100 ล้านดอลลาร์ นับเป็นการเทคโอเวอร์กิจการต่างชาติที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัทแดนมังกร ไม่เหมือนกับกรณีที่ ซีนุก พยายามเข้าร่วมวงขอประมูลซื้อบริษัทยูโนแคล (Unocal) ในปี 2005 ซึ่งก็ถูกวอชิงตันขัดขวางอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลว่ามีผลกระทบกระเทือนความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ จนกระทั่ง ซีนุก ต้องถอนตัว แล้วจากนั้น ยูโนแคล จึงถูก เชฟรอน (Chevron) บริษัทน้ำมันอเมริกันยักษ์ใหญ่ฮุบไป ทั้งนี้ในโลกตะวันตกมีความวิตกกังวลกันว่า พวกบริษัทน้ำมันใหญ่ของจีนซึ่งต่างก็มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ อาจจะอาศัยอำนาจควบคุมเหนือแหล่งน้ำมันและก๊าซ มาดำเนินการเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของแดนมังกรเองแต่เพียงฝ่ายเดียว
เมื่อเร็วๆ นี้ หลี่ ฟานหรง (Li Fanrong) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ซีนุก ได้พยายามที่จะอธิบายแจกแจงเพื่อขจัดความกลัวดังกล่าว ในระหว่างการประชุมเรื่องพลังงานครั้งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฮิวสตัน มลรัฐเทกซัส ของสหรัฐฯ หลี่ระบุว่าความคิดซึ่งมีกันอยู่ในโลกตะวันตกที่ว่า จีนมีเจตนารมณ์ที่จะ “คว้าเอาน้ำมันทุกๆ บาร์เรล”ที่ตนเองขุดเจาะขึ้นมาได้เอาไว้แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ยอมแบ่งปันให้ใครเลยนั้น ไม่มีมูลความจริง เขากล่าวว่า “ความคิดเช่นนี้ไม่ได้มีเหตุผลเชิงพาณิชย์ใดๆ เอาเลย จริงๆ แล้วเราขายผลผลิตของเรา ณ ระบบจัดจำหน่ายที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น เพื่อให้ได้มูลค่าเชิงพาณิชย์ที่สูงที่สุด”[3] โดยเนื้อหาสาระแล้ว หลี่เน้นย้ำว่า การเข้าซื้อกิจการของ ซีนุก นั้น มีแรงขับดันจากความปรารถนาที่จะทำกำไร ไม่ใช่จากความใฝ่ฝันโหยหาของจีนที่จะก้าวขึ้นครองอำนาจพลังงานเชิงยุทธศาสตร์
คำอธิบายแจกแจงของ หลี่ น่าที่จะเป็นความจริง อย่างน้อยที่สุดก็ในขณะเวลานี้ โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าน้ำมันที่เวเนซุเอลาส่งมอบเพื่อใช้หนี้ให้แก่จีนนั้น ส่วนใหญ่หาได้เดินทางเข้าสู่ท่าเรือต่างๆ ของประเทศจีนไม่ ตามการศึกษาของ เควิน เจียนจิว์น ตู้ (Kevin Jianjun Tu) แห่งมูลนิธิคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) พบว่า “พวกบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของจีน ขายน้ำมันซึ่งมีแหล่งที่มาจากเวเนซุเอลาของพวกเขา ส่วนมากที่สุดในตลาดเปิด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่สูงลิ่วอันจะเกิดขึ้นจากการลำเลียงขนส่งเป็นระยะทางไกลไปสู่ประเทศจีน”[4] พูดกันให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ จีนได้รับน้ำมันเวเนซุเอลามาในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด แล้วก็จดการขายน้ำมันนี้ในราคาตลาด –โดยที่พอสันนิษฐานได้ว่าขายให้แก่พวกโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯนั่นเอง
อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงขณะเวลานี้ พวกรัฐวิสาหกิจของจีนกำลังจัดการกับความแข็งแกร่งทางด้านพลังงานระดับโลกของพวกตนด้วยการปฏิบัติอันมีความสมเหตุสมผลในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ถ้าหากคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เวลานี้จีนยังต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันนำเข้าซึ่งลำเลียงขนส่งผ่านอาณาบริเวณอันเต็มไปด้วยแสนยานุภาพทางนาวีของอเมริกาแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไรนักที่รัฐวิสาหกิจของแดนมังกรทั้งหลายจะต้องทำตัวเช่นนี้ เพราะถ้าหากเกิดการเผชิญหน้าทางด้านพลังงานขึ้นมาแล้ว จีนนั่นแหละจะต้องเป็นผู้ที่สูญเสียหนักหน่วงที่สุด
เพื่อที่จะพึ่งพาอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิลนำเข้าให้น้อยลง ปักกิ่งได้ทำการลงทุนอย่างมากมายทีเดียวในเรื่องเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และไฟฟ้าพลังน้ำ อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศจีนจะหย่าขาดจากน้ำมันได้ มีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบทบทวนกันครั้งมโหฬารเกี่ยวกับโมเดลการพัฒนาของแดนมังกร ตราบใดที่ปักกิ่งยังคงเดินตามเส้นทางการพัฒนามาตรฐานซึ่งจัดวางเอาไว้โดยชาติอื่นๆ แล้ว ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ ปักกิ่งจะยังคงใช้ความพยายามอันทะเยอทะยานในทางเศรษฐกิจ (แต่มีลักษณะอนุรักษนิยมในเชิงยุทธศาสตร์) เพื่อให้ตนเองมีส่วนแบ่งอันมั่นคงในเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีปริมาณจำกัดของโลก คาดหมายได้เลยว่าจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯไปเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งก็จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมืองไปทั่วทั้งพิภพนี้
หมายเหตุ
[1] ดู "China well on way to becoming largest oil importer", China Daily, March 7, 2013.
[2] ดู "Venezuela, China vow deeper ties after Chavez death", Global Post, March 9, 2013.
[3] ดู "Chinese oil exec attacks 'misconception' about country's global intensions", The Hill, March 5 2013.
[4] ดู "China Oil: An Evolving Strategy", Carnegie Endowment for International Peace, April 24, 2012.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony