รอยเตอร์ - สหรัฐฯก้าวเข้าสู่วันส่งท้ายปีเก่าโดยที่สภาคองเกรสยังไม่ได้ข้อตกลงว่าจะหลีกเลี่ยงวิกฤต “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) ซึ่งจะมาถึงในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าได้อย่างไร
การเจรจาระหว่างรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน และ มิตช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำรีพับลิกันในวุฒิสภา ถือเป็นความหวังสุดท้ายที่ช่วยให้สหรัฐฯรอดจากมาตรการปรับขึ้นภาษีและลดรายจ่ายทั้งระบบในวันขึ้นปีใหม่ 2013 ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ระบุไว้ในกฎหมายลดยอดขาดดุลงบประมาณที่วอชิงตันประกาศใช้เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2011
ความหวั่นวิตกของนักลงทุนที่สร้างแรงกระเพื่อมในตลาดการเงินอาจกระตุ้นให้ทั้งสองฝ่ายต้องยอมรอมชอมกันในนาทีสุดท้าย เหมือนเช่นหลายๆครั้งที่ผ่านมา
“ผมเชื่อว่านักลงทุนต้องไม่พอใจอย่างมากที่การแก้ปัญหาของวอชิงตันยังไม่คืบหน้าเสียที” โมฮันนัด อามา ผู้อำนวยการบริหาร บีม แคปปิตอล เมเนจเมนท์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนในนครนิวยอร์ก ให้สัมภาษณ์
ผู้นำฝ่ายเดโมแครตและรีพับลิกันในวุฒิสภาล้วนคาดหมายว่า จะสามารถบรรลุข้อตกลงเลี่ยงหน้าผาการคลังได้ภายในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา(30) แต่จนแล้วจนรอดทั้ง 2 ฝ่ายก็ยังถือจุดยืนที่แตกต่างและหาทางประนีประนอมกันไม่ได้ จนในที่สุด แฮร์รี รีด ผู้นำส.ว.เสียงข้างมากพรรคเดโมแครต ต้องประกาศเลื่อนการโหวตลงคะแนนมาเป็นวันนี้(31)แทน
ประเด็นที่เดโมแครตและรีพับลิกันยังไม่อาจตกลงกันได้ก็คือ จะขยายช่วงเวลาลดหย่อนภาษีสำหรับพลเมืองทุกกลุ่มรวมถึงบุคคลร่ำรวยตามที่รีพับลิกันเรียกร้อง หรือจะให้สิทธิ์เฉพาะพลเมืองที่มีรายได้น้อยกว่า 250,000-400,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ตามแผนของรัฐบาลเดโมแครต
การที่รีพับลิกันยืนกรานให้รัฐบาลตัดลดรายจ่ายลงมากกว่าแผนที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เคยเสนอมา ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้ทั้ง 2 พรรคไม่สามารถตกลงกันได้
นอกจากประเด็นหน้าผาการคลังแล้ว ส.ส.จากรัฐที่ทำการเกษตรเป็นหลักยังเรียกร้องให้สภาคองเกรสยืดอายุกฎหมายเกษตรกรรม เพื่อมิให้ราคานมโคขยับขึ้นเท่าตัวเป็น 7 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อแกลลอนหรือยิ่งกว่านั้นในช่วงต้นปี 2013
การงดเก็บภาษีค่าจ้างชั่วคราว (payroll tax holiday) ที่ใช้มากว่า 2 ปียังมีแนวโน้มจะถูกยกเลิกไปหลังเที่ยงคืนของวันนี้(31)ด้วย ซึ่งทั้งฝ่ายเดโมแครตและรีพับลิกันต่างก็ไม่กระตือรือร้นที่จะต่ออายุนโยบายดังกล่าว ส่วนหนึ่งเพราะภาษีที่ได้ก็จะนำมาอุดหนุนโครงการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุนั่นเอง
อัตราภาษี 4.2% ที่คนทำงานราว 160 ล้านคนในสหรัฐฯต้องจ่ายจะขยับขึ้นเป็น 6.2% ตั้งแต่วันพรุ่งนี้(1) ซึ่งเป็นผลกระทบที่ผู้เสียภาษีจะต้องแบกรับโดยตรง
การเจรจาระหว่างรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน และ มิตช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำรีพับลิกันในวุฒิสภา ถือเป็นความหวังสุดท้ายที่ช่วยให้สหรัฐฯรอดจากมาตรการปรับขึ้นภาษีและลดรายจ่ายทั้งระบบในวันขึ้นปีใหม่ 2013 ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ระบุไว้ในกฎหมายลดยอดขาดดุลงบประมาณที่วอชิงตันประกาศใช้เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2011
ความหวั่นวิตกของนักลงทุนที่สร้างแรงกระเพื่อมในตลาดการเงินอาจกระตุ้นให้ทั้งสองฝ่ายต้องยอมรอมชอมกันในนาทีสุดท้าย เหมือนเช่นหลายๆครั้งที่ผ่านมา
“ผมเชื่อว่านักลงทุนต้องไม่พอใจอย่างมากที่การแก้ปัญหาของวอชิงตันยังไม่คืบหน้าเสียที” โมฮันนัด อามา ผู้อำนวยการบริหาร บีม แคปปิตอล เมเนจเมนท์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนในนครนิวยอร์ก ให้สัมภาษณ์
ผู้นำฝ่ายเดโมแครตและรีพับลิกันในวุฒิสภาล้วนคาดหมายว่า จะสามารถบรรลุข้อตกลงเลี่ยงหน้าผาการคลังได้ภายในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา(30) แต่จนแล้วจนรอดทั้ง 2 ฝ่ายก็ยังถือจุดยืนที่แตกต่างและหาทางประนีประนอมกันไม่ได้ จนในที่สุด แฮร์รี รีด ผู้นำส.ว.เสียงข้างมากพรรคเดโมแครต ต้องประกาศเลื่อนการโหวตลงคะแนนมาเป็นวันนี้(31)แทน
ประเด็นที่เดโมแครตและรีพับลิกันยังไม่อาจตกลงกันได้ก็คือ จะขยายช่วงเวลาลดหย่อนภาษีสำหรับพลเมืองทุกกลุ่มรวมถึงบุคคลร่ำรวยตามที่รีพับลิกันเรียกร้อง หรือจะให้สิทธิ์เฉพาะพลเมืองที่มีรายได้น้อยกว่า 250,000-400,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ตามแผนของรัฐบาลเดโมแครต
การที่รีพับลิกันยืนกรานให้รัฐบาลตัดลดรายจ่ายลงมากกว่าแผนที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เคยเสนอมา ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้ทั้ง 2 พรรคไม่สามารถตกลงกันได้
นอกจากประเด็นหน้าผาการคลังแล้ว ส.ส.จากรัฐที่ทำการเกษตรเป็นหลักยังเรียกร้องให้สภาคองเกรสยืดอายุกฎหมายเกษตรกรรม เพื่อมิให้ราคานมโคขยับขึ้นเท่าตัวเป็น 7 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อแกลลอนหรือยิ่งกว่านั้นในช่วงต้นปี 2013
การงดเก็บภาษีค่าจ้างชั่วคราว (payroll tax holiday) ที่ใช้มากว่า 2 ปียังมีแนวโน้มจะถูกยกเลิกไปหลังเที่ยงคืนของวันนี้(31)ด้วย ซึ่งทั้งฝ่ายเดโมแครตและรีพับลิกันต่างก็ไม่กระตือรือร้นที่จะต่ออายุนโยบายดังกล่าว ส่วนหนึ่งเพราะภาษีที่ได้ก็จะนำมาอุดหนุนโครงการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุนั่นเอง
อัตราภาษี 4.2% ที่คนทำงานราว 160 ล้านคนในสหรัฐฯต้องจ่ายจะขยับขึ้นเป็น 6.2% ตั้งแต่วันพรุ่งนี้(1) ซึ่งเป็นผลกระทบที่ผู้เสียภาษีจะต้องแบกรับโดยตรง