(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Manila paddles harder in the South China Sea
By Richard Javad Heydarian
15/11/2012
ฟิลิปปินส์มีการผูกพันทางทหารกับสหรัฐฯอย่างแนบแน่นลึกซึ้งยิ่งขึ้นทุกที เมื่อเผชิญหน้ากับความแข็งกร้าวของจีนในการอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ การเดินนโยบายเช่นนี้ผลิดอกออกผลในแง่ของความสำเร็จและเกียรติภูมิในระดับภูมิภาค แต่ในเวลาเดียวกัน ก็เห็นได้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า คณะรัฐบาลประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ยังกำลังลงทุนลงแรงเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกยิ่งขึ้นในการติดต่อสัมพันธ์กับปักกิ่ง ซึ่งดูเหมือนมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษในช่วงแห่งการเปลี่ยนถ่ายคณะผู้นำของประเทศ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ความร่วมมือทางทะเล**
ในวันที่ 3 ตุลาคม 2012 ฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ครั้งที่ 3 ซึ่งเปิดโอกาสให้พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศจากทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มาชุมนุมรวมตัวกันเป็นเวลา 3 วัน โดยที่วาระของเวทีการประชุมหารือคราวนี้เน้นหนักไปยังประเด็นปัญหาทางทะเลต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกันอยู่ เป็นต้นว่า การติดต่อเชื่อมโยงทางทะเล, สิ่งแวดล้อมทางทะเล, โจรสลัดในทะเล, การค้นหาและกู้ภัยในทะเล, การประมง, และความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล
เวทีการประชุมหารือคราวนี้ ถือว่าเป็นการต่อยอดข้อสรุปต่างๆ ที่ออกมาจากการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit หรือ EAS) ครั้งที่ 6 โดยที่บรรดาผู้นำของ EAS ครั้งนั้นต่างเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือกันทางทะเลและความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล นอกเหนือจากจะเป็นเวทีหารือหลักของภูมิภาคสำหรับการอภิปรายถกเถียงกันในประเด็นปัญหาทางทะเลแล้ว เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ฟิลิปปินส์คราวนี้ ยังเป็น เวทีการประชุมหารือขยายวงเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน (Expanded ASEAN Maritime Forum หรือ EAMF) ครั้งแรกอีกด้วย เนื่องจากมีการนำเอาสมาชิกทั้ง 18 ชาติของ EAS ซึ่งครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่เพียง 10 รัฐสมาชิกสมาคมอาเซียน เข้ามาพูดจากัน
ในวันสุดท้ายของเวทีหารือคราวนี้ ยังมีการขยายผู้เข้าร่วม โดยเชื้อเชิญพวกตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ หลายหลาก (เป็นต้นว่า นักวิชาการ, ภาคเอกชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในภาครัฐบาล) จาก 8 ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย, สหรัฐฯ, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, รัสเซีย, จีน, และนิวซีแลนด์ มีข้อน่าสังเกตว่า กระทรวงการต่างประเทศของจีนปฏิเสธไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อคณะผู้แทนของตนก่อนหน้าเวทีการประชุมหารือคราวนี้จะเริ่มต้นขึ้น ขณะเดียวกันก็มีร่องรอยหลายๆ อย่างที่แสดงให้เห็นว่า พวกผู้แทนจากญี่ปุ่นมีความพยายามหยิบยกถกเถียงอภิปรายเรื่องกรณีพิพาทที่แดนอาทิตย์อุทัยมีอยู่กับแดนมังกรเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ ในทะเลจีนตะวันออก
พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายฟิลิปปินส์เองนั้น พูดถึงวัตถุประสงค์ของเวทีการประชุมหารือคราวนี้ในทัศนะของฝ่ายตนอย่างตรงไปตรงมา ดังที่ ราอูล เฮอร์นันเดซ (Raul Hernandez) ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวว่า “ฟิลิปปินส์มีความปรารถนาที่จะชักชวนให้บรรดาหุ้นส่วนของเราเข้าร่วมการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางทะเลต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องพัวพันกันอยู่ และสำรวจหาหนทางและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนบรรดากิจกรรมซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางทะเลและความร่วมมือกันทางทะเลในเอเชียตะวันออก”
ในเวลาเดียวกัน ฟิลิปปินส์แสดงความปรารถนาของตนที่จะเปิดการอภิปรายถกเถียงกันอย่างละเอียดอ่อนลงลึกกับคณะผู้แทนจีนและคณะผู้แทนอเมริกัน พร้อมกันนั้นก็พยายามขอความสนับสนุนจากทั้งเหล่าสมาชิกอาเซียนและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ตลอดทั่วทั้งแปซิฟิกรายอื่นๆ เพื่อให้ช่วยกันจัดทำโครงสร้างด้านความมั่นคงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะทำหน้าที่คอยติดตามกำกับดูแลบรรดาข้อพิพาททางดินแดนที่กำลังระอุคุกรุ่นอยู่ จากการดำเนินการเช่นนี้ เท่ากับว่าฟิลิปปินส์ยังคงสามารถหาทางหยิบยกเรื่องข้อพิพาทที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งหลายเหล่านี้ ขึ้นสู่ความสนใจจับจ้องของแวดวงภูมิภาค ซึ่งน่าจะช่วยให้ฝ่ายต่างๆ มองเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมี “แนวปฏิบัติ” ของภูมิภาคสำหรับทะเลจีนใต้ ซึ่งมีผลผูกพันอย่างจริงจังมากขึ้น
นอกจากนั้น ฟิลิปปินส์ยังใช้เวทีการประชุมหารือคราวนี้เพื่อเน้นย้ำประเด็นปัญหาเรื่อง “เสรีภาพในการเดินเรือ” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกรณีพิพาทเหล่านี้อีกด้วย ทั้งนี้ถ้าหากย้อนหลังไปในปี 2010 ระหว่างการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯได้แสดงท่าทีสนับสนุนเวียดนามและฟิลิปปินส์ เมื่อตอนที่เธอพูดตำหนิติเตียนจีนอย่างอ้อมๆ จากการที่แดนมังกรกำลังใช้ท่าทีอันแข็งกร้าวมากขึ้นในเรื่องทะเลจีนใต้ พร้อมกันนั้นสหรัฐฯยังระบุว่า “เสรีภาพในการเดินเรือ” ถือเป็นผลประโยชน์แห่งชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งนี่กลายเป็นการบุกเบิกแผ้วถางที่ทางใหม่ๆ ในจุดศูนย์กลางของข้อพิพาททางดินแดนในทะเลจีนใต้ทั้งหลาย
ก่อนหน้า เวทีประชุมหารือที่ฟิลิปปินส์คราวนี้ รัฐมนตรีคลินตัน ของสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงแสดงท่าทีว่า วอชิงตันให้ความสนับสนุนวัตถุประสงค์และรูปแบบการจัดเวทีหารือคราวนี้ โดยเธอกล่าวว่า “รัฐที่ร่วมอยู่ในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกทั้ง 18 ราย ต่างได้รับเชิญให้เข้าร่วมการอภิปรายหารือเชิงลึกว่าด้วยวิธีการในการปรับปรุงยกระดับความปลอดภัยของทางน้ำต่างๆ ในภูมิภาค, การต่อสู้ปราบปรามโจรสลัด, การพิทักษ์คุ้มครองสิ่งแวดล้อม, และเรายังรู้สึกว่าได้รับกำลังใจจากการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากพวกเขากำลังทำงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติอันรอบด้านสำหรับทะเลจีนใต้ เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการป้องกันไม่ให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคนี้ขึ้นมาในอนาคต”
เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าคณะผู้นำฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญแก่เวทีการประชุมหารือครั้งนี้ขนาดไหน รองประธานาธิบดี เจโจมาร์ บิเนย์ (Jejomar Binay) จึงเข้าร่วมการหารือด้วย ในคำปราศรัยสำคัญของเขาในเวทีนี้ เขาพยายามใช้ถ้อยคำภาษาแห่งความร่วมมือกันทางทะเลในภูมิภาคซึ่งนุ่มนวล ด้วยการเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับปัญหาท้าทายจากภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ซึ่งกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่าการลำเลียงขนส่งพลังงานทั้งหลายจะยังสามารถเลื่อนไหลผ่านเส้นทางเดินเรือทะเลอันสำคัญต่างๆ ในภูมิภาคได้ เขายังเน้นย้ำถึงประโยชน์ของ เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ในฐานะที่เป็นโอกาสสำหรับการสานความร่วมมือกันทางทะเลในเชิงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
สืบเนื่องจากประเด็นปัญหาต่างๆ ที่กำหนดเอาไว้ในวาระการประชุมหารือคราวนี้ ต่างก็เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว ด้วยเหตุนี้การอภิปรายถกเถียงกันในเบื้องต้นระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับเรื่องที่อาจจะร่วมมือกันได้ จึงกระทำกันแบบประชุมลับ อย่างไรก็ดี เราพอที่จะมองเห็นความเป็นไปเบื้องหลังประตูที่ปิดสนิทอยู่บ้าง จากคำแถลงของประธาน เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ครั้งที่ 3 ทั้งนี้ คำแถลงดังกล่าวมีหยิบยกประเด็นสำคัญๆ ขึ้นมาเน้นย้ำ 2 ประการ ได้แก่ (1) ผู้เข้าร่วมประชุมเน้นเรื่องการเคารพปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้นว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล, ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ปี 2002 (the 2002 ASEAN Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea ใช้อักษรย่อว่า DOC), ตลอดจน หลักการ 6 ประการว่าด้วยทะเลจีนใต้ ของสมาคมอาเซียนที่เพิ่งประกาศออกมาเมื่อไม่นานมานี้ และ(2) ผู้เข้าร่วมประชุมมองเห็นและรับรองว่า การแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเกี่ยวกับแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศ เป็นเรื่องที่บทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวด
ในวันแรกของเวทีการประชุมหารือคราวนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้ยื่นข้อเสนอว่าด้วยระบบแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระดับภูมิภาค ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยพิทักษ์คุ้มครองน่านน้ำทั้งหลายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สามารถรับมือกับ “ภัยคุกคาม” ต่างๆ โดยรวม ไม่ว่าจะเป็น การค้ายาเสพติด, การลักลอบขนอาวุธปืน, การค้ามนุษย์, การทำประมงอย่างผิดกฎหมาย, และการก่อกวนสร้างปัญหาให้ภูมิอากาศ ในข้อเสนอนี้ระบุว่า ระบบดังกล่าวจะ “ให้ข่าวสารข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริง, ถูกต้อง, ทันเวลา แก่บรรดาหน่วยงานปฏิบัติการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้หน่วยงานเหล่านี้สามารถที่จะต่อสู้ปราบปรามภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ต่างๆ ในท้องทะเลได้”
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการโต้แย้งกัน และทำให้มั่นใจว่าจะได้รับการพิจารณาจากผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายต่างๆ ซึ่งอาจจะมีจุดยืนที่ขัดแย้งกันอยู่ ข้อเสนอนี้จึงตั้งใจใช้ถ้อยคำที่กว้างๆ หลวมๆ และทำให้เกิดข้อด้อยตรงที่มิได้มีการระบุเจาะจงเกี่ยวกับกลไกที่จะทำหน้าที่ใน “การแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร” รวมทั้งยังละเว้นไม่เอ่ยถึงข้อพิพาททางดินแดนในทะเลจีนใต้ใดๆ ทั้งสิ้น กระนั้นก็ตามที สิ่งที่ชัดเจนมากๆ ก็คือ ถึงแม้ลู่ทางความหวังที่จะได้เห็น “แนวปฏิบัติสำหรับทะเลจีนใต้” ยังคงดูเลือนราง แต่ฟิลิปปินส์ก็ได้ใช้ความพยายามผ่านวิถีทางการทูต จนกระทั่งนำเอาประเด็นปัญหาเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล และความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกัน กลับคืนสู่จุดศูนย์กลางแห่งการอภิปรายถกเถียงอย่างเป็นทางการของภูมิภาคได้อีกคำรบหนึ่ง
ริชาร์ด จาวัด เฮย์ดาเรียน เป็นนักวิเคราะห์ด้านกิจการต่างประเทศซึ่งพำนักอยู่ในมะนิลา สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ jrheydarian@gmail.com
Manila paddles harder in the South China Sea
By Richard Javad Heydarian
15/11/2012
ฟิลิปปินส์มีการผูกพันทางทหารกับสหรัฐฯอย่างแนบแน่นลึกซึ้งยิ่งขึ้นทุกที เมื่อเผชิญหน้ากับความแข็งกร้าวของจีนในการอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ การเดินนโยบายเช่นนี้ผลิดอกออกผลในแง่ของความสำเร็จและเกียรติภูมิในระดับภูมิภาค แต่ในเวลาเดียวกัน ก็เห็นได้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า คณะรัฐบาลประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ยังกำลังลงทุนลงแรงเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกยิ่งขึ้นในการติดต่อสัมพันธ์กับปักกิ่ง ซึ่งดูเหมือนมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษในช่วงแห่งการเปลี่ยนถ่ายคณะผู้นำของประเทศ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ความร่วมมือทางทะเล**
ในวันที่ 3 ตุลาคม 2012 ฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ครั้งที่ 3 ซึ่งเปิดโอกาสให้พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศจากทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มาชุมนุมรวมตัวกันเป็นเวลา 3 วัน โดยที่วาระของเวทีการประชุมหารือคราวนี้เน้นหนักไปยังประเด็นปัญหาทางทะเลต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกันอยู่ เป็นต้นว่า การติดต่อเชื่อมโยงทางทะเล, สิ่งแวดล้อมทางทะเล, โจรสลัดในทะเล, การค้นหาและกู้ภัยในทะเล, การประมง, และความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล
เวทีการประชุมหารือคราวนี้ ถือว่าเป็นการต่อยอดข้อสรุปต่างๆ ที่ออกมาจากการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit หรือ EAS) ครั้งที่ 6 โดยที่บรรดาผู้นำของ EAS ครั้งนั้นต่างเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือกันทางทะเลและความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล นอกเหนือจากจะเป็นเวทีหารือหลักของภูมิภาคสำหรับการอภิปรายถกเถียงกันในประเด็นปัญหาทางทะเลแล้ว เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ฟิลิปปินส์คราวนี้ ยังเป็น เวทีการประชุมหารือขยายวงเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน (Expanded ASEAN Maritime Forum หรือ EAMF) ครั้งแรกอีกด้วย เนื่องจากมีการนำเอาสมาชิกทั้ง 18 ชาติของ EAS ซึ่งครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่เพียง 10 รัฐสมาชิกสมาคมอาเซียน เข้ามาพูดจากัน
ในวันสุดท้ายของเวทีหารือคราวนี้ ยังมีการขยายผู้เข้าร่วม โดยเชื้อเชิญพวกตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ หลายหลาก (เป็นต้นว่า นักวิชาการ, ภาคเอกชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในภาครัฐบาล) จาก 8 ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย, สหรัฐฯ, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, รัสเซีย, จีน, และนิวซีแลนด์ มีข้อน่าสังเกตว่า กระทรวงการต่างประเทศของจีนปฏิเสธไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อคณะผู้แทนของตนก่อนหน้าเวทีการประชุมหารือคราวนี้จะเริ่มต้นขึ้น ขณะเดียวกันก็มีร่องรอยหลายๆ อย่างที่แสดงให้เห็นว่า พวกผู้แทนจากญี่ปุ่นมีความพยายามหยิบยกถกเถียงอภิปรายเรื่องกรณีพิพาทที่แดนอาทิตย์อุทัยมีอยู่กับแดนมังกรเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ ในทะเลจีนตะวันออก
พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายฟิลิปปินส์เองนั้น พูดถึงวัตถุประสงค์ของเวทีการประชุมหารือคราวนี้ในทัศนะของฝ่ายตนอย่างตรงไปตรงมา ดังที่ ราอูล เฮอร์นันเดซ (Raul Hernandez) ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวว่า “ฟิลิปปินส์มีความปรารถนาที่จะชักชวนให้บรรดาหุ้นส่วนของเราเข้าร่วมการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางทะเลต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องพัวพันกันอยู่ และสำรวจหาหนทางและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนบรรดากิจกรรมซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางทะเลและความร่วมมือกันทางทะเลในเอเชียตะวันออก”
ในเวลาเดียวกัน ฟิลิปปินส์แสดงความปรารถนาของตนที่จะเปิดการอภิปรายถกเถียงกันอย่างละเอียดอ่อนลงลึกกับคณะผู้แทนจีนและคณะผู้แทนอเมริกัน พร้อมกันนั้นก็พยายามขอความสนับสนุนจากทั้งเหล่าสมาชิกอาเซียนและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ตลอดทั่วทั้งแปซิฟิกรายอื่นๆ เพื่อให้ช่วยกันจัดทำโครงสร้างด้านความมั่นคงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะทำหน้าที่คอยติดตามกำกับดูแลบรรดาข้อพิพาททางดินแดนที่กำลังระอุคุกรุ่นอยู่ จากการดำเนินการเช่นนี้ เท่ากับว่าฟิลิปปินส์ยังคงสามารถหาทางหยิบยกเรื่องข้อพิพาทที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งหลายเหล่านี้ ขึ้นสู่ความสนใจจับจ้องของแวดวงภูมิภาค ซึ่งน่าจะช่วยให้ฝ่ายต่างๆ มองเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมี “แนวปฏิบัติ” ของภูมิภาคสำหรับทะเลจีนใต้ ซึ่งมีผลผูกพันอย่างจริงจังมากขึ้น
นอกจากนั้น ฟิลิปปินส์ยังใช้เวทีการประชุมหารือคราวนี้เพื่อเน้นย้ำประเด็นปัญหาเรื่อง “เสรีภาพในการเดินเรือ” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกรณีพิพาทเหล่านี้อีกด้วย ทั้งนี้ถ้าหากย้อนหลังไปในปี 2010 ระหว่างการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯได้แสดงท่าทีสนับสนุนเวียดนามและฟิลิปปินส์ เมื่อตอนที่เธอพูดตำหนิติเตียนจีนอย่างอ้อมๆ จากการที่แดนมังกรกำลังใช้ท่าทีอันแข็งกร้าวมากขึ้นในเรื่องทะเลจีนใต้ พร้อมกันนั้นสหรัฐฯยังระบุว่า “เสรีภาพในการเดินเรือ” ถือเป็นผลประโยชน์แห่งชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งนี่กลายเป็นการบุกเบิกแผ้วถางที่ทางใหม่ๆ ในจุดศูนย์กลางของข้อพิพาททางดินแดนในทะเลจีนใต้ทั้งหลาย
ก่อนหน้า เวทีประชุมหารือที่ฟิลิปปินส์คราวนี้ รัฐมนตรีคลินตัน ของสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงแสดงท่าทีว่า วอชิงตันให้ความสนับสนุนวัตถุประสงค์และรูปแบบการจัดเวทีหารือคราวนี้ โดยเธอกล่าวว่า “รัฐที่ร่วมอยู่ในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกทั้ง 18 ราย ต่างได้รับเชิญให้เข้าร่วมการอภิปรายหารือเชิงลึกว่าด้วยวิธีการในการปรับปรุงยกระดับความปลอดภัยของทางน้ำต่างๆ ในภูมิภาค, การต่อสู้ปราบปรามโจรสลัด, การพิทักษ์คุ้มครองสิ่งแวดล้อม, และเรายังรู้สึกว่าได้รับกำลังใจจากการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากพวกเขากำลังทำงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติอันรอบด้านสำหรับทะเลจีนใต้ เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการป้องกันไม่ให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคนี้ขึ้นมาในอนาคต”
เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าคณะผู้นำฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญแก่เวทีการประชุมหารือครั้งนี้ขนาดไหน รองประธานาธิบดี เจโจมาร์ บิเนย์ (Jejomar Binay) จึงเข้าร่วมการหารือด้วย ในคำปราศรัยสำคัญของเขาในเวทีนี้ เขาพยายามใช้ถ้อยคำภาษาแห่งความร่วมมือกันทางทะเลในภูมิภาคซึ่งนุ่มนวล ด้วยการเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับปัญหาท้าทายจากภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ซึ่งกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่าการลำเลียงขนส่งพลังงานทั้งหลายจะยังสามารถเลื่อนไหลผ่านเส้นทางเดินเรือทะเลอันสำคัญต่างๆ ในภูมิภาคได้ เขายังเน้นย้ำถึงประโยชน์ของ เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ในฐานะที่เป็นโอกาสสำหรับการสานความร่วมมือกันทางทะเลในเชิงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
สืบเนื่องจากประเด็นปัญหาต่างๆ ที่กำหนดเอาไว้ในวาระการประชุมหารือคราวนี้ ต่างก็เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว ด้วยเหตุนี้การอภิปรายถกเถียงกันในเบื้องต้นระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับเรื่องที่อาจจะร่วมมือกันได้ จึงกระทำกันแบบประชุมลับ อย่างไรก็ดี เราพอที่จะมองเห็นความเป็นไปเบื้องหลังประตูที่ปิดสนิทอยู่บ้าง จากคำแถลงของประธาน เวทีการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน ครั้งที่ 3 ทั้งนี้ คำแถลงดังกล่าวมีหยิบยกประเด็นสำคัญๆ ขึ้นมาเน้นย้ำ 2 ประการ ได้แก่ (1) ผู้เข้าร่วมประชุมเน้นเรื่องการเคารพปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้นว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล, ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ปี 2002 (the 2002 ASEAN Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea ใช้อักษรย่อว่า DOC), ตลอดจน หลักการ 6 ประการว่าด้วยทะเลจีนใต้ ของสมาคมอาเซียนที่เพิ่งประกาศออกมาเมื่อไม่นานมานี้ และ(2) ผู้เข้าร่วมประชุมมองเห็นและรับรองว่า การแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเกี่ยวกับแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศ เป็นเรื่องที่บทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวด
ในวันแรกของเวทีการประชุมหารือคราวนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้ยื่นข้อเสนอว่าด้วยระบบแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระดับภูมิภาค ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยพิทักษ์คุ้มครองน่านน้ำทั้งหลายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สามารถรับมือกับ “ภัยคุกคาม” ต่างๆ โดยรวม ไม่ว่าจะเป็น การค้ายาเสพติด, การลักลอบขนอาวุธปืน, การค้ามนุษย์, การทำประมงอย่างผิดกฎหมาย, และการก่อกวนสร้างปัญหาให้ภูมิอากาศ ในข้อเสนอนี้ระบุว่า ระบบดังกล่าวจะ “ให้ข่าวสารข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริง, ถูกต้อง, ทันเวลา แก่บรรดาหน่วยงานปฏิบัติการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้หน่วยงานเหล่านี้สามารถที่จะต่อสู้ปราบปรามภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ต่างๆ ในท้องทะเลได้”
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการโต้แย้งกัน และทำให้มั่นใจว่าจะได้รับการพิจารณาจากผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายต่างๆ ซึ่งอาจจะมีจุดยืนที่ขัดแย้งกันอยู่ ข้อเสนอนี้จึงตั้งใจใช้ถ้อยคำที่กว้างๆ หลวมๆ และทำให้เกิดข้อด้อยตรงที่มิได้มีการระบุเจาะจงเกี่ยวกับกลไกที่จะทำหน้าที่ใน “การแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร” รวมทั้งยังละเว้นไม่เอ่ยถึงข้อพิพาททางดินแดนในทะเลจีนใต้ใดๆ ทั้งสิ้น กระนั้นก็ตามที สิ่งที่ชัดเจนมากๆ ก็คือ ถึงแม้ลู่ทางความหวังที่จะได้เห็น “แนวปฏิบัติสำหรับทะเลจีนใต้” ยังคงดูเลือนราง แต่ฟิลิปปินส์ก็ได้ใช้ความพยายามผ่านวิถีทางการทูต จนกระทั่งนำเอาประเด็นปัญหาเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล และความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกัน กลับคืนสู่จุดศูนย์กลางแห่งการอภิปรายถกเถียงอย่างเป็นทางการของภูมิภาคได้อีกคำรบหนึ่ง
ริชาร์ด จาวัด เฮย์ดาเรียน เป็นนักวิเคราะห์ด้านกิจการต่างประเทศซึ่งพำนักอยู่ในมะนิลา สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ jrheydarian@gmail.com