(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Romney’s China hand encounters rough seas
By Benjamin A Shobert
16/08/2012
มิตต์ รอมนีย์ ประกาศแต่งตั้งให้ โรเบิร์ต เซลลิก ผู้เพิ่งพ้นตำแหน่งประธานธนาคารโลกมาได้ไม่กี่เดือน เป็นหัวหน้าดูแลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ในทีมเตรียมการรับมอบงานรับมอบอำนาจของเขา (ในกรณีที่รอมนีย์เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี) เรื่องนี้น่าจะทำให้พวกอนุรักษนิยมใหม่ ยิ่งบังเกิดความหวาดผวาอย่างที่สุด เกี่ยวกับจุดยืนด้านนโยบายการต่างประเทศ ของว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯของพรรครีพับลิกันผู้นี้ ด้วยความกลัวเกรงว่ามันจะเป็นความจริงตามที่เคยตั้งสมมุติฐานกันไว้ นั่นคือ เมื่อได้เข้าไปนั่งในทำเนียบขาวแล้ว รอมนีย์จะกลับทำตัวเป็นพวกสายกลางและมุ่งเน้นผลทางปฏิบัติ ไม่เน้นเรื่องอุดมการณ์และความพร้อมที่จะประจันหน้าท้าทาย อย่างที่พวกอนุรักษนิยมใหม่ปรารถนา นอกจากนั้นการนำเอาเซลลิกเข้ามาอยู่ในทีมงานของเขา ยังจะทำให้รอมนีย์ประสบความลำบากยากยิ่งที่จะชี้ชวนให้กลุ่ม “ทีปาร์ตี้” พวกอนุรักษนิยม+อิสรเสรีนิยม+ประชานิยม ซึ่งกำลังมีอิทธิพลอย่างมากมายในพรรครีพับลิกัน เชื่อมั่นว่ารอมนีย์จะกระทำตามคำพูดคำจาอันขึงขังของเขาเองที่ว่าจะ “เล่นบทโหดกับจีน”
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
มิตต์ รอมนีย์ (Mitt Romney) ว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน ยังคงต้องต่อสู้ดิ้นรนต่อไป ในการกำหนดจัดวางนโยบายเกี่ยวกับจีน เพื่อให้ฝ่ายต่างๆ ยอมรับว่ามีความเสมอต้นเสมอปลายและสมเหตุสมผล การที่ในสัปดาห์ที่แล้วเขาเสนอชื่อของ โรเบิร์ต เซลลิก (Robert Zoellick) ผู้เพิ่งพ้นตำแหน่งประธานธนาคารโลกมาไม่กี่เดือน ให้เป็นหัวหน้าดูแลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ในทีมเตรียมการรับมอบงานรับมอบอำนาจของเขา ในกรณีที่เขาเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพฤศจิกายนนี้ (national-security transition team) ก่อให้เกิดเสียงโกรธเกรี้ยวจากพวกอนุรักษนิยม (neo-conservative) คนสำคัญๆ ผู้ซึ่งมีความคิดเห็นขัดแย้งกับจุดยืนด้านนโยบายการต่างประเทศหลายต่อหลายเรื่องของเซลลิกอยู่แล้ว โดยเฉพาะในเรื่องที่เซลลิกถูกมองว่าเป็นพวกที่ “นิยมจีน” ตะพึดตะพือ
ปัญหาต่างๆ ที่รอมนีย์กำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องที่ว่าพวกอนุรักนิยมแนวคิดแข็งกร้าวจำนวนมาก ไม่ไว้วางใจผู้สมัครผู้นี้ของพรรครีพับลิกัน ซึ่งถือเป็นพรรคของพวกอนุรักษนิยม พวกเขายังคงระแวงสงสัยว่า การที่รอมนีย์แสดงท่าทีเปลี่ยนแปลงจุดยืนเปลี่ยนแปลงนโยบายมามากมายหลายเรื่องแล้วนั้น ควรที่จะถือว่าเป็นความจริงใจและพร้อมแก้ไขข้อบกพร่องของเขา หรือว่าเขาก็เพียงแค่ทำไปเพราะเป็นความจำเป็นทางการเมืองของเขากันแน่ ถ้าหากเป็นอย่างอย่างหลังแล้ว พวกเขายังสามารถไว้วางใจให้รอมนีย์เข้าปกครองประเทศโดยเชื่อว่าเขายังจะดำเนินการในแนวทางต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับคุณค่าต่างๆ ที่พวกเขายึดมั่น หรือจะมันเป็นในทางตรงกันข้าม นั่นคือพวกเขาควรคาดหมายเอาไว้ได้เลยว่าเมื่อชนะการเลือกตั้งแล้วเขาจะต้องหันหลังเดินไปในอีกทิศทางหนึ่ง ความเคลือบแคลงสงสัยเหล่านี้เองคือคำอธิบายว่า ทำไมผู้คนจำนวนมากจากกลุ่มอนุรักษนิยมใหม่ของรีพับลิกันจึงแสดงปฏิกิริยาออกมาอย่างรวดเร็วมาก เมื่อรอมนีย์ทำท่าว่าพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนหางเสือสู่การเป็นผู้มีแนวทางสายกลางและบันยะบันยัง เหมือนอย่างที่การแต่งตั้งเซลลิกของเขาบ่งบอกให้ทราบกัน
จวบจนถึงเวลานี้ คำพูดคำแถลงเกี่ยวกับจีนของรอมนีย์ที่ออกมาปรากฏต่อสาธารณชนนั้น ถือได้ว่าเป็นที่พอใจของพวกอนุรักษนิยมใหม่ โดยที่ มีความผิดแผกแตกต่างไปจากคำพูดคำแถลงของพวกผู้สมัครพรรครีพับลิกันในอดีตอย่างเห็นได้ชัดเจน การตอกย้ำเน้นหนักเรื่องจีนของเขาชักนำให้ผู้รู้จำนวนมากทีเดียวประกาศว่า คณะรัฐบาลสหรัฐฯที่มีรอมนีย์เป็นประธานาธิบดีจะ “เล่นบทโหด” กับปักกิ่ง เขายังได้ประกาศเจตนารมณ์อันมีชื่อเสียงโด่งดังที่ว่า เขาจะระบุขึ้นบัญชีดำจีนว่าเป็นประเทศที่มีพฤติการณ์เป็นนักปั่นค่าเงินตรา ตั้งแต่ “วันแรก” แห่งการเป็นประธานาธิบดีของเขาทีเดียว ทั้งหมดเหล่านี้แหละเป็นการแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจจากรอมนีย์ ซึ่งถ้าหากไม่มีถ้อยคำโวหารเหล่านี้แล้ว เขาก็แลดูเป็นชาวรีพับลิกันที่สนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจตามแบบฉบับเดิมๆ เท่านั้น แต่ด้วยทัศนะเช่นนี้เอง ทำให้รอมนีย์ผิดแผกแตกต่างอย่างชัดเจนกับพวกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันในอดีต ซึ่งในหลักนโยบายในการรณรงค์หาเสียงของพวกเขา นอกจากการเน้นย้ำอย่างทื่อมะลื่อในเรื่องการค้าเสรีและการเจาะเข้าให้ถึงตลาดจีน ก็ไม่มีอะไรอย่างอื่นอีกเลย
อย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่า หากได้รับการเลือกตั้ง จุดยืนต่อจีนของรอมนีย์ก็จะปรับเปลี่ยนทิศทางไปสู่จุดยืนรีพับลิกันแบบดั้งเดิมเหล่านั้นอีก และการแต่งตั้งเซลลิกก็ยิ่งกลายเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ทัศนะเช่นนี้ จากการที่เขาเสนอชื่อเซลลิก มันก็ดูเหมือนกับรอมนีย์กำลังส่งสัญญาณต่อโลกว่า เขายอมรับว่าคณะรัฐบาลของเขาที่จัดตั้งขึ้นภายหลังชนะเลือกตั้ง จะหวนกลับมายึดแนวทางสายกลางในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศด้านต่างๆ นั่นเอง
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เซลลิกซึ่งเวลานั้นยังคงทำงานกับธนาคารโลก ได้ตอบคำถามจำนวนหนึ่งของสื่อมวลชนขณะอยู่ที่ เตี้ยวอี่ว์ไถ (Diaoyutai) ทำเนียบรับรองแขกเมืองของทางการจีนในกรุงปักกิ่ง มีนักข่าวผู้หนึ่งได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับรายงานที่มีชื่อว่า “ประเทศจีนปี 2030” (China 2030) ของธนาคารโลก ด้วยความประสงค์ที่จะสำรวจตรวจสอบความคิดเห็นของเซลลิกเกี่ยวกับเรื่อง “ฝีก้าวและทิศทางในการปฏิรูปของจีนในเวลานี้”
ปรากฏว่าคำตอบของเขาอยู่ในลักษณะของผู้ที่มีแนวความคิดมุ่งมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง (realism) แบบคลาสสิกทีเดียว “ผมคิดว่าสิ่งที่น่าประทับใจมากก็คือ การที่กระทั่งคณะผู้นำจีนเอง ก็กำลังกลายเป็นผู้ที่ถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูปเชิงโครงสร้างขึ้นมาเองเลยทีเดียว ... สิ่งที่ผมได้มาจากการหารือถกเถียงกับพวกเขา ไม่เพียงเฉพาะในปักกิ่งเท่านั้น หากแต่ในการหารือกับพวกเลขาธิการพรรคสาขามณฑลต่างๆ ด้วย ก็คือการที่พวกเขายอมรับกันว่า เป็นการดีกว่าที่จะดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ตั้งแต่ในตอนที่เศรษฐกิจยังคงเจริญเติบโตได้ดี”
เขาอธิบายขยายความเรื่องนี้โดยกล่าวเสริมว่า “ผมยังได้ไปเห็นไปรับรู้ว่าในระดับมณฑลนั้น ผู้คนก็ยอมรับกันในหลายๆ เรื่อง เป็นต้นว่า รัฐบาลระดับท้องถิ่นต่างๆ อาจจะใช้อำนาจควบคุมมากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นการขัดขวางความริเริ่มสร้างสรรค์ประเภทที่เราต้องการให้มีขึ้นในอนาคต”
ยากเหลือเกินที่จะได้พบตัวอย่างของวิธีการมองจีนตามความเป็นจริงแบบรีพับลิกันคลาสสิกซึ่งมีผู้แสดงออกมาในที่สาธารณะ ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งกว่านี้อีกแล้ว คำพูดของเซลลิกก็คือการบอกว่า ใช่แล้ว การปฏิรูปต่างๆ ของจีนดำเนินไปอย่างล่าช้ามาก แต่ความหงุดหงิดผิดหวังของเราต่อความล่าช้าของพวกเขานี้ ไม่ควรที่จะทำให้เราถึงกับละเลยมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอันมากมายมหาศาลที่พวกเขาได้กระทำไปแล้ว หรือละเลยมองไม่เห็นว่าแม้แต่พวกรัฐบาลระดับท้องถิ่นของจีนก็ยอมรับว่าจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปเพิ่มขึ้นอีก
ตรงกันข้ามกับพวกที่ยึดมั่นอุดมการณ์อย่างเข้มงวดเคร่งครัดเฉกเช่น จอห์น โบลตัน (John Bolton) [1] และ คอนโดลีซซา ไรซ์ (Condoleezza Rice) [2] ซึ่งมีรายงานว่าได้ตกกระป๋องไม่เป็นที่โปรดปรานของรอมนีย์เสียแล้ว เซลลิกกลับเป็นผู้ที่นิยมลัทธิมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงของชาวรีพับลิกันเวอร์ชั่นคลาสสิก ซึ่งมีทัศนะต่อจีนว่าเป็นหุ้นส่วนที่จำเป็นต้องคบหาเอาไว้ และเป็นผู้ที่ยกยอจีนว่าทำสิ่งดีๆ ไปมากมายแล้วจึงมาถึงตรงจุดนี้ได้
แนวความคิดและวิธีการต่อเรื่องนโยบายการต่างประเทศของเซลลิกนั้น โดยทั่วไปแล้วได้ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างล้ำลึกในช่วงเวลาที่เขาทำงานให้กับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจมส์ เบเกอร์ (James Baker) [3] ในปี 2005 เซลลิกได้ไปกล่าวปราศรัยต่อคณะกรรมาธิการแห่งชาติว่าด้วยความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน (National Committee on US-China Relations) และได้เสนอแนวความคิดของเขาที่ว่าจีนเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความรับผิดชอบ” ทั้งในด้านความมั่นคงแห่งชาติ และในด้านธรรมาภิบาลระดับโลก
นอกเหนือจากทัศนะต่อจีนของเซลลิกแล้ว พวกอนุรักษนิยมใหม่ที่เคร่งครัดแข็งกร้าวจำนวนมาก ยังไม่ไว้วางใจเขาสืบเนื่องจากความคิดเห็นต่ออิสราเอลของเขา (เซลลิกแสดงตนเป็นผู้สนับสนุนอิสราเอล ทว่าเป็นการสนับสนุนอย่างมีเงื่อนไข เพราะเขาเห็นว่าต้องคำนึงถึงสิทธิต่างๆ ของชาวปาเลสไตน์ด้วย) ตลอดจนแนวคิดวิธีการในเรื่องนโยบายการต่างประเทศโดยทั่วไปของเขา ซึ่งเน้นให้ความสำคัญแก่การทูตและการสร้างพันธมิตร ยิ่งกว่าการบีบบังคับและการชิงเปิดฉากโจมตีก่อน
ชาวพรรครีพับลิกันหลายๆ ส่วนทีเดียว ยังคงมีความมั่นอกมั่นใจว่า หนทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบ 11 กันยายน 2001 หรือกระทั่งเหตุการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็คือต้องใช้กำลังอย่างเด็ดเดี่ยวไม่ว่าเมื่อใดและที่ไหนก็ตามทีที่เห็นว่ามีความจำเป็น แต่สำหรับพวกที่ยืนหยัดในความเป็นอนุรักษนิยมแบบคลาสสิกเฉกเช่นเซลลิกนั้น มีจุดยืนที่ตรงกันข้าม โดยพวกนี้เชื่อว่าความล้มเหลวของการที่อเมริกาเข้าไปทำสงครามในอัฟกานิสถานและอิรัก คือสิ่งที่สาธิตให้เห็นอย่างละเอียดลึกซึ้งว่า ทำไมการใช้ความระมัดระวัง, ความอดทน, การมีปฏิสัมพันธ์, และการสนทนา จึงควรเป็นสิ่งที่น่านิยมยิ่งกว่าการเอาแต่ใช้กำลัง
ความไม่ไว้วางใจในตัวเซลลิกดังที่กล่าวมานี้ ยังเป็นคำอธิบายว่าทำไมวิธีดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบอนุรักษนิยมดั้งเดิม จึงกำลังเสื่อมถอยไม่เป็นที่ชมชื่นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ในปัจจุบัน การพูดวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ “ความอ่อนแอ” ในด้านนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ จะไม่ใช่ครอบคลุมหมายถึงเพียงแค่ควรต้องมีความเคลือบแคลงระแวงสงสัยต่อการตอบโต้ต่อเหตุการณ์โจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เท่านั้น แต่ขณะนี้มันยังกำลังรวมไปถึงการที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้ท่าทีต่อจีนอย่างนุ่มนิ่มเกินไปอีกด้วย
เมื่อเรานำเอาการที่รอมนีย์ประสบความสำเร็จในหมู่ผู้ฟังชาวรีพับลิกัน จากการอาศัยความไม่ลงรอยกันในทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนมาใช้ประโยชน์เป็นประเด็นทางการเมือง บวกเข้ากับความเชื่อในหมู่ผู้คนหลายๆ ส่วนที่เป็นฐานของเขาที่ว่า วิธีการที่อเมริกาควรใช้กับจีนนั้น คือการเพิ่มระดับความรุนแรงทั้งทางภาษาและการกระทำ ในทำนองเดียวกับที่สหรัฐฯใช้อยู่กับอิหร่านและเกาหลีเหนือ เช่นนี้แล้วก็จะเป็นการง่ายดายยิ่งที่จะเข้าใจได้ว่า ทำไมลัทธิมุ่งมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงของเซลลิก จึงดูเป็นความคิดแบบโบราณเร่อร่าล้าสมัย
สำหรับพวกภายในพรรครีพับลิกันที่ไม่เคยรู้สึกไว้วางใจเชื่อมั่นรอมนีย์อย่างแท้จริงเลยนั้น การแต่งตั้งเซลลิกมีแต่ยิ่งทำให้พวกเขาเกิดความหวาดกลัวมากขึ้นอีก สำหรับพวกเขาแล้ว การที่เซลลิกปรากฏตัวอยู่ภายในกลุ่มวงในของรอมนีย์ คือการสนับสนุนทัศนะมุมมองที่ว่า รอมนีย์นั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นพวกสายกลาง และความเป็นสายกลางของเขาจะสะท้อนออกมาให้เห็นกันมากที่สุดในเวลาที่เขาแสดงตนเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ทรงอำนาจของสหรัฐฯ ในระหว่างที่รอมนีย์เป็นผู้ว่าการของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ (ปี 2003-2007) แนวความคิดและวิธีการในการดำเนินนโยบายทางด้านสาธารณสุข, การทำแท้ง, การแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน, และการควบคุมอาวุธ ของเขา ล้วนแล้วแต่สะท้อนภูมิปัญญาร่วมของมลรัฐซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยมและแนวคิดสายกลางมลรัฐนี้ ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อวินิจฉัยตัดสินจากสภาพการณ์ของพรรครีพับลิกันในปัจจุบันซึ่งได้รับแรงบันดาลใจอย่างมหาศาลจากพวกทีปาร์ตี้ (Tea Party) [4] แล้ว อดีตของรอมนีย์ในแมสซาชูเซตส์จึงมีแต่จะกระตุ้นให้พวกนักเคลื่อนไหวอนุรักษนิยมยุคนี้ บังเกิดความระแวงเคลือบแคลง
เบนจามิน เอ โชเบิร์ต เป็นกรรมการผู้จัดการของ รูบิคอน สเตรเตจี กรุ๊ป (Rubicon Strategy Group) บริษัทที่ปรึกษาซึ่งชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์สำหรับบริษัทต่างๆ ที่กำลังมองหาช่องทางเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออกวางตลาดชื่อ Blame China ทั้งนี้สามารถที่จะติดตามผลงานของเขาได้ที่ CrossTheRubiconBlog.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Romney’s China hand encounters rough seas
By Benjamin A Shobert
16/08/2012
มิตต์ รอมนีย์ ประกาศแต่งตั้งให้ โรเบิร์ต เซลลิก ผู้เพิ่งพ้นตำแหน่งประธานธนาคารโลกมาได้ไม่กี่เดือน เป็นหัวหน้าดูแลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ในทีมเตรียมการรับมอบงานรับมอบอำนาจของเขา (ในกรณีที่รอมนีย์เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี) เรื่องนี้น่าจะทำให้พวกอนุรักษนิยมใหม่ ยิ่งบังเกิดความหวาดผวาอย่างที่สุด เกี่ยวกับจุดยืนด้านนโยบายการต่างประเทศ ของว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯของพรรครีพับลิกันผู้นี้ ด้วยความกลัวเกรงว่ามันจะเป็นความจริงตามที่เคยตั้งสมมุติฐานกันไว้ นั่นคือ เมื่อได้เข้าไปนั่งในทำเนียบขาวแล้ว รอมนีย์จะกลับทำตัวเป็นพวกสายกลางและมุ่งเน้นผลทางปฏิบัติ ไม่เน้นเรื่องอุดมการณ์และความพร้อมที่จะประจันหน้าท้าทาย อย่างที่พวกอนุรักษนิยมใหม่ปรารถนา นอกจากนั้นการนำเอาเซลลิกเข้ามาอยู่ในทีมงานของเขา ยังจะทำให้รอมนีย์ประสบความลำบากยากยิ่งที่จะชี้ชวนให้กลุ่ม “ทีปาร์ตี้” พวกอนุรักษนิยม+อิสรเสรีนิยม+ประชานิยม ซึ่งกำลังมีอิทธิพลอย่างมากมายในพรรครีพับลิกัน เชื่อมั่นว่ารอมนีย์จะกระทำตามคำพูดคำจาอันขึงขังของเขาเองที่ว่าจะ “เล่นบทโหดกับจีน”
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
มิตต์ รอมนีย์ (Mitt Romney) ว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน ยังคงต้องต่อสู้ดิ้นรนต่อไป ในการกำหนดจัดวางนโยบายเกี่ยวกับจีน เพื่อให้ฝ่ายต่างๆ ยอมรับว่ามีความเสมอต้นเสมอปลายและสมเหตุสมผล การที่ในสัปดาห์ที่แล้วเขาเสนอชื่อของ โรเบิร์ต เซลลิก (Robert Zoellick) ผู้เพิ่งพ้นตำแหน่งประธานธนาคารโลกมาไม่กี่เดือน ให้เป็นหัวหน้าดูแลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ในทีมเตรียมการรับมอบงานรับมอบอำนาจของเขา ในกรณีที่เขาเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพฤศจิกายนนี้ (national-security transition team) ก่อให้เกิดเสียงโกรธเกรี้ยวจากพวกอนุรักษนิยม (neo-conservative) คนสำคัญๆ ผู้ซึ่งมีความคิดเห็นขัดแย้งกับจุดยืนด้านนโยบายการต่างประเทศหลายต่อหลายเรื่องของเซลลิกอยู่แล้ว โดยเฉพาะในเรื่องที่เซลลิกถูกมองว่าเป็นพวกที่ “นิยมจีน” ตะพึดตะพือ
ปัญหาต่างๆ ที่รอมนีย์กำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องที่ว่าพวกอนุรักนิยมแนวคิดแข็งกร้าวจำนวนมาก ไม่ไว้วางใจผู้สมัครผู้นี้ของพรรครีพับลิกัน ซึ่งถือเป็นพรรคของพวกอนุรักษนิยม พวกเขายังคงระแวงสงสัยว่า การที่รอมนีย์แสดงท่าทีเปลี่ยนแปลงจุดยืนเปลี่ยนแปลงนโยบายมามากมายหลายเรื่องแล้วนั้น ควรที่จะถือว่าเป็นความจริงใจและพร้อมแก้ไขข้อบกพร่องของเขา หรือว่าเขาก็เพียงแค่ทำไปเพราะเป็นความจำเป็นทางการเมืองของเขากันแน่ ถ้าหากเป็นอย่างอย่างหลังแล้ว พวกเขายังสามารถไว้วางใจให้รอมนีย์เข้าปกครองประเทศโดยเชื่อว่าเขายังจะดำเนินการในแนวทางต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับคุณค่าต่างๆ ที่พวกเขายึดมั่น หรือจะมันเป็นในทางตรงกันข้าม นั่นคือพวกเขาควรคาดหมายเอาไว้ได้เลยว่าเมื่อชนะการเลือกตั้งแล้วเขาจะต้องหันหลังเดินไปในอีกทิศทางหนึ่ง ความเคลือบแคลงสงสัยเหล่านี้เองคือคำอธิบายว่า ทำไมผู้คนจำนวนมากจากกลุ่มอนุรักษนิยมใหม่ของรีพับลิกันจึงแสดงปฏิกิริยาออกมาอย่างรวดเร็วมาก เมื่อรอมนีย์ทำท่าว่าพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนหางเสือสู่การเป็นผู้มีแนวทางสายกลางและบันยะบันยัง เหมือนอย่างที่การแต่งตั้งเซลลิกของเขาบ่งบอกให้ทราบกัน
จวบจนถึงเวลานี้ คำพูดคำแถลงเกี่ยวกับจีนของรอมนีย์ที่ออกมาปรากฏต่อสาธารณชนนั้น ถือได้ว่าเป็นที่พอใจของพวกอนุรักษนิยมใหม่ โดยที่ มีความผิดแผกแตกต่างไปจากคำพูดคำแถลงของพวกผู้สมัครพรรครีพับลิกันในอดีตอย่างเห็นได้ชัดเจน การตอกย้ำเน้นหนักเรื่องจีนของเขาชักนำให้ผู้รู้จำนวนมากทีเดียวประกาศว่า คณะรัฐบาลสหรัฐฯที่มีรอมนีย์เป็นประธานาธิบดีจะ “เล่นบทโหด” กับปักกิ่ง เขายังได้ประกาศเจตนารมณ์อันมีชื่อเสียงโด่งดังที่ว่า เขาจะระบุขึ้นบัญชีดำจีนว่าเป็นประเทศที่มีพฤติการณ์เป็นนักปั่นค่าเงินตรา ตั้งแต่ “วันแรก” แห่งการเป็นประธานาธิบดีของเขาทีเดียว ทั้งหมดเหล่านี้แหละเป็นการแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจจากรอมนีย์ ซึ่งถ้าหากไม่มีถ้อยคำโวหารเหล่านี้แล้ว เขาก็แลดูเป็นชาวรีพับลิกันที่สนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจตามแบบฉบับเดิมๆ เท่านั้น แต่ด้วยทัศนะเช่นนี้เอง ทำให้รอมนีย์ผิดแผกแตกต่างอย่างชัดเจนกับพวกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันในอดีต ซึ่งในหลักนโยบายในการรณรงค์หาเสียงของพวกเขา นอกจากการเน้นย้ำอย่างทื่อมะลื่อในเรื่องการค้าเสรีและการเจาะเข้าให้ถึงตลาดจีน ก็ไม่มีอะไรอย่างอื่นอีกเลย
อย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่า หากได้รับการเลือกตั้ง จุดยืนต่อจีนของรอมนีย์ก็จะปรับเปลี่ยนทิศทางไปสู่จุดยืนรีพับลิกันแบบดั้งเดิมเหล่านั้นอีก และการแต่งตั้งเซลลิกก็ยิ่งกลายเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ทัศนะเช่นนี้ จากการที่เขาเสนอชื่อเซลลิก มันก็ดูเหมือนกับรอมนีย์กำลังส่งสัญญาณต่อโลกว่า เขายอมรับว่าคณะรัฐบาลของเขาที่จัดตั้งขึ้นภายหลังชนะเลือกตั้ง จะหวนกลับมายึดแนวทางสายกลางในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศด้านต่างๆ นั่นเอง
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เซลลิกซึ่งเวลานั้นยังคงทำงานกับธนาคารโลก ได้ตอบคำถามจำนวนหนึ่งของสื่อมวลชนขณะอยู่ที่ เตี้ยวอี่ว์ไถ (Diaoyutai) ทำเนียบรับรองแขกเมืองของทางการจีนในกรุงปักกิ่ง มีนักข่าวผู้หนึ่งได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับรายงานที่มีชื่อว่า “ประเทศจีนปี 2030” (China 2030) ของธนาคารโลก ด้วยความประสงค์ที่จะสำรวจตรวจสอบความคิดเห็นของเซลลิกเกี่ยวกับเรื่อง “ฝีก้าวและทิศทางในการปฏิรูปของจีนในเวลานี้”
ปรากฏว่าคำตอบของเขาอยู่ในลักษณะของผู้ที่มีแนวความคิดมุ่งมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง (realism) แบบคลาสสิกทีเดียว “ผมคิดว่าสิ่งที่น่าประทับใจมากก็คือ การที่กระทั่งคณะผู้นำจีนเอง ก็กำลังกลายเป็นผู้ที่ถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูปเชิงโครงสร้างขึ้นมาเองเลยทีเดียว ... สิ่งที่ผมได้มาจากการหารือถกเถียงกับพวกเขา ไม่เพียงเฉพาะในปักกิ่งเท่านั้น หากแต่ในการหารือกับพวกเลขาธิการพรรคสาขามณฑลต่างๆ ด้วย ก็คือการที่พวกเขายอมรับกันว่า เป็นการดีกว่าที่จะดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ตั้งแต่ในตอนที่เศรษฐกิจยังคงเจริญเติบโตได้ดี”
เขาอธิบายขยายความเรื่องนี้โดยกล่าวเสริมว่า “ผมยังได้ไปเห็นไปรับรู้ว่าในระดับมณฑลนั้น ผู้คนก็ยอมรับกันในหลายๆ เรื่อง เป็นต้นว่า รัฐบาลระดับท้องถิ่นต่างๆ อาจจะใช้อำนาจควบคุมมากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นการขัดขวางความริเริ่มสร้างสรรค์ประเภทที่เราต้องการให้มีขึ้นในอนาคต”
ยากเหลือเกินที่จะได้พบตัวอย่างของวิธีการมองจีนตามความเป็นจริงแบบรีพับลิกันคลาสสิกซึ่งมีผู้แสดงออกมาในที่สาธารณะ ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งกว่านี้อีกแล้ว คำพูดของเซลลิกก็คือการบอกว่า ใช่แล้ว การปฏิรูปต่างๆ ของจีนดำเนินไปอย่างล่าช้ามาก แต่ความหงุดหงิดผิดหวังของเราต่อความล่าช้าของพวกเขานี้ ไม่ควรที่จะทำให้เราถึงกับละเลยมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอันมากมายมหาศาลที่พวกเขาได้กระทำไปแล้ว หรือละเลยมองไม่เห็นว่าแม้แต่พวกรัฐบาลระดับท้องถิ่นของจีนก็ยอมรับว่าจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปเพิ่มขึ้นอีก
ตรงกันข้ามกับพวกที่ยึดมั่นอุดมการณ์อย่างเข้มงวดเคร่งครัดเฉกเช่น จอห์น โบลตัน (John Bolton) [1] และ คอนโดลีซซา ไรซ์ (Condoleezza Rice) [2] ซึ่งมีรายงานว่าได้ตกกระป๋องไม่เป็นที่โปรดปรานของรอมนีย์เสียแล้ว เซลลิกกลับเป็นผู้ที่นิยมลัทธิมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงของชาวรีพับลิกันเวอร์ชั่นคลาสสิก ซึ่งมีทัศนะต่อจีนว่าเป็นหุ้นส่วนที่จำเป็นต้องคบหาเอาไว้ และเป็นผู้ที่ยกยอจีนว่าทำสิ่งดีๆ ไปมากมายแล้วจึงมาถึงตรงจุดนี้ได้
แนวความคิดและวิธีการต่อเรื่องนโยบายการต่างประเทศของเซลลิกนั้น โดยทั่วไปแล้วได้ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างล้ำลึกในช่วงเวลาที่เขาทำงานให้กับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจมส์ เบเกอร์ (James Baker) [3] ในปี 2005 เซลลิกได้ไปกล่าวปราศรัยต่อคณะกรรมาธิการแห่งชาติว่าด้วยความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน (National Committee on US-China Relations) และได้เสนอแนวความคิดของเขาที่ว่าจีนเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความรับผิดชอบ” ทั้งในด้านความมั่นคงแห่งชาติ และในด้านธรรมาภิบาลระดับโลก
นอกเหนือจากทัศนะต่อจีนของเซลลิกแล้ว พวกอนุรักษนิยมใหม่ที่เคร่งครัดแข็งกร้าวจำนวนมาก ยังไม่ไว้วางใจเขาสืบเนื่องจากความคิดเห็นต่ออิสราเอลของเขา (เซลลิกแสดงตนเป็นผู้สนับสนุนอิสราเอล ทว่าเป็นการสนับสนุนอย่างมีเงื่อนไข เพราะเขาเห็นว่าต้องคำนึงถึงสิทธิต่างๆ ของชาวปาเลสไตน์ด้วย) ตลอดจนแนวคิดวิธีการในเรื่องนโยบายการต่างประเทศโดยทั่วไปของเขา ซึ่งเน้นให้ความสำคัญแก่การทูตและการสร้างพันธมิตร ยิ่งกว่าการบีบบังคับและการชิงเปิดฉากโจมตีก่อน
ชาวพรรครีพับลิกันหลายๆ ส่วนทีเดียว ยังคงมีความมั่นอกมั่นใจว่า หนทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบ 11 กันยายน 2001 หรือกระทั่งเหตุการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็คือต้องใช้กำลังอย่างเด็ดเดี่ยวไม่ว่าเมื่อใดและที่ไหนก็ตามทีที่เห็นว่ามีความจำเป็น แต่สำหรับพวกที่ยืนหยัดในความเป็นอนุรักษนิยมแบบคลาสสิกเฉกเช่นเซลลิกนั้น มีจุดยืนที่ตรงกันข้าม โดยพวกนี้เชื่อว่าความล้มเหลวของการที่อเมริกาเข้าไปทำสงครามในอัฟกานิสถานและอิรัก คือสิ่งที่สาธิตให้เห็นอย่างละเอียดลึกซึ้งว่า ทำไมการใช้ความระมัดระวัง, ความอดทน, การมีปฏิสัมพันธ์, และการสนทนา จึงควรเป็นสิ่งที่น่านิยมยิ่งกว่าการเอาแต่ใช้กำลัง
ความไม่ไว้วางใจในตัวเซลลิกดังที่กล่าวมานี้ ยังเป็นคำอธิบายว่าทำไมวิธีดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบอนุรักษนิยมดั้งเดิม จึงกำลังเสื่อมถอยไม่เป็นที่ชมชื่นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ในปัจจุบัน การพูดวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ “ความอ่อนแอ” ในด้านนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ จะไม่ใช่ครอบคลุมหมายถึงเพียงแค่ควรต้องมีความเคลือบแคลงระแวงสงสัยต่อการตอบโต้ต่อเหตุการณ์โจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เท่านั้น แต่ขณะนี้มันยังกำลังรวมไปถึงการที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้ท่าทีต่อจีนอย่างนุ่มนิ่มเกินไปอีกด้วย
เมื่อเรานำเอาการที่รอมนีย์ประสบความสำเร็จในหมู่ผู้ฟังชาวรีพับลิกัน จากการอาศัยความไม่ลงรอยกันในทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนมาใช้ประโยชน์เป็นประเด็นทางการเมือง บวกเข้ากับความเชื่อในหมู่ผู้คนหลายๆ ส่วนที่เป็นฐานของเขาที่ว่า วิธีการที่อเมริกาควรใช้กับจีนนั้น คือการเพิ่มระดับความรุนแรงทั้งทางภาษาและการกระทำ ในทำนองเดียวกับที่สหรัฐฯใช้อยู่กับอิหร่านและเกาหลีเหนือ เช่นนี้แล้วก็จะเป็นการง่ายดายยิ่งที่จะเข้าใจได้ว่า ทำไมลัทธิมุ่งมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงของเซลลิก จึงดูเป็นความคิดแบบโบราณเร่อร่าล้าสมัย
สำหรับพวกภายในพรรครีพับลิกันที่ไม่เคยรู้สึกไว้วางใจเชื่อมั่นรอมนีย์อย่างแท้จริงเลยนั้น การแต่งตั้งเซลลิกมีแต่ยิ่งทำให้พวกเขาเกิดความหวาดกลัวมากขึ้นอีก สำหรับพวกเขาแล้ว การที่เซลลิกปรากฏตัวอยู่ภายในกลุ่มวงในของรอมนีย์ คือการสนับสนุนทัศนะมุมมองที่ว่า รอมนีย์นั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นพวกสายกลาง และความเป็นสายกลางของเขาจะสะท้อนออกมาให้เห็นกันมากที่สุดในเวลาที่เขาแสดงตนเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ทรงอำนาจของสหรัฐฯ ในระหว่างที่รอมนีย์เป็นผู้ว่าการของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ (ปี 2003-2007) แนวความคิดและวิธีการในการดำเนินนโยบายทางด้านสาธารณสุข, การทำแท้ง, การแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน, และการควบคุมอาวุธ ของเขา ล้วนแล้วแต่สะท้อนภูมิปัญญาร่วมของมลรัฐซึ่งขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยมและแนวคิดสายกลางมลรัฐนี้ ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อวินิจฉัยตัดสินจากสภาพการณ์ของพรรครีพับลิกันในปัจจุบันซึ่งได้รับแรงบันดาลใจอย่างมหาศาลจากพวกทีปาร์ตี้ (Tea Party) [4] แล้ว อดีตของรอมนีย์ในแมสซาชูเซตส์จึงมีแต่จะกระตุ้นให้พวกนักเคลื่อนไหวอนุรักษนิยมยุคนี้ บังเกิดความระแวงเคลือบแคลง
เบนจามิน เอ โชเบิร์ต เป็นกรรมการผู้จัดการของ รูบิคอน สเตรเตจี กรุ๊ป (Rubicon Strategy Group) บริษัทที่ปรึกษาซึ่งชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์สำหรับบริษัทต่างๆ ที่กำลังมองหาช่องทางเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออกวางตลาดชื่อ Blame China ทั้งนี้สามารถที่จะติดตามผลงานของเขาได้ที่ CrossTheRubiconBlog.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)