(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China’s winning strategy in Africa
By Brendan O'Reilly
14/08/2012
เสียงป่าวร้องที่ว่า การผงาดขึ้นมาของจีนในแอฟริกามีค่ามีความหมายเท่ากับการดำเนินลัทธิอาณานิคมแผนใหม่ และกำลังทำให้ชาวแอฟริกาไม่พอใจนั้น เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นเพียงความคิดที่ปรากฏอยู่ในสมองของพวกนักวิเคราะห์ชาวตะวันตกเป็นสำคัญ แท้ที่จริงแล้วมีความผิดแผกแตกต่างกันอย่างชัดแจ้งระหว่างนโยบายการต่างประเทศของปักกิ่งกับของวอชิงตัน และไม่มีสถานที่ใดเลยที่เรื่องเช่นนี้จะมองเห็นได้อย่างกระจะตายิ่งกว่าในกาฬทวีปอีกแล้ว กล่าวคือ ผลประโยชน์ของจีนนั้นเป็นเรื่องของเศรษฐกิจล้วนๆ ขณะที่สหรัฐฯยังคงมุ่งสาละวนอยู่กับการมีฐานะครอบงำในทางการทหาร
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
มีผู้นำแอฟริกาบางราย เป็นต้นว่า จาค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ แสดงการติติงเล็กๆ เกี่ยวกับแบบแผนทางการค้าระหว่างจีนกับกาฬทวีป ซึ่งแอฟริกาเป็นฝ่ายส่งออกทรัพยากรธรรมชาติไปเป็นวัตถุดิบของแดนมังกร ขณะที่จีนเป็นฝ่ายส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปให้แก่กาฬทวีป แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า มันเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงทัศนคติต่อต้านจีนโดยทั่วไปที่ปรากฏอยู่ตลอดทั่วทั้งทวีปนี้
จากผลการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยบริการภาคภาษาต่างประเทศของบีบีซีประจำปี 2011 (2011 BBC World Service Poll) ปรากฏว่า 82 เปอร์เซ็นต์ของชาวไนจีเรีย และ 77% ของชาวเคนยา เชื่อว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนมี “ผลกระทบในทางบวก” ต่อประเทศของพวกเขา [5] นี่เป็นเรตติ้งในทางบวกต่อการผงาดขึ้นมาในทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งสูงที่สุดในบรรดา 27 ประเทศที่ทำการสำรวจความคิดเห็นคราวนี้ เมื่อยกเว้นไม่นับประเทศจีนเอง ทัศนคติในทางดีเช่นนี้ยังสะท้อนให้เห็นในกานา (62 เปอร์เซ็นต์) แต่ลดต่ำลงอย่างน่าสังเกตในอียิปต์ (54 เปอร์เซ็นต์) และ แอฟริกาใต้ (52 เปอร์เซนต์)
ยิ่งกว่านั้นผลการสำรวจคราวเดียวกันนี้ยังพบว่า ชาวแอฟริกาส่วนใหญ่ระดับท่วมท้นมองว่าวิธีปฏิบัติในทางการค้าของจีนนั้น “ยุติธรรม” กล่าวคือ มีตั้งแต่ระดับ 88 เปอร์เซ็นต์ที่ไนจีเรีย จนถึงระดับ 61 เปอร์เซ็นต์ในแอฟริกาใต้ ผลการสำรวจของบีบีซีครั้งนี้บอกให้เราทราบว่า มีชาวไนจีเรียเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และชาวแอฟริกาใต้ 18 เปอร์เซ็นต์ ที่มองวิธีปฏิบัติในทางการค้าของจีนว่า “ไม่เป็นธรรม”
ปัญหาภาพลักษณ์ของจีนในแอฟริกาจึงดำรงคงอยู่ในสมองของพวกผู้สังเกตการณ์ชาวตะวันตกเป็นสำคัญ ถึงแม้มีความวิตกห่วงใยอยู่มากเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางการค้าซึ่งดูจะไม่มีความยั่งยืน ทว่าความกังวลเหล่านี้ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านจีนแพร่กระจายไปทั่วทั้งกาฬทวีป
การตั้งข้อกล่าวหาว่าจีนกำลังดำเนิน “ลัทธิจักรวรรดินิยมแผนใหม่” (neo-imperialism) อยู่ในแอฟริกานั้น ที่สำคัญแล้วอิงอาศัยแบบแผนทางการค้าที่ดำรงอยู่ กล่าวคือ แบบแผนแห่งการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้าสำเร็จรูป คือสูตรมาตรฐานของบรรดามหาอำนาจเจ้าอาณานิคมทั้งหลาย อย่างไรก็ดี ปัจจัยอันสำคัญยิ่งที่เป็นตัวกำหนดความเป็นจักรวรรดินิยม อันได้แก่ การครอบงำทางทหารและการใช้กำลังนั้น กลับไม่ปรากฏให้เห็นในนโยบายต่อแอฟริกาของแดนมังกร แต่เรากลับพูดเช่นนี้ไม่ได้กับพวกตะวันตกที่เป็นนักวิพากษ์วิจารณ์จีนรายสำคัญๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิพากษ์วิจารณ์อย่างสหรัฐอเมริกา
ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งจีนกำลังเพิ่มพูนการค้าและการลงทุนในแอฟริกาอย่างรวดเร็วนั้น สหรัฐฯก็รวมศูนย์มุ่งให้ความสนใจกับประเด็นปัญหา “ความมั่นคง” ประการต่างๆ ในทวีปนี้ สหรัฐฯเกี่ยวข้องพัวพันกับสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อที่โซมาลีอย่างใหญ่โตกว้างขวาง โดยที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากจากอากาศยานไร้คนขับซึ่งถูกส่งออกไปโจมตีเป้าหมายที่เป็นพวกกองกำลังอาวุธอิสลามิสต์ กองทหารเอธิโอเปียและยูกันดา ที่หนุนหลังด้วยอาวุธและข่าวกรองของอเมริกัน กำลังเข้าไปแทรกแซงในโซมาลีเพื่อต่อต้านกองกำลังอาวุธอิสลามิสต์ ยิ่งกว่านั้นในปี 2007 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้จัดตั้งกองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา (United States Africa Command ใช้อักษรย่อว่า AFRICOM) *3* ขึ้นมา โดยกำหนดให้มีความรับผิดชอบทางการทหารในพื้นที่ตลอดทั่วทั้งกาฬทวีป นอกจากนี้ที่ลิเบีย องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ก็ได้ทำการรณรงค์ทิ้งระเบิดเพื่อช่วยเหลือฝ่ายกบฏในการโค่นล้มระบอบปกครองมูอัมมาร์ กัดดาฟี โดยที่ได้รับการหนุนหลังอย่างแข็งขันจากแสนยานุภาพของสหรัฐฯ (ขณะที่จีนแสดงความไม่เห็นด้วย)
การที่สหรัฐมุ่งเน้นหนักสนใจอย่างสายตาสั้นคับแคบต่อประเด็นเรื่องความมั่นคงและการต่อต้านการก่อการร้ายเช่นนี้เอง ทำให้จีนได้โอกาสอันสำคัญมากในการเดินหน้ารุกใหญ่ทางเศรษฐกิจในแอฟริกา ไม่มีที่ใดในโลกอีกแล้วที่จุดเน้นหนักทางด้านนโยบายการต่างประเทศของประเทศทั้งสองนี้จะแตกต่างตัดแย้งกันอย่างเด่นชัดเหมือนในทวีปแอฟริกา ขณะที่สหรัฐฯกำลังสาละวนกับการทิ้งระเบิดและการจัดส่งอาวุธ จีนกลับมุ่งไปที่การซื้อการขาย, การก่อสร้างและการปล่อยกู้
คำพูดของรัฐมนตรีต่างประเทศคลินตันของสหรัฐฯ ที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่อแอฟริกาของจีน จึงน่าที่จะไม่มีใครรับฟังให้ความสนใจ เงินสดจริงๆ เป็นฟ่อนๆ ของจีนนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการชนะใจเพื่อนมิตรในภูมิภาคแถบนี้ ยิ่งกว่าวิธีการทางทหารของอเมริกามากมายนัก
ยิ่งไปกว่านั้น มันก็ไม่ใช่ว่าจีนเป็นผู้ที่ผูกขาดอยู่แต่เพียงผู้เดียว ในการติดต่อสัมพันธ์กับพวกระบอบปกครองผู้กดขี่ด้วยจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมสนับสนุนผลประโยชน์ของตนเอง ในขณะที่สหรัฐฯแสดงตัวเป็นแชมเปี้ยนผู้มุ่งมั่นรณรงค์ต่อสู้เพื่อ “สิทธิมนุษยชน” และ “ประชาธิปไตย” วอชิงตันก็มีการติดต่อทำข้อตกลงกับรัฐบาลเผด็จการในเอธิโอเปียและยูกันดาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมวาระทางด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและด้านความมั่นคงของตน แดเนียล คาลินากิ (Daniel Kalinaki) แห่งหนังสือพิมพ์เดลี่มอนิเตอร์ (Daily Monitor) ของยูกันดา ร้องครวญว่า สหรัฐฯผลักดันเรียกร้องธรรมาภิบาลอย่างชนิดที่ “ไม่เสมอต้นเสมอปลาย และมีการปรับเปลี่ยนครั้งแล้วครั้งเล่าโดยพิจารณาจากผลประโยชน์ต่างๆ ของตนเอง” [6]
ทั้งจีนและสหรัฐฯต่างก็มีผลประโยชน์อันใหญ่โตกว้างขวางในแอฟริกา ในขณะที่วอชิงตันรวมศูนย์ให้ความสนใจอยู่ที่การทำศึกสู้รบกับกระแสนักรบญิฮัดระดับโลก (และการโอ่อวดว่าตนเองกำลังส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตย) ปักกิ่งก็มองเห็นโอกาสอันมากมายมหาศาลในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและลูกค้ารายใหม่ๆ สำหรับสินค้าจีน แอฟริกาจึงทำหน้าที่เป็นแสงสว่างสาดส่องให้เห็นความตัดแย้งกันอย่างชัดเจนระหว่างนโยบายการต่างประเทศของจีนกับของสหรัฐฯ ประเทศทั้งสองต่างมีความพรักพร้อมที่จะทำข้อตกลงกับพวกระบอบปกครองที่น่ารังเกียจเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่ตนเองต้องการ ไม่ว่ามันจะเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (ในกรณีของจีน) หรือเป็นผลประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ (ในกรณีของสหรัฐฯ)
ในเวลาที่สหรัฐฯกำลังปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมาให้ความสำคัญต่อเอเชียเช่นเวลานี้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่จีนจะพยายามหาทางเพิ่มพูนการปักหลักหยั่งรากลึกในทางยุทธศาสตร์ในอาณาบริเวณต่างๆ ซึ่งเมื่อก่อนเคยถูกครอบงำโดยสหรัฐฯและพันธมิตรยุโรปของสหรัฐฯ ถ้าหากสหรัฐฯเกิดมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะขีดวงจำกัดการผงาดขึ้นมาของจีนแล้ว การต่อสู้ช่วงชิงกันที่จะเกิดขึ้นติดตามมาก็จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเท่านั้น สายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันใหญ่โตกว้างขวางที่จีนมีอยู่กับแอฟริกาในที่สุดแล้วก็จะให้ดอกผลกำรี้กำไรในทางการเมืองแก่แดนมังกรด้วย
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Hillary Clinton launches African tour with veiled attack on China, The Guardian, Aug 1, '12.
[2] ดูเรื่อง US plot to sow discord between China, Africa is doomed to fail , Xinhua, Aug 3, '12.
[3] ดูเรื่อง Chart of the week: China steps up the Africa charm offensive, The Financial Times, Jul 23, '12.
[4] ดูเรื่อง Zuma warns on Africa’s trade ties to China
, The Washington Post, Jul 19, '12.
[5] ดูเรื่อง Rising Concern about China’s Increasing Power: Global Poll, BBC World Service, Mar 27, '11 (pdf file).
[6] ดูเรื่อง China attacks Clinton's Africa comments, The Financial Times, Aug 3, '12.
**หมายเหตุผู้แปล**
*1* รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯ ตระเวนเยือนทวีปแอฟริกาในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2012 นี้ เป็นเวลา 11 วัน รวม 9 ประเทศ
*2* สหภาพแอฟริกา (African Union ใช้อักษรย่อว่า AU) เป็นองค์การที่มีรัฐแอฟริกาเป็นสมาชิก 54 รัฐ โดยมีรัฐซึ่งดินแดนทั้งหมดอยู่ในแอฟริกาเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ AU ซึ่งก็คือ โมร็อกโก องค์การนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 เพื่อแทนที่ องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ใช้อักษรย่อว่า OAU) สำนักงานเลขาธิการของ AU ตั้งอยู่ในกรุงแอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย (ข้อมูลจาก Wikipedia)
*3*กองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา (United States Africa Command ใช้อักษรย่อว่า AFRICOM) ก่อตั้งขึ้นในปี 2007 โดยมีฐานะเป็น 1 ใน 9 กองบัญชาการหน่วยสู้รบร่วม (Unified Combatant Commands) ของสหรัฐฯ กองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายเคลลีย์ แบร์รัคส์ (Kelley Barracks) เมืองสตุ๊ตการ์ต ประเทศเยอรมนี มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการปฏิบัติการทางทหารและความสัมพันธ์ทางทหารของสหรัฐฯ ในทวีปแอฟริกาทั้งหมด ยกเว้นประเทศ อียิปต์ ที่เป็นความรับผิดชอบของ กองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคกลาง (United States Africa Command ใช้อักษรย่อว่า CENTCOM) (ข้อมูลจาก Wikipedia)
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง
The Transcendent Harmony
China’s winning strategy in Africa
By Brendan O'Reilly
14/08/2012
เสียงป่าวร้องที่ว่า การผงาดขึ้นมาของจีนในแอฟริกามีค่ามีความหมายเท่ากับการดำเนินลัทธิอาณานิคมแผนใหม่ และกำลังทำให้ชาวแอฟริกาไม่พอใจนั้น เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นเพียงความคิดที่ปรากฏอยู่ในสมองของพวกนักวิเคราะห์ชาวตะวันตกเป็นสำคัญ แท้ที่จริงแล้วมีความผิดแผกแตกต่างกันอย่างชัดแจ้งระหว่างนโยบายการต่างประเทศของปักกิ่งกับของวอชิงตัน และไม่มีสถานที่ใดเลยที่เรื่องเช่นนี้จะมองเห็นได้อย่างกระจะตายิ่งกว่าในกาฬทวีปอีกแล้ว กล่าวคือ ผลประโยชน์ของจีนนั้นเป็นเรื่องของเศรษฐกิจล้วนๆ ขณะที่สหรัฐฯยังคงมุ่งสาละวนอยู่กับการมีฐานะครอบงำในทางการทหาร
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
มีผู้นำแอฟริกาบางราย เป็นต้นว่า จาค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ แสดงการติติงเล็กๆ เกี่ยวกับแบบแผนทางการค้าระหว่างจีนกับกาฬทวีป ซึ่งแอฟริกาเป็นฝ่ายส่งออกทรัพยากรธรรมชาติไปเป็นวัตถุดิบของแดนมังกร ขณะที่จีนเป็นฝ่ายส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปให้แก่กาฬทวีป แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า มันเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงทัศนคติต่อต้านจีนโดยทั่วไปที่ปรากฏอยู่ตลอดทั่วทั้งทวีปนี้
จากผลการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยบริการภาคภาษาต่างประเทศของบีบีซีประจำปี 2011 (2011 BBC World Service Poll) ปรากฏว่า 82 เปอร์เซ็นต์ของชาวไนจีเรีย และ 77% ของชาวเคนยา เชื่อว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนมี “ผลกระทบในทางบวก” ต่อประเทศของพวกเขา [5] นี่เป็นเรตติ้งในทางบวกต่อการผงาดขึ้นมาในทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งสูงที่สุดในบรรดา 27 ประเทศที่ทำการสำรวจความคิดเห็นคราวนี้ เมื่อยกเว้นไม่นับประเทศจีนเอง ทัศนคติในทางดีเช่นนี้ยังสะท้อนให้เห็นในกานา (62 เปอร์เซ็นต์) แต่ลดต่ำลงอย่างน่าสังเกตในอียิปต์ (54 เปอร์เซ็นต์) และ แอฟริกาใต้ (52 เปอร์เซนต์)
ยิ่งกว่านั้นผลการสำรวจคราวเดียวกันนี้ยังพบว่า ชาวแอฟริกาส่วนใหญ่ระดับท่วมท้นมองว่าวิธีปฏิบัติในทางการค้าของจีนนั้น “ยุติธรรม” กล่าวคือ มีตั้งแต่ระดับ 88 เปอร์เซ็นต์ที่ไนจีเรีย จนถึงระดับ 61 เปอร์เซ็นต์ในแอฟริกาใต้ ผลการสำรวจของบีบีซีครั้งนี้บอกให้เราทราบว่า มีชาวไนจีเรียเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และชาวแอฟริกาใต้ 18 เปอร์เซ็นต์ ที่มองวิธีปฏิบัติในทางการค้าของจีนว่า “ไม่เป็นธรรม”
ปัญหาภาพลักษณ์ของจีนในแอฟริกาจึงดำรงคงอยู่ในสมองของพวกผู้สังเกตการณ์ชาวตะวันตกเป็นสำคัญ ถึงแม้มีความวิตกห่วงใยอยู่มากเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางการค้าซึ่งดูจะไม่มีความยั่งยืน ทว่าความกังวลเหล่านี้ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านจีนแพร่กระจายไปทั่วทั้งกาฬทวีป
การตั้งข้อกล่าวหาว่าจีนกำลังดำเนิน “ลัทธิจักรวรรดินิยมแผนใหม่” (neo-imperialism) อยู่ในแอฟริกานั้น ที่สำคัญแล้วอิงอาศัยแบบแผนทางการค้าที่ดำรงอยู่ กล่าวคือ แบบแผนแห่งการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้าสำเร็จรูป คือสูตรมาตรฐานของบรรดามหาอำนาจเจ้าอาณานิคมทั้งหลาย อย่างไรก็ดี ปัจจัยอันสำคัญยิ่งที่เป็นตัวกำหนดความเป็นจักรวรรดินิยม อันได้แก่ การครอบงำทางทหารและการใช้กำลังนั้น กลับไม่ปรากฏให้เห็นในนโยบายต่อแอฟริกาของแดนมังกร แต่เรากลับพูดเช่นนี้ไม่ได้กับพวกตะวันตกที่เป็นนักวิพากษ์วิจารณ์จีนรายสำคัญๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิพากษ์วิจารณ์อย่างสหรัฐอเมริกา
ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งจีนกำลังเพิ่มพูนการค้าและการลงทุนในแอฟริกาอย่างรวดเร็วนั้น สหรัฐฯก็รวมศูนย์มุ่งให้ความสนใจกับประเด็นปัญหา “ความมั่นคง” ประการต่างๆ ในทวีปนี้ สหรัฐฯเกี่ยวข้องพัวพันกับสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อที่โซมาลีอย่างใหญ่โตกว้างขวาง โดยที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากจากอากาศยานไร้คนขับซึ่งถูกส่งออกไปโจมตีเป้าหมายที่เป็นพวกกองกำลังอาวุธอิสลามิสต์ กองทหารเอธิโอเปียและยูกันดา ที่หนุนหลังด้วยอาวุธและข่าวกรองของอเมริกัน กำลังเข้าไปแทรกแซงในโซมาลีเพื่อต่อต้านกองกำลังอาวุธอิสลามิสต์ ยิ่งกว่านั้นในปี 2007 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้จัดตั้งกองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา (United States Africa Command ใช้อักษรย่อว่า AFRICOM) *3* ขึ้นมา โดยกำหนดให้มีความรับผิดชอบทางการทหารในพื้นที่ตลอดทั่วทั้งกาฬทวีป นอกจากนี้ที่ลิเบีย องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ก็ได้ทำการรณรงค์ทิ้งระเบิดเพื่อช่วยเหลือฝ่ายกบฏในการโค่นล้มระบอบปกครองมูอัมมาร์ กัดดาฟี โดยที่ได้รับการหนุนหลังอย่างแข็งขันจากแสนยานุภาพของสหรัฐฯ (ขณะที่จีนแสดงความไม่เห็นด้วย)
การที่สหรัฐมุ่งเน้นหนักสนใจอย่างสายตาสั้นคับแคบต่อประเด็นเรื่องความมั่นคงและการต่อต้านการก่อการร้ายเช่นนี้เอง ทำให้จีนได้โอกาสอันสำคัญมากในการเดินหน้ารุกใหญ่ทางเศรษฐกิจในแอฟริกา ไม่มีที่ใดในโลกอีกแล้วที่จุดเน้นหนักทางด้านนโยบายการต่างประเทศของประเทศทั้งสองนี้จะแตกต่างตัดแย้งกันอย่างเด่นชัดเหมือนในทวีปแอฟริกา ขณะที่สหรัฐฯกำลังสาละวนกับการทิ้งระเบิดและการจัดส่งอาวุธ จีนกลับมุ่งไปที่การซื้อการขาย, การก่อสร้างและการปล่อยกู้
คำพูดของรัฐมนตรีต่างประเทศคลินตันของสหรัฐฯ ที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่อแอฟริกาของจีน จึงน่าที่จะไม่มีใครรับฟังให้ความสนใจ เงินสดจริงๆ เป็นฟ่อนๆ ของจีนนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการชนะใจเพื่อนมิตรในภูมิภาคแถบนี้ ยิ่งกว่าวิธีการทางทหารของอเมริกามากมายนัก
ยิ่งไปกว่านั้น มันก็ไม่ใช่ว่าจีนเป็นผู้ที่ผูกขาดอยู่แต่เพียงผู้เดียว ในการติดต่อสัมพันธ์กับพวกระบอบปกครองผู้กดขี่ด้วยจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมสนับสนุนผลประโยชน์ของตนเอง ในขณะที่สหรัฐฯแสดงตัวเป็นแชมเปี้ยนผู้มุ่งมั่นรณรงค์ต่อสู้เพื่อ “สิทธิมนุษยชน” และ “ประชาธิปไตย” วอชิงตันก็มีการติดต่อทำข้อตกลงกับรัฐบาลเผด็จการในเอธิโอเปียและยูกันดาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมวาระทางด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและด้านความมั่นคงของตน แดเนียล คาลินากิ (Daniel Kalinaki) แห่งหนังสือพิมพ์เดลี่มอนิเตอร์ (Daily Monitor) ของยูกันดา ร้องครวญว่า สหรัฐฯผลักดันเรียกร้องธรรมาภิบาลอย่างชนิดที่ “ไม่เสมอต้นเสมอปลาย และมีการปรับเปลี่ยนครั้งแล้วครั้งเล่าโดยพิจารณาจากผลประโยชน์ต่างๆ ของตนเอง” [6]
ทั้งจีนและสหรัฐฯต่างก็มีผลประโยชน์อันใหญ่โตกว้างขวางในแอฟริกา ในขณะที่วอชิงตันรวมศูนย์ให้ความสนใจอยู่ที่การทำศึกสู้รบกับกระแสนักรบญิฮัดระดับโลก (และการโอ่อวดว่าตนเองกำลังส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตย) ปักกิ่งก็มองเห็นโอกาสอันมากมายมหาศาลในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและลูกค้ารายใหม่ๆ สำหรับสินค้าจีน แอฟริกาจึงทำหน้าที่เป็นแสงสว่างสาดส่องให้เห็นความตัดแย้งกันอย่างชัดเจนระหว่างนโยบายการต่างประเทศของจีนกับของสหรัฐฯ ประเทศทั้งสองต่างมีความพรักพร้อมที่จะทำข้อตกลงกับพวกระบอบปกครองที่น่ารังเกียจเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่ตนเองต้องการ ไม่ว่ามันจะเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (ในกรณีของจีน) หรือเป็นผลประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ (ในกรณีของสหรัฐฯ)
ในเวลาที่สหรัฐฯกำลังปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมาให้ความสำคัญต่อเอเชียเช่นเวลานี้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่จีนจะพยายามหาทางเพิ่มพูนการปักหลักหยั่งรากลึกในทางยุทธศาสตร์ในอาณาบริเวณต่างๆ ซึ่งเมื่อก่อนเคยถูกครอบงำโดยสหรัฐฯและพันธมิตรยุโรปของสหรัฐฯ ถ้าหากสหรัฐฯเกิดมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะขีดวงจำกัดการผงาดขึ้นมาของจีนแล้ว การต่อสู้ช่วงชิงกันที่จะเกิดขึ้นติดตามมาก็จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเท่านั้น สายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันใหญ่โตกว้างขวางที่จีนมีอยู่กับแอฟริกาในที่สุดแล้วก็จะให้ดอกผลกำรี้กำไรในทางการเมืองแก่แดนมังกรด้วย
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Hillary Clinton launches African tour with veiled attack on China, The Guardian, Aug 1, '12.
[2] ดูเรื่อง US plot to sow discord between China, Africa is doomed to fail , Xinhua, Aug 3, '12.
[3] ดูเรื่อง Chart of the week: China steps up the Africa charm offensive, The Financial Times, Jul 23, '12.
[4] ดูเรื่อง Zuma warns on Africa’s trade ties to China
, The Washington Post, Jul 19, '12.
[5] ดูเรื่อง Rising Concern about China’s Increasing Power: Global Poll, BBC World Service, Mar 27, '11 (pdf file).
[6] ดูเรื่อง China attacks Clinton's Africa comments, The Financial Times, Aug 3, '12.
**หมายเหตุผู้แปล**
*1* รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯ ตระเวนเยือนทวีปแอฟริกาในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2012 นี้ เป็นเวลา 11 วัน รวม 9 ประเทศ
*2* สหภาพแอฟริกา (African Union ใช้อักษรย่อว่า AU) เป็นองค์การที่มีรัฐแอฟริกาเป็นสมาชิก 54 รัฐ โดยมีรัฐซึ่งดินแดนทั้งหมดอยู่ในแอฟริกาเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ AU ซึ่งก็คือ โมร็อกโก องค์การนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 เพื่อแทนที่ องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ใช้อักษรย่อว่า OAU) สำนักงานเลขาธิการของ AU ตั้งอยู่ในกรุงแอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย (ข้อมูลจาก Wikipedia)
*3*กองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา (United States Africa Command ใช้อักษรย่อว่า AFRICOM) ก่อตั้งขึ้นในปี 2007 โดยมีฐานะเป็น 1 ใน 9 กองบัญชาการหน่วยสู้รบร่วม (Unified Combatant Commands) ของสหรัฐฯ กองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายเคลลีย์ แบร์รัคส์ (Kelley Barracks) เมืองสตุ๊ตการ์ต ประเทศเยอรมนี มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการปฏิบัติการทางทหารและความสัมพันธ์ทางทหารของสหรัฐฯ ในทวีปแอฟริกาทั้งหมด ยกเว้นประเทศ อียิปต์ ที่เป็นความรับผิดชอบของ กองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคกลาง (United States Africa Command ใช้อักษรย่อว่า CENTCOM) (ข้อมูลจาก Wikipedia)
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง
The Transcendent Harmony