เอเจนซี - ที่ประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุเศรษฐกิจอเมริกันชะลอตัวลง และอัตราว่างงานยังสูงเกินไป แต่ยังคงไม่เอ่ยถึงการออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินใหม่ๆ เพียงส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่าอาจขยายโครงการเข้าซื้อหุ้นกู้เพื่อช่วยประคับประคองการฟื้นตัว
ในคำแถลงของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ซึ่งออกมาในตอนบ่ายวันพุธ (1 ส.ค.) ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม 2 วัน พูดถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยใช้ถ้อยคำว่า “ชะลอลงในระดับหนึ่ง” อันเป็นการเปลี่ยนน้ำเสียงไปในทางลบ จากที่เคยประเมินในเดือนมิถุนายนว่า เศรษฐกิจ “กำลังขยายตัวไปพอประมาณ” นอกจากนั้นยังย้ำว่า ผิดหวังกับความล่าช้าในการลดอัตราว่างงานที่ยืนหยัดอย่างดื้อรั้นอยู่ที่ 8.2%
พวกนักลงทุนบางส่วนแสดงความนผิดหวังที่การประชุมคราวนี้ เฟดไม่มีการแถลงมาตรการกระตุ้นใหม่ๆ ดังนั้นจึงส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กตกในวันพุธ ส่วนดอลลาร์ก็แข็งค่าเมื่อเทียบยูโรและเยน
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากก็คาดการณ์ไว้ว่า เฟดอาจจะแถลงขยายเวลาในการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำออกไปอีก ทว่า คำแถลงล่าสุดยังคงยืนยันเป้าหมายเดิมนั่นคือถึงปลายปี 2014 แม้สำทับด้วยว่าพร้อมดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ
“ที่ประชุมผู้วางนโยบายจะติดตามข้อมูลพัฒนาการเศรษฐกิจและการเงินอย่างใกล้ชิด และจะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมหากจำเป็น” เปรียบเทียบกับถ้อยคำในแถลงการณ์เดือนมิถุนายนที่เอฟโอเอ็มซีระบุว่า “เฟดเตรียมพร้อมดำเนินมาตรการอย่างเหมาะสม”
ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังชะลอตัวโดยมีอัตราเติบโตเพียง 1.5% ในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง และอัตราว่างงานยังสูงเกินระดับที่น่าพอใจสำหรับเฟดซึ่งโดยภาระะหน้าที่แล้ว ต้องทั้งดึงเงินเฟ้อให้ต่ำลงและผลักดันให้มีการจ้างงานมากๆ
ไตรมาสที่ผ่านมา อัตราเติบโตในการจ้างงานชะลอตัวรุนแรงอยู่ที่เพียง 75,000 ตำแหน่งต่อเดือน จาก 226,000 ตำแหน่งในไตรมาสแรก
ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสถาบันการบริหารจัดการอุปทาน (อินสติติวท์ ฟอร์ ซัปพลาย แมเนจเมนท์) ซึ่งเป็นองค์กรของพวกผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
การประชุมของเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ มีขึ้นก่อนการประชุมของคณะผู้ว่าการของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) 1 วัน โดยในสัปดาห์ที่แล้ว มาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีประกาศว่า จะทำทุกทางเพื่อปกป้องยูโร ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า อีซีบีจะขยายมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรสเปนและอิตาลี ซึ่งหากหลังการประชุมปรากฏว่า อีซีบีไม่มีมาตรการเชิงรุกใดๆ ออกมา น่าจะทำให้ตลาดทุนผิดหวังอย่างแรง
อเมริกานั้นมองว่า วิกฤตยุโรปเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของตนวูบลง เนื่องจากความกังวลว่าจะเกิดวิกฤตการเงินครั้งใหม่ จึงส่งผลให้ธุรกิจและผู้บริโภคยับยั้งการใช้จ่าย
ท่ามกลางสถานการณ์อึมครึมนี้ หลายฝ่ายจึงคิดว่า เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดอาจใช้โอกาสในการแถลงนโยบายสำคัญที่แจ็คสัน โฮล มลรัฐไวโอมิงปลายเดือนนี้ ส่งสัญญาณชัดเจนถึงตลาด เหมือนที่เคยใช้เวทีนี้สื่อสารเจตนารมณ์ของเฟดในการออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2 (Quantitative Easing 2 หรือ QE2) มาแล้วในปี 2010
สำหรับการประชุมผู้วางนโยบายเฟดครั้งต่อไปนั้นกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 12-13 กันยายน
ในส่วนการออก QE3 มีการคาดการณ์กันว่า มาตรการส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับสินเชื่อบ้าน เนื่องจากเฟดกำลังพยายามกระตุ้นภาคที่อยู่อาศัยที่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว
เครื่องมืออื่นๆ ที่เบอร์นันกีเปรยว่ากำลังพิจารณาอยู่ ยังรวมถึงการลดดอกเบี้ยที่เฟดจ่ายให้แบงก์พาณิชย์ที่นำทุนสำรองมาฝาก ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ 0.25% เพื่อกระตุ้นการปล่อยกู้
อีกตัวเลือกหนึ่งคือ การเสนอเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำให้แบงก์พาณิชย์ แลกเปลี่ยนกับการรับประกันว่าแบงก์เหล่านั้นจะกลับไปปล่อยกู้แก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ธนาคารกลางอังกฤษใช้เมื่อเร็วๆ นี้ ทว่า ตัวเลือกนี้คงจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ในคำแถลงของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ซึ่งออกมาในตอนบ่ายวันพุธ (1 ส.ค.) ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม 2 วัน พูดถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยใช้ถ้อยคำว่า “ชะลอลงในระดับหนึ่ง” อันเป็นการเปลี่ยนน้ำเสียงไปในทางลบ จากที่เคยประเมินในเดือนมิถุนายนว่า เศรษฐกิจ “กำลังขยายตัวไปพอประมาณ” นอกจากนั้นยังย้ำว่า ผิดหวังกับความล่าช้าในการลดอัตราว่างงานที่ยืนหยัดอย่างดื้อรั้นอยู่ที่ 8.2%
พวกนักลงทุนบางส่วนแสดงความนผิดหวังที่การประชุมคราวนี้ เฟดไม่มีการแถลงมาตรการกระตุ้นใหม่ๆ ดังนั้นจึงส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กตกในวันพุธ ส่วนดอลลาร์ก็แข็งค่าเมื่อเทียบยูโรและเยน
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากก็คาดการณ์ไว้ว่า เฟดอาจจะแถลงขยายเวลาในการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำออกไปอีก ทว่า คำแถลงล่าสุดยังคงยืนยันเป้าหมายเดิมนั่นคือถึงปลายปี 2014 แม้สำทับด้วยว่าพร้อมดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ
“ที่ประชุมผู้วางนโยบายจะติดตามข้อมูลพัฒนาการเศรษฐกิจและการเงินอย่างใกล้ชิด และจะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมหากจำเป็น” เปรียบเทียบกับถ้อยคำในแถลงการณ์เดือนมิถุนายนที่เอฟโอเอ็มซีระบุว่า “เฟดเตรียมพร้อมดำเนินมาตรการอย่างเหมาะสม”
ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังชะลอตัวโดยมีอัตราเติบโตเพียง 1.5% ในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง และอัตราว่างงานยังสูงเกินระดับที่น่าพอใจสำหรับเฟดซึ่งโดยภาระะหน้าที่แล้ว ต้องทั้งดึงเงินเฟ้อให้ต่ำลงและผลักดันให้มีการจ้างงานมากๆ
ไตรมาสที่ผ่านมา อัตราเติบโตในการจ้างงานชะลอตัวรุนแรงอยู่ที่เพียง 75,000 ตำแหน่งต่อเดือน จาก 226,000 ตำแหน่งในไตรมาสแรก
ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสถาบันการบริหารจัดการอุปทาน (อินสติติวท์ ฟอร์ ซัปพลาย แมเนจเมนท์) ซึ่งเป็นองค์กรของพวกผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
การประชุมของเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ มีขึ้นก่อนการประชุมของคณะผู้ว่าการของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) 1 วัน โดยในสัปดาห์ที่แล้ว มาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีประกาศว่า จะทำทุกทางเพื่อปกป้องยูโร ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า อีซีบีจะขยายมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรสเปนและอิตาลี ซึ่งหากหลังการประชุมปรากฏว่า อีซีบีไม่มีมาตรการเชิงรุกใดๆ ออกมา น่าจะทำให้ตลาดทุนผิดหวังอย่างแรง
อเมริกานั้นมองว่า วิกฤตยุโรปเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของตนวูบลง เนื่องจากความกังวลว่าจะเกิดวิกฤตการเงินครั้งใหม่ จึงส่งผลให้ธุรกิจและผู้บริโภคยับยั้งการใช้จ่าย
ท่ามกลางสถานการณ์อึมครึมนี้ หลายฝ่ายจึงคิดว่า เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดอาจใช้โอกาสในการแถลงนโยบายสำคัญที่แจ็คสัน โฮล มลรัฐไวโอมิงปลายเดือนนี้ ส่งสัญญาณชัดเจนถึงตลาด เหมือนที่เคยใช้เวทีนี้สื่อสารเจตนารมณ์ของเฟดในการออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2 (Quantitative Easing 2 หรือ QE2) มาแล้วในปี 2010
สำหรับการประชุมผู้วางนโยบายเฟดครั้งต่อไปนั้นกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 12-13 กันยายน
ในส่วนการออก QE3 มีการคาดการณ์กันว่า มาตรการส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับสินเชื่อบ้าน เนื่องจากเฟดกำลังพยายามกระตุ้นภาคที่อยู่อาศัยที่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว
เครื่องมืออื่นๆ ที่เบอร์นันกีเปรยว่ากำลังพิจารณาอยู่ ยังรวมถึงการลดดอกเบี้ยที่เฟดจ่ายให้แบงก์พาณิชย์ที่นำทุนสำรองมาฝาก ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ 0.25% เพื่อกระตุ้นการปล่อยกู้
อีกตัวเลือกหนึ่งคือ การเสนอเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำให้แบงก์พาณิชย์ แลกเปลี่ยนกับการรับประกันว่าแบงก์เหล่านั้นจะกลับไปปล่อยกู้แก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ธนาคารกลางอังกฤษใช้เมื่อเร็วๆ นี้ ทว่า ตัวเลือกนี้คงจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป