(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China walks tightrope over troubled waters
By Brendan O'Reilly
05/07/2012
การที่อินเดีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ แถลงแสดงความมุ่งมั่นผูกพันร่วมกันที่จะทำให้การสัญจรและการขนส่งทางทะเลในเขตทะเลจีนใต้ต้องดำเนินไปได้อย่างเสรีนั้น ถือเป็นการเพิ่มแรงบีบคั้นต่อจีนซึ่งกำลังพยายามดำเนินการในลักษณะมุ่งรักษาความสมดุลในเวลาจัดกับกับกรณีพิพาทต่างๆ ในอาณาบริเวณดังกล่าว บรรดาผู้นำจีนย่อมทราบดีว่าขณะที่ถ้อยคำโวหารอันแข็งกร้าวและการแสดงกำลังทางทหารเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ท่านผู้ชมภายในประเทศของตนเองเกิดความพออกพอใจ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เหล่าชาติเพื่อนบ้านของแดนมังกรเกิดความตระหนกตกใจจนพากันเปิดประตูอ้าแขนโอบกอดต้อนรับสหรัฐฯ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(สรุปความในตอนแรก:
จีนกับเวียดนามต่างกำลังอาศัยทั้งการสำแดงกำลังทางทหาร, แผนการกลเม็ดทางกฎหมาย, และยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ในการยกระดับข้อยืนยันของแต่ละฝ่ายที่ว่ามีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ที่กำลังช่วงชิงกันอยู่ การเดินหมากตอบโต้กัน 3 ด้านพร้อมๆ กันเช่นนี้ บังเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่สำคัญมากทีเดียวเมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์แวดล้อมหลายๆ ประการ
ประการแรกสุด ความตึงเครียดที่ยกระดับเพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับเวียดนามระลอกนี้ ปรากฏขึ้นในเวลาเดียวกับที่ความเสียดทานระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์กำลังผ่อนคลายลง
ประการที่สอง นี่เป็นช่วงที่ใกล้จะมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ตลอดจนการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ซึ่งเรื่องกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ จะต้องกลายเป็นประเด็นสำคัญ)
ประการที่สาม อินเดีย, ญี่ปุ่น, และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ได้จัด “การสนทนา” สามฝ่ายของพวกตนขึ้นมาเป็นครั้งแรกในกรุงนิวเดลีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ถึงแม้การหารือคราวนี้ไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ขึ้นมาเอ่ยอ้างกันเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่ สันเจย์ ซิงห์ (Sanjay Singh) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศอินเดียก็พูดย้ำว่า “มีการแสดงความมุ่งมั่นผูกพันร่วมกันที่จะธำรงรักษาเสรีภาพของท้องทะเล, การต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย, และการส่งเสริมสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ทั้งอินเดีย, ญี่ปุ่น, และสาธารณรัฐเกาหลี ต่างต้องพึ่งพาอาศัยเส้นทางคมนาคมทางทะเล (Sea Lanes of Communications หรือ SLOCs) เป็นอย่างยิ่งสำหรับการรักษาความมั่นคงทางด้านพลังงานของพวกตน” [7] เห็นได้ชัดเจนว่าการอ้างอิงถึงเรื่อง “การธำรงรักษาเสรีภาพของท้องทะเล” เป็นการพาดพิงแสดงความสนใจห่วงใยเกี่ยวกับการอ้างอธิปไตยที่ทับซ้อนกันอยู่ในเขตทะเลจีนใต้นั่นเอง
การที่อินเดีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ ออกมากล่าวย้ำยืนยันร่วมกันว่า พวกตนมีความมุ่งมั่นผูกพันที่จะธำรงรักษาให้การเคลื่อนไหวสัญจรทางทะเลสามารถดำเนินไปได้อย่างเสรี ในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างจีนกับเวียดนามกำลังเพิ่มทวีขึ้นเช่นนี้ นับว่าเป็นความสอดคล้องต้องกันอย่างยิ่ง หาใช่เรื่องบังเอิญซึ่งไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จีนนั้นกำลังมีมุมมองที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า อินเดียเป็นปัจจัยทางยุทธศาสตร์ปัจจัยหนึ่งในทะเลจีนใต้ ยิ่งกว่านั้น เกาหลีใต้และญี่ปุ่น (รวมทั้งจีนเองด้วย) ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยพลังงานนำเข้าที่ลำเลียงขนส่งผ่านอาณาบริเวณทางทะเลที่เกิดการพิพาทกันอยู่ เห็นได้ชัดเจนว่าทั้งอินเดีย, ญี่ปุ่น, และสาธารณรัฐเกาหลี ต่างก็มีผลประโยชน์ในการกีดกั้นขัดขวางไม่ให้ทะเลจีนใต้กลายเป็นทะเลสาบส่วนตัวของฝ่ายจีน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้งสู้รบกันอย่างเปิดเผยด้วยเช่นกัน
ประการสุดท้าย ความตึงเครียดระหว่างจีนกับเวียดนามที่ดุเดือดเข้มข้นมากขึ้น กำลังบังเกิดขึ้นในจังหวะเดียวกับที่กำลังมีการซ้อมรบทางนาวีบริเวณริมแปซิฟิก (Rim of the Pacific หรือ RIMPAC) ประจำปี ที่บริเวณนอกชายฝั่งของหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐฯ การฝึกซ้อมทางเรือ RIMPAC ปีนี้มีชาติที่ตอบรับเข้าร่วมรวม 22 ราย เป็นต้นว่า พวกประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯในภูมิภาคแถบนี้อย่างเช่น ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ แม้กระทั่งรัสเซียก็กำลังส่งเรือรบลำหนึ่งเข้าร่วมในภารกิจฝึกซ้อมร่วมมือประสานงานกันครั้งใหญ่โตคราวนี้ด้วย สำหรับจีนนั้นขาดหายไปอย่างน่าสังเกตทีเดียว ขณะที่เวียดนามก็ปรากฏตัวอย่างน่าจับตาในฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์รายหนึ่งของการซ้อมรบคราวนี้
การซ้อมรบ RIMPAC ประจำปี 2012 ครั้งนี้ จึงกลายเป็นการชุมนุมของเหล่ามหาอำนาจในย่านแปซิฟิก ซึ่งต่างก็กำลังมีความกังวลใจมากบ้างน้อยบ้างต่อประเทศจีนที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา สหรัฐฯและบรรดาพันธมิตรของตนกำลังเฝ้าติดตามจุดปะทุลุกลามที่อาจเกิดขึ้นมาในทะเลจีนใต้อย่างชนิดไม่ยอมละสายตาทีเดียว เป็นเวลาหลายปีมาแล้วสหรัฐฯได้ใช้ความพยายามที่จะทำให้การพิพาทในทะเลจีนใต้กลายเป็น “ประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ” ด้วยการเสนอตัวเข้าช่วยเหลือจัดการเจรจาคลี่คลายปัญหา ในปี 2010 รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน แถลงระหว่างการเยือนเวียดนามว่า “เป็นผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯที่จะต้องธำรงรักษา เสรีภาพในการเดินเรือ, การเข้าถึงผลประโยชน์ร่วมทางทะเลในเอเชียอย่างเปิดกว้าง, และการเคารพหลักกฎหมายระหว่างประเทศในเขตทะเลจีนใต้” [8] เราสามารถคาดหมายได้ว่าคลินตันยังจะแสดงความสนใจและความกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้เพิ่มเติมขึ้นอีกในระหว่างการประชุมของอาเซียนคราวนี้
**สงครามเย็นในน่านน้ำของเอเชีย?**
ถึงแม้เกิดความตึงเครียดกันในเรื่องกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์อย่างต่อเนื่อง แต่มันก็เป็นผลประโยชน์ของทั้งจีนและเวียดนามที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้บานปลายกลายเป็นความขัดแย้งสู้รบกันอย่างเปิดเผย จีนนั้นแทบจะไม่ได้อะไรเลยจากการเริ่มต้นเปิดฉากการต่อสู้ทางการทหารที่อาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อการทะยานโลดลิ่วทางเศรษฐกิจอันน่าตื่นตาตื่นใจของตน ส่วนเวียดนามก็ไม่สามารถวาดหวังที่จะพึ่งพาอาศัยการเข้าแทรกแซงจากภายนอกในระดับเพียงพอที่จะทำให้ตนเองสามารถต้านทานความเหนือชั้นกว่าในทางการทหารของจีนได้ ทั้งสองประเทศไม่มีฝ่ายใดเลยต้องการให้สงครามชายแดนอันนองเลือดเมื่อปี 1979 ของพวกตนบังเกิดซ้ำขึ้นมาอีก ถึงแม้คำพูดคำแถลงอันแข็งกร้าวหักหาญของทั้งสองฝ่ายมีนัยมีความหมายในทางระหว่างประเทศ ทว่าถ้อยคำโวหารดังกล่าวดูเหมือนจะพุ่งเป้ามุ่งป้อนเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ
ควรที่จะต้องชี้เอาไว้ตรงนี้ว่า อันที่จริงกำลังทหารของสาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐจีนในไต้หวัน, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, และมาเลเซีย ก็ได้ถูกส่งออกมาตั้งประจำอยู่ตามจุดต่างๆ ในหมู่เกาะสแปรตลีย์เป็นเวลาแรมปีแล้ว โดยที่ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บล้มตายอันสืบเนื่องจากการสู้รบกันแม้แต่ครั้งเดียว
แน่นอนทีเดียวว่ายังคงมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการคาดคำนวณอันผิดพลาด หรือการสื่อสารกันอย่างผิดพลาด จนกระทั่งนำไปสู่การปะทะกันทางทหารครั้งใหญ่ ถ้าหากลงท้ายแล้ว เหตุการณ์ปรากฏออกมาเช่นนี้ ผลสืบเนื่องต่างๆ ในทางภูมิรัฐศาสตร์ก็น่าจะมีมากมายมโหฬารทีเดียว
วอชิงตันนั้นจับจ้องมองภาวะอันตีบตันไร้ทางออกในทะเลจีนใต้ ในฐานะที่เป็นเสมือนคานดีดคานงัดอันทรงความสำคัญ ซึ่งตนสามารถนำมาใช้เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในทางภูมิรัฐศาสตร์จากปักกิ่ง รัฐบาลสหรัฐฯกำลังตรวจสอบทบทวนความเป็นไปได้ทุกๆ อย่างเพื่อมองหาวิธีการในการรับมือ หรือถ้าหากเป็นไปได้ก็ถึงขั้นสกัดกั้นกีดขวางอิทธิพลบารมีที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นของจีน สหรัฐฯมีสายสัมพันธ์อันแข็งแรงทั้งในทางทหาร, เศรษฐกิจ, และการเมืองอยู่กับฟิลิปปินส์ และกำลังตั้งอกตั้งใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับเวียดนาม ทางฝ่ายฟิลิปปินส์และเวียดนามเล่า ก็มองพลานุภาพของอเมริกาว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถใช้มาทัดทานถ่วงดุลความยิ่งใหญ่สูงสุดในภูมิภาคแถบนี้ของจีน
สหรัฐฯกำลังพยายามหาทางให้ได้รับความเห็นอกเห็นใจตลอดจนเกียรติภูมิจากแวดวงระหว่างประเทศ ด้วยการวาดภาพให้ตนเองเป็นคนกลางผู้สัตย์ซื่อที่พยายามหาทางจัดตั้ง “กลไกที่อิงกับระเบียบกฎเกณฑ์” ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขคลี่คลายกรณีพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้ รัฐบาลอเมริกันยังกำลังพยายามที่จะยกระดับเชิดชูความเป็นหุ้นส่วนความเป็นพันธมิตรกับประเทศในภูมิภาคแถบนี้ซึ่งไม่สบายอกสบายใจกับการผงาดขึ้นมาอย่างหนักแน่นและต่อเนื่องของแดนมังกร ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องไม่ลืมว่าเสาหลักเสาหนึ่งของนโยบายแห่งการหันมาเน้นหนักให้ความสำคัญต่อเอเชียของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ซึ่งมีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างมากนั้น ก็คือ แผนการในการปรับกำลังทหารซึ่งจะทำให้กำลังทางนาวีของสหรัฐฯ 60% หันมาตั้งฐานอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลจีนกำลังอยู่ในสภาพที่ต้องลงมือกระทำการต่างๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลไม่เอนเอียงไปทางข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่งานง่ายๆ เลย ในด้านหนึ่งนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนจำเป็นจะต้องแสดงตนให้เห็นว่ามีความองอาจเข้มแข็ง เพื่อเพิ่มความหนักแน่นมั่นคงให้แก่การอ้างกรรมสิทธิ์เหนืออาณาบริเวณทะเลจีนใต้ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนั้นการเมืองภายในประเทศก็เป็นเรื่องสำคัญมาก พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถที่จะทำตัวอ่อนปวกเปียกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับมือกับสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นการท้าทายลบหลู่จากพวกประเทศที่มีขนาดเล็กกว่า ในทีนี้ควรต้องพูดย้ำอีกคำรบหนึ่งว่า ทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ต่างประกาศอ้างมานานแล้วว่าอาณาบริเวณต่างๆ ที่พิพาทกันอยู่ในทะเลจีนใต้นั้น ล้วนอยู่ในอำนาจอธิปไตยของจีนทั้งสิ้น
แต่ในอีกด้านหนึ่ง จีนก็มองเห็นว่าเป็นผลประโยชน์ในระยะยาวของตนที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่เข้าสู่การปะทะกันทางทหาร ทั้งนี้ด้วยเหตุผลอันสำคัญมาก 2 ประการด้วยกัน ประการแรก การทะยานตัวโลดลิ่วในทางเศรษฐกิจของจีนอาจจะตกอยู่ในอันตรายจากการเปิดความขัดแย้งสู้รบกันทางการทหารซึ่งผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำนายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเป็นการต่อสู้ที่บังเกิดขึ้นในอาณาบริเวณใกล้เคียงกับเส้นทางเดินเรือทะเลอันทรงสำคัญยิ่งยวด ประการที่สอง จีนไม่ต้องการที่จะทำให้พวกเพื่อนบ้านของตนบังเกิดความหวาดผวาจนกระทั่งยอมเปิดประตูอ้าแขนสวมกอดสหรัฐฯ
ควรต้องชี้ให้เห็นด้วยว่า ในความตึงเครียดระหว่างจีนกับเวียดนามรอบล่าสุดนี้ ปักกิ่งไม่ได้เป็นฝ่ายริเริ่ม ตรงกันข้าม ปักกิ่งกระทำการในลักษณะตอบโต้ความเคลื่อนไหวแต่ละอย่างแต่ละก้าวของฝ่ายฮานอย ไม่ว่าจะในทางการทหารหรือในทางการเมือง นโยบายที่มุ่งเน้นการตอบโต้มากกว่าการยั่วยุจุดชนวนเช่นนี้ คือสิ่งบ่งบอกให้เห็นถึงความพยายามของฝ่ายจีนในการลงมือกระทำการต่างๆ เพื่อรักษาความสมดุลในภูมิภาคแถบนี้
สื่อมวลชนของทางการจีนมักคร่ำครวญอยู่ไม่ขาดระยะว่า ภูมิทัศน์ทางการเมืองในสหรัฐฯยังคงแปดเปื้อนไปด้วย “ความคิดจิตใจแห่งยุคสงครามเย็น” (Cold War mentality) ถึงแม้วอชิงตันจะมีการแก้เนื้อแก้ตัวและกล่าวอ้างไปในทางตรงกันข้าม แต่แทบจะเป็นเรื่องแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัยกันเลยว่า การที่สหรัฐฯหันมาให้น้ำหนักเน้นหนักทางยุทธศาสตร์ต่อเอเชียนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดอยู่ที่การปิดล้อมจีน กองกำลังเรือรบของสหรัฐฯถึง 60% ย่อมมากมายเกินความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากมีความประสงค์เพียงเพื่อการควบคุมจำกัดขอบเขตความทะเยอทะยานภายในภูมิภาคของเกาหลีเหนือ ผู้กำลังอยู่ในภาวะอดอยากโดยที่มีอาหารได้กินอิ่มกันเพียงแค่ครึ่งท้อง
ปัญหาของ “ความคิดจิตใจแห่งยุคสงครามเย็น” อยู่ตรงที่ว่า แนวความคิดดังกล่าวนี้ล้าสมัยอย่างชนิดสุดกู่เสียแล้ว สหรัฐฯอาจจะเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์อันเก่าแก่ยาวนานของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทว่าจีนต่างหากที่เป็นคู่ค้าสำคัญที่สุดของประเทศทั้งสอง แม้กระทั่งอินเดีย ซึ่งมีการพูดจาโน้มน้าวกันมากมายเพื่อให้เห็นว่าคือ กุญแจดอกสำคัญอย่างยิ่งในยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฯนั้น ก็ยังทำการค้ากับแดนมังกรมากกว่ากับแดนลุงแซม บรรดาชาติพันธมิตรในเอเชียของอเมริกาต่างก็กำลังเคลื่อนตัวลึกเข้าไปในวงโคจรทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของจีน ยิ่งกว่านั้น สหรัฐฯกับจีนเองก็กำลังอยู่ในภาวะพึ่งพาอาศัยกันและกันในทางเศรษฐกิจอย่างมโหฬาร จนกระทั่งการที่คิดจะขัดแย้งต่อสู้กันอย่างเปิดเผยกลายเป็นเรื่องที่สุดแสนจะไม่ฉลาด
รัฐบาลจีนไม่น่าที่จะทำให้ผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ระยะยาวของตนต้องตกอยู่ในอันตราย ด้วยการดำเนินนโยบายเสี่ยงภัยทางทหารอย่างแข็งกร้าว แน่นอนที่จีนย่อมจะทำการตอบโต้อย่างชนิดมาไม้ไหนไปไม้นั้น เมื่อพวกรัฐที่เป็นคู่พิพาทในทะเลจีนใต้รายอื่นๆ เริ่มต้นเปิดฉากดำเนินการเคลื่อนไหวในทางทหาร, การเมือง, หรือในทางเศรษฐกิจใดๆ ก็ตามที อย่างไรก็ตาม จีนจะไม่เป็นฝ่ายริเริ่มก่อให้เกิดความขัดแย้งสู้รบชนิดคาดทำนายผลไม่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นภัยคุกคามต่อการพุ่งผงาดทางเศรษฐกิจของแดนมังกร อีกทั้งกระตุ้นส่งเสริมให้บรรดาชาติคู่ค้าของตนหันไปสนับสนุนให้อเมริกันปรากฏตัวโดดเด่นในภูมิภาคแถบนี้เพิ่มมากขึ้น ถึงอย่างไรจีนย่อมทราบดีว่า ในระยะยาวแล้ว พัฒนาการทางเศรษฐกิจและการค้าจะเป็นสิ่งซึ่งมีน้ำหนักในทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคแถบนี้ มากมายมหาศาลยิ่งกว่ากองกำลังนาวี 60% ของอเมริกัน
หมายเหตุ
[1] ดูเรื่อง Vietnam to conduct regular air patrols over archipelago, Thanh Nien News, Jun 20, 2012.
[2] ดูเรื่อง China starts 'combat ready' patrols in disputed South China Sea, Christian Science Monitor, Jun 28, 2012.
[3] ดูเรื่อง China opposed Vietnamese maritime law over sovereignty claim, Xinhua, Jun 21, 2012.
[4] ดูเรื่อง Vietnam Law on Contested Islands draws China's Ire, New York Times, Jun 22, 2012.
[5] ดูเรื่อง Vietnamese protest over islands dispute with China, Sacramento Bee, Jun 30, 2012.
[6] ดูเรื่อง Philippines: Chinese boats leave disputed region, CBS News, Jun 26, 2012.
[7] ดูเรื่อง With China on mind, India, Japan, South Korea hold trilateral, New York Daily News, Jun 29, 2012.
[8] ดูเรื่อง Offering to Aid Talks, US Challenges China on Disputed Islands, New York Times, Jul 24, 2012.
แบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาจากเมืองซีแอตเทิล, สหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony
China walks tightrope over troubled waters
By Brendan O'Reilly
05/07/2012
การที่อินเดีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ แถลงแสดงความมุ่งมั่นผูกพันร่วมกันที่จะทำให้การสัญจรและการขนส่งทางทะเลในเขตทะเลจีนใต้ต้องดำเนินไปได้อย่างเสรีนั้น ถือเป็นการเพิ่มแรงบีบคั้นต่อจีนซึ่งกำลังพยายามดำเนินการในลักษณะมุ่งรักษาความสมดุลในเวลาจัดกับกับกรณีพิพาทต่างๆ ในอาณาบริเวณดังกล่าว บรรดาผู้นำจีนย่อมทราบดีว่าขณะที่ถ้อยคำโวหารอันแข็งกร้าวและการแสดงกำลังทางทหารเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ท่านผู้ชมภายในประเทศของตนเองเกิดความพออกพอใจ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เหล่าชาติเพื่อนบ้านของแดนมังกรเกิดความตระหนกตกใจจนพากันเปิดประตูอ้าแขนโอบกอดต้อนรับสหรัฐฯ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(สรุปความในตอนแรก:
จีนกับเวียดนามต่างกำลังอาศัยทั้งการสำแดงกำลังทางทหาร, แผนการกลเม็ดทางกฎหมาย, และยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ในการยกระดับข้อยืนยันของแต่ละฝ่ายที่ว่ามีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ที่กำลังช่วงชิงกันอยู่ การเดินหมากตอบโต้กัน 3 ด้านพร้อมๆ กันเช่นนี้ บังเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่สำคัญมากทีเดียวเมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์แวดล้อมหลายๆ ประการ
ประการแรกสุด ความตึงเครียดที่ยกระดับเพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับเวียดนามระลอกนี้ ปรากฏขึ้นในเวลาเดียวกับที่ความเสียดทานระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์กำลังผ่อนคลายลง
ประการที่สอง นี่เป็นช่วงที่ใกล้จะมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ตลอดจนการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ซึ่งเรื่องกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ จะต้องกลายเป็นประเด็นสำคัญ)
ประการที่สาม อินเดีย, ญี่ปุ่น, และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ได้จัด “การสนทนา” สามฝ่ายของพวกตนขึ้นมาเป็นครั้งแรกในกรุงนิวเดลีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ถึงแม้การหารือคราวนี้ไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ขึ้นมาเอ่ยอ้างกันเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่ สันเจย์ ซิงห์ (Sanjay Singh) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศอินเดียก็พูดย้ำว่า “มีการแสดงความมุ่งมั่นผูกพันร่วมกันที่จะธำรงรักษาเสรีภาพของท้องทะเล, การต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย, และการส่งเสริมสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ทั้งอินเดีย, ญี่ปุ่น, และสาธารณรัฐเกาหลี ต่างต้องพึ่งพาอาศัยเส้นทางคมนาคมทางทะเล (Sea Lanes of Communications หรือ SLOCs) เป็นอย่างยิ่งสำหรับการรักษาความมั่นคงทางด้านพลังงานของพวกตน” [7] เห็นได้ชัดเจนว่าการอ้างอิงถึงเรื่อง “การธำรงรักษาเสรีภาพของท้องทะเล” เป็นการพาดพิงแสดงความสนใจห่วงใยเกี่ยวกับการอ้างอธิปไตยที่ทับซ้อนกันอยู่ในเขตทะเลจีนใต้นั่นเอง
การที่อินเดีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ ออกมากล่าวย้ำยืนยันร่วมกันว่า พวกตนมีความมุ่งมั่นผูกพันที่จะธำรงรักษาให้การเคลื่อนไหวสัญจรทางทะเลสามารถดำเนินไปได้อย่างเสรี ในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างจีนกับเวียดนามกำลังเพิ่มทวีขึ้นเช่นนี้ นับว่าเป็นความสอดคล้องต้องกันอย่างยิ่ง หาใช่เรื่องบังเอิญซึ่งไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จีนนั้นกำลังมีมุมมองที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า อินเดียเป็นปัจจัยทางยุทธศาสตร์ปัจจัยหนึ่งในทะเลจีนใต้ ยิ่งกว่านั้น เกาหลีใต้และญี่ปุ่น (รวมทั้งจีนเองด้วย) ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยพลังงานนำเข้าที่ลำเลียงขนส่งผ่านอาณาบริเวณทางทะเลที่เกิดการพิพาทกันอยู่ เห็นได้ชัดเจนว่าทั้งอินเดีย, ญี่ปุ่น, และสาธารณรัฐเกาหลี ต่างก็มีผลประโยชน์ในการกีดกั้นขัดขวางไม่ให้ทะเลจีนใต้กลายเป็นทะเลสาบส่วนตัวของฝ่ายจีน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้งสู้รบกันอย่างเปิดเผยด้วยเช่นกัน
ประการสุดท้าย ความตึงเครียดระหว่างจีนกับเวียดนามที่ดุเดือดเข้มข้นมากขึ้น กำลังบังเกิดขึ้นในจังหวะเดียวกับที่กำลังมีการซ้อมรบทางนาวีบริเวณริมแปซิฟิก (Rim of the Pacific หรือ RIMPAC) ประจำปี ที่บริเวณนอกชายฝั่งของหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐฯ การฝึกซ้อมทางเรือ RIMPAC ปีนี้มีชาติที่ตอบรับเข้าร่วมรวม 22 ราย เป็นต้นว่า พวกประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯในภูมิภาคแถบนี้อย่างเช่น ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ แม้กระทั่งรัสเซียก็กำลังส่งเรือรบลำหนึ่งเข้าร่วมในภารกิจฝึกซ้อมร่วมมือประสานงานกันครั้งใหญ่โตคราวนี้ด้วย สำหรับจีนนั้นขาดหายไปอย่างน่าสังเกตทีเดียว ขณะที่เวียดนามก็ปรากฏตัวอย่างน่าจับตาในฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์รายหนึ่งของการซ้อมรบคราวนี้
การซ้อมรบ RIMPAC ประจำปี 2012 ครั้งนี้ จึงกลายเป็นการชุมนุมของเหล่ามหาอำนาจในย่านแปซิฟิก ซึ่งต่างก็กำลังมีความกังวลใจมากบ้างน้อยบ้างต่อประเทศจีนที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา สหรัฐฯและบรรดาพันธมิตรของตนกำลังเฝ้าติดตามจุดปะทุลุกลามที่อาจเกิดขึ้นมาในทะเลจีนใต้อย่างชนิดไม่ยอมละสายตาทีเดียว เป็นเวลาหลายปีมาแล้วสหรัฐฯได้ใช้ความพยายามที่จะทำให้การพิพาทในทะเลจีนใต้กลายเป็น “ประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ” ด้วยการเสนอตัวเข้าช่วยเหลือจัดการเจรจาคลี่คลายปัญหา ในปี 2010 รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน แถลงระหว่างการเยือนเวียดนามว่า “เป็นผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯที่จะต้องธำรงรักษา เสรีภาพในการเดินเรือ, การเข้าถึงผลประโยชน์ร่วมทางทะเลในเอเชียอย่างเปิดกว้าง, และการเคารพหลักกฎหมายระหว่างประเทศในเขตทะเลจีนใต้” [8] เราสามารถคาดหมายได้ว่าคลินตันยังจะแสดงความสนใจและความกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้เพิ่มเติมขึ้นอีกในระหว่างการประชุมของอาเซียนคราวนี้
**สงครามเย็นในน่านน้ำของเอเชีย?**
ถึงแม้เกิดความตึงเครียดกันในเรื่องกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์อย่างต่อเนื่อง แต่มันก็เป็นผลประโยชน์ของทั้งจีนและเวียดนามที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้บานปลายกลายเป็นความขัดแย้งสู้รบกันอย่างเปิดเผย จีนนั้นแทบจะไม่ได้อะไรเลยจากการเริ่มต้นเปิดฉากการต่อสู้ทางการทหารที่อาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อการทะยานโลดลิ่วทางเศรษฐกิจอันน่าตื่นตาตื่นใจของตน ส่วนเวียดนามก็ไม่สามารถวาดหวังที่จะพึ่งพาอาศัยการเข้าแทรกแซงจากภายนอกในระดับเพียงพอที่จะทำให้ตนเองสามารถต้านทานความเหนือชั้นกว่าในทางการทหารของจีนได้ ทั้งสองประเทศไม่มีฝ่ายใดเลยต้องการให้สงครามชายแดนอันนองเลือดเมื่อปี 1979 ของพวกตนบังเกิดซ้ำขึ้นมาอีก ถึงแม้คำพูดคำแถลงอันแข็งกร้าวหักหาญของทั้งสองฝ่ายมีนัยมีความหมายในทางระหว่างประเทศ ทว่าถ้อยคำโวหารดังกล่าวดูเหมือนจะพุ่งเป้ามุ่งป้อนเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ
ควรที่จะต้องชี้เอาไว้ตรงนี้ว่า อันที่จริงกำลังทหารของสาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐจีนในไต้หวัน, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, และมาเลเซีย ก็ได้ถูกส่งออกมาตั้งประจำอยู่ตามจุดต่างๆ ในหมู่เกาะสแปรตลีย์เป็นเวลาแรมปีแล้ว โดยที่ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บล้มตายอันสืบเนื่องจากการสู้รบกันแม้แต่ครั้งเดียว
แน่นอนทีเดียวว่ายังคงมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการคาดคำนวณอันผิดพลาด หรือการสื่อสารกันอย่างผิดพลาด จนกระทั่งนำไปสู่การปะทะกันทางทหารครั้งใหญ่ ถ้าหากลงท้ายแล้ว เหตุการณ์ปรากฏออกมาเช่นนี้ ผลสืบเนื่องต่างๆ ในทางภูมิรัฐศาสตร์ก็น่าจะมีมากมายมโหฬารทีเดียว
วอชิงตันนั้นจับจ้องมองภาวะอันตีบตันไร้ทางออกในทะเลจีนใต้ ในฐานะที่เป็นเสมือนคานดีดคานงัดอันทรงความสำคัญ ซึ่งตนสามารถนำมาใช้เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในทางภูมิรัฐศาสตร์จากปักกิ่ง รัฐบาลสหรัฐฯกำลังตรวจสอบทบทวนความเป็นไปได้ทุกๆ อย่างเพื่อมองหาวิธีการในการรับมือ หรือถ้าหากเป็นไปได้ก็ถึงขั้นสกัดกั้นกีดขวางอิทธิพลบารมีที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นของจีน สหรัฐฯมีสายสัมพันธ์อันแข็งแรงทั้งในทางทหาร, เศรษฐกิจ, และการเมืองอยู่กับฟิลิปปินส์ และกำลังตั้งอกตั้งใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับเวียดนาม ทางฝ่ายฟิลิปปินส์และเวียดนามเล่า ก็มองพลานุภาพของอเมริกาว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถใช้มาทัดทานถ่วงดุลความยิ่งใหญ่สูงสุดในภูมิภาคแถบนี้ของจีน
สหรัฐฯกำลังพยายามหาทางให้ได้รับความเห็นอกเห็นใจตลอดจนเกียรติภูมิจากแวดวงระหว่างประเทศ ด้วยการวาดภาพให้ตนเองเป็นคนกลางผู้สัตย์ซื่อที่พยายามหาทางจัดตั้ง “กลไกที่อิงกับระเบียบกฎเกณฑ์” ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขคลี่คลายกรณีพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้ รัฐบาลอเมริกันยังกำลังพยายามที่จะยกระดับเชิดชูความเป็นหุ้นส่วนความเป็นพันธมิตรกับประเทศในภูมิภาคแถบนี้ซึ่งไม่สบายอกสบายใจกับการผงาดขึ้นมาอย่างหนักแน่นและต่อเนื่องของแดนมังกร ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องไม่ลืมว่าเสาหลักเสาหนึ่งของนโยบายแห่งการหันมาเน้นหนักให้ความสำคัญต่อเอเชียของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ซึ่งมีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างมากนั้น ก็คือ แผนการในการปรับกำลังทหารซึ่งจะทำให้กำลังทางนาวีของสหรัฐฯ 60% หันมาตั้งฐานอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลจีนกำลังอยู่ในสภาพที่ต้องลงมือกระทำการต่างๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลไม่เอนเอียงไปทางข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่งานง่ายๆ เลย ในด้านหนึ่งนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนจำเป็นจะต้องแสดงตนให้เห็นว่ามีความองอาจเข้มแข็ง เพื่อเพิ่มความหนักแน่นมั่นคงให้แก่การอ้างกรรมสิทธิ์เหนืออาณาบริเวณทะเลจีนใต้ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนั้นการเมืองภายในประเทศก็เป็นเรื่องสำคัญมาก พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถที่จะทำตัวอ่อนปวกเปียกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับมือกับสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นการท้าทายลบหลู่จากพวกประเทศที่มีขนาดเล็กกว่า ในทีนี้ควรต้องพูดย้ำอีกคำรบหนึ่งว่า ทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ต่างประกาศอ้างมานานแล้วว่าอาณาบริเวณต่างๆ ที่พิพาทกันอยู่ในทะเลจีนใต้นั้น ล้วนอยู่ในอำนาจอธิปไตยของจีนทั้งสิ้น
แต่ในอีกด้านหนึ่ง จีนก็มองเห็นว่าเป็นผลประโยชน์ในระยะยาวของตนที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่เข้าสู่การปะทะกันทางทหาร ทั้งนี้ด้วยเหตุผลอันสำคัญมาก 2 ประการด้วยกัน ประการแรก การทะยานตัวโลดลิ่วในทางเศรษฐกิจของจีนอาจจะตกอยู่ในอันตรายจากการเปิดความขัดแย้งสู้รบกันทางการทหารซึ่งผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำนายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเป็นการต่อสู้ที่บังเกิดขึ้นในอาณาบริเวณใกล้เคียงกับเส้นทางเดินเรือทะเลอันทรงสำคัญยิ่งยวด ประการที่สอง จีนไม่ต้องการที่จะทำให้พวกเพื่อนบ้านของตนบังเกิดความหวาดผวาจนกระทั่งยอมเปิดประตูอ้าแขนสวมกอดสหรัฐฯ
ควรต้องชี้ให้เห็นด้วยว่า ในความตึงเครียดระหว่างจีนกับเวียดนามรอบล่าสุดนี้ ปักกิ่งไม่ได้เป็นฝ่ายริเริ่ม ตรงกันข้าม ปักกิ่งกระทำการในลักษณะตอบโต้ความเคลื่อนไหวแต่ละอย่างแต่ละก้าวของฝ่ายฮานอย ไม่ว่าจะในทางการทหารหรือในทางการเมือง นโยบายที่มุ่งเน้นการตอบโต้มากกว่าการยั่วยุจุดชนวนเช่นนี้ คือสิ่งบ่งบอกให้เห็นถึงความพยายามของฝ่ายจีนในการลงมือกระทำการต่างๆ เพื่อรักษาความสมดุลในภูมิภาคแถบนี้
สื่อมวลชนของทางการจีนมักคร่ำครวญอยู่ไม่ขาดระยะว่า ภูมิทัศน์ทางการเมืองในสหรัฐฯยังคงแปดเปื้อนไปด้วย “ความคิดจิตใจแห่งยุคสงครามเย็น” (Cold War mentality) ถึงแม้วอชิงตันจะมีการแก้เนื้อแก้ตัวและกล่าวอ้างไปในทางตรงกันข้าม แต่แทบจะเป็นเรื่องแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัยกันเลยว่า การที่สหรัฐฯหันมาให้น้ำหนักเน้นหนักทางยุทธศาสตร์ต่อเอเชียนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดอยู่ที่การปิดล้อมจีน กองกำลังเรือรบของสหรัฐฯถึง 60% ย่อมมากมายเกินความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากมีความประสงค์เพียงเพื่อการควบคุมจำกัดขอบเขตความทะเยอทะยานภายในภูมิภาคของเกาหลีเหนือ ผู้กำลังอยู่ในภาวะอดอยากโดยที่มีอาหารได้กินอิ่มกันเพียงแค่ครึ่งท้อง
ปัญหาของ “ความคิดจิตใจแห่งยุคสงครามเย็น” อยู่ตรงที่ว่า แนวความคิดดังกล่าวนี้ล้าสมัยอย่างชนิดสุดกู่เสียแล้ว สหรัฐฯอาจจะเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์อันเก่าแก่ยาวนานของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทว่าจีนต่างหากที่เป็นคู่ค้าสำคัญที่สุดของประเทศทั้งสอง แม้กระทั่งอินเดีย ซึ่งมีการพูดจาโน้มน้าวกันมากมายเพื่อให้เห็นว่าคือ กุญแจดอกสำคัญอย่างยิ่งในยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฯนั้น ก็ยังทำการค้ากับแดนมังกรมากกว่ากับแดนลุงแซม บรรดาชาติพันธมิตรในเอเชียของอเมริกาต่างก็กำลังเคลื่อนตัวลึกเข้าไปในวงโคจรทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของจีน ยิ่งกว่านั้น สหรัฐฯกับจีนเองก็กำลังอยู่ในภาวะพึ่งพาอาศัยกันและกันในทางเศรษฐกิจอย่างมโหฬาร จนกระทั่งการที่คิดจะขัดแย้งต่อสู้กันอย่างเปิดเผยกลายเป็นเรื่องที่สุดแสนจะไม่ฉลาด
รัฐบาลจีนไม่น่าที่จะทำให้ผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ระยะยาวของตนต้องตกอยู่ในอันตราย ด้วยการดำเนินนโยบายเสี่ยงภัยทางทหารอย่างแข็งกร้าว แน่นอนที่จีนย่อมจะทำการตอบโต้อย่างชนิดมาไม้ไหนไปไม้นั้น เมื่อพวกรัฐที่เป็นคู่พิพาทในทะเลจีนใต้รายอื่นๆ เริ่มต้นเปิดฉากดำเนินการเคลื่อนไหวในทางทหาร, การเมือง, หรือในทางเศรษฐกิจใดๆ ก็ตามที อย่างไรก็ตาม จีนจะไม่เป็นฝ่ายริเริ่มก่อให้เกิดความขัดแย้งสู้รบชนิดคาดทำนายผลไม่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นภัยคุกคามต่อการพุ่งผงาดทางเศรษฐกิจของแดนมังกร อีกทั้งกระตุ้นส่งเสริมให้บรรดาชาติคู่ค้าของตนหันไปสนับสนุนให้อเมริกันปรากฏตัวโดดเด่นในภูมิภาคแถบนี้เพิ่มมากขึ้น ถึงอย่างไรจีนย่อมทราบดีว่า ในระยะยาวแล้ว พัฒนาการทางเศรษฐกิจและการค้าจะเป็นสิ่งซึ่งมีน้ำหนักในทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคแถบนี้ มากมายมหาศาลยิ่งกว่ากองกำลังนาวี 60% ของอเมริกัน
หมายเหตุ
[1] ดูเรื่อง Vietnam to conduct regular air patrols over archipelago, Thanh Nien News, Jun 20, 2012.
[2] ดูเรื่อง China starts 'combat ready' patrols in disputed South China Sea, Christian Science Monitor, Jun 28, 2012.
[3] ดูเรื่อง China opposed Vietnamese maritime law over sovereignty claim, Xinhua, Jun 21, 2012.
[4] ดูเรื่อง Vietnam Law on Contested Islands draws China's Ire, New York Times, Jun 22, 2012.
[5] ดูเรื่อง Vietnamese protest over islands dispute with China, Sacramento Bee, Jun 30, 2012.
[6] ดูเรื่อง Philippines: Chinese boats leave disputed region, CBS News, Jun 26, 2012.
[7] ดูเรื่อง With China on mind, India, Japan, South Korea hold trilateral, New York Daily News, Jun 29, 2012.
[8] ดูเรื่อง Offering to Aid Talks, US Challenges China on Disputed Islands, New York Times, Jul 24, 2012.
แบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาจากเมืองซีแอตเทิล, สหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony