(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Taiwan circling South China Sea bait
By Jens Kastner
12/06/2012
จีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันได้กลบฝังความเป็นศัตรูระหว่างกันไปมาก จนเพียงพอที่จะแบ่งปันร่วมมือกันขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอาณาเขตน่านน้ำที่แบ่งแยกทั้งสองฝ่ายออกจากกันได้แล้ว เวลานี้ปักกิ่งยังกำลังยั่วยวนไทเปด้วยลู่ทางโอกาสแห่งการขยายความเป็นหุ้นส่วนกันของพวกเขาเข้าไปในทะเลจีนใต้ ท่ามกลางความไม่สบายใจของเวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ตลอดจนสหรัฐอเมริกา
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
สิ่งบ่งชี้ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้อีกประการหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไต้หวันกำลังเริ่มต้นมองบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้กรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนาม ว่าเป็นศัตรูในจินตนาการของตน แทนที่จะเป็นจีนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่กรณีของ พล.ร.อ.เฟย ฮุงโป (Fei Hung-po) อดีตรองผู้บัญชาการทหารของไต้หวันซึ่งเกษียณอายุไปแล้ว พล.ร.อ.เฟย ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในตอนต้นเดือนมิถุนายนนี้ว่า กองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนของฝ่ายแผ่นดินใหญ่นั้น แตกต่างจากกองทัพเรือของไต้หวัน นั่นคือมีสมรรถนะที่จะรับประกันได้ว่าสามารถพิทักษ์คุ้มครองเกาะไท่ผิงได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ตามแนวความคิดของสำนักคิดแห่งหนึ่ง นับจากวันที่ฝ่ายไทเปเกิดความตระหนักซาบซึ้งขึ้นมาว่า เรือพิฆาต, เรือยกพลสะเทินน้ำสะเทินบก, และเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ของกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีน สามารถที่จะยื่นมือเข้ามาพิทักษ์ปกป้องหมู่เกาะตงซา และเกาะไท่ผิง ได้ เหตุผลสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันทางทหารระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันอย่างมั่นคงจริงจัง ก็จะอยู่ในฐานะทรงอิทธิพลอย่างชนิดครอบงำท่วมท้น
ไฉ เต๋อเซิง (Tsai Der-sheng) ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งหลักของไต้หวัน ระบุว่า ทั้งฮานอยและมะนิลาต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ในลักษณะเช่นนี้ออกมาเรียบร้อยแล้ว ในช่วงหลังๆ มานี้ รัฐบาลของทั้งสองประเทศยังกำลังใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวไม่ให้ไทเปหันไปอยู่ข้างเดียวกับปักกิ่งในเรื่องทะเลจีนใต้ นอกจากนั้นยังมีสัญญาณหลายๆ ประการที่แสดงว่า วอชิงตันก็กำลังรู้สึกวิตก ตามรายงานข่าวชิ้นหนึ่งทีปรากฏในหนังสือพิมพ์ไทเปไทมส์ (Taipei Times) ในระหว่างการประชุมประจำปี แชงกรีลา ไดอะล็อก (Shangri-La Dialogue) [6] อันเป็นเวทีการพูดคุยเรื่องความมั่นคงอย่างไม่เป็นทางการในสิงคโปร์ ซึ่งนำเอาเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมและผู้บัญชาการทหารของประเทศต่างๆ ในย่านเอเชีย-แปซิฟิกมาเข้าร่วม โดยที่ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯซึ่งไปเข้าร่วมการประชุม ได้พูดในการสนทนาเป็นการส่วนตัวแสดง “ความกังวลในระดับสูงมาก”
ไทเปก็ดูเหมือนจะกำลังพิจารณาอย่างระมัดระวังรอบคอบทีเดียวก่อนที่จะตอบรับข้อเสนอเรื่องนี้ของจีนแผ่นดินใหญ่ หวาง ไก้ปอ (Huang Kwei-Bo) นักวิจัยรับเชิญของศูนย์เพื่อนโยบายเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือศึกษา (Center for Northeast Asian Policy Studies) แห่งสถาบันบรูกกิ้งส์ (Brookings Institution) ของสหรัฐฯ กล่าวแสดงความ “เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่ง” ว่า คณะรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีหม่า “จะกำลังพยายามใช้ความระมัดระวังอย่างใหญ่หลวง และการยับยั้งชั่งใจอย่างใหญ่หลวง ในการจัดการรับมือกับประเด็นปัญหานี้” เขากล่าวต่อไปด้วยว่า จวบจนถึงเวลานี้ ท่าทีของไต้หวันต่อเรื่องการพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ยังคงอยู่ในลักษณะที่สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง
สตีฟ เจิ้ง (Steve Tsang) ผู้อำนวยการของสถาบันนโยบายจีน (China Policy Institute) แห่งมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (University of Nottingham) ในอังกฤษ แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าหากปักกิ่งมุ่งหมายที่จะขอความร่วมมือจากคณะรัฐบาลประธานาธิบดีหม่า “มันก็จะเป็นเรื่องอิหลักอิเหลื่อเป็นอย่างยิ่งสำหรับหม่า มันจะกลายเป็นดินระเบิดทางการเมืองในไต้หวันทีเดียว ถ้าหากผมนั่งอยู่ในคณะรัฐบาลของหม่า ผมก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อโน้มน้าวจูงใจปักกิ่งว่า อย่าได้ออกแรงผลักดันในเรื่องแบบนี้เลย”
เจิ้งยังตั้งคำถามถึงความสมเหตุสมผลของข้อเสนอที่บอกกันว่าเป็นของ ซีนุก-ซีพีซี ซึ่งจะเริ่มต้นความร่วมมือกันคราวนี้ทีแรกสุดในน่านน้ำที่มีเฉพาะปักกิ่งกับไทเปเท่านั้นเป็นผู้อ้างกรรมสิทธิ์ จากนั้นจึงค่อยขยายไปยังน่านน้ำอื่นๆ อันจะส่งผลกระทบกระเทือนพวกชาติสมาชิกอาเซียนบางชาติด้วย
เขาอธิบายแจกแจงว่า ปกติแล้วเป็นเรื่องยากที่กิจการยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันไม่ว่ารายใด จะตกลงยินยอมเข้าไปร่วมในการดำเนินการสำรวจขุดค้น ณ อาณาบริเวณที่กำลังมีการพิพาทเรื่องอำนาจอธิปไตยกันอยู่อย่างขึงขัง อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการใช้กำลังกันขึ้นมา ทั้งนี้เว้นไว้แต่ในกรณีที่มีรัฐซึ่งเกี่ยวข้องออกมาให้การรับประกัน เจิ้งยังวิเคราะห์ต่อไปว่า เขารู้สึกว่ายุทธศาสตร์ที่พูดๆ กันอยู่นี้ ฟังดูแล้วน่าจะเป็นเพียงยุทธศาสตร์ที่พวกนักชาตินิยมในจีนแผ่นดินใหญ่นำมาขบคิดถกเถียงกันเพื่อฆ่าเวลาไปวันๆ มากกว่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาลในปักกิ่งจริงๆ
สำหรับท่าทีของวอชิงตัน เจิ้งมองว่า สหรัฐฯมีความสนใจที่จะชิงลงมือเป็นฝ่ายกระทำเมื่อเกิดพัฒนาการสำคัญๆ เกี่ยวกับการพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ขึ้นมา ทั้งนี้ยกเว้นแต่ในกรณีที่พัฒนาการดังกล่าวมุ่งไปในทิศทางที่เป็นการใช้ความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศแบบพหุภาคี ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในระหว่างพวกบรรษัทนานาชาติ เข้ามาแทนที่การพิพาทกันในเรื่องอธิปไตย
“ด้วยเหตุผลข้อนี้เอง ผมจึงไม่คิดว่าวอชิงตันกำลังพออกพอใจกับสภาพการณ์ที่จีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันจะร่วมไม้ร่วมมือกันทำการสำรวจขุดเจาะ โดยที่ไม่ได้ไปติดต่อเกี่ยวข้องกับชาติผู้อ้างกรรมสิทธิ์รายอื่นๆ ผมจะต้องประหลาดใจมากถ้าหากวอชิงตันไม่ได้ส่งสัญญาณแจ้งทัศนะดังกล่าวของตนให้ไทเปได้เข้าอกเข้าใจ ถ้าหากยังคงมีความเสี่ยงใดๆที่ทำให้จุดยืนของสหรัฐฯยังไม่กระจ่างใสแจ๋ว”
ทางด้าน หวาง แห่งสถาบันบรุกกิ้งส์ เชื่อว่า ฝ่ายไต้หวันน่าจะมองออกว่า ถ้าหากตนเองรับข้อเสนอเช่นนี้ของปักกิ่ง ก็มีความหมายไม่ต่างอะไรกับยอมรับว่า ความทะเยอทะยานทางการทูตของไทเปในภูมิภาคแถบนี้ได้มาถึงจุดจบทางตันแล้ว
เขาชี้ว่า ความกระตือรือร้นของไต้หวันที่จะเข้าสู่ความร่วมมือกับจีนแผ่นดินใหญ่เช่นนี้ น่าจะหดหายไปมากทีเดียว ถ้าหากปักกิ่งใช้วิธีการที่ว่า ในด้านหนึ่งมุ่งส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเปิดเผยชัดเจนอยู่หรอก แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับยังคงรีรอลังเลใจที่จะรวมเอาไต้หวันเข้าไปในบรรดากลไกสำคัญๆ ระดับภูมิภาค ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าบริหารจัดการกับประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] เกาะไท่ผิง หรือ เกาะอิตู อาบา เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะสแปรตลีย์ และเป็นเพียงเกาะเดียวที่มีน้ำจืด ตัวเกาะมีรูปทรงเป็นวงรี ซึ่งยาว 1.4 กิโลเมตร และกว้าง 0.4 กิโลเมตร ไต้หวันได้ไปสร้างสนามบินเอาไว้บนเกาะ และถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งในการปกครองของเมืองเกาสง ถึงแม้มันจะอยู่ห่างจากเกาสงประมาณ 1,600 กิโลเมตร (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[2] อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นภายหลังการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายครั้งที่ 3 ซึ่งดำเนินอยู่อย่างยืดเยื้อตั้งแต่ปี 1973 จนกระทั่งถึงปี 1982 อนุสัญญากฎหมายทะเลมีเนื้อหาให้คำนิยามเกี่ยวกับสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆ ในการใช้น่านน้ำมหาสมุทรของโลก, จัดวางแนวทางปฏิบัติสำหรับภาคธุรกิจ, การรักษาสิ่งแวดล้อม, และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[3] บรรษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน หรือ ซีนุก เป็น 1 ใน 3 บริษัทรัฐวิสาหกิจน้ำมันแห่งชาติขนาดใหญ่ของจีน กลุ่มซีนุก นั้นใหญ่เป็นอันดับ 3 รองลงมาจาก ซีเอ็นพีซี CNPC (บริษัทแม่ของปิโตรไชน่า PetroChina) และ บรรษัทปิโตรเคมีจีน China Petrochemical Corporation (บริษัทแม่ของ ซิโนเปก Sinopec) ทั้งนี้ กลุ่มซีเอ็นพีซี/ปิโตรไชน่า ตอนเริ่มแรกทีเดียวมุ่งเน้นหนักทำโครงการต้นน้ำบนบก ส่วน ไชน่าปิโตรเคมีคอร์เปอเรชั่น/ซิโนเปก มุ่งเน้นหนักเรื่องกิจการกลั่นน้ำมันและกิจการปิโตรเคมีช่วงปลายน้ำ สำหรับ ซีนุก เน้นหนักที่เรื่องการขุดเจาะสำรวจและการพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[4] ซีพีซี คอร์เปอเรชั่น เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจด้านน้ำมันปิโตรเลียม, ก๊าซธรรมชาติ, และน้ำมันกลั่น ในไต้หวัน และเป็นแกนกลางของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไต้หวัน (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[5] หมู่เกาะตงซา หรือหมู่เกาะปราตัส ประกอบด้วยหมู่เกาะเล็กๆ 3 หมู่เกาะที่ก่อรูปขึ้นจากเกาะปะการัง ตั้งอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลจีนใต้ อยู่ห่างจากฮ่องกงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 340 กิโลเมตร ปัจจุบันไต้หวันเข้าควบคุมเกาะแห่งนี้ และประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 7 ของสาธารณรัฐจีน เกาะใหญ่ที่สุดของกลุ่มหมู่เกาะนี้ ก็ใช้ชื่อว่า เกาะตงซา นับเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของบรรดาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[6] แชงกรีลา ไดอะล็อก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า IISS Asia Security Summit: The Shangri-La Dialogue จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อยุทธศาสตร์ศึกษา ( International Institute for Strategic Studies หรือ IISS) หน่วยงานคลังสมองในสิงคโปร์ ชื่อของเวทีประชุมนี้ได้มาจากชื่อโรงแรมแชงกรีลา ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมเป็นประจำตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
เยนส์ คัสต์เนอร์เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงไทเป
Taiwan circling South China Sea bait
By Jens Kastner
12/06/2012
จีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันได้กลบฝังความเป็นศัตรูระหว่างกันไปมาก จนเพียงพอที่จะแบ่งปันร่วมมือกันขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอาณาเขตน่านน้ำที่แบ่งแยกทั้งสองฝ่ายออกจากกันได้แล้ว เวลานี้ปักกิ่งยังกำลังยั่วยวนไทเปด้วยลู่ทางโอกาสแห่งการขยายความเป็นหุ้นส่วนกันของพวกเขาเข้าไปในทะเลจีนใต้ ท่ามกลางความไม่สบายใจของเวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ตลอดจนสหรัฐอเมริกา
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
สิ่งบ่งชี้ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้อีกประการหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไต้หวันกำลังเริ่มต้นมองบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้กรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนาม ว่าเป็นศัตรูในจินตนาการของตน แทนที่จะเป็นจีนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่กรณีของ พล.ร.อ.เฟย ฮุงโป (Fei Hung-po) อดีตรองผู้บัญชาการทหารของไต้หวันซึ่งเกษียณอายุไปแล้ว พล.ร.อ.เฟย ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในตอนต้นเดือนมิถุนายนนี้ว่า กองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนของฝ่ายแผ่นดินใหญ่นั้น แตกต่างจากกองทัพเรือของไต้หวัน นั่นคือมีสมรรถนะที่จะรับประกันได้ว่าสามารถพิทักษ์คุ้มครองเกาะไท่ผิงได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ตามแนวความคิดของสำนักคิดแห่งหนึ่ง นับจากวันที่ฝ่ายไทเปเกิดความตระหนักซาบซึ้งขึ้นมาว่า เรือพิฆาต, เรือยกพลสะเทินน้ำสะเทินบก, และเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ของกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีน สามารถที่จะยื่นมือเข้ามาพิทักษ์ปกป้องหมู่เกาะตงซา และเกาะไท่ผิง ได้ เหตุผลสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันทางทหารระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันอย่างมั่นคงจริงจัง ก็จะอยู่ในฐานะทรงอิทธิพลอย่างชนิดครอบงำท่วมท้น
ไฉ เต๋อเซิง (Tsai Der-sheng) ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งหลักของไต้หวัน ระบุว่า ทั้งฮานอยและมะนิลาต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ในลักษณะเช่นนี้ออกมาเรียบร้อยแล้ว ในช่วงหลังๆ มานี้ รัฐบาลของทั้งสองประเทศยังกำลังใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวไม่ให้ไทเปหันไปอยู่ข้างเดียวกับปักกิ่งในเรื่องทะเลจีนใต้ นอกจากนั้นยังมีสัญญาณหลายๆ ประการที่แสดงว่า วอชิงตันก็กำลังรู้สึกวิตก ตามรายงานข่าวชิ้นหนึ่งทีปรากฏในหนังสือพิมพ์ไทเปไทมส์ (Taipei Times) ในระหว่างการประชุมประจำปี แชงกรีลา ไดอะล็อก (Shangri-La Dialogue) [6] อันเป็นเวทีการพูดคุยเรื่องความมั่นคงอย่างไม่เป็นทางการในสิงคโปร์ ซึ่งนำเอาเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมและผู้บัญชาการทหารของประเทศต่างๆ ในย่านเอเชีย-แปซิฟิกมาเข้าร่วม โดยที่ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯซึ่งไปเข้าร่วมการประชุม ได้พูดในการสนทนาเป็นการส่วนตัวแสดง “ความกังวลในระดับสูงมาก”
ไทเปก็ดูเหมือนจะกำลังพิจารณาอย่างระมัดระวังรอบคอบทีเดียวก่อนที่จะตอบรับข้อเสนอเรื่องนี้ของจีนแผ่นดินใหญ่ หวาง ไก้ปอ (Huang Kwei-Bo) นักวิจัยรับเชิญของศูนย์เพื่อนโยบายเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือศึกษา (Center for Northeast Asian Policy Studies) แห่งสถาบันบรูกกิ้งส์ (Brookings Institution) ของสหรัฐฯ กล่าวแสดงความ “เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่ง” ว่า คณะรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีหม่า “จะกำลังพยายามใช้ความระมัดระวังอย่างใหญ่หลวง และการยับยั้งชั่งใจอย่างใหญ่หลวง ในการจัดการรับมือกับประเด็นปัญหานี้” เขากล่าวต่อไปด้วยว่า จวบจนถึงเวลานี้ ท่าทีของไต้หวันต่อเรื่องการพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ยังคงอยู่ในลักษณะที่สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง
สตีฟ เจิ้ง (Steve Tsang) ผู้อำนวยการของสถาบันนโยบายจีน (China Policy Institute) แห่งมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (University of Nottingham) ในอังกฤษ แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าหากปักกิ่งมุ่งหมายที่จะขอความร่วมมือจากคณะรัฐบาลประธานาธิบดีหม่า “มันก็จะเป็นเรื่องอิหลักอิเหลื่อเป็นอย่างยิ่งสำหรับหม่า มันจะกลายเป็นดินระเบิดทางการเมืองในไต้หวันทีเดียว ถ้าหากผมนั่งอยู่ในคณะรัฐบาลของหม่า ผมก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อโน้มน้าวจูงใจปักกิ่งว่า อย่าได้ออกแรงผลักดันในเรื่องแบบนี้เลย”
เจิ้งยังตั้งคำถามถึงความสมเหตุสมผลของข้อเสนอที่บอกกันว่าเป็นของ ซีนุก-ซีพีซี ซึ่งจะเริ่มต้นความร่วมมือกันคราวนี้ทีแรกสุดในน่านน้ำที่มีเฉพาะปักกิ่งกับไทเปเท่านั้นเป็นผู้อ้างกรรมสิทธิ์ จากนั้นจึงค่อยขยายไปยังน่านน้ำอื่นๆ อันจะส่งผลกระทบกระเทือนพวกชาติสมาชิกอาเซียนบางชาติด้วย
เขาอธิบายแจกแจงว่า ปกติแล้วเป็นเรื่องยากที่กิจการยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันไม่ว่ารายใด จะตกลงยินยอมเข้าไปร่วมในการดำเนินการสำรวจขุดค้น ณ อาณาบริเวณที่กำลังมีการพิพาทเรื่องอำนาจอธิปไตยกันอยู่อย่างขึงขัง อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการใช้กำลังกันขึ้นมา ทั้งนี้เว้นไว้แต่ในกรณีที่มีรัฐซึ่งเกี่ยวข้องออกมาให้การรับประกัน เจิ้งยังวิเคราะห์ต่อไปว่า เขารู้สึกว่ายุทธศาสตร์ที่พูดๆ กันอยู่นี้ ฟังดูแล้วน่าจะเป็นเพียงยุทธศาสตร์ที่พวกนักชาตินิยมในจีนแผ่นดินใหญ่นำมาขบคิดถกเถียงกันเพื่อฆ่าเวลาไปวันๆ มากกว่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาลในปักกิ่งจริงๆ
สำหรับท่าทีของวอชิงตัน เจิ้งมองว่า สหรัฐฯมีความสนใจที่จะชิงลงมือเป็นฝ่ายกระทำเมื่อเกิดพัฒนาการสำคัญๆ เกี่ยวกับการพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ขึ้นมา ทั้งนี้ยกเว้นแต่ในกรณีที่พัฒนาการดังกล่าวมุ่งไปในทิศทางที่เป็นการใช้ความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศแบบพหุภาคี ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในระหว่างพวกบรรษัทนานาชาติ เข้ามาแทนที่การพิพาทกันในเรื่องอธิปไตย
“ด้วยเหตุผลข้อนี้เอง ผมจึงไม่คิดว่าวอชิงตันกำลังพออกพอใจกับสภาพการณ์ที่จีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันจะร่วมไม้ร่วมมือกันทำการสำรวจขุดเจาะ โดยที่ไม่ได้ไปติดต่อเกี่ยวข้องกับชาติผู้อ้างกรรมสิทธิ์รายอื่นๆ ผมจะต้องประหลาดใจมากถ้าหากวอชิงตันไม่ได้ส่งสัญญาณแจ้งทัศนะดังกล่าวของตนให้ไทเปได้เข้าอกเข้าใจ ถ้าหากยังคงมีความเสี่ยงใดๆที่ทำให้จุดยืนของสหรัฐฯยังไม่กระจ่างใสแจ๋ว”
ทางด้าน หวาง แห่งสถาบันบรุกกิ้งส์ เชื่อว่า ฝ่ายไต้หวันน่าจะมองออกว่า ถ้าหากตนเองรับข้อเสนอเช่นนี้ของปักกิ่ง ก็มีความหมายไม่ต่างอะไรกับยอมรับว่า ความทะเยอทะยานทางการทูตของไทเปในภูมิภาคแถบนี้ได้มาถึงจุดจบทางตันแล้ว
เขาชี้ว่า ความกระตือรือร้นของไต้หวันที่จะเข้าสู่ความร่วมมือกับจีนแผ่นดินใหญ่เช่นนี้ น่าจะหดหายไปมากทีเดียว ถ้าหากปักกิ่งใช้วิธีการที่ว่า ในด้านหนึ่งมุ่งส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเปิดเผยชัดเจนอยู่หรอก แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับยังคงรีรอลังเลใจที่จะรวมเอาไต้หวันเข้าไปในบรรดากลไกสำคัญๆ ระดับภูมิภาค ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าบริหารจัดการกับประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] เกาะไท่ผิง หรือ เกาะอิตู อาบา เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะสแปรตลีย์ และเป็นเพียงเกาะเดียวที่มีน้ำจืด ตัวเกาะมีรูปทรงเป็นวงรี ซึ่งยาว 1.4 กิโลเมตร และกว้าง 0.4 กิโลเมตร ไต้หวันได้ไปสร้างสนามบินเอาไว้บนเกาะ และถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งในการปกครองของเมืองเกาสง ถึงแม้มันจะอยู่ห่างจากเกาสงประมาณ 1,600 กิโลเมตร (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[2] อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นภายหลังการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายครั้งที่ 3 ซึ่งดำเนินอยู่อย่างยืดเยื้อตั้งแต่ปี 1973 จนกระทั่งถึงปี 1982 อนุสัญญากฎหมายทะเลมีเนื้อหาให้คำนิยามเกี่ยวกับสิทธิและความรับผิดชอบของชาติต่างๆ ในการใช้น่านน้ำมหาสมุทรของโลก, จัดวางแนวทางปฏิบัติสำหรับภาคธุรกิจ, การรักษาสิ่งแวดล้อม, และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[3] บรรษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน หรือ ซีนุก เป็น 1 ใน 3 บริษัทรัฐวิสาหกิจน้ำมันแห่งชาติขนาดใหญ่ของจีน กลุ่มซีนุก นั้นใหญ่เป็นอันดับ 3 รองลงมาจาก ซีเอ็นพีซี CNPC (บริษัทแม่ของปิโตรไชน่า PetroChina) และ บรรษัทปิโตรเคมีจีน China Petrochemical Corporation (บริษัทแม่ของ ซิโนเปก Sinopec) ทั้งนี้ กลุ่มซีเอ็นพีซี/ปิโตรไชน่า ตอนเริ่มแรกทีเดียวมุ่งเน้นหนักทำโครงการต้นน้ำบนบก ส่วน ไชน่าปิโตรเคมีคอร์เปอเรชั่น/ซิโนเปก มุ่งเน้นหนักเรื่องกิจการกลั่นน้ำมันและกิจการปิโตรเคมีช่วงปลายน้ำ สำหรับ ซีนุก เน้นหนักที่เรื่องการขุดเจาะสำรวจและการพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[4] ซีพีซี คอร์เปอเรชั่น เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจด้านน้ำมันปิโตรเลียม, ก๊าซธรรมชาติ, และน้ำมันกลั่น ในไต้หวัน และเป็นแกนกลางของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไต้หวัน (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[5] หมู่เกาะตงซา หรือหมู่เกาะปราตัส ประกอบด้วยหมู่เกาะเล็กๆ 3 หมู่เกาะที่ก่อรูปขึ้นจากเกาะปะการัง ตั้งอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลจีนใต้ อยู่ห่างจากฮ่องกงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 340 กิโลเมตร ปัจจุบันไต้หวันเข้าควบคุมเกาะแห่งนี้ และประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 7 ของสาธารณรัฐจีน เกาะใหญ่ที่สุดของกลุ่มหมู่เกาะนี้ ก็ใช้ชื่อว่า เกาะตงซา นับเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของบรรดาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
[6] แชงกรีลา ไดอะล็อก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า IISS Asia Security Summit: The Shangri-La Dialogue จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อยุทธศาสตร์ศึกษา ( International Institute for Strategic Studies หรือ IISS) หน่วยงานคลังสมองในสิงคโปร์ ชื่อของเวทีประชุมนี้ได้มาจากชื่อโรงแรมแชงกรีลา ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมเป็นประจำตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
เยนส์ คัสต์เนอร์เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงไทเป