เอเอฟพี - ธนาคารโลกเตือนประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ให้เพิ่มปราการป้องกันตัวเองด้วยการลดหนี้ระยะสั้นและการขาดดุลงบประมาณ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตหนี้ยุโรปที่คาดว่าจะฉุดเศรษฐกิจโลกซวนเซไปอีกหลายปี และทำให้เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาปีนี้โตช้าที่สุดในรอบ 10 ปี
ในรายงานรอบครึ่งปีว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจโลกที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคาร (12) เวิลด์แบงก์คาดว่า ปี 2012เศรษฐกิจทั่วโลกจะมีอัตราเติบโตอ่อนแอในระดับ 2.5% และเฉพาะพวกประเทศกำลังพัฒนาก็อยู่ที่ 5.3% ซึ่งถือเป็นการเติบโตเชื่องช้าที่สุดในรอบทศวรรษ
สำหรับประเทศที่มีรายได้สูงจะมีอัตราขยายตัวเพียง 1.4% เท่านั้น แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าพวกสมาชิก 17 ชาติของยูโรโซนที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มีแนวโน้มติดลบ 0.3% โดยเป็นผลจากวิกฤตทางการเงิน
ฮันส์ ทิมเมอร์ หัวหน้าแผนกทิศทางแนวโน้มการพัฒนา ของธนาคารโลก แจกแจงว่า ประเทศที่มีรายได้สูงทั้งหมด ไม่เฉพาะในยุโรปเท่านั้น จะต้องใช้เวลาหลายปีในการแก้ไขความเสียหายจากวิกฤตการเงินโลกปี 2008 หรือให้ตรงประเด็นกว่านั้นคือ การรับมือปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจบูมก่อนวิกฤตคราวนั้น
รายงานยังระบุว่า ในปัจจุบันพวกประเทศกำลังพัฒนามีภูมิป้องกันผลกระทบจากภายนอก ต่ำกว่าเมื่อปี 2007 หรือก่อนเกิดวิกฤตการเงินโลก
ทิมเมอร์เตือนด้วยว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤตการเงินอย่างร้ายแรงขึ้นอีกครั้ง
เขายังมองว่า หากประเทศที่มีรายได้สูงยังคงเติบโตเนือยลง เป็นไปได้ที่อัตราเติบโตที่ยังเข้มแข็งอยู่ของพวกประเทศกำลังพัฒนาอาจเกิดการพลิกผัน และยิ่งหากเกิดวิกฤตการเงินอันร้ายแรงด้วยแล้ว จะไม่มีชาติกำลังพัฒนาแห่งใดที่จะรอดพ้นจากปัญหา
ในรายงานฉบับนี้ เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่า ปีนี้ สหรัฐฯ ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก จะขยายตัวช้าลงอยู่ที่ 2.1%, ญี่ปุ่น 2.4% เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 0.5% และจีน 8.2% จากที่คาดไว้ 8.4% ในเดือนมกราคม
รายงานระบุว่า ความไม่แน่นอนในยูโรโซนที่ปะทุขึ้นมาใหม่ ทำให้สถานการณ์ทางการเงินในเดือนที่ผ่านมาเสื่อมถอยลง ฉุดมูลค่าตลาดหุ้นในประเทศมั่งคั่งและประเทศกำลังพัฒนาหายไป 7% กระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างรุนแรง และยังทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเนื่องจากนักลงทุนต้องการแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย
แอนดริว เบิร์นส์ ผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้ กล่าวว่าการไหลเวียนของเงินทุนทั่วโลกรูดลงถึง 44% ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
กระนั้น สถานการณ์ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่ได้เลวร้ายลงรุนแรงเหมือนในไตรมาสส่งท้ายปี 2011
ทิมเมอร์เสริมว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 60% เข้าใกล้ภาวะร้อนแรงเกินไป หลังจากมีการเพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุนเพื่อป้องกันตัวเองจากภาวะขาลงในยุโรปและอเมริกา
เขาแนะนำให้ประเทศกำลังพัฒนาปรับนโยบายเศรษฐกิจทันที เพื่อเปลี่ยนสถานะจากการตามแก้ไขปัญหา มาเป็นการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตที่ซ่อนอยู่
รายงานเน้นย้ำความจำเป็นที่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องเริ่มลงทุนใหม่ในทุนมนุษย์ และทุนทางกายภาพ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรับประกันการเติบโตอย่างยั่งยืน
พร้อมกันนั้น รายงานก็ตั้งข้อสังเกตว่า เงินทุนที่เคยมีอยู่อย่างมากมายและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในทศวรรษที่ผ่านมานั้น อาจจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว
เบิร์นส์ย้ำว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรลดความเสี่ยงด้วยการลดระดับหนี้ระยะสั้นและการขาดดุลงบประมาณในส่วนที่สามารถทำได้ เพื่อให้มีช่องทางสำหรับการผ่อนคลายนโยบายในกรณีที่สถานการณ์โลกตกต่ำรุนแรง
ในรายงานรอบครึ่งปีว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจโลกที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคาร (12) เวิลด์แบงก์คาดว่า ปี 2012เศรษฐกิจทั่วโลกจะมีอัตราเติบโตอ่อนแอในระดับ 2.5% และเฉพาะพวกประเทศกำลังพัฒนาก็อยู่ที่ 5.3% ซึ่งถือเป็นการเติบโตเชื่องช้าที่สุดในรอบทศวรรษ
สำหรับประเทศที่มีรายได้สูงจะมีอัตราขยายตัวเพียง 1.4% เท่านั้น แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าพวกสมาชิก 17 ชาติของยูโรโซนที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มีแนวโน้มติดลบ 0.3% โดยเป็นผลจากวิกฤตทางการเงิน
ฮันส์ ทิมเมอร์ หัวหน้าแผนกทิศทางแนวโน้มการพัฒนา ของธนาคารโลก แจกแจงว่า ประเทศที่มีรายได้สูงทั้งหมด ไม่เฉพาะในยุโรปเท่านั้น จะต้องใช้เวลาหลายปีในการแก้ไขความเสียหายจากวิกฤตการเงินโลกปี 2008 หรือให้ตรงประเด็นกว่านั้นคือ การรับมือปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจบูมก่อนวิกฤตคราวนั้น
รายงานยังระบุว่า ในปัจจุบันพวกประเทศกำลังพัฒนามีภูมิป้องกันผลกระทบจากภายนอก ต่ำกว่าเมื่อปี 2007 หรือก่อนเกิดวิกฤตการเงินโลก
ทิมเมอร์เตือนด้วยว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤตการเงินอย่างร้ายแรงขึ้นอีกครั้ง
เขายังมองว่า หากประเทศที่มีรายได้สูงยังคงเติบโตเนือยลง เป็นไปได้ที่อัตราเติบโตที่ยังเข้มแข็งอยู่ของพวกประเทศกำลังพัฒนาอาจเกิดการพลิกผัน และยิ่งหากเกิดวิกฤตการเงินอันร้ายแรงด้วยแล้ว จะไม่มีชาติกำลังพัฒนาแห่งใดที่จะรอดพ้นจากปัญหา
ในรายงานฉบับนี้ เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่า ปีนี้ สหรัฐฯ ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก จะขยายตัวช้าลงอยู่ที่ 2.1%, ญี่ปุ่น 2.4% เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 0.5% และจีน 8.2% จากที่คาดไว้ 8.4% ในเดือนมกราคม
รายงานระบุว่า ความไม่แน่นอนในยูโรโซนที่ปะทุขึ้นมาใหม่ ทำให้สถานการณ์ทางการเงินในเดือนที่ผ่านมาเสื่อมถอยลง ฉุดมูลค่าตลาดหุ้นในประเทศมั่งคั่งและประเทศกำลังพัฒนาหายไป 7% กระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างรุนแรง และยังทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเนื่องจากนักลงทุนต้องการแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย
แอนดริว เบิร์นส์ ผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้ กล่าวว่าการไหลเวียนของเงินทุนทั่วโลกรูดลงถึง 44% ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
กระนั้น สถานการณ์ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่ได้เลวร้ายลงรุนแรงเหมือนในไตรมาสส่งท้ายปี 2011
ทิมเมอร์เสริมว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 60% เข้าใกล้ภาวะร้อนแรงเกินไป หลังจากมีการเพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุนเพื่อป้องกันตัวเองจากภาวะขาลงในยุโรปและอเมริกา
เขาแนะนำให้ประเทศกำลังพัฒนาปรับนโยบายเศรษฐกิจทันที เพื่อเปลี่ยนสถานะจากการตามแก้ไขปัญหา มาเป็นการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตที่ซ่อนอยู่
รายงานเน้นย้ำความจำเป็นที่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องเริ่มลงทุนใหม่ในทุนมนุษย์ และทุนทางกายภาพ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรับประกันการเติบโตอย่างยั่งยืน
พร้อมกันนั้น รายงานก็ตั้งข้อสังเกตว่า เงินทุนที่เคยมีอยู่อย่างมากมายและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในทศวรรษที่ผ่านมานั้น อาจจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว
เบิร์นส์ย้ำว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรลดความเสี่ยงด้วยการลดระดับหนี้ระยะสั้นและการขาดดุลงบประมาณในส่วนที่สามารถทำได้ เพื่อให้มีช่องทางสำหรับการผ่อนคลายนโยบายในกรณีที่สถานการณ์โลกตกต่ำรุนแรง