(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Gaps in China's area-denial strategy
By Jens Kastner
07/05/2012
กองทัพอากาศสหรัฐฯจัดการซ้อมรบในแถบอะแลสกาเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้เห็นเครื่องบินขับไล่ใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ เปิดช่องทางสำหรับให้เครื่องบินทิ้งระเบิด เข้าปฏิบัติการที่สมมุติว่าเป็นการบดขยี้ยุทธศาสตร์ต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ (anti-access/area-denial strategy) อันเป็นหลักการที่เชื่อกันว่าจีนยึดถืออยู่ อีกทั้งปักกิ่งยังกำลังดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้ด้วยการเพิ่มกำลังอาวุธอันซับซ้อนทันสมัยซึ่งอิงอยู่กับการรักษาชายฝั่ง ขณะที่การซ้อมรบของอเมริกันที่มีชื่อรหัสว่า “ยุทธการชิมิชังกา” คราวนี้ ตอกย้ำให้เห็นความบกพร่องอย่างร้ายแรงของฝ่ายสหรัฐฯในเรื่องฮาร์ดแวร์ แต่ไม่ว่าเรื่องนี้หรือเรื่องอันตรายที่อาจจะเกิดความสูญเสียอย่างขนานใหญ่ ก็ดูจะไม่อาจหยุดยั้งไม่ให้วอชิงตันเดินหน้าในการพัฒนาวิธีการที่จะตอบโต้ยุทธศาสตร์ของฝ่ายจีน
ไทเป – มีการพูดกันอย่างมากมายเหลือเกิน ในเรื่องที่กองทัพจีนกำลังปรับปรุงยกระดับสมรรถนะสู้รบของตนขึ้นมาอย่างน่าตื่นใจ ด้วยจุดประสงค์ที่จะไม่ให้กองทหารของสหรัฐฯสามารถยกกำลังเข้ามาประชิดติดพัน
คำว่า “ต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” (anti-access/area-denial หรือเรียกด้วยตัวย่อว่า A2/AD) กำลังกลายเป็นคำขวัญอันมีมนตร์ขลัง คำๆ นี้หมายความว่า บรรดาปืนใหญ่, เครื่องบิน, และทรัพย์สินทางนาวี รุ่นใหม่ๆ ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ซึ่งเน้นหนักตั้งประจำอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล มีความสามารถที่จะปฏิเสธไม่ให้กองกำลังเคลื่อนที่เร็วของกองทัพสหรัฐฯเคลื่อนเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งหรือการสู้รบกันขึ้น เนื่องจากหากอเมริกันยังแข็งขืนบุกเข้ามา ก็จะต้องประสบความเสียหายอย่างหนักหน่วง อย่างไรก็ดี ยังมีข้อน่าสงสัยอยู่ว่า แท้ที่จริงแล้วสหรัฐฯมีความวิตกกังวลต่อยุทธศาสตร์นี้ของแดนมังกรมากมายขนาดไหน
การฝึกซ้อมทางทหารของสหรัฐฯที่กระทำกันในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อรหัสว่า “ยุทธการชิมิชังกา” (Operation Chimichanga)[1] อาจจะให้คำตอบต่อข้อสงสัยนี้ได้เป็นบางส่วน ทว่าถ้าหากไม่เป็นเพราะนักหนังสือพิมพ์ 2 คน คือ เดวิด แอ็กซ์ (David Axe) กับ โนอาห์ แชชต์แมน (Noah Shachtman) [2] แล้ว ก็คงไม่มีใครนอกกองทัพสหรัฐฯที่จะสังเกตสังกาหรือบังเกิดความสนใจการซ้อมรบคราวนี้ขึ้นมาหรอก
ในบทความที่เขียนให้นิตยสารอเมริกันชื่อ “ไวเออร์ด” (Wired) [3] นักหนังสือพิมพ์ทั้งสองได้เขียนบรรยายการซ้อมรบของกองทัพอากาศสหรัฐฯในบริเวณมลรัฐอะแลสกาเมื่อตอนต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยที่มีการใช้เครื่องบินขับไล่ เอฟ-22 แรปเตอร์ (F-22 Raptor) ซึ่งเป็นเครื่องบินรบที่ใช้เทคโนโลยี “สเตลธ์” (stealth) ที่สามารถหลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์ สมทบสนับสนุนด้วยเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ที่เป็นเครื่องรุ่นเก่ากว่า มาปฏิบัติภารกิจแผ้วถางทางให้แก่เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-1 ซึ่งเข้าโจมตีทำลายการป้องกันทางอากาศของข้าศึกตามการสมมุติจินตนาการในการฝึกซ้อมคราวนี้ จนกระทั่งพินาศย่อยยับ ขณะที่การซ้อมรบอันน่าประทับใจครั้งนี้ ได้รับการประกาศเน้นย้ำให้อยู่ในบริบทของการปฏิบัติการโจมตีพิสัยไกล แต่ก็เป็นที่ปรากฏอย่างชัดเจนโต้งๆ ว่า การเอ็กเซอร์ไซส์คราวนี้เล็งเป้าหมายไปที่จีน ทั้งนี้ตามเนื้อหาในบทความของ แอ็กซ์ กับ แชชต์แมน
“ตามการแถลงอย่างเป็นทางการแล้ว ยุทธการชิมิชังกา มีความมุ่งหมายที่จะตรวจสอบสมรรถนะการโจมตีพิสัยไกลของเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1 ตลอดจนความสามารถของเครื่องบินขับไล่เอฟ-22 และเอฟ-16 ในการคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดเหล่านี้ให้เข้าไปยังพื้นที่เป้าหมายที่ถูกประกาศเป็นเขตต่อต้านการเข้ามา (anti-access target area)” บทความดังกล่าวเขียนเอาไว้เช่นนี้ และบอกต่อไปว่า “แต่เมื่อพูดจากันอย่างไม่เป็นทางการ ยุทธการชิมิชังกา เป็นการพิสูจน์ตรวจสอบแนวความคิดสำหรับยุทธวิธีต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในช่วงแห่งการวิวัฒนาการของกองทัพอากาศ เพื่อนำไปใช้ในการสู้รบกับประเทศจีนเหนือน่านฟ้าของมหาสมุทรแปซิฟิกฟากตะวันตกอันกว้างใหญ่ไพศาล ... แน่นอนทีเดียวที่กองทัพอากาศจะไม่ยอมพูดเช่นนี้ออกมาตรงๆ หรอก”
เมื่อตอนที่กองกำลังอาวุธนำโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) เข้าโจมตีเล่นงานประเทศลิเบียในปี 2011 โดยที่เวลานั้นประเทศในแอฟริกาเหนือแห่งนี้ยังถูกปกครองโดย มูอัมมาร์ กัดดาฟี มันไม่ได้มีอะไรแบบยุทธศาสตร์ต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ ให้ต้องวิตกกังวลกันเลย ประดาเรือรบผิวน้ำและเรือดำน้ำของชาติพันธมิตรนาโต้ สามารถที่จะเคลื่อนเข้าสู่น่านน้ำนอกชายฝั่งลิเบียได้อย่างง่ายดาย เพื่อทำการยิงจรวดร่อน (cruise missile) เข้าโจมตีเล่นงานบรรดาที่มั่นของหน่วยคอมมานโดลิเบีย บวกกับกำลังเครื่องบินขับไล่ไอพ่นก็สามารถทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของประเทศนั้นได้อย่างง่ายดายชนิดแทบไม่เสียเวลาอะไรเลย ในทันทีที่บรรลุเป้าหมายประการหลัง ก็สามารถนับถอยหลังวันเวลาแห่งการครองอำนาจของกัดดาฟีกันได้ ขณะที่เครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์โจมตีของนาโต้ ออกบินตระเวนฉวัดเฉวียนเหนือน่านฟ้าของลิเบียอย่างชนิดแทบไร้การต้านทานใดๆ
แต่ถ้าหากเป็นเหตุการณ์ที่สหรัฐฯเข้าโจมตีจีน (แน่นอนทีเดียวว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ บ่งบอกว่าจะบังเกิดขึ้น) สิ่งต่างๆ ย่อมจะไม่มีความง่ายดายอะไรขนาดนั้น วันเวลาได้ผันผ่านไป 1 ทศวรรษครึ่งแล้ว ตั้งแต่ที่ บิลล์ คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯในตอนนั้น ได้ออกคำสั่งให้หมู่เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์ (USS Independence) และหมู่เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส นิมิตซ์ (USS Nimitz) เคลื่อนเข้าไปในช่องแคบไต้หวัน ตรงบริเวณปากประตูของจีนทีเดียว เพื่อบีบบังคับให้ฝ่ายจีนยุติการอวดกล้ามเบ่งใส่ไต้หวัน [4] และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การยกกำลังกันในลักษณะนี้ของอเมริกันก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย
หลังจากที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนถูกสบประมาทลูบคมจากคลินตันในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ดังกล่าวนี้แล้ว ฝ่ายทหารของแดนมังกรก็ได้พยายามปรับปรุงขัดเกลาหลักการเรื่องต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ ให้มีความสมบูรณ์พร้อมสรรพ โดยที่อาวุธหลักสำคัญที่สุดที่ถูกเลือกนำมาใช้ในยุทธศาสตร์นี้ก็คือ ตงเฟิง 21 ดี (Dong Feng 21D หรือ DF-21D) ขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านเรือรบ ที่ได้รับสมญานามว่า “เพชฌฆาตเรือบรรทุกเครื่องบิน”
ดีเอฟ-21 ดี ถูกนำมาใช้ในภารกิจพิทักษ์ปกป้องประเทศจีน ตลอดจนดินแดนต่างๆอันกว้างใหญ่ไพศาลที่แดนมังกรอ้างกรรมสิทธิ์ ตั้งแต่ ทิเบต และ ซินเจียง ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน และทะเลจีนใต้ นอกเหนือไปจากระบบอาวุธอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ ขีปนาวุธ ดีเอฟ-21 ดี จะยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น เมื่อบวกกับระบบดาวเทียม ไป่ตู้ (Beidou satellite system) ระบบนำทางด้วยดาวเทียมของจีนระบบนี้ จะทำให้ตั้งแต่ช่วงสิ้นทศวรรษ 2010 นี้เป็นต้นไป กองกำลังขีปนาวุธของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนจะมีสมรรถนะในการยิงเข้าสู่เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังมีคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ ทว่าเหตุการณ์ที่อเมริกันจะทำการโจมตีจีนนั้น ความเป็นไปได้ที่จะบังเกิดขึ้นก็คงเฉพาะในกรณีที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนพยายามที่จะเข้าไปยุ่มย่ามแทรกแซงอาณาบริเวณอย่างเช่นไต้หวัน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, หรือ ออสเตรเลีย ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า คณะผู้นำจีนจะเลือกกดปุ่มสีแดงปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ เพียงเพื่อช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแก่การปฏิบัติการทำนองนี้ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนจริงๆ หรือ
ในบทความของพวกเขาที่ใช้ชื่อว่า “ยุทธการชิมิชังกา” (Operation Chimichanga) แอ็กซ์ กับ แชชต์แมน ได้อธิบายถึงปัญหาต่างๆ ที่สหรัฐฯจะต้องเผชิญ เมื่อเข้าเล่นงานจีนโดยใช้พวกอาวุธแบบแผน (conventional weapons ก็คือไม่ใช่อาวุธนิวเคลียร์)
“ขณะที่การทดสอบที่อะแลสกาคราวนี้ ดูเหมือนจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ทีมโจมตีที่ใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ สามารถยังความปราชัยให้แก่กองกำลังศัตรู ...ที่อยู่ในระยะไกลโพ้น แต่มันก็ตอกย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอของฝ่ายอเมริกาด้วยเช่นกัน ในการที่จะเข้าต่อสู้กับกองทหารของจีนที่กำลังเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว” พวกเขาเขียนเอาไว้เช่นนี้ และกล่าวต่อไปว่า “ในการเข้าโจมตีจีนนั้น จะต้องใช้เครื่องบินขับไล่สเตลธ์แบบล่าสุด และเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ผ่านการอัปเกรดแล้ว บินประสานกันเป็นทีม แต่ทั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณบรรดาปัญหาที่บังเกิดขึ้นในระหว่างการวิจัยและพัฒนา เพราะทำให้เวลานี้อเมริกามีเครื่องบินเพียงไม่เท่าไรเลยที่จะใช้ทำงานเช่นนี้ได้”
แอ็กซ์ กับ แชชต์แมน เขียนแจกแจงว่า ขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐฯมีเครื่องบินทิ้งระเบิดอยู่ประมาณ 150 เครื่อง ปรากฏว่าพวกเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น บี-2 มีเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นซึ่งได้รับการอัปเกรดจนมีเทคโนโลยีสเตลธ์เต็มรูปแบบ สภาพเช่นนี้จึงทำให้กำลังเครื่องบินทิ้งระเบิดส่วนใหญ่ของอเมริกัน เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าของอาวุธป้องกันภัยทางอากาศของฝ่ายจีนที่ติดตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นพันเป็นหมื่นจุด ในทางทฤษฎีแล้ว เครื่องบินขับไล่ เอฟ-22 หรือ เอฟ-33 ย่อมสามารถที่จะจัดการทำลายล้างอาวุธเหล่านี้ให้ราบเรียบไปก่อน แต่ในทางเป็นจริง เวลานี้สหรัฐฯมีเครื่องบินเอฟ-22 ที่พร้อมออกปฏิบัติการอยู่ไม่ถึง 200 เครื่อง ซึ่งย่อมยากที่จะบอกว่าเพียงพอแล้ว ขณะเดียวกัน เอฟ-35 ก็เผชิญกับอุปสรรคนานาจนต้องเลื่อนเวลาออกไปไม่รู้จบรู้สิ้น และเวลานี้ยังไม่ได้มีการผลิตขึ้นมาเลย
เยนส์ คัสต์เนอร์เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงไทเป
Gaps in China's area-denial strategy
By Jens Kastner
07/05/2012
กองทัพอากาศสหรัฐฯจัดการซ้อมรบในแถบอะแลสกาเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้เห็นเครื่องบินขับไล่ใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ เปิดช่องทางสำหรับให้เครื่องบินทิ้งระเบิด เข้าปฏิบัติการที่สมมุติว่าเป็นการบดขยี้ยุทธศาสตร์ต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ (anti-access/area-denial strategy) อันเป็นหลักการที่เชื่อกันว่าจีนยึดถืออยู่ อีกทั้งปักกิ่งยังกำลังดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้ด้วยการเพิ่มกำลังอาวุธอันซับซ้อนทันสมัยซึ่งอิงอยู่กับการรักษาชายฝั่ง ขณะที่การซ้อมรบของอเมริกันที่มีชื่อรหัสว่า “ยุทธการชิมิชังกา” คราวนี้ ตอกย้ำให้เห็นความบกพร่องอย่างร้ายแรงของฝ่ายสหรัฐฯในเรื่องฮาร์ดแวร์ แต่ไม่ว่าเรื่องนี้หรือเรื่องอันตรายที่อาจจะเกิดความสูญเสียอย่างขนานใหญ่ ก็ดูจะไม่อาจหยุดยั้งไม่ให้วอชิงตันเดินหน้าในการพัฒนาวิธีการที่จะตอบโต้ยุทธศาสตร์ของฝ่ายจีน
ไทเป – มีการพูดกันอย่างมากมายเหลือเกิน ในเรื่องที่กองทัพจีนกำลังปรับปรุงยกระดับสมรรถนะสู้รบของตนขึ้นมาอย่างน่าตื่นใจ ด้วยจุดประสงค์ที่จะไม่ให้กองทหารของสหรัฐฯสามารถยกกำลังเข้ามาประชิดติดพัน
คำว่า “ต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” (anti-access/area-denial หรือเรียกด้วยตัวย่อว่า A2/AD) กำลังกลายเป็นคำขวัญอันมีมนตร์ขลัง คำๆ นี้หมายความว่า บรรดาปืนใหญ่, เครื่องบิน, และทรัพย์สินทางนาวี รุ่นใหม่ๆ ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ซึ่งเน้นหนักตั้งประจำอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล มีความสามารถที่จะปฏิเสธไม่ให้กองกำลังเคลื่อนที่เร็วของกองทัพสหรัฐฯเคลื่อนเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งหรือการสู้รบกันขึ้น เนื่องจากหากอเมริกันยังแข็งขืนบุกเข้ามา ก็จะต้องประสบความเสียหายอย่างหนักหน่วง อย่างไรก็ดี ยังมีข้อน่าสงสัยอยู่ว่า แท้ที่จริงแล้วสหรัฐฯมีความวิตกกังวลต่อยุทธศาสตร์นี้ของแดนมังกรมากมายขนาดไหน
การฝึกซ้อมทางทหารของสหรัฐฯที่กระทำกันในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อรหัสว่า “ยุทธการชิมิชังกา” (Operation Chimichanga)[1] อาจจะให้คำตอบต่อข้อสงสัยนี้ได้เป็นบางส่วน ทว่าถ้าหากไม่เป็นเพราะนักหนังสือพิมพ์ 2 คน คือ เดวิด แอ็กซ์ (David Axe) กับ โนอาห์ แชชต์แมน (Noah Shachtman) [2] แล้ว ก็คงไม่มีใครนอกกองทัพสหรัฐฯที่จะสังเกตสังกาหรือบังเกิดความสนใจการซ้อมรบคราวนี้ขึ้นมาหรอก
ในบทความที่เขียนให้นิตยสารอเมริกันชื่อ “ไวเออร์ด” (Wired) [3] นักหนังสือพิมพ์ทั้งสองได้เขียนบรรยายการซ้อมรบของกองทัพอากาศสหรัฐฯในบริเวณมลรัฐอะแลสกาเมื่อตอนต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยที่มีการใช้เครื่องบินขับไล่ เอฟ-22 แรปเตอร์ (F-22 Raptor) ซึ่งเป็นเครื่องบินรบที่ใช้เทคโนโลยี “สเตลธ์” (stealth) ที่สามารถหลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์ สมทบสนับสนุนด้วยเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ที่เป็นเครื่องรุ่นเก่ากว่า มาปฏิบัติภารกิจแผ้วถางทางให้แก่เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-1 ซึ่งเข้าโจมตีทำลายการป้องกันทางอากาศของข้าศึกตามการสมมุติจินตนาการในการฝึกซ้อมคราวนี้ จนกระทั่งพินาศย่อยยับ ขณะที่การซ้อมรบอันน่าประทับใจครั้งนี้ ได้รับการประกาศเน้นย้ำให้อยู่ในบริบทของการปฏิบัติการโจมตีพิสัยไกล แต่ก็เป็นที่ปรากฏอย่างชัดเจนโต้งๆ ว่า การเอ็กเซอร์ไซส์คราวนี้เล็งเป้าหมายไปที่จีน ทั้งนี้ตามเนื้อหาในบทความของ แอ็กซ์ กับ แชชต์แมน
“ตามการแถลงอย่างเป็นทางการแล้ว ยุทธการชิมิชังกา มีความมุ่งหมายที่จะตรวจสอบสมรรถนะการโจมตีพิสัยไกลของเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1 ตลอดจนความสามารถของเครื่องบินขับไล่เอฟ-22 และเอฟ-16 ในการคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดเหล่านี้ให้เข้าไปยังพื้นที่เป้าหมายที่ถูกประกาศเป็นเขตต่อต้านการเข้ามา (anti-access target area)” บทความดังกล่าวเขียนเอาไว้เช่นนี้ และบอกต่อไปว่า “แต่เมื่อพูดจากันอย่างไม่เป็นทางการ ยุทธการชิมิชังกา เป็นการพิสูจน์ตรวจสอบแนวความคิดสำหรับยุทธวิธีต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในช่วงแห่งการวิวัฒนาการของกองทัพอากาศ เพื่อนำไปใช้ในการสู้รบกับประเทศจีนเหนือน่านฟ้าของมหาสมุทรแปซิฟิกฟากตะวันตกอันกว้างใหญ่ไพศาล ... แน่นอนทีเดียวที่กองทัพอากาศจะไม่ยอมพูดเช่นนี้ออกมาตรงๆ หรอก”
เมื่อตอนที่กองกำลังอาวุธนำโดยองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) เข้าโจมตีเล่นงานประเทศลิเบียในปี 2011 โดยที่เวลานั้นประเทศในแอฟริกาเหนือแห่งนี้ยังถูกปกครองโดย มูอัมมาร์ กัดดาฟี มันไม่ได้มีอะไรแบบยุทธศาสตร์ต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ ให้ต้องวิตกกังวลกันเลย ประดาเรือรบผิวน้ำและเรือดำน้ำของชาติพันธมิตรนาโต้ สามารถที่จะเคลื่อนเข้าสู่น่านน้ำนอกชายฝั่งลิเบียได้อย่างง่ายดาย เพื่อทำการยิงจรวดร่อน (cruise missile) เข้าโจมตีเล่นงานบรรดาที่มั่นของหน่วยคอมมานโดลิเบีย บวกกับกำลังเครื่องบินขับไล่ไอพ่นก็สามารถทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของประเทศนั้นได้อย่างง่ายดายชนิดแทบไม่เสียเวลาอะไรเลย ในทันทีที่บรรลุเป้าหมายประการหลัง ก็สามารถนับถอยหลังวันเวลาแห่งการครองอำนาจของกัดดาฟีกันได้ ขณะที่เครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์โจมตีของนาโต้ ออกบินตระเวนฉวัดเฉวียนเหนือน่านฟ้าของลิเบียอย่างชนิดแทบไร้การต้านทานใดๆ
แต่ถ้าหากเป็นเหตุการณ์ที่สหรัฐฯเข้าโจมตีจีน (แน่นอนทีเดียวว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ บ่งบอกว่าจะบังเกิดขึ้น) สิ่งต่างๆ ย่อมจะไม่มีความง่ายดายอะไรขนาดนั้น วันเวลาได้ผันผ่านไป 1 ทศวรรษครึ่งแล้ว ตั้งแต่ที่ บิลล์ คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯในตอนนั้น ได้ออกคำสั่งให้หมู่เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์ (USS Independence) และหมู่เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส นิมิตซ์ (USS Nimitz) เคลื่อนเข้าไปในช่องแคบไต้หวัน ตรงบริเวณปากประตูของจีนทีเดียว เพื่อบีบบังคับให้ฝ่ายจีนยุติการอวดกล้ามเบ่งใส่ไต้หวัน [4] และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การยกกำลังกันในลักษณะนี้ของอเมริกันก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย
หลังจากที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนถูกสบประมาทลูบคมจากคลินตันในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ดังกล่าวนี้แล้ว ฝ่ายทหารของแดนมังกรก็ได้พยายามปรับปรุงขัดเกลาหลักการเรื่องต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ ให้มีความสมบูรณ์พร้อมสรรพ โดยที่อาวุธหลักสำคัญที่สุดที่ถูกเลือกนำมาใช้ในยุทธศาสตร์นี้ก็คือ ตงเฟิง 21 ดี (Dong Feng 21D หรือ DF-21D) ขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านเรือรบ ที่ได้รับสมญานามว่า “เพชฌฆาตเรือบรรทุกเครื่องบิน”
ดีเอฟ-21 ดี ถูกนำมาใช้ในภารกิจพิทักษ์ปกป้องประเทศจีน ตลอดจนดินแดนต่างๆอันกว้างใหญ่ไพศาลที่แดนมังกรอ้างกรรมสิทธิ์ ตั้งแต่ ทิเบต และ ซินเจียง ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน และทะเลจีนใต้ นอกเหนือไปจากระบบอาวุธอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ ขีปนาวุธ ดีเอฟ-21 ดี จะยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น เมื่อบวกกับระบบดาวเทียม ไป่ตู้ (Beidou satellite system) ระบบนำทางด้วยดาวเทียมของจีนระบบนี้ จะทำให้ตั้งแต่ช่วงสิ้นทศวรรษ 2010 นี้เป็นต้นไป กองกำลังขีปนาวุธของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนจะมีสมรรถนะในการยิงเข้าสู่เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังมีคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ ทว่าเหตุการณ์ที่อเมริกันจะทำการโจมตีจีนนั้น ความเป็นไปได้ที่จะบังเกิดขึ้นก็คงเฉพาะในกรณีที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนพยายามที่จะเข้าไปยุ่มย่ามแทรกแซงอาณาบริเวณอย่างเช่นไต้หวัน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, หรือ ออสเตรเลีย ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า คณะผู้นำจีนจะเลือกกดปุ่มสีแดงปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ เพียงเพื่อช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแก่การปฏิบัติการทำนองนี้ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนจริงๆ หรือ
ในบทความของพวกเขาที่ใช้ชื่อว่า “ยุทธการชิมิชังกา” (Operation Chimichanga) แอ็กซ์ กับ แชชต์แมน ได้อธิบายถึงปัญหาต่างๆ ที่สหรัฐฯจะต้องเผชิญ เมื่อเข้าเล่นงานจีนโดยใช้พวกอาวุธแบบแผน (conventional weapons ก็คือไม่ใช่อาวุธนิวเคลียร์)
“ขณะที่การทดสอบที่อะแลสกาคราวนี้ ดูเหมือนจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ทีมโจมตีที่ใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ สามารถยังความปราชัยให้แก่กองกำลังศัตรู ...ที่อยู่ในระยะไกลโพ้น แต่มันก็ตอกย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอของฝ่ายอเมริกาด้วยเช่นกัน ในการที่จะเข้าต่อสู้กับกองทหารของจีนที่กำลังเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว” พวกเขาเขียนเอาไว้เช่นนี้ และกล่าวต่อไปว่า “ในการเข้าโจมตีจีนนั้น จะต้องใช้เครื่องบินขับไล่สเตลธ์แบบล่าสุด และเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ผ่านการอัปเกรดแล้ว บินประสานกันเป็นทีม แต่ทั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณบรรดาปัญหาที่บังเกิดขึ้นในระหว่างการวิจัยและพัฒนา เพราะทำให้เวลานี้อเมริกามีเครื่องบินเพียงไม่เท่าไรเลยที่จะใช้ทำงานเช่นนี้ได้”
แอ็กซ์ กับ แชชต์แมน เขียนแจกแจงว่า ขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐฯมีเครื่องบินทิ้งระเบิดอยู่ประมาณ 150 เครื่อง ปรากฏว่าพวกเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น บี-2 มีเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นซึ่งได้รับการอัปเกรดจนมีเทคโนโลยีสเตลธ์เต็มรูปแบบ สภาพเช่นนี้จึงทำให้กำลังเครื่องบินทิ้งระเบิดส่วนใหญ่ของอเมริกัน เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าของอาวุธป้องกันภัยทางอากาศของฝ่ายจีนที่ติดตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นพันเป็นหมื่นจุด ในทางทฤษฎีแล้ว เครื่องบินขับไล่ เอฟ-22 หรือ เอฟ-33 ย่อมสามารถที่จะจัดการทำลายล้างอาวุธเหล่านี้ให้ราบเรียบไปก่อน แต่ในทางเป็นจริง เวลานี้สหรัฐฯมีเครื่องบินเอฟ-22 ที่พร้อมออกปฏิบัติการอยู่ไม่ถึง 200 เครื่อง ซึ่งย่อมยากที่จะบอกว่าเพียงพอแล้ว ขณะเดียวกัน เอฟ-35 ก็เผชิญกับอุปสรรคนานาจนต้องเลื่อนเวลาออกไปไม่รู้จบรู้สิ้น และเวลานี้ยังไม่ได้มีการผลิตขึ้นมาเลย
เยนส์ คัสต์เนอร์เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงไทเป