ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ผ่านพ้นมาแล้ว 1 ปีเต็มกับปฏิบัติการสังหาร อุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้นำเครือข่ายอัลกออิดะห์ ซึ่งอยู่เบื้องหลังเหตุวินาศกรรมนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 11 กันยายน ปี 2001
แม้การสูญเสียผู้นำทางจิตวิญญาณ จะทำให้อัลกออิดะห์อ่อนแอลงไปมาก แต่โลกยังต้องคอยหวาดระแวงภัยก่อการร้ายที่มาในรูปแบบต่างๆ ขณะเดียวกัน ชื่อของ บิน ลาดิน ก็ยังถูกกล่าวขานถึงอยู่เสมอไม่จบสิ้น ทั้งเสียงร่ำลือเกี่ยวกับ “ทฤษฎีสมคบคิด” ในทำนองว่า ชายผู้นี้อาจไม่ได้ถูกหน่วยรบพิเศษ “ซีลส์” ปลิดชีพตามที่สหรัฐฯเอ่ยอ้าง ไปจนถึงชะตากรรมของภรรยาหม้าย และบุตรธิดาที่ บิน ลาดิน ทิ้งไว้ให้เผชิญโลกต่อเพียงลำพัง และล่าสุด การตายของ บิน ลาดิน ยังถูกโยงมาเป็นประเด็นการเมืองร้อนๆ ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายนนี้ด้วย
เรื่องของ บิน ลาดิน กำลังจุดชนวนสงครามน้ำลายในวงการเมืองสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดี บารัค โอบามา จากพรรคเดโมแครต จงใจหยิบยกปฏิบัติการล่าหัวผู้ก่อการร้ายเบอร์ 1 มาเสริมภาพลักษณ์ผู้นำที่เข้มแข็ง และกล้าตัดสินใจของตนเอง พร้อมเอ่ยถึงคำพูดเมื่อ 4 ปีที่แล้วของ มิตต์ รอมนีย์ ตัวเต็งผู้แทนพรรครีพับลิกันลงชิงชัยในสนามเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่ว่า “ไม่คุ้มเลยที่จะทุ่มเงินเป็นพันล้านดอลลาร์ เพื่อพลิกแผ่นดินตามล่าคนๆ เดียว” เพื่อเป็นการเย้ยหยันกลายๆ ว่า หากวันนี้ สหรัฐฯ มี รอมนีย์ เป็นผู้นำประเทศ บิน ลาดิน ก็อาจจะยังมีชีวิตอยู่ก่อกรรมทำเข็ญได้ต่อไป ซึ่งทาง รอมนีย์ ก็ออกมาโต้กลับในทันทีเหมือนกัน ว่า โอบามา ทำตัวสิ้นไร้ไม้ตอก ถึงกับเอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เป็นความภาคภูมิใจของคนอเมริกันทั้งประเทศมาอ้างความดีความชอบ เพื่อเบนความสนใจจากนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปี 2001 ชื่อเสียงของ อุซามะห์ บิน ลาดิน เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลก ในฐานะผู้ต้องสงสัยบงการเหตุจี้เครื่องบินชนอาคารแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก จนมีผู้เสียชีวิตไปร่วม 3,000 คน เหตุวินาศกรรมสะเทือนขวัญครั้งนั้น นำไปสู่การพลิกแผ่นดินไล่ล่าตัวเขา และเป็นชนวนเหตุของสงครามต่อต้านก่อการร้ายทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน
สหรัฐฯใช้เวลาหลายปีในการสืบหาร่องรอยคนส่งสารของอัลกออิดะห์ จนเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2010 จึงได้ข้อมูลว่า บิน ลาดิน และครอบครัวแอบอาศัยอยู่อย่างเงียบๆ ในเมืองอับบอตตาบัด ของปากีสถาน ซึ่งห่างจากกรุงอิสลามาบัดไปไม่ถึงร้อยกิโลเมตร 8 เดือน ให้หลัง ประธานาธิบดี โอบามา จึงประกาศไฟเขียวให้หน่วยรบพิเศษ “ซีลส์” บุกรุกน่านฟ้าปากีสถานเพื่อโจมตีบ้านต้องสงสัยในเช้าวันที่ 29 เมษายน ปี 2011 ซึ่งจากการยิงปะทะไม่ถึง 40 นาที ก็ทำให้ อุซามะห์ บิน ลาดิน และบุตรชาย เหลือแต่ร่างไร้วิญญาณ
ทันทีที่ บิน ลาดิน สิ้นชีวิตลง ภรรยาหม้ายทั้ง 3 คนและบุตรธิดาของเขาก็ถูกรัฐบาลปากีสถานกักตัวไว้นานถึง 10 เดือน จนเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา ศาลปากีสถานจึงมีคำตัดสินให้ภรรยาทั้ง 3 ของ บิน ลาดิน และบุตรสาววัยผู้ใหญ่อีก 2 คน มีความผิดฐานลักลอบเข้าเมืองและพำนักอยู่ในปากีสถานอย่างผิดกฎหมาย และให้กักบริเวณพวกเธอในบ้านพักเป็นเวลา 45 วัน ก่อนขับออกนอกประเทศ ซึ่งกระบวนการเนรเทศก็เพิ่งเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา โดยทางซาอุดีอาระเบียและญาติมิตรของ บิน ลาดิน ที่นั่นยอมรับสตรีหม้าย และลูกๆ กลับไปใช้ชีวิตร่วมกัน
แม้การตายของ บิน ลาดิน จะผ่านไปนานถึง 1 ปี แต่ยังไม่มีใครทราบว่า ที่รัฐบาลปากีสถานอ้างว่า ไม่เคยรู้ถึงการหลบซ่อนตัวของ บิน ลาดิน เป็นความจริงหรือไม่? ทางการปากีสถานยังปิดล้อมบ้านพักในเมืองอับบอตตาบัดอยู่นานหลายเดือน ก่อนจะสั่งรื้อทิ้งอย่างกะทันหันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ขณะที่ทางสหรัฐฯ ก็ยังไม่ยอมเผยรูปถ่ายศพ บิน ลาดิน แม้แต่รูปเดียว
เรื่องราวที่ยังเป็นปริศนาเหล่านี้ กระตุ้นให้เกิดทฤษฎีต่างๆ นานาว่าด้วย “ความจริง” ที่เกิดขึ้น ชาวเมืองอับบอตตาบัด ส่วนหนึ่งยังเชื่อว่า บิน ลาดิน ไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น และผู้ที่ตายล้วนเป็นคนบริสุทธิ์ที่มารับเคราะห์แทน บ้างก็ว่า บิน ลาดิน อาจถูกสหรัฐฯพาตัวจากอัฟกานิสถานมาฆ่าทิ้งที่เมืองอับบอตตาบัด เพื่อป้ายสีรัฐบาลปากีสถาน ขณะที่บางคนเชื่อว่าผู้นำอัลกออิดะห์ยังมีชีวิตอยู่
นักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคนหนึ่ง อธิบายว่า ความเชื่อเช่นนี้เกิดจากชาวบ้านยังทำใจยอมรับไม่ได้ว่า อาชญากรที่เข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ไปมากมายจะเคยอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกับพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีแปลกๆ เหล่านี้ นับว่า มีประโยชน์ต่อหน่วยข่าวกรองปากีสถาน และกองทัพก็ยินดีปล่อยให้พลเมืองที่ยังไร้การศึกษาหมกมุ่นอยู่กับทฤษฎีสมคบคิด ดีกว่าจะทำให้ทุกอย่างโปร่งใส ซึ่งอาจทำให้ประชาชนสูญเสียความเชื่อมั่นในศักยภาพของหน่วยข่าวกรอง และรัฐบาลเองก็ต้องอับอายขายหน้ายิ่งขึ้น หลังจากที่เคยถูกสหรัฐฯหักหน้าด้วยการบุกรุกน่านฟ้าจับตาย บิน ลาดิน โดยไม่ขออนุญาตมาแล้ว
เครือข่ายอัลกออิดะห์ก็ยังคงเดินหน้าเผยแพร่อุดมการณ์ก่อการร้ายอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความอ่อนแอของรัฐบาลกลางและปัญหาเศรษฐกิจในปากีสถานมาเป็นปัจจัยหนุน อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้คนขับของสหรัฐฯ ก็สามารถกำจัดแกนนำคนสำคัญของพวกเขาไปได้หลายราย ส่งผลให้อัลกออิดะห์ทุกวันนี้ ไม่มีความเป็นปึกแผ่นเหมือนแต่ก่อน ประกอบกับผู้นำคนใหม่อย่าง อัยมาน อัล-ซอวาฮีรี ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสถานะผู้นำจิตวิญญาณได้เหมือนที่ บิน ลาดิน เคยเป็น ทำให้โอกาสที่พวกเขาจะร่วมมือกันก่อวินาศกรรมสะเทือนขวัญเหมือนเช่น 9/11 ก็พลอยลดลงตามไปด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันก่อการร้าย มองว่า สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังต่อจากนี้ คือ ปฏิบัติการโจมตีแบบ “บุกเดี่ยว” ของผู้ก่อการร้ายมือสมัครเล่นที่ได้แรงบันดาลใจจากอัลกออิดะห์ คนเหล่านี้มีการวางแผน, ตระเตรียมอาวุธ และตัดสินใจลงมือก่อเหตุด้วยตนเองโดยไม่ต้องขึ้นตรงต่อเครือข่ายก่อการร้ายใดๆ จึงนับเป็นภัยคุกคามที่ยากแก่การป้องกันที่สุด
แม้การสูญเสียผู้นำทางจิตวิญญาณ จะทำให้อัลกออิดะห์อ่อนแอลงไปมาก แต่โลกยังต้องคอยหวาดระแวงภัยก่อการร้ายที่มาในรูปแบบต่างๆ ขณะเดียวกัน ชื่อของ บิน ลาดิน ก็ยังถูกกล่าวขานถึงอยู่เสมอไม่จบสิ้น ทั้งเสียงร่ำลือเกี่ยวกับ “ทฤษฎีสมคบคิด” ในทำนองว่า ชายผู้นี้อาจไม่ได้ถูกหน่วยรบพิเศษ “ซีลส์” ปลิดชีพตามที่สหรัฐฯเอ่ยอ้าง ไปจนถึงชะตากรรมของภรรยาหม้าย และบุตรธิดาที่ บิน ลาดิน ทิ้งไว้ให้เผชิญโลกต่อเพียงลำพัง และล่าสุด การตายของ บิน ลาดิน ยังถูกโยงมาเป็นประเด็นการเมืองร้อนๆ ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายนนี้ด้วย
เรื่องของ บิน ลาดิน กำลังจุดชนวนสงครามน้ำลายในวงการเมืองสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดี บารัค โอบามา จากพรรคเดโมแครต จงใจหยิบยกปฏิบัติการล่าหัวผู้ก่อการร้ายเบอร์ 1 มาเสริมภาพลักษณ์ผู้นำที่เข้มแข็ง และกล้าตัดสินใจของตนเอง พร้อมเอ่ยถึงคำพูดเมื่อ 4 ปีที่แล้วของ มิตต์ รอมนีย์ ตัวเต็งผู้แทนพรรครีพับลิกันลงชิงชัยในสนามเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่ว่า “ไม่คุ้มเลยที่จะทุ่มเงินเป็นพันล้านดอลลาร์ เพื่อพลิกแผ่นดินตามล่าคนๆ เดียว” เพื่อเป็นการเย้ยหยันกลายๆ ว่า หากวันนี้ สหรัฐฯ มี รอมนีย์ เป็นผู้นำประเทศ บิน ลาดิน ก็อาจจะยังมีชีวิตอยู่ก่อกรรมทำเข็ญได้ต่อไป ซึ่งทาง รอมนีย์ ก็ออกมาโต้กลับในทันทีเหมือนกัน ว่า โอบามา ทำตัวสิ้นไร้ไม้ตอก ถึงกับเอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เป็นความภาคภูมิใจของคนอเมริกันทั้งประเทศมาอ้างความดีความชอบ เพื่อเบนความสนใจจากนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปี 2001 ชื่อเสียงของ อุซามะห์ บิน ลาดิน เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลก ในฐานะผู้ต้องสงสัยบงการเหตุจี้เครื่องบินชนอาคารแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก จนมีผู้เสียชีวิตไปร่วม 3,000 คน เหตุวินาศกรรมสะเทือนขวัญครั้งนั้น นำไปสู่การพลิกแผ่นดินไล่ล่าตัวเขา และเป็นชนวนเหตุของสงครามต่อต้านก่อการร้ายทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน
สหรัฐฯใช้เวลาหลายปีในการสืบหาร่องรอยคนส่งสารของอัลกออิดะห์ จนเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2010 จึงได้ข้อมูลว่า บิน ลาดิน และครอบครัวแอบอาศัยอยู่อย่างเงียบๆ ในเมืองอับบอตตาบัด ของปากีสถาน ซึ่งห่างจากกรุงอิสลามาบัดไปไม่ถึงร้อยกิโลเมตร 8 เดือน ให้หลัง ประธานาธิบดี โอบามา จึงประกาศไฟเขียวให้หน่วยรบพิเศษ “ซีลส์” บุกรุกน่านฟ้าปากีสถานเพื่อโจมตีบ้านต้องสงสัยในเช้าวันที่ 29 เมษายน ปี 2011 ซึ่งจากการยิงปะทะไม่ถึง 40 นาที ก็ทำให้ อุซามะห์ บิน ลาดิน และบุตรชาย เหลือแต่ร่างไร้วิญญาณ
ทันทีที่ บิน ลาดิน สิ้นชีวิตลง ภรรยาหม้ายทั้ง 3 คนและบุตรธิดาของเขาก็ถูกรัฐบาลปากีสถานกักตัวไว้นานถึง 10 เดือน จนเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา ศาลปากีสถานจึงมีคำตัดสินให้ภรรยาทั้ง 3 ของ บิน ลาดิน และบุตรสาววัยผู้ใหญ่อีก 2 คน มีความผิดฐานลักลอบเข้าเมืองและพำนักอยู่ในปากีสถานอย่างผิดกฎหมาย และให้กักบริเวณพวกเธอในบ้านพักเป็นเวลา 45 วัน ก่อนขับออกนอกประเทศ ซึ่งกระบวนการเนรเทศก็เพิ่งเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา โดยทางซาอุดีอาระเบียและญาติมิตรของ บิน ลาดิน ที่นั่นยอมรับสตรีหม้าย และลูกๆ กลับไปใช้ชีวิตร่วมกัน
แม้การตายของ บิน ลาดิน จะผ่านไปนานถึง 1 ปี แต่ยังไม่มีใครทราบว่า ที่รัฐบาลปากีสถานอ้างว่า ไม่เคยรู้ถึงการหลบซ่อนตัวของ บิน ลาดิน เป็นความจริงหรือไม่? ทางการปากีสถานยังปิดล้อมบ้านพักในเมืองอับบอตตาบัดอยู่นานหลายเดือน ก่อนจะสั่งรื้อทิ้งอย่างกะทันหันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ขณะที่ทางสหรัฐฯ ก็ยังไม่ยอมเผยรูปถ่ายศพ บิน ลาดิน แม้แต่รูปเดียว
เรื่องราวที่ยังเป็นปริศนาเหล่านี้ กระตุ้นให้เกิดทฤษฎีต่างๆ นานาว่าด้วย “ความจริง” ที่เกิดขึ้น ชาวเมืองอับบอตตาบัด ส่วนหนึ่งยังเชื่อว่า บิน ลาดิน ไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น และผู้ที่ตายล้วนเป็นคนบริสุทธิ์ที่มารับเคราะห์แทน บ้างก็ว่า บิน ลาดิน อาจถูกสหรัฐฯพาตัวจากอัฟกานิสถานมาฆ่าทิ้งที่เมืองอับบอตตาบัด เพื่อป้ายสีรัฐบาลปากีสถาน ขณะที่บางคนเชื่อว่าผู้นำอัลกออิดะห์ยังมีชีวิตอยู่
นักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคนหนึ่ง อธิบายว่า ความเชื่อเช่นนี้เกิดจากชาวบ้านยังทำใจยอมรับไม่ได้ว่า อาชญากรที่เข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ไปมากมายจะเคยอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกับพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีแปลกๆ เหล่านี้ นับว่า มีประโยชน์ต่อหน่วยข่าวกรองปากีสถาน และกองทัพก็ยินดีปล่อยให้พลเมืองที่ยังไร้การศึกษาหมกมุ่นอยู่กับทฤษฎีสมคบคิด ดีกว่าจะทำให้ทุกอย่างโปร่งใส ซึ่งอาจทำให้ประชาชนสูญเสียความเชื่อมั่นในศักยภาพของหน่วยข่าวกรอง และรัฐบาลเองก็ต้องอับอายขายหน้ายิ่งขึ้น หลังจากที่เคยถูกสหรัฐฯหักหน้าด้วยการบุกรุกน่านฟ้าจับตาย บิน ลาดิน โดยไม่ขออนุญาตมาแล้ว
เครือข่ายอัลกออิดะห์ก็ยังคงเดินหน้าเผยแพร่อุดมการณ์ก่อการร้ายอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความอ่อนแอของรัฐบาลกลางและปัญหาเศรษฐกิจในปากีสถานมาเป็นปัจจัยหนุน อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้คนขับของสหรัฐฯ ก็สามารถกำจัดแกนนำคนสำคัญของพวกเขาไปได้หลายราย ส่งผลให้อัลกออิดะห์ทุกวันนี้ ไม่มีความเป็นปึกแผ่นเหมือนแต่ก่อน ประกอบกับผู้นำคนใหม่อย่าง อัยมาน อัล-ซอวาฮีรี ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสถานะผู้นำจิตวิญญาณได้เหมือนที่ บิน ลาดิน เคยเป็น ทำให้โอกาสที่พวกเขาจะร่วมมือกันก่อวินาศกรรมสะเทือนขวัญเหมือนเช่น 9/11 ก็พลอยลดลงตามไปด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันก่อการร้าย มองว่า สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังต่อจากนี้ คือ ปฏิบัติการโจมตีแบบ “บุกเดี่ยว” ของผู้ก่อการร้ายมือสมัครเล่นที่ได้แรงบันดาลใจจากอัลกออิดะห์ คนเหล่านี้มีการวางแผน, ตระเตรียมอาวุธ และตัดสินใจลงมือก่อเหตุด้วยตนเองโดยไม่ต้องขึ้นตรงต่อเครือข่ายก่อการร้ายใดๆ จึงนับเป็นภัยคุกคามที่ยากแก่การป้องกันที่สุด