เอเอฟพี - ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เรียกร้องให้รัฐบาลในภูมิภาคแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมอย่างเร่งด่วน วันนี้ (23) พร้อมเตือนว่าความล่าช้าอาจบั่นทอนความเชื่อมโยงในสังคม และการเติบโตของเศรษฐกิจ
ราจัต แน็ก ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการของ เอดีบี ระบุว่า หากประเทศต่างๆ ไม่แก้ไขปัญหาช่องว่างรายได้ จะทำให้พลเมืองเกิดความไม่พอใจ จนในที่สุดรัฐบาลต้องหันไปใช้นโยบายประชานิยมเพื่อซื้อใจพวกเขา
อย่างไรก็ตาม โครงการแบบประชานิยม เช่น การตรึงราคาเชื้อเพลิง หรือมอบเงินทุนช่วยเหลือต่างๆ จะทำให้เงินคงคลังของประเทศยิ่งร่อยหรอ และอาจนำไปสู่การขาดเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว
“ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันจะกระทบถึงความเชื่อมโยงในสังคม และมีผลทางการเมืองด้วยอย่างแน่นอน” แน็กให้สัมภาษณ์กับสื่อสิงคโปร์ ก่อนจะมีการประชุมประจำปีของเอดีบี ที่กรุงมะนิลา ระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคมนี้
หากผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลไม่เร่งขจัดปัญหาเสียแต่วันนี้ “จะมีแรงกดดันเกิดขึ้นภายหลังให้ต้องหันไปใช้นโยบายประชานิยม ซึ่งไม่ใช่ตัวเลือกที่ฉลาดในทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลก็จะถูกบีบให้ต้องมอบสัมปทานแก่เอกชนมากยิ่งขึ้น” แน็กชี้
“แต่หากเราจัดการเสียแต่เนิ่นๆ แรงกดดันเหล่านั้นก็อาจเบาบางลง”
ผลวิจัยที่เอดีบีเผยแพร่ในเดือนนี้เตือนว่า เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียอาจนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมและช่องว่างรายได้ ซึ่งกลุ่มคนด้อยโอกาสจะถูกดึงเข้าไปสู่ “วงจรอุบาทว์” แห่งความยากจน และการถูกละเลยจากภาครัฐ
แน็กชี้ว่า ขั้นตอนแรกที่จะลดปัญหาได้ก็คือ รัฐบาลต้องลดการตรึงราคาเชื้อเพลิง หรือการจ่ายเงินสดช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ โดยนำเงินเหล่านั้นมาพัฒนาระบบสาธารณสุข, การศึกษา และสร้างทุนมนุษย์ (human capital) แทน
“รัฐบาลจะต้องวางค่าใช้จ่ายในด้านสังคมและการป้องกันสังคมอย่างรัดกุม... ต้องมั่นใจว่าการจ่ายเงินอุดหนุนอยู่ในขอบเขตที่พอดี และขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น”
ในภูมิภาคเอเชีย ค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความไม่เท่าเทียมเชิงรายได้ เพิ่มขึ้นจาก 0.33 มาอยู่ที่ 0.46 ภายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากเอดีบีระบุ
“ถ้าระหว่างปี 1990-2010 ที่ผ่านมา ความไม่เท่าเทียมของรายได้อยู่ในอัตราคงที่ เราเชื่อว่า จะมีประชากรไม่น้อยกว่า 240 ล้านคนที่พ้นจากภาวะยากจนแล้ว” แน็กกล่าว
การประชุมประจำปีของเอดีบีซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงมะนิลาเดือนหน้า จะมีรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางเข้าร่วมถึง 67 ประเทศ
ราจัต แน็ก ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการของ เอดีบี ระบุว่า หากประเทศต่างๆ ไม่แก้ไขปัญหาช่องว่างรายได้ จะทำให้พลเมืองเกิดความไม่พอใจ จนในที่สุดรัฐบาลต้องหันไปใช้นโยบายประชานิยมเพื่อซื้อใจพวกเขา
อย่างไรก็ตาม โครงการแบบประชานิยม เช่น การตรึงราคาเชื้อเพลิง หรือมอบเงินทุนช่วยเหลือต่างๆ จะทำให้เงินคงคลังของประเทศยิ่งร่อยหรอ และอาจนำไปสู่การขาดเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว
“ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันจะกระทบถึงความเชื่อมโยงในสังคม และมีผลทางการเมืองด้วยอย่างแน่นอน” แน็กให้สัมภาษณ์กับสื่อสิงคโปร์ ก่อนจะมีการประชุมประจำปีของเอดีบี ที่กรุงมะนิลา ระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคมนี้
หากผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลไม่เร่งขจัดปัญหาเสียแต่วันนี้ “จะมีแรงกดดันเกิดขึ้นภายหลังให้ต้องหันไปใช้นโยบายประชานิยม ซึ่งไม่ใช่ตัวเลือกที่ฉลาดในทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลก็จะถูกบีบให้ต้องมอบสัมปทานแก่เอกชนมากยิ่งขึ้น” แน็กชี้
“แต่หากเราจัดการเสียแต่เนิ่นๆ แรงกดดันเหล่านั้นก็อาจเบาบางลง”
ผลวิจัยที่เอดีบีเผยแพร่ในเดือนนี้เตือนว่า เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียอาจนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมและช่องว่างรายได้ ซึ่งกลุ่มคนด้อยโอกาสจะถูกดึงเข้าไปสู่ “วงจรอุบาทว์” แห่งความยากจน และการถูกละเลยจากภาครัฐ
แน็กชี้ว่า ขั้นตอนแรกที่จะลดปัญหาได้ก็คือ รัฐบาลต้องลดการตรึงราคาเชื้อเพลิง หรือการจ่ายเงินสดช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ โดยนำเงินเหล่านั้นมาพัฒนาระบบสาธารณสุข, การศึกษา และสร้างทุนมนุษย์ (human capital) แทน
“รัฐบาลจะต้องวางค่าใช้จ่ายในด้านสังคมและการป้องกันสังคมอย่างรัดกุม... ต้องมั่นใจว่าการจ่ายเงินอุดหนุนอยู่ในขอบเขตที่พอดี และขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น”
ในภูมิภาคเอเชีย ค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความไม่เท่าเทียมเชิงรายได้ เพิ่มขึ้นจาก 0.33 มาอยู่ที่ 0.46 ภายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากเอดีบีระบุ
“ถ้าระหว่างปี 1990-2010 ที่ผ่านมา ความไม่เท่าเทียมของรายได้อยู่ในอัตราคงที่ เราเชื่อว่า จะมีประชากรไม่น้อยกว่า 240 ล้านคนที่พ้นจากภาวะยากจนแล้ว” แน็กกล่าว
การประชุมประจำปีของเอดีบีซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงมะนิลาเดือนหน้า จะมีรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางเข้าร่วมถึง 67 ประเทศ