(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Murder adds twist to Bo thriller
By Francesco Sisci 11/04/2012
การที่ ป๋อ ซีไหล ถูกดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นทางการ ย่อมเป็นจุดจบแห่งอาชีพการงานทางด้านการเมืองของ “ลูกท่านหลานเธอ” ผู้นี้อย่างไม่ต้องสงสัย ทว่ามันไม่ได้เป็นจุดอวสานของเรื่องราวที่มีความนัยใหม่ๆ ชวนฉงนฉงายอยู่มากมายเรื่องนี้แต่อย่างใดเลย จากการที่ภรรยาซึ่งเป็นนักกฎหมายของ ป๋อ กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่านักธุรกิจชาวอังกฤษผู้หนึ่ง ตลอดจนการที่สหรัฐฯอาจจะได้ข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นหลักฐานอันสำคัญชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนักธุรกิจผู้นี้อยู่ในกำมือ อาจบีบบังคับให้ปักกิ่งจำเป็นต้องใช้จังหวะก้าวที่ค่อนข้างผ่อนปรนกับเพื่อนมิตรในต่างประเทศ และดำเนินฝีก้าวแห่งการปฏิรูปอย่างเด็ดเดี่ยวจริงจังยิ่งขึ้นภายในแดนมังกรเอง
ปักกิ่ง – เรื่องราวของ ป๋อ ซีไหล กำลังกลายเป็นเรื่องตื่นเต้นระทึกขวัญทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีนนับตั้งแต่ตอนที่ หลิน เปียว ถึงแก่ความตายภายใต้สภาพการณ์อันเป็นปริศนาลี้ลับเมื่อปี 1971 หลังจากที่เขาพยายามก่อการรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจาก เหมา เจ๋อตง ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ในห้วงสัปดาห์นี้ได้เกิดพัฒนาการใหม่ๆ ขึ้นในวันอังคารที่ 10 เมษายน โดยที่ ป๋อ ได้ถูกขับออกจากการเป็นสมาชิกในคณะกรรมการกรมการเมือง และในคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตลอดจนถูกดำเนินการสอบสวนโดยคณะกรรมการวินัยของพรรค ก่อนหน้านี้เขาก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่งมาแล้ว
นี่ย่อมเป็นการปิดฉากทางด้านการเมืองสำหรับ “ลูกท่านหลานเธอ” (princeling ในประเทศจีนปัจจุบัน คำๆ นี้หมายถึงพวกลูกหลานของเหล่านักปฏิวัติอาวุโส) ผู้นี้อย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งๆ ที่เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้เอง ยังดูเหมือนกับว่าโชคชะตาจะลิขิตให้ ป๋อ ผู้กำลังพยายามผลักดันนำเอาวาระทางการเมืองแบบ “นักลัทธิเหมาอิสต์ใหม่” (neo-Maoist) เข้ามาใช้ในทั่วประเทศจีน ได้ก้าวผงาดขึ้นไปสู่แวดวงชั้นในสุดและสูงสุดแห่งอำนาจ อย่างไรก็ดี นี่ยังไม่ได้เป็นจุดอวสานของเรื่องราวที่มีความนัยใหม่ๆ ชวนฉงนฉงายอยู่มากมายเรื่องนี้แต่อย่างใด
ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์แดนมังกรกระมัง ที่คณะผู้นำจีนรู้สึกว่ากำลังถูกบีบบังคับให้ต้องคอยบอกกล่าวป่าวร้องอย่างจริงจัง เพื่อให้สาธารณชนทราบถึงพัฒนาการต่างๆ ของการตัดสินใจเรื่องราวภายในพรรค ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกที่ทางพรรคเองไม่อาจควบคุมได้ กล่าวคือ ปักกิ่งย่อมตระหนักเป็นอย่างดีถึงข้อเท็จจริงที่ว่า หวัง ลี่จิว์น (อดีตมือขวาของ ป๋อ ผู้เคยเป็นรองผู้ว่าการฉงชิ่ง และเป็นผู้บัญชาการตำรวจพิทักษ์สันติราษฎร์ของมหานครแห่งนี้ การที่ หวัง พยายามหลบหนีไปพึ่งใบบุญสถานกงสุลอเมริกันในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นั่นเองที่เป็นตัวเปิดเรื่องราวในกรณีนี้ให้สาธารณชนรับทราบ) ได้มอบเอกสารหลักฐานที่มีเนื้อหาอ่อนไหวต่างๆ ให้แก่ฝ่ายสหรัฐฯแล้ว
ปักกิ่งอาจจะไม่ทราบอย่างชัดเจนหรอกว่า หวัง พูดอะไรกับฝ่ายอเมริกันบ้าง และเอกสารหลักฐานที่เขาส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่ในสถานกงสุลสหรัฐฯนั้นมีอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแดนมังกรย่อมไม่ต้องการที่จะเสียหน้า ด้วยการพูดอะไรบางสิ่งบางอย่างที่สหรัฐฯอาจปฏิเสธหรือฉกฉวยหาประโยชน์ได้ ด้วยการใช้เอกสารหลักฐานที่ได้รับจาก หวัง ด้วยเหตุนี้เอง ปักกิ่งจึงดูเหมือนกำลังรู้สึกว่าจะต้องยอมแบหน้าไพ่ของตนต่อสาธารณชนให้มากขึ้น จะต้องยอมเปิดเผยสิ่งที่เป็นกิจการภายในอันละเอียดอ่อน ซึ่งถ้าหากเป็นในอดีตที่ผ่านมาย่อมจะต้องถูกเก็บงำถือเป็นความลับ
แต่ที่กล่าวมานี้เปรียบได้กับเป็นเพียงแค่ผ้าชั้นแรกที่ปกคลุมเรื่องปริศนาลึกลับเรื่องนี้เท่านั้น ยังมีความฉงนฉงายที่เสมือนเป็นผ้าปกคลุมชั้นในๆ ถัดเข้าไปอีก
ความพยายามที่จะหลบหนีของ หวัง คราวนี้ ดูเหมือนว่าจะสืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตภายใต้สภาพการณ์อันน่าสงสัยข้องใจเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนปีที่แล้วของ นีล เฮย์วูด (Neil Heywood) นักธุรกิจชาวอังกฤษวัย 41 ปี ผู้นี้เป็นเพื่อนร่วมงานของภรรยาของป๋อซึ่งมีนามว่า กู่ ไคไหล มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เฮย์วูดยังได้ช่วยเหลือจนทำให้บุตรชายของ ป๋อ ที่ชื่อว่า ป๋อ กวากวา สามารถเข้าไปเรียนในโรงเรียนแฮร์โรว์ สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษซึ่ง เฮย์วูด เป็นศิษย์เก่า
ตามรายงานการสืบสวนสอบสวนในเวอร์ชั่นแรกสุดระบุว่า เฮย์วูด เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย และศพของเขาก็ถูกนำไปเผาในทันที สำหรับมือสอบสวนระดับช่างสงสัยไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เฉกเช่นพวกเจ้าหน้าที่สอบสวนในประเทศจีนแล้ว การเผาศพเช่นนี้ย่อมมีความหมายไม่ต่างอะไรกับการที่ผู้คนซึ่งใกล้ชิดกับ กู่ ยอมรับว่ามีการกระทำความผิด ถ้าหากการเสียชีวิตมีสาเหตุตามธรรมชาติจริงๆ แล้ว ทำไมจึงต้องรีบร้อนเผาศพด้วยล่ะ? คดีดังกล่าวนี้จึงทำให้มีการเริ่มต้นสืบสวนสอบสวนลงลึกโดยที่ กู่ ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นผู้ที่น่าสงสัยอาจจะเป็นฆาตกร การสืบสวนสอบสวนดังกล่าวลงท้ายก็นำไปสู่ความพยายามหลบหนีของ หวัง อย่างไรก็ตาม เมื่อ ป๋อ หล่นลงจากอำนาจ เวลานี้ กู่ จึงกำลังถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการ ว่าวางแผนสังหารและลงมือสังหาร เฮย์วูด ด้วยสาเหตุการพิพาทขัดแย้งกันในเรื่องธุรกิจ ทั้งนี้ตามรายงานข่าวที่เผยแพร่โดยสำนักข่าวซินหวา ของทางการจีนเมื่อวันอังคาร (10) ที่ผ่านมา
กระนั้น เรื่องราวอันลึกลับน่าตื่นใจยังไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ เพราะปรากฏว่า เฮย์วูด นั้น ไม่ใช่เป็นเพียงนักธุรกิจธรรมดาๆ เหมือนกับนักธุรกิจคนอื่นๆ อีกมากมาย บุคคลผู้นี้เคยทำงานให้แก่ เอ็มไอ 6 (MI6) สำนักงานปฏิบัติการด้านข่าวกรองในต่างประเทศของอังกฤษ และเขายังคงรักษาความสัมพันธ์ฉันเพื่อนร่วมงาน กับบริษัทภาคเอกชนที่ให้บริการด้านข่าวกรองรายหนึ่ง โดยที่คนทำงานในบริษัทแห่งนี้เต็มไปด้วยอดีตเจ้าหน้าที่ของเอ็มไอ 6 จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภูมิหลังเช่นนี้ของเฮย์วูด เมื่อบวกกับสถานการณ์อันไม่ชัดเจนที่แวดล้อมการเสียชีวิตของเขา แล้วยังมีเรื่องการพยายามหลบหนีไปพึ่งพาสถานกงสุลสหรัฐฯของผู้บัญชาการตำรวจที่มีตำแหน่งเทียบเท่าระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ เหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดความสงสัยข้องใจแบบทบทวีตรีคูณขึ้นในปักกิ่ง ซึ่งโดยปกติวิสัยไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็มักอยู่ในอาการโรคจิตหวาดระแวงอยู่แล้ว
เรื่องราวที่เกิดขึ้นมา จึงมีกลิ่นเหม็นคลุ้งของการทรยศต่อชาติหันไปสวามิภักดิ์ต่อต่างประเทศ และเกินเลยจากการเป็นแค่เรื่องของความแตกต่างทางนโยบาย หรือเรื่องของการคิดบัญชีแก้เผ็ดกันภายในหมู่คณะผู้นำระดับสูงของจีนเท่านั้น ในทางเป็นจริงแล้ว กรณีนี้ยังเกี่ยวพันกับประเด็นปัญหาอันอ่อนไหวที่สุดบางประการในระบบของจีนในยุคนี้
ผู้นำจีนจำนวนมากในยุคปัจจุบัน กำลังส่งบุตรหลานของพวกเขาไปศึกษาเล่าเรียนในอเมริกาหรือไม่ก็อังกฤษ ขณะเดียวกัน บุตรชาย, ภรรยา, และญาติๆ ของพวกผู้นำจีน ต่างก็มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือมีความสัมพันธ์ทางไมตรีจิตมิตรภาพอยู่กับชาวต่างประเทศ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเหล่านี้บางครั้งก็อาจก่อให้เกิดความสงสัยข้องใจขึ้นมาไม่อย่างไรก็อย่างหนึ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแบ่งแยกไม่ให้บุตรภรรยาและญาติๆ ของพวกผู้นำมีสายสัมพันธ์กับคนต่างชาติ และดังนั้นก็เป็นไปไม่ได้เลยเช่นกันที่จะหยุดยั้งไม่ให้เกิดการติดต่อกันอย่างลับๆ หรือการทำข้อตลงกันอย่างลับๆ ขึ้นมาโดยสิ้นเชิง ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลจีนสามารถพิจารณาได้ในเวลานี้ จึงมีเพียงแค่ว่า ตนเองกำลังอยู่ในสภาพถูกบีบบังคับ และคงต้องต้องเปิดเผยเรื่องต่างๆ โดยตรงต่อฝ่ายอเมริกันให้มากขึ้น --ทั้งนี้เพื่อที่จะได้สามารถควบคุมรอยรั่วช่องโหว่ซึ่งเกิดขึ้นในที่อื่นๆ ต่อไป
สภาพเช่นนี้อาจนำไปสู่การวิวัฒนาการภายในระบบของจีน โดยที่จะมีการเปิดประตูอย่างกว้างขวางมากขึ้นกับสหรัฐฯ ผู้ได้รับการยกย่องกันในปักกิ่งว่า “ทำได้ดี” ในกรณีนี้ ทั้งนี้วอชิงตันไม่เพียงปฏิเสธไม่ยอมให้ หวัง ได้สิทธิเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังไม่ได้เปิดเผยให้สื่อมวลชนทราบถึงเนื้อหาต่างๆ ของสิ่งที่ หวัง พูด หรือของเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เขามอบให้แก่สถานกงสุล ทั้งสองสิ่งนี้หากมีการตีแผ่ออกมาแล้ว อาจสร้างความอับอายขายหน้าแก่ปักกิ่งอย่างรุนแรงได้ทีเดียว
นอกจากนั้น ยังมีข้อควรพิจารณาที่กว้างขวางกว่าที่กล่าวมานี้อีก โดยเป็นสิ่งที่ควรถือเป็นบทเรียนจากกรณีนี้ได้ กล่าวคือ ในห้วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ความท้าทายอันฉกาจฉกรรจ์ที่คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ต้องเผชิญนั้น ล้วนมาจากฝ่ายซ้ายทั้งสิ้น ไล่มาตั้งแต่พวกฝ่าหลุนกงในปี 1999 จนกระทั่งถึง ป๋อ ซีไหล ในเวลานี้ สิ่งนี้น่าจะพิสูจน์บ่งบอกให้เห็นว่าพรรคกำลังสุขุมรอบคอบมากเกินไปแล้วในเรื่องการดำเนินการปฏิรูปของตน และไม่ได้เดินเครื่องการปฏิรูปอย่างรวดเร็วเพียงพอที่จะกลายเป็นการชิงลงมือก่อนความท้าทายเหล่านี้จะปะทุขึ้นมา มาถึงตอนนี้ถ้าหากมีความตระหนักถึงความเป็นจริงในเรื่องนี้แล้ว ก็อาจจะผลักดันให้ต้องลงมือทำการปฏิรูปทางการเมืองอย่างเด็ดเดี่ยวห้าวหาญมากขึ้น
แต่ยังไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องระยะยาวเหล่านี้ก็ได้ ในเฉพาะหน้านี้ยังมีคำถามอีกหลายๆ ข้อเกี่ยวกับการตายของ เฮย์วูด ที่ยังคงไม่มีคำตอบ เป็นต้นว่า ทำไม กู่ จะต้องฆ่าเขา? เพื่อที่จะปิดปากเขาในเรื่องเกี่ยวกับเงินทองหรือ? เรื่องเงินทองนี้ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเกินกว่าจะกลายเป็นแรงจูงใจให้ประกอบอาชญากรรมอันร้ายแรงเช่นนี้ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าจะต้องกระตุ้นความสงสัยข้องใจของรัฐบาลกลางในปักกิ่ง หรือว่ายังมีอะไรอื่นๆ มากกว่านี้อีก?
เราคงจะได้รับรู้อะไรต่ออะไรเพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่านี้ ในช่วงหลายๆ สัปดาห์หรือหลายๆ เดือนข้างหน้า
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail
Murder adds twist to Bo thriller
By Francesco Sisci 11/04/2012
การที่ ป๋อ ซีไหล ถูกดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นทางการ ย่อมเป็นจุดจบแห่งอาชีพการงานทางด้านการเมืองของ “ลูกท่านหลานเธอ” ผู้นี้อย่างไม่ต้องสงสัย ทว่ามันไม่ได้เป็นจุดอวสานของเรื่องราวที่มีความนัยใหม่ๆ ชวนฉงนฉงายอยู่มากมายเรื่องนี้แต่อย่างใดเลย จากการที่ภรรยาซึ่งเป็นนักกฎหมายของ ป๋อ กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่านักธุรกิจชาวอังกฤษผู้หนึ่ง ตลอดจนการที่สหรัฐฯอาจจะได้ข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นหลักฐานอันสำคัญชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนักธุรกิจผู้นี้อยู่ในกำมือ อาจบีบบังคับให้ปักกิ่งจำเป็นต้องใช้จังหวะก้าวที่ค่อนข้างผ่อนปรนกับเพื่อนมิตรในต่างประเทศ และดำเนินฝีก้าวแห่งการปฏิรูปอย่างเด็ดเดี่ยวจริงจังยิ่งขึ้นภายในแดนมังกรเอง
ปักกิ่ง – เรื่องราวของ ป๋อ ซีไหล กำลังกลายเป็นเรื่องตื่นเต้นระทึกขวัญทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีนนับตั้งแต่ตอนที่ หลิน เปียว ถึงแก่ความตายภายใต้สภาพการณ์อันเป็นปริศนาลี้ลับเมื่อปี 1971 หลังจากที่เขาพยายามก่อการรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจาก เหมา เจ๋อตง ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ในห้วงสัปดาห์นี้ได้เกิดพัฒนาการใหม่ๆ ขึ้นในวันอังคารที่ 10 เมษายน โดยที่ ป๋อ ได้ถูกขับออกจากการเป็นสมาชิกในคณะกรรมการกรมการเมือง และในคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตลอดจนถูกดำเนินการสอบสวนโดยคณะกรรมการวินัยของพรรค ก่อนหน้านี้เขาก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่งมาแล้ว
นี่ย่อมเป็นการปิดฉากทางด้านการเมืองสำหรับ “ลูกท่านหลานเธอ” (princeling ในประเทศจีนปัจจุบัน คำๆ นี้หมายถึงพวกลูกหลานของเหล่านักปฏิวัติอาวุโส) ผู้นี้อย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งๆ ที่เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้เอง ยังดูเหมือนกับว่าโชคชะตาจะลิขิตให้ ป๋อ ผู้กำลังพยายามผลักดันนำเอาวาระทางการเมืองแบบ “นักลัทธิเหมาอิสต์ใหม่” (neo-Maoist) เข้ามาใช้ในทั่วประเทศจีน ได้ก้าวผงาดขึ้นไปสู่แวดวงชั้นในสุดและสูงสุดแห่งอำนาจ อย่างไรก็ดี นี่ยังไม่ได้เป็นจุดอวสานของเรื่องราวที่มีความนัยใหม่ๆ ชวนฉงนฉงายอยู่มากมายเรื่องนี้แต่อย่างใด
ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์แดนมังกรกระมัง ที่คณะผู้นำจีนรู้สึกว่ากำลังถูกบีบบังคับให้ต้องคอยบอกกล่าวป่าวร้องอย่างจริงจัง เพื่อให้สาธารณชนทราบถึงพัฒนาการต่างๆ ของการตัดสินใจเรื่องราวภายในพรรค ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกที่ทางพรรคเองไม่อาจควบคุมได้ กล่าวคือ ปักกิ่งย่อมตระหนักเป็นอย่างดีถึงข้อเท็จจริงที่ว่า หวัง ลี่จิว์น (อดีตมือขวาของ ป๋อ ผู้เคยเป็นรองผู้ว่าการฉงชิ่ง และเป็นผู้บัญชาการตำรวจพิทักษ์สันติราษฎร์ของมหานครแห่งนี้ การที่ หวัง พยายามหลบหนีไปพึ่งใบบุญสถานกงสุลอเมริกันในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นั่นเองที่เป็นตัวเปิดเรื่องราวในกรณีนี้ให้สาธารณชนรับทราบ) ได้มอบเอกสารหลักฐานที่มีเนื้อหาอ่อนไหวต่างๆ ให้แก่ฝ่ายสหรัฐฯแล้ว
ปักกิ่งอาจจะไม่ทราบอย่างชัดเจนหรอกว่า หวัง พูดอะไรกับฝ่ายอเมริกันบ้าง และเอกสารหลักฐานที่เขาส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่ในสถานกงสุลสหรัฐฯนั้นมีอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแดนมังกรย่อมไม่ต้องการที่จะเสียหน้า ด้วยการพูดอะไรบางสิ่งบางอย่างที่สหรัฐฯอาจปฏิเสธหรือฉกฉวยหาประโยชน์ได้ ด้วยการใช้เอกสารหลักฐานที่ได้รับจาก หวัง ด้วยเหตุนี้เอง ปักกิ่งจึงดูเหมือนกำลังรู้สึกว่าจะต้องยอมแบหน้าไพ่ของตนต่อสาธารณชนให้มากขึ้น จะต้องยอมเปิดเผยสิ่งที่เป็นกิจการภายในอันละเอียดอ่อน ซึ่งถ้าหากเป็นในอดีตที่ผ่านมาย่อมจะต้องถูกเก็บงำถือเป็นความลับ
แต่ที่กล่าวมานี้เปรียบได้กับเป็นเพียงแค่ผ้าชั้นแรกที่ปกคลุมเรื่องปริศนาลึกลับเรื่องนี้เท่านั้น ยังมีความฉงนฉงายที่เสมือนเป็นผ้าปกคลุมชั้นในๆ ถัดเข้าไปอีก
ความพยายามที่จะหลบหนีของ หวัง คราวนี้ ดูเหมือนว่าจะสืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตภายใต้สภาพการณ์อันน่าสงสัยข้องใจเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนปีที่แล้วของ นีล เฮย์วูด (Neil Heywood) นักธุรกิจชาวอังกฤษวัย 41 ปี ผู้นี้เป็นเพื่อนร่วมงานของภรรยาของป๋อซึ่งมีนามว่า กู่ ไคไหล มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เฮย์วูดยังได้ช่วยเหลือจนทำให้บุตรชายของ ป๋อ ที่ชื่อว่า ป๋อ กวากวา สามารถเข้าไปเรียนในโรงเรียนแฮร์โรว์ สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษซึ่ง เฮย์วูด เป็นศิษย์เก่า
ตามรายงานการสืบสวนสอบสวนในเวอร์ชั่นแรกสุดระบุว่า เฮย์วูด เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย และศพของเขาก็ถูกนำไปเผาในทันที สำหรับมือสอบสวนระดับช่างสงสัยไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เฉกเช่นพวกเจ้าหน้าที่สอบสวนในประเทศจีนแล้ว การเผาศพเช่นนี้ย่อมมีความหมายไม่ต่างอะไรกับการที่ผู้คนซึ่งใกล้ชิดกับ กู่ ยอมรับว่ามีการกระทำความผิด ถ้าหากการเสียชีวิตมีสาเหตุตามธรรมชาติจริงๆ แล้ว ทำไมจึงต้องรีบร้อนเผาศพด้วยล่ะ? คดีดังกล่าวนี้จึงทำให้มีการเริ่มต้นสืบสวนสอบสวนลงลึกโดยที่ กู่ ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นผู้ที่น่าสงสัยอาจจะเป็นฆาตกร การสืบสวนสอบสวนดังกล่าวลงท้ายก็นำไปสู่ความพยายามหลบหนีของ หวัง อย่างไรก็ตาม เมื่อ ป๋อ หล่นลงจากอำนาจ เวลานี้ กู่ จึงกำลังถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการ ว่าวางแผนสังหารและลงมือสังหาร เฮย์วูด ด้วยสาเหตุการพิพาทขัดแย้งกันในเรื่องธุรกิจ ทั้งนี้ตามรายงานข่าวที่เผยแพร่โดยสำนักข่าวซินหวา ของทางการจีนเมื่อวันอังคาร (10) ที่ผ่านมา
กระนั้น เรื่องราวอันลึกลับน่าตื่นใจยังไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ เพราะปรากฏว่า เฮย์วูด นั้น ไม่ใช่เป็นเพียงนักธุรกิจธรรมดาๆ เหมือนกับนักธุรกิจคนอื่นๆ อีกมากมาย บุคคลผู้นี้เคยทำงานให้แก่ เอ็มไอ 6 (MI6) สำนักงานปฏิบัติการด้านข่าวกรองในต่างประเทศของอังกฤษ และเขายังคงรักษาความสัมพันธ์ฉันเพื่อนร่วมงาน กับบริษัทภาคเอกชนที่ให้บริการด้านข่าวกรองรายหนึ่ง โดยที่คนทำงานในบริษัทแห่งนี้เต็มไปด้วยอดีตเจ้าหน้าที่ของเอ็มไอ 6 จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภูมิหลังเช่นนี้ของเฮย์วูด เมื่อบวกกับสถานการณ์อันไม่ชัดเจนที่แวดล้อมการเสียชีวิตของเขา แล้วยังมีเรื่องการพยายามหลบหนีไปพึ่งพาสถานกงสุลสหรัฐฯของผู้บัญชาการตำรวจที่มีตำแหน่งเทียบเท่าระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ เหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดความสงสัยข้องใจแบบทบทวีตรีคูณขึ้นในปักกิ่ง ซึ่งโดยปกติวิสัยไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็มักอยู่ในอาการโรคจิตหวาดระแวงอยู่แล้ว
เรื่องราวที่เกิดขึ้นมา จึงมีกลิ่นเหม็นคลุ้งของการทรยศต่อชาติหันไปสวามิภักดิ์ต่อต่างประเทศ และเกินเลยจากการเป็นแค่เรื่องของความแตกต่างทางนโยบาย หรือเรื่องของการคิดบัญชีแก้เผ็ดกันภายในหมู่คณะผู้นำระดับสูงของจีนเท่านั้น ในทางเป็นจริงแล้ว กรณีนี้ยังเกี่ยวพันกับประเด็นปัญหาอันอ่อนไหวที่สุดบางประการในระบบของจีนในยุคนี้
ผู้นำจีนจำนวนมากในยุคปัจจุบัน กำลังส่งบุตรหลานของพวกเขาไปศึกษาเล่าเรียนในอเมริกาหรือไม่ก็อังกฤษ ขณะเดียวกัน บุตรชาย, ภรรยา, และญาติๆ ของพวกผู้นำจีน ต่างก็มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือมีความสัมพันธ์ทางไมตรีจิตมิตรภาพอยู่กับชาวต่างประเทศ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเหล่านี้บางครั้งก็อาจก่อให้เกิดความสงสัยข้องใจขึ้นมาไม่อย่างไรก็อย่างหนึ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแบ่งแยกไม่ให้บุตรภรรยาและญาติๆ ของพวกผู้นำมีสายสัมพันธ์กับคนต่างชาติ และดังนั้นก็เป็นไปไม่ได้เลยเช่นกันที่จะหยุดยั้งไม่ให้เกิดการติดต่อกันอย่างลับๆ หรือการทำข้อตลงกันอย่างลับๆ ขึ้นมาโดยสิ้นเชิง ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลจีนสามารถพิจารณาได้ในเวลานี้ จึงมีเพียงแค่ว่า ตนเองกำลังอยู่ในสภาพถูกบีบบังคับ และคงต้องต้องเปิดเผยเรื่องต่างๆ โดยตรงต่อฝ่ายอเมริกันให้มากขึ้น --ทั้งนี้เพื่อที่จะได้สามารถควบคุมรอยรั่วช่องโหว่ซึ่งเกิดขึ้นในที่อื่นๆ ต่อไป
สภาพเช่นนี้อาจนำไปสู่การวิวัฒนาการภายในระบบของจีน โดยที่จะมีการเปิดประตูอย่างกว้างขวางมากขึ้นกับสหรัฐฯ ผู้ได้รับการยกย่องกันในปักกิ่งว่า “ทำได้ดี” ในกรณีนี้ ทั้งนี้วอชิงตันไม่เพียงปฏิเสธไม่ยอมให้ หวัง ได้สิทธิเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังไม่ได้เปิดเผยให้สื่อมวลชนทราบถึงเนื้อหาต่างๆ ของสิ่งที่ หวัง พูด หรือของเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เขามอบให้แก่สถานกงสุล ทั้งสองสิ่งนี้หากมีการตีแผ่ออกมาแล้ว อาจสร้างความอับอายขายหน้าแก่ปักกิ่งอย่างรุนแรงได้ทีเดียว
นอกจากนั้น ยังมีข้อควรพิจารณาที่กว้างขวางกว่าที่กล่าวมานี้อีก โดยเป็นสิ่งที่ควรถือเป็นบทเรียนจากกรณีนี้ได้ กล่าวคือ ในห้วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ความท้าทายอันฉกาจฉกรรจ์ที่คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ต้องเผชิญนั้น ล้วนมาจากฝ่ายซ้ายทั้งสิ้น ไล่มาตั้งแต่พวกฝ่าหลุนกงในปี 1999 จนกระทั่งถึง ป๋อ ซีไหล ในเวลานี้ สิ่งนี้น่าจะพิสูจน์บ่งบอกให้เห็นว่าพรรคกำลังสุขุมรอบคอบมากเกินไปแล้วในเรื่องการดำเนินการปฏิรูปของตน และไม่ได้เดินเครื่องการปฏิรูปอย่างรวดเร็วเพียงพอที่จะกลายเป็นการชิงลงมือก่อนความท้าทายเหล่านี้จะปะทุขึ้นมา มาถึงตอนนี้ถ้าหากมีความตระหนักถึงความเป็นจริงในเรื่องนี้แล้ว ก็อาจจะผลักดันให้ต้องลงมือทำการปฏิรูปทางการเมืองอย่างเด็ดเดี่ยวห้าวหาญมากขึ้น
แต่ยังไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องระยะยาวเหล่านี้ก็ได้ ในเฉพาะหน้านี้ยังมีคำถามอีกหลายๆ ข้อเกี่ยวกับการตายของ เฮย์วูด ที่ยังคงไม่มีคำตอบ เป็นต้นว่า ทำไม กู่ จะต้องฆ่าเขา? เพื่อที่จะปิดปากเขาในเรื่องเกี่ยวกับเงินทองหรือ? เรื่องเงินทองนี้ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเกินกว่าจะกลายเป็นแรงจูงใจให้ประกอบอาชญากรรมอันร้ายแรงเช่นนี้ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าจะต้องกระตุ้นความสงสัยข้องใจของรัฐบาลกลางในปักกิ่ง หรือว่ายังมีอะไรอื่นๆ มากกว่านี้อีก?
เราคงจะได้รับรู้อะไรต่ออะไรเพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่านี้ ในช่วงหลายๆ สัปดาห์หรือหลายๆ เดือนข้างหน้า
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail