เอเจนซีส์ - เอสแอนด์พี บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายยักษ์ ประกาศลดเครดิตกรีซสู่ระดับ “ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน” อันเป็นผลจากข้อตกลงสวอปหนี้กับภาคเอกชนล่าสุด แล้วเลยทำให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ต้องเลิกรับพันธบัตรกรีซเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตามยังมีข่าวดีอยู่บ้าง โดยสภาเยอรมนียอมผ่านแผนการอัดฉีดเงินช่วยเหลือรอบสองให้เอเธนส์
เมื่อวันจันทร์ (27) สภาผู้แทนเยอรมนีหรือบุนเดสแท็ก ลงมติด้วยคะแนน 496-90 งดออกเสียง 5 รับรองแผนการให้เงินช่วยเหลือกรีซรอบสองมูลค่า 130,000 ล้านยูโร ซึ่งแม้เป็นชัยชนะขาดลอย แต่น่าสังเกตว่าคะแนนจากพรรคร่วมรัฐบาลกลาง-ขวามีเพียง 304 จาก 330
ครั้งนี้ ส.ส.กบฏในพรรคร่วมรัฐบาลออกเสียงคัดค้าน 17 คน เพิ่มจาก 13 คนที่เคยคัดค้านในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ตอนที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล เสนอขยายกองทุนฟื้นฟูยูโรโซน
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ผลการลงคะแนนคราวนี้อาจบ่อนทำลายอำนาจทางการเมืองของแมร์เคิล รวมทั้งเป็นการบั่นทอนแผนการระดมเพิ่มเงินกองทุนเพื่อเสริมสร้างปราการการเงินปกป้องยุโรป อันเป็นสิ่งที่นานาชาติกำลังกดดันเรียกร้องจากเบอร์ลินหนักหน่วงขึ้นทุกที
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังของกลุ่ม 20 ชาติเศรษฐกิจชั้นนำ (จี 20) ไล่บี้เยอรมนีให้เลิกคัดค้านการมีกองทุนรักษาเสถียรภาพยุโรปที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยที่พวกเขาระบุว่าประเทศอื่นๆ จะให้เงินทุนเพิ่มแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อให้พรักพร้อมรับมือกับวิกฤตที่อาจขยายตัว ก็หลังจากที่ยุโรปต้องอัดฉีดเงินเพิ่มในกองทุนของยุโรปเองก่อน
มาในวันจันทร์ โฆเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป สำทับว่า การตัดสินใจเรื่องการเพิ่มเงินสนับสนุนกองทุนรักษาเสถียรภาพยุโรปน่าจะลุล่วงภายในเดือนมีนาคม
สำหรับแผนการที่สภาเยอรมนีรับรองให้ผ่านคราวนี้ เป็นแผนการปล่อยเงินกู้ก้อนที่ 2 ของอียู/ไอเอ็มเอฟ ซึ่งผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมอียูและไอเอ็มเอฟไปแล้ว ทว่ามีกฎหมายของบางประเทศสมาชิกอียู เป็นต้นว่า เยอรมนีกำหนดให้ต้องนำมาให้รัฐสภาของประเทศตนรับรองก่อน
ทั้งนี้ แมร์เคิลแถลงก่อนสภาลงมติว่า ไม่อาจรับประกันได้ 100% ว่าเงินช่วยเหลือกรีซก้อนใหม่จะได้ผล แต่ปฏิเสธเสียงเรียกร้องของ ส.ส.กบฏที่ให้ปล่อยเอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้และออกจากยูโรโซน
ผู้นำเมืองเบียร์แจงว่า หากแผนปรับโครงสร้างหนี้ตามความสมัครใจของกรีซสำเร็จ ความเสี่ยงที่วิกฤตจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ จะลดลง โดยขณะนี้ต้องรอดูผลกันต่อไป
กรีซนั้นเริ่ม “สวอป” ซึ่งก็คือนำเอาพันธบัตรใหม่มาแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรเก่าที่พวกเจ้าหนี้ภาคเอกชนถือครองอยู่ อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ผ่านมา (25) โดยจากการสวอปนี้ พวกเจ้าหนี้เอกชนจะต้องรับยอดขาดทุนที่แท้จริงราว 74% ของมูลค่าพันธบัตรที่ถือครอง
ถ้ามีเจ้าหนี้ที่ตกลงสวอปเป็นจำนวนมากพอ กรีซจะมีอำนาจในการบีบให้เจ้าหนี้ที่ไม่ยอมสวอปหนี้ตามความสมัครใจยอมรับเงื่อนไขภายใต้มาตรา collective action clauses (ซีเอซี) ที่บังคับให้ผู้ถือครองพันธบัตรทุกรายต้องนำพันธบัตรมาแลกเปลี่ยน
แต่มาตราดังกล่าวก็ทำให้สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ดำเนินรอยตามฟิตช์ ที่ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของกรีซ ลงไประดับที่สูงกว่าระดับ “ผิดนัดชำระหนี้” เพียง 1 ขั้นเมื่อสัปดาห์แล้ว
ทั้งนี้ เอสแอนด์พีแถลงเมื่อวันจันทร์ว่า ลดอันดับกรีซจากระดับ CC ซึ่งเท่ากับเป็นพันธบัตรขยะ (junk bond) ไปแล้ว ลงมาเป็น SD (selective default ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน) เนื่องจากมาตรการซีเอซีที่มีผลย้อนหลังเช่นนี้ทำให้ข้อตกลงหนี้ดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ที่น่ากังวล ซึ่งจะลดอำนาจในการต่อรองของผู้ถือตราสารหนี้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวนี้เป็นที่คาดการณ์อย่างกว้างขวางอยู่แล้ว และเอสแอนด์พียังสำทับว่า หลังจากข้อตกลงสวอปหนี้เสร็จสิ้น อาจขยับเรตติ้งกรีซขึ้นมาอยู่ที่ CCC ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าก่อนลงสู่ SD ด้วยซ้ำ
กระนั้น ธนาคารกลางยุโรปได้ออกมาแถลงในวันอังคาร (28) ว่า จากการที่พันธบัตรกรีซมีเรตติ้งในระดับ SD ทำให้อีซีบีต้องปฏิเสธไม่ยอมรับตราสารหนี้รัฐบาลชนิดนี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นการชั่วคราว
เวลานี้พวกธนาคารกรีซนั่นเองคือพวกที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศตนเอาไว้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแบงก์เหล่านี้ยังต้องพึ่งพาอาศัยช่องทางการรีไฟแนนซ์ของอีซีบี จึงยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
อีซีบีกำลังพยายามแก้ปัญหาสินเชื่อตึงตัวอย่างหนักในระบบการเงินของชาติยูโรโซน โดยประกาศมาตรการปล่อยกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ ให้แก่ธนาคารต่างๆ อยู่เป็นระยะๆ ทว่าแบงก์เหล่านี้จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้นว่า พันธบัตรรัฐบาล
ดังนั้น การที่อีซีบีไม่ยอมรับพันธบัตรรัฐบาลกรีซอีกต่อไป จึงสร้างความลำบากให้แก่ธนาคารทั้งหลายของกรีซ อย่างไรก็ตาม ในคำแถลงวันอังคารของอีซีบีระบุว่า หากธนาคารแห่งใดไม่สามารถกู้เงินจากอีซีบีสืบเนืองจากการหยุดรับพันธบัตรกรีซเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว พวกเขายังจะสามารถไปขอกู้จากธนาคารกลางของพวกเขาได้ ภายใต้ข้อกำหนดในการช่วยเหลือฉุกเฉิน
อีซีบียังแสดงความคาดหมายว่า พันธบัตรกรีซน่าจะกลับมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ใหม่อีกครั้งประมาณกลางเดือนมีนาคมนี้ เมื่อข้อตกลงเรื่องการสวอปพันธบัตรเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
เมื่อวันจันทร์ (27) สภาผู้แทนเยอรมนีหรือบุนเดสแท็ก ลงมติด้วยคะแนน 496-90 งดออกเสียง 5 รับรองแผนการให้เงินช่วยเหลือกรีซรอบสองมูลค่า 130,000 ล้านยูโร ซึ่งแม้เป็นชัยชนะขาดลอย แต่น่าสังเกตว่าคะแนนจากพรรคร่วมรัฐบาลกลาง-ขวามีเพียง 304 จาก 330
ครั้งนี้ ส.ส.กบฏในพรรคร่วมรัฐบาลออกเสียงคัดค้าน 17 คน เพิ่มจาก 13 คนที่เคยคัดค้านในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ตอนที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล เสนอขยายกองทุนฟื้นฟูยูโรโซน
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ผลการลงคะแนนคราวนี้อาจบ่อนทำลายอำนาจทางการเมืองของแมร์เคิล รวมทั้งเป็นการบั่นทอนแผนการระดมเพิ่มเงินกองทุนเพื่อเสริมสร้างปราการการเงินปกป้องยุโรป อันเป็นสิ่งที่นานาชาติกำลังกดดันเรียกร้องจากเบอร์ลินหนักหน่วงขึ้นทุกที
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังของกลุ่ม 20 ชาติเศรษฐกิจชั้นนำ (จี 20) ไล่บี้เยอรมนีให้เลิกคัดค้านการมีกองทุนรักษาเสถียรภาพยุโรปที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยที่พวกเขาระบุว่าประเทศอื่นๆ จะให้เงินทุนเพิ่มแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อให้พรักพร้อมรับมือกับวิกฤตที่อาจขยายตัว ก็หลังจากที่ยุโรปต้องอัดฉีดเงินเพิ่มในกองทุนของยุโรปเองก่อน
มาในวันจันทร์ โฆเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป สำทับว่า การตัดสินใจเรื่องการเพิ่มเงินสนับสนุนกองทุนรักษาเสถียรภาพยุโรปน่าจะลุล่วงภายในเดือนมีนาคม
สำหรับแผนการที่สภาเยอรมนีรับรองให้ผ่านคราวนี้ เป็นแผนการปล่อยเงินกู้ก้อนที่ 2 ของอียู/ไอเอ็มเอฟ ซึ่งผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมอียูและไอเอ็มเอฟไปแล้ว ทว่ามีกฎหมายของบางประเทศสมาชิกอียู เป็นต้นว่า เยอรมนีกำหนดให้ต้องนำมาให้รัฐสภาของประเทศตนรับรองก่อน
ทั้งนี้ แมร์เคิลแถลงก่อนสภาลงมติว่า ไม่อาจรับประกันได้ 100% ว่าเงินช่วยเหลือกรีซก้อนใหม่จะได้ผล แต่ปฏิเสธเสียงเรียกร้องของ ส.ส.กบฏที่ให้ปล่อยเอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้และออกจากยูโรโซน
ผู้นำเมืองเบียร์แจงว่า หากแผนปรับโครงสร้างหนี้ตามความสมัครใจของกรีซสำเร็จ ความเสี่ยงที่วิกฤตจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ จะลดลง โดยขณะนี้ต้องรอดูผลกันต่อไป
กรีซนั้นเริ่ม “สวอป” ซึ่งก็คือนำเอาพันธบัตรใหม่มาแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรเก่าที่พวกเจ้าหนี้ภาคเอกชนถือครองอยู่ อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ผ่านมา (25) โดยจากการสวอปนี้ พวกเจ้าหนี้เอกชนจะต้องรับยอดขาดทุนที่แท้จริงราว 74% ของมูลค่าพันธบัตรที่ถือครอง
ถ้ามีเจ้าหนี้ที่ตกลงสวอปเป็นจำนวนมากพอ กรีซจะมีอำนาจในการบีบให้เจ้าหนี้ที่ไม่ยอมสวอปหนี้ตามความสมัครใจยอมรับเงื่อนไขภายใต้มาตรา collective action clauses (ซีเอซี) ที่บังคับให้ผู้ถือครองพันธบัตรทุกรายต้องนำพันธบัตรมาแลกเปลี่ยน
แต่มาตราดังกล่าวก็ทำให้สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ดำเนินรอยตามฟิตช์ ที่ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของกรีซ ลงไประดับที่สูงกว่าระดับ “ผิดนัดชำระหนี้” เพียง 1 ขั้นเมื่อสัปดาห์แล้ว
ทั้งนี้ เอสแอนด์พีแถลงเมื่อวันจันทร์ว่า ลดอันดับกรีซจากระดับ CC ซึ่งเท่ากับเป็นพันธบัตรขยะ (junk bond) ไปแล้ว ลงมาเป็น SD (selective default ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน) เนื่องจากมาตรการซีเอซีที่มีผลย้อนหลังเช่นนี้ทำให้ข้อตกลงหนี้ดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ที่น่ากังวล ซึ่งจะลดอำนาจในการต่อรองของผู้ถือตราสารหนี้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวนี้เป็นที่คาดการณ์อย่างกว้างขวางอยู่แล้ว และเอสแอนด์พียังสำทับว่า หลังจากข้อตกลงสวอปหนี้เสร็จสิ้น อาจขยับเรตติ้งกรีซขึ้นมาอยู่ที่ CCC ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าก่อนลงสู่ SD ด้วยซ้ำ
กระนั้น ธนาคารกลางยุโรปได้ออกมาแถลงในวันอังคาร (28) ว่า จากการที่พันธบัตรกรีซมีเรตติ้งในระดับ SD ทำให้อีซีบีต้องปฏิเสธไม่ยอมรับตราสารหนี้รัฐบาลชนิดนี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นการชั่วคราว
เวลานี้พวกธนาคารกรีซนั่นเองคือพวกที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศตนเอาไว้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแบงก์เหล่านี้ยังต้องพึ่งพาอาศัยช่องทางการรีไฟแนนซ์ของอีซีบี จึงยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
อีซีบีกำลังพยายามแก้ปัญหาสินเชื่อตึงตัวอย่างหนักในระบบการเงินของชาติยูโรโซน โดยประกาศมาตรการปล่อยกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ ให้แก่ธนาคารต่างๆ อยู่เป็นระยะๆ ทว่าแบงก์เหล่านี้จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้นว่า พันธบัตรรัฐบาล
ดังนั้น การที่อีซีบีไม่ยอมรับพันธบัตรรัฐบาลกรีซอีกต่อไป จึงสร้างความลำบากให้แก่ธนาคารทั้งหลายของกรีซ อย่างไรก็ตาม ในคำแถลงวันอังคารของอีซีบีระบุว่า หากธนาคารแห่งใดไม่สามารถกู้เงินจากอีซีบีสืบเนืองจากการหยุดรับพันธบัตรกรีซเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว พวกเขายังจะสามารถไปขอกู้จากธนาคารกลางของพวกเขาได้ ภายใต้ข้อกำหนดในการช่วยเหลือฉุกเฉิน
อีซีบียังแสดงความคาดหมายว่า พันธบัตรกรีซน่าจะกลับมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ใหม่อีกครั้งประมาณกลางเดือนมีนาคมนี้ เมื่อข้อตกลงเรื่องการสวอปพันธบัตรเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว