(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Nuclear drive defies cloud
By Suvendrini Kakuchi
19/01/2012
ญี่ปุ่นกำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ โดยมีเกาหลีใต้เป็นคู่แข่งรายสำคัญ ในการช่วงชิงให้ได้สัญญาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างแดน ไล่ตั้งแต่อินเดียและบังกลาเทศ ไปจนถึงตุรกีและเวียดนาม ถึงแม้ภายในแดนอาทิตย์อุทัยและแดนโสมขาวเอง กำลังมีกระแสต่อต้านเป็นปรปักษ์ต่อโรงไฟฟ้าปรมาณูเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังกรณีภัยพิบัติฟุกุชิมะเมื่อปีที่แล้ว
โตเกียว – ญี่ปุ่นกำลังวางแผนเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์และบริการทางนิวเคลียร์ด้านพลเรือนไปต่างแดน ในขณะที่ยังต้องพยายามปลอบขวัญเอาอกเอาใจประชาชนภายในประเทศตนเอง ซึ่งมีความโกรธกริ้วขุ่นเคืองอย่างแรงต่อกรณีรังสีอันตรายรั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ซึ่งได้รับความเสียหายหนักภายหลังประสบเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงและคลื่นยักษ์สึนามึ เมื่อวันที่ 11 มีนาคมปีที่แล้ว
“เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการที่ญี่ปุ่นกำลังดำเนินขั้นตอนเกี่ยวกับ (การส่งออก) สิ่งอันตรายเหล่านี้ ก็คือเพื่อช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจและอิทธิพลบารมีทางการทูตในบรรดาประเทศกำลังพัฒนา” ยูกิ ทานาเบะ (Yuki Tanabe) ผู้เชี่ยวชาญผู้หนึ่งของศูนย์ญี่ปุ่นเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอันยั่งยืน (Japan Center for a Sustainable Environment and Society ใช้อักษรย่อว่า JACSES) กล่าวให้ความเห็น
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ร่างกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับการอนุญาตให้ส่งออกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปยังเวียดนามและจอร์แดน ในรูปลักษณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงร่วมมือกันระดับทวิภาคี ได้ผ่านการเห็นชอบในขั้นคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว
นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ ของญี่ปุ่น อธิบายถึงความถูกต้องชอบธรรมของข้อตกลงดังกล่าว โดยระบุว่า ประเทศเหล่านี้ “กำลังต้องการเทคโนโลยีระดับสูงของญี่ปุ่นมากเหลือเกิน” แต่โนดะก็กล่าวอย่างยอมรับอยู่ในทีว่า ญี่ปุ่นยังจะต้องช่วยเหลือในเรื่อง “การเพิ่มความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในประเทศเหล่านี้ด้วย”
ข้อตกลงทำนองนี้ซึ่งญี่ปุ่นยังกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำกับประเทศอื่นๆ อีกหลายรายด้วย เป็นต้นว่า อินเดีย, บังกลาเทศ, และตุรกี มีเนื้อหากำหนดให้ทางบริษัทญี่ปุ่นเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่การก่อสร้างโรงไฟฟ้า ไปจนถึงการดำเนินงานและการบริหารโรงไฟฟ้าภายหลังสร้างเสร็จ
พวกนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นและในหมู่ประเทศที่เจรจาทำข้อตกลงกับแดนอาทิตย์อุทัย กำลังจับมือกันเพื่อคัดค้านโครงการเหล่านี้ โดยที่การรณรงค์ของพวกเขากำลังดำเนินไปอย่างคึกคักและเป็นที่สนใจรับฟังของฝ่ายต่างๆ สืบเนื่องจากกรณีรังสีอันตรายรั่วไหลที่ฟุกุชิมะ
นักเคลื่อนไหวเหล่านี้ชี้ว่า นอกเหนือจากกัมมันตภาพรังสีที่ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่งแล้ว ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังสามารถที่จะพุ่งสูงลิบลิ่วอีกด้วย ดังที่เห็นได้อย่างชัดเจนเหลือเกินในญี่ปุ่นในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
การปนเปื้อนทางรังสีภายหลังการหลอมละลายของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ บังคับให้ต้องอพยพประชาชนกว่า 150,000 คนที่พำนักอาศัยอยู่ใกล้ๆ โรงไฟฟ้า
นอกจากนั้น ที่ดินเพื่อการเกษตรเป็นหมื่นๆ เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์เท่ากับประมาณ 6.25 ไร่) ยังถูกประกาศว่าเป็นอันตรายไม่สามารถใช้ในการผลิตอาหาร การทดสอบหลายๆ ครั้งที่กระทำในเดือนนี้เองในเขตทะเลรอบๆ โรงไฟฟ้า ยังคงบ่งบอกว่ามีรังสีปนเปื้อนในทรัพยากรทางทะเลชนิดต่างๆ ทำให้ยังนำมาใช้รับประทานไม่ได้
บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (Tokyo Electric Power Company หรือ TEPCO) ผู้ดำเนินการเตาปฏิกรณ์ที่ฟุกุชิมะ เวลานี้กำลังย่ำแย่หนักโดยอาจจะต้องจ่ายเงินชดเชยเป็นมูลค่ามากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บังคับให้บริษัทต้องพยายามขอร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ
ประเด็นปัญหายุ่งยากลำบากดังกล่าวเหล่านี้ ได้ถูกนำมาย้ำเน้นระหว่างการประชุมต่อต้านนิวเคลียร์ในสัปดาห์นี้ที่เมืองโยกาฮามา ซึ่งจัดโดยบรรดาองค์กรระดับรากหญ้าทั้งที่เป็นของญี่ปุ่นและของนานาประเทศ พวกเขาเหล่านี้กำลังพยายามล็อบบี้เพื่อให้โลกเราปลอดจากนิวเคลียร์ ในที่ประชุม มีวิทยากรจากชาติต่างๆ เป็นต้นว่า เกาหลีใต้, แคนาดา, และสหภาพยุโรป นำเสนอกรณีตัวอย่างต่างๆ ซึ่งวาดภาพให้เห็นว่า ประชามติภายในประเทศจำนวนมากกำลังต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์อย่างแรงกล้า
ประฟุล บิดวาย (Praful Bidwai) นักรณรงค์เพื่อพลังงานหมุนเวียนที่ปลอดภัยชาวอินเดีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในระดับนาชาติ ได้อธิบายให้เห็นความสำคัญของการที่ประชาชนท้องถิ่นผู้พำนักอาศัยอยู่ใกล้ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหลาย ต้องทำการประท้วงและชุมนุมเดินขบวนอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานของอินเดียประมาณ 3% เท่านั้นที่ได้จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทว่ารัฐบาลวางแผนการที่จะเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวให้สูงขึ้นเป็น 20% ภายในปี 2020 ด้วยเหตุผลว่าเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า
บิดวายบอกว่า อินเดียยังไม่ได้ลงนามเข้าร่วมในสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายนิวเคลียร์ (Nuclear Non-proliferation Treaty) แถมผลงานในอดีตเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ก็ย่ำแย่ โดยที่เกิดอุบัติเหตุ, ไฟไหม้, การระเบิด, และน้ำที่มีสารกัมมันตภาพรังสีกระฉอกออกมา หลายต่อหลายครั้ง ทำให้คนงานและสาธารณชนมีความเสี่ยงที่จะได้รับรังสี
เมื่อเดือนตุลาคม 2011 นายกฯโนดะของญี่ปุ่น และรัฐมนตรีต่างประเทศ โซมานาฮัลลี กฤษณา (Somanahalli Krishna) ของอินเดีย ได้ตกลงเห็นพ้องกันให้ฟื้นฟูการเจรจาหารือในเรื่องวิธีสร้างเงื่อนไขอันเหมาะสมเพื่อการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดีย ในการส่งเสริมสนับสนุนพลังปรมาณูเพื่อสันติ
เจ้าหน้าที่ทางการตลอดจนภาคธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ต่างบอกว่าการส่งออกนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นไปยังต่างประเทศจะต้องดำเนินต่อไป พร้อมกันนั้นพวกเขายังชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันอันดุดันที่มาจากทางเกาหลีใต้
ทว่า คิม เฮยุง (Kim Heyung) แห่งขบวนการสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้คัดค้านไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ (South Korean Environment Movement against Nuclear Power) ได้อธิบายต่อที่ประชุมในโยโกฮามาว่า อุบัติภัยนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ ได้ทำให้สาธารณชนชาวโสมขาวบังเกิดความตื่นตัวเพิ่มขึ้นมากเกี่ยวอันตรายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผลการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่า ชาวเกาหลีใต้ถึง 68% คัดค้านการสร้างเตาปฏิกรณ์เครื่องใหม่เพิ่มเติม อันเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าประชาชนไม่สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่อีก 6 โรงตามแผนการของรัฐบาล
เกาหลีใต้นั้นได้ลงนามในสัญญาส่งออกนิวเคลียร์ฉบับใหม่กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปเมื่อปีที่แล้ว และกำลังแข่งขันกับญี่ปุ่นอยู่ในฟินแลนด์เพื่อให้ได้งานด้านนิวเคลียร์ในประเทศนั้น
มองโกเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่อุดมด้วยแร่ยูเรเนียม ก็กำลังกลายเป็นจุดศูนย์รวมอีกจุดหนึ่งในการอภิปรายถถกเถียงกันเกี่ยวกับผลดีผลเสียของพลังงานนิวเคลียร์ ภายหลังจากมีรายงานข่าวหลายกระแสในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วว่า ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯกำลังวางแผนก่อสร้างโรงเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้ต่อไม่ได้แล้วในประเทศนี้
เซลเง ละคักวาเจฟ (Selnge Lkhagvajav) สมาชิกผู้หนึ่งของพรรคกรีนมองโกเลีย (Mongolian Green Party) ซึ่งเพิ่งดำเนินการคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จนประสบความสำเร็จ บอกกับที่ประชุมในโยโกฮามาว่า ประเทศของเธอไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญหรือเทคโนโลยี ที่สามารถรองรับจัดการกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือขยะนิวเคลียร์ได้
“พวกประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มองว่ากฎหมายข้อบังคับต่างๆ ของมองโกเลียยังย่อหย่อนมาก จึงเหมาะแก่การใช้เป็นสถานที่ทิ้งขยะของเสียนิวเคลียร์ เราจะต้องต่อสู้เพื่อคัดค้านความเคลื่อนไหวเช่นนี้” เธอกล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service หรือ IPS)
แม้กระทั่งญี่ปุ่น ซึ่งเวลานี้ต้องพึ่งพาออาศัยไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เท่ากับประมาณ 30% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ทั้งหมด ยังกำลังให้สัญญาแก่ประชาชนของตนว่า จะบังคับใช้มาตรการอันเข้มงวดต่างๆ เพื่อยกระดับความคุ้มครองปลอดภัย จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุแบบฟุกุชิมะขึ้นมา ทว่า ทานาเบะแห่ง JACSES ชี้ว่ามาตรการดังกล่าวเหล่านี้ไม่มีประโยชน์อันแท้จริงอะไรหรอก
ในเวลาเดียวกัน การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหลายถูกสั่งให้ทำการทดสอบอย่างต่อเนื่องในเรื่องความสามารถในการรับอุบัติเหตุ กำลังทำให้ผลผลิตพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นลดลงอย่างฮวบฮาบ พวกนักเคลื่อนไหวมองเรื่องนี้ว่าเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศชาติจะหันมาพิจารณาหาแหล่งพลังงานที่ปลอดภัยกว่าอย่างจริงจัง
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Nuclear drive defies cloud
By Suvendrini Kakuchi
19/01/2012
ญี่ปุ่นกำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ โดยมีเกาหลีใต้เป็นคู่แข่งรายสำคัญ ในการช่วงชิงให้ได้สัญญาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างแดน ไล่ตั้งแต่อินเดียและบังกลาเทศ ไปจนถึงตุรกีและเวียดนาม ถึงแม้ภายในแดนอาทิตย์อุทัยและแดนโสมขาวเอง กำลังมีกระแสต่อต้านเป็นปรปักษ์ต่อโรงไฟฟ้าปรมาณูเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังกรณีภัยพิบัติฟุกุชิมะเมื่อปีที่แล้ว
โตเกียว – ญี่ปุ่นกำลังวางแผนเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์และบริการทางนิวเคลียร์ด้านพลเรือนไปต่างแดน ในขณะที่ยังต้องพยายามปลอบขวัญเอาอกเอาใจประชาชนภายในประเทศตนเอง ซึ่งมีความโกรธกริ้วขุ่นเคืองอย่างแรงต่อกรณีรังสีอันตรายรั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ซึ่งได้รับความเสียหายหนักภายหลังประสบเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงและคลื่นยักษ์สึนามึ เมื่อวันที่ 11 มีนาคมปีที่แล้ว
“เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการที่ญี่ปุ่นกำลังดำเนินขั้นตอนเกี่ยวกับ (การส่งออก) สิ่งอันตรายเหล่านี้ ก็คือเพื่อช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจและอิทธิพลบารมีทางการทูตในบรรดาประเทศกำลังพัฒนา” ยูกิ ทานาเบะ (Yuki Tanabe) ผู้เชี่ยวชาญผู้หนึ่งของศูนย์ญี่ปุ่นเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอันยั่งยืน (Japan Center for a Sustainable Environment and Society ใช้อักษรย่อว่า JACSES) กล่าวให้ความเห็น
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ร่างกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับการอนุญาตให้ส่งออกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปยังเวียดนามและจอร์แดน ในรูปลักษณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงร่วมมือกันระดับทวิภาคี ได้ผ่านการเห็นชอบในขั้นคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว
นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ ของญี่ปุ่น อธิบายถึงความถูกต้องชอบธรรมของข้อตกลงดังกล่าว โดยระบุว่า ประเทศเหล่านี้ “กำลังต้องการเทคโนโลยีระดับสูงของญี่ปุ่นมากเหลือเกิน” แต่โนดะก็กล่าวอย่างยอมรับอยู่ในทีว่า ญี่ปุ่นยังจะต้องช่วยเหลือในเรื่อง “การเพิ่มความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในประเทศเหล่านี้ด้วย”
ข้อตกลงทำนองนี้ซึ่งญี่ปุ่นยังกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำกับประเทศอื่นๆ อีกหลายรายด้วย เป็นต้นว่า อินเดีย, บังกลาเทศ, และตุรกี มีเนื้อหากำหนดให้ทางบริษัทญี่ปุ่นเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่การก่อสร้างโรงไฟฟ้า ไปจนถึงการดำเนินงานและการบริหารโรงไฟฟ้าภายหลังสร้างเสร็จ
พวกนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นและในหมู่ประเทศที่เจรจาทำข้อตกลงกับแดนอาทิตย์อุทัย กำลังจับมือกันเพื่อคัดค้านโครงการเหล่านี้ โดยที่การรณรงค์ของพวกเขากำลังดำเนินไปอย่างคึกคักและเป็นที่สนใจรับฟังของฝ่ายต่างๆ สืบเนื่องจากกรณีรังสีอันตรายรั่วไหลที่ฟุกุชิมะ
นักเคลื่อนไหวเหล่านี้ชี้ว่า นอกเหนือจากกัมมันตภาพรังสีที่ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่งแล้ว ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังสามารถที่จะพุ่งสูงลิบลิ่วอีกด้วย ดังที่เห็นได้อย่างชัดเจนเหลือเกินในญี่ปุ่นในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
การปนเปื้อนทางรังสีภายหลังการหลอมละลายของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ บังคับให้ต้องอพยพประชาชนกว่า 150,000 คนที่พำนักอาศัยอยู่ใกล้ๆ โรงไฟฟ้า
นอกจากนั้น ที่ดินเพื่อการเกษตรเป็นหมื่นๆ เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์เท่ากับประมาณ 6.25 ไร่) ยังถูกประกาศว่าเป็นอันตรายไม่สามารถใช้ในการผลิตอาหาร การทดสอบหลายๆ ครั้งที่กระทำในเดือนนี้เองในเขตทะเลรอบๆ โรงไฟฟ้า ยังคงบ่งบอกว่ามีรังสีปนเปื้อนในทรัพยากรทางทะเลชนิดต่างๆ ทำให้ยังนำมาใช้รับประทานไม่ได้
บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (Tokyo Electric Power Company หรือ TEPCO) ผู้ดำเนินการเตาปฏิกรณ์ที่ฟุกุชิมะ เวลานี้กำลังย่ำแย่หนักโดยอาจจะต้องจ่ายเงินชดเชยเป็นมูลค่ามากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บังคับให้บริษัทต้องพยายามขอร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ
ประเด็นปัญหายุ่งยากลำบากดังกล่าวเหล่านี้ ได้ถูกนำมาย้ำเน้นระหว่างการประชุมต่อต้านนิวเคลียร์ในสัปดาห์นี้ที่เมืองโยกาฮามา ซึ่งจัดโดยบรรดาองค์กรระดับรากหญ้าทั้งที่เป็นของญี่ปุ่นและของนานาประเทศ พวกเขาเหล่านี้กำลังพยายามล็อบบี้เพื่อให้โลกเราปลอดจากนิวเคลียร์ ในที่ประชุม มีวิทยากรจากชาติต่างๆ เป็นต้นว่า เกาหลีใต้, แคนาดา, และสหภาพยุโรป นำเสนอกรณีตัวอย่างต่างๆ ซึ่งวาดภาพให้เห็นว่า ประชามติภายในประเทศจำนวนมากกำลังต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์อย่างแรงกล้า
ประฟุล บิดวาย (Praful Bidwai) นักรณรงค์เพื่อพลังงานหมุนเวียนที่ปลอดภัยชาวอินเดีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในระดับนาชาติ ได้อธิบายให้เห็นความสำคัญของการที่ประชาชนท้องถิ่นผู้พำนักอาศัยอยู่ใกล้ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหลาย ต้องทำการประท้วงและชุมนุมเดินขบวนอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานของอินเดียประมาณ 3% เท่านั้นที่ได้จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทว่ารัฐบาลวางแผนการที่จะเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวให้สูงขึ้นเป็น 20% ภายในปี 2020 ด้วยเหตุผลว่าเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า
บิดวายบอกว่า อินเดียยังไม่ได้ลงนามเข้าร่วมในสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายนิวเคลียร์ (Nuclear Non-proliferation Treaty) แถมผลงานในอดีตเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ก็ย่ำแย่ โดยที่เกิดอุบัติเหตุ, ไฟไหม้, การระเบิด, และน้ำที่มีสารกัมมันตภาพรังสีกระฉอกออกมา หลายต่อหลายครั้ง ทำให้คนงานและสาธารณชนมีความเสี่ยงที่จะได้รับรังสี
เมื่อเดือนตุลาคม 2011 นายกฯโนดะของญี่ปุ่น และรัฐมนตรีต่างประเทศ โซมานาฮัลลี กฤษณา (Somanahalli Krishna) ของอินเดีย ได้ตกลงเห็นพ้องกันให้ฟื้นฟูการเจรจาหารือในเรื่องวิธีสร้างเงื่อนไขอันเหมาะสมเพื่อการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดีย ในการส่งเสริมสนับสนุนพลังปรมาณูเพื่อสันติ
เจ้าหน้าที่ทางการตลอดจนภาคธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ต่างบอกว่าการส่งออกนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นไปยังต่างประเทศจะต้องดำเนินต่อไป พร้อมกันนั้นพวกเขายังชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันอันดุดันที่มาจากทางเกาหลีใต้
ทว่า คิม เฮยุง (Kim Heyung) แห่งขบวนการสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้คัดค้านไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ (South Korean Environment Movement against Nuclear Power) ได้อธิบายต่อที่ประชุมในโยโกฮามาว่า อุบัติภัยนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ ได้ทำให้สาธารณชนชาวโสมขาวบังเกิดความตื่นตัวเพิ่มขึ้นมากเกี่ยวอันตรายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผลการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่า ชาวเกาหลีใต้ถึง 68% คัดค้านการสร้างเตาปฏิกรณ์เครื่องใหม่เพิ่มเติม อันเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าประชาชนไม่สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่อีก 6 โรงตามแผนการของรัฐบาล
เกาหลีใต้นั้นได้ลงนามในสัญญาส่งออกนิวเคลียร์ฉบับใหม่กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปเมื่อปีที่แล้ว และกำลังแข่งขันกับญี่ปุ่นอยู่ในฟินแลนด์เพื่อให้ได้งานด้านนิวเคลียร์ในประเทศนั้น
มองโกเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่อุดมด้วยแร่ยูเรเนียม ก็กำลังกลายเป็นจุดศูนย์รวมอีกจุดหนึ่งในการอภิปรายถถกเถียงกันเกี่ยวกับผลดีผลเสียของพลังงานนิวเคลียร์ ภายหลังจากมีรายงานข่าวหลายกระแสในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วว่า ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯกำลังวางแผนก่อสร้างโรงเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้ต่อไม่ได้แล้วในประเทศนี้
เซลเง ละคักวาเจฟ (Selnge Lkhagvajav) สมาชิกผู้หนึ่งของพรรคกรีนมองโกเลีย (Mongolian Green Party) ซึ่งเพิ่งดำเนินการคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จนประสบความสำเร็จ บอกกับที่ประชุมในโยโกฮามาว่า ประเทศของเธอไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญหรือเทคโนโลยี ที่สามารถรองรับจัดการกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือขยะนิวเคลียร์ได้
“พวกประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มองว่ากฎหมายข้อบังคับต่างๆ ของมองโกเลียยังย่อหย่อนมาก จึงเหมาะแก่การใช้เป็นสถานที่ทิ้งขยะของเสียนิวเคลียร์ เราจะต้องต่อสู้เพื่อคัดค้านความเคลื่อนไหวเช่นนี้” เธอกล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service หรือ IPS)
แม้กระทั่งญี่ปุ่น ซึ่งเวลานี้ต้องพึ่งพาออาศัยไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เท่ากับประมาณ 30% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ทั้งหมด ยังกำลังให้สัญญาแก่ประชาชนของตนว่า จะบังคับใช้มาตรการอันเข้มงวดต่างๆ เพื่อยกระดับความคุ้มครองปลอดภัย จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุแบบฟุกุชิมะขึ้นมา ทว่า ทานาเบะแห่ง JACSES ชี้ว่ามาตรการดังกล่าวเหล่านี้ไม่มีประโยชน์อันแท้จริงอะไรหรอก
ในเวลาเดียวกัน การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหลายถูกสั่งให้ทำการทดสอบอย่างต่อเนื่องในเรื่องความสามารถในการรับอุบัติเหตุ กำลังทำให้ผลผลิตพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นลดลงอย่างฮวบฮาบ พวกนักเคลื่อนไหวมองเรื่องนี้ว่าเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศชาติจะหันมาพิจารณาหาแหล่งพลังงานที่ปลอดภัยกว่าอย่างจริงจัง
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)