(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Asia and the sea powers, 1911 and 2011
By Alan G Jamieson
29/11/2011
อังกฤษในในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แผ่แสนยานุภาพทางทะเลครอบงำอยู่รอบๆ เอเชีย ส่วนสหรัฐอเมริกาในอีก 100 ปีต่อมาก็ทรงพลานุภาพในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมหาอำนาจทางนาวีทั้งสองรายนี้ มีข้อที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์อยู่หลายๆ ประการ ขณะเดียวกันก็มีข้อที่แตกต่างกันอย่างโต้งๆ --และกระทั่งถึงขั้นน่าประหลาดพิสดาร—อยู่หลายๆ ประการเช่นกัน รวมทั้งสภาพการณ์ที่อเมริกาในเวลานี้กำลังต้องกู้หนี้ยืมสินอย่างมหาศาลจากชาติเอเชียผู้เป็น “คู่ต่อสู้” ที่ใหญ่โตที่สุดของตน ซึ่งก็คือ จีน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถึงแม้ความสนใจของอเมริกันในทุกวันนี้กำลังรวมศูนย์อยู่ที่เอเชีย ในลักษณะที่ทวีปนี้ไม่ได้เป็นจุดรวมความสนใจของอังกฤษเมื่อปี 1911 เอาเลย แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯปลอดจากข้อรบกวนฉกรรจ์ๆ ที่คอยทำให้ต้องหันเหความสนใจไปภูมิภาคอื่นๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่สหรัฐฯยังคงเกี่ยวข้องพัวพันอย่กับการทำสงครามและการเข้าไปแทรกแซงในโลกอิสลาม ถึงแม้ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่กำลังบังเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แต่มันก็ลามปามแผ่ขยายเข้าไปในทวีปแอฟริกาอีกด้วย อีกทั้งยังแตกกิ่งก้านสาขาไกลออกไปทั้งในยุโรป และกระทั่งภายในสหรัฐอเมริกาเอง การต่อสู้ฟาดฟันกันเหล่านี้ยังมองไม่เห็นเลยว่าจะยุติสิ้นสุดลงไปได้ และยังน่าที่จะเป็นตัวดูดซับสูบเอาทรัพยากรทางทหารของสหรัฐฯต่อไปอีกหลายๆ ปี
แต่ถึงแม้ถูกหันเหความสนใจจากภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโลกอิสลาม ความสนใจของสหรัฐฯก็ดูเหมือนว่าจะต้องเน้นหนักอยู่ที่การก้าวผงาดขึ้นมาของจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการผงาดขึ้นมาของแดนมังกรภายในทวีปเอเชียเอง หรือจะเป็นการก้าวออกไปสู่โลกในวงกว้าง ความสัมพันธ์ที่สหรัฐฯมีอยู่กับอภิมหาอำนาจเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่รายนี้ยังคงมีลักษณะก้ำๆ กึ่งๆ ไม่แน่ไม่นอนเอามากๆ ประเทศจีนถึงแม้ยังคงถือกันว่าเป็นรัฐคอมมิวนิสต์และเป็นศัตรูในสงครามเย็นอันยาวนานของสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันแดนมังกรได้รับเอาทุนนิยมรูปแบบหนึ่งเข้ามาใช้จนประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จีนกับสหรัฐฯเวลานี้กลายเป็นคู่ค้าที่ใกล้ชิด ทว่าอังกฤษกับเยอรมนีในปี 1911 ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน และนั่นไม่สามารถป้องกันไม่ให้พวกเขาทำสงครามกันในอีก 3 ปีต่อมา
ในปี 1911 อังกฤษปกครองอินเดีย, จีนอยู่ตรงปากเหวของการพังครืนลงสู่ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายภายในอย่างสาหัสสากรรจ์ยิ่งขึ้น, และรัสเซียก็ต้องยอมยกเลิกการแย่งชิงแข่งขันกับอังกฤษในเอเชีย ฐานะการครอบงำบงการเอเชียของอังกฤษจึงดูมีความมั่นคงมาก โดยที่ญี่ปุ่นในตอนนั้นก็ยังคงแสดงท่าทีเป็นพันธมิตรมากกว่าเป็นคู่ต่อสู้ สำหรับฐานะของสหรัฐฯในเอเชียในปี 2011 นั้น เปรียบเทียบแล้วดูจะมีทั้งส่วนที่แข็งแกร่งกว่าและส่วนที่อ่อนแอกว่า ในด้านหนึ่ง แสนยานุภาพทางทหารของสหรัฐฯนั้นยิ่งใหญ่กว่าที่อังกฤษเคยมีเมื่อ 100 ปีก่อน อีกทั้งสหรัฐฯยังสามารถที่จะรวมศูนย์ความมุ่งมั่นสนใจมายังเอเชียในวิถีทางที่อังกฤษในอดีตไม่อาจทำเช่นนั้นได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เอเชียในปี 2011 ก็มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย อีกทั้งต่อต้านคัดค้านแรงบีบคั้นกดดันจากภายนอกได้มากกว่าที่เคยเป็นในปี 1911 ปัจจุบันทั้งจีน, อินเดีย, และรัสเซีย (ในระดับที่ด้อยลงมา) ต่างกำลังเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางทหารที่เข้มแข็ง และน่าที่จะเติบใหญ่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกในหลายๆ ปีต่อจากนี้ไป
ฝ่ายอเมริกันอาจจะตั้งความหวังที่จะนำเอาอินเดียเข้ามาอยู่ทางข้างพวกตน แต่ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้ที่รัฐบาลอินเดียไม่ว่าชุดไหน จะถึงขั้นสยบยอมและสละสิทธิเสรีภาพในการกระทำเรื่องต่างๆ ของพวกตนไปเสียทั้งหมด สำหรับทางด้านจีนกับรัสเซียนั้น เวลานี้ประเทศทั้งสองมีการเชื่อมโยงกันอย่างหลวมๆ อยู่แล้วโดยผ่าน องค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization) และมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่พวกเขาจะต้านทานคัดค้านความพยายามของสหรัฐฯในการธำรงรักษาฐานะครอบงำบงการของตนในดินแดนแถบชายฝั่งทะเลของเอเชียเอาไว้ต่อไป และแน่นอนทีเดียวว่าพวกเขาย่อมหวังที่จะป้องกันไม่ให้สหรัฐฯขยายอิทธิพลเพิ่มเติมเข้าไปสู่ดินแดนส่วนในของทวีปนี้
สหรัฐฯนั้นมีศักยภาพแห่งแสนยานุภาพทางทหารในการเข้าครอบงำบงการเอเชียทุกวันนี้ มากกว่าที่อังกฤษเคยมีในปี 1911 ทว่าในแง่อันสำคัญอย่างยิ่งแง่หนึ่ง ยักษ์ใหญ่ทางการทหารแห่งยุคปัจจุบันรายนี้กลับมีจุดอ่อนเปราะอันฉกาจฉกรรจ์ ในปี 1911 อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นชาติเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก และได้รับรายได้จากการลงทุนต่างๆ ตลอดทั่วพิภพทีเดียว มีแต่ค่าใช้จ่ายของการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเท่านั้นที่สามารถนำพาอังกฤษให้เข้าไปอยู่บนถนนแห่งความพังพินาศทางการเงิน ทว่าทุกวันนี้สหรัฐฯคือชาติลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก สิ่งสำคัญที่ช่วยให้สหรัฐฯยังประคองตัวมาได้ก็คือการที่พวกนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งนี้หนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายหลักๆ ที่เข้าซื้อพันธบัตรอเมริกันก็คือจีนนั่นเอง ดังนั้นจีนจึงกำลังให้เงินกู้แก่สหรัฐฯซึ่งทำให้รัฐบาลอเมริกันสามารถสร้างกองทัพของตนมาพิทักษ์คุ้มครองเหล่าพันธมิตรในเอเชีย อย่างเช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ให้ปลอดพ้นจากภัยคุกคามทางทหารที่เข้าใจกันว่าจะมาจากฝ่ายจีน
นี่ช่างเป็นสถานการณ์อันแปลกประหลาดพิสดารเสียจริงๆ ถ้าหากในปี 1911 จะเกิดสถานการณ์ทำนองเดียวกันนี้ขึ้นมาแล้ว ก็คงจะอยู่ในรูปที่ว่า พวกนักลงทุนชาวเยอรมันเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งทำให้รัฐบาลอังกฤษมีเงินทองไปใช้ในการต่อเรือรบต่างๆ เพื่อมาต่อต้านขัดขวางกองทัพเรือเยอรมนีที่กำลังขยายตัว เรื่องเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาในปี 1911 เนื่องจากอังกฤษในเวลานั้นยังคงหาเงินทองได้อย่างเพียงพอที่จะใช้ในการขยายกองเรือนาวีของตนเอง สถานการณ์ในปัจจุบันที่จีนให้เงินกู้ไปสร้างเรือรบสหรัฐฯเพื่อมาต่อต้านขัดขวางเกองนาวีของจีนที่กำลังขยายตัวเติบใหญ่เช่นนี้จะยุติสิ้นสุดลงอย่างไรนั้น ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน แต่ดูเหมือนมันจะเป็นสถานการณ์ที่ยังไม่เคยมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ให้เปรียบเทียบเอาเสียเลย
ดังนั้นในปี 1911 การครอบงำบงการเอเชียของอังกฤษดูเหมือนเป็นสิ่งที่แน่นอนและมั่นคงอย่างยิ่ง แต่ก็ยังต้องได้รับการค้ำประกันด้วยแรงหนุนเสริมของญี่ปุ่น อีกทั้งความสนใจของอังกฤษก็กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อต่อต้านขัดขวางการผงาดขึ้นมาของเยอรมนี ส่วนในปี 2011 สหรัฐอเมริกาเผชิญหน้าสถานการณ์ที่มีความท้าทายมากกว่า ถ้าหากอเมริกายังคงต้องการที่จะรักษาบทบาทความเป็นผู้นำของตนในเอเชียเอาไว้ ทั้งนี้ อเมริกายังคงมีอำนาจทางทหารอย่างยิ่งใหญ่กว้างขวาง ทว่ากลับขาดแคลนทรัพยากรทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของอำนาจทางทหารดังกล่าว ขณะเดียวกันในทุกวันนี้ บรรดารัฐเอเชียต่างก็มีความเข้มแข็ง และอำนาจของพวกเขาก็กำลังเติบใหญ่ขยายตัว พวกเขาสามารถที่จะต้านทานต่อสู้กับแรงบีบคั้นจากภายนอกในลักษณะซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ในยุค 100 ปีก่อน ถึงแม้สหรัฐฯจะยังคงพยายามธำรงรักษาฐานะครอบงำบงการเอเชียของตนเอาไว้ให้ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือ ในปี 2011 ชาวเอเชียจะตัดสินอนาคตของชาวเอเชียในวิถีทางที่พวกเขาไม่เคยสามารถทำได้เลยเมื่อย้อนหลังกลับไปในปี 1911
อลัน จี เจมีสัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปัจจุบันพำนักอยู่ในแคนาดา ผลงานสิ่งพิมพ์ล่าสุดของเขาคือเรื่อง Faith and Sword: A Short History of Christian-Muslim Conflict (2006) และนวนิยายเรื่อง Crossroads of the Years (2008) หนังสือเล่มใหม่ของเขาชื่อ Lords of the Sea: A History of the Barbary Corsairs กำหนดวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2012
Asia and the sea powers, 1911 and 2011
By Alan G Jamieson
29/11/2011
อังกฤษในในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แผ่แสนยานุภาพทางทะเลครอบงำอยู่รอบๆ เอเชีย ส่วนสหรัฐอเมริกาในอีก 100 ปีต่อมาก็ทรงพลานุภาพในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมหาอำนาจทางนาวีทั้งสองรายนี้ มีข้อที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์อยู่หลายๆ ประการ ขณะเดียวกันก็มีข้อที่แตกต่างกันอย่างโต้งๆ --และกระทั่งถึงขั้นน่าประหลาดพิสดาร—อยู่หลายๆ ประการเช่นกัน รวมทั้งสภาพการณ์ที่อเมริกาในเวลานี้กำลังต้องกู้หนี้ยืมสินอย่างมหาศาลจากชาติเอเชียผู้เป็น “คู่ต่อสู้” ที่ใหญ่โตที่สุดของตน ซึ่งก็คือ จีน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถึงแม้ความสนใจของอเมริกันในทุกวันนี้กำลังรวมศูนย์อยู่ที่เอเชีย ในลักษณะที่ทวีปนี้ไม่ได้เป็นจุดรวมความสนใจของอังกฤษเมื่อปี 1911 เอาเลย แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯปลอดจากข้อรบกวนฉกรรจ์ๆ ที่คอยทำให้ต้องหันเหความสนใจไปภูมิภาคอื่นๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่สหรัฐฯยังคงเกี่ยวข้องพัวพันอย่กับการทำสงครามและการเข้าไปแทรกแซงในโลกอิสลาม ถึงแม้ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่กำลังบังเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แต่มันก็ลามปามแผ่ขยายเข้าไปในทวีปแอฟริกาอีกด้วย อีกทั้งยังแตกกิ่งก้านสาขาไกลออกไปทั้งในยุโรป และกระทั่งภายในสหรัฐอเมริกาเอง การต่อสู้ฟาดฟันกันเหล่านี้ยังมองไม่เห็นเลยว่าจะยุติสิ้นสุดลงไปได้ และยังน่าที่จะเป็นตัวดูดซับสูบเอาทรัพยากรทางทหารของสหรัฐฯต่อไปอีกหลายๆ ปี
แต่ถึงแม้ถูกหันเหความสนใจจากภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโลกอิสลาม ความสนใจของสหรัฐฯก็ดูเหมือนว่าจะต้องเน้นหนักอยู่ที่การก้าวผงาดขึ้นมาของจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการผงาดขึ้นมาของแดนมังกรภายในทวีปเอเชียเอง หรือจะเป็นการก้าวออกไปสู่โลกในวงกว้าง ความสัมพันธ์ที่สหรัฐฯมีอยู่กับอภิมหาอำนาจเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่รายนี้ยังคงมีลักษณะก้ำๆ กึ่งๆ ไม่แน่ไม่นอนเอามากๆ ประเทศจีนถึงแม้ยังคงถือกันว่าเป็นรัฐคอมมิวนิสต์และเป็นศัตรูในสงครามเย็นอันยาวนานของสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันแดนมังกรได้รับเอาทุนนิยมรูปแบบหนึ่งเข้ามาใช้จนประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จีนกับสหรัฐฯเวลานี้กลายเป็นคู่ค้าที่ใกล้ชิด ทว่าอังกฤษกับเยอรมนีในปี 1911 ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน และนั่นไม่สามารถป้องกันไม่ให้พวกเขาทำสงครามกันในอีก 3 ปีต่อมา
ในปี 1911 อังกฤษปกครองอินเดีย, จีนอยู่ตรงปากเหวของการพังครืนลงสู่ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายภายในอย่างสาหัสสากรรจ์ยิ่งขึ้น, และรัสเซียก็ต้องยอมยกเลิกการแย่งชิงแข่งขันกับอังกฤษในเอเชีย ฐานะการครอบงำบงการเอเชียของอังกฤษจึงดูมีความมั่นคงมาก โดยที่ญี่ปุ่นในตอนนั้นก็ยังคงแสดงท่าทีเป็นพันธมิตรมากกว่าเป็นคู่ต่อสู้ สำหรับฐานะของสหรัฐฯในเอเชียในปี 2011 นั้น เปรียบเทียบแล้วดูจะมีทั้งส่วนที่แข็งแกร่งกว่าและส่วนที่อ่อนแอกว่า ในด้านหนึ่ง แสนยานุภาพทางทหารของสหรัฐฯนั้นยิ่งใหญ่กว่าที่อังกฤษเคยมีเมื่อ 100 ปีก่อน อีกทั้งสหรัฐฯยังสามารถที่จะรวมศูนย์ความมุ่งมั่นสนใจมายังเอเชียในวิถีทางที่อังกฤษในอดีตไม่อาจทำเช่นนั้นได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เอเชียในปี 2011 ก็มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย อีกทั้งต่อต้านคัดค้านแรงบีบคั้นกดดันจากภายนอกได้มากกว่าที่เคยเป็นในปี 1911 ปัจจุบันทั้งจีน, อินเดีย, และรัสเซีย (ในระดับที่ด้อยลงมา) ต่างกำลังเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางทหารที่เข้มแข็ง และน่าที่จะเติบใหญ่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกในหลายๆ ปีต่อจากนี้ไป
ฝ่ายอเมริกันอาจจะตั้งความหวังที่จะนำเอาอินเดียเข้ามาอยู่ทางข้างพวกตน แต่ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้ที่รัฐบาลอินเดียไม่ว่าชุดไหน จะถึงขั้นสยบยอมและสละสิทธิเสรีภาพในการกระทำเรื่องต่างๆ ของพวกตนไปเสียทั้งหมด สำหรับทางด้านจีนกับรัสเซียนั้น เวลานี้ประเทศทั้งสองมีการเชื่อมโยงกันอย่างหลวมๆ อยู่แล้วโดยผ่าน องค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization) และมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่พวกเขาจะต้านทานคัดค้านความพยายามของสหรัฐฯในการธำรงรักษาฐานะครอบงำบงการของตนในดินแดนแถบชายฝั่งทะเลของเอเชียเอาไว้ต่อไป และแน่นอนทีเดียวว่าพวกเขาย่อมหวังที่จะป้องกันไม่ให้สหรัฐฯขยายอิทธิพลเพิ่มเติมเข้าไปสู่ดินแดนส่วนในของทวีปนี้
สหรัฐฯนั้นมีศักยภาพแห่งแสนยานุภาพทางทหารในการเข้าครอบงำบงการเอเชียทุกวันนี้ มากกว่าที่อังกฤษเคยมีในปี 1911 ทว่าในแง่อันสำคัญอย่างยิ่งแง่หนึ่ง ยักษ์ใหญ่ทางการทหารแห่งยุคปัจจุบันรายนี้กลับมีจุดอ่อนเปราะอันฉกาจฉกรรจ์ ในปี 1911 อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นชาติเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก และได้รับรายได้จากการลงทุนต่างๆ ตลอดทั่วพิภพทีเดียว มีแต่ค่าใช้จ่ายของการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเท่านั้นที่สามารถนำพาอังกฤษให้เข้าไปอยู่บนถนนแห่งความพังพินาศทางการเงิน ทว่าทุกวันนี้สหรัฐฯคือชาติลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก สิ่งสำคัญที่ช่วยให้สหรัฐฯยังประคองตัวมาได้ก็คือการที่พวกนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งนี้หนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายหลักๆ ที่เข้าซื้อพันธบัตรอเมริกันก็คือจีนนั่นเอง ดังนั้นจีนจึงกำลังให้เงินกู้แก่สหรัฐฯซึ่งทำให้รัฐบาลอเมริกันสามารถสร้างกองทัพของตนมาพิทักษ์คุ้มครองเหล่าพันธมิตรในเอเชีย อย่างเช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ให้ปลอดพ้นจากภัยคุกคามทางทหารที่เข้าใจกันว่าจะมาจากฝ่ายจีน
นี่ช่างเป็นสถานการณ์อันแปลกประหลาดพิสดารเสียจริงๆ ถ้าหากในปี 1911 จะเกิดสถานการณ์ทำนองเดียวกันนี้ขึ้นมาแล้ว ก็คงจะอยู่ในรูปที่ว่า พวกนักลงทุนชาวเยอรมันเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งทำให้รัฐบาลอังกฤษมีเงินทองไปใช้ในการต่อเรือรบต่างๆ เพื่อมาต่อต้านขัดขวางกองทัพเรือเยอรมนีที่กำลังขยายตัว เรื่องเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาในปี 1911 เนื่องจากอังกฤษในเวลานั้นยังคงหาเงินทองได้อย่างเพียงพอที่จะใช้ในการขยายกองเรือนาวีของตนเอง สถานการณ์ในปัจจุบันที่จีนให้เงินกู้ไปสร้างเรือรบสหรัฐฯเพื่อมาต่อต้านขัดขวางเกองนาวีของจีนที่กำลังขยายตัวเติบใหญ่เช่นนี้จะยุติสิ้นสุดลงอย่างไรนั้น ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจน แต่ดูเหมือนมันจะเป็นสถานการณ์ที่ยังไม่เคยมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ให้เปรียบเทียบเอาเสียเลย
ดังนั้นในปี 1911 การครอบงำบงการเอเชียของอังกฤษดูเหมือนเป็นสิ่งที่แน่นอนและมั่นคงอย่างยิ่ง แต่ก็ยังต้องได้รับการค้ำประกันด้วยแรงหนุนเสริมของญี่ปุ่น อีกทั้งความสนใจของอังกฤษก็กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อต่อต้านขัดขวางการผงาดขึ้นมาของเยอรมนี ส่วนในปี 2011 สหรัฐอเมริกาเผชิญหน้าสถานการณ์ที่มีความท้าทายมากกว่า ถ้าหากอเมริกายังคงต้องการที่จะรักษาบทบาทความเป็นผู้นำของตนในเอเชียเอาไว้ ทั้งนี้ อเมริกายังคงมีอำนาจทางทหารอย่างยิ่งใหญ่กว้างขวาง ทว่ากลับขาดแคลนทรัพยากรทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของอำนาจทางทหารดังกล่าว ขณะเดียวกันในทุกวันนี้ บรรดารัฐเอเชียต่างก็มีความเข้มแข็ง และอำนาจของพวกเขาก็กำลังเติบใหญ่ขยายตัว พวกเขาสามารถที่จะต้านทานต่อสู้กับแรงบีบคั้นจากภายนอกในลักษณะซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ในยุค 100 ปีก่อน ถึงแม้สหรัฐฯจะยังคงพยายามธำรงรักษาฐานะครอบงำบงการเอเชียของตนเอาไว้ให้ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือ ในปี 2011 ชาวเอเชียจะตัดสินอนาคตของชาวเอเชียในวิถีทางที่พวกเขาไม่เคยสามารถทำได้เลยเมื่อย้อนหลังกลับไปในปี 1911
อลัน จี เจมีสัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปัจจุบันพำนักอยู่ในแคนาดา ผลงานสิ่งพิมพ์ล่าสุดของเขาคือเรื่อง Faith and Sword: A Short History of Christian-Muslim Conflict (2006) และนวนิยายเรื่อง Crossroads of the Years (2008) หนังสือเล่มใหม่ของเขาชื่อ Lords of the Sea: A History of the Barbary Corsairs กำหนดวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2012