(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Afghanistan turns to assembly of elders
By Abubakar Siddique
17/11/2011
นักการเมือง, ผู้นำชนเผ่า, และนักการศาสนา ชาวอัฟกานิสถาน มากกว่า 2,000 คน กำลังรวมตัวประชุมหารือกันในกรุงคาบูลเป็นเวลา 4 วัน เพื่ออภิปรายถกเถียงเรื่องอนาคตของกองทหารต่างชาติที่ประจำการอยู่ในอัฟกานิสถาน และเรื่องการเจรจาต่อรองกับกลุ่มตอลิบาน รัฐบาลอัฟกานิสถานของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ กำลังอาศัยการประชุมตามแบบประเพณีที่เรียกกันว่า มหาสภาผู้อาวุโส หรือ โลยา จิรกา (loya jirga) คราวนี้ เป็นเครื่องช่วยตรวจวัดประชามติความคิดเห็นในชาติเกี่ยวกับประเด็นปัญหาซึ่งก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งกันหนัก 2 ประเด็นนี้
นักการเมือง, ผู้นำชนเผ่า, และนักการศาสนา ชาวอัฟกานิสถาน มากกว่า 2,000 คน กำลังรวมตัวประชุมหารือกันในกรุงคาบูลเป็นเวลา 4 วัน เพื่ออภิปรายถกเถียงเรื่องอนาคตของกองทหารต่างชาติที่ประจำการอยู่ในอัฟกานิสถาน และเรื่องการเจรจาต่อรองกับกลุ่มตอลิบาน
มาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับการเปิดประชุมตามแบบประเพณีที่เรียกกันว่า มหาสภาผู้อาวุโส หรือ โลยา จิรกา (loya jirga) คราวนี้ เป็นไปอย่างเข้มงวดมาก ภายหลังที่มีผู้พยายามโจมตีเต็นท์ยักษ์ซึ่งใช้จัดการหารือ ทว่าถูกขัดขวางเสียก่อน นอกจากนั้นยังเกิดกรณีที่พวกตอลิบานข่มขู่คุกคามผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย
ในช่วงไม่กี่วันก่อนที่จะถึงการเปิดมหาสภาผู้อาวุโส ยังเกิดการวิวาทตอบโต้กันในทางการเมืองปะทุขึ้นมา ทั้งในเรื่องร่างข้อตกลงยุทธศาสตร์ความมั่นคงระหว่างคาบูลกับวอชิงตัน ที่จะเป็นกรอบโครงกำหนดบทบาททางทหารของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ภายหลังการลดกำลังทหารของต่างประเทศในปี 2014 ตามที่ได้วางแผนกันไว้แล้วก่อนหน้านี้ และทั้งในเประเด็นเรื่องควรเปิดการเจรจากับกลุ่มตอลิบานหรือไม่
รัฐบาลอัฟกานิสถานนั้นกำลังพึ่งพาอาศัย โลยา จิรกา เป็นเครื่องช่วยตรวจวัดประชามติความคิดเห็นในชาติ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งกันอย่างหนัก 2 ประเด็นนี้
ประธานาธิบดี ฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมมหาสภาชนเผ่า โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของภารกิจที่ โลยา จิรกา ต้องกระทำให้ลุล่วง เขาบอกกับบรรดาผู้แทนที่เข้าประชุมว่า พวกเขา “ได้รับมอบอำนาจให้แนะนำรัฐบาลอัฟกานิสถานและเหล่าผู้นำทั้งหลายว่าควรจะเดินหน้าในเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพกันต่อไปอย่างไร”
**ประเด็นเรื่องอธิปไตย**
คาบูลระงับความพยายามในหลายๆ ด้านที่จะเจรจากับตอลิบาน ภายหลังที่มือระเบิดฆ่าตัวตายซึ่งถูกระบุว่าเป็นพวกตอลิบาน ได้สังหาร บูรฮานุดดิน รับบานี (Burhanuddin Rabbani) ประธานการเจรจาสันตภาพ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
เกี่ยวกับประเด็นเรื่องความร่วมมือกับสหรัฐฯและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) คาร์ไซบอกว่าเรื่องนี้เปิดประตูกว้าง ทว่า “โดยมีเงื่อนไขหลายประการ”
“เราต้องการอธิปไตยแห่งชาติของเรา และเราต้องการได้อธิปไตยแห่งชาติกันตั้งแต่ตอนนี้เลย” เขาบอกกับมหาสภา “เราต้องการให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับอเมริกา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเอกราช 2 ประเทศ”
ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานระบุอย่างเจาะจงว่า เรื่องที่ทหารสหรัฐฯออกปฏิบัติการโจมตีในช่วงกลางคืน และการจับกุมคุมขังชาวอัฟกานิสถาน คือหัวข้อที่จะต้องหยิบยกมาอภิปรายถกเถียงกัน นอกจากนั้นเขาบอกด้วยว่า เป้าหมายของมหาสภา ควรจะอยู่ที่ว่าจะต้องไม่ให้เกิด “โครงสร้างแบบคู่ขนานที่อยู่เคียงข้างกับรัฐบาลของเรา”
เป็นที่คาดหมายกันก่อนหน้านี้ว่า คาร์ไซจะประกาศให้ทราบถึงแผนการระยะต่อไปของความพยายามที่จะให้กองกำลังของชาวอัฟกานิสถานเองเข้ารับผิดชอบเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในดินแดนอัฟกานิสถาน แต่ปรากฏว่าเขาไม่ได้เอ่ยอะไรออกมาเลยว่ากองกำลังความมั่นคงของอัฟกานิสถาน จะรับมอบภารกิจการดูแลรักษาความปลอดภัยจากกองทหารต่างชาติ ในเมืองใดหรือเขตไหนต่อไป
“ความท้าทายที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งสำหรับอัฟกานิสถาน ก็คือ การก้าวไปให้ถึงปี 2014 (ตลอดจนการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ภายหลังจากนั้น) ให้ได้” เขากล่าว “เมื่อถึงเวลานั้น อัฟกานิสถานจะเข้ารับผิดชอบอย่างเต็มที่ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของดินแดนของตนเอง และความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนของตนเอง โดยอาศัยเยาวชนของตนและสถาบันต่างๆ ในด้านความมั่นคงแห่งชาติ กระบวนการดังกล่าวนี้ได้เริ่มต้นมาสองสามเดือนแล้วเมื่อจังหวัดบางจังหวัดได้ถูกส่งมอบให้มาอยู่ในความดูแลของสถาบันต่างๆ ในด้านความมั่นคงของอัฟกานิสถาน”
**การเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับวอชิงตัน**
ร่างข้อความตกลงด้านความมั่นคงที่คาบูลกับวอชิงตันจัดทำขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงข้อตกลงที่ใช้อยู่แล้วในปัจจุบันให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ๆ ภายหลังจากปี 2014 เมื่อการปฏิบัติการต่างๆ ของสหรัฐฯและของนาโต้ส่วนใหญ่แล้วน่าที่จะเสร็จสิ้นยุติลง
ผู้สังเกตการณ์หลายรายเล็งเห็นว่า การที่คาบูลเข้าเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับวอชิงตันนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอยู่รอดต่อไปในอนาคตของตน ทว่าความเป็นไปได้ที่จะยังคงมีทหารสหรัฐฯประจำการอยู่ในอัฟกานิสถานต่อไปในระยะยาวนานยิ่งขึ้น ก็ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งภายในอัฟกานิสถานและในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ
ตัวคาร์ไซเองบอกว่า “ถ้าพวกเขาต้องการตั้งฐานทัพทางการทหาร เราก็จะอนุญาตพวกเขา เพราะนั่นจะเป็นประโยชน์แก่เรา เงินทองจะไหลเข้ามาสู่มือเรา และกองกำลังของเราก็จะได้รับการฝึกอบรมด้วย”
วิทยุอัฟกานิสถานเสรี (Radio Free Afghanistan) ซึ่งอยู่ในเครือของ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี (Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL ) รายงานจากกรุงคาบูลว่า ในการประชุมวันที่ 16 พฤศจิกายน โลยา จิรารา ได้แตกออกไปเป็นคณะอนุกรรมการต่างๆ รวม 40 คณะ ข้อเสนอแนะทั้งหลายจากกลุ่มย่อยเหล่านี้จะมีการนำเสนอและอภิปรายถกเถียงกันในการประชุมรวมในช่วงหลายๆ วันต่อจากนี้
(รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง
Afghanistan turns to assembly of elders
By Abubakar Siddique
17/11/2011
นักการเมือง, ผู้นำชนเผ่า, และนักการศาสนา ชาวอัฟกานิสถาน มากกว่า 2,000 คน กำลังรวมตัวประชุมหารือกันในกรุงคาบูลเป็นเวลา 4 วัน เพื่ออภิปรายถกเถียงเรื่องอนาคตของกองทหารต่างชาติที่ประจำการอยู่ในอัฟกานิสถาน และเรื่องการเจรจาต่อรองกับกลุ่มตอลิบาน รัฐบาลอัฟกานิสถานของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ กำลังอาศัยการประชุมตามแบบประเพณีที่เรียกกันว่า มหาสภาผู้อาวุโส หรือ โลยา จิรกา (loya jirga) คราวนี้ เป็นเครื่องช่วยตรวจวัดประชามติความคิดเห็นในชาติเกี่ยวกับประเด็นปัญหาซึ่งก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งกันหนัก 2 ประเด็นนี้
นักการเมือง, ผู้นำชนเผ่า, และนักการศาสนา ชาวอัฟกานิสถาน มากกว่า 2,000 คน กำลังรวมตัวประชุมหารือกันในกรุงคาบูลเป็นเวลา 4 วัน เพื่ออภิปรายถกเถียงเรื่องอนาคตของกองทหารต่างชาติที่ประจำการอยู่ในอัฟกานิสถาน และเรื่องการเจรจาต่อรองกับกลุ่มตอลิบาน
มาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับการเปิดประชุมตามแบบประเพณีที่เรียกกันว่า มหาสภาผู้อาวุโส หรือ โลยา จิรกา (loya jirga) คราวนี้ เป็นไปอย่างเข้มงวดมาก ภายหลังที่มีผู้พยายามโจมตีเต็นท์ยักษ์ซึ่งใช้จัดการหารือ ทว่าถูกขัดขวางเสียก่อน นอกจากนั้นยังเกิดกรณีที่พวกตอลิบานข่มขู่คุกคามผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย
ในช่วงไม่กี่วันก่อนที่จะถึงการเปิดมหาสภาผู้อาวุโส ยังเกิดการวิวาทตอบโต้กันในทางการเมืองปะทุขึ้นมา ทั้งในเรื่องร่างข้อตกลงยุทธศาสตร์ความมั่นคงระหว่างคาบูลกับวอชิงตัน ที่จะเป็นกรอบโครงกำหนดบทบาททางทหารของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ภายหลังการลดกำลังทหารของต่างประเทศในปี 2014 ตามที่ได้วางแผนกันไว้แล้วก่อนหน้านี้ และทั้งในเประเด็นเรื่องควรเปิดการเจรจากับกลุ่มตอลิบานหรือไม่
รัฐบาลอัฟกานิสถานนั้นกำลังพึ่งพาอาศัย โลยา จิรกา เป็นเครื่องช่วยตรวจวัดประชามติความคิดเห็นในชาติ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งกันอย่างหนัก 2 ประเด็นนี้
ประธานาธิบดี ฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมมหาสภาชนเผ่า โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของภารกิจที่ โลยา จิรกา ต้องกระทำให้ลุล่วง เขาบอกกับบรรดาผู้แทนที่เข้าประชุมว่า พวกเขา “ได้รับมอบอำนาจให้แนะนำรัฐบาลอัฟกานิสถานและเหล่าผู้นำทั้งหลายว่าควรจะเดินหน้าในเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพกันต่อไปอย่างไร”
**ประเด็นเรื่องอธิปไตย**
คาบูลระงับความพยายามในหลายๆ ด้านที่จะเจรจากับตอลิบาน ภายหลังที่มือระเบิดฆ่าตัวตายซึ่งถูกระบุว่าเป็นพวกตอลิบาน ได้สังหาร บูรฮานุดดิน รับบานี (Burhanuddin Rabbani) ประธานการเจรจาสันตภาพ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
เกี่ยวกับประเด็นเรื่องความร่วมมือกับสหรัฐฯและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) คาร์ไซบอกว่าเรื่องนี้เปิดประตูกว้าง ทว่า “โดยมีเงื่อนไขหลายประการ”
“เราต้องการอธิปไตยแห่งชาติของเรา และเราต้องการได้อธิปไตยแห่งชาติกันตั้งแต่ตอนนี้เลย” เขาบอกกับมหาสภา “เราต้องการให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับอเมริกา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเอกราช 2 ประเทศ”
ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานระบุอย่างเจาะจงว่า เรื่องที่ทหารสหรัฐฯออกปฏิบัติการโจมตีในช่วงกลางคืน และการจับกุมคุมขังชาวอัฟกานิสถาน คือหัวข้อที่จะต้องหยิบยกมาอภิปรายถกเถียงกัน นอกจากนั้นเขาบอกด้วยว่า เป้าหมายของมหาสภา ควรจะอยู่ที่ว่าจะต้องไม่ให้เกิด “โครงสร้างแบบคู่ขนานที่อยู่เคียงข้างกับรัฐบาลของเรา”
เป็นที่คาดหมายกันก่อนหน้านี้ว่า คาร์ไซจะประกาศให้ทราบถึงแผนการระยะต่อไปของความพยายามที่จะให้กองกำลังของชาวอัฟกานิสถานเองเข้ารับผิดชอบเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในดินแดนอัฟกานิสถาน แต่ปรากฏว่าเขาไม่ได้เอ่ยอะไรออกมาเลยว่ากองกำลังความมั่นคงของอัฟกานิสถาน จะรับมอบภารกิจการดูแลรักษาความปลอดภัยจากกองทหารต่างชาติ ในเมืองใดหรือเขตไหนต่อไป
“ความท้าทายที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งสำหรับอัฟกานิสถาน ก็คือ การก้าวไปให้ถึงปี 2014 (ตลอดจนการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ภายหลังจากนั้น) ให้ได้” เขากล่าว “เมื่อถึงเวลานั้น อัฟกานิสถานจะเข้ารับผิดชอบอย่างเต็มที่ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของดินแดนของตนเอง และความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนของตนเอง โดยอาศัยเยาวชนของตนและสถาบันต่างๆ ในด้านความมั่นคงแห่งชาติ กระบวนการดังกล่าวนี้ได้เริ่มต้นมาสองสามเดือนแล้วเมื่อจังหวัดบางจังหวัดได้ถูกส่งมอบให้มาอยู่ในความดูแลของสถาบันต่างๆ ในด้านความมั่นคงของอัฟกานิสถาน”
**การเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับวอชิงตัน**
ร่างข้อความตกลงด้านความมั่นคงที่คาบูลกับวอชิงตันจัดทำขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงข้อตกลงที่ใช้อยู่แล้วในปัจจุบันให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ๆ ภายหลังจากปี 2014 เมื่อการปฏิบัติการต่างๆ ของสหรัฐฯและของนาโต้ส่วนใหญ่แล้วน่าที่จะเสร็จสิ้นยุติลง
ผู้สังเกตการณ์หลายรายเล็งเห็นว่า การที่คาบูลเข้าเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับวอชิงตันนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอยู่รอดต่อไปในอนาคตของตน ทว่าความเป็นไปได้ที่จะยังคงมีทหารสหรัฐฯประจำการอยู่ในอัฟกานิสถานต่อไปในระยะยาวนานยิ่งขึ้น ก็ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งภายในอัฟกานิสถานและในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ
ตัวคาร์ไซเองบอกว่า “ถ้าพวกเขาต้องการตั้งฐานทัพทางการทหาร เราก็จะอนุญาตพวกเขา เพราะนั่นจะเป็นประโยชน์แก่เรา เงินทองจะไหลเข้ามาสู่มือเรา และกองกำลังของเราก็จะได้รับการฝึกอบรมด้วย”
วิทยุอัฟกานิสถานเสรี (Radio Free Afghanistan) ซึ่งอยู่ในเครือของ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี (Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL ) รายงานจากกรุงคาบูลว่า ในการประชุมวันที่ 16 พฤศจิกายน โลยา จิรารา ได้แตกออกไปเป็นคณะอนุกรรมการต่างๆ รวม 40 คณะ ข้อเสนอแนะทั้งหลายจากกลุ่มย่อยเหล่านี้จะมีการนำเสนอและอภิปรายถกเถียงกันในการประชุมรวมในช่วงหลายๆ วันต่อจากนี้
(รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง