ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ผู้คนทั่วโลกกลับมาลุ้นระทึกกับสถานการณ์วิกฤตหนี้สินของกรีซอีกระลอก ทว่า คราวนี้พวกเขาเริ่มทำใจยอมรับสภาพกันมากขึ้นแล้วว่า กรีซอาจหนีไม่รอดต้องผิดนัดชำระหนี้ (default) ค่อนข้างแน่ ภายหลังจากรัฐบาลเอเธนส์ออกมายอมรับว่า มีแนวโน้มสูงมากที่พวกเขาจะไม่สามารถลดยอดการขาดดุลงบประมาณลงได้ตามเป้าหมายที่สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) 2 เจ้าหนี้รายใหญ่กำหนดเอาไว้ ซึ่งก็เท่ากับว่า อียูและไอเอ็มเอฟ อาจไม่ยอมอนุมติเงินกู้ก้อนถัดไปให้แก่กรีซ เพื่อต่อลมหายใจออกไปอีกเฮือก
นี่ยังไม่รวมความวิตกต่อตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจล่าสุดอันน่าพรั่นพรึงที่ระบุว่า จีดีพีกรีซอาจเติบโตชะลอตัวกว่าที่คาดหมายไว้ทั้งในปีนี้และปีหน้า ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเอเธนส์สามารถจัดเก็บภาษี หารายได้เข้าคลังได้น้อยลงกว่าที่เคยประมาณการไว้ในตอนแรก
สภาพการณ์อันไม่ชวนอภิรมย์ดังกล่าวเป็นเหตุให้บรรดาเจ้าหนี้ร้อนรนกระวนกระวาย ต้องออกมากดดันลูกหนี้อีกคำรบ โดยที่ประชุมขุนคลังกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซน เมื่อวันจันทร์ (3) ซึ่งหารือเคร่งเครียดกันนาน 7 ชั่วโมง ได้ข้อสรุปออกมาว่า พวกเขาจะเลื่อนการจ่ายเงินกู้งวดถัดไปให้กรีซจำนวน 8,000 ล้านยูโร จากแพกเกจโอบอุ้มฐานะทางการคลังรอบแรกทั้งสิ้น 110,000 ล้านยูโร ออกไปจนกระทั่งถึงกลางเดือนพฤศจิกายน พร้อมกันนี้ยังได้โยนโจทย์ใหม่ให้รัฐบาลเอเธนส์กลับไปขบคิดหาทางลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้เข้าคลังชนิดรัดกุมเข้มงวดมากกว่านี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตื่นตระหนก พากันดิ่งระนาวรับสัปดาห์ใหม่
ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป ออกมาแถลงหลังการประชุมว่า พวกเขาต้องการให้กรีซปรับแก้แผนรัดเข็มขัดในปี 2013-2014 ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ก่อนที่พวกเขาจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในช่วงก่อนสิ้นเดือนนี้ว่าจะอนุมัติเงินช่วยเหลืองวดถัดไปตามที่ตกลงกันในเดือนกรกฎาคมหรือไม่
นอกจากนี้พวกรัฐมนตรีคลังยุโรปยังต้องการให้กรีซผ่านร่างงบประมาณปี 2012 ฉบับใหม่ และประกาศบังคับใช้อย่างด่วนจี๋ โดยที่รัฐสภากรีซมีกำหนดจะลงมติรับรองในช่วงต้นเดือนหน้า
ภายใต้ร่างงบประมาณที่เสนอต่อรัฐสภาเมื่อวันจันทร์นั้น ยอดขาดดุลของกรีซปีนี้จะอยู่ที่ 8.5% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จาก 7.6% ที่ตกลงไว้กับอียู และกองทุนไอเอ็มเอฟ ขณะที่ยอดขาดดุลในปีหน้าจะอยู่ที่ 6.8% แทนที่จะเป็น 6.5% ที่คาดไว้เดิม เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะหดตัวอีก 2.5% เพิ่มเติมจากปีนี้ที่คาดว่าจะติดลบทำสถิติ 5.5% ส่งผลให้หนี้สาธารณะมีมูลค่าเท่ากับ 161.8% ของจีดีพีสำหรับปีนี้ และ 172.7% สำหรับปี 2012
จากข้อมูลข้างต้นทำให้มีความเป็นไปได้สูงมากที่กรีซจะต้องการเงินช่วยเหลือสำหรับปีหน้ามากกว่าที่คาดไว้ แต่ถึงแม้ รัฐมนตรีคลังกรีซ อีวานเกลอส เวนิเซลอส จะพยายามผ่อนคลายวิตกของตลาด โดยบอกว่ากรีซยังมีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายไปจนถึงตอนรับเงินกู้งวดถัดไปในเดือนหน้า พร้อมกับยืนกรานว่า ขุนคลังยูโรโซนไม่ได้เตรียมการจะให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ในตราสารบางประเภท แต่กระนั้น นักลงทุนก็ยังเคลือบแคลงสงสัย เมื่อก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ข่าวหลายสำนักพากันประโคมว่า เงินในคลังกรีซกำลังจะร่อยหรอหมดเกลี้ยง ไม่มีแม้แต่จะจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการ หากกรีซไม่ได้รับเงินกู้ก้อนนี้ทันท่วงทีในเดือนตุลาคม
นอกจากนี้ ความที่รายละเอียดในแพกเกจช่วยเหลือก้อนที่สองยังไม่ลงตัว ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนพากันวิตกกังวลมากเช่นกัน เมื่อจนถึงบัดนี้บรรดาขุนคลังยูโรโซนยังหาข้อสรุปเป็นเสียงเดียวไม่ได้เกี่ยวกับกรณีการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปล่อยกู้ให้กรีซ โดยที่จุงเกอร์เตือนว่าเจ้าหนี้เอกชนอาจต้องยอมลดหนี้มากกว่า 21% ที่เคยตกลงไว้ในเดือนกรกฎาคม สืบเนื่องจากสถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจและการขาดดุลงบประมาณของกรีซแย่กว่าที่เคยประเมินไว้
กระนั้นก็มีรายงานว่า บรรดานายแบงก์กำลังล็อบบี้อย่างหนักให้ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปคงข้อตกลงเดิม โดยระบุว่า แม้ไม่ใช่ข้อตกลงที่สมบูรณ์แบบ ทว่าก็ยังดีกว่าตกลงอะไรกันไม่ได้เลย พร้อมกับยกเหตุผลด้วยว่า การเปิดเจรจาใหม่อาจทำลายความสำเร็จในการอนุมัติแผนการเดิมที่มาจากนักลงทุนหลากกลุ่ม อาทิ ธนาคารและบริษัทประกันภัยรายใหญ่ในยุโรป มิหนำซ้ำยังบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของยุโรปในสายตานักลงทุนที่ต้องการเห็นการดำเนินการเพื่อคลี่คลายปัญหาหนี้เรื้อรัง
อย่างไรก็ตาม ก็มีความคืบหน้าที่พอจะสร้างความอุ่นใจแก่นักลงทุนอยู่บ้าง เมื่อรัฐมนตรีคลังยูโรโซนเห็นพ้องต้องกันว่าจะให้การปกป้องธนาคารและสถาบันการเงินทั้งหลาย เนื่องจากหลายฝ่ายเริ่มมองข้ามช็อตว่า วิกฤตหนี้ในกรีซจะลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตภาคธนาคาร ด้วยเหตุที่พวกแบงก์ในยุโรป ซึ่งถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซอยู่เป็นจำนวนมาก จะประสบปัญหาหนัก ทั้งนี้หลายประเทศกังวลว่าพวกเขาอาจต้องอัดฉีดแบงก์ท้องถิ่นขนานใหญ่ หากเอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้จำนวน 357,000 ล้านยูโร ซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่จนฉุดเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
รัฐมนตรีคลัง 27 ชาติของอียูยังเห็นพ้องให้มีการรายงานสถานการณ์ ตลอดจนแผนการปกป้องธนาคารของแต่ละประเทศในการประชุมเดือนหน้าด้วย
ความเคลื่อนไหวต่างๆ ในรอบสัปดาห์ที่กล่าวมานี้ จึงพอจะคลายวิตกนักลงทุนได้บ้างบางเปราะ เพราะอย่างน้อยยุโรปก็พยายามทำให้เห็นว่า ยังไม่คิดตัดหางปล่อยวัดกรีซเสียทีเดียว ดังเช่นก่อนหน้านี้ที่มีคนเคยเสนอไอเดียผลักใสกรีซออกจากยูโรโซน ถ้าขืนยังแก้ปัญหาไม่ตก
นี่ยังไม่รวมความวิตกต่อตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจล่าสุดอันน่าพรั่นพรึงที่ระบุว่า จีดีพีกรีซอาจเติบโตชะลอตัวกว่าที่คาดหมายไว้ทั้งในปีนี้และปีหน้า ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเอเธนส์สามารถจัดเก็บภาษี หารายได้เข้าคลังได้น้อยลงกว่าที่เคยประมาณการไว้ในตอนแรก
สภาพการณ์อันไม่ชวนอภิรมย์ดังกล่าวเป็นเหตุให้บรรดาเจ้าหนี้ร้อนรนกระวนกระวาย ต้องออกมากดดันลูกหนี้อีกคำรบ โดยที่ประชุมขุนคลังกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซน เมื่อวันจันทร์ (3) ซึ่งหารือเคร่งเครียดกันนาน 7 ชั่วโมง ได้ข้อสรุปออกมาว่า พวกเขาจะเลื่อนการจ่ายเงินกู้งวดถัดไปให้กรีซจำนวน 8,000 ล้านยูโร จากแพกเกจโอบอุ้มฐานะทางการคลังรอบแรกทั้งสิ้น 110,000 ล้านยูโร ออกไปจนกระทั่งถึงกลางเดือนพฤศจิกายน พร้อมกันนี้ยังได้โยนโจทย์ใหม่ให้รัฐบาลเอเธนส์กลับไปขบคิดหาทางลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้เข้าคลังชนิดรัดกุมเข้มงวดมากกว่านี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตื่นตระหนก พากันดิ่งระนาวรับสัปดาห์ใหม่
ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป ออกมาแถลงหลังการประชุมว่า พวกเขาต้องการให้กรีซปรับแก้แผนรัดเข็มขัดในปี 2013-2014 ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ก่อนที่พวกเขาจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในช่วงก่อนสิ้นเดือนนี้ว่าจะอนุมัติเงินช่วยเหลืองวดถัดไปตามที่ตกลงกันในเดือนกรกฎาคมหรือไม่
นอกจากนี้พวกรัฐมนตรีคลังยุโรปยังต้องการให้กรีซผ่านร่างงบประมาณปี 2012 ฉบับใหม่ และประกาศบังคับใช้อย่างด่วนจี๋ โดยที่รัฐสภากรีซมีกำหนดจะลงมติรับรองในช่วงต้นเดือนหน้า
ภายใต้ร่างงบประมาณที่เสนอต่อรัฐสภาเมื่อวันจันทร์นั้น ยอดขาดดุลของกรีซปีนี้จะอยู่ที่ 8.5% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จาก 7.6% ที่ตกลงไว้กับอียู และกองทุนไอเอ็มเอฟ ขณะที่ยอดขาดดุลในปีหน้าจะอยู่ที่ 6.8% แทนที่จะเป็น 6.5% ที่คาดไว้เดิม เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะหดตัวอีก 2.5% เพิ่มเติมจากปีนี้ที่คาดว่าจะติดลบทำสถิติ 5.5% ส่งผลให้หนี้สาธารณะมีมูลค่าเท่ากับ 161.8% ของจีดีพีสำหรับปีนี้ และ 172.7% สำหรับปี 2012
จากข้อมูลข้างต้นทำให้มีความเป็นไปได้สูงมากที่กรีซจะต้องการเงินช่วยเหลือสำหรับปีหน้ามากกว่าที่คาดไว้ แต่ถึงแม้ รัฐมนตรีคลังกรีซ อีวานเกลอส เวนิเซลอส จะพยายามผ่อนคลายวิตกของตลาด โดยบอกว่ากรีซยังมีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายไปจนถึงตอนรับเงินกู้งวดถัดไปในเดือนหน้า พร้อมกับยืนกรานว่า ขุนคลังยูโรโซนไม่ได้เตรียมการจะให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ในตราสารบางประเภท แต่กระนั้น นักลงทุนก็ยังเคลือบแคลงสงสัย เมื่อก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ข่าวหลายสำนักพากันประโคมว่า เงินในคลังกรีซกำลังจะร่อยหรอหมดเกลี้ยง ไม่มีแม้แต่จะจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการ หากกรีซไม่ได้รับเงินกู้ก้อนนี้ทันท่วงทีในเดือนตุลาคม
นอกจากนี้ ความที่รายละเอียดในแพกเกจช่วยเหลือก้อนที่สองยังไม่ลงตัว ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนพากันวิตกกังวลมากเช่นกัน เมื่อจนถึงบัดนี้บรรดาขุนคลังยูโรโซนยังหาข้อสรุปเป็นเสียงเดียวไม่ได้เกี่ยวกับกรณีการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปล่อยกู้ให้กรีซ โดยที่จุงเกอร์เตือนว่าเจ้าหนี้เอกชนอาจต้องยอมลดหนี้มากกว่า 21% ที่เคยตกลงไว้ในเดือนกรกฎาคม สืบเนื่องจากสถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจและการขาดดุลงบประมาณของกรีซแย่กว่าที่เคยประเมินไว้
กระนั้นก็มีรายงานว่า บรรดานายแบงก์กำลังล็อบบี้อย่างหนักให้ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปคงข้อตกลงเดิม โดยระบุว่า แม้ไม่ใช่ข้อตกลงที่สมบูรณ์แบบ ทว่าก็ยังดีกว่าตกลงอะไรกันไม่ได้เลย พร้อมกับยกเหตุผลด้วยว่า การเปิดเจรจาใหม่อาจทำลายความสำเร็จในการอนุมัติแผนการเดิมที่มาจากนักลงทุนหลากกลุ่ม อาทิ ธนาคารและบริษัทประกันภัยรายใหญ่ในยุโรป มิหนำซ้ำยังบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของยุโรปในสายตานักลงทุนที่ต้องการเห็นการดำเนินการเพื่อคลี่คลายปัญหาหนี้เรื้อรัง
อย่างไรก็ตาม ก็มีความคืบหน้าที่พอจะสร้างความอุ่นใจแก่นักลงทุนอยู่บ้าง เมื่อรัฐมนตรีคลังยูโรโซนเห็นพ้องต้องกันว่าจะให้การปกป้องธนาคารและสถาบันการเงินทั้งหลาย เนื่องจากหลายฝ่ายเริ่มมองข้ามช็อตว่า วิกฤตหนี้ในกรีซจะลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตภาคธนาคาร ด้วยเหตุที่พวกแบงก์ในยุโรป ซึ่งถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซอยู่เป็นจำนวนมาก จะประสบปัญหาหนัก ทั้งนี้หลายประเทศกังวลว่าพวกเขาอาจต้องอัดฉีดแบงก์ท้องถิ่นขนานใหญ่ หากเอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้จำนวน 357,000 ล้านยูโร ซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่จนฉุดเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
รัฐมนตรีคลัง 27 ชาติของอียูยังเห็นพ้องให้มีการรายงานสถานการณ์ ตลอดจนแผนการปกป้องธนาคารของแต่ละประเทศในการประชุมเดือนหน้าด้วย
ความเคลื่อนไหวต่างๆ ในรอบสัปดาห์ที่กล่าวมานี้ จึงพอจะคลายวิตกนักลงทุนได้บ้างบางเปราะ เพราะอย่างน้อยยุโรปก็พยายามทำให้เห็นว่า ยังไม่คิดตัดหางปล่อยวัดกรีซเสียทีเดียว ดังเช่นก่อนหน้านี้ที่มีคนเคยเสนอไอเดียผลักใสกรีซออกจากยูโรโซน ถ้าขืนยังแก้ปัญหาไม่ตก