เอเจนซี/เอเอฟพี - ร่างกฎหมายที่สหรัฐฯ มุ่งลงโทษจีนกรณีปั่นค่าเงินหยวนให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งเดิมทีทำท่าว่าน่าจะผ่านทั้งสภาสูง รวมถึงสภาล่างที่มีรีพับลิกันครองเสียงข้างมากได้อย่างไม่ยากเย็น ปรากฏว่ากลายเป็นเรื่องไม่แน่นอนเสียแล้ว หลังจากจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสังกัดรีพับลิกัน ออกมาแสดงท่าทีคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว โดยระบุว่า การผลักดันกฎหมายเพื่อกดดันทางอ้อมให้ประเทศหนึ่งจัดการกับค่าเงินตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ “อันตราย”
โบห์เนอร์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ระบุว่า “ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องค่อนข้างอันตรายที่จะผลักดันร่างกฎหมายนี้ผ่านคองเกรสเพื่อบีบบังคับให้บางประเทศจัดการกับค่าเงินของพวกเขาเอง”
“ขณะเดียวกัน ผมก็รู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับวิธีการที่จีนจะจัดการกับค่าเงินของพวกเขา แต่ผมก็ชักไม่แน่ใจว่านี่จะเป็นหนทางแก้ไขปัญหา”
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมา ประธานสภาผู้แทนฯ มักสามารถบงการได้ว่าจะให้สภาพิจารณาร่างกฎหมายฉบับใด อย่างไรก็ตาม เวลานี้โบห์เนอร์ตกอยู่ในสภาพที่ต้องต่อสู้ขับเคี่ยวกับศึกภายใน เมื่อ ส.ส.รีพับลิกันระดับอาวุโสที่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้เริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น อีกทั้งมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า ก็ประกาศเห็นด้วยเต็มตัว
ทว่า ก่อนหน้านี้ ส.ส.เอริก แคนเตอร์ ผู้นำเสียงข้างมากในสภาล่างของรีพับลิกัน ได้ออกมาเตือนว่า กฎหมายซึ่งมุ่งเล่นงานจีนฉบับนี้อาจสร้างความเสียหายอย่างไม่ตั้งใจแก่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็เป็นได้
ด้านพรรคเดโมแครต ซึ่ง ส.ส.และวุฒิสมาชิกจำนวนมากเห็นชอบกับร่างกฎหมายนี้ ได้พยายามเพิ่มแรงกดดันโบห์เนอร์ ด้วยการทวงคำมั่นสัญญาที่เขาเคยให้ไว้เมื่อตอนที่เข้านั่งเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรใหม่ๆ ในเดือนมกราคมว่าจะปล่อยให้กระบวนนิติบัญญัติในสภาล่างเป็นไปตามเจตจำนงของมัน
“ด้วยเหตุผลบางประการซึ่งอธิบายไม่ได้ เวลานี้ผู้นำของรีพับลิกันในสภาล่างกลับกำลังยืนอยู่ข้างรัฐบาลจีน นี่ไม่ใช่เวลาที่จะมาอ่อนปวกเปียกกับปักกิ่งเลย” วุฒิสมาชิกชาร์ลส์ ชูเมอร์ จากเดโมแครต ซึ่งเป็นผู้ร่วมร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว กระแนะกระแหน
“จีนเข้าใจเพียงอย่างเดียวก็คือ ดื้อรั้นหัวชนฝา” ชูเมอร์ ล่าว โดยที่เขาปฏิเสธข้อเสนอของ ส.ว.คนอื่นๆ ที่ขอให้นั่งลงหารือกันแบบพหุภาคี
แต่ถึงแม้โบห์เนอร์จะแสดงท่าทีลังเลเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ ทว่า ส.ส.ที่มีจุดยืนสนับสนุนบอกว่า ตอนนี้มีผู้ที่จะโหวตเห็นด้วยอยู่ทั้งหมด 225 เสียงแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้รวม ส.ส.จากรีพับลิกัน 61 เสียง
ทั้งนี้ วุฒิสภามีกำหนดเริ่มพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในสัปดาห์นี้ โดยหากสามารถผ่านการเห็นชอบของทั้งสองสภาและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยอมลงนามประกาศใช้ ก็จะเปิดทางให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถตั้งกำแพงภาษีลงโทษสินค้าจากประเทศใดก็ตามที่ถูกตรวจสอบพบว่าแทรกแซงค่าเงินเพื่อให้ตนได้เปรียบด้านราคานั้น
ด้าน ไบรอัน การ์ดเนอร์ รองประธานอาวุโส ณ ศูนย์วิจัยวอชิงตัน รีเสิร์ช แห่งวาณิชธนกิจ นีฟ บรูยีตต์ แอนด์ วูดส์ ให้ทัศนะว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจแท้งในสภาล่าง ทว่า ก็มีหลายเหตุผลที่อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น”
“ประการแรกยังไม่มีการแถลงสรุปการตัดสินใจอย่างเป็นทางการออกมาจากพวกผู้นำรีพับลิกันในสภาล่างว่า พวกเขาไม่รับร่างกฎหมายฉบับนี้”
“ประการต่อมาก็คือ พวกรีพับลิกันจำนวนมากทีเดียว คล้อยตามสนับสนุนร่างกฎหมายนี้”
ทั้งนี้ รีพับลิกันมีความเห็นต่อประเด็นเรื่องหยวนแตกแยกออกไปเป็นสองฝ่าย โดยที่ผ่านมา บรรดาผู้กำหนดนโยบายในสภาของรีพับลิกัน มักคัดค้านมาตรการใดๆ ก็ตามที่อาจทำลายหลักการค้าเสรีที่พรรคยึดมั่นเสมอมา อย่างไรก็ดี มิตต์ รอมนีย์ ประกาศกร้าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เขาจะระบุว่าจีนเป็นผู้ปั่นค่าเงินตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งเลยทีเดียว
ด้าน เจย์ คาร์นีย์ โฆษกประจำทำเนียบขาว ระบุว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา กำลังพิจารณาทบทวนร่างกฎหมายที่กำลังอภิปรายกันอยู่ในสภาซีเนตนี้
“พวกเราต่างก็รู้สึกวิตกกังวลร่วมไปกับสมาชิก (คองเกรส) เกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงินให้ต่ำเข้าไว้เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาด ตลอดจนตระหนักถึงความจำเป็นที่จะทำให้มันแข็งค่าขึ้น” คาร์นีย์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ ฟอร์ซ วันของประธานาธิบดี แต่พร้อมกันนั้นเขาก็ระบุว่า รัฐบาลต้องการให้แน่ใจเสียก่อนว่ามาตรการใดๆ จะไม่ขัดต่อ “พันธกรณีสากล”
ทางด้านหนังสือพิมพ์เหรินหมิน รึเป้า อันเป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน วิจารณ์สหรัฐฯ ลงในบทบรรณาธิการฉบับวันพุธ (5) ว่า พวกกำหนดนโยบายในรัฐสภาสหรัฐฯพยายามที่จะกลบเกลื่อนความไร้ความสมารถของตนเองในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการโยนความผิดไปให้จีน
“ชาวอเมริกันที่สนับสนุนให้เหรินหมินปี้ลอยตัวขึ้น จำต้องยอมรับความจริงว่า การที่หยวนแข็งค่าขึ้นไม่ใช่ยารักษาสารพัดโรคที่จะแก้ปัญหาสหรัฐฯ ได้” สื่อจีนระบุ
นอกเหนือจากปักกิ่งที่โกรธเป็นฟืนเป็นไฟแล้ว นักวิจารณ์มากมายจากในสหรัฐฯ เองที่ออกมาโจมตีด้วยเช่นกัน พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์ว่า กฎหมายนี้อาจจุดชนวนความตึงเครียดทางการค้าขึ้นในยามที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเติบโตชะลอตัวแบบนี้
ขณะที่ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ฟอรัม ซึ่งเป็นองค์กรด้านนโยบายเศรษฐกิจและการเงินที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมีผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ยักษ์ใหญ่หลายรายเป็นสมาชิกอยู่ด้วย เป็นต้นว่า โกลด์แมน แซค, เจพี มอร์แกน ตลอดจนแบงก์ ออฟ อเมริกา นั้น ก็ได้เรียกร้องให้รัฐสภาระงับการผ่านกฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้
โบห์เนอร์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ระบุว่า “ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องค่อนข้างอันตรายที่จะผลักดันร่างกฎหมายนี้ผ่านคองเกรสเพื่อบีบบังคับให้บางประเทศจัดการกับค่าเงินของพวกเขาเอง”
“ขณะเดียวกัน ผมก็รู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับวิธีการที่จีนจะจัดการกับค่าเงินของพวกเขา แต่ผมก็ชักไม่แน่ใจว่านี่จะเป็นหนทางแก้ไขปัญหา”
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมา ประธานสภาผู้แทนฯ มักสามารถบงการได้ว่าจะให้สภาพิจารณาร่างกฎหมายฉบับใด อย่างไรก็ตาม เวลานี้โบห์เนอร์ตกอยู่ในสภาพที่ต้องต่อสู้ขับเคี่ยวกับศึกภายใน เมื่อ ส.ส.รีพับลิกันระดับอาวุโสที่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้เริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น อีกทั้งมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า ก็ประกาศเห็นด้วยเต็มตัว
ทว่า ก่อนหน้านี้ ส.ส.เอริก แคนเตอร์ ผู้นำเสียงข้างมากในสภาล่างของรีพับลิกัน ได้ออกมาเตือนว่า กฎหมายซึ่งมุ่งเล่นงานจีนฉบับนี้อาจสร้างความเสียหายอย่างไม่ตั้งใจแก่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็เป็นได้
ด้านพรรคเดโมแครต ซึ่ง ส.ส.และวุฒิสมาชิกจำนวนมากเห็นชอบกับร่างกฎหมายนี้ ได้พยายามเพิ่มแรงกดดันโบห์เนอร์ ด้วยการทวงคำมั่นสัญญาที่เขาเคยให้ไว้เมื่อตอนที่เข้านั่งเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรใหม่ๆ ในเดือนมกราคมว่าจะปล่อยให้กระบวนนิติบัญญัติในสภาล่างเป็นไปตามเจตจำนงของมัน
“ด้วยเหตุผลบางประการซึ่งอธิบายไม่ได้ เวลานี้ผู้นำของรีพับลิกันในสภาล่างกลับกำลังยืนอยู่ข้างรัฐบาลจีน นี่ไม่ใช่เวลาที่จะมาอ่อนปวกเปียกกับปักกิ่งเลย” วุฒิสมาชิกชาร์ลส์ ชูเมอร์ จากเดโมแครต ซึ่งเป็นผู้ร่วมร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว กระแนะกระแหน
“จีนเข้าใจเพียงอย่างเดียวก็คือ ดื้อรั้นหัวชนฝา” ชูเมอร์ ล่าว โดยที่เขาปฏิเสธข้อเสนอของ ส.ว.คนอื่นๆ ที่ขอให้นั่งลงหารือกันแบบพหุภาคี
แต่ถึงแม้โบห์เนอร์จะแสดงท่าทีลังเลเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ ทว่า ส.ส.ที่มีจุดยืนสนับสนุนบอกว่า ตอนนี้มีผู้ที่จะโหวตเห็นด้วยอยู่ทั้งหมด 225 เสียงแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้รวม ส.ส.จากรีพับลิกัน 61 เสียง
ทั้งนี้ วุฒิสภามีกำหนดเริ่มพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในสัปดาห์นี้ โดยหากสามารถผ่านการเห็นชอบของทั้งสองสภาและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยอมลงนามประกาศใช้ ก็จะเปิดทางให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถตั้งกำแพงภาษีลงโทษสินค้าจากประเทศใดก็ตามที่ถูกตรวจสอบพบว่าแทรกแซงค่าเงินเพื่อให้ตนได้เปรียบด้านราคานั้น
ด้าน ไบรอัน การ์ดเนอร์ รองประธานอาวุโส ณ ศูนย์วิจัยวอชิงตัน รีเสิร์ช แห่งวาณิชธนกิจ นีฟ บรูยีตต์ แอนด์ วูดส์ ให้ทัศนะว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจแท้งในสภาล่าง ทว่า ก็มีหลายเหตุผลที่อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น”
“ประการแรกยังไม่มีการแถลงสรุปการตัดสินใจอย่างเป็นทางการออกมาจากพวกผู้นำรีพับลิกันในสภาล่างว่า พวกเขาไม่รับร่างกฎหมายฉบับนี้”
“ประการต่อมาก็คือ พวกรีพับลิกันจำนวนมากทีเดียว คล้อยตามสนับสนุนร่างกฎหมายนี้”
ทั้งนี้ รีพับลิกันมีความเห็นต่อประเด็นเรื่องหยวนแตกแยกออกไปเป็นสองฝ่าย โดยที่ผ่านมา บรรดาผู้กำหนดนโยบายในสภาของรีพับลิกัน มักคัดค้านมาตรการใดๆ ก็ตามที่อาจทำลายหลักการค้าเสรีที่พรรคยึดมั่นเสมอมา อย่างไรก็ดี มิตต์ รอมนีย์ ประกาศกร้าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เขาจะระบุว่าจีนเป็นผู้ปั่นค่าเงินตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งเลยทีเดียว
ด้าน เจย์ คาร์นีย์ โฆษกประจำทำเนียบขาว ระบุว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา กำลังพิจารณาทบทวนร่างกฎหมายที่กำลังอภิปรายกันอยู่ในสภาซีเนตนี้
“พวกเราต่างก็รู้สึกวิตกกังวลร่วมไปกับสมาชิก (คองเกรส) เกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงินให้ต่ำเข้าไว้เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาด ตลอดจนตระหนักถึงความจำเป็นที่จะทำให้มันแข็งค่าขึ้น” คาร์นีย์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ ฟอร์ซ วันของประธานาธิบดี แต่พร้อมกันนั้นเขาก็ระบุว่า รัฐบาลต้องการให้แน่ใจเสียก่อนว่ามาตรการใดๆ จะไม่ขัดต่อ “พันธกรณีสากล”
ทางด้านหนังสือพิมพ์เหรินหมิน รึเป้า อันเป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน วิจารณ์สหรัฐฯ ลงในบทบรรณาธิการฉบับวันพุธ (5) ว่า พวกกำหนดนโยบายในรัฐสภาสหรัฐฯพยายามที่จะกลบเกลื่อนความไร้ความสมารถของตนเองในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการโยนความผิดไปให้จีน
“ชาวอเมริกันที่สนับสนุนให้เหรินหมินปี้ลอยตัวขึ้น จำต้องยอมรับความจริงว่า การที่หยวนแข็งค่าขึ้นไม่ใช่ยารักษาสารพัดโรคที่จะแก้ปัญหาสหรัฐฯ ได้” สื่อจีนระบุ
นอกเหนือจากปักกิ่งที่โกรธเป็นฟืนเป็นไฟแล้ว นักวิจารณ์มากมายจากในสหรัฐฯ เองที่ออกมาโจมตีด้วยเช่นกัน พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์ว่า กฎหมายนี้อาจจุดชนวนความตึงเครียดทางการค้าขึ้นในยามที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเติบโตชะลอตัวแบบนี้
ขณะที่ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ฟอรัม ซึ่งเป็นองค์กรด้านนโยบายเศรษฐกิจและการเงินที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมีผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ยักษ์ใหญ่หลายรายเป็นสมาชิกอยู่ด้วย เป็นต้นว่า โกลด์แมน แซค, เจพี มอร์แกน ตลอดจนแบงก์ ออฟ อเมริกา นั้น ก็ได้เรียกร้องให้รัฐสภาระงับการผ่านกฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้