เอเอฟพี - ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ กำลังพิจารณาแผนการติดตั้งกำแพงใต้ดินรอบเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเจ้าปัญหา เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีไหลซึมออกสู่ภายนอกอีกต่อไป สถานีโทรทัศน์ ทีวีอาซาฮี รายงาน
บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) กำลังศึกษาวิธีการตั้งกำแพงในชั้นใต้ดิน เพื่อกั้นน้ำปนเปื้อนรังสีที่รั่วไหลออกมาจากเตาปฏิกรณ์ไม่ให้ไหลซึมออกสู่ภายนอก ทีวีอาซาฮีรายงานโดยไม่ได้อ้างอิงแหล่งข่าว
เจ้าหน้าที่ต้องขุดดินลึกลงไป 15 เมตร เพื่อก่อกำแพงในชั้นดินที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี
ทั้งนี้ เท็ปโกเทน้ำจำนวนมหาศาลลงในเตาปฏิกรณ์และบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วที่มีอุณหภูมิสูง หลังแผ่นดินไหว 9.0 และคลื่นสึนามิ ทำลายระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่พบน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับเข้มข้นในอาคารกังหันและอุโมงค์ใต้ดิน อีกทั้งน้ำปนเปื้อนรังสีบางส่วนยังได้ไหลซึมจากรอยร้าวคอนกรีตลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แม้เจ้าหน้าที่สามารถปิดรอยร้าวดังกล่าวได้แล้ว แต่ยังมีภารกิจต้องทำเพิ่มเติม คือ การรับประกันว่าจะไม่มีน้ำใต้ดินปนเปื้อนรังสีรั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้า
ด้านโฆษกของเท็ปโกยังไม่ยืนยันถึงแผนการดังกล่าว โดยระบุว่า “ทางบริษัทจะพิจารณาถึงมาตรการต่างๆ ที่เป็นไปได้ การก่อกำแพงใต้ดินรอบเตาปฏิกรณ์อาจเป็นหนึ่งในนั้น”
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กำลังพยายามควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้หล่อเย็น เพื่อจำกัดปริมาณน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิภายในบ่อบรรจุแท่งเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เพิ่มขึ้นสูงถึงระดับ 91 องศาเซลเซียส ทำให้เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้แท่งเชื้อเพลิงสัมผัสกับอากาศ และปลดปล่อยรังสีออกมา เท็ปโกแถลงวันนี้ (23)
“ทางบริษัทกำลังพิจารณาถึงการส่งกล้องซีซีดีแบบกันน้ำลงไปในบ่อบรรจุแท่งเชื้อเพลิง แต่ตอนนี้อุณหภูมิ 91 องศาเซลเซียส ถือว่าสูงเกินไป” โฆษกเท็ปโกกล่าว “แต่เราจำเป็นต้องเฝ้าระวังจำนวนน้ำที่ฉีดเข้าไปอย่างละเอียด”
อนึ่ง กล้องซีซีดีจะใช้ตรวจสอบสภาพของแท่งเชื้อเพลิงว่าเกิดการหลอมละลายไปแล้วบ้างหรือไม่
บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) กำลังศึกษาวิธีการตั้งกำแพงในชั้นใต้ดิน เพื่อกั้นน้ำปนเปื้อนรังสีที่รั่วไหลออกมาจากเตาปฏิกรณ์ไม่ให้ไหลซึมออกสู่ภายนอก ทีวีอาซาฮีรายงานโดยไม่ได้อ้างอิงแหล่งข่าว
เจ้าหน้าที่ต้องขุดดินลึกลงไป 15 เมตร เพื่อก่อกำแพงในชั้นดินที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี
ทั้งนี้ เท็ปโกเทน้ำจำนวนมหาศาลลงในเตาปฏิกรณ์และบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วที่มีอุณหภูมิสูง หลังแผ่นดินไหว 9.0 และคลื่นสึนามิ ทำลายระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่พบน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับเข้มข้นในอาคารกังหันและอุโมงค์ใต้ดิน อีกทั้งน้ำปนเปื้อนรังสีบางส่วนยังได้ไหลซึมจากรอยร้าวคอนกรีตลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แม้เจ้าหน้าที่สามารถปิดรอยร้าวดังกล่าวได้แล้ว แต่ยังมีภารกิจต้องทำเพิ่มเติม คือ การรับประกันว่าจะไม่มีน้ำใต้ดินปนเปื้อนรังสีรั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้า
ด้านโฆษกของเท็ปโกยังไม่ยืนยันถึงแผนการดังกล่าว โดยระบุว่า “ทางบริษัทจะพิจารณาถึงมาตรการต่างๆ ที่เป็นไปได้ การก่อกำแพงใต้ดินรอบเตาปฏิกรณ์อาจเป็นหนึ่งในนั้น”
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กำลังพยายามควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้หล่อเย็น เพื่อจำกัดปริมาณน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิภายในบ่อบรรจุแท่งเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เพิ่มขึ้นสูงถึงระดับ 91 องศาเซลเซียส ทำให้เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้แท่งเชื้อเพลิงสัมผัสกับอากาศ และปลดปล่อยรังสีออกมา เท็ปโกแถลงวันนี้ (23)
“ทางบริษัทกำลังพิจารณาถึงการส่งกล้องซีซีดีแบบกันน้ำลงไปในบ่อบรรจุแท่งเชื้อเพลิง แต่ตอนนี้อุณหภูมิ 91 องศาเซลเซียส ถือว่าสูงเกินไป” โฆษกเท็ปโกกล่าว “แต่เราจำเป็นต้องเฝ้าระวังจำนวนน้ำที่ฉีดเข้าไปอย่างละเอียด”
อนึ่ง กล้องซีซีดีจะใช้ตรวจสอบสภาพของแท่งเชื้อเพลิงว่าเกิดการหลอมละลายไปแล้วบ้างหรือไม่