(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Japan catastrophe sends shock waves
By Victor Kotsev
17/03/2011
ญี่ปุ่นและทั่วทั้งโลกต่างบังเกิดความตื่นตระหนกมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ทำท่าเลวร้ายลงทุกที และนอกเหนือจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยแล้ว คลื่นช็อกของวิกฤตนิวเคลียร์คราวนี้ยังจะเป็นที่รู้สึกกันได้ในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่อนาคตอันไม่แน่นอนของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์โลก และการที่ประเทศต่างๆ ต้องพึ่งพาอาศัยก๊าซธรรมชาติกันเพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงผลพวงของวิกฤตคราวนี้ที่จะมีต่ออ่าวเปอร์เซีย
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
จากการที่ในแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ไม่ว่าจะเป็นแท่งที่ใช้แล้วหรือเป็นแท่งที่กำลังใช้งานอยู่ ล้วนแต่มีส่วนผสมของพลูโตเนียม ก็กำลังกลายเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความกังวลใจ (รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องพลูโตเนียมมีผลอย่างไรต่อสุขภาพของมนุษย์ สามารถหาอ่านได้ว่า http://www.ieer.org/ensec2no-3/puhealth.html)
นอกเหนือจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยต่อมนุษย์แล้ว คลื่นช็อกที่สะเทือนสะท้านจากกรณีการหลอมละลายทางนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นคราวนี้ ยังจะเป็นที่รู้สึกกันได้ในอีกหลายๆ ระดับทีเดียว โดยที่ในขณะนี้แรงสั่นสะเทือนเหล่านี้กำลังเพิ่งเริ่มต้นปรากฏออกมาให้เห็นเท่านั้น ท่ามกลางการกระหน่ำเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของหลายๆ ประเทศ ผู้คนจำนวนมากจึงคาดเก็งกันว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกอาจจะหวนกลับคืนมาอย่างแข็งแกร่งน่าหวาดหวั่น [8] พวกนักวิเคราะห์ชาวรัสเซียแสดงความเห็นว่า ถ้าหากโตเกียวรอดพ้นไม่ได้รับความเสียหายจากกัมมันตภาพรังสีอย่างมากมายใหญ่โตแล้ว ภาพสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกดังกล่าวนี้ก็อาจจะไม่บังเกิดขึ้น ทว่าสำหรับในปัจจุบันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อสมมุติฐานหรือผลที่ปรากฏออกมา ล้วนยังไร้ความกระจ่างแน่นอนและยังจะต้องถูกตั้งคำถามกันทั้งสิ้น
กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ค่อนข้างจะแน่นอนทีเดียวก็คือ อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอนาคตอันไร้ทิศทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่มีการเปิดเผยเอกสารลับทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯโดยเว็บไซต์วิกิลีกส์ที่ระบุว่า ญี่ปุ่นเพิกเฉยละเลยเสียงเตือนหลายครั้งหลายหนที่ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของแดนอาทิตย์อุทัยไม่อาจต้านทานแผ่นดินใหญ่ที่มีขนาดรุนแรงสูงๆ ได้ [9] ลีออน เกตต์เลอร์ (Leon Gettler) เขียนเอาไว้ในหนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิ่ง เฮรัลด์ (Sydney Morning Herald) ของออสเตรเลียว่า “ในระยะสั้นแล้ว เราสามารถคาดหมายได้ว่า สิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นในญี่ปุ่นจะทำให้ต้องกลับมาอภิปรายถกเถียงกันใหม่อย่างสิ้นเชิง ในประเด็นที่ว่ากระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ควรที่จะเป็นหนทางออกสำหรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือไม่”
ผู้สังเกตการณ์บางรายกำลังพยากรณ์ว่า ในระยะยาวแล้ว ความหายนะคราวนี้อาจนำไปสู่การพึ่งพาอาศัยก๊าซธรรมชาติกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลไปในทางบวกทั้งสำหรับสิ่งแวดล้อม และทั้งสำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ตามความเห็นของ สตีฟ เลอวีน (Steve LeVine) ซึ่งเขียนเอาไว้ในบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี” (Foreign Policy) เขาบอกว่า “ความหมายโดยนัยของเรื่องนี้ถือว่ารุนแรงยิ่งในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ นั่นคือ สำหรับพวกประเทศที่อุดมด้วยก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก เป็นต้นว่า กาตาร์, ออสเตรเลีย, และสหรัฐฯ จะได้เห็นการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ทำให้พวกเขามีอิทธิพลเพิ่มสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ นอกจากนั้น การปรับเปลี่ยนที่ถือว่าสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ (ความย่ำแย่เลวร้ายของ) สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากก๊าซธรรมชาตินั้นปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพียงแค่หนึ่งในสามของถ่านหิน และเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของน้ำมัน”
ถ้าหากการวิเคราะห์เช่นนี้ถูกต้อง (ต้องระวังว่า บทความของเลอวีนเองก็ได้กล่าวเตือนเอาไว้ด้วยว่า “ยังมีนักวิเคราะห์อื่นๆที่พยากรณ์ว่าจะเกิดระยะหัวเลี้ยวหัวต่ออยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งจะมีการแก้ไขคลี่คลายความวิตกกังวลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ หลังจากนั้นก็จะกลับมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาอีก”) รัสเซีย (ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อีกรายหนึ่ง) ก็จะต้องได้ประโยชน์ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย อันที่จริงแล้ว รัสเซียกระทั่งอาจจะได้ประโยชน์มากกว่าสหรัฐฯด้วยซ้ำ มีความเป็นไปได้ที่ว่า ในระยะยาวแล้วเราอาจจะได้เห็นการร่วมมือคบคิดกันระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น ในทางเทคนิคแล้วสองประเทศนี้ยังถือว่าเป็นคู่สงครามกันอยู่ ตั้งแต่ที่สหภาพโซเวียตช่วงชิงหมู่เกาะคูริลจากญี่ปุ่นในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เนื่องจากญี่ปุ่นมีความต้องการพลังงานเป็นอย่างยิ่ง ความต้องการเช่นนี้ยิ่งรุนแรงขึ้นอีกจากการที่ตนเองต้องสูญเสียเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และสถานการณ์ในอ่าวเปอร์เซียอยู่ในอาการไร้เสถียรภาพ สภาพการณ์เช่นนี้จึงอาจบีบบังคับให้แดนอาทิตย์อุทัยต้องยอมขยับเข้าใกล้อดีตศัตรูของตนรายนี้ [10] ในทางกลับกัน รัสเซียก็ต้องการได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งแทบจะเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่าจะทำให้หมีขาวพรักพร้อมที่จะทำการประนีประนอม
การคาดเดาดังที่กล่าวมานี้ยังต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ยังอยู่ห่างไกลมาก ทว่าก็ไม่ได้ถึงกับไม่มีมูลความจริงเอาเสียเลย (แต่สิ่งที่ดูจะมีสีสันฉูดฉาดยิ่งกว่าการวิเคราะห์ดังที่กล่าวมาเหล่านี้ด้วยซ้ำ ก็คือคำแถลงของ วลาดิมีร์ ซิรินอฟสกี Vladimir Zhirinovsky นักการเมืองชาวรัสเซียซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องชอบพูดอะไรแบบโผงผางไม่มีบันยะบันยัง ทั้งนี้เขาพูดเมื่อวันอาทิตย์(13) เรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่น “ทิ้งหมู่เกาะที่เต็มไปด้วยอันตรายของพวกเขา” และหันมาตั้งรกรากถิ่นฐานในดินแดนที่ไร้ผู้คนพำนักอาศัยของรัสเซีย)
“สแทรตฟอร์” (Stratfor) หน่วยงานคลังสมองสัญชาติอเมริกัน เสนอแนะว่าสืบเนื่องจากภัยพิบัติคราวนี้ ญี่ปุ่นอาจจะหันกลับมาพิจารณาทบทวนเส้นทางแห่งนโยบายการต่างประเทศของตนเสียใหม่
ทั้งนี้ สแทรตฟอร์เขียนเอาไว้ดังนี้ “ภาคพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเคยดูเหมือนกับมีความปลอดภัยเอามากๆ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในภาคอื่นๆ ของโครงสร้างด้านพลังงานของแดนอาทิตย์อุทัย สำหรับญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เคยทำสงครามกับสหรัฐฯมาแล้วสืบเนื่องจากข้อพิพาทด้านพลังงานเมื่อปี 1941 และก็ได้รับผลอันเป็นความหายนะ สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย ... คำถามอยู่ที่ว่าระบบการเมืองของญี่ปุ่นจะตอบโต้อย่างไร ในการรับมือกับ (วิกฤตที่เกิดขึ้นใน) อ่าวเปอร์เซียนั้น ญี่ปุ่นจะยังคงเดินตามการนำของอเมริกันต่อไป หรือจะตัดสินเข้าควบคุมสถานการณ์ให้มากขึ้นและเดินตามเส้นทางของตนเอง? สิ่งที่น่าจะบังเกิดขึ้นก็คือ ความมั่นอกมั่นใจในตนเองที่ถูกสั่นคลอนมากจากเหตุการณ์คราวนี้ จะทำให้ญี่ปุ่นใช้ท่าทีที่ระมัดระวังรอบคอบมากขึ้น และกระทั่งจะมีความอ่อนแอเพิ่มขึ้นด้วย”
นอกเหนือจากปฏิกิริยาของญี่ปุ่นแล้ว แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า กรณีการหลอมละลายทางนิวเคลียร์คราวนี้ยังจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมากต่อวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย ผลกระทบเหล่านี้น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ตรงไปตรงมามองเห็นได้อย่างถนัดชัดเจนทันที ทว่าอาจจะปรากฏโฉมขึ้นมาในเร็ววันนี้
ในด้านหนึ่ง ภัยพิบัติคราวนี้น่าที่จะทำให้ประชาคมระหว่างประเทศยิ่งยอมรับได้ยากขึ้นไปอีก ในเรื่องโครงการด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ความอดกลั้นอดทนของนานาชาติต่อการที่จะมีการทำลายโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน (ซึ่งทั้งอิสราเอลและสหรัฐฯต่างก็ถูกกล่าวหากันทั้งคู่ว่าได้ดำเนินการไปแล้วโดยที่ประสบความสำเร็จในการโจมตี ) ก็ดูจะเป็นเรื่องเป็นไปได้น้อยลงอย่างมากๆ เป็นไปได้ที่ว่าวิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่นคราวนี้ จะกลายเป็นการทำลายแผนการใดๆ ก็ตามทีที่มุ่งจะโจมตีอาคารสถานที่ทางด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน
กล่าวโดยรวมแล้ว ในขั้นตอนนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำนายถึงขนาดขอบเขตของความเสียหายจากความหายนะทางด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ยิ่งการพยากรณ์ถึงผลสืบเนื่องทางด้านภูมิยุทธศาสตร์ให้ออกมาอย่างถูกต้องแม่นยำด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ลดลงไปอีก อย่างไรก็ดี สิ่งที่ดูจะแน่นอนแล้วก็คือ ภายหลังเหตุการณ์คราวนี้โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
หมายเหตุ
8. World Markets Dive as Investors Retreat to Safety, New York Times, March 15, 2011.
9. Japan earthquake: Japan warned over nuclear plants, WikiLeaks cables show, The Telegraph, March 15, 2011.
10. Kuril islands dispute between Russia and Japan November 1, 2010.
วิกเตอร์ คอตเซฟ เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์การเมือง ซึ่งพำนักอยู่ในกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล
Japan catastrophe sends shock waves
By Victor Kotsev
17/03/2011
ญี่ปุ่นและทั่วทั้งโลกต่างบังเกิดความตื่นตระหนกมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ทำท่าเลวร้ายลงทุกที และนอกเหนือจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยแล้ว คลื่นช็อกของวิกฤตนิวเคลียร์คราวนี้ยังจะเป็นที่รู้สึกกันได้ในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่อนาคตอันไม่แน่นอนของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์โลก และการที่ประเทศต่างๆ ต้องพึ่งพาอาศัยก๊าซธรรมชาติกันเพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงผลพวงของวิกฤตคราวนี้ที่จะมีต่ออ่าวเปอร์เซีย
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
จากการที่ในแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ไม่ว่าจะเป็นแท่งที่ใช้แล้วหรือเป็นแท่งที่กำลังใช้งานอยู่ ล้วนแต่มีส่วนผสมของพลูโตเนียม ก็กำลังกลายเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความกังวลใจ (รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องพลูโตเนียมมีผลอย่างไรต่อสุขภาพของมนุษย์ สามารถหาอ่านได้ว่า http://www.ieer.org/ensec2no-3/puhealth.html)
นอกเหนือจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยต่อมนุษย์แล้ว คลื่นช็อกที่สะเทือนสะท้านจากกรณีการหลอมละลายทางนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นคราวนี้ ยังจะเป็นที่รู้สึกกันได้ในอีกหลายๆ ระดับทีเดียว โดยที่ในขณะนี้แรงสั่นสะเทือนเหล่านี้กำลังเพิ่งเริ่มต้นปรากฏออกมาให้เห็นเท่านั้น ท่ามกลางการกระหน่ำเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของหลายๆ ประเทศ ผู้คนจำนวนมากจึงคาดเก็งกันว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกอาจจะหวนกลับคืนมาอย่างแข็งแกร่งน่าหวาดหวั่น [8] พวกนักวิเคราะห์ชาวรัสเซียแสดงความเห็นว่า ถ้าหากโตเกียวรอดพ้นไม่ได้รับความเสียหายจากกัมมันตภาพรังสีอย่างมากมายใหญ่โตแล้ว ภาพสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกดังกล่าวนี้ก็อาจจะไม่บังเกิดขึ้น ทว่าสำหรับในปัจจุบันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อสมมุติฐานหรือผลที่ปรากฏออกมา ล้วนยังไร้ความกระจ่างแน่นอนและยังจะต้องถูกตั้งคำถามกันทั้งสิ้น
กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ค่อนข้างจะแน่นอนทีเดียวก็คือ อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอนาคตอันไร้ทิศทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่มีการเปิดเผยเอกสารลับทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯโดยเว็บไซต์วิกิลีกส์ที่ระบุว่า ญี่ปุ่นเพิกเฉยละเลยเสียงเตือนหลายครั้งหลายหนที่ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของแดนอาทิตย์อุทัยไม่อาจต้านทานแผ่นดินใหญ่ที่มีขนาดรุนแรงสูงๆ ได้ [9] ลีออน เกตต์เลอร์ (Leon Gettler) เขียนเอาไว้ในหนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิ่ง เฮรัลด์ (Sydney Morning Herald) ของออสเตรเลียว่า “ในระยะสั้นแล้ว เราสามารถคาดหมายได้ว่า สิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นในญี่ปุ่นจะทำให้ต้องกลับมาอภิปรายถกเถียงกันใหม่อย่างสิ้นเชิง ในประเด็นที่ว่ากระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ควรที่จะเป็นหนทางออกสำหรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือไม่”
ผู้สังเกตการณ์บางรายกำลังพยากรณ์ว่า ในระยะยาวแล้ว ความหายนะคราวนี้อาจนำไปสู่การพึ่งพาอาศัยก๊าซธรรมชาติกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลไปในทางบวกทั้งสำหรับสิ่งแวดล้อม และทั้งสำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ตามความเห็นของ สตีฟ เลอวีน (Steve LeVine) ซึ่งเขียนเอาไว้ในบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี” (Foreign Policy) เขาบอกว่า “ความหมายโดยนัยของเรื่องนี้ถือว่ารุนแรงยิ่งในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ นั่นคือ สำหรับพวกประเทศที่อุดมด้วยก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก เป็นต้นว่า กาตาร์, ออสเตรเลีย, และสหรัฐฯ จะได้เห็นการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ทำให้พวกเขามีอิทธิพลเพิ่มสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ นอกจากนั้น การปรับเปลี่ยนที่ถือว่าสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ (ความย่ำแย่เลวร้ายของ) สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากก๊าซธรรมชาตินั้นปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพียงแค่หนึ่งในสามของถ่านหิน และเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของน้ำมัน”
ถ้าหากการวิเคราะห์เช่นนี้ถูกต้อง (ต้องระวังว่า บทความของเลอวีนเองก็ได้กล่าวเตือนเอาไว้ด้วยว่า “ยังมีนักวิเคราะห์อื่นๆที่พยากรณ์ว่าจะเกิดระยะหัวเลี้ยวหัวต่ออยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งจะมีการแก้ไขคลี่คลายความวิตกกังวลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ หลังจากนั้นก็จะกลับมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาอีก”) รัสเซีย (ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อีกรายหนึ่ง) ก็จะต้องได้ประโยชน์ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย อันที่จริงแล้ว รัสเซียกระทั่งอาจจะได้ประโยชน์มากกว่าสหรัฐฯด้วยซ้ำ มีความเป็นไปได้ที่ว่า ในระยะยาวแล้วเราอาจจะได้เห็นการร่วมมือคบคิดกันระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น ในทางเทคนิคแล้วสองประเทศนี้ยังถือว่าเป็นคู่สงครามกันอยู่ ตั้งแต่ที่สหภาพโซเวียตช่วงชิงหมู่เกาะคูริลจากญี่ปุ่นในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เนื่องจากญี่ปุ่นมีความต้องการพลังงานเป็นอย่างยิ่ง ความต้องการเช่นนี้ยิ่งรุนแรงขึ้นอีกจากการที่ตนเองต้องสูญเสียเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และสถานการณ์ในอ่าวเปอร์เซียอยู่ในอาการไร้เสถียรภาพ สภาพการณ์เช่นนี้จึงอาจบีบบังคับให้แดนอาทิตย์อุทัยต้องยอมขยับเข้าใกล้อดีตศัตรูของตนรายนี้ [10] ในทางกลับกัน รัสเซียก็ต้องการได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งแทบจะเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่าจะทำให้หมีขาวพรักพร้อมที่จะทำการประนีประนอม
การคาดเดาดังที่กล่าวมานี้ยังต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ยังอยู่ห่างไกลมาก ทว่าก็ไม่ได้ถึงกับไม่มีมูลความจริงเอาเสียเลย (แต่สิ่งที่ดูจะมีสีสันฉูดฉาดยิ่งกว่าการวิเคราะห์ดังที่กล่าวมาเหล่านี้ด้วยซ้ำ ก็คือคำแถลงของ วลาดิมีร์ ซิรินอฟสกี Vladimir Zhirinovsky นักการเมืองชาวรัสเซียซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องชอบพูดอะไรแบบโผงผางไม่มีบันยะบันยัง ทั้งนี้เขาพูดเมื่อวันอาทิตย์(13) เรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่น “ทิ้งหมู่เกาะที่เต็มไปด้วยอันตรายของพวกเขา” และหันมาตั้งรกรากถิ่นฐานในดินแดนที่ไร้ผู้คนพำนักอาศัยของรัสเซีย)
“สแทรตฟอร์” (Stratfor) หน่วยงานคลังสมองสัญชาติอเมริกัน เสนอแนะว่าสืบเนื่องจากภัยพิบัติคราวนี้ ญี่ปุ่นอาจจะหันกลับมาพิจารณาทบทวนเส้นทางแห่งนโยบายการต่างประเทศของตนเสียใหม่
ทั้งนี้ สแทรตฟอร์เขียนเอาไว้ดังนี้ “ภาคพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเคยดูเหมือนกับมีความปลอดภัยเอามากๆ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในภาคอื่นๆ ของโครงสร้างด้านพลังงานของแดนอาทิตย์อุทัย สำหรับญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เคยทำสงครามกับสหรัฐฯมาแล้วสืบเนื่องจากข้อพิพาทด้านพลังงานเมื่อปี 1941 และก็ได้รับผลอันเป็นความหายนะ สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย ... คำถามอยู่ที่ว่าระบบการเมืองของญี่ปุ่นจะตอบโต้อย่างไร ในการรับมือกับ (วิกฤตที่เกิดขึ้นใน) อ่าวเปอร์เซียนั้น ญี่ปุ่นจะยังคงเดินตามการนำของอเมริกันต่อไป หรือจะตัดสินเข้าควบคุมสถานการณ์ให้มากขึ้นและเดินตามเส้นทางของตนเอง? สิ่งที่น่าจะบังเกิดขึ้นก็คือ ความมั่นอกมั่นใจในตนเองที่ถูกสั่นคลอนมากจากเหตุการณ์คราวนี้ จะทำให้ญี่ปุ่นใช้ท่าทีที่ระมัดระวังรอบคอบมากขึ้น และกระทั่งจะมีความอ่อนแอเพิ่มขึ้นด้วย”
นอกเหนือจากปฏิกิริยาของญี่ปุ่นแล้ว แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า กรณีการหลอมละลายทางนิวเคลียร์คราวนี้ยังจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมากต่อวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย ผลกระทบเหล่านี้น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ตรงไปตรงมามองเห็นได้อย่างถนัดชัดเจนทันที ทว่าอาจจะปรากฏโฉมขึ้นมาในเร็ววันนี้
ในด้านหนึ่ง ภัยพิบัติคราวนี้น่าที่จะทำให้ประชาคมระหว่างประเทศยิ่งยอมรับได้ยากขึ้นไปอีก ในเรื่องโครงการด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ความอดกลั้นอดทนของนานาชาติต่อการที่จะมีการทำลายโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน (ซึ่งทั้งอิสราเอลและสหรัฐฯต่างก็ถูกกล่าวหากันทั้งคู่ว่าได้ดำเนินการไปแล้วโดยที่ประสบความสำเร็จในการโจมตี ) ก็ดูจะเป็นเรื่องเป็นไปได้น้อยลงอย่างมากๆ เป็นไปได้ที่ว่าวิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่นคราวนี้ จะกลายเป็นการทำลายแผนการใดๆ ก็ตามทีที่มุ่งจะโจมตีอาคารสถานที่ทางด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน
กล่าวโดยรวมแล้ว ในขั้นตอนนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำนายถึงขนาดขอบเขตของความเสียหายจากความหายนะทางด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ยิ่งการพยากรณ์ถึงผลสืบเนื่องทางด้านภูมิยุทธศาสตร์ให้ออกมาอย่างถูกต้องแม่นยำด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ลดลงไปอีก อย่างไรก็ดี สิ่งที่ดูจะแน่นอนแล้วก็คือ ภายหลังเหตุการณ์คราวนี้โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
หมายเหตุ
8. World Markets Dive as Investors Retreat to Safety, New York Times, March 15, 2011.
9. Japan earthquake: Japan warned over nuclear plants, WikiLeaks cables show, The Telegraph, March 15, 2011.
10. Kuril islands dispute between Russia and Japan November 1, 2010.
วิกเตอร์ คอตเซฟ เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์การเมือง ซึ่งพำนักอยู่ในกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล