รอยเตอร์/เอเอฟพี - ธนาคารกลางแดนอาทิตย์อุทัยวานนี้ (14) เร่งรีบอัดฉีดเงินสดเพื่อปลอบขวัญตลาดเงินที่กำลังสั่นสะท้านจากมหาภัยพิบัติที่มีทั้งแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุด, คลื่นยักษ์สึนามิอันสร้างความหายนะใหญ่หลวง และวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยที่พวกนักวิเคราะห์ก็กำลังมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจจะฟื้นตัวขึ้นมาไม่ได้ง่ายๆ
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวอยู่ในอาการปักหัวดำดิ่งวานนี้ ซึ่งเป็นวันแรกที่ตลาดเปิดทำการเต็มวันภายหลังเกิดแผ่นดินใหญ่ระดับ 8.9 เมื่อเย็นวันศุกร์ (11) ทั้งนี้เนื่องจากความหวั่นผวาว่าความเสียหายจากภัยพิบัติทั้ง 3 ประการที่โหมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จะสร้างความกระทบกระเทือนหนักต่อเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ในตลาด ดัชนีนิกเกอิตอนปิดตลาดจึงลดลงจากวันศุกร์ถึง 6.18%
ทางด้านวาณิชธนกิจ เครดิต สวิส ได้ออกมาให้ตัวเลขประมาณการว่า ภัยพิบัติคราวนี้น่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 171,000 ล้านดอลลาร์ ถึงแม้รัฐมนตรีคลัง โยชิฮิโกะ โนดะ กล่าวเตือนว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุตัวเลขที่ชัดเจนของความเสียหาย ตลอดจนตัวเลขของร่างงบประมาณเพิ่มเติมซึ่งรัฐบาลจะเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา เพื่อนำมาใช้จ่ายช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ประกาศว่าจะอัดฉีดเงินสดจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 15 ล้านล้านเยน (184,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อช่วยทำให้ตลาดเงินที่เป็นตลาดระยะสั้นมีเสถียรภาพ นอกจากนั้นยังจะอัดฉีดเพิ่ม 6.8 ล้านล้านเยนในวันอังคาร (15) และวันพุธ (16) รวมแล้วจึงจะมีเงินสดที่พร้อมเข้าสู่ตลาดทั้งสิ้น 21.8 ล้านล้านเ โดยที่ในการอัดฉีดจะอยู่ในรูปการรับซื้อคืนพันธบัตร 3 ล้านล้านเยน
แบงก์ชาติญี่ปุ่นยังบอกว่า จะขยายขนาดแผนการรับซื้อสินทรัพย์จากพวกแบงก์ต่างๆ ขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 5 ล้านล้านเยน เพื่อช่วยลดความกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจจากมหาภัยพิบัติคราวนี้
ทางด้านพวกบริษัทอุตสาหกรรมชื่อดังๆ ของญี่ปุ่น เป็นต้นว่า โซนี่ คอร์ป, โตโยต้า มอเตอร์, และ พานาโซนิค ต่างก็ประกาศหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว เนื่องจากความพยายามที่จะเริ่มต้นกันใหม่ยังคงมีอุปสรรคจากภาวะอาฟเตอร์ช็อกแรงๆ ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ไม่หยุดหย่อน ตลอดจนปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้า
ประมาณการกันว่า สมรรถนะในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นราว 1 ใน 5 ต้องหยุดชะงักลงไปภายหลังภัยพิบัติ ขณะที่พวกโรงไฟฟ้าพลังความร้อนก็ต้องปิดเครื่องเช่นกัน จึงกำลังบังคับให้ประเทศเจ้าของเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ต้องเริ่มต้นใช้วิธีปิดงดจ่ายไฟฟ้าหมุนเวียนเป็นเขตๆ ไปทั่วประเทศ เพื่อสงวนรักษาพลังงานเอาไว้
“แรงสั่นไหวยังน่าที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอีกสักเดือนถึงสองเดือน พวกผู้เชี่ยวชาญบอกอย่างนั้น โดยที่ในตอนนี้มันยังคงเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องไม่ได้หยุด ดังนั้นอะไรๆ จึงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และเต็มไปด้วยสิ่งที่ยังไม่มีความชัดเจน” มาซายูกิ คูโบตะ ผู้จัดการกองทุนอาวุโสรายหนึ่งแห่ง ไดวะ เอสบี อินเวสต์เมนต์ ให้ความเห็น
พวกนักเศรษฐศาสตร์ต่างมองกันว่า จากการถูกเล่นงานด้วยความหายนะถึง 3 ด้านต่อเนื่องกันเช่นนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะย่ำแย่มากอยู่ก่อนแล้ว คงจะต้องเกิดความเสียหายอย่างหนักหน่วงและยาวนานยิ่งกว่าที่เคยคาดหมายกันในตอนแรกๆ
ทั้งนี้ เหล่านักวิเคราะห์ต่างมีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นมากในการพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าที่จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำนองเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นภายหลังเหตุแผ่นดินไหวที่โกเบในปี 1995 เวลานี้พวกเขากำลังชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างตอนนั้นกับตอนนี้ กล่าวคือในเวลานี้การที่ภาครัฐญี่ปุ่นมีหนี้สินมหึมาเท่ากับราว 2 เท่าของจีดีพีอยู่แล้ว ย่อมหมายความว่ารัฐบาลมีช่องทางที่จะขยับขยายทำการกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลง
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวอยู่ในอาการปักหัวดำดิ่งวานนี้ ซึ่งเป็นวันแรกที่ตลาดเปิดทำการเต็มวันภายหลังเกิดแผ่นดินใหญ่ระดับ 8.9 เมื่อเย็นวันศุกร์ (11) ทั้งนี้เนื่องจากความหวั่นผวาว่าความเสียหายจากภัยพิบัติทั้ง 3 ประการที่โหมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จะสร้างความกระทบกระเทือนหนักต่อเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ในตลาด ดัชนีนิกเกอิตอนปิดตลาดจึงลดลงจากวันศุกร์ถึง 6.18%
ทางด้านวาณิชธนกิจ เครดิต สวิส ได้ออกมาให้ตัวเลขประมาณการว่า ภัยพิบัติคราวนี้น่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 171,000 ล้านดอลลาร์ ถึงแม้รัฐมนตรีคลัง โยชิฮิโกะ โนดะ กล่าวเตือนว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุตัวเลขที่ชัดเจนของความเสียหาย ตลอดจนตัวเลขของร่างงบประมาณเพิ่มเติมซึ่งรัฐบาลจะเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา เพื่อนำมาใช้จ่ายช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ประกาศว่าจะอัดฉีดเงินสดจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 15 ล้านล้านเยน (184,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อช่วยทำให้ตลาดเงินที่เป็นตลาดระยะสั้นมีเสถียรภาพ นอกจากนั้นยังจะอัดฉีดเพิ่ม 6.8 ล้านล้านเยนในวันอังคาร (15) และวันพุธ (16) รวมแล้วจึงจะมีเงินสดที่พร้อมเข้าสู่ตลาดทั้งสิ้น 21.8 ล้านล้านเ โดยที่ในการอัดฉีดจะอยู่ในรูปการรับซื้อคืนพันธบัตร 3 ล้านล้านเยน
แบงก์ชาติญี่ปุ่นยังบอกว่า จะขยายขนาดแผนการรับซื้อสินทรัพย์จากพวกแบงก์ต่างๆ ขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 5 ล้านล้านเยน เพื่อช่วยลดความกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจจากมหาภัยพิบัติคราวนี้
ทางด้านพวกบริษัทอุตสาหกรรมชื่อดังๆ ของญี่ปุ่น เป็นต้นว่า โซนี่ คอร์ป, โตโยต้า มอเตอร์, และ พานาโซนิค ต่างก็ประกาศหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว เนื่องจากความพยายามที่จะเริ่มต้นกันใหม่ยังคงมีอุปสรรคจากภาวะอาฟเตอร์ช็อกแรงๆ ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ไม่หยุดหย่อน ตลอดจนปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้า
ประมาณการกันว่า สมรรถนะในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นราว 1 ใน 5 ต้องหยุดชะงักลงไปภายหลังภัยพิบัติ ขณะที่พวกโรงไฟฟ้าพลังความร้อนก็ต้องปิดเครื่องเช่นกัน จึงกำลังบังคับให้ประเทศเจ้าของเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ต้องเริ่มต้นใช้วิธีปิดงดจ่ายไฟฟ้าหมุนเวียนเป็นเขตๆ ไปทั่วประเทศ เพื่อสงวนรักษาพลังงานเอาไว้
“แรงสั่นไหวยังน่าที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอีกสักเดือนถึงสองเดือน พวกผู้เชี่ยวชาญบอกอย่างนั้น โดยที่ในตอนนี้มันยังคงเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องไม่ได้หยุด ดังนั้นอะไรๆ จึงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และเต็มไปด้วยสิ่งที่ยังไม่มีความชัดเจน” มาซายูกิ คูโบตะ ผู้จัดการกองทุนอาวุโสรายหนึ่งแห่ง ไดวะ เอสบี อินเวสต์เมนต์ ให้ความเห็น
พวกนักเศรษฐศาสตร์ต่างมองกันว่า จากการถูกเล่นงานด้วยความหายนะถึง 3 ด้านต่อเนื่องกันเช่นนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะย่ำแย่มากอยู่ก่อนแล้ว คงจะต้องเกิดความเสียหายอย่างหนักหน่วงและยาวนานยิ่งกว่าที่เคยคาดหมายกันในตอนแรกๆ
ทั้งนี้ เหล่านักวิเคราะห์ต่างมีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นมากในการพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าที่จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำนองเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นภายหลังเหตุแผ่นดินไหวที่โกเบในปี 1995 เวลานี้พวกเขากำลังชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างตอนนั้นกับตอนนี้ กล่าวคือในเวลานี้การที่ภาครัฐญี่ปุ่นมีหนี้สินมหึมาเท่ากับราว 2 เท่าของจีดีพีอยู่แล้ว ย่อมหมายความว่ารัฐบาลมีช่องทางที่จะขยับขยายทำการกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลง