(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Cambodia remembers its fallen Muslims
By Julie Masis
05/01/2011
เรื่องราวการไล่ทำร้ายและสังหารชาวมุสลิม ยังคงเป็นส่วนที่ศึกษากันน้อยมากในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์แห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา แต่บัดนี้เรากำลังจะได้รับทราบกันมากขึ้นถึงความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของชาวจามซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อยที่เป็นมุสลิม ในยุคการปกครองด้วยความหฤโหดของเขมรแดงระหว่างปี 1975-79 และยิ่งเมื่อกำลังจะมีการเปิดพิพิธภัณฑ์รำลึกขึ้นในมัสยิดแห่งที่พวกเขาจับอาวุธขึ้นมาต่อต้านในช่วงต้นๆ ของการกำจัดกวาดล้างด้วยแล้ว เรื่องราวที่เล่าขานโดยชาวมุสลิมที่รอดชีวิตมาได้ก็จะไม่ถูกลืมเลือนจางหายไปอย่างง่ายๆ อีกต่อไป
พนมเปญ - ในเดือนกันยายน 1975 ชาวมุสลิมกัมพูชาจำนวนราวๆ 2,000 รคน ได้หยิบฉวยดาบและมีดพร้าของพวกเขาขึ้นมา และทำการสู้รบอย่างดุเดือดอยู่หลายวันกับพวกทหารเขมรแดงที่ติดอาวุธหนักพร้อมสรรพ ณ หมู่บ้านสวาย คะเลียง (Svay Khleang) การลุกฮือก่อกบฎคราวนั้นปะทุขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอมแห่งการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตอบโต้พวกเขมรแดงที่พยายามจับกุมชาวมุสลิมจากการที่พวกเขาประกอบพิธีละหมาดในมัสยิดท้องถิ่นของพวกเขา
การลุกฮือก่อกบฎในคราวนั้นยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ ทว่าอีกไม่นานจากนี้ไปมันจะไม่ถูกหลงลืมไปอย่างง่ายๆ แล้ว กล่าวคือ พิพิธภัณฑ์ที่จะอนุรักษ์เรื่องราวคำบอกเล่าของชาวมุสลิมซึ่งรอดชีวิตมาจากยุคแห่งความหฤโหดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดงในช่วงระหว่างปี 1975-79 มีกำหนดที่จะเปิดขึ้นภายในปีนี้ ณ มัสยิดมาบารัค (Mabarak) บริเวณชานกรุงพนมเปญ
มีคนมุสลิมชาวจาม (Cham) ระหว่าง 100,000 ถึง 400,000 คนทีเดียวต้องเสียชีวิตไปภายใต้ระบอบปกครองเขมรแดง ทั้งนี้ตามตัวเลขที่รวบรวมไว้โดย ศูนย์จัดทำเอกสารแห่งกัมพูชา (Documentation Centre of Cambodia ใช้อักษรย่อว่า DCC) การเสียชีวิตเหล่านี้มีสาเหตุทั้งจากการฆาตกรรม, ความอดอยาก, และโรคภัยไข้เจ็บ ในระหว่างการปกครองของเขมรแดงซึ่งมีความพยายามใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างโลกอุดมคติแบบคอมมิวนิสต์ขึ้นมานั้น มัสยิดส่วนใหญ่ในกัมพูชาถูกทำลายหรือไม่ก็ถูกเหยียดหยามดูหมิ่น
หลังจากเขมรแดงปราบปรามการกบฎที่สวาย คะเลียง แล้ว ผู้หญิงของหมู่บ้านก็ถูกแยกออกจากผู้ชาย และเหล่าผู้นำการลุกฮือถูกส่งตัวเข้าคุก ชาวบ้านคนอื่นๆ ถูกเนรเทศไปอาศัยในพื้นที่ป่าเขาซึ่งลงท้ายแล้วหลายๆ คนก็ต้องเสียชีวิตจากไข้มาเลเรีย หรือไม่ก็อดตาย
เรื่องราวการไล่ทำร้ายและสังหารชาวมุสลิม ยังคงเป็นส่วนที่ศึกษากันน้อยมากในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์แห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา (ซึ่งมีผู้คนถูกกำจัดไปมากมายอาจจะถึง 2 ล้านคนทีเดียว) ทว่าเวลานี้ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานเหล่านี้กำลังถูกเปิดออกมาสู่แสงสว่างทางวิชาการแล้ว ตามการศึกษาของศูนย์จัดทำเอกสารแห่งกัมพูชา ชาวมุสลิมที่ถูกบังคับให้โยกย้ายอพยพออกจากชุมชมของพวกเขา มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าชนชาติอื่นๆ หรือกลุ่มศาสนาอื่นๆ
ประชากรของกัมพูชานั้นส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ปัจจุบันชาวมุสลิมคิดเป็นประมาณ 2% ของประชากรทั้งประเทศนี้ ทั้งนี้ตามข้อมูลสถิติของทางการ ขณะที่ชาวมุสลิมของกัมพูชาไม่ได้ถูกไล่ล่าทำร้ายและสังหารอย่างเป็นระบบอีกต่อไป เหมือนดังที่พวกเขาเคยประสบมาภายใต้การปกครองของพวกเขมรแดงที่ไร้ศาสนาไม่นับถือพระเจ้า แต่พวกเขาก็ยังคงค่อนข้างถูกแยกออกห่างจากคนส่วนข้างมากที่เป็นชาวพุทธ และมีสัดส่วนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นทั้งในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในระบบราชการของประเทศ
ศูนย์จัดทำเอกสารแห่งกัมพูชา ได้รวบรวมคำให้สัมภาษณ์ของชาวมุสลิมกัมพูชาเอาไว้ 500 ชิ้น โดยเป็นคำบอกเล่าให้การเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาภายใต้ระบอบเขมรแดง สาธารณชนจะสามารถเข้าถึงคำให้การเหล่านี้ได้ ณ พิพิธภัณฑ์รำลึกแห่งใหม่ในมัสยิดมาบารัค ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ ฟารินา โส (Farina So) หัวหน้าในด้านประวัติศาสตร์มุขปาฐะของโครงการนี้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะตั้งแสดงสิ่งของและเล่าเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายในเขตมัสยิดเป็นครั้งแรกในกัมพูชา โดยจะตั้งอยู่ที่อาคารโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเก่า ซึ่งในยุคเขมรแดงได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นร้านกาแฟของคอมมูน
การสร้างสถานที่รำลึกแห่งนี้ขึ้นมา คล้องจองกับการดำเนินกระบวนการทางกฎหมายอย่างต่อเนื่องของ ศาลพิเศษภายในศาลยุติธรรมแห่งกัมพูชา (Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia หรือ ECCC) ซึ่งสหประชาชาติให้ความอุปถัมภ์อยู่ ศาลพิเศษแห่งนี้เองที่กำลังทำการพิจารณาไต่สวนความผิดของพวกผู้นำระดับสูงของเขมรแดง ว่ามีบทบาทในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามที่พวกเขาถูกกล่าวหาหรือไม่
ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ECCC ได้ตัดสินว่า กางกิ๊กเอียว (Kaing Guek Eav) ซึ่งใช้ชื่อจัดตั้งว่า ดุจ (Duch) อดีตผู้บัญชาการเรือนจำของเขมรแดง มีความผิดฐานประกอบอาชญากรรมสงคราม และประกอบอาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และลงโทษจำคุกเขาเป็นเวลา 35 ปี แต่โทษทัณฑ์ของเขาได้รับการลดหย่อนลงมาเหลือ 19 ปีเพื่อเป็นการชดเชยระยะเวลาที่เขาถูกตัดสินว่าถูกคุมขังอย่างผิดกฎหมายโดยศาลทหาร
กระบวนการไต่สวนพิจารณาคดีของ ECCC ได้นำเอาความทรงจำอันขมขื่นกลับคืนสู่ผู้รอดชีวิตชาวมุสลิม ฮิม โซห์ (Him Soh) ชาวมุสลิมที่รอดมาได้แต่ต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัวรวม 7 คนซึ่งมีทั้งบิดามารดาและพี่ๆ น้องๆ ของเขา ไปในยุคสมัยเขมรแดง เล่าย้อนความหลังว่าพวกทหารได้สังหารบรรดาผู้นำชุมชนมุสลิมไปอย่างไร และเนรเทศชาวจามมุสลิมไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่ซึ่งพวกเขาถูกบังคับให้ต้องอยู่รวมกลมกลืนเข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ ของคนชนชาติเขมร
“เขมรแดงไม่ยอมให้คนมุสลิมละหมาดไม่ว่าจะในมัสยิดหรือที่บ้าน” เขาเล่า “พวกมันคอยสอดส่องสืบความลับว่ามีคนไหนละหมาดบ้าง ถ้าพบคนที่ทำละหมาด พวกเขาก็จะถูกนำตัวออกไปและถูกฆ่าทิ้ง”
เขมรแดงยังบังคับให้เด็กหญิงชาวมุสลิมต้องตัดผมของพวกเธอ และให้ชายชาวมุสลิมโกนหนวดโกนเครา ซึ่งเป็นการจงใจสบประมาทวัฒนธรรมของชาวมุสลิม เขมรแดงยังไม่ยอมให้ชาวจามสวมเครื่องคลุมศีรษะหรือสวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์ตามประเพณีมุสลิมอีกด้วย คัมภีร์อัลกุรอานก็ถูกยึด โดยที่มีตัวอย่างชัดเจนว่า มีการฉีกหน้ากระดาษของคัมภีร์ออกมาเพื่อใช้เป็นกระดาษชำระ โซห์บอก
ฉิ สะเละห์ (Chi Sleh) เป็นผู้รอดชีวิตที่ปัจจุบันอายุ 75 ปีแล้ว เขาถูกขังคุกถึง 2 ครั้งในช่วงการปกครองของเขมรแดง แต่ก็ยังรอดชีวิตจนมาเล่าเรื่องราวของเขาได้ เนื่องจากมีทหารเขมรแดงที่เห็นอกเห็นใจผู้หนึ่งช่วยเหลือเขาเอาไว้ สะเละห์บอกว่า เขาต้องเฝ้ามองดูขณะที่พวกทหารพังทำลายมัสยิดที่อยู่ในหมู่บ้านเกิดของเขา ทั้งนี้เขาเล่าว่าเขมรแดงรื้อมัสยิดดังกล่าวก็เพื่อเอาเศษเหล็ก “มัสยิดหลายแห่งถูกทำลาย หลายแห่งถูกนำมาใช้เป็นโรงเก็บข้าว” เขาทบทวนความหลัง
เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ของกัมพูชาได้มีการกบฎที่นำโดยชาวจามเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน พวกเขมรแดงจึงตั้งข้อระแวงสงสัยประชากรที่เป็นมุสลิมเป็นพิเศษ “เขมรแดงมองชาวจามเป็นเหมือนกับศัตรูภายใน” โส หัวหน้าด้านประวัติศาสตร์มุขปาฐะของพิพิธภัณฑ์บอก “มีบางคนถูกถามว่าเป็นชาวจามใช่ไหม ถ้าพวกเขาเป็นชาวจามจริงๆ พวกเขาก็จะถูกฆ่า บางคนที่รอดชีวิตมาได้ก็ด้วยการปกปิดอัตลักษณ์ของพวกเขา”
มัสยิดมาบารัคมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมจาม มัสยิดซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์รำลึกแห่งใหม่นี้ จัดสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 1963 ถือเป็นศาสนสถานของอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกัมพูชาซึ่งยังรอดพ้นจากการรณรงค์รื้อถอนทำลายของพวกเขมรแดงมาได้ มัสยิดมาบารัคยังเคยถูกทิ้งระเบิดและได้รับความเสียหายในปี 1973 ตอนที่เกิดสงครามระหว่างเขมรแดงกับกองทัพรัฐบาล ตามผนังของอาคารยังคงมีรอยกระสุนปืนให้เห็นได้ซึ่งกลายเป็นพยานยืนยันถึงการสู้รบในตอนนั้น
พิพิธภัณฑ์รำลึกแห่งนี้จะจัดแสดงสิ่งของวัตถุต่างๆ ที่รวบรวมมาได้ รวมทั้งอัลกุรอานภาษากัมพูชา ซึ่งถูกนำไปฝังดินเป็นการเก็บรักษาเอาไว้ในช่วงการกำจัดกวาดล้างของเขมรแดง ตลอดจนดาบที่ชาวจามเคยใช้ในระหว่างที่พวกเขาลุกฮือก่อกบฎ แต่นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ยังจะมีส่วนที่เคร่งเครีรยดน้อยลงมา เป็นต้นว่านิทรรศการที่จะแนะนำผู้มาเยือนให้ทราบถึงวัฒนธรรมจามและภาษาจาม ตลอดจนชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่ได้รับทุกข์ทรมานภายใต้เขมรแดงเช่นเดียวกัน
ชาวมุสลิมในกัมพูชาจำนวนมากทีเดียวเป็นลูกหลานของชาวจาม ซึ่งเป็นชนชาติที่ครั้งหนึ่งเคยก่อตั้งราชอาณาจักรจัมปาอันมีพื้นที่กว้างขวางใหญ่โต โดยครอบคลุมไปถึงดินแดนในภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนามเวลานี้ด้วย ราชอาณาจักรแห่งนี้ได้ปราชัยต่อชาวเวียนดนามในช่วงต้นๆ ทศวรรษ 1700 และชาวจามจำนวนมากได้หลบหนีมายังพื้นที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ในกัมพูชาปัจจุบัน รวมทั้งในจังหวัดซึ่งบัดนี้รู้จักกันในชื่อว่า จังหวัดกัมปงจาม (Kampong Cham)
จูลี มาซิส เป็นนักหนังสือพิมพ์ซึ่งพำนักอยู่ในกัมพูชา
Cambodia remembers its fallen Muslims
By Julie Masis
05/01/2011
เรื่องราวการไล่ทำร้ายและสังหารชาวมุสลิม ยังคงเป็นส่วนที่ศึกษากันน้อยมากในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์แห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา แต่บัดนี้เรากำลังจะได้รับทราบกันมากขึ้นถึงความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของชาวจามซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อยที่เป็นมุสลิม ในยุคการปกครองด้วยความหฤโหดของเขมรแดงระหว่างปี 1975-79 และยิ่งเมื่อกำลังจะมีการเปิดพิพิธภัณฑ์รำลึกขึ้นในมัสยิดแห่งที่พวกเขาจับอาวุธขึ้นมาต่อต้านในช่วงต้นๆ ของการกำจัดกวาดล้างด้วยแล้ว เรื่องราวที่เล่าขานโดยชาวมุสลิมที่รอดชีวิตมาได้ก็จะไม่ถูกลืมเลือนจางหายไปอย่างง่ายๆ อีกต่อไป
พนมเปญ - ในเดือนกันยายน 1975 ชาวมุสลิมกัมพูชาจำนวนราวๆ 2,000 รคน ได้หยิบฉวยดาบและมีดพร้าของพวกเขาขึ้นมา และทำการสู้รบอย่างดุเดือดอยู่หลายวันกับพวกทหารเขมรแดงที่ติดอาวุธหนักพร้อมสรรพ ณ หมู่บ้านสวาย คะเลียง (Svay Khleang) การลุกฮือก่อกบฎคราวนั้นปะทุขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอมแห่งการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตอบโต้พวกเขมรแดงที่พยายามจับกุมชาวมุสลิมจากการที่พวกเขาประกอบพิธีละหมาดในมัสยิดท้องถิ่นของพวกเขา
การลุกฮือก่อกบฎในคราวนั้นยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ ทว่าอีกไม่นานจากนี้ไปมันจะไม่ถูกหลงลืมไปอย่างง่ายๆ แล้ว กล่าวคือ พิพิธภัณฑ์ที่จะอนุรักษ์เรื่องราวคำบอกเล่าของชาวมุสลิมซึ่งรอดชีวิตมาจากยุคแห่งความหฤโหดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดงในช่วงระหว่างปี 1975-79 มีกำหนดที่จะเปิดขึ้นภายในปีนี้ ณ มัสยิดมาบารัค (Mabarak) บริเวณชานกรุงพนมเปญ
มีคนมุสลิมชาวจาม (Cham) ระหว่าง 100,000 ถึง 400,000 คนทีเดียวต้องเสียชีวิตไปภายใต้ระบอบปกครองเขมรแดง ทั้งนี้ตามตัวเลขที่รวบรวมไว้โดย ศูนย์จัดทำเอกสารแห่งกัมพูชา (Documentation Centre of Cambodia ใช้อักษรย่อว่า DCC) การเสียชีวิตเหล่านี้มีสาเหตุทั้งจากการฆาตกรรม, ความอดอยาก, และโรคภัยไข้เจ็บ ในระหว่างการปกครองของเขมรแดงซึ่งมีความพยายามใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างโลกอุดมคติแบบคอมมิวนิสต์ขึ้นมานั้น มัสยิดส่วนใหญ่ในกัมพูชาถูกทำลายหรือไม่ก็ถูกเหยียดหยามดูหมิ่น
หลังจากเขมรแดงปราบปรามการกบฎที่สวาย คะเลียง แล้ว ผู้หญิงของหมู่บ้านก็ถูกแยกออกจากผู้ชาย และเหล่าผู้นำการลุกฮือถูกส่งตัวเข้าคุก ชาวบ้านคนอื่นๆ ถูกเนรเทศไปอาศัยในพื้นที่ป่าเขาซึ่งลงท้ายแล้วหลายๆ คนก็ต้องเสียชีวิตจากไข้มาเลเรีย หรือไม่ก็อดตาย
เรื่องราวการไล่ทำร้ายและสังหารชาวมุสลิม ยังคงเป็นส่วนที่ศึกษากันน้อยมากในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์แห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา (ซึ่งมีผู้คนถูกกำจัดไปมากมายอาจจะถึง 2 ล้านคนทีเดียว) ทว่าเวลานี้ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานเหล่านี้กำลังถูกเปิดออกมาสู่แสงสว่างทางวิชาการแล้ว ตามการศึกษาของศูนย์จัดทำเอกสารแห่งกัมพูชา ชาวมุสลิมที่ถูกบังคับให้โยกย้ายอพยพออกจากชุมชมของพวกเขา มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าชนชาติอื่นๆ หรือกลุ่มศาสนาอื่นๆ
ประชากรของกัมพูชานั้นส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ปัจจุบันชาวมุสลิมคิดเป็นประมาณ 2% ของประชากรทั้งประเทศนี้ ทั้งนี้ตามข้อมูลสถิติของทางการ ขณะที่ชาวมุสลิมของกัมพูชาไม่ได้ถูกไล่ล่าทำร้ายและสังหารอย่างเป็นระบบอีกต่อไป เหมือนดังที่พวกเขาเคยประสบมาภายใต้การปกครองของพวกเขมรแดงที่ไร้ศาสนาไม่นับถือพระเจ้า แต่พวกเขาก็ยังคงค่อนข้างถูกแยกออกห่างจากคนส่วนข้างมากที่เป็นชาวพุทธ และมีสัดส่วนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นทั้งในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในระบบราชการของประเทศ
ศูนย์จัดทำเอกสารแห่งกัมพูชา ได้รวบรวมคำให้สัมภาษณ์ของชาวมุสลิมกัมพูชาเอาไว้ 500 ชิ้น โดยเป็นคำบอกเล่าให้การเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาภายใต้ระบอบเขมรแดง สาธารณชนจะสามารถเข้าถึงคำให้การเหล่านี้ได้ ณ พิพิธภัณฑ์รำลึกแห่งใหม่ในมัสยิดมาบารัค ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ ฟารินา โส (Farina So) หัวหน้าในด้านประวัติศาสตร์มุขปาฐะของโครงการนี้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะตั้งแสดงสิ่งของและเล่าเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายในเขตมัสยิดเป็นครั้งแรกในกัมพูชา โดยจะตั้งอยู่ที่อาคารโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเก่า ซึ่งในยุคเขมรแดงได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นร้านกาแฟของคอมมูน
การสร้างสถานที่รำลึกแห่งนี้ขึ้นมา คล้องจองกับการดำเนินกระบวนการทางกฎหมายอย่างต่อเนื่องของ ศาลพิเศษภายในศาลยุติธรรมแห่งกัมพูชา (Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia หรือ ECCC) ซึ่งสหประชาชาติให้ความอุปถัมภ์อยู่ ศาลพิเศษแห่งนี้เองที่กำลังทำการพิจารณาไต่สวนความผิดของพวกผู้นำระดับสูงของเขมรแดง ว่ามีบทบาทในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามที่พวกเขาถูกกล่าวหาหรือไม่
ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ECCC ได้ตัดสินว่า กางกิ๊กเอียว (Kaing Guek Eav) ซึ่งใช้ชื่อจัดตั้งว่า ดุจ (Duch) อดีตผู้บัญชาการเรือนจำของเขมรแดง มีความผิดฐานประกอบอาชญากรรมสงคราม และประกอบอาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และลงโทษจำคุกเขาเป็นเวลา 35 ปี แต่โทษทัณฑ์ของเขาได้รับการลดหย่อนลงมาเหลือ 19 ปีเพื่อเป็นการชดเชยระยะเวลาที่เขาถูกตัดสินว่าถูกคุมขังอย่างผิดกฎหมายโดยศาลทหาร
กระบวนการไต่สวนพิจารณาคดีของ ECCC ได้นำเอาความทรงจำอันขมขื่นกลับคืนสู่ผู้รอดชีวิตชาวมุสลิม ฮิม โซห์ (Him Soh) ชาวมุสลิมที่รอดมาได้แต่ต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัวรวม 7 คนซึ่งมีทั้งบิดามารดาและพี่ๆ น้องๆ ของเขา ไปในยุคสมัยเขมรแดง เล่าย้อนความหลังว่าพวกทหารได้สังหารบรรดาผู้นำชุมชนมุสลิมไปอย่างไร และเนรเทศชาวจามมุสลิมไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่ซึ่งพวกเขาถูกบังคับให้ต้องอยู่รวมกลมกลืนเข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ ของคนชนชาติเขมร
“เขมรแดงไม่ยอมให้คนมุสลิมละหมาดไม่ว่าจะในมัสยิดหรือที่บ้าน” เขาเล่า “พวกมันคอยสอดส่องสืบความลับว่ามีคนไหนละหมาดบ้าง ถ้าพบคนที่ทำละหมาด พวกเขาก็จะถูกนำตัวออกไปและถูกฆ่าทิ้ง”
เขมรแดงยังบังคับให้เด็กหญิงชาวมุสลิมต้องตัดผมของพวกเธอ และให้ชายชาวมุสลิมโกนหนวดโกนเครา ซึ่งเป็นการจงใจสบประมาทวัฒนธรรมของชาวมุสลิม เขมรแดงยังไม่ยอมให้ชาวจามสวมเครื่องคลุมศีรษะหรือสวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์ตามประเพณีมุสลิมอีกด้วย คัมภีร์อัลกุรอานก็ถูกยึด โดยที่มีตัวอย่างชัดเจนว่า มีการฉีกหน้ากระดาษของคัมภีร์ออกมาเพื่อใช้เป็นกระดาษชำระ โซห์บอก
ฉิ สะเละห์ (Chi Sleh) เป็นผู้รอดชีวิตที่ปัจจุบันอายุ 75 ปีแล้ว เขาถูกขังคุกถึง 2 ครั้งในช่วงการปกครองของเขมรแดง แต่ก็ยังรอดชีวิตจนมาเล่าเรื่องราวของเขาได้ เนื่องจากมีทหารเขมรแดงที่เห็นอกเห็นใจผู้หนึ่งช่วยเหลือเขาเอาไว้ สะเละห์บอกว่า เขาต้องเฝ้ามองดูขณะที่พวกทหารพังทำลายมัสยิดที่อยู่ในหมู่บ้านเกิดของเขา ทั้งนี้เขาเล่าว่าเขมรแดงรื้อมัสยิดดังกล่าวก็เพื่อเอาเศษเหล็ก “มัสยิดหลายแห่งถูกทำลาย หลายแห่งถูกนำมาใช้เป็นโรงเก็บข้าว” เขาทบทวนความหลัง
เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ของกัมพูชาได้มีการกบฎที่นำโดยชาวจามเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน พวกเขมรแดงจึงตั้งข้อระแวงสงสัยประชากรที่เป็นมุสลิมเป็นพิเศษ “เขมรแดงมองชาวจามเป็นเหมือนกับศัตรูภายใน” โส หัวหน้าด้านประวัติศาสตร์มุขปาฐะของพิพิธภัณฑ์บอก “มีบางคนถูกถามว่าเป็นชาวจามใช่ไหม ถ้าพวกเขาเป็นชาวจามจริงๆ พวกเขาก็จะถูกฆ่า บางคนที่รอดชีวิตมาได้ก็ด้วยการปกปิดอัตลักษณ์ของพวกเขา”
มัสยิดมาบารัคมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมจาม มัสยิดซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์รำลึกแห่งใหม่นี้ จัดสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 1963 ถือเป็นศาสนสถานของอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกัมพูชาซึ่งยังรอดพ้นจากการรณรงค์รื้อถอนทำลายของพวกเขมรแดงมาได้ มัสยิดมาบารัคยังเคยถูกทิ้งระเบิดและได้รับความเสียหายในปี 1973 ตอนที่เกิดสงครามระหว่างเขมรแดงกับกองทัพรัฐบาล ตามผนังของอาคารยังคงมีรอยกระสุนปืนให้เห็นได้ซึ่งกลายเป็นพยานยืนยันถึงการสู้รบในตอนนั้น
พิพิธภัณฑ์รำลึกแห่งนี้จะจัดแสดงสิ่งของวัตถุต่างๆ ที่รวบรวมมาได้ รวมทั้งอัลกุรอานภาษากัมพูชา ซึ่งถูกนำไปฝังดินเป็นการเก็บรักษาเอาไว้ในช่วงการกำจัดกวาดล้างของเขมรแดง ตลอดจนดาบที่ชาวจามเคยใช้ในระหว่างที่พวกเขาลุกฮือก่อกบฎ แต่นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ยังจะมีส่วนที่เคร่งเครีรยดน้อยลงมา เป็นต้นว่านิทรรศการที่จะแนะนำผู้มาเยือนให้ทราบถึงวัฒนธรรมจามและภาษาจาม ตลอดจนชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่ได้รับทุกข์ทรมานภายใต้เขมรแดงเช่นเดียวกัน
ชาวมุสลิมในกัมพูชาจำนวนมากทีเดียวเป็นลูกหลานของชาวจาม ซึ่งเป็นชนชาติที่ครั้งหนึ่งเคยก่อตั้งราชอาณาจักรจัมปาอันมีพื้นที่กว้างขวางใหญ่โต โดยครอบคลุมไปถึงดินแดนในภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนามเวลานี้ด้วย ราชอาณาจักรแห่งนี้ได้ปราชัยต่อชาวเวียนดนามในช่วงต้นๆ ทศวรรษ 1700 และชาวจามจำนวนมากได้หลบหนีมายังพื้นที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ในกัมพูชาปัจจุบัน รวมทั้งในจังหวัดซึ่งบัดนี้รู้จักกันในชื่อว่า จังหวัดกัมปงจาม (Kampong Cham)
จูลี มาซิส เป็นนักหนังสือพิมพ์ซึ่งพำนักอยู่ในกัมพูชา