(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
China: A need for strategic reassurance
By Jing-dong Yuan
13/11/2009
เมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศทั้งสองยังคงมีความระแวงและความสงสัยซึ่งกันและกันอย่างไม่รู้คลาย ถึงแม้ผลประโยชน์ร่วมกันของพวกเขาและระดับแห่งการต้องพึ่งพาอาศัยกันของพวกเขากำลังมาถึงขีดสูงลิ่วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนากรอบความคิด “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” (strategic reassurance) ขึ้นมา ในกรอบความคิดนี้ สหรัฐฯจะไม่หาทางขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ขณะเดียวกันปักกิ่งก็จะผ่อนคายลดทอนความไม่สบายใจของวอชิงตันเกี่ยวกับการก้าวขึ้นสู่เวทีระดับโลกของตน
มอนเทอเรย์, แคลิฟอร์เนีย – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ออกตระเวนเยือน 4 ประเทศเอเชียเป็นเวลา 8 วัน เริ่มต้นด้วยการแวะญี่ปุ่นเมื่อวันศุกร์(13) ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายประการ อีกทั้งกำลังมีความกังวลกันเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องที่บทบาทของสหรัฐฯในเอเชียเหมือนกับว่ากำลังหดเล็กลงไปทุกทีๆ
บรรดาพันธมิตรเก่าแก่ของอเมริกาในเอเชีย เวลานี้ต่างตกอยู่ท่ามกลางความพลิกผันตึงเครียดอย่างรุนแรง ในญี่ปุ่น คณะรัฐบาลยูกิโอะ ฮาโตยามะ ขึ้นครองอำนาจภายหลังพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (Democratic Party of Japan หรือDPJ) ของเขา สามารถโค่นล้มพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party หรือLDP) ที่ได้ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เวลานี้รัฐบาลใหม่ในโตเกียวชุดนี้กำลังพยายามขอเปิดเจรจากันใหม่ เรื่องเงื่อนไขต่างๆ ในการผูกพันเป็นพันธมิตรกันระหว่างสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น อีกทั้งยังกำลังเดินหน้าเสนอแนวความคิดเรื่องการสร้างประชาคมระดับภูมิภาค (เรียกกันว่า ประชาคมเอเชียตะวันออก) ซึ่งอาจจะไม่นำเอาสหรัฐฯเข้าไปร่วมด้วย
ทำนองเดียวกัน ในเกาหลีใต้ ความล้มเหลวที่ไม่อาจผลักดันปลดล็อกความชะงักงันของข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ก็กำลังกลายเป็นการส่งสัญญาณแห่งการล่าถอยจากการทำความผูกพันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ ทั้งนี้โอบามาจะต้องพยายามปรับปรุงแก้ไข ทำให้พันธมิตรทั้งหลายของอเมริกาเกิดความมั่นใจขึ้นมาใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องงดเว้นไม่ทำตัวเป็นอาจารย์เล็กเชอร์สอนสั่งโตเกียวและโซลเกี่ยวกับพันธกรณีของพวกเขา
ทว่าช่วงตอนที่สำคัญที่สุดในการเดินทางเที่ยวนี้ของเขาย่อมต้องเป็นการเยี่ยมเยียนประเทศจีน ที่นี่ ประเด็นปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งที่กำลังเผชิญหน้าคณะรัฐบาลโอบามา หลังจากการไปเยือนปักกิ่งครั้งประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันในปี 1972 ผ่านพ้นไปเกือบ 40 ปี ก็คือ วอชิงตันควรนิยามความสัมพันธ์ที่มีกับปักกิ่งกันอย่างไร แน่นอนทีเดียวว่าระหว่างประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินของโลก ไปจนถึงการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ
แต่ขณะเดียวกัน ลักษณะของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ (ซึ่งย่อมหมายรวมถึงนโยบายของสหรัฐฯที่มีต่อจีนด้วย) ยังคงไม่ได้มีการนิยามกัน ยังคงไม่ได้มีการทำความตกลงเห็นพ้องกัน และยังคงต้องดำเนินการกันต่อไปด้วยความกระตือรือร้น เพื่อที่จะตอบคำถามเช่นนี้ให้ได้ มีปัญหาในระดับพื้นฐานอยู่ 3 ประเด็น ที่ผุดขึ้นในใจของผู้เขียนทันที
ปัญหาประการแรก การผงาดขึ้นมาของจีนคือการท้าทายถึงระดับรากฐานต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯใช่หรือไม่ และถ้าหากใช่ เป็นการท้าทายที่มีขนาดขอบเขตแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นที่อภิปรายถกเถียงกันเรื่อยมาและยังไม่มีการตัดสินใจที่ชัดเจนลงไป สามสิบปีหลังจากจีนเริ่มเดินไปตามเส้นทางแห่งการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก ประเทศนี้ได้เติบใหญ่ขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่คึกคักมาก โดยที่ปริมาณผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ของจีนกำลังจะแซงหน้าของญี่ปุ่นในเร็ววันนี้แล้ว จีนยังเป็นชาติที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหึมาที่สุดในโลก (2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และสามารถรักษาอัตราการเจริญเติบโตอย่างหยุ่นตัวเอาไว้ได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการเงินหลอมละลายในทั่วโลก ในขณะที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นปัจจุบัน อิทธิพลและอำนาจบารมีของจีนกลับสามารถที่จะเพิ่มทวีขึ้นไปต่อไป
อำนาจและอิทธิพลที่เพิ่งได้มาใหม่ๆ ของจีน ทำให้ปักกิ่งสามารถที่จะขยายตัวเกินล้ำเลยเอเชีย ไปสู่แอฟริกา, เอเชียกลาง, และละตินอเมริกา เพื่อเสาะแสวงหาทรัพยากรต่างๆ และสถาปนาสายสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง ขณะเดียวกัน การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและทางสังคมของจีน ยังขยายเข้าสู่ปริมาณมณฑลทางด้านการรักษาสันติภาพ, การจัดเวทีประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประเด็นปัญหาสำคัญๆ ระดับโลก, และการวางตัวเป็นผู้นำในการสร้างสถาบันระดับภูมิภาค
สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิดคำถามที่ฉกาจฉกรรจ์อย่างยิ่งสำหรับสหรัฐฯ หากดูจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การก้าวผงาดขึ้นของมหาอำนาจยิ่งใหญ่รายใหม่ๆ ทั้งหลาย ธรรมดาแล้วย่อมจะต้องตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ และน้อยนักที่จะดำเนินไปอย่างสันติ ขณะที่ปักกิ่งพยายามออกมาย้ำต่อโลกและโดยเฉพาะต่อสหรัฐฯครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ตนเองมีเจตนารมณ์ในทางสันติ ทว่าวอชิงตันก็ยังไม่มีความมั่นใจ และในใจยังคงเต็มไปด้วยความกังวลอย่างลึกล้ำ
ปัญหาประการที่สอง นโยบายเฉพาะเจาะจงที่คณะรัฐบาลโอบามาควรนำมาใช้ในเวลานี้มีอะไรบ้าง ประเด็นก็คือทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่การร่วมมือกันในจุดที่ประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่ และทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดการกับการพิพาทโต้แย้งในจุดที่พวกเขาไม่สามารถลงรอยกันได้ บางนี้เรื่องนี้อาจจะเป็นภารกิจที่ชัดเจนที่สุดและก็เป็นภารกิจที่น่าหนักใจที่สุดซึ่งวอชิงตันต้องกระทำให้สำเร็จ
ในช่วงทศวรรษ 1970 และทศวรรษ 1980 เมื่อจีนยังค่อนข้างล้าหลัง และเมื่อภัยคุกคามร่วมที่ทั้งจีนและสหรัฐฯเผชิญอยู่คือลัทธิขยายตัวอันก้าวร้าวของสหภาพโซเวียต จึงมีความเป็นไปได้สำหรับประเทศทั้งสองที่จะเก็บเอาความแตกต่างกันของพวกเขาเข้าลิ้นชักไปก่อน และหันมาเน้นแต่เรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
ตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลงเป็นต้นมา ลูกตุ้มแห่งนโยบายต่อจีนของสหรัฐฯก็กวัดแกว่างไปมาอยู่ระหว่างการปิดล้อมจำกัดเขตและการเข้าพัวพันมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น, ระหว่างการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และการเป็นคู่แข่งขันทางยุทธศาสตร์, และจากการเข้าค้ำประกันการก้าวขึ้นมาของจีน ไปสู่การเรียกร้องให้จีนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในระบบระหว่างประเทศ --ระบบซึ่งเรียกร้องว่า อำนาจบารมีที่ขยายเติบโตมากขึ้นของจีน จักต้องมาพร้อมกับการมีความรับผิดชอบเพิ่มสูงขึ้นด้วย
โอบามาได้รับมรดกความสัมพันธ์ทวิภาคีสหรัฐฯ-จีนที่มีลักษณะโดดเด่นในเรื่อง การเป็นความสัมพันธ์ที่เน้นความร่วมมือกัน, มีความซับซ้อนรอบด้าน, และมีความตรงไปตรงมา (cooperative, comprehensive and candid) เวลานี้คณะรัฐบาลชุดใหม่ในวอชิงตันกำลังพยายามที่จะให้ความนิยามสายสัมพันธ์นี้เสียใหม่ โดยมุ่งเน้นในเรื่อง การมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก, เน้นความร่วมมือกัน, และมีความซับซ้อนรอบด้าน (positive, cooperative and comprehensive) เมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศทั้งสองยังคงมีความระแวงและความสงสัยซึ่งกันและกันอย่างไม่รู้คลาย ถึงแม้ผลประโยชน์ร่วมกันของพวกเขาและระดับแห่งการต้องพึ่งพาอาศัยกันของพวกเขากำลังมาถึงขีดที่ทั้งมากมายและลึกซึ้งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนากรอบความคิดประการหนึ่งขึ้นมา เรียกขานกันว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” (strategic reassurance) ในกรอบความคิดนี้ สหรัฐฯจะไม่หาทางขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ขณะเดียวกันปักกิ่งก็จะผ่อนคายลดทอนความไม่สบายใจของวอชิงตัน
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” สามารถที่จะให้คำนิยามใหม่ และสร้างแรงดลใจให้แก่นโยบายจีนของสหรัฐฯ ตลอดจนก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับการต่อรองกันอยู่ในที ระหว่างมหาอำนาจที่ก้าวผงาดขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็วอย่างจีน และมหาอำนาจที่ยังกำลังครองอำนาจอยู่อย่างสหรัฐฯได้หรือไม่ ทั้งนี้ส่วนสำคัญทีเดียวย่อมขึ้นอยู่กับว่าจะมีการตีความแปลความหมายกรอบความคิดนี้กันอย่างไร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด ยังคงเป็นเรื่องที่ว่า จะพัฒนาและดำเนินนโยบายที่จะนำมาใช้กันจริงๆ กันอย่างไร และนี่ก็เป็นเนื้อหาของปัญหาประการที่สามที่ผุดขึ้นมาในใจผู้เขียน
ถ้าหากจะมีการปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการดังต่อไปนี้ ก็น่าจะช่วยให้มหาอำนาจทั้งสองรายนี้สามารถปรับตัวเข้าหากันและดัดแปลงให้กลมกลืนกันได้ดียิ่งขึ้น ในช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ซึ่งก็จะเป็นช่วงระยะเวลาที่จะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
หลักการประการแรก ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน และไม่ควรที่จะติดฉลากตราหน้า (labeling) อะไรกันง่ายๆ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์นี้ย่อมสามารถที่จะประทับตราว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ศัตรู, คู่แข่ง, หรือว่าเป็นหุ้นส่วนกัน ก็อาจจะได้ทั้งสิ้น หรือกระทั่งมันอาจจะเป็นทั้งสามนี้ไปพร้อมๆ กันก็ยังได้ ดังนั้น จึงควรเน้นคุณลักษณะในแบบเฉพาะเจาะจง เป็นต้นว่า มุ่งถือผลในทางปฏิบัติ และทำอะไรด้วยความสุขุมรอบคอบ ไม่คาดหวังสูง และไม่ตั้งข้อเรียกร้องที่ไม่สมเหตุสมผล เหล่านี้ควรที่จะเป็นลักษณะเด่นๆ ของความสัมพันธ์นี้
หลักการประการที่สอง การบริหารจัดการความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนนี้ จำเป็นที่จะต้องมีวิสัยทัศน์, ความเป็นรัฐบุรุษ, และการบ่มเพาะฟูมฟักอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดสายเพื่อส่งเสริมและขยายพื้นที่แห่งผลประโยชน์ร่วมกัน นั่นก็คือ พื้นที่ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างความร่วมมือกันขึ้นมาได้ แล้วก็ควรพยายามให้ความร่วมมือนี้ยิ่งหยั่งรากลึกลงไปอีก ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์นี้ก็จะต้องสามารถที่จะคาดการณ์, เตรียมการณ์, และบริหารจัดการ เมื่อเกิดความแตกต่างกันขึ้นมา ตลอดจนเมื่อถึงขั้นเกิดการพิพาทขัดแย้งขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้ผลกระทบกระเทือนในทางลบใดๆ เหลืออยู่ให้น้อยที่สุด
เท่าที่ผ่านมา จากการดำเนินการแก้ไขประเด็นปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ไปจนถึงการรับมือกับความท้าทายทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ทำให้ปักกิ่งและวอชิงตันมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขี้น และพวกเขาสามารถที่จะเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ความร่วมมือระหว่างกัน สำหรับเรื่องข้อพิพาททางการค้า, สิทธิมนุษยชน, และไต้หวัน ควรที่จะใช้ความพยายามหาทางสร้างความเข้าใจและค้นหาหนทางแก้ไข แทนที่จะมุ่งใช้มาตรการเชิงลงโทษ และทำให้ความตึงเครียดยกระดับสูงขึ้น ตลอดจนการมุ่งแต่จะบังคับให้อีกฝ่ายยอมรับทัศนะของตน
หลักการประการที่สาม เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคนี้กลายเป็นความสัมพันธ์ในเชิงสถาบัน ณ ระดับต่างๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์กัน ตั้งแต่การประชุมหารือกันเป็นประจำสม่ำเสมอในระดับผู้นำ ไปจนถึงการสนทนาหยั่งความคิดเห็นในเรื่องประเด็นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่างๆ ทั้งนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดย่อมเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนกันในระดับทหารกับทหาร ส่วนเรื่องกลไกในการบริหารจัดการวิกฤตก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และยังจัดว่าเป็นส่วนประกอบที่ด้อยพัฒนาอยู่มากในความสัมพันธ์นี้
หลักการประการสุดท้าย ปักกิ่งและวอชิงตันควรยอมรับว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาไม่ได้มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีแท้ๆ อีกต่อไปแล้ว แต่มันมีนัยสำคัญสำหรับพัฒนาการในระดับภูมิภาคและในระดับทั่วโลก ดังนั้น พวกเขาจำเป็นต้องบริหารจัดการสายสัมพันธ์ของพวกเขาด้วยความเข้าใจที่ว่า การร่วมมือกันและการเป็นหุ้นส่วนกันของพวกเขาสามารถที่จะส่งผลกว้างไกลต่อการแก้ปัญหาในระดับโลก ตัวอย่างเช่น เสถียรภาพทางการเงินของโลก และการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพในระดับภูมิภาค ตั้งแต่คาบสมุทรเกาหลี ไปจนถึงประเด็นเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน และการพัฒนาสถาบันระดับพหุภาคีต่างๆ
โอบามาจะมีโอกาสอันหาได้ยากยิ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่คณะผู้นำจีน รวมทั้งสมาชิกระดับแกนกลางของพวกผู้นำรุ่นที่ 5 ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาด้วย ว่าสหรัฐฯนั้นมุ่งแสวงหาการเป็นหุ้นส่วนที่เน้นผลเชิงปฏิบัติและความร่วมมือกันกับจีน เขายังจำเป็นจะต้องส่งสารให้คู่สนทนาของเขาทราบด้วยว่า อเมริกายังคงให้คุณค่าแก่บรรดาพันธมิตรของตนในเอเชีย มากเท่าๆ กับที่กำลังให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แก่จีน การเดินทางเที่ยวนี้ควรที่จะให้คำนิยามความสัมพันธ์ โดยอิงอาศัยวิสัยทัศน์, การมุ่งผลทางปฏิบัติ, และการมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มากกว่าจะมุ่งคิดถึงแต่เรื่องการติดฉลากตีตรา
ดร.จิงตง หยวน เป็นผู้อำนวยการโครงการการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรงในเอเชียตะวันออก (East Asia Non-proliferation Program) ณ ศูนย์กลางเจมส์ มาร์ติน เพื่อศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรง (James Martin Center for Non-proliferation Studies) สถาบันมอนเทอเรย์เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา (Monterey Institute of International Studies)
China: A need for strategic reassurance
By Jing-dong Yuan
13/11/2009
เมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศทั้งสองยังคงมีความระแวงและความสงสัยซึ่งกันและกันอย่างไม่รู้คลาย ถึงแม้ผลประโยชน์ร่วมกันของพวกเขาและระดับแห่งการต้องพึ่งพาอาศัยกันของพวกเขากำลังมาถึงขีดสูงลิ่วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนากรอบความคิด “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” (strategic reassurance) ขึ้นมา ในกรอบความคิดนี้ สหรัฐฯจะไม่หาทางขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ขณะเดียวกันปักกิ่งก็จะผ่อนคายลดทอนความไม่สบายใจของวอชิงตันเกี่ยวกับการก้าวขึ้นสู่เวทีระดับโลกของตน
มอนเทอเรย์, แคลิฟอร์เนีย – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ออกตระเวนเยือน 4 ประเทศเอเชียเป็นเวลา 8 วัน เริ่มต้นด้วยการแวะญี่ปุ่นเมื่อวันศุกร์(13) ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายประการ อีกทั้งกำลังมีความกังวลกันเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องที่บทบาทของสหรัฐฯในเอเชียเหมือนกับว่ากำลังหดเล็กลงไปทุกทีๆ
บรรดาพันธมิตรเก่าแก่ของอเมริกาในเอเชีย เวลานี้ต่างตกอยู่ท่ามกลางความพลิกผันตึงเครียดอย่างรุนแรง ในญี่ปุ่น คณะรัฐบาลยูกิโอะ ฮาโตยามะ ขึ้นครองอำนาจภายหลังพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (Democratic Party of Japan หรือDPJ) ของเขา สามารถโค่นล้มพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party หรือLDP) ที่ได้ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เวลานี้รัฐบาลใหม่ในโตเกียวชุดนี้กำลังพยายามขอเปิดเจรจากันใหม่ เรื่องเงื่อนไขต่างๆ ในการผูกพันเป็นพันธมิตรกันระหว่างสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น อีกทั้งยังกำลังเดินหน้าเสนอแนวความคิดเรื่องการสร้างประชาคมระดับภูมิภาค (เรียกกันว่า ประชาคมเอเชียตะวันออก) ซึ่งอาจจะไม่นำเอาสหรัฐฯเข้าไปร่วมด้วย
ทำนองเดียวกัน ในเกาหลีใต้ ความล้มเหลวที่ไม่อาจผลักดันปลดล็อกความชะงักงันของข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ก็กำลังกลายเป็นการส่งสัญญาณแห่งการล่าถอยจากการทำความผูกพันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ ทั้งนี้โอบามาจะต้องพยายามปรับปรุงแก้ไข ทำให้พันธมิตรทั้งหลายของอเมริกาเกิดความมั่นใจขึ้นมาใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องงดเว้นไม่ทำตัวเป็นอาจารย์เล็กเชอร์สอนสั่งโตเกียวและโซลเกี่ยวกับพันธกรณีของพวกเขา
ทว่าช่วงตอนที่สำคัญที่สุดในการเดินทางเที่ยวนี้ของเขาย่อมต้องเป็นการเยี่ยมเยียนประเทศจีน ที่นี่ ประเด็นปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งที่กำลังเผชิญหน้าคณะรัฐบาลโอบามา หลังจากการไปเยือนปักกิ่งครั้งประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันในปี 1972 ผ่านพ้นไปเกือบ 40 ปี ก็คือ วอชิงตันควรนิยามความสัมพันธ์ที่มีกับปักกิ่งกันอย่างไร แน่นอนทีเดียวว่าระหว่างประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินของโลก ไปจนถึงการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ
แต่ขณะเดียวกัน ลักษณะของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ (ซึ่งย่อมหมายรวมถึงนโยบายของสหรัฐฯที่มีต่อจีนด้วย) ยังคงไม่ได้มีการนิยามกัน ยังคงไม่ได้มีการทำความตกลงเห็นพ้องกัน และยังคงต้องดำเนินการกันต่อไปด้วยความกระตือรือร้น เพื่อที่จะตอบคำถามเช่นนี้ให้ได้ มีปัญหาในระดับพื้นฐานอยู่ 3 ประเด็น ที่ผุดขึ้นในใจของผู้เขียนทันที
ปัญหาประการแรก การผงาดขึ้นมาของจีนคือการท้าทายถึงระดับรากฐานต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯใช่หรือไม่ และถ้าหากใช่ เป็นการท้าทายที่มีขนาดขอบเขตแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นที่อภิปรายถกเถียงกันเรื่อยมาและยังไม่มีการตัดสินใจที่ชัดเจนลงไป สามสิบปีหลังจากจีนเริ่มเดินไปตามเส้นทางแห่งการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก ประเทศนี้ได้เติบใหญ่ขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่คึกคักมาก โดยที่ปริมาณผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ของจีนกำลังจะแซงหน้าของญี่ปุ่นในเร็ววันนี้แล้ว จีนยังเป็นชาติที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหึมาที่สุดในโลก (2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และสามารถรักษาอัตราการเจริญเติบโตอย่างหยุ่นตัวเอาไว้ได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการเงินหลอมละลายในทั่วโลก ในขณะที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นปัจจุบัน อิทธิพลและอำนาจบารมีของจีนกลับสามารถที่จะเพิ่มทวีขึ้นไปต่อไป
อำนาจและอิทธิพลที่เพิ่งได้มาใหม่ๆ ของจีน ทำให้ปักกิ่งสามารถที่จะขยายตัวเกินล้ำเลยเอเชีย ไปสู่แอฟริกา, เอเชียกลาง, และละตินอเมริกา เพื่อเสาะแสวงหาทรัพยากรต่างๆ และสถาปนาสายสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง ขณะเดียวกัน การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและทางสังคมของจีน ยังขยายเข้าสู่ปริมาณมณฑลทางด้านการรักษาสันติภาพ, การจัดเวทีประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประเด็นปัญหาสำคัญๆ ระดับโลก, และการวางตัวเป็นผู้นำในการสร้างสถาบันระดับภูมิภาค
สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิดคำถามที่ฉกาจฉกรรจ์อย่างยิ่งสำหรับสหรัฐฯ หากดูจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การก้าวผงาดขึ้นของมหาอำนาจยิ่งใหญ่รายใหม่ๆ ทั้งหลาย ธรรมดาแล้วย่อมจะต้องตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ และน้อยนักที่จะดำเนินไปอย่างสันติ ขณะที่ปักกิ่งพยายามออกมาย้ำต่อโลกและโดยเฉพาะต่อสหรัฐฯครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ตนเองมีเจตนารมณ์ในทางสันติ ทว่าวอชิงตันก็ยังไม่มีความมั่นใจ และในใจยังคงเต็มไปด้วยความกังวลอย่างลึกล้ำ
ปัญหาประการที่สอง นโยบายเฉพาะเจาะจงที่คณะรัฐบาลโอบามาควรนำมาใช้ในเวลานี้มีอะไรบ้าง ประเด็นก็คือทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่การร่วมมือกันในจุดที่ประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่ และทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดการกับการพิพาทโต้แย้งในจุดที่พวกเขาไม่สามารถลงรอยกันได้ บางนี้เรื่องนี้อาจจะเป็นภารกิจที่ชัดเจนที่สุดและก็เป็นภารกิจที่น่าหนักใจที่สุดซึ่งวอชิงตันต้องกระทำให้สำเร็จ
ในช่วงทศวรรษ 1970 และทศวรรษ 1980 เมื่อจีนยังค่อนข้างล้าหลัง และเมื่อภัยคุกคามร่วมที่ทั้งจีนและสหรัฐฯเผชิญอยู่คือลัทธิขยายตัวอันก้าวร้าวของสหภาพโซเวียต จึงมีความเป็นไปได้สำหรับประเทศทั้งสองที่จะเก็บเอาความแตกต่างกันของพวกเขาเข้าลิ้นชักไปก่อน และหันมาเน้นแต่เรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
ตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลงเป็นต้นมา ลูกตุ้มแห่งนโยบายต่อจีนของสหรัฐฯก็กวัดแกว่างไปมาอยู่ระหว่างการปิดล้อมจำกัดเขตและการเข้าพัวพันมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น, ระหว่างการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และการเป็นคู่แข่งขันทางยุทธศาสตร์, และจากการเข้าค้ำประกันการก้าวขึ้นมาของจีน ไปสู่การเรียกร้องให้จีนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในระบบระหว่างประเทศ --ระบบซึ่งเรียกร้องว่า อำนาจบารมีที่ขยายเติบโตมากขึ้นของจีน จักต้องมาพร้อมกับการมีความรับผิดชอบเพิ่มสูงขึ้นด้วย
โอบามาได้รับมรดกความสัมพันธ์ทวิภาคีสหรัฐฯ-จีนที่มีลักษณะโดดเด่นในเรื่อง การเป็นความสัมพันธ์ที่เน้นความร่วมมือกัน, มีความซับซ้อนรอบด้าน, และมีความตรงไปตรงมา (cooperative, comprehensive and candid) เวลานี้คณะรัฐบาลชุดใหม่ในวอชิงตันกำลังพยายามที่จะให้ความนิยามสายสัมพันธ์นี้เสียใหม่ โดยมุ่งเน้นในเรื่อง การมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก, เน้นความร่วมมือกัน, และมีความซับซ้อนรอบด้าน (positive, cooperative and comprehensive) เมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศทั้งสองยังคงมีความระแวงและความสงสัยซึ่งกันและกันอย่างไม่รู้คลาย ถึงแม้ผลประโยชน์ร่วมกันของพวกเขาและระดับแห่งการต้องพึ่งพาอาศัยกันของพวกเขากำลังมาถึงขีดที่ทั้งมากมายและลึกซึ้งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนากรอบความคิดประการหนึ่งขึ้นมา เรียกขานกันว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” (strategic reassurance) ในกรอบความคิดนี้ สหรัฐฯจะไม่หาทางขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ขณะเดียวกันปักกิ่งก็จะผ่อนคายลดทอนความไม่สบายใจของวอชิงตัน
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” สามารถที่จะให้คำนิยามใหม่ และสร้างแรงดลใจให้แก่นโยบายจีนของสหรัฐฯ ตลอดจนก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับการต่อรองกันอยู่ในที ระหว่างมหาอำนาจที่ก้าวผงาดขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็วอย่างจีน และมหาอำนาจที่ยังกำลังครองอำนาจอยู่อย่างสหรัฐฯได้หรือไม่ ทั้งนี้ส่วนสำคัญทีเดียวย่อมขึ้นอยู่กับว่าจะมีการตีความแปลความหมายกรอบความคิดนี้กันอย่างไร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด ยังคงเป็นเรื่องที่ว่า จะพัฒนาและดำเนินนโยบายที่จะนำมาใช้กันจริงๆ กันอย่างไร และนี่ก็เป็นเนื้อหาของปัญหาประการที่สามที่ผุดขึ้นมาในใจผู้เขียน
ถ้าหากจะมีการปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการดังต่อไปนี้ ก็น่าจะช่วยให้มหาอำนาจทั้งสองรายนี้สามารถปรับตัวเข้าหากันและดัดแปลงให้กลมกลืนกันได้ดียิ่งขึ้น ในช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ซึ่งก็จะเป็นช่วงระยะเวลาที่จะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
หลักการประการแรก ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน และไม่ควรที่จะติดฉลากตราหน้า (labeling) อะไรกันง่ายๆ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์นี้ย่อมสามารถที่จะประทับตราว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ศัตรู, คู่แข่ง, หรือว่าเป็นหุ้นส่วนกัน ก็อาจจะได้ทั้งสิ้น หรือกระทั่งมันอาจจะเป็นทั้งสามนี้ไปพร้อมๆ กันก็ยังได้ ดังนั้น จึงควรเน้นคุณลักษณะในแบบเฉพาะเจาะจง เป็นต้นว่า มุ่งถือผลในทางปฏิบัติ และทำอะไรด้วยความสุขุมรอบคอบ ไม่คาดหวังสูง และไม่ตั้งข้อเรียกร้องที่ไม่สมเหตุสมผล เหล่านี้ควรที่จะเป็นลักษณะเด่นๆ ของความสัมพันธ์นี้
หลักการประการที่สอง การบริหารจัดการความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนนี้ จำเป็นที่จะต้องมีวิสัยทัศน์, ความเป็นรัฐบุรุษ, และการบ่มเพาะฟูมฟักอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดสายเพื่อส่งเสริมและขยายพื้นที่แห่งผลประโยชน์ร่วมกัน นั่นก็คือ พื้นที่ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างความร่วมมือกันขึ้นมาได้ แล้วก็ควรพยายามให้ความร่วมมือนี้ยิ่งหยั่งรากลึกลงไปอีก ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์นี้ก็จะต้องสามารถที่จะคาดการณ์, เตรียมการณ์, และบริหารจัดการ เมื่อเกิดความแตกต่างกันขึ้นมา ตลอดจนเมื่อถึงขั้นเกิดการพิพาทขัดแย้งขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้ผลกระทบกระเทือนในทางลบใดๆ เหลืออยู่ให้น้อยที่สุด
เท่าที่ผ่านมา จากการดำเนินการแก้ไขประเด็นปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ไปจนถึงการรับมือกับความท้าทายทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ทำให้ปักกิ่งและวอชิงตันมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขี้น และพวกเขาสามารถที่จะเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ความร่วมมือระหว่างกัน สำหรับเรื่องข้อพิพาททางการค้า, สิทธิมนุษยชน, และไต้หวัน ควรที่จะใช้ความพยายามหาทางสร้างความเข้าใจและค้นหาหนทางแก้ไข แทนที่จะมุ่งใช้มาตรการเชิงลงโทษ และทำให้ความตึงเครียดยกระดับสูงขึ้น ตลอดจนการมุ่งแต่จะบังคับให้อีกฝ่ายยอมรับทัศนะของตน
หลักการประการที่สาม เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคนี้กลายเป็นความสัมพันธ์ในเชิงสถาบัน ณ ระดับต่างๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์กัน ตั้งแต่การประชุมหารือกันเป็นประจำสม่ำเสมอในระดับผู้นำ ไปจนถึงการสนทนาหยั่งความคิดเห็นในเรื่องประเด็นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่างๆ ทั้งนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดย่อมเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนกันในระดับทหารกับทหาร ส่วนเรื่องกลไกในการบริหารจัดการวิกฤตก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และยังจัดว่าเป็นส่วนประกอบที่ด้อยพัฒนาอยู่มากในความสัมพันธ์นี้
หลักการประการสุดท้าย ปักกิ่งและวอชิงตันควรยอมรับว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาไม่ได้มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีแท้ๆ อีกต่อไปแล้ว แต่มันมีนัยสำคัญสำหรับพัฒนาการในระดับภูมิภาคและในระดับทั่วโลก ดังนั้น พวกเขาจำเป็นต้องบริหารจัดการสายสัมพันธ์ของพวกเขาด้วยความเข้าใจที่ว่า การร่วมมือกันและการเป็นหุ้นส่วนกันของพวกเขาสามารถที่จะส่งผลกว้างไกลต่อการแก้ปัญหาในระดับโลก ตัวอย่างเช่น เสถียรภาพทางการเงินของโลก และการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพในระดับภูมิภาค ตั้งแต่คาบสมุทรเกาหลี ไปจนถึงประเด็นเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน และการพัฒนาสถาบันระดับพหุภาคีต่างๆ
โอบามาจะมีโอกาสอันหาได้ยากยิ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่คณะผู้นำจีน รวมทั้งสมาชิกระดับแกนกลางของพวกผู้นำรุ่นที่ 5 ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาด้วย ว่าสหรัฐฯนั้นมุ่งแสวงหาการเป็นหุ้นส่วนที่เน้นผลเชิงปฏิบัติและความร่วมมือกันกับจีน เขายังจำเป็นจะต้องส่งสารให้คู่สนทนาของเขาทราบด้วยว่า อเมริกายังคงให้คุณค่าแก่บรรดาพันธมิตรของตนในเอเชีย มากเท่าๆ กับที่กำลังให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แก่จีน การเดินทางเที่ยวนี้ควรที่จะให้คำนิยามความสัมพันธ์ โดยอิงอาศัยวิสัยทัศน์, การมุ่งผลทางปฏิบัติ, และการมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มากกว่าจะมุ่งคิดถึงแต่เรื่องการติดฉลากตีตรา
ดร.จิงตง หยวน เป็นผู้อำนวยการโครงการการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรงในเอเชียตะวันออก (East Asia Non-proliferation Program) ณ ศูนย์กลางเจมส์ มาร์ติน เพื่อศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรง (James Martin Center for Non-proliferation Studies) สถาบันมอนเทอเรย์เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา (Monterey Institute of International Studies)