(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Clouds over Tokyo and Seoul
By Eli Clifton
11/11/2009
การที่สหรัฐฯยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันกับญี่ปุ่นในเรื่องฐานทัพอเมริกันที่นั่น และยังไม่สามารถคลี่คลายแก้ไขความแตกต่างที่มีกับเกาหลีใต้ในเรื่องข้อตกลงการค้าเสรี นับว่าส่งผลกระทบอย่างสำคัญทีเดียวต่อการเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือของประธานาธิบดีบารัค โอบามา กระนั้นก็ตาม คาดหมายกันว่าโอบามาจะใช้โอกาสคราวนี้เพื่อตอกย้ำยืนยันความสัมพันธ์อันยาวนานที่สหรัฐฯมีอยู่กับประเทศทั้งสอง ซึ่งถือพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของอเมริกาในภูมิภาคแถบนี้
วอชิงตัน – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ เดินทางถึงกรุงโตเกียวในวันพฤหัสบดี(12) อันเป็นจุดแวะจุดแรกในการเดินทางตระเวนเยือน 4 ชาติเอเชียของเขาเที่ยวนี้ ทว่าการที่ยังคงมีความเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับการโยกย้ายที่ตั้งกองทหารสหรัฐฯในญี่ปุ่น, อุปสรรคใหม่ๆ ที่ขัดขวางข้อตกลงการค้าเสรี (free-trade agreement หรือ FTA) ที่สหรัฐฯทำกับเกาหลีใต้, ตลอดจนการต่อสู้กันอย่างอุตลุดไม่รู้แล้วในประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การค้า, และค่าเงินตรา กับจีน เหล่านี้ทำให้ทำเนียบขาวใช้ท่าทีพยายามที่จะลดระดับความคาดหวังซึ่งมีต่อการเดินทางคราวนี้
เมื่อโอบามาลงจากเครื่องบินในกรุงโตเกียว และพบปะหารือกับ ยูคิโอะ ฮาโตยามะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น หนึ่งในประเด็นสำคัญที่สุดที่หยิบยกขึ้นมาเจรจากัน น่าจะได้แก่เรื่องจุดยืนของรัฐบาลใหม่ญี่ปุ่น ในการโยกย้ายกองทหารสหรัฐฯที่ประจำอยู่บนเกาะโอกินาวา อันเป็นเกาะทางตอนใต้ของแดนอาทิตย์อุทัย
ในจำนวนบุคลากรทางทหารของอเมริกา 47,000 คนที่ตั้งประจำอยู่ในญี่ปุ่น มีถึงราวสองในสามซึ่งอยู่ที่โอกินาวา ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างชาวโอกินาวากับทหารอเมริกันได้เสื่อมทรามย่ำแย่นับแต่ปี 1996 เมื่อทหารสหรัฐฯ 3 คนถูกตัดสินว่ากระทำความผิดข่มขืนเด็กหญิงวัย 12 ปีชาวญี่ปุ่น
เมื่อวันอาทิตย์(8) มีผู้ประท้วงจำนวนราว 21,000 คนชุมนุมกันที่เมืองนาโกะ (Nago City) บนเกาะโอกินาวา เพื่อเรียกร้องให้กองทหารสหรัฐฯถอนออกไป และแสดงการสนับสนุนพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (Democratic Party of Japan หรือ DPJ) ของฮาโตยามะ ในการขอเปิดการเจรจากันใหม่ เกี่ยวกับข้อตกลงทวิภาคีที่รัฐบาลญี่ปุ่นชุดก่อนทำเอาไว้กับอเมริกาในเรื่องการโยกย้ายที่ตั้งกองทหารสหรัฐฯบนเกาะแห่งนี้ กระนั้นก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายรายในกรุงวอชิงตันชี้ว่า การเดินทางเยือนของโอบามาคราวนี้คงจะไม่สามารถแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหานี้ให้ตกไปได้
“ผมคิดว่ามีการเห็นพ้องกันแล้วว่าจะไม่ทดลองใช้ความพยายามแก้ไขเรื่องนี้ระหว่างการเยือนคราวนี้” ริชาร์ด บุช (Richard Bush) ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการศึกษานโยบายเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (Center for Northeast Asian Policy Studies) ณ สถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) กล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service)
“ผมคิดว่าสิ่งสำคัญ [สำหรับโอบามา]ก็คือ อย่าได้บีบคั้นผลักดันประเด็นปัญหานี้ในขณะที่ยังเป็นช่วงแรกๆ ของคณะรัฐบาล [พรรคดีพีเจ]” รัฐบาลดีพีเจเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน ยังไม่ถึง 2 เดือนเลย แล้วพรรคนี้ก็ยังไม่เคยปกครองประเทศมาก่อนด้วย” เขาชี้
“ความสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อความเป็นพันธมิตร [สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น] ยังคงแข็งแกร่ง ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ว่าเรากำลังต้องแล่นเรือฝ่าเข้าไปในลมพายุแรงกล้าแห่งการคัดค้านจากประชาชนชาวญี่ปุ่น” บุชกล่าวต่อ “ในสภาพแวดล้อมที่ประชาชนยังให้การยอมรับความเป็นพันธมิตรเช่นนี้ จึงน่าที่จะมีความเป็นไปได้มากที่จะสามารถตกลงอะไรกันในเวลาต่อไป”
สำหรับการแวะเยือนเกาหลีใต้ในการเดินทางเที่ยวนี้นั้น ไม่ค่อยจะเป็นที่คาดหมายกันอยู่แล้วว่าโอบามาจะสามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างเป็นชิ้นเป็นอันในเรื่องข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ซึ่งกรุงโซลพยายามโน้มน้าวชักจูงให้เห็นเรื่อยมาว่า เป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง
จุดที่กลายเป็นจุดติดขัดสำคัญที่สุดในเวลานี้ก็คือ วอชิงตันต้องการเจรจากันใหม่กับโซล เพื่อให้สามารถส่งรถยนต์อเมริกันเข้าไปในตลาดเกาหลีใต้
“เราต้องการให้แน่ใจว่า ข้อตกลงเอฟทีเอนี้ได้เปิดช่องทางเข้าถึงอันเหมาะสมให้แก่รถยนต์สหรัฐฯในการเข้าสู่ตลาดเกาหลี ทว่าเรื่องนี้จะสามารถทำให้สำเร็จได้ในจังหวะเวลาตอนไหน และท่ามกลางบริบทที่การค้ากำลังถูกแวดล้อมทำให้กลายเป็นเรื่องการเมืองไปอย่างมากๆ ดังที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ ความคุ้มค่าทางการเมืองของเรื่องนี้จะอยู่ที่ตรงไหน เหล่านี้เป็นคำถามที่เกินเลยกว่าจะเป็นการตัดสินใจสำหรับคนระดับเงินเดือนขนาดผม” เจฟฟรีย์ เบเดอร์ (Jeffrey Bader) ผู้อำนวยการอาวุโสดูแลด้านกิจการเอเชียตะวันออก ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) ของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันศุกร์(6)
แน่นอนทีเดียวว่า การแวะเยือนกรุงโซลคราวนี้ โอบามายังจะต้องมีการหารือกับผู้นำเกาหลีใต้ในเรื่องเกาหลีเหนือ, อนาคตของการเจรจา 6 ฝ่าย, และการที่ทำเนียบขาวประกาศในวันพุธ(11)ว่าจะส่งทีมเจ้าหน้าที่จากหลายๆ หน่วยงานภาครัฐทีมเล็กๆ ไปเยือนกรุงเปียงยาง เพื่อจุดประกายติดเครื่องให้แก่การเจรจายกเลิกโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือซึ่งหยุดชะงักงันอยู่ โดยน่าจะเดินทางไปก่อนสิ้นปีนี้
ขณะที่ประเด็นปัญหาที่ยังคงขัดแย้งกัน ไม่ว่าจะในเรื่องฐานทัพหรือเอเฟทีเอ น่าจะทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดูดีมีความหมายใดๆ จากการเจรจาที่โอบามาจะกระทำในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่เขาก็ดูพยายามที่จะชดเชยด้วยการเน้นหนักทางภาพลักษณ์จากการออกปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งมีทั้งการแถลงข่าวในปักกิ่ง, โตเกียว, และโซล, การกล่าวสุนทรพจน์สำคัญในโตเกียวว่าด้วยการคบค้าพัวพันกันระหว่างสหรัฐฯกับเอเชีย, และรายการประชุมซักถามปัญหาข้อข้องใจ (town-hall meeting) กับคนหนุ่มสาวที่นครเซี่ยงไฮ้
อันที่จริงแล้ว สายสัมพันธ์ที่วอชิงตันมีอยู่กับโซลและโตเกียว กำลังมีการกระชับเข้มแข็งยิ่งขึ้นด้วยซ้ำในเรื่องเกี่ยวกับอัฟกานิสถาน โดยที่ญี่ปุ่นให้คำมั่นในวันอังคาร(10) ว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่อัฟกานิสถานเป็นมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเกาหลีใต้ก็สัญญาที่จะส่งทีมทำงานบูรณะฟื้นฟูระดับจังหวัดไปยังประเทศนั้น รวมทั้งจะจัดกำลังทหารไปรักษาความปลอดภัยให้แก่ทีมทำงานนี้เองอีกด้วย
แม้เวลานี้สหรัฐฯจะมีความไม่ลงรอยดังกล่าวข้างต้นกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่การเยือนโตเกียวกับโซลก็ยังคงเป็นโอกาสอันดีสำหรับโอบามา ที่จะย้ำยืนยันความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างสหรัฐฯกับประเทศทั้งสอง ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับการเยือนจีนเป็นเวลา 4 วัน คงจะต้องใช้วิธีการทูตที่แตกต่างออกไป โดยที่โอบามาจะมุ่งหาทางทำให้ความร่วมมือสหรัฐฯ-จีนขยายไปสู่ด้านใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกในช่วงหลังๆ มานี้
ขณะที่ทำเนียบขาวยังจะพยายามเกลี้ยกล่อมให้จีนทำการใช้จ่ายบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น และยินยอมเปิดทางให้เงินหยวนปรับค่าแข็งขึ้น แต่คงไม่น่าที่จะมุ่งหวังผลักดันปักกิ่งอย่างจริงจังให้ต้องยอมอ่อนข้อในระหว่างการมาเยือนของโอบามา
กระนั้นในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ก่อนเริ่มการตระเวนเยือนเอเชีย โอบามาก็ยังพูดตรงๆ ว่า “เรื่องค่าเงินตรา ตลอดจนประเด็นปัญหาอื่นๆ อีกจำนวนมาก จะถูกหยิบยกขึ้นมา” ในระหว่างที่เขาอยู่ในจีน และในการเจรจากับประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีน
แน่นอนทีเดียวว่า หนึ่งในประเด็นปัญหาที่เขาจะหยิบยกขึ้นมาเหล่านี้ จะได้แก่เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสหรัฐฯและจีนในฐานะที่เป็น 2 ประเทศผู้ปล่อยไอเสียคาร์บอนรายใหญ่ที่สุดของโลก จำเป็นจะต้องร่วมมือกัน จึงจะสามารถก่อให้เกิดข้อตกลงที่มีความหมายใดๆ ขึ้นมาได้ ในการเจรจาขั้นสุดท้ายเพื่อทำข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกฉบับใหม่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนธันวาคมนี้
การไปเยือนจีนยังจะเปิดทางให้โอบามาและทีมงานของเขาได้พบปะแลกเปลี่ยนรับฟังผู้คนในเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนคณะผู้นำทั้งในชุดปัจจุบันและในอนาคตของแดนมังกร
“จีนกำลังอยู่ในท่ามกลางการเปลี่ยนถ่ายส่งมอบอำนาจทางการเมืองที่สำคัญมาก และประธานาธิบดีโอบามาก็ควรทำให้แน่ใจว่าจะได้ใช้โอกาสการเยือนนี้ในการพูดคุยกับพวกผู้นำจีนในรุ่นต่อไป ไม่ว่าจะเป็น หลี่เค่อเฉียง, หลี่หยวนเฉา, และสีว์จิ้นผิง” อลิซาเบธ ซี อีโคโนมี (Elizabeth C Economy) ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียศึกษา ของสภาว่าด้วยความสัมพันธ์กับต่างประเทศ (Council on Foreign Relations) เขียนเสนอแนะเอาไว้เช่นนี้ “ในเวลาอีกเพียงสองปีครึ่งเท่านั้น พวกเขาเหล่านี้ก็จะกลายเป็นบุคคลที่ประธานาธิบดีโอบามาจะได้นั่งเผชิญหน้าด้วยบนโต๊ะงานเลี้ยงอาหารค่ำ”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Clouds over Tokyo and Seoul
By Eli Clifton
11/11/2009
การที่สหรัฐฯยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันกับญี่ปุ่นในเรื่องฐานทัพอเมริกันที่นั่น และยังไม่สามารถคลี่คลายแก้ไขความแตกต่างที่มีกับเกาหลีใต้ในเรื่องข้อตกลงการค้าเสรี นับว่าส่งผลกระทบอย่างสำคัญทีเดียวต่อการเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือของประธานาธิบดีบารัค โอบามา กระนั้นก็ตาม คาดหมายกันว่าโอบามาจะใช้โอกาสคราวนี้เพื่อตอกย้ำยืนยันความสัมพันธ์อันยาวนานที่สหรัฐฯมีอยู่กับประเทศทั้งสอง ซึ่งถือพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของอเมริกาในภูมิภาคแถบนี้
วอชิงตัน – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ เดินทางถึงกรุงโตเกียวในวันพฤหัสบดี(12) อันเป็นจุดแวะจุดแรกในการเดินทางตระเวนเยือน 4 ชาติเอเชียของเขาเที่ยวนี้ ทว่าการที่ยังคงมีความเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับการโยกย้ายที่ตั้งกองทหารสหรัฐฯในญี่ปุ่น, อุปสรรคใหม่ๆ ที่ขัดขวางข้อตกลงการค้าเสรี (free-trade agreement หรือ FTA) ที่สหรัฐฯทำกับเกาหลีใต้, ตลอดจนการต่อสู้กันอย่างอุตลุดไม่รู้แล้วในประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การค้า, และค่าเงินตรา กับจีน เหล่านี้ทำให้ทำเนียบขาวใช้ท่าทีพยายามที่จะลดระดับความคาดหวังซึ่งมีต่อการเดินทางคราวนี้
เมื่อโอบามาลงจากเครื่องบินในกรุงโตเกียว และพบปะหารือกับ ยูคิโอะ ฮาโตยามะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น หนึ่งในประเด็นสำคัญที่สุดที่หยิบยกขึ้นมาเจรจากัน น่าจะได้แก่เรื่องจุดยืนของรัฐบาลใหม่ญี่ปุ่น ในการโยกย้ายกองทหารสหรัฐฯที่ประจำอยู่บนเกาะโอกินาวา อันเป็นเกาะทางตอนใต้ของแดนอาทิตย์อุทัย
ในจำนวนบุคลากรทางทหารของอเมริกา 47,000 คนที่ตั้งประจำอยู่ในญี่ปุ่น มีถึงราวสองในสามซึ่งอยู่ที่โอกินาวา ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างชาวโอกินาวากับทหารอเมริกันได้เสื่อมทรามย่ำแย่นับแต่ปี 1996 เมื่อทหารสหรัฐฯ 3 คนถูกตัดสินว่ากระทำความผิดข่มขืนเด็กหญิงวัย 12 ปีชาวญี่ปุ่น
เมื่อวันอาทิตย์(8) มีผู้ประท้วงจำนวนราว 21,000 คนชุมนุมกันที่เมืองนาโกะ (Nago City) บนเกาะโอกินาวา เพื่อเรียกร้องให้กองทหารสหรัฐฯถอนออกไป และแสดงการสนับสนุนพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (Democratic Party of Japan หรือ DPJ) ของฮาโตยามะ ในการขอเปิดการเจรจากันใหม่ เกี่ยวกับข้อตกลงทวิภาคีที่รัฐบาลญี่ปุ่นชุดก่อนทำเอาไว้กับอเมริกาในเรื่องการโยกย้ายที่ตั้งกองทหารสหรัฐฯบนเกาะแห่งนี้ กระนั้นก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายรายในกรุงวอชิงตันชี้ว่า การเดินทางเยือนของโอบามาคราวนี้คงจะไม่สามารถแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหานี้ให้ตกไปได้
“ผมคิดว่ามีการเห็นพ้องกันแล้วว่าจะไม่ทดลองใช้ความพยายามแก้ไขเรื่องนี้ระหว่างการเยือนคราวนี้” ริชาร์ด บุช (Richard Bush) ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการศึกษานโยบายเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (Center for Northeast Asian Policy Studies) ณ สถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) กล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service)
“ผมคิดว่าสิ่งสำคัญ [สำหรับโอบามา]ก็คือ อย่าได้บีบคั้นผลักดันประเด็นปัญหานี้ในขณะที่ยังเป็นช่วงแรกๆ ของคณะรัฐบาล [พรรคดีพีเจ]” รัฐบาลดีพีเจเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน ยังไม่ถึง 2 เดือนเลย แล้วพรรคนี้ก็ยังไม่เคยปกครองประเทศมาก่อนด้วย” เขาชี้
“ความสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อความเป็นพันธมิตร [สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น] ยังคงแข็งแกร่ง ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ว่าเรากำลังต้องแล่นเรือฝ่าเข้าไปในลมพายุแรงกล้าแห่งการคัดค้านจากประชาชนชาวญี่ปุ่น” บุชกล่าวต่อ “ในสภาพแวดล้อมที่ประชาชนยังให้การยอมรับความเป็นพันธมิตรเช่นนี้ จึงน่าที่จะมีความเป็นไปได้มากที่จะสามารถตกลงอะไรกันในเวลาต่อไป”
สำหรับการแวะเยือนเกาหลีใต้ในการเดินทางเที่ยวนี้นั้น ไม่ค่อยจะเป็นที่คาดหมายกันอยู่แล้วว่าโอบามาจะสามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างเป็นชิ้นเป็นอันในเรื่องข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ซึ่งกรุงโซลพยายามโน้มน้าวชักจูงให้เห็นเรื่อยมาว่า เป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง
จุดที่กลายเป็นจุดติดขัดสำคัญที่สุดในเวลานี้ก็คือ วอชิงตันต้องการเจรจากันใหม่กับโซล เพื่อให้สามารถส่งรถยนต์อเมริกันเข้าไปในตลาดเกาหลีใต้
“เราต้องการให้แน่ใจว่า ข้อตกลงเอฟทีเอนี้ได้เปิดช่องทางเข้าถึงอันเหมาะสมให้แก่รถยนต์สหรัฐฯในการเข้าสู่ตลาดเกาหลี ทว่าเรื่องนี้จะสามารถทำให้สำเร็จได้ในจังหวะเวลาตอนไหน และท่ามกลางบริบทที่การค้ากำลังถูกแวดล้อมทำให้กลายเป็นเรื่องการเมืองไปอย่างมากๆ ดังที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ ความคุ้มค่าทางการเมืองของเรื่องนี้จะอยู่ที่ตรงไหน เหล่านี้เป็นคำถามที่เกินเลยกว่าจะเป็นการตัดสินใจสำหรับคนระดับเงินเดือนขนาดผม” เจฟฟรีย์ เบเดอร์ (Jeffrey Bader) ผู้อำนวยการอาวุโสดูแลด้านกิจการเอเชียตะวันออก ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) ของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันศุกร์(6)
แน่นอนทีเดียวว่า การแวะเยือนกรุงโซลคราวนี้ โอบามายังจะต้องมีการหารือกับผู้นำเกาหลีใต้ในเรื่องเกาหลีเหนือ, อนาคตของการเจรจา 6 ฝ่าย, และการที่ทำเนียบขาวประกาศในวันพุธ(11)ว่าจะส่งทีมเจ้าหน้าที่จากหลายๆ หน่วยงานภาครัฐทีมเล็กๆ ไปเยือนกรุงเปียงยาง เพื่อจุดประกายติดเครื่องให้แก่การเจรจายกเลิกโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือซึ่งหยุดชะงักงันอยู่ โดยน่าจะเดินทางไปก่อนสิ้นปีนี้
ขณะที่ประเด็นปัญหาที่ยังคงขัดแย้งกัน ไม่ว่าจะในเรื่องฐานทัพหรือเอเฟทีเอ น่าจะทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดูดีมีความหมายใดๆ จากการเจรจาที่โอบามาจะกระทำในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่เขาก็ดูพยายามที่จะชดเชยด้วยการเน้นหนักทางภาพลักษณ์จากการออกปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งมีทั้งการแถลงข่าวในปักกิ่ง, โตเกียว, และโซล, การกล่าวสุนทรพจน์สำคัญในโตเกียวว่าด้วยการคบค้าพัวพันกันระหว่างสหรัฐฯกับเอเชีย, และรายการประชุมซักถามปัญหาข้อข้องใจ (town-hall meeting) กับคนหนุ่มสาวที่นครเซี่ยงไฮ้
อันที่จริงแล้ว สายสัมพันธ์ที่วอชิงตันมีอยู่กับโซลและโตเกียว กำลังมีการกระชับเข้มแข็งยิ่งขึ้นด้วยซ้ำในเรื่องเกี่ยวกับอัฟกานิสถาน โดยที่ญี่ปุ่นให้คำมั่นในวันอังคาร(10) ว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่อัฟกานิสถานเป็นมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเกาหลีใต้ก็สัญญาที่จะส่งทีมทำงานบูรณะฟื้นฟูระดับจังหวัดไปยังประเทศนั้น รวมทั้งจะจัดกำลังทหารไปรักษาความปลอดภัยให้แก่ทีมทำงานนี้เองอีกด้วย
แม้เวลานี้สหรัฐฯจะมีความไม่ลงรอยดังกล่าวข้างต้นกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่การเยือนโตเกียวกับโซลก็ยังคงเป็นโอกาสอันดีสำหรับโอบามา ที่จะย้ำยืนยันความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างสหรัฐฯกับประเทศทั้งสอง ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับการเยือนจีนเป็นเวลา 4 วัน คงจะต้องใช้วิธีการทูตที่แตกต่างออกไป โดยที่โอบามาจะมุ่งหาทางทำให้ความร่วมมือสหรัฐฯ-จีนขยายไปสู่ด้านใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกในช่วงหลังๆ มานี้
ขณะที่ทำเนียบขาวยังจะพยายามเกลี้ยกล่อมให้จีนทำการใช้จ่ายบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น และยินยอมเปิดทางให้เงินหยวนปรับค่าแข็งขึ้น แต่คงไม่น่าที่จะมุ่งหวังผลักดันปักกิ่งอย่างจริงจังให้ต้องยอมอ่อนข้อในระหว่างการมาเยือนของโอบามา
กระนั้นในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ก่อนเริ่มการตระเวนเยือนเอเชีย โอบามาก็ยังพูดตรงๆ ว่า “เรื่องค่าเงินตรา ตลอดจนประเด็นปัญหาอื่นๆ อีกจำนวนมาก จะถูกหยิบยกขึ้นมา” ในระหว่างที่เขาอยู่ในจีน และในการเจรจากับประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีน
แน่นอนทีเดียวว่า หนึ่งในประเด็นปัญหาที่เขาจะหยิบยกขึ้นมาเหล่านี้ จะได้แก่เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสหรัฐฯและจีนในฐานะที่เป็น 2 ประเทศผู้ปล่อยไอเสียคาร์บอนรายใหญ่ที่สุดของโลก จำเป็นจะต้องร่วมมือกัน จึงจะสามารถก่อให้เกิดข้อตกลงที่มีความหมายใดๆ ขึ้นมาได้ ในการเจรจาขั้นสุดท้ายเพื่อทำข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกฉบับใหม่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนธันวาคมนี้
การไปเยือนจีนยังจะเปิดทางให้โอบามาและทีมงานของเขาได้พบปะแลกเปลี่ยนรับฟังผู้คนในเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนคณะผู้นำทั้งในชุดปัจจุบันและในอนาคตของแดนมังกร
“จีนกำลังอยู่ในท่ามกลางการเปลี่ยนถ่ายส่งมอบอำนาจทางการเมืองที่สำคัญมาก และประธานาธิบดีโอบามาก็ควรทำให้แน่ใจว่าจะได้ใช้โอกาสการเยือนนี้ในการพูดคุยกับพวกผู้นำจีนในรุ่นต่อไป ไม่ว่าจะเป็น หลี่เค่อเฉียง, หลี่หยวนเฉา, และสีว์จิ้นผิง” อลิซาเบธ ซี อีโคโนมี (Elizabeth C Economy) ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียศึกษา ของสภาว่าด้วยความสัมพันธ์กับต่างประเทศ (Council on Foreign Relations) เขียนเสนอแนะเอาไว้เช่นนี้ “ในเวลาอีกเพียงสองปีครึ่งเท่านั้น พวกเขาเหล่านี้ก็จะกลายเป็นบุคคลที่ประธานาธิบดีโอบามาจะได้นั่งเผชิญหน้าด้วยบนโต๊ะงานเลี้ยงอาหารค่ำ”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)